igoodmedia network
 
- Close

 

 

บทวิเคราะห์:
บทบาทภาพยนตร์ และสถานภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

: สู่ดิน ชาวหินฟ้า
: พงษ์ พิมะนิช
: ทิฆัมพร ตรีรัตน์อนวัช
: ชาคร กรังพานิช

วิชา: 5002 ความเบื้องต้นทางการสื่อสาร
ผู้สอน:
รศ.ประชัน วัลลิโก

สาระสำคัญ:
บทที่ 1 องค์กรภาพยนตร์
บทที่ 2 สถานการปัจจุบันของสื่อภาพยนตร์
บทที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งภาพยนตร์
บทที่ 4 เทคนิค และเทคโนโลยี

ผนวก ก. ตัวอย่างบทประพันธ์ภาพยนตร์
ผนวก ข. บทสัมภาษณ์ คุณนิมิตร พิพิธกุล เรื่องสถานการณ์สื่อภาพยนตร์

บทที่ 1 องค์กรภาพยนตร์

หอภาพยนตร์แห่งชาติในบริบทการแก้ปัญหากิจการภาพยนตร์ของชาติ

รัฐบาลปัจจุบัน เคยเสนอแนวนโยบายในการปฏิรูประบบราชการเมื่อสองปีก่อนว่า จะจับกลุ่มหรือรวมศูนย์งานแต่ละหน่วยต่างกรมต่างกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันเข้ามาไว้ด้วยกัน กรณีของงานภาพยนตร์ หน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่องภาพยนตร์ก่อนที่จะปฏิรูประบบราชการโดยจัดแบ่งกระทรวงใหม่นั้น มีอยู่สามหน่วย คือ หนึ่ง ฝ่ายตรวจพิจารณาภาพยนตร์ และฝ่ายควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมการเผยแพร่ภาพยนตร์และเทปวัสดุโทรทัศน์โดยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สอง ฝ่ายกิจการภาพยนตร์ ในกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยหน้าที่ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี สาม คือฝ่ายหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดูแลเรื่องการแสวงหา เก็บรักษาเพื่ออนุรักษ์และการให้บริการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ภาพยนตร์ในฐานะเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ

แต่เมื่อมีการปฏิรูปปรับเปลี่ยนกระทรวงกันใหม่แล้ว ปรากฏว่านอกจากมิได้มีการจับกลุ่มหน่วยงาน
ของรัฐที่ดูแลเรื่องภาพยนตร์เป็นกลุ่มเดียว ยังคงกระจายอยู่ต่างกระทรวง หรือเปลี่ยนย้ายกระทรวง และยังมีการเพิ่มหน่วยงานที่ดูแลภาพยนตร์ขึ้นมาใหม่ด้วย กล่าวคือยังคงมีหน่วยงานควบคุมหรือตรวจพิจารณา
ภาพยนตร์อยู่กับสำนักตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายกิจการภาพยนตร์ ในกรมประชาสัมพันธ์ โอนไปอยู่กระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา โดยอยู่ในสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ มีบทบาทหน้าที่ประการหนึ่งมาดูแลเรื่องการส่งเสริมกิจการภาพยนตร์ภาคการผลิตและบริการและกิจการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปและวัฒนธรรม หอภาพยนตร์แห่งชาติ ยังอยู่ในกรมศิลปากร แต่โอนไปอยู่กระทรวงวัฒนธรรม และมีกรมใหม่ขึ้นในกระทรวงนี้ คือ สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ส่วนหนึ่ง
ดูแลกิจการภาพยนตร์ในฐานะเป็นศิลปะร่วมสมัยอย่างหนึ่งด้วย

จึงเห็นว่ายังไม่มีการรวมกลุ่มงานเข้าด้วยกันและหน่วยงานเหล่านี้ยังอาจทำงานที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่

พระราชบัญญัติภาพยนตร์

พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น
ผู้กำกับดูแล และให้อำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ปฏิบัติ คือการตรวจพิจารณาหรือการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์และกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์นั่นเอง พระราชบัญญัตินี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภาคเอกชนผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ทั้งผู้ผลิตและผู้จัดฉายภาพยนตร์ กับภาครัฐ ในประเด็นเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และยังขัดแย้งกับภาคประชาชน ในประเด็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ได้มีความพยายามที่จะแก้ไขพระราชบัญญัตินี้มากว่าสามสิบปีแล้ว ทั้งจากฝ่ายกระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจากฝ่ายรัฐบาลโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่านคณะกรรมการส่งเสริม
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมทั้งจากฝ่ายภาคเอกชน คือ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ได้มีการร่าง
พระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่ออกมาหลายฉบับ จวบจนปัจจุบันก็ยังมีการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่กันอยู่ ซึ่งฟ้องว่ารัฐไม่มีนโยบายสาธารณะด้านภาพยนตร์ที่ชัดเจนและขาดความเอาจริงและจริงใจ

ประเด็นสำคัญในร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่ มี 3 เรื่อง คือ

1. เรื่องเซ็นเซอร์ มีแนวโน้มหรือกระแสทัศน์ในสังคมไทยว่า ไม่ควรมีการเซ็นเซอร์ แต่ยอมรับให้มีการใช้ระบบจัดระดับภาพยนตร์ให้เหมาะสมกับอายุผู้ชม เพราะการเซ็นเซอร์นอกจากเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพและสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนแล้ว การห้ามยังเป็นการขัดธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ในขณะที่วิธีการจัดระดับ หรือประเภทของภาพยนตร์ให้เหมาะสมกับผู้ชมเป็นเรื่องสอดคล้องกับขบวนการเรียนรู้ หรือให้การศึกษาแก่สังคม อย่างไรก็ดีเรื่องเซ็นเซอร์นี้ยังมีปัญหา เพราะภาครัฐสายราชการยังต้องการการควบคุม ในขณะที่ภาครัฐสายการเมืองและภาคเอกชนและประชาชนเริ่มเข้าใจขบวนการให้การศึกษา

2. เรื่ององค์กรภาพยนตร์ หรือหน่วยงาน ที่จะมากำกับดูแลกิจการภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัตินี้คือใคร มีแนวโน้มจากนโยบายการปฏิรูประบบราชการว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะถูกกันออกไปจากภารกิจเดิม ในขณะที่ฝ่ายภาคเอกชนเรียกร้องให้มีสภาภาพยนตร์แห่งชาติ และคณะกรรมการในกำกับของสภาเป็นผู้กำกับดูแลกิจการภาพยนตร์ (แทนตำรวจแต่เดิม) แต่ดูเหมือนภาครัฐสายราชการยังไม่เห็นด้วย จึงอาจถ่ายโอนอำนาจและภารกิจนี้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปที่กระทรวงวัฒนธรรม

3. เรื่องการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่เดิมภาคเอกชนผู้สร้างภาพยนตร์ไทยเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ไทยในฐานะเป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่ง รัฐจึงจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 แต่ต่อมารัฐได้เปลี่ยนนโยบายไปส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยแทน หน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของรัฐจึงถูกโอนจากกรมประชาสัมพันธ์ ไปอยู่ที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ขณะเดียวกันกับที่กระทรวงนี้โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้าไปเป็นผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติขึ้นในกรุงเทพเพื่อ
ส่งเสริมอุตสาหรรมภาพยนตร์เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีข้อเสนอแนะให้รัฐจัดตั้งกองทุน
ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ขึ้นในร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ หรือแยกเป็นอีกร่างหนึ่งก็ได้ ในขณะที่มีเสียงพูดจากสายราชการว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังมีนโยบายไม่ให้ตั้งกองทุนอะไรอีก

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

เฉพาะเรื่องการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปัจจุบันนี้กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยได้พัฒนาตนเองเป็นอุตสาหกรรม (ด้วยตนเอง) แล้ว หากรัฐจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ไทย ควรจะเป็นภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก และในช่องของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อย่างมีศักดิ์ศรี เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ของชาติ วิธีการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่ตรงจุดคือการกำจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดจากภาครัฐเองเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นการอำนวยความสะดวก และอาจต้องกล้าใช้อำนาจแทรกแซงอุปสรรคบางอย่างในระหว่างภาคเอกชนเอง

กองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจำเป็นจะต้องมี แต่ควรจะเรียกว่า กองทุนส่งเสริมภาพยนตร์แห่งชาติหรือแห่งประเทศไทย เงินกองทุนอาจจะมาจากเปอร์เซนต์รายได้การจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์แต่ละใบและวัสดุเทปโทรทัศน์แต่ละชิ้นในประเทศนี้ เพื่อให้เงินจากวงการกลับมาพัฒนาวงการ หรือหากรัฐบาลมีนโยบายไม่ให้ตั้งกองทุนจริง ก็ควรเสนอให้ออกสลากพิเศษเพื่อกองทุนภาพยนตร์ทำนองเดียวกับสลากหงส์ จะต้องมีการบริหารกองทุนโดยแบ่งสัดส่วนการสนับสนุนในรูปเงินกู้และหรือเงินอุดหนุนให้เปล่า ไปทั่วทุกด้านของวงการภาพยนตร์ในประเทศ (เพราะภาพยนตร์มิได้มีแต่ด้านอุตสาหกรรม) เช่น ด้านอุตสาหกรรม ด้านการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การผลิตภาพยนตร์ การอนุรักษ์ การเผยแพร่ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงศิลปวัฒนธรรม แต่ต้องส่องกล้องและกำหนดสัดส่วนให้ดีและฉลาด ซึ่งในที่สุดอาจต้องมีสำนักงานกองทุน (องค์การมหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการ

หอภาพยนตร์แห่งชาติในบริบทการแก้ปัญหากิจการภาพยนตร์ของชาติ

ปัจจุบันหอภาพยนตร์แห่งชาติ มีสถานภาพเป็น หน่วยงานรัฐ ระดับกลุ่มงานหนึ่งในสังกัดสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หน้าที่ของหอภาพยนตร์แห่งชาติ คือ การแสวงหา เก็บรวบรวมสะสม บรรดาภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ เพื่ออนุรักษ์ไว้ในฐานะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาและมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการสาธารณะ ได้ใช้ประโยชน์ด้านการค้นคว้าศึกษาและด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม

หากเปรียบเทียบหอภาพยนตร์แห่งชาติ กับหน่วยงานอื่นในบริบทของบทบาทหน้าที่ทำนองเดียวกัน เช่น หอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ หอศิลป์ และ ศูนย์วัฒนธรรม หอภาพยนตร์อาจเป็นหน่วยงานที่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐน้อยที่สุด และเป็นหน่วยงานที่โดดเดี่ยวที่สุด เพราะทั้งประเทศมีอยู่เพียงแห่งเดียว ในขณะที่ประเทศมีหอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ หอศิลป์และศูนย์วัฒนธรรม นับร้อยนับพันแห่ง รัฐไม่เคยคิดเรื่องการจัดตั้งหอภาพยนตร์มาก่อน หอภาพยนตร์แห่งชาติเกิดขึ้นได้เมื่อยี่สิบปีที่ผ่านมา เพราะการเสนอแนะเรียกร้องและลงมืออาสาสมัครทำงานให้รัฐโดยเอกชน

แม้ว่าจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร แต่เวลา 20 ปีที่ผ่านมา หอภาพยนตร์แห่งชาติสามารถปฎิบัติภารกิจด้านพื้นฐานได้เป็นผลสำเร็จ นั่นคือ การแสวงหารวบรวมภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ จนกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีมรดกภาพยนตร์ของชาติเป็นปึกแผ่น

แต่ความสำเร็จนั้นกำลังจะเป็นความล้มเหลวในบั้นปลาย เพราะปัจจุบันหอภาพยนตร์แห่งชาติกำลังเผชิญกับปัญหาความเป็นความตาย นั่นคือไม่สามารถให้การดูแลรักษาฟิล์มภาพยนตร์ที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป เพราะการขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ ครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ทำงาน ขนาดของภารกิจในการดูแลรักษาฟิล์มภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์แห่งชาติอาจเปรียบได้กับภารกิจของโรงพยาบาลในขณะที่หอภาพยนตร์แห่งชาติมีสภาพเป็นเพียงสุขศาลาอนาถา

อีกด้านหนึ่งหอภาพยนตร์แห่งชาติมีภารกิจในด้านให้บริการสาธารณะ การให้บริการของหอภาพยนตร์มีสองทาง ทางหนึ่งคือเป็นแหล่งค้นคว้าศึกษาโดยตรง หอภาพยนตร์เป็นคลังภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าไปขอดูหรือศึกษาค้นคว้าภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ที่หอภาพยนตร์จัดไว้ให้บริการ อีกทางหนึ่งเป็นแหล่งให้การเรียนรู้นอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน โดยการจัดกิจกรรมการเผยแพร่ เช่น การจัดรายการฉายภาพยนตร์เป็นประจำ การจัดนิทรรศการ การจัดประชุมทางวิชาการ การจัดทำสิ่งพิมพ์ทางวิชาการออกเผยแพร่

ในระยะทศวรรษแรกของการจัดตั้ง (2527 - 2537) หอภาพยนตร์แห่งชาติพยายามรักษาสมดุลย์ของภารกิจ ระหว่างภารกิจการแสวงหา การเก็บรักษา และภารกิจการให้บริการ โดยพยายามทำทั้งสองทาง เป็นหอภาพยนตร์อย่างที่เรียกกันว่าแอคทีฟ ดูคึกคักมีชีวิตชีวา

