วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ: การสังเกต

โดย ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ

ในด้านมานุษยวิทยา จะไม่แยกการสังเกตออกจากการศึกษา

เอกสารประกอบ

1. การสังเกต ใหนังสือวิธีการวิจัยเขิงคุณาพ ของ ดร.สุภางค์ จันทวานิช

2. การวิจัยภาคสนามเน้นหนักการสักเกต โดย ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ใน รวมบทความว่าด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ของ ดร.สุภางค์

3. Participant Bbservation by J.Spradley

 

การสังเกต ความรู้พื้นฐาน

1. ความหมายของการสังเกตในากรวิจัย

2. ประเภทของการสังเกต

3. ลักษณะการสังเกต

4. ปัญหาในการสังกต สังเกตในชุมชนสันติอโศก

3. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในเรื่องวิธีการ และ หลักการในการสังเกต

 

ความหมายของการสัเกตในการวิจัย

1. ความหมายของการสังเกตโดยทั่วไป

การพิจารณารณา "สรรพสิ่ง" (สัตว์ สิ่งของ รวมทั้งคนด้วย) และ "เหตุการณ์" ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปบงไปด้วย การดู หรือ มอง การฟัง การดม หรือ ประสาทสัมผัสอื่นๆ โดย มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ความคิด เช่น สงสัย หรือ เชื่อมโยง

2. ความหมายของการสังเกตในการวิจัยเชิงคุณภาพ

ความหมายของการสังกตในการวิจัย

–การสังเกตโดยทั่วไป

–มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อมูลตอบคำถามการวิจัย

–สิ่งที่ถูกสังเกตเรียกว่า "สถานการณ์สังคม"

ฉะนั้นต้องมี ประเด็นที่จะสังเกต อย่างชัดเจน

 

องค์ประกอบของสถานการณ์สังคม

 

 

 

 

ข้อควรระวังในการสังเกตในการวิจัยเชิงคุณภาพ

1. ตัวนักวิจัย เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล หมายความว่า "ข้อมูล" ถูกเก็บบันทึกด้วยประสาทสัมผัสของนักวิจัย เช่น สายตา หรือความคิดของนักวิจัย ซึ่งอาจมีความลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่รู้ตัว ควรหาแนวทางมาแก้ไขความลำเอียง ให้ระวังว่าวิถีที่คิด เราทำถูกต้องกว่าคนอื่น จะทำให้เป็นอุปสรรคในการบันทึกการสังเกตได้

2. การสังเกตจะ คม ชัด ลึก เมื่อเป็นการสังเกต ในระยะยาว การสังเกตในช่วงเวลาสั้นๆ อาจทมีจุดอ่อนมาก ควรใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ

3. ลักษณะ สถานภาพ บุคลิกภาพ ของนักวิจัย อาจมีผลกระทบต่อการได้ข้อมูล เช่น ทำให้ผู้ให้ข้อมูลกลัว เกรงใจ ไม่ไว้วางใจ เราจะต้องจริงใจกับเขาก่อน เขาจึงจะไว้วางใจเรา

4. การสัเกตมักใช้ในสภาวะธรรมชาติ อาจมีข้อจำกัดในเรื่องโอกาสที่จะสังเกต

5. สิ่ง หรือ เหตุการณ์ที่สังเกต อาจมีลักษณะเป็นพลวัต ทำให้ยากต่อการสังเกต เช่น เหตุการณ์ประท้วง หลากหลายกลุ่ม หลากหลายเหตุการณ์ หลายพวก ทำให้สังเกตได้ยาก เพราะมีการเชื่อมโยง เปลี่ยนแปลงสูง ซับซ้อน

 

ประเภทของการสังเกต
(กำหนดโดยลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย กับสถานการณ์สังคมที่ถูกสังเกต)

1. ไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์สังคม
ต้องประกอบด้วยสองคนขึ้นไป จึงจะเป็นสถานการณ์สังคม เราไม่ใช่พวกเขา อาจทำให้เขาเกร็งได้
ส่วนดีในการไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์สังคมคือ จะได้ข้อมูลจริง ไม่ลำเอียง แต่จะไม่ได้ข้อมูลเชิงลึก แต่บางทีก็ไม่ได้อะไรเหมือนกันในบางสถานการณ์ เพราะการเป็นส่วนหนึ่งของตัวละคร ถ้ายังไม่มีโอกาสแสดง ก็จะไม่มีข้อมูลให้ดู

2. มีส่วนร่วม
แบบคนนอก
แบบคนใน

3. มีผลกระทบต่อข้อมูลที่จะได้

แบบมีส่วนร่วม อาจมีโอกาสสังเกตภาพรวมได้น้อย

แบบไม่มีส่วนร่วม อาจสังเกตภาพรวมได้ดี แต่เข้าใจความหมายได้น้อย

 

