Meeting & Seminar / Government Organization
- Close


 

การเข้าร่วมประชุม สัมมนา กับองค์กรภาครัฐ

[กลับไปหน้าสารบัญ portfolio]

[00]
สัมมนา:

วันเวลา:

จัดโดย:

วิทยากร:

สถานที่:

สถานภาพ:

[00]
สัมมนา:

วันเวลา:

จัดโดย:

วิทยากร:

สถานที่:

สถานภาพ:

[14]
สัมมนา: การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง "ยุทธศาสตร์ใหม่ประเทพศไทย"
วันเวลา: วันศุกร์ ที่ 14 - เสาร์ที่ 15 กันยายน 2550
จัดโดย: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
วิทยากร: พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงาน นายโคทม อารียา ประธานที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินรายการ
สถานที่: โรงแรงแอบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี
สถานภาพในการเข้าร่วมสัมมนา: ผู้แทนองค์กรเอกชน (แทน อาจารย์อำนวย สุวรรณคีรี)

(5) ยุทธศาสตร์ สุขภาวะเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ
(6) ยุทธศาสตร์ วัฒนธรรม แรงงาน และกีฬา
ยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ ที่เป็นองค์รวมอยู่ด้วย ทำให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
จะจัดรวมกลุ่มจังหวัด มี รมต.ดูแล มีฐานะเทียบเท่ากรม รองลงไปก็มีองค์กรปกครองท้องถิ่น และกลุ่มชุมชน
ในทางปฏิบัติ ให้เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง (ตัวแปรต้น) และเอาประเด็นเป็นตัวตาม (ตัวแปรตาม) โดยให้มีการเมืองเป็นตัวส่ง (ผลักดัน) คือ ในแผนงานดังกล่าว จะมีรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแล มีงบประมาณให้ และมีแผนสนับสนุน

ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง

โดย รัฐมนตรีการคลัง
ในรอบ 40 ปี ที่ผ่านมา การเงินการคลังมีการใช้ 3 ยุทธศาสตร์ คือ
(1) ยุทธศาสตร์ การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ใช้มานาน ตั้งแต่ปี 1960 – 1985 ปรากฏว่า มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6% – 7% คนจนลดลง แต่การกระจายรายได้แย่ลง วินัยทางการเงินของประชาชนแย่ลง ทำให้มีหนี้สินเพิ่ม
(2) ยุทธศาสตร์ การสร้างมิตรภาพทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วง Sunet Industry
(3) ยุทธศาสตร์ ให้เอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)

เป็นยุทธศาสตร์การคืนกำไรสู่สังคม เพื่อขจัดความยากจน (The Rule Development Partner Ship to End Poverty) 5 หลัก
(1) พัฒนาองค์กรเอกชน
(2) พัฒนาเศรษฐกิจ
(3) พัฒนาสิ่งแวดล้อม
(4) ดูแลสุขภาพ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใต้โลกาภิวัฒน์

ประเทศที่พัฒนาแล้ว (ทุนนิยมเสรี) ร่ำรวยมาจากการบริโภคทรัพยากรทางธรรมชาติ และได้กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งทำให้ประเทศอื่นๆ เอาเป็นแบบอย่าง ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถ้าจะให้ทุกคนร่ำรวยเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องใช้ทรัพยากรเท่ากับโลก ๔ ใบ
การแข่งขัน แย่งชิงทรัพยากร เป็นเหตุให้เกิด war & worm world
การที่ประเทศโลกที่หนึ่งเรียกร้องให้ประเทศโลกที่สาม รับภาระแก้ปัญหาโลกร้อน ที่สืบเนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นเป็นผู้ก่อ โดยที่ประเทศเล็กๆ เหล่านั้นถูกใช้ให้เป็นฐานการลงทุนและฐานการผลิต-บริโภคของคนรวย ซึ่งไม่เป็นธรรม นับเป็นการเอาเปรียบของประเทศที่ร่ำรวยกว่าอย่างน่าเกลียด

ประเทศที่ร่ำรวย ใช้ฐานทรัพยากรจากประเทศยากจน มาสร้างความร่ำรวยให้แก่ตนเอง แต่ทำให้เกิดภาวะ Pollution
การที่ประเทศไทย มุ่งแต่การพัฒนาการใช้ภาคแรงงาน มากกว่าการก้าวไปสู่ภาคฐานการผลิต ทำให้เกิดข้อเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้อำนาจการต่อรองต่ำ แม้แต่เรื่องการปฏิเสธว่าประเทศร่ำรวยนั่นแหละ คือต้นเหตุแห่งปัญหาทำให้โลกร้อน

การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและบันเทิงอย่างกว้างขวาง ได้กลายเป็นบ่อนทำลายทุนทางธรรมชาติอันสวยงาม ด้วยการมุ่งสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทำลายธรรมชาติ และส่งเสริมการบริโภคอย่างบ้าคลั่ง

เราทำลายทรัพยากรในรูปแบบใดบ้าง ที่ทำให้เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำเสีย มลพิษต่างๆ ดิน น้ำ ฟ้า ป่า คน สัตว์ พืช และ แร่ธาตุ
ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
–ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดเลย ไม่สามารถหาทดแทนได้
–ทรัพยากรที่แล้วหมดไป แต่หาทดแทนได้
–ทรัพยาการที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้น น้ำ อากาส แสงแดด
–ทรัพยากรที่มีอิทธิพลต่อการสร้างคุณภาพต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คน มนุษย์

ข้อเท็จจริง ในการวางแผนพัฒนาโครงการต่างๆ ยังไม่มีการประเมินศักยภาพ หรือข้อจำกัดของทรัพยากรในพื้นที่เหล่านั้น นึกจะทำอะไรก็ทำ
ในการแก้ไปปัญหาสิ่งแวดล้อม จะต้องกำหนดไว้ในข้อกฎหมายด้วยว่า ประชาชนจะต้องมีหน้าที่ด้วย มิใช่ รัฐพึง….

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

อายุเฉลี่ยของคนไทย เป็นผู้สูงวัยมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่เวียดนาม อายุเฉลี่ยสามสิบปี
ด้อยคุณภาพ ด้านการศึกษา ไอที และสิ่งแวดล้อม
ผลสำเร็จของการสนองนโยบาย เศรษฐกิจพอเพียง (ศพพ.) ลำดับต่อไปนี้ ทำให้ได้ดีกว่า
–ภาคเอกชน ตอบสนองดีที่สุด อาจอาศัยความอยู่รอด
–ภาคประชาชน/ชาวบ้าน มีพอสมควร
–ภาคการศึกษา เพิ่งจะเริ่มทำ
–ภาครัฐ/ราชการ ทำน้อยมาก (ดังนั้น อย่าให้ภาคราชการ เป็นผู้นำด้าน ศพพ.)
–ภาคคุณภาพชีวิต น้อยที่สุด
–ภาคสิ่งแวดล้อม แทบจะไม่มีเลย

[13]
สัมมนา
: การสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระสำคัญ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ปี พ.ศ.2550)
วันเวลา
:10 - 11 กันยายน 2550
จัดโดย
: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ
วิทยากร
: จากฝ่ายภาครัฐ (กกต.)
สถานที่
: The Twin Tower Hotel. 88 Rong Muang, Patumwan, Bangkok 10330, Thailand. Tel: 02-216-9555
สถานภาพในการเข้าร่วมสัมมนา
: ผู้แทน พรรคเพื่อฟ้าดิน และร่วมสังเกตการณ์
แหล่งอ้างอิง: http://www.ect.go.th/thai/download50/181_2550.pdf

[12]
สัมมนา: การสัมมนาประจำปี สภาที่ปรึกษา เศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ เรื่อง "การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"
วันเวลา: 26-27 มิถุนายน 2547 เวลา 09.30 - 16.30 น.
จัดโดย: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และ สัีงคมแห่งชาติ (สป.)
ผู้ประสานงาน: สำนักประสานเครือข่ายภาคประชาชน โทรศัพท์: 0-2612-9222 ต่อ 266, 273-275
วิทยากร: นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสัีงคมแห่งชาติ, ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม, รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์, นายกล้านรงค์ จันทิก, นายสุริยะใส กตะศิลา, นายประสงค์ วิสุทธิ์
สถานที่: โรงแรมแอบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน 21/10 ถ.สุขุมวิท จ.ชลบุรี 20250
สถานภาพในการเข้าร่วมสัมมนา: สมาชิกร่วมสังเกตการณ์ และแสดงคิดเห็นในฐานะผู้แทนเครือข่ายชาวอโศก (นายธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ สมาชิกรับเชิญ)