แต่ในระยะทศวรรษหลัง (2537 - 2547) หอภาพยนตร์แห่งชาติเริ่มประสบปัญหา ภารกิจในด้านการแสวงหาและดูแลรักษาภาพยนตร์ และสิ่งเกี่ยวเนื่องซึ่งสั่งสมเป็นปึกแผ่นขึ้นนั้น ต้องการการดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการของหอภาพยนตร์สากล กำลังงบประมาณและกำลังคนที่จำกัดทำให้หอภาพยนตร์แห่งชาติ จำเป็นต้องเลือกทุ่มเทให้กับภารกิจด้านการแสวงหา และการดูแลรักษาภาพยนตร์ มากกว่าภารกิจด้านการให้บริการ เมื่อต้องเลือก จึงต้องการพื้นที่สำหรับเก็บภาพยนตร์มากกว่าที่สำหรับฉายให้คนดู จึงต้องให้เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่จำกัดนั้นทำงานด้านการดูแลรักษาฟิล์มภาพยนตร์มากกว่าที่จะไปจัดรายการฉายภาพยนตร์

ในระยะทศวรรษที่ผ่านมานี้ หอภาพยนตร์แห่งชาติจึงกลายเป็นหน่วยงานวัฒนธรรมอย่างที่เรียกกันว่า Passive คือเฉื่อยเนือยหรือเงียบเชียบเหมือนไม่มีชีวิตชีวา

หอภาพยนตร์แห่งชาติจำเป็นต้องเลือกทางเฉื่อย เพราะต้นทุนเนื้อแท้ของมรดกภาพยนตร์ของชาติก็คือตัวฟิล์มภาพยนตร์ การดูแลรักษาฟิล์มภาพยนตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและสนุกอีกทั้งได้หน้าตาเหมือนการจัดฉายหนังให้ผู้คนชื่นชม ตรงข้ามการดูแลรักษาฟิล์มเป็นเรื่องลำบากยากเข็ญ ทุกข์ทรมานและไม่มีใครรู้ เป็นการปิดทองหลังพระ แต่หอภาพยนตร์แห่งชาติหวังว่าการปิดทองที่ทุกข์ทรมานนี้จะก่อปิติเพราะผู้คนในอนาคตจะได้รับประโยชน์จากมรดกภาพยนตร์เหล่านี้

แต่ในสภาพความเป็นจริง หอภาพยนตร์แห่งชาติพบว่าความทุกข์ทรมานนี้อาจไม่ก่อปีติเลย นอกจากความขมขื่น เพราะความอัตคัตขาดแคลนจากที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร หรือพอเพียงของหน่วยงานรัฐแห่งนี้ อาจทำให้การทำงานที่ทุกข์ทรมาน และยากเข็ญกลายเป็นสูญเปล่า สุขศาลาย่อมไม่อาจรักษาคนไข้ที่มีจำนวนมากเกินกำลังและเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เมื่อสามสี่ปีที่ผ่านมานี้ ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูประบบราชการ หอภาพยนตร์แห่งชาติได้เรียนรู้เรื่องการปฏิรูปหน่วยราชการเป็นองค์การมหาชน ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 จึงเกิดความหวังว่าหากหอภาพยนตร์ได้รับการปฏิรูปเป็นองค์การมหาชน คงจะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลและได้รับการพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง สามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้สมบูรณ์และเป็นจริง

หอภาพยนตร์แห่งชาติ จึงทำเรื่องเสนอขอปฏิรูปหน่วยงานตนเองเป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติและผิดประเพณีในระบบราชการ เพราะเป็นการเสนอแนะเชิงนโยบายจากล่างขึ้นบน จึงไม่แปลกที่ได้รับการปฏิเสธจากหน่วยงานต้นสังกัด คือกรมศิลปากร และกระทรวงศึกษาธิการ (ก่อนจะแยกเป็นกระทรวงวัฒนธรรม) จึงเป็นเรื่องขมขื่นสำหรับหอภาพยนตร์แห่งชาติ ที่ได้พบได้เห็นว่า นโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐ ไม่ได้รับการเอาใจใส่และปฏิบัติอย่างเอาจริงและอย่างจริงใจ หน่วยงานของรัฐบางแห่งได้รับบัญชาโดยมติคณะรัฐมนตรีด้วยซ้ำ ให้ปรับเป็นองค์การมหาชน แต่ล้มเหลวเพราะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้น กลับพยายามต่อต้านและถ่วงเวลา เพราะความหวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงและการสูญเสียส่วนตน ในระยะสองปีมานี้ จึงเกือบไม่มีหน่วยงานราชการปรับเปลี่ยนเป็นองค์การมหาชนตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐเลย ตรงข้ามปรากฏว่ามีแต่องค์การมหาชนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ใช่การปฏิรูปหน่วยงานราชการแต่อย่างใด และมักตั้งขึ้นอย่างง่ายดาย เพราะไม่มีปัญหาจากข้าราชการ ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่บางองค์การตั้งขึ้นมาลอยๆ บนกระดาษด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม หอภาพยนตร์ยังคงเรียกร้องต่อสู้ต่อไป เมื่อยี่สิบปีก่อนเคยเรียกร้องให้รัฐจัดตั้งหน่วยงานนี้ แต่บัดนี้เป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลกรุณาปฏิรูปหน่วยงานนี้ให้เป็นองค์การมหาชน

ศักยภาพที่บริบูรณ์ของหอภาพยนตร์แห่งชาติ

ด้านอนุรักษ์ เป็นแหล่งเก็บสะสมและดูแลรักษาภาพยนตร์ทั้งหลายของชาติ รวมถึงอาจคัดสรรภาพยนตร์สำคัญของโลกเพื่อเป็นสมบัติของชาติ เป็นหลักประกันว่าภาพยนตร์ทั้งหลายนั้นจะเป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกหลานของชาติในอนาคต  

ด้านการศึกษา เป็นแหล่งให้บริการค้นคว้าศึกษา และการวิจัยเชิงสหวิทยาการ โดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อ เป็นแหล่งให้การศึกษาเรียนรู้นอกระบบ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน

ด้านเศรษฐกิจ เป็นคลังทรัพย์สินทางปัญญาด้านภาพยนตร์และวีดีทัศน์ของชาติ เป็นต้นทุนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และงอกเงยต่อยอดตลอดเวลา

ด้านการเผยแพร่ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยภาพยนตร์ของชาติ ทั้งในสาขาประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถเผยแพร่เกียรติภูมิด้านภาพยนตร์ของชาติ และเกียรติภูมิด้านอื่น ๆ ของชาติผ่านทางภาพยนตร์อย่างกว้างขวาง โลกหอภาพยนตร์ระหว่างชาติ เป็นโลกที่ไร้พรมแดนและปราศจากกำแพงเศรษฐกิจ โดยสนธิสัญญาระหว่างสมาพันธ์หอภาพยนตร์ระหว่างชาติ กับ สมาพันธ์สมาคมผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ระหว่างชาติ และองค์การยูเนสโก สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ภาพยนตร์ระหว่าหอภาพยนตร์ชาติต่างๆ อย่างเสรี

ถ้าหากคิดว่าภาพยนตร์เป็นศาสนา หอภาพยนตร์คือวัดของศาสนานี้ ห้องเย็นเก็บฟิล์มคือหอไตร พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์คือวิหาร ห้องให้บริการค้นคว้าคือศาลาการเปรียญ โรงหนังคือโบสถ์ ดังนั้นหากจะทำนุบำรุงและสืบต่อศาสนานี้ จักต้องทำนุบำรุงวัดของศาสนานี้ให้ได้ก่อน จึงจะได้บุญ มีคำกล่าวที่ท้าทายว่า ประเทศใดหากยังไม่มีหอภาพยนตร์สักแห่งหนึ่งที่พัฒนาแล้ว ย่อมไม่อาจนับถือได้ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทางวัฒนธรรม

 

บทที่ 2 สถานการปัจจุบันของสื่อภาพยนตร์

ภาพยนตร์เป็นศิลปะด้านสุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ซึ่งเป็นศิละแขนงที่ 7 ที่รวมเอาศิลปะแขนงอื่นๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นสื่อที่มีพลังและอิทธิมากที่สุดในการโน้มน้าวใจผู้ดู ดังนั้นธุรกิจภาพยนตร์จึงยังคงมีชีวิตอยู่รอดได้ในวงจรสื่อสารมวลชน และพัฒนาขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรม และธุรกิจข้ามชาติไปแล้ว ในการวิเคราะห์บทบาทและสถานการณ์ของภาพยนตร์ทั้งต่างประเทศและภาพยนตร์ไทย อาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง (Polotical Economy Analysis) มาเป็นกรอบอธิบาย เพื่อหาคำตอบว่า ภาพยนตร์มีบทบาทอย่างไรต่อบุคคล สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

แนวคิดพื้นฐานของ Political Economy Analysis

(1) Materialism: วัตถุนิยม

เป็นเอกลักษณ์ในการมองโลกอย่างเป็นพื้นฐาน โดยได้อธิบายความหมายของ “วัตถุ” ออกเป็นนัย คือ

วัตถุนิยม หมายถึง "ความชื่นชมนิยมในวัตถุ" เชื่อว่า "โลกและสังคมที่ดำรงอยู่นั้น" (Exist) มิได้เกิดจากเจตน์จำนงของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง แต่พัฒนาการไปตามระบบความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมนั้น

วัตถุนิยม หมายถึง "จิตสำนึกของบุคคล" (Social Consciousness) เกิดจากการดำรงอยู่จริงของบุคคล (Social Being) เป็นปัจจัยกำหนดความหมายและความเป็นจริงของวัตถุ หมายความว่าจุดศูนย์กลางทางความคิดมิได้อยู่ที่บุคคล แต่ที่อยู่วัตถุเป็นตัวกำหนดความคิดความพอใจ เช่น มีผู้มาบริการนมสด 1 แก้ว แต่มีคนมาแอบดื่ม เหลือเพียง 1/5 แก้ว บุคคลจะมีมุมมองวัตถุ (นมในแก้ว) ที่ต่างกันก็ได้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกที่มีจริง เป็นจริง (Being) ของบุคคลคนนั้น คนหนึ่งอาจโกรธพร้อมอุทาน “ใครนะมาลักดื่มนมเกือบหมดเลย ?” แต่อีกคนหนึ่งอาจคิดว่า “อ้อ! โชคดีที่ยังเหลือนมไว้ให้บ้าง”

ทำให้เกิดประเด็นคำถามที่ต้องแสวงหาองค์ความรู้ต่อไปว่า

-ใครเป็นเจ้าของสื่อภาพยนตร์ และธุรกิจภาพยนตร์ ทั้งโดยพฤตินัย และนิตินัย

-สื่อมวลชน มีบทบาทอะไรต่อการสร้างสรรค์จิตสำนึกของประชาชน และวัฒนธรรมของประชาชน (Popular Culture) ในการนำเสนอผ่านภาพยนตร์

-เนื้อหา สาระ ค่านิยม ที่จะบรรจุลงไปในภาพยนตร์มีขอบเขตเพียงไร เพื่อใคร ผลที่เกิดขึ้นมีผลต่อสังคมอย่างไร

-ธุรกิจภาพยนตร์ในระดับล่าง (คนทำหนังแผ่น) และระดับบน (ภาพยนตร์ไทยทั้งหนังฉายโรง และส่งออก) รวมทั้งระดับชาติ (ภาพยนตร์ต่างประเทศ) ใครเป็นผู้กำหนดโครงสร้าง และควบคุม ที่แท้จริง

(2) False Consciousness / Ideology: จิตสำนึกที่ผิดพลาด / อุดมการณ์

แนวคิดนี้ เชื่อว่า

-ความรู้ความคิด มาจากประสบการณ์โดยตรง (Direct Experience) และประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากผู้อื่น (Mass Mediated Experience)

-ความรู้ความคิดที่ได้รับ มีจุดผิดพลาดได้ เรียกว่า "จิตสำนึกที่ผิดพลาด" (False Consciousness) และเรียกกระบวนการนำความคิดที่ผิดพลาดนั้นมาติดตั้งให้แก่คนในสังคม ว่า "การครอบงำทางความคิด" (Manipulation)

-อภิสิทธิ์ชนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตวัตถุในสังคม จะใช้วิธีการครอบงำทางความคิด ผ่านสื่อต่างๆ จนทำให้เกิด "จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" (Cultural Imperialism) (H. Schiller: 1976) นำโดยสหรัฐ ซึ่งควบคุมสื่อสารมวลชนในระดับโลก กลายเป็นธุรกรรมข้ามชาติ ไปในที่สุด โดยเฉพาะ Hollywood กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ดึงดูดโลกทางความคิดของผู้คนทุกประเทศไว้ในมิติของมายา และเกิดการครอบงำ กลายเป็นระบบทาสใหม่ (New Root) ซึ่งดึงดูดจากทิศทางสู่จุดศูนย์กลาง โดยมี Hollywood เป็นนิวเคลียส