ลักษณะการสังเกต มี 3 ลักษณะ (กำหนดจากสถานการณ์สังคมที่สังเกต)

1. การสังเกตเชิงพรรณนา (แบบทั่วไป) Descriptive Observation

เป็นการสังเกตสถานการณ์สังคมโดยทั่วไป แบบกว้างๆ และพยายามจะเจ้าใจาถสานการ์สังคมนั้น โดยยังไม่มีคำถามเฉพาะ มีแต่คำถามในใจ อย่างกว้างๆ เข่น

–เป็นสถานกรณ์สังคมอะไร

–มีใคร หรือ อะไรเกี่ยวข้องบ้าง

–เกิดขึ้นที่ไหน

–สถาพแวดล้อมเป็นอย่างไร

–กิจกรรมต่างๆ ในสถานการณ์สังคมนั้น

–ลำดับเหตุการณ์ การเวลา

–ความสัมพันธ์เกี่ยวจ้องกับการวิจัย

2. การสังเกตแบบมีจุดเน้น (Focused Observation)

–สังเกตเจาะลึกในบางสถานการณ์สังคม ที่จะนำไปสู่ การตอบประเด็นบางประการในการวิจัย

–มีแนวทางชัดเจนว่า จะสังเกตอะไร

3. การสังเกตอย่างเลือกสรร (Selective Observation)

มีลักษณะคล้ายกับการสังเกตแบบจุดเน้นในแง่ที่ว่า มีคำถามเฉาะ แต่แตกต่าง…

 

ปัญหาในการสังเกต

1. รู้จักสังเกตสถานการณ์สังคม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย หมายความต้องรู้ประเด็นวิจัยเป็นอย่างดี

2. การเข้าถึงสถานการณ์สังคม แต่ต้องระวังเรื่องมารยาทสังคมด้วย (ความงก อยากรู้ไปเสียทุกอย่าง จนบละเมิดสิทธิ์บางอย่างของเขา)

3. การบันทึกรายละเอียดที่ "ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้น"

4. การเข้าใจ และ ตีความสถานการณ์สังคม ซึ่งอาจจะซับซ้อน การบันทึกรายละเอียดสิ่งที่เกิดขึ้น จะไม่ได้ทั้งหมด เพราะบางครั้งสังเกต แต่ไม่มีโอกาสถามว่าเขาคิดอะไร จะต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์มาช่วยอีกแรง

5. การไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์สังคมที่สังเกต

 

แนวทางในการสังเกตแบบทั่วไป

1. ประเด็นที่ควรพิจาร

ประเด็นที่ควรพิจารณาในการสังเกตสถานการณ์

–ผู้เกี่ยวข้อง

–ปฏิสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้อง

–สภาพแวดล้อมของการปฏิสัมพันธ์

–ลักษณะ และ วัตถุประสงค์ของกิจกรรมในสถานการณ์สังคม

–ลำดับเหตุการณ์ และ เวลา

–ความเกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัย

2. ขั้นตอนการสังเกต

2.1 เลือกสถานการณ์สังคม ที่จะสังเกต การสังเกตซึ่งถูกกำหนดโดยประเด็นวิจัย เช่น

–คนคุยกัน

–คนกำลังทำนา

–คนประกอบพิธีกรรม

–คนกำลังเรียน และสอนหนังสือในห้องเรียน

2.2 พิจารณาองค์ประกอบของแต่ละสถานการณ์สังคม

–ผู้เกี่ยวข้อง (Actors)

–สถานที่ (Place)

–กิจกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์ (รวมวัตถุประสงค์)

2.3 พิจารณาเคความเกี่ยวข้องของสถานการณ์สังคมต่างๆ เข้าด้วยกันในแง่

–ความแตกต่างและความเหมือน ขององค์ประกอบ และ วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

–ความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน โดยพื้นที่ โดยบุคคล โดยกิจกรรม โดยเหตุและผล

3. ข้อคิดและหลักการในการสังเกต

3.1 หลักการและข้อคิดในการสังเกต

3.1.1 ตระหนักในความลำเอียงของผู้วิจัย ซึ่งมีผลต่อการสังเกต

3.1.2 ตระหนักว่าสถานการร์สังคมที่สังเกต อาจจะไม่ใช่ตัวแทนสถานการณ์สังคมชนิดเดียวกันโดยรวม อาจเป็นกรณีเฉพาะ ไม่ควรด่วนสรุป

3.1.3 ตระหนักเสมอว่า การสังเกตในการวิจัย เป็นวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการวิจัยเป็นหลัก กระบวนการคิดและตั้งคำถามในใจ ในการสังเกตมีความสำคัญ

3.1.4 ในการสังเกต ควรให้เป็นไปอย่างธรรมชาติที่สุด กรอบคิดของเราควรมี แต่ต้องยืดหยุ่น จะต้องให้ได้ข้อเท็จจริง (Data, Fact) โดยไม่อิงกับหลักการทฤษฎีใด