[11]
การประชุม: เพื่อพิจารณากิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ตามยุทธศาสตร์
การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO)
วัน เวลา: 16 มิถุนายน 2547 เวลา 14.00 - 16.30 น.
จัดโดย: คณะกรรมการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ผู้ประสานงาน. สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2679-7520, โทรสาร 0-2940-5472
สถานที่: ห้องประชุม สำนักงานคณะกรรมการติดตามและประสานงาน ตามการสั่งการของนายกรัฐมนตรี บ้านพิษณุโลก กรุงเทพฯ
สถานภาพในการเข้าร่วมสัมมนา:
ร่วมสังเกตการณ์

[10]
สัมมนา เรื่อง "สารเคมี: ปีศาจหรือนักบุญในวงการเกษตร" วิทยากร: คุณสมพงษ์ ตินานนท์ (นายกสมาคมอารักขาพืชไทย), คุณสาคร ตรีเพชรไพศาล (นายกสมาคมคนไทยผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีการเกษตร), คุณปฐมพร (สวนส้มทรายทอง), ดร.วิชัย ก่อประดิษฐ์กุล (ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยขอนแก่น), คุณสู่ดิน ชาวหินฟ้า, นายร้อยแจ้งจนดีจริง, นายสุวรรณ บุญแท้ (เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย), อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ), คุณทัศนีย์ วีระกันต์ (เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก), คุณนันทนา ทราบรัมย์ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข), นายประเสริฐ อนุพันธ์ (รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้ดำเนินการอภิปราย) จัดโดย: กรมวิชาการเกษตร วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2547 เวลา 9.30 - 12.00 น. สถานที่: ห้อง Executive Boad ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กทม. สถานภาพในการเข้าร่วมสัมมนา: วิทยากร

[09]
ประชุม "ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้านสารเคมีการเกษตรในประเทศไทย" (แทนประธาน คกร.) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สปรส.) ห้องประชุม 2 ตึก 3 ชั้น 5 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, มูลนิธิข้าวขวัญ, มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.), มูลนิธิการศึกษาไทย, โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม (SAFE Project), ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน (ราฟ่า), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) โดยมีคุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสาขานโยบาย การเกษตรและชนบท เป็นผู้ดำเนินการประชุม

[08]
ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการรณรงค์ ในคณะกรรมการ ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (วาระพิเศษ) เรื่องพิจารณาและบูรณาการแผนฯ ปี 2547 วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2547 เวลา 09.00-16.00น. ณ ห้องประชุมกองด่าน ตึก 5 ชั้น 5 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ กทม.

[07]
ร่วมสัมมนา โครงการสัมมนา "มิตรภาพและความร่วมมือไทย-จีน" จัดโดย คณะกรรมการอำนวยการจัดงานสัมมนา ความร่วมมือไทย-จีน วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม 2546 เวลา 12.30 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ กรุงเทพมหานคร บรรยายโดย ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผอ.ศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ผอ.สถาบันวิถีทรรศน์, อ.วิทยา เขียงกูล ผอ.ศูนย์วิจัยทางด้านสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นายกังวาฬ ตันติพงศ์อนันต์ เลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

[06]
ประชุม เอเปค: โอกาสทองของประวัติศาสตร์ APEC: A Historical Opportunity ไปในนามผู้แทนมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน UNCC, 2 October 2003 เรื่อง Thailand - China Friendship & Cooperation Two Nations One Friendship ถ.ราชดำเนินนอก เวลา 13.00 - 15.00 น.

[05]
ผู้แทน คกร. ร่วมประชุมการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เรื่องสื่อเกษตรเพื่อการสื่อสารสาธารณะ และการผลักดันนโยบายการเกษตรเพื่อสุขภาพ สำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2546 ณ สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

[04]
การประชุมสมัชชาสุขภาพ วาระแห่งชาติ ร่วมเป็นคณะ คกร. วันที่ 8-9 สิงหาคม 2546 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

[03]
การประชุมสัมมนา การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544) ระหว่างวันที่ 11-13 มิถุนายน 2546 พุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพมหานคร

[02]
การประชุมประชาพิจารณ์ สาระร่างกฏกระทรวง ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบศูนย์การเรียน โดยองค์กรชุมชนและองค์กรเอกชน ระหว่างวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน ถึง 7 มิถุนายน 2546 ณ ห้องกำแหงพรางกูร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

[01]
การประชุมสัมมนา เรื่อง การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ระหว่างวันที่
29 - 30 พฤษภาคม 2544 ที่จังหวัดนครปฐม จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และ มูลนิธิศึกษาพัฒน์

[กลับไปหน้าสารบัญ portfolio]