-การเมือง คือความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power Relation) และอำนาจที่มาจากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่งผลให้นักการเมือง และนักธุรกิจการ กลายเป็นเจ้าของสื่อ แม้แต่ภาพยนตร์ ทั้งผลิตและเผยแพร่ความรู้ ความคิด ค่านิยม วัฒนธรรมต่างๆ ให้แก่คนในสังคม ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์

ดังนั้น ในทุกกิจกรรมทางสังคม ย่อมมีการเมือง และการสื่อสารทางการเมืองแทรกซึมอยู่ด้วยเสมอ ภาพยนตร์ กำลังเป็นจุดสนใจของทั้งนักธุรกิจการค้า และธุรกิจการเมือง เพราะภาพยนตร์เป็นสื่อที่ทรงพลังในการโน้มน้าวใจสูงสุด ภาพยนตร์ได้กลายเป็นธุรกิจข้ามไปเพราะอำนาจทางการเมืองเข้าครอบงำทั้งในระดับโครงสร้างและความคิด อุดมการณ์ ซึ่งส่งผลให้การกำหนดเนื้อหาสาระ การตลาด วัฒนธรรม เป็นไปตามความพึงพอใจของผู้ใช้อำนาจเหล่านั้น โดยประชาชนผู้บริโภคไม่มีสิทธ์เลือก

นักเศรษฐศาสตร์การเมือง มองว่า โครงสร้างและรูปแบบของ Mass Communication คือการส่งสารจากผู้ส่งสารจำนวนน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทาง ไปยังผู้รับสารซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ ที่แทบจะไม่ได้รับการฝึกอบรมในการรับสารแต่อย่างใด (รับเละ) ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนอิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาทำธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย โดยผ่านนักธุรกิจคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมือง

(3) Hegemony:

3.1 แนวคิดมาจาก Gramsci: แบ่งออกเป็น มุมมองจากผู้ปกครองว่า

"การครอบครองความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์" (Hegemony) ทำให้เชื่อว่า "เศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง" นั่นคือปฏิเสธความคิดความเชื่อทางจารีตประเพณีอย่างสิ้นเชิง "เรื่องของอุดมการณ์และจิตสำนึกนั้นสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระในบางกรณี" (Relative Autonomy)

แนวคิดนี้สนใจในกระบวนการทำงานของกลไกทางอุดมการณ์ของสังคม (Ideological Apparatus) คือ ชนชั้นปกครอง (Ruling Class) จะใช้กลไกการปราบปราม (Repressive Apparatus) และกลไกอุดมการณ์ (Ideological Apparatus) มาเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนใต้ปกครอง เพื่อให้ผู้ใต้ปกครองยอมรับ (Consent) ในความคิดและอำนาจ

ดังนั้น ภาพยนตร์ จึงเป็นธุรกรรม-ธุรกิจที่นักการเมือง ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะการนำสื่อภาพยนตร์ไปใช้เป็นกลไกทางอุดมการณ์ เช่นการสร้าง Agenda Setting ผ่านสื่อภาพยนตร์ จะให้ผลในการโน้มน้าวใจสูงกว่า ผสมผสานไปกับการแตกตัวของระบบบริโภคนิยม (Consumptionism) ที่มุ่งหมายการเสพทางวัตถุเป็นปัจจัยสูงสุดในชีวิต

3.2 มุมมองจากผู้ใต้ปกครอง

Hegemony คือ กระบวนการที่คนกลุ่มน้อย สามารถทำให้ความคิดและวัฒนธรรมของตน กลายเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มใหญ่ ทำให้เกิดกระบวนการแย่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมของสังคม และพื้นที่ทางความคิดของประชาชน เพื่อที่ว่ากลุ่มใดจะชนะ (เกิด Hegemonize) ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติการของคนกลุ่มนั้นๆ ความเชื่อนี้ เป็นที่มาของเวทีต่อสู้ระหว่าง NGO (องค์กรเอกชน) กับรัฐบาล แต่ NGO ไม่มีอำนาจในการครอบครองสื่อ หรือมีแต่น้อยมาก ก็เสียเปรียบอำนาจรัฐอยู่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดวาระของสื่อ Agenda Setting ระหว่างสื่อมวลชนเอง พอเป็นคู่แข่งระดับรัฐได้ เพราะความได้เปรียบความเป็นสื่อมวลชน ย่อมสร้างความเกรงกลัวให้กับอำนาจรัฐได้บ้าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว สื่อภาพยนตร์ยังมองไม่เห็นบทนี้ชัดเจน

(4) Class Conflict: ความขัดแย้งทางชนชั้น

แนวคิดนี้เชื่อว่า ความขัดแย้ง Conflict เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของสังคม ดังนั้น จงแสวงหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งนั้น เพื่อพัฒนาสังคมให้ผาสุก กลุ่มคนที่ข้ดแย้งกันจะพยายามใช้กลไกความรุนแรง และอุดมการณ์เป็นเครื่องมือต่อสู้กัน สื่อมวลชนจะทำหน้าที่ซ่อนเร้นความขัดแย้งทางชนชั้น หรือเสนอภาพลวงตามแบบเพ้อฝันเพื่อลดปัญหาบทบาทของสื่อที่มีต่อความข้ดแย้ง ด้วยการทำหน้าที่รักษาสภาพการณ์ให้คงเดิม (Status Quo) ไว้ให้มากที่สุด เช่น การนำเสนออุดมการณ์กระแสหลัก ของบทบาทสื่อ (Mainstream Ideology) ทำหน้าที่เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่สังคม (Alternative Ideology) ทำหน้าที่เสนออุดมการณ์ที่ต่อต้านสังคม (Opposition Ideology)

ภาพยนตร์ถูกนำไปใช้สร้างความสมานฉันทน์ระหว่างกลุ่มคนได้ พอๆ กับ สร้างความเกลียดชังกันได้ระหว่างเชื้อชาติ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง King And Anna สร้างความบาดหมางทางสถาบันพระมหากษัตริย์

รัฐบาลน่าจะสร้างภาพยนตร์ เพื่อสร้างความสมานฉันท์ระหว่างคนในสามจังหวัดภาคใต้ โดยระดมทุน ความคิด จากผู้เกี่ยวข้องเพื่องานอันใหญ่หลวงนี้

(5) Alienation: ความแปลกแยก

ความแปลกแยก เป็นสภาวะของมุนษย์ที่มีชีวิตอยู่ในระบบทุนนิยมที่ถูกตัดสายสัมพันธ์จากสรรพสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนทำให้เกิดอาการแปลกแยกทางจิตใจ ได้แก่ ความแปลกในวิถีชีวิตการงาน และครอบครัว

ภาพยนตร์กลายเป็นส่วนส่งเสริมให้เกิดสภาวะนี้ไปโดยปริยาย อันเนื่องมาจาก ถูกนำไปใช้เพื่อโฆษณาการบริโภคสินค้าอย่างไม่มีบันยะบันยัง

(6) Consumption Society: สังคมบริโภค

ในศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาสามารถพัฒนาพลังการผลิต แก้ปัญหาเรื่องผลิต จนผลิตได้เกินความต้องการของบุคคล ทำให้เกิดปัญหาใหม่ของระบบทุนนิยมว่า ทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นและเร่งให้มีการบริโภคให้มากและให้เร็วที่สุด โดยใช้ Advertising เป็นเครื่องมือ

-Advertising จะเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์ยอมทำงานหนัก เพื่อแลกเงินนำไปซื้อสิ่งบริโภค

-ทำให้คนหลบหนี Escapist ปัญหาที่แท้จริง ไม่ใส่ใจในการวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา ดังนั้น สื่อทำหน้าที่บรรเทาปัญหาให้หายเป็นพักๆ

-มนุษย์ปัจจุบันถูกสร้างภาพลวงตาว่าชีวิตเป็นอิสระในการเลือกบริโภค ซึ่งความจริงแล้วถูกบังคับให้บริโภคตามที่สื่อเสนอ (Enzenberge: 1974)

แนวคิดที่ (6) จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดว่าทำไม สื่อภาพยนตร์จึงตกอยู่ภายในอำนาจทางการเมือง กลายเป็นเครื่องมือของธุรกิจการเมือง และการค้าทุกระดับ โครงสร้างทางความคิดอุดมการณ์ การบริหารจัดการ การตลาด การโฆษณษประชาสัมพันธ์ การเงิน-บัญชี ล้วนถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจทั้งสิ้น ทำให้เกิดการแข่งขันการผลิตสื่อ ธุรกิจหนังแผ่น กำลังรุ่งเรือง ขนานไปกับ การละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเสรีภาพทางการค้าที่สังคมไทยเคยชินได้เปิดช่องไว้ จนกลายเป็นประเพณีไปเสียแล้ว โดยมีห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เป็นศูนย์กลางอำนาจที่ใหญ่สุดในการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นแหล่งผลิต-ขาย สื่ออนาจารมากที่สุด และเสรีอย่างไร้ขีดจำกัด

[ดู กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Higher Press, 2547), หน้า 67 - 68]

 

บทที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งภาพยนตร์

ตำนานภาพยนตร์

ปี 1878 - การทดลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวครั้งแรกของโลก : อดีตผู้ว่าการรัฐคาลิฟอเนีย ลีแลนด์ สแตนฟอร์ด เจ้าของคอกม้า ได้พนันกับคู่แข่งว่า ในระหว่างที่ม้าตัวโปรดของเขากำลังวิ่ง จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ขาทั้งสี่จะลอยอยู่กลางอากาศ เอ็ดเวิร์ด มายบริดจ์ (Eadweard Muybridge) ช่างถ่ายภาพชาวอังกฤษได้รับการว่าจ้างให้เป็นพิสูจน์ความจริงข้อนี้ เขาได้ตั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง 12 ตัว เรียงรายข้างทางวิ่ง แล้วขึงเชือกผูกกับไกชัตเตอร์ เวลาม้าวิ่งแตะเชือกชัตเตอร์ก็จะทำงาน ผลการพิสูจน์ว่า เท้าทั้งสี่ข้างของม้าลอยจากพื้นจริงๆ ความพยายามของมายบริดจ์ในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการพัฒนาอุปกรณ์การถ่ายภาพและฟิล์มขึ้น

กล้องถ่ายหนังตัวแรก : ในปี ค.ศ.1888 โธมัส อัลวา เอดิสัน กับ วิลเลี่ยม ดิคสัน เกิดความคิดจะผลิตกล้องสำหรับถ่ายทำเรียกว่า Kinetograph แต่ผลลัพท์ไม่น่าพอใจ หลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา ดิคสัน สามารถพัฒนาเครื่อง Kinetograph ให้ใช้งานได้คล่องมากขึ้น และยังประดิษฐ์เครื่องจัดแสดงภาพเคลื่อนไหวเรียกว่า Kinetoscope (Peep-show machine) มีลักษณะเป็นตู้สูงขนาดเอว ต้องดูในแบบถ้ำมองทีละคน และหยอดเหรียญครั้งละ 1 เพนนี เครื่อง Kinetoscope ออกแสดงครั้งแรกต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 14 เมษายน ปี 1894 หนังแต่ละเรื่องที่จัดแสดงในเครื่องถ้ำมอง กินเวลาเพียงไม่กี่วินาที ยุคของ Kinetograph กับ Kinetoscope เรียกกันว่าเป็นยุค Filmstrips บางทีก็เรียกว่า Pennyarcade

ภาพยนตร์ เริ่มจัดฉายครั้งแรกในโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ปี 1895 ภาพยนตร์ เริ่มปรากฎคั้งแรกในวรรณคดีไทย เรื่องพระอภียมณี จากคำว่า พยนต์ แปลว่าเรือ สิ่งที่สร้างโดยเครื่องจักรให้มีชีวิต แต่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่า ภาพยนตร์ มาจากคำว่า ภาพ+พยนต์ หรือไม่

Cinema มาจากภาษากรีก Kinema หรือ Kinein = to move ส่วนคำว่า Cinema Vernite หมายถึง หนังยาว บันทึกเรื่องจริง กล้องทำหน้าที่ที่เหมืนอกับตากล้อง เกาะติดสถานการณ์ ถ่ายทำแบบไม่มีการวางแผน เช่น การถ่ายทำสารคดี ข่าว เป็นต้น มีความเป็น art มากกว่า

Contempurary Cinema หมายถึง ภาพยนต์ร่วมสมัย FilmMaking หมายถึง การทำหนัง A theatrical Film หมายถึง ภาพยนตร์บันเทิง Movie Popular Culture, Pop Culture วัฒนธรรมมวลชน (วัฒนธรรมที่คนนิยมในยุคนั้นๆ)

ประดิษฐกรรม ที่เรียกว่า Magic Lantern คือ เครื่องฉายภาพเล็กๆ ข้างในบรรจุตะเกียง มีลำแสงผ่านเลนส์ ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น เมื่อประมาณศตวรรษที่ 17-18 ยุคนี้เป็นยุคที่เครื่องจักรกำลังเข้ามาแทนที่คน ดังนั้น บทบาทของภาพยนตร์จึงเริ่มพัฒนาขึ้นตามไปด้วย ทำให้ความหมายของภาพยนตร์ต้องขยายวงออกไปอีก Film Movie Cinema, Motion Picture หมายถึง Film is acidtate plate coat with acidtate, Nagative Film. คือสิ่งที่จะนำออกไปสู่สายตาคนดู ต้องบรรจุใน Roll Film โดยเริ่มตั้งแต่การนำฟิล์มดิบ ที่จะนำไปถ่ายทำ เรียกว่า Film stock (ตัดแบ่งจาก Roll Film) สำหรับถ่ายภาพนิ่ง (Film Cheet) 4x5 in. ใช้กับกล้องถ่ายใน studio

ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์

รากเหง้าของศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นที่มาของความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือ สุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วย ความงดงาม ดีงาม ปรัชญาเกี่ยวกับสิ่งที่มีความดีงามทั้งหลาย

ศูนย์กลางศาสตร์ทั้งหลาย มาจาก คุณวิทยา (Axiology) ซึ่งแตกแขนองออกเป็น จริยศาสตร์ (Ethics), ภววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy), ทฤษฎีความรู้ (Theology), เทววิทยา (Epistemology), ตรรกศาสตร์ (Theology Logics), จริยศาสตร์ (Ethics), ภาววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy)

คุณวิทยา Axiology ศึกษาเกี่ยวกับ จริยศาสตร์ เทววิทยา ตรรกวิทยา สุนทรียศาสตร์ โดยมีพื้นฐานมาจาก Philolophy, Ontology และ Epistemology

ผู้ที่ให้ความหมายของ สุนทรียศาสตร์ คือ Alexander Gottlieb Baumgarten (ค.ศ. 1714 - 1762) Aestherics มาจากคำว่า Aesthetica หรือ Aestherics --->Aistheisis/Aestheka (Aisthtikos) = Perception

ภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์ วิดีทัศน์ ถูกยกให้เป็นศิลปะแขนงที่ 7 เพราะมีพลังในการสร้าง emotion ให้แก่ผู้ชมได้สูงกว่าสื่อชนิดอื่น

ศิลปะ 7 แขนง ได้แก่
1. คีตศิลป์ การร้อง เพลงดนตรี ภาพ เสียงเพลง
2. จิตรกรรม ภาพเขียน เทคนิคการใช้สีสันต่างๆ ให้เกิดอารมณ์
3. ประติมากรรม งานปั้น รูปสลัก
4. สถาปัตยกรรม งานออกแบบฉาก การสร้างฉาก
5. นาฎกรรม การร่ายรำ ฟ้อนรำ การแสดง
6. วรรณกรรม งานเขียน บทกลอน โครง ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การเขียนบท
7. ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ศิลปะที่ว่าด้วยสุทรียะศาสตร์ Aestheti

ศิลปะ คืออะไร มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาควบแน่น ในความเป็นภาพยนตร์อย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ คำว่า Imitation มาจากการเลียนแบบ (จากธรรมชาติ) อะไรหรือสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ ดังนั้น Representations หรือ ศิลป (ทุกชนิดทุกประเภท) เป็นสื่อในตัวเอง

ศิลปะ ต่างจาก อนาจาร อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีการตีกรอบความหมายให้ชัดเจน มักจะนำสองคำนี้มาตีความให้เป็นสิ่งเดียวกันได้ นับเป็นคำอ้างของผู้ไม่ประสงค์ดี หรือบิดเบือนความจริง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ นั่นเป็นความหมายโดยทั่วไป แต่กรอบความคิดเพียงเท่านี้ยังไม่พอ สำหรับความหมายในเชิงสร้างสรรค์ หรือเชิงจริยธรรม ศิลปะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ทำลาย หรือเบียดความเจริญทางจิตวิญญาณด้วย นั่นหมายถึงว่า ศิลปะใดๆ ก็ตามถ้าเป็นต้นตอให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนในเชิงลบ หรือทำลายจริยธรรมอันดีงามของสังคม สิ่งนั้น ไม่ใช่ศิลปะอันติมะ หากนำไปบรรจุไว้ในภาพยนตร์ หรือสื่อใดๆ ก็ตาม จะทำให้สื่อนั้นกลายเป็นสิ่งของประโลมโลก ไร้สาระ หรือน้ำเน่า ไปทันที

อนาจาร มีสภาวะเป็นของจริงก็ได้ และเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับศิลปะก็ได้ แต่มีความหมายนัยเดียวเท่านั้นคือ สิ่งที่ทำลายหรือเป็นศัตรูกับจริยธรรม การนำเอาสิ่งที่เป็นอนาจารมาบรรจุไว้ในภาพยนตร์ จึงถูกสังคมประนามอยู่ทุกยุคทุกสมัย

ประเภทของภาพยนตร์ (Film Genre)

ประเภทของภาพยนตร์ น่าจะเป็นการจำแนกประเภทภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนดู อย่างน้อยในเบื้องต้น มักก็ถูกใช้เพื่อตอบสนองความพยายามในการหาข้อสรุปสั้นๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งๆ นั้นมีลักษณะและเนื้อหาเป็นเช่นไร

ประเภทของภาพยนตร์เป็นการจำแนกประเภทภาพยนตร์โดยยึดถือส่วนประกอบของเนื้อหาเป็นหลัก ส่วนประกอบดังกล่าว ได้แก่ ลักษณะตัวละคร ความขัดแย้ง ฉากเหตุการณ์ แบบแผนของโครงเรื่องและแก่นเรื่อง

ภาพยนตร์ที่จัดเป็นประเภทเดียวกัน คือภาพยนตร์ที่มีลักษณะร่วมกัน ในส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อมีลักษณะตัวละครคล้ายกัน มีฉากเหตุการณ์อยู่ในช่วงเวลาและสถานที่ใกล้เคียงกัน และมีแบบแผนของโครงเรื่องคล้ายกัน นั่นทำให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเดียวกัน

ประเภทของภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมีอยู่มากมาย อาทิ ภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์บุกเบิกตะวันตก ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ และภาพยนตร์สยองขวัญ

สมณะโพธิรักษ์ แห่งสำนักสันติอโศก อดีตครูเพลง ครูในวงการบันเทิง วิทยุโทรทัศน์ ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “รัก รักพงศ์” (ปัจจุบันเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม) ได้จัดแบ่งประเภทของสื่อวิดีทัศน์ สื่อภาพยนตร์ ในมิติทางศาสนา ออกเป็น 3 ประเภท คือ

(1) ประเภทสารคดี ประกอบด้วย สาระความรู้ทั่วไป (โลกธรรม) เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรกรรม วัฒนธรรม อาชีพ

(2) ประเภทธรรมดคี ประกอบด้วย สาระความรู้ที่ มีธรรมะแทรกไว้เกินร้อยละ 60 (โลกุตระธรรม) เช่น ประวัติศาสตร์ศาสนา เรื่องของนักบุญ เหตุการณ์ พิธีกรรม กิจกรรม กิจการ ทางศาสนา

(3) ประเภทบันเทิงคดี ประกอบด้วยเรื่องราว ลีลา แสง เสียง บทบาท ที่แสดงออกไปในทางโลภ โกรธ หลง ซึ่งถือเป็นเครื่องชูรสในการดู แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ ลักษณะซาบซึ้งตรึงใจ (Romanticism) เช่น เรื่องรัก ประทับใจ (แนวโลภะจริต - ราคะจริต) ลักษณะร้อนแรง ดุเดือด (Sadism) เช่น เรื่องบู๊ โหดเหี้ยม กำลังภายใน (แนวโทสะจริต) ลักษณะสัจจะสังคม (Realistic) เช่น เรื่องราวความเป็นจริงในสังคม ที่เกิดขึ้นจริง และ ลักษณะจินตนาการ (Idealistic) เช่น เรื่องราวที่เน้นอุดมคติ อุดมการณ์ ยึดมั่นต่อคุณความดีของมนุษย์

ทั้งนี้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมและสั่งสอนธรรมะ โดยใช้สื่อภาพยนตร์เป็นอุปกรณ์ช่วยสอน (จากหนังสือ หลักปฏิบัติของชาวอโศก, สรรค่า สร้างคน. กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2542 หรือ http://www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/Svita/Course/
course_svita[6].html
)

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีภาพยนตร์อีกหลายประเภทที่ปรากฏอยู่ที่มีลักษณะที่เป็นประเภทชัดเจน และที่มีลักษณะร่วมกับประเภทอื่น ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์สายลับ ภาพยนตร์สงคราม ภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ ภาพยนตร์ชีวประวัติ ภาพยนตร์ลึกลับตื่นเต้น ภาพยนตร์เขย่าขวัญ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์สืบสวน และภาพยนตร์ต่อสู้คดีในศาล เป็นต้น

เป็นเรื่องปรกติ หากว่าภาพยนตร์หลายประเภทมีลักษณะร่วมกัน หรือมีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น ภาพยนตร์สยองขวัญ กับภาพยนตร์เขย่าขวัญ และภาพยนตร์ลึกลับตื่นเต้น ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหายนะกับภาพยนตร์ต่อสู้เพื่อรอดชีวิต ภาพยนตร์สงครามกับภาพยนตร์ผจญภัย และภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์กับภาพยนตร์จินตนาการ และเป็นเรื่องปรกติเช่นกัน ถ้าหากว่าภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะมีลักษณะคาบเกี่ยวอยู่หลายประเภท ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งอาจเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ในขณะเดียวกัน ก็มีลักษณะของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์อยู่ด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง มักอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียว เมื่อพิจารณาลักษณะเด่นที่สุดที่ปรากฏ

ประเภทของภาพยนตร์ ถูกกำหนดโดยส่วนประกอบในเนื้อหาหลายอย่าวง ต่อไปนี้เป็นความพยายามในการแจกแจงให้เห็นถึงลักษณะของภาพยนตร์สามประเภท คือ ภาพยนตร์บุกเบิกตะวันตก ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ และภาพยนตร์นักสืบ เปรียบเทียบจากส่วนประกอบ 10 ประการ คือเวลาในเรื่อง สถานที่ ลักษณะตัวละครเอกที่เป็นวีรบุรุษ ตัวละครประกอบ ผู้ร้าย โครงเรื่อง แก่นเรื่อง เครื่องแต่งกาย อาวุธที่ใช้และยานพาหนะ

ตารางเปรียบเทียบประเภทภาพยนตร์ โดยใช้เกณฑ์ของส่วนประกอบในเนื้อหา

องค์ประกอบ
สำคัญ

ภาพยนตร์
ยุคบุกเบิกตะวันตก

ภาพยนตร์
นิยายวิทยาศาสตร์

ภาพยนตร์
นักสืบ

1. เวลา

ปลายศตวรรษที่ 19

อนาคต

ปัจจุบัน

2. สถานที่

ดินแดนบุกเบิก

อวกาศ

เมือง

3. วีรบุรุษ

คาวบอย

มนุษย์ในอวกาศ

นักสืบ

4. ตัวประกอบ

ชาวบ้าน, อินเดียน

ช่างเทคนิค

ตำรวจ

5. ผู้ร้าย

พวกเหนือกฎหมาย

สัตว์ร้ายนอกโลก

ฆาตกร

6. โครงเรื่อง

จัดสร้างระเบียบใหม่

ขับไล่สัตว์ร้าย

ค้นหาฆาตกร

7. แก่นเรื่อง

ความยุติธรรม

ชัยชนะของมนุษยชาติ

การค้นพบฆาตกร

8. เครื่องแต่งกาย

หมวกคาวบอย

ชุดพร้อมเทคโนโลยี

เสื้อคลุมยาวกันฝน

9. อาวุธ

ปืนลูกโม่โบราณ

ปืนลำแสง

ปืนพก

10. ยานพาหนะ

ม้า

ยานอวกาศ

รถยนต์

ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction Film)

โดยลักษณะของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ เนื้อหามักจะพาดพิงถึง จิตวิทยาของปัจเจกบุคคล และสถานการณ์ของบุคคล มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของวิกฤตการณ์ของสังคมและความเป็นไปในสาธารณะ ของเขตของเรื่องที่นำมาเสนอ มักจะอยู่ที่อวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล มากกว่าจะเป็นโลกที่อาศัยอยู่ นอกจากนั้นเรื่องราวก็ค่อนข้างจะแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด ไม่คงที่

สรุปได้อย่างรวดเร็วว่า ในขณะที่ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ หยิบยกเอาความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากล่าวถึง ภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นตัวสื่อ ก็ได้มีการพัฒนาตัวมันเองไปพร้อมๆ กัน

ภาพยนตร์จินตนาการ (Fantasy Film)

ภาพยนตร์จินตนาการ เป็นประเภทที่ยากในการให้คำจำกัดความ หรือ กำหนดขอบเขตแน่ชัด นอกจากนั้น ยังมีลักษณะที่คาบเกี่ยวกับภาพยนตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ในหลายโอกาส และอาจจะเป็นเรื่องปรกต ถ้าหากจะนำเอาไปรวมกัน อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างกันในประเด็นหลักที่สามารถแยกแยะออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน (แต่ลักษณะที่คาบเกี่ยวกันก็ยังคงมีอยู่ในหลายๆ ด้าน)

ภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror Film)

เป็นภาพยนตร์ที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกับ ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์และจินตนาการ นอกจากจะมีลักษณะร่วมกันคือ “การหลุดพ้นจากโลกแห่งความเป็นจริง” แล้ว ภาพยนตร์สยองขวัญ ยังมีต้นกำเนิดและแรงผลักดันมาจากงานในแนววิทยาศาสตร์อีกด้วย (นอกเหนือจากการได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาด) นอกจากนั้นแล้ว ยังถือว่าเป็นงานที่มีแนวทางพาดพิงกับงานแนวลึกลับตื่นเต้น (mystery and supense)