 

ตัวอย่างการสังเกต

การสวดภาณยักษ์

การศึกษาชีวิตในชุมชนชาวมอญ

การสังเกตชีวิตชุมชนลาวโซ่ง

 

แนวทางการบันทีกข้อมูลจากการสังเกต

1. ต้องรู้จะกสังเกตแบะบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามที่สังเกต

2. ควรคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถบันทึกได้ตามที่สังเกต

เนื่องจากการสังเกต เป็นวิธีที่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นแบบธรรมชาติ การจดบันึ่กในขณะสังเกต อาจจะทำให้ผั้ถูกสังเกต มีปฏิกิริยา และมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จึงต้องอาจจดบันทึกใน…ทำให้เกิดความหลงลืม และบันทึกไม่ครบถ้วยตามที่ได้สังเกต

หากสามารถบันทึกได้ในขณะสังเกต ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะพบาดการสังเกต

3. อาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยบันทึกได้ เช่น ถ่ายภาพ และายวิดีโอในบางกรณี แต่จะมีปัญหาในบางแบบ

4. การบันทึก น่าจะมี 2–3 ขั้นตอนด้วยกัน เช่น บันทึกสังเขปในสนาม บันทึกรายละเอียด ประมวลจากบันทึกสังเขปและความจำ เรียบเรียงตามประเด็นที่เห็นสำคัญ

5. ข้อแนะนำให้การบันทึกรายบะเอียด

ควรบันทึกแบบมีข้อมูลที่เป็นรูปธรรม ไม่ใข่เป็นข้อสรุปแบบเลื่อนลอย เช่น

บันทึกเลื่อนลอย

บันทึกรูปกรรม

แดงแสดงความไม่เป็นมิตรต่อดำ

แดงพูดห้วนๆ และแสดงท่าทางไม่เป็นมิตร ด้วยการชูกำปั้นใส่หน้าดำ

ภาพที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมภาณยักษ์

ภาพที่เห็น อาจเป็นภาพที่เกี่ยวกับพิธีกรรม ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เพราะว่ามีพระสงฆ์ รูปร่งสูง กำลังนั่งพนมมืออยู่บนตั่ง ติดกับโอ่ง ซึ่งมี 4 โอ่ง บนปากโอ่งมีเทียนจดไว้รอบๆ และมีผู้ช่วยอีก 4 คน อยู่ทางซ้ายมือของพระสงฆ์ 3 คน ยืน คนหนึ่งและมีผู้ชายอีกคนแต่ากายคบ้ายพราหมณ์ ที่นั่งพนมมืออยู่ ด้านหลังของพระสงฆ์ ทีอาศน์ตระตั้งอยู่

อาจเป็นได้กำลังทำน้ำมนต์ จากภาพไม่ขัดเจน ว่าเป็นสถานที่ใด แต่ดูจกอาคารแล้ว ไมน่าจะใช่โบสถ์

จากตัวอย่างการบันทึกนี้ จะเห็นความไม่ชดเจน เช่น ไม่รู้แนว่าพิธีอะไร ทำไปเพื่ออะไร คนที่อยู่ในภาพปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร จำเป็นต้อง ซักถาม และสังเกตสถานการณ์สังคม ประเภทเดียวกันต่อไป

ก่อนที่จะรู้ว่ามีความสำคัญอย่างไร ต่อประเด็นวิจัยของเรา

การบันทึกการสังเกต

–น่าจะมีรายละเอียดเป็นรูปธรรม

–ไม่ด่วนสรุป ตีความ ในบันทึก หากจะตีความ ต้องแยกให้เห็นชัด

นักวิจัยที่มีประสบการณ์หลายราย จึงแนะนำรูปแบบบันทึกข้อมูล จากการสังเกต ที่จะช่วยให้บันทึกได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น

สถานที่ วัน / เวลา: สถานการณ์สังคม:

1. สภาพแวดล้อมทั่วไป
2. บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ ควรมีแผนผังประกอบ

3. ปฏิสัมพันธ์ และกิจกรรมที่ทำ

4. วัตถุประสงค์

5. ลำดับเหตุการณ์

6. ข้อคิดเห็นของผู้บันทึก

และแนะนำให้ทบทวนบันทึกจากการสังเกต และหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการซักถาม และสังเกต ต่อๆ ไป

 

ในการจัด Fucus Group จะต้องให้มีความชัดเจนเป็นรูปกรรม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการวิจัย การบันทึกอะไรจะต้องมีหลักฐานที่อ้างอิงได้

แบบฝึกหัด

ทีมงานคิดร่วมกัน

จิตวิญญาณเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยอะไรบ้าง –จิต –กาย –สังคม