ภาพยนตร์ผจญภัย (The Adventure Film)

เป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงมาโดยตลอด จนอาจจะกล่าวได้ว่ามีผู้ชมชื่นชอบไม่แพ้ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ เนื่องจากภาพยนตร์แนวผจญภัยนั้น มักมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ สามารถสนองความต้องการของคนดูได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังเป็นแนวที่เข้าถึงคนดูได้แทบทุกกลุ่ม และทุกระดับ (ถึงแม้ว่าคนดูที่เป็นเป้าหมายหลัก จะเป็นผู้ชายก็ตาม)

ภาพยนตร์ผจญภัย มีลักษณะของการรวบรวมแนวทางต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน แนวทางต่างๆ ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มผจญภัย ก็ได้แก่ภาพยนตร์สงคราม ที่เน้นการสู้รบในสมรภูมิ ภาพยนตร์เดินทางกลางป่า ภาพยนตร์ต่อสู้ฟันดาบ และภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความหายนะ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแนวทางต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปจะมีความแตกต่างกันในหลายด้าน แต่เมื่อมองอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็พบว่ามันล้วน เป็นงานที่มีลักษณะและส่วนประกอบสำคัญเชื่อมโยงกันอยู่ เช่น มีแบบแผนของเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

ภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ (FilmNoir)

ฟิล์มนัวร์ หมายถึง ภาพยนตร์มืด (black/dark film) มืดในที่นี้มีความหมายรวมถึง ลักษณะที่มืดทั้งทางด้านเรื่องราวและองค์ประกอบทางกายภาพ โลกของฟิล์มนัวร์ คือเมืองซึ่งเป็นเวลากลางคืน ตัวละครส่วนมากในฟิล์มนัวร์มักเป็นพวกโกหก หลอกลวงและฆ่าผู้อื่น สิ่งที่บรรจุอยู่ในฟิล์มนัวร์คือความสิ้นหวัง ความรุนแรงและความตาย ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ ที่ปรากฏชัดเจนก็คือการจัดแสงที่เรียกว่า low-key

ภาพยนตร์เพลงงานศิลป์แห่งภาษาเสียง (The musical )

ภาพยนตร์เพลง เป็นแนวทางที่มีลักษณะพิเศษประการหนึ่ง คือ เป็นงานที่เข้าถึงได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่มีความสลับซับซ้อน การเป็นภาพยนตร์ที่เข้าถึงได้ง่ายก็เพราะว่า โครงเรื่องของภาพยนตร์เพลงส่วนมากมักตรงไปตรงมาไม่ยากแก่การทำความเข้าใจ ทั้งยังมีดนตรีท่าคุ้นเคยในชีวิตประจำวันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่ที่กล่าวว่ามันเป็นงานที่ซับซ้อน ก็เนื่องจากหากต้องการพิจารณาถึงประเด็นทางสังคมและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ก็จะพบว่า ภาพยนตร์เพลงเป็นแนวทางที่ยากจะเข้าใจชัดเจน ภาพยนตร์เพลงอาจจะเป็นเพียงแค่ความบันเทิง การแสวงหาความเพลิดเพลินจากมันจะเป็นเรื่องง่าย ทว่าการค้นหาและวิเคราะห์ความบันเทิงชนิดนี้ในเชิงวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อตระหนักถึงนัยทางสังคม จัดว่าเป็นงานที่หนักหนาพอสมควรทีเดียว

ภาพยนตร์ตลก (Comedy)

Comedy of incidents เป็นตลกที่ถือเอามุขตลกเป็นสำคัญ มีการวางโครงเรื่องเอาไว้อย่างหลวม ๆ ไม่ได้กำหนดเหตุการณ์แน่ชัด เรื่องราวล้วนเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงได้เล่นมุขตลกเท่านั้นเอง เนื้อเรื่องแทบจะไม่มีความสำคัญอะไรเลย ผู้ที่ทำตลกแนวนี้เชื่อว่ามุขตลกนั้น มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเองแล้ว

Comedy of situation ถือว่าเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระเป็นประเด็นสำคัญ ใช้มุขตลกเป็นส่วนประกอบในการเดินเรื่องเท่านั้น ตลกประเภทนี้รู้จักกันดีในชื่อประเภทแรกเห็นว่ามุขตลกเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ในตัวเอง ส่วนประเภทหลังเห็นว่ามุขใดอย่างหนึ่ง ประเภทแรกเน้นที่มุขตลก ส่วนประเภทหลังใช้มุขตลกเป็นเพียงส่วนประกอบหรือเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิด

บางส่วนจากภาพยนตร์ไทย

เห็นบรรยากาศท้องทุ่งนา และฟ้าสีคราม เช่น ภาพยนตร์เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง พร้อมมีตัวหนังสือขึ้นมากลางจอเป็นซับไตเติ้ลคำว่า “สวัสดี” เป็นอันว่าหนังได้จบลงแล้วอย่างสมบูรณ์ ทำให้คนดูต่างก็มีรอยยิ้มที่แสนจะอิ่มเอมใจกันโดยถ้วนหน้า อดที่จะมีความสุขไปกับเคล้าและทองกวาวด้วยไม่ได้ และลุกออกไปโรงหนังอย่างประทับใจ

ภาพแห่งความสมหวังในความรักของพระเอกกับนางเอก ดูจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของหนังไทยไปทุกยุคทุกสมัย

หลังจากที่ปิดกล้องหนังลงได้เรียบร้อย ครูชาลีพักเหนื่อย 2-3 วัน ก่อนจะให้ทีมงาน หิ้วฟิล์มหนังไปยังห้องแล็ป เพื่อทำการล้างฟิล์มตัดต่อ พากย์เสียง ใส่ซาวด์เอ็ฟเฟ็ค โดยไม่รอช้า กว่าจะแล้วเสร็จลงได้ ใช้เวลาไปหลายสัปดาห์

จากกนั้น ก็ถึงขั้นตอนการดำเนินทางธุรกิจกับเจ้าของโรงหนังในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสายหนังต่าง ๆ กว่าจะบรรลุถึงข้อตกลงเวลาก็ผ่านไปเป็นเดือน

ในที่สุดภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่ครูชาลี อินทรวิจิตร ซึ่งเป็นผู้กำกับได้ถูกบรรจุลง โปรแกรมฉายเป็นที่แน่นอน การโฆษณาประชาสัมพันธ์เริ่มแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง และโหมการโฆษณาหนักขึ้น เมื่อภาพยนตร์ใกล้ฉายจริงประมาณ 1 สัปดาห์

“ตอนนั้นหนังบู๊ล้างผลาญ ประเภทยิงภูเขา เผากระท่อมได้รับความนิยมสูง แต่ละเรื่องทำเงินรายได้ค่อนข้างดีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หนังในแนวนี้จึงถูกผลิตออกมามาก” เป็นคำบอกเล่าของผู้รู้คนเดิม

 

บทที่ 4 เทคนิค และเทคโนโลยี

ความหมาย และการสร้างภาพยนตร์

การเล่าเรื่องราวเป็นศิลปะเก่าแก่โบราณของมนุษย์ เพื่อสร้างโลกแห่งจินตนาการขึ้น อีกแห่งหนึ่งซึ่งคำว่า เรื่องราว (story) หมายถึง ลำดับของเหตุการณ์ (sequence of events) ที่เป็นได้ทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง เพื่อให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง หรือคนดูได้รับสุนทรียภาพความบันเทิงเริงรมย์ ความสนใจตลอดจนข้อมูลข่าวสาร

“พระเอกคือผู้ที่ต้องการบางสิ่งบางอย่าง แล้วจึงตัดสินใจลงมือกระทำแต่ก็ต้องพบกับ ปัญหาและความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่จุดสูงสุดทางอารมณ์ และเข้าสู่จุดคลี่คลายเรื่อง” ในตอนจบ

ดังนั้น ปัจจัยประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องราว คือ พระเอก (hero) ความต้องการ (need) แอ๊คชั่นหรือการกระทำ (action)

การสร้างภาพยนตร์แต่ละเรื่อง บุคคลที่มีบทบาทมากที่สุดผู้หนึ่งคือ ผู้กำกับภาพยนตร์

ผู้กำกับภาพยนตร์ (FILM DIRECTOR)

คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสารระหว่างบทเขียนกับผู้ชม ซึ่งต้องมีความสามารถ ที่จะถ่ายทอดออกมาด้วยทักษะและไหวพริบ (Skill & Sensitivity) ผู้ชมก็จะสามารถซึมซับได้โดยรู้สึกมีอารมณ์ร่วมตามไปด้วย และผู้กำกับยังมีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลการทำงานหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเขียนบท, การเตรียมงานถ่ายทำ, การใช้จ่ายงบประมาณ, อุปกรณ์ประกอบฉาก, เสื้อผ้า, สถานที่, นักแสดง, ไฟ, กล้อง และการตัดต่อขั้นสุดท้า

คณะทำงานสร้างสรรค์สื่อภาพยนตร์ มีองค์ประกอบ และการจัดสรรตำแหน่ง ดังนี้

(1) ผู้ประสานงาน AE. (Account Executive)
(2) ผู้คิดสร้างสรรค์ CD. (Creative Director)
(3) ผู้กำกับศิลป์ AD. (Art Director)
(4) ผู้สร้างสรรค์บทโฆษณา (Copywriter)
(5) ผู้ควบคุมการผลิต (Producer)
(6) ผู้กำกับการแสดง (Director)
(7) ผู้ตัดต่อ (Editor)
(8) ผู้ถ่ายภาพ (Camera)
(9) ผู้กำกับแสง (Lighting)
(10) ผู้กำกับเสียง (Sound Engineer)
(11) ผู้ช่วย (Staff)

เทคโนโลยีภาพยนตร์ และวิทยุโทรทัศน์

เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture) ประกอบด้วย

1. องค์ประกอบ ( Composition )
2. แสง เงา ( Light & Shadow )
3. อารมณ์ ( Tone )

การถ่ายภาพเคลื่อนไหว

1. ต้องรู้ว่าถ่ายภาพนี้ ไปเพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร
2. ต้องจับภาพให้ชัดเจนและนิ่ง สักครู่จึงเริ่ม Pan หรือ Zoom หรืออื่นๆ
3. ต้องตัดภาพในใจให้ได้กับจังหวะการ Pan หรือ Zoom
4. ต้องกะช่วงจังหวะการถ่ายแต่ละ Scene ให้เหมาะสมเพื่อการตัดต่อ
5. ต้องฝึกใช้อุปกรณ์ให้ชำนาญ
6. ต้องมีสติ และสมาธิอยู่เสมอเมื่อกำลังถ่ายภาพมุมกล้อง

มุมกล้อง เป็นสิ่งสำคัญที่จะบอกสถานะ ของสิ่งที่ต้องการสื่อได้เป็นอย่างดี

กระบวนการทางอิเลคทรอนิคส์ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Procedure of Photo Electric Transformation) ประกอบด้วย

(1) File: photo3chemical
(2) CCD: Photoelec

ทฤษฎีแม่สี (Theore of three Primary Colors)

(1) Time Colors Mixture Process
(2) Space Colors Mixture Process
(3) Physiological Color Mixture Process

โดยอาศัยหลักการทางสรีระวิทยา คือ มนุษย์มีความเฉื่อยของสายตา ทำให้ดูการกระพริบของหลอดไฟนิ่งๆ อยู่ มนุษย์รับได้ 24 เฟรมต่อวินานี ดังนั้น ภาพยนตร์จึงใช้มาตรฐานจำนวนเฟรมต่อวินาที่อยู่ที่ 24 มาจนถึงปัจจุบัน

ระบบ MPEG2 เป็นระบบบีดอัดข้อมูลภาพ (Compression Coding) ที่มีการเข้ารหัสและถอดรหัสด้วย โปรแกรม และอุปกรณ์ที่เข้ากันได้ระหว่าง Source และ Target ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างหนังแผ่น อัตรา Bit rate TV = 167MB/s

Camera Television เป็นเครื่องช่วย Movie Camera

มันจะทำหน้าที่ Creative for copy human eyes
iris หรือ รูม่านตา ในกล้องก็คือ รูรับแสง
shutter กระพริบตา
lens เหมือนตามนุษย์
ปัจจัยที่มีต่อกล้อง คือ แสง และ สี
Linear คือแถบเส้น เช่น เส้นเท็ปเก็บภาพในกล้องถ่ายวิดีโอ เก็บเป็นสัญญาณ Analogue
non-linear คือ เก็บสัญญาเป็น digital

แนวทางการคิดเรื่อง

การคิดเรื่องราวนั้นมีแนวทางที่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1. การสำรวจตนเอง ได้แก่ การคิดเกี่ยวกับชีวิตของเราเอง เช่น มีปัญหาอะไรบ้าง มีความเข้มแข็งในด้านไหน สนใจอะไร เป็นคนช่างคิดช่างฝันหรือไม่

2. การเฝ้าสังเกต คือ การเฝ้าสังเกตโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น สิ่งที่น่าสนใจหลงใหลมากที่สุดในโลกทุกวันนี้คืออะไร หรือคิดว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มนุษย์

3. การตัดข่าว ให้ตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เราสนใจมากที่สุด 5 ข่าว ในแต่ละวันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยไม่ต้องคำนึงว่ามาจากฉบับไหน ในคอลัมน์ใด ใส่ไว้ในแฟ้มเก็บไว้ เมื่อครบหนึ่งสัปดาห์ก็จะได้บันทึกข่าวที่น่าสนใจ 35 ข่าว จากนั้นให้เลือกเหลือเพียง 5 ข่าว

4. บันทึกความฝัน วิธีนี้อาจดูแปลกประหลาดแต่สามรถได้ “ไอเดีย” ที่ฉีกออกไปได้ โดยในแต่ละวันหลังจากตื่นนอนทุกเช้าให้จดบันทึกความฝันของเราทันทีก่อนที่จะพูดจากับใครหรือก่อนอาบน้ำ

5. ความทรงจำ ในชีวิตของแต่ละคนย่อมมีความทรงจำที่ประทับใจให้หยิบความทรงจำในแต่ละโอกาสที่พิเศษนั้นแล้วเขียนบันทึกลงไป

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเรื่องราว

การพัฒนาเรื่องราวให้แตกออกไปคนเขียนบทต้องมีความชัดเจน วิธีปฏิบัติส่วนใหญ่มักตั้งคำถามตนเองเพื่อหาคำตอบนำข้อมูลไปใช้ในการเขียน ซึ่งคำตอบเหล่านี้จะช่วยควบคุมเนื้อหาทิศทางการเขียนบทต่อไปได้ อย่างไรก็ตามวิธีตั้งคำถามตัวเองเพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเรื่องราวดังต่อไปนี้

เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ในระยะแรกคำตอบที่ได้อาจเกี่ยวข้องกับเนื้อหาสำคัญ (Subject matter) ของเรื่องเท่านั้นแต่เมื่อคนเขียนบทมีข้อมูลมากขึ้น เนื้อหาก็เริ่มแตกออกไปมากขึ้นเช่นเดียวกัน ใจความสำคัญของเรื่อง หรือ แก่นเรื่อง (theme) ในสิ่งที่เราอยากพูด ก็จะปรากฏออกมา

แก่นเรื่อง (theme) เป็นศูนย์กลางของความคิดหลักที่เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมด ที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการสื่อสารกับคนดู หรือต้องการบอกคนดู นอกจากนี้ความคิดหลักยังเป็นตัวยึดเรื่องราวหรือเนื้อเรื่องทุกส่วนขององค์ประกอบของเรื่องเข้าไว้ด้วยกัน

2. เป็นเรื่องราวประเภทใด เรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดนั้นจัดอยู่ในประเภทใด เช่น ประเภทตลก ชีวิต โศกนาฏกรรม ประโลมโลก ลึกลับ หรือสยองขวัญซึ่งการกำหนดเรื่องราวทำให้ระดับของแนวทางการเขียนนั้นมีความกลมกลืนและสมดุลกัน สิ่งสำคัญคือเรื่องราวต่าง ๆ ต้องเป็นประเภทเดียว ไม่นำหลาย ๆ ประเภทมารวมเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะจะทำให้เรื่องราวไร้ทิศทาง

3. ใครคือพระเอก พระเอกหรือตัวละครสำคัญ มักเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง เช่น เป็นใคร มีความต้องการอะไร ทำไม และมาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้ได้อย่างไร

4. มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่ช่วยผลัดกันเรื่องราว ซึ่งเหตุการณ์และสถานการณ์จะเป็นตัวเร่งเรื่องให้เดินไปข้างหน้าอย่างเข้มข้นซึ่งตัวเร่งนี้จะเน้นไปที่เป้าหมายความต้องการของตัวละครหลัก

5. ศัตรูของพระเอกคือใคร หรืออะไร ศัตรูของพระเอกเป็นอุปสรรค หรือสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับตัวละครหลักนี้ เป็นความขัดแย้งคอยขวางกั้นความต้องการของพระเอก ถ้าหากความขัดแย้งเป็นคนก็มักหมายถึงผู้ปรปักษ์กับพระเอก หรือเป็นตัวโกงในเรื่องราว

เรื่องราวกับความบันเทิง

Entertainment มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง to intertwine คือการร้อยกันการทำให้ประสานกัน

Guy de Maupassant นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง ได้เคยกล่าวไว้เมื่อมีการพูดถึงความรู้สึกของคนอ่าน เป็นเสียงสะท้อนจากเรื่องราวของนักประพันธ์

ประชาชนประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นพวกที่ร้องบอกกับพวกเรา (นักเขียน) ว่า เป็นผู้ปลุกปลอบใจฉัน ทำให้ฉันเพลิดเพลิน ทำให้ฉันเสียใจ ทำให้ฉันได้รับความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจ ทำให้ฉันมีความฝัน ทำให้ฉันหัวเราะ ทำให้ฉันหวั่นไหว ทำให้ฉันสะอื้นไห้ ทำให้ฉันได้คิด

โครงสร้างบทภาพยนตร์

เรื่องราว (Story) หมายถึงการเล่าเรื่องที่จัดลำดับเหตุการณ์เช่นเดียวกัน แต่เป็นความสัมพันธ์ของเหตุผล เช่น พระราชาสิ้นพระชนม์และต่อมาพระราชินีสิ้นพระชนม์ซึ่งเป็นเรื่องราว แต่ถ้าพระราชาสิ้นพระชนม์และต่อมาพระราชินีก็สิ้นพระชนม์ตามด้วยความอาดูร ถือเป็นโครงเรื่อง

ความสำคัญของโครงสร้าง

โครงสร้าง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในบทภาพยนตร์ เป็นส่วนที่แข็งแรงสามารถยึดทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดเข้าด้วยกันเสมือนโครงกระดูก ซึ่งเป็นแกนสำคัญของคนเรา และยังช่วยทำให้เกิดรูปร่างและรูปทรงขึ้นพร้อมกัน ให้ความหมายทางการแสดงสูงสุด โครงสร้างยังช่วยยึดแอ๊คชั่น ตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ บทสนทนา และทุกอย่างเข้าด้วยกัน โครงสร้างจึงเกี่ยวข้องกับการเขียนบท ดังนั้น บทภาพยนตร์ ก็คือ โครงสร้าง นั่นเอง

ภาคผนวก ตัวอย่างแนวคิด และโครงเรื่อง “สังข์ทอง รจนา” ที่จะนำไปประยุกต์เขียนบทภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์อิงวรรณคดีไทย แนว Realistic แก่นของเรื่อง (theme) อยู่ที่ความผูกพันธ์ระหว่างแม่กับลูกจากมิติครอบครัว แล้วโยงไปสู่มิติโลกและจักรวาร ผ่านตัวละครซึ่งมีบทบาททั้งเป็นผู้กระทำต่อความเป็นแม่ และถูกกระทำโดยสิ่งที่เป็น “แม่” ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ชมเห็นความสำคัญของความรักมิติระดับที่ 2 เพื่อกระตุ้นให้ร่วมกันรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ภาคผนวก

เรื่อง สังข์ทอง รจนา 2005

บทประพันธ์ ของ สู่ดิน ชาวหินฟ้า
(10 ส.ค.2547 ปรับปรุง 12 มิ.ย.2548)
สำหรับนำไปเขียน บทภาพยนตร์, บทละครเวที, บทละครวิทยุ

(1)
กำเนิดสังข์ทอง

นายสมยศ วิมลมาศ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีนิสัยเจ้าชู้ มีภรรยาหลายคน จันทนี เป็นภรรยาคนแรก เป็นครูสอนหนังสือโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อยู่กินกันมาก่อนจะมีชื่อเสียง พอหลังรับเลือกตั้งเป็นถึงนายกเทศมนตรี นายสมยศได้ข้าราชการหญิงอีกคนหนึ่ง ชื่อคุณวิชุดา เป็นภรรยาลับๆ แต่มีตำแหน่งสูงกว่าคุณจันทนี คุณวิชุดา มีนิสัยริษฉา ชอบสั่งการ แม้กับภรรยาลับคนที่สาม เป็นนักศึกษาสาวปีสี่ มหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่ง ก็ยังถูกรังแกเสมอมา

นายสมยศ ประสบความเร็จทางการเมือง โดยอาศัยกลโกงทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ยศ มีเงิน มีกิจการ มีเงินเก็บสะสม จนเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของเมืองนั้น ต่อมาทั้งคุณจันทนี และวิชุดา ตั้งท้องในเวลาไล่เลี่ยกัน คุณจันทนีคลอดลูกชายน่าตาน่ารัก ให้ชื่อว่า สังขวุฒิ หรือเรียกว่า สังข์ คุณวิชุดา ได้ลูกสาว ชื่อ อายุรฉัตร หรือน้องอาย น่าตาน่ารักเช่นกัน แต่ด้วยนิสัยริษยาของ วิชุดา จึงใส่ความคุณจันทนีว่า เป็นชู้กับอาจารย์ที่สอนหนังสืออยู่โรงเรียนเดียวกัน ประกอบกับคุณสมยศ มีภารกิจมาก ไม่มีเวลาดูแลคุณจันทนี และห่างเหินไปมาก เข้าใจว่าลูกที่เกิดมาเป็นลูกชู้ จึงขับไล่ออกจากบ้าน

จันทนีเสียใจมาก จึงหอบลูกหนีกลับบ้านนอก ไปอยู่กับตายาย (คุณจันทนี เป็นลูกกำพร้า พ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเล็ก มีตากับยายเลี้ยงดูมาตลอด) ด้วยภาระกิจ และหน้าที่ อ้นหนัก คุณสมยศจึงล้มเจ็บลง เมียที่มีอยู่ก็ดูแลไม่ดี ทำให้คิดถึงจันทนี ที่เคยดูแลกันมาอย่างดี เคยขอร้องให้จันทนีกลับมา แต่ถูกปฏิเสธ แสดงออกจนวิชุดาสังเกตได้ สุดท้ายคุณสมยศจึงเขียนพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้ จันทนีและลูก เพื่อชดเชยที่ตนทำผิดไป

วิชุดารู้เข้า จึงวางแผนให้สมุนคนสนิท ไปฆ่าสังขวุฒิเสียให้ตาย

ชีวิตความเป็นอยู่ของจันทนี และลูก เหมือนกันวิถีชีวิตชาวชนบท คุณตากับคุณยายอยู่กันสองคน แต่ก็พอมีอันจะกิน เก็บสะสมเงินทองซื้อสวนผัก สวนผลไม้ไว้ แต่อายุมากแล้วทำไม่ไหว เมื่อจันทนีกลับมาก็เลยยกที่ดินสวนทั้งหมดให้ จันทนีมีนิสัยอ่อนโยนชอบธรรมชาติอยู่แล้ว จึงไม่รังเกียจที่จะทำอาชีพกสิกรรม ซึ่งถึงแม้จะไม่เคยมาก่อน เธอและลูกๆ จึงเป็นชาวกสิกรไปโดยปริยาย ทุกวันหลังดูแลสวนแล้ว ก็จะปลูกผัก เก็บผักขาย พอเลี้ยงชีวิตของตายาย ตัวเอง และสังขวุฒิได้ไม่ขัดสนมากนัก และไม่ลืมที่จะสะสมเงินทองเก็บไว้เผื่อส่งลูกเรียน ชีวิตในวัยเด็กของสังข์ สังข์ก็ซนตามประสาเด็ก ติดของเล่นที่เคยเล่นตั้งแต่เกิด วันๆ เอาแต่เล่น จนอายุใกล้ห้าขวบ ก็ย้งไม่เลิกเล่น

วันหนึ่ง หลังจากแม่ ตา กับ ยาย ออกไปสวน สังข์สงสารแม่ จึงออกมาช่วยทำงานบ้าน เก็บกวาดบ้านให้สะอาด แต่พอแม่กลับมา สังข์ก็นั่งเล่นของเล่นอยู่เหมือนเดิม แต่แม่ก็แปลกใจที่บ้านเรือนสะอาดขึ้น วันหนึ่งจึงแอบดูพฤติกรรมลูก จนรู้แน่ว่า สังข์ลูกน้อย ไม่ใช่เด็กเหลวไหล เธอคิดว่าเป็นพราะลูกติดของเล่นนี่เอง อยากให้ลูกมีความรับผิดชอบ เป็นผู้ใหญ่ จึงทุบของเล่นพัง สังข์ร้องไห้คร่ำครวญเสียใจมาก เสียดายของเล่นยิ่งนัก แต่ก็ตัดใจได้ จากนั้น แม่ก็ส่งสังข์ไปเข้าเรียน ชั้นเตรียม ป.1 วันแรกแม่ไปส่ง แต่วันต่อมา สังข์เดินทางไปโรงเรียนเอง และก็กลับเอง เพราะบ้านอยู่ไม่ห่างจากโรงเรียนมากนัก เนื่องจากสังข์เป็นเด็กดี มีสัมมาคารวะ รู้จักทักทายคน จึงมีแต่คนรักและเอ็นดู

(2)
วันสังหาร

เช้าวันหนึ่ง มีชายแปลกหน้าเข้ามาในหมู่บ้าน ถามถึงเด็กชื่อสังข์ พวกเขาค้นหาจนพบตัว ในขณะเดินทางไปโรงเรียนคนเดียว จึงจับตัวไป โยนลงในคลอง หวังให้จมน้ำตาย คิดว่าเด็กตายแล้ว และมีคนผ่านมาพอดี กลัวคนเห็น คนร้ายจึงหนีไป ไปรายงานให้คุณวิชุดาทราบว่า ทำงานสำเร็จแล้ว

สังข์ เคยแอบไปหัดเล่นน้ำ และว่ายน้ำเองจนเป็น สังข์เป็นเด็กดำน้ำได้อึดพอสมควร วันนั้นหลังถูกชายลึกลับโยนลงคลองหวังฆ่าให้ตาย น้ำเชี่ยวและลึก สังข์ยังเด็กเกินไป จึงสำลักน้ำ และหมดสติ มารู้สึกตัวอีกครั้ง เมื่อมีชายแก่หนวดเครารุงรัง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า นาเคนทร์ หรือเฒ่าเคนผีบ้า เพราะแกไม่ชอบคบหากับใคร ชอบอยู่คนเดียว นาเคนทร์ออกหาปลาพบเด็กเกยตื้นเกาะขอนไม้ลอยมาติดฝั่ง จึงช่วยไว้ได้ทัน

สังข์ อยู่กับนาเคนทร์ มาหลายวัน ได้แสดงความเฉลียวฉลาด แสดงความมีปัญญาไหวพริบให้เฒ่าเคนเห็นหลายครั้ง จนเฒ่าเคนเห็นว่า เด็กน่าจะมีอนาคตมากกว่าจะมาอยู่บ้านป่าแบบนี้ ครั้นจะส่งเด็กคืนแม่ ก็จนใจ ไม่รู้จะไปตามได้ที่ไหน จึงติดต่อไปยังคุณนายรัตนา ซึ่งเคยรับปากกันไว้ว่า ถ้าเจอเด็กช่วยหาให้คนหนึ่ง จะเอาไว้เฝ้าสวน

(3)
ชีวิตใหม่

ที่จังหวัดใหญ่แห่งนึ่ง คุณนายรัตนา รัตนพันธุ์ เป็นหญิงหม้ายปากร้าย ชอบคนตรง พูดตรง จริงใจ ใครๆ ก็รู้ว่าคุณนายรัตนาเป็นหญิงที่ชอบสังคมสงเคราะห์ ไม่มีใครรู้อาชีพที่แท้จริง แต่เธอก็ร่ำรวยมาได้ระดับหนึ่ง สังข์ได้มาอยู่กับ คุณนายรัตนา ช่วยทำงานบ้าน ทำงานสวนทุกอย่าง ทั้งที่ยังเป็นเด็ก แต่ก็รับผิดชอบเหมือนผู้ใหญ่ รู้จักเอาอกเอาใจคุณนาย คุณนายรัตนมีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว สังข์ทำหน้าที่คอยจัดยาให้อยู่มิได้ขาด จนคุณนายรักใคร่ ที่สุดรับเป็นบุตรบุญธรรม ให้อยู่เป็นเพื่อนเล่นกับ มารินี บุตรสาวของนางกับสามีที่เสียชีวิต และ สุทธิยา หลานชายจอมเกเร

มารินี เป็นเด็กขี้ใจน้อย สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ปวดฟัน เป็นโรคไมเกรนอยู่เสมอ เรียนหนังสือไม่ค่อยเก่ง ความจำไม่ดี ส่วน สุทธิยา เป็นลูกของน้องสาวเอามาฝากเลี้ยง คุณนายรัตนาก็เอียมระอากับหลานคนนี้เสียเหลือเกิน ส่งให้ไปเรียน ก็เกเร ไม่คอยชอบเรียน ขี้เกียจ ซึ่งผิดกับสังข์ จนเป็นที่ริษยาของ สุทธิยา สังข์จึงถูกสุทธิยาแกล้งอยู่เสมอ ทั้งดูถูกดูแคลน แต่สังข์ก็อดทนเสมอมา และคิดถึงแม่ที่แท้จริงตลอดเวลา คิดว่าสักวันหนึ่งจะต้องตามหาแม่ให้เจอ แต่กับมารินี แล้ว...

สิบห้าปีผ่านไป ขณะนี้ เด็กทั้งสามคน กำลังเรียนอยู่ปีสี่ ของมหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่ง ใกล้จบแล้ว มารินีเรียนคณะนิเทศศาสตร์ สุทธิยาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนสังข์เรียนคณะวิทยาศาสตร์ มารินี แอบชอบสังข์ แต่สุทธิยา เกลียดสังข์มาตลอด ไม่ชอบให้มารินียุ่งกับสังข์ ส่วนสังข์รู้สึกสำนึกตัวตลอดว่าเป็นใคร ไม่คิดอาจเอื้อม จึงรักมารินี เหมือนน้องสาว ในหัวใจมีแต่แม่จันทนีที่คิดถึงอยู่ทุกวัน

คุณนายรัตนา สร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ไว้ ห้ามเด็กทั้งสามเข้าไปยุ่งอย่างเด็ดขาด แต่สังข์เป็นเด็กชอบเรียนรู้ และตนเองก็เคยทำงานในห้องแลบมาก่อน จึงอยากรู้ว่า ในห้องมีอะไร แม่รัตนา จึงห้ามไว้ไม่ให้เข้าไปยุ่ง

วันหนึ่งสังข์แอบเข้าไปเห็นเหตุการณ์ในห้องแลบ สังข์มาทราบความจริงว่า แท้จริง คุณนายรัตนา กำลังทดลองเพาะเชื้อจุลินทรีย์พันธุ์ใหม่ ที่ใช้เป็นองค์ประกอบทำระเบิดเคมี ส่งขายให้อิรัก นางปกปิดเป็นความลับมาตลอด

สังข์ก็ปกปิดความลับนี้ตลอดเช่นกัน และก็แอบเข้าไปในห้องแลบ ไปศึกษาเรียนรู้ จนพบสูตรการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์พันธุ์หนึ่งโดยบังเอิญ จุลินทรีย์พันธุ์นี้ ถ้าได้รับการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เป็นอาหาร และให้มันอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง มันจะหลั่งสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งนำไปสร้างระเบิดได้ แต่ถ้าให้มันอยู่ในสภาพแวดล้อมอีกอย่างหนึ่ง และให้อาหารที่ต่างกัน มันจะหลั่งสารเคมีที่เป็นคุณประโยชน์ สามารถนำใช้เป็นสารกระตุ้นชีวภาพในทางสันติได้ แต่คุณนายรัตนาเป็นผู้กุมความลับทั้งหมด สูตรลับ รหัสทางเคมีต่างๆ ถูกเก็บไว้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค มีรหัสผ่านหลายขั้นตอน หากคุณนายล่วงรู้สูตรใหม่ที่สังข์ค้นพบโดยบังเอิญ นางคงจะดีใจไม่น้อย แต่สังข์เองก็ไม่ทราบกระบวนการ และขั้นตอนในการผลิตและเก็บเคมีดังกล่าว ตลอดจนกระบวนการผลิตหัวระเบิดชีวภาพ เป็นความลับที่คุณนายรัตนารู้เพียงคนเดียว

สังข์ยังค้นพบอีกว่า คุณนายรัตนาได้สร้างยานขนส่งล่องหนไว้ลำหนึ่งด้วย ที่ล่องหนได้ ใช้หลักการสร้างภาพลวงตา คือในขณะที่คนมองตรงไปยังยาน ด้านตรงข้ามของยานจะติดตั้งกล้องถ่ายภาพวิดีโอชนิดพิเศษ จากนั้นจะส่งภาพที่ถ่ายได้ไปฉายบนผิวลำตัวของยานทำให้เกิดภาพซึ่งลำตัวยานบังอยู่ จึงดูเหมือนว่าไม่มียานลำนั้นอยู่ เหมาะสำหรับใช้ในเวลากลางคืน ซึ่งคุณนายรัตนา ตั้งใจจะใช้เป็นยานพาหนะขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย แต่โชคไม่ดี ที่สังข์มาพบเข้า และสังข์ก็รู้ดีว่า เครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้ทั้งหมด ถ้านำไปใช้ในทางชั่ว โลกจะเดือดร้อนมาก จึงแอบไปศึกษาดูคู่มือวิธีขับขี่จนชำนาญ

ความลับสุดยอด ที่สังข์ค้นพบ ก็คือ เขาเล็ดรอดเข้าไปในห้องลับ เป็นห้องทดลองทางเคมี ใช้ผลิตยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง บรรจุเป็นแคปซูล ที่กินเข้าไปแล้ว หนึ่งเม็ดจะออกฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า แขน ขาให้ดูปูดโปน น่าเกลียด จนตัวเองก็จำตัวเองไม่ได้ ไม่มีผลข้างเคียง นอกจากจะรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อยตอนที่มันกำลังออกฤทธิ์ใหม่ๆ เม็ดหนึ่งออกฤทธิ์ได้นาน 5 ชั่วโมง

(4)
หนี

หลังเรียนจน รับปริญาบัตรแล้ว สังข์เตรียมตัวหนีออกจากบ้านคุณนายรัตนา โดยไม่มีใครล่วงรู้ แต่ก็เขียนจดหมายทิ้งไว้ให้แม่รัตนา และขอบคุณที่ได้เลี้ยงดูสั่งเสียจนเติบใหญ่ ให้ความรักเหมือนลูกที่แท้จริง แต่สังข์เองก็มีแม่ที่ไม่รู้ว่าป่านนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แม่รัตนาเป็นคนดีของลูก แต่เป็นคนร้ายของสังคม สังข์ไม่อาจรับความจริงข้อนี้ได้ สังข์ขอลาแม่ไปก่อน และขอโทษ ที่ทำลายความหวังทุกสิ่งทุกอย่างของแม่ลง แต่สังข์อยากให้แม่ล้มเลิกความตั้งใจ เลิกคบคิดทำชั่วนั้นเสีย สังข์ขับยานพาหนะล่องหนหนีในคืนวันนั้น พร้อมกับโน็ตบุค ในร่างของชายขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด

คุณนายรัตนารู้เข้า โกรธมาก รีบพาสมุนคู่ใจ นายสุชน นายสุรเดช และคนอื่นๆ ออกติดตาม ด้วยรถเก๋งคันหรู ตามไปทัน ณ ที่มีแม่น้ำขวางกั้น แต่สะพานถูกระเบิดไปก่อนหน้านั้น นางข้ามไปไม่ได้ เวลานี้รุ่งสางมากแล้ว ยานถูกเปิดเผยตัว สังข์ปรากฏตัว ร้องสั่งบอกคุณนายรัตนาว่า ขอให้แม่กลับไปบ้านเสียเถิด และล้มเลิกโครงการทั้งหมด ส่วนลูกจะออกติดตามแม่ที่แท้จริงต่อไป

คุณนายรัตนา อ้อนวอนให้ลูกสังข์กลับ ก็ไร้ผล กอรปกับเริ่มเห็นบาปกรรมที่ตนกำลังทำ จึงสั่งสมุนคนอื่นๆ ให้กลับไปก่อน เหลือไว้เพียงนายสุชน และนายสุรเดช โรคหัวใจของคุณนายรัตนาเริ่มกำเริบ วันนี้รีบร้อนเกินไปลืมเอายามาด้วย รู้ตัวก่อนตาย จึงบอกรหัสลับ ให้สังข์มาเอาไปทำลายสูตรชั่วๆ นั้นเสีย อย่าให้ใครรู้เป็นเด็ดขาด แล้วก็สิ้นใจ สังข์จึงขับยานข้ามไปอีกฝั่ง เอารหัสผ่านมาเปิดเข้าไปดูในโน็ตบุค เป็นความจริงทุกประการ สังข์คิดไว้ว่าจะยังไม่ทำลาย แต่จะนำไปใช้ในทางสันติ

สังข์จึงนำศพแม่รัตนาไปทำพิธีทางศาสนา เผาศพก่อน ถึงเวลานี้ แม้สังข์จะเป็นลูกบุญธรรม แต่ทุกคนก็ยอมรับให้เป็นหัวหน้าแทนคุณนายรัตนา สังข์จึงแปลงห้องแลบให้เป็นสถานที่ทดลองทางชีวภาพในทางสันติ และทำลายสูตรลับในการสร้างระเบิดชีวภาพนั้นเสียสิ้น ตั้งเป็นบริษัทใหม่ บริษัทแผ่นดินแม่

(5)
ตามหาแม่

เมื่อสร้างรากฐานให้แก่น้องๆ มอบหมายธุรกิจการงานให้ มารินี และสุทธิยาแล้ว สังข์ก็ขอลาไปตามหาแม่ต่อไป ท่ามกลางความอาลัยรักของมารินี

ที่กรุงเทพฯ ย่านคลองเตย วันนี้เป็นวันอาทิตย์ พวกเด็กๆ กำลังหยอกล้อเล่นกับชายอัปลักษณ์คนหนึ่ง อย่างสนุกสนาน ไม่มีใครทราบว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน เขาทำอาชีพเก็บขยะขาย แท้จริงก็คือสังข์นั่นเอง เขาเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของคนเมือง เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา มลพิษ ขยะ การจราจร ในกรุงเทพฯ เข้าไปเรียนรู้วิธีการจัดการขยะกับบริษัทวงศ์วานิช แต่ที่สังข์คิดไว้ มากกว่านั้น....

เขาค้นพบว่า ปัญหาต่างๆ เกิดจาก "คน" ที่ไร้คุณธรรม กินมากใช้มาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย รุนแรง ตามอำนาจของกิเลสตัณหา ทางออกในการแก้ปัญหาก็คือ ต้องลดความเห็นแก่ตัวของคน ให้คนพ้นจากการเป็นทาสอบายมุขให้ได้ก่อน แล้วสร้างอาชีพใหม่ที่พึ่งตนเองให้ได้ สร้างสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับสุขภาพที่ดี

สังข์เรียนรู้วิถีชีวิต ความทุกข์ยาก สาเหตุ วิธีแก้ไข ด้วยการพูดคุยกับชาวบ้าน จนลืมไปว่าขณะนี้ เขากำลังตามหาแม่อยู่ ความทุกข์ที่เกิดจากความพลัดพรากเป็นทุกข์ แต่ความทุกข์ของสังข์ ยังไม่หนักหนาเท่าความทุกข์ของคนสลัม คนจนๆ ทำอย่างไรที่จะให้คนเหล่านั้น เลิกละการอพยพเข้ามาในเมืองหลวง เพราะมันสร้างปัญหาต่างๆ มากมาย

แม้จะมองไม่เห็นหนทางว่าจะได้พบแม่ แต่เขาก็ยังไม่สิ้นหวัง

(6)
รจนา ปี 2005

นายสมิลักษณ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพราะคนกรุงเทพฯ เชื่อว่า เขาจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะ การจราจรได้ แต่ยิ่งเวลาผ่านไปปัญหาก็ยิ่งทับทวี

นายสมิลักษณ์ แต่งงานกับภรรยาคนแรก มีบุตรสาวด้วยกัน 3 คน ต่อมา นายสมิลักษณ์ แอบไปได้เสียกับภรรยาคนที่สอง มีลูกด้วยกันเป็นหญิงทั้ง 3 คน เท่านี้ยังไม่พอ นายสมิลักษณ์ ยังไปแอบมีภรรยาเป็นคนที่ 3 คราวนี้มีศักดิ์เป็นถึงดอกเตอร์สาวจาก MIT ชื่อ มัณฑนารินี และให้กำเนิดบุตรสาวอีก 1 คน นับเป็นคนสุดท้าย เขามีลูกมากเพราะอยากได้ลูกชายไว้สืบสกุล แต่ก็ผิดหวัง มีแต่ลูกสาว

ทุกคนมีครอบครัวหมดแล้ว เว้นแต่คนสุดท้าย ชื่อ รจนารินี หรือทุกคนในบ้านมักเรียกว่า คุณหนูรจ หรือ รจนา กำลังเรียนอยู่ปีสาม ม.เกษตร ลูกคนนี้แปลก ไม่ชอบยุ่งกับใคร ชอบปลูกต้นไม้ ทำสวน ซึ่งนายสมิลักษณ์ เป็นคนเจ้ายศ ติดระบบเจ้าขุนมูลนาย ชอบดูถูกคน โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา คนป่าคนดอย ย่อมทนไม่ได้ที่เห็นลูกสาวมีพฤติกรรมแบบนี้

ก่อนจบการศึกษา รจนา กับเพื่อนๆ มีโอกาสออกค่ายอาสาพัฒนาสัจธรรมชีวิต บังเอิญ เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวชุมชนสลัมคลองเตย และมีโอกาสพบกับสังข์ แรกๆ รจนาไม่รู้จักสังข์ดีพอ จึงรังเกียจ แต่ก็ไม่ถึงกับผลักไส แต่คบคุ้นกันไปนานๆ ได้คุยกัน ถึงวิถีชีวิต ความคิดอุดมการณ์ ก็รู้สึกชอบ พอใจ คิดในใจว่า ถ้าเป็นคนปกติไม่พิการก็จะคบเป็นแฟน แต่ก็ยังไม่ทันหายสงสัย วันหนึ่ง ยาที่สังข์กินเข้าไปเกิดหมดฤทธิ์เอาเสียดื้อๆ รจนา แอบรู้ความจริง แต่สังข์ไม่ให้บอกใคร รจนาก็เล่นสนุกด้วย ความใกล้ชิด เกิดเป็นความรัก ถึงขึ้นขออยู่ร่วมชีวิตเป็นสามีภรรยา

นายสมิลักษณ์ รู้ความจริงเข้า โกรธมาก และรู้สึกเสียหน้า เสียหายมากที่สุด จึงขับไล่ให้ทั้งสองคนออกไปจากบ้าน ถึงกับตัดพ่อลูก สังขวุฒิ กับ รจนารินี จึงออกไปเช่าบ้านพัก ที่บริเวณ คลอง 13 ปทุมธานี ปลูกผัก ทำกสิกรรม สังข์ได้นำสูตรต่างๆ มาดัดแปลง ทดลองทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยจุลินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ มากมาย ตลอดจนทำน้ำยาเอนกประสงค์ ด้วยตนเอง กับรจนา จนประสบผลสำเร็จ และได้เผยแพร่ให้เพื่อนบ้านเอาอย่างตาม และเกิดอาชีพใหม่ขึ้นมา เรียกว่า สามอาชีพกู้ชาติ เกิดเป็นกลุ่มเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษขึ้นมา เริ่มสร้างเป็นศูนย์ฝึกอบรมชาวบ้าน เกิดระบบสหกรณ์ เพียงสี่ปีเท่านั้น

ทุกวันนี้สังข์ คือนายสังขวุฒิตัวจริง เพราะได้รับการขอร้องจากภรรยา และเพื่อนบ้าน ให้เลิกทำตัวเล่นละครได้แล้ว หันมาใช้ชีวิตเป็นปกติสุขแบบสามัญดีกว่า สังข์ก็เห็นด้วย

(7)
กรุงเทพฯ ยามวิกฤติ

ขณะนี้ ปัญหารถติด อากาศเสีย ขยะล้นเมือง มลพิษทางเสียง กำลังรุมทำร้ายสังคมเมืองกรุงเทพอย่างรุนแรง ไร้ทางแก้ไข จึงเกิดม็อบขับไล่ ผู้ว่าฯสมิลักษณ์

นายสมิลักษณ์ คิดหาทางแก้ไข โดยระดมสมองกับเขยทั้งหกคน แต่ก็ไร้ผล เพราะเขย
ทั้งหก ต่างเป็นนักธุรกิจ บางคนก็ว่าง บางคนก็ไม่มีทางออกที่ดี คนรับใช้จึงบอกแก่นาย
สมิลักษณ์ว่า ยังมีเขยคนที่เจ็ดอยู่อีกคน ไม่ลองเรียกมาช่วยกู้สถานการณ์ เพียงเอ่ยชื่อ สังขวุฒิ ก็ทำให้นายสมิลักษณ์ ไม่พอใจ ยังโกรธเคืองไม่หาย แต่ก็หมดหนทาง จึงจำเป็นต้องเห็นคล้อยตาม

สังขวุฒิ กับ รจนารินี พร้อมด้วย สมาชิกเครือข่ายกสิกรรม เดินทางเข้าพบผู้ว่า กทม. อย่างมั่นใจ เข้าพบผู้ว่าในห้องประชุมหรู พร้อมกับนำเสนอผลงาน ด้วยภาพถ่าย วีดิทัศน์ แต่
ผู้ว่าก็ยังไม่เชื่อ คิดว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น ไม่มีจริง แต่ก็ไม่มีทางเลือกอย่างอื่นอีกแล้ว ที่ประชุมจึงยินยอมให้ใช้วิธีการของสังข์ รจนา กับพวก ในการแก้ปัญหาวิกฤติ

เริ่มด้วยการคัดเลือกคน เข้าฝึกอบรมสัจธรรมชีวิต ลดละ เลิกอบายมุข กิจกรรม 5ส.
กสิกรรมธรรมชาติ ทำปุ๋ยจากขยะ แยกขยะขาย หันมาดูแลสุขภาพ แบบ 7อ. ผ่านไป 6 เดือน ผู้คนที่เข้าโครงการต่างพอใจ ผู้ว่าฯ ก็เห็นผล จึงบรรจุเข้าเป็นโครงการพัฒนา
คุณภาพและศักยภาพชีวิต ให้แก่คนใน กทม. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดอพยพเข้ามาจนกลายเป็นคนกรุงเทพฯไปโดยปริยาย

สี่ปีผ่านไป ที่สุดปัญหาต่างๆ ใน กทม. ก็ลดลง โดยนำเงินงบประมาณจากเงินคงคลัง และเงินรายได้จากธุรกิจของเขยอีก 6 คนมาร่วมเป็นทุนสะสมด้วย เขยทั้ง 6 แม้จะไม่พอใจ แต่ก็จำยอมเพราะ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า วิธีการของสังขวุฒติได้ผลเป็นที่ประจักษ์

กิจกรรมได้ขยายไปสู่ชนบท ลดคนอพยพเข้าเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องครอบครัวดีขึ้น นายสมิลักษณ์วันนี้ ถึงแม้วัยจะร่วงโรย แต่ใจก็สู้ ประกาศเลิกดื่มเหล้า และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์เป็นวันงดเหล้า ห้ามขายสุรา เบียร์ทุกชนิดในวันอาทิตย์ ปิดสถานเริงรมณ์ทุกชนิด ประกาศกรุงเทพคือเมืองสวรรค์ ท่ามกลางความโห่ร้องยินดีของชาว กทม. แต่ได้รับความเกลียดชังจากนายทุน นักการเมือง และนายตำรวจ ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมอบายมุข ในที่สุด นายสมิลักษณ์ก็ถูกสังหาร โดยมือปืนอาชีพ โดยที่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้

(8)
ผู้ว่า กทม. คนใหม่

ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ แทนนายสมิลักษณ์ นายสังขวุฒิ นาวาบุญนิยม จึงได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น โดยไม่มีการหาเสียงแต่อย่างใด เพราะสมาชิกในเครือข่ายเป็นคนช่วยหาเสียงโดยการบอกต่อ ท่ามกลางความแปลกประหลาดใจของคู่แข่ง ไม่ได้หาเสียงแต่ได้รับเลือกตั้งอย่างไร เกิดอะไรขึ้นกับคนกรุงเทพในยุคนี้

สังขวุฒิประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ชีวิตของสังข์ก็ยังไม่สมบูรณ์ เขายังเป็นห่วงแม่ ยังไม่รู้ชะตากรรม ถ้ารู้ว่าแม่ตายแล้ว เขาจะได้ทำใจ เลิกคิดที่ออกตามหา

ภาพอันน่ารันทดใจก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสังข์มาพบหญิงชราคนหนึ่ง ซึ่งเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาตามหาญาติ เธอคือ แม่จันทนี ที่หมดหวังแล้วว่าชีวิตนี้จะได้พบลูกชายอีกครั้งหนึ่ง จนนางเองก็จำลูกไม่ได้แล้ว แต่สัญลักษณ์ และความรู้สึกอย่างหนึ่งที่แม่และลูกจดจำกันได้ คือ … รอยสัมผัสอันอ่อนนุ่ม อ่อนโยน เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตา หยาดน้ำตาอุ่นๆ ไหลอาบแก้มสองแม่ลูก เมื่อรู้ว่าวันเวลาที่รอยคอยอันยาวนานสิ้นสุดลงแล้ว

สอบถามจนได้ความ สังข์จึงรับแม่ที่แท้จริง ไปอยู่ด้วย วันที่เขาพบแม่ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ปี 2005

ขอบูชาแม่ของแผ่นดิน….
บูชาแม่ราชินี เป็นที่หนึ่ง
บูชาแม่ธรณี แม่ที่สอง
บูชาแม่คงคา แม่ที่สาม
บูชาแม่โพสพ แม่ที่สี่
บูชาแม่ของเรา แม่ที่ห้า

จบ

การดำเนินเรื่อง อิงจากวรรณคดีไทยเรื่อง “สังข์ทอง” โดยกำหนดตัวละคร เช่นเดียวกับในวรรณคดี มีเสริมแต่งขึ้นบ้างเพื่อให้ดูเหมาะสม วิถีเหตุการณ์ต่างๆ ปรับเปลี่ยนให้เป็นวิถีในปัจจุบัน เช่น

คุณนายรัตนา ในวรรณคดีคือ นางยักษ์พันธุรัตน์
นายสมยศ ในวรรณคดีคือ ท้าวยศวิมล
นายสมิลักษณ์ ในวรรณคดีคือ ท้าวสามล
ของเล่นที่สังข์ชอบ ในวรรณคดีคือ หอยสังข์ แม่ทุบหอย เหมือนทุบของที่รักของสังข์
นาเคนทร์ ในวรรณคดีคือ พญานาคที่เป็นเพื่อนนางพันธุรัตน์
ยานล่องหน ในวรรณคดีคือ หัวเงาะ ไม้เท้า และรองเท้าทองคำ
ห้องวิจัย ในวรรณคดีคือ ถ้ำยักษ์ที่มีบ่อเงิน บ่อทอง และเป็นที่ขังสัตว์ต่างๆ
ที่เป็นอาหารของยักษ์
ชายที่มีผิวปูดโปน ในวรรณคดีคือ เจ้าเงาะป่า
รหัสผ่านดูสูตรลับ ในวรรณคดีคือ คาถาเรียกเนื้อเรียกปลา
กรุงเทพฯวิกฤต ในวรรณคดีคือ เทวดาท้าประลองตีคลีกับท้าวสามล