องค์ความรู้บุญนิยม   
 

องค์ความรู้บุญนิยม

เป็นสื่อที่ใช้การพัฒนามนุษย์ จากเลวไปสู่ดี และจากดีแล้ว ไปสู่ดีที่สมบูรณ์ มีกระบวนการในการเรียนรู้ ฝึกหัด วัดผล โดยบูรณาการควบคู่ไปกับการลดกิเลส และการเสียสละ อดทน แต่ผาสุก รู้สมมุติสัจจะ ธรรมสัจจะ และ กระทำให้ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น มีผลได้ที่เป็นประโยชน์สูง ประหยัดสุด ทั้งต่อตนเอง หมู่คณะ สังคม และ ประเทศชาติ

โครงสร้าง

ก. หน่วยการเรียนรู้ พื้นฐาน
"สัจธรรมชีวิต"
"สุขภาพ 7อ."

ข. หน่วยการเรียน พัฒนาตน
"สัมมาอาชีพ"

ค. หน่วยการเรียน เพิ่มผลศักยภาพ
"เศรษฐกิจพึ่งตน (เศรษฐศาสตร์บุญนิยม)"

ง. หน่วยการเรียนรู้ ปรับสถานะ
"ชุมชนเข้มแข็ง (ชุมชนบุญนิยม)"

จ. หน่วยการเรียนรู้ สร้างสุขภาวะยั่งยืน
"ทุนทางสังคม"
"เทคโนโลยี และนวัตกรรมพื้นบ้าน"

มีรายละเอียดดังนี้

1. สัจธรรมชีวิต กับการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต

1.1 ความหมาย และการเลิกละอบายมุข

1.2 ระดับของศีล5 ความหมาย และการรักษาศีล5

2. สุขภาพ 7อ. ได้แก่

2.1 ดุลยภาพทางกาย ดุลยภาพทางจิต

2.1.1 สุขภาวะทางกาย

2.1.2 สุขภาวะทางจิต

2.1.3 สุขภาพทางจิตวิญญาณ

2.1.4 สุขภาวะทางสังคม

2.2 สุขภาพ 7อ.

(1) อ.อิทธิบาทสี่
(2) อ.อาหาร
(3) อ.อากาศ
(4) อ.อารมณ์
(5) อ.อิริยาบถ
(6) อ.เอนกาย
(7) อ.เอาพิษออก

3. สัมมาอาชีพ คือ อาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม

3.1 อาหารมังสวิรัติ และการแปรรูปอาหาร

3.2 กสิกรรมธรรมชาติ

3.2.1 ปรัชญาความเชื่อ หลักการ และ องค์ประกอบ ของกสิกรรมธรรมชาติ

3.2.2 การทำนาบุญ

3.2.3 การทำสวนกสิกรรมไร้สารพิษ

3.3 ขยะวิทยา

3.3.1 ความหมาย และประเภท ของขยะ และระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม

3.3.2 การจัดระเบียบสภาพแวดล้อมด้วยวิธี 5ส. (สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย) และ การทำน้ำยาซักล้างอเนกประสงค์ (น้ำยาซักล้างจุลินทรีย์)

3.3.3 ผลิตกรรมเวียนใหม่ และการสร้างรายได้จากขยะ

3.4 ปุ๋ยสะอาด องค์ประกอบ และวิธีทำปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ

3.5 การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ จากพืชผักไร้สารพิษ พืชสมุนไพร งานหัตถกรรม งานจักสาน งานทอ

3.6 การสร้างบ้านดิน

3.7 สมุนไพร และการแปรรูปสมุนไพร

4. เศรษฐกิจพึ่งตน

4.1 หลักเศรษฐศาสตร์บุญนิยม

4.1.1 ทฤษฎีกำไร-ขาดทุน ของอาริยชน

(1) ขายราคาต่ำกว่าท้องตลาด
(2) ขายราคาเท่าทุน
(3) ขายราคาต่ำกว่าทุน
(4) แจกฟรี

4.1.2 มิจฉาวณิชชา5

(1) การค้าขายสัตว์เป็น (สัตถวณิชชา)
(2) การค้าขายสัตว์ตาย หรือเนื้อสัตว์ (สัตตวิณิชชา)
(3) การค้าขายอาวุธ (มังสวณิชชา)
(4) การค้าสิ่งมอมเมา (มัชชวณิชชา)
(5) การค้าขายยาพิษ (วิสวณิชชา)

4.1.3 มิจฉาอาชีวะ 5

(1) การโกง (กุหนา)
(2) การล่อลวง (ลปนา)
(3) การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
(4) การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)
(5) การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)

4.2 การตลาดบุญนิยม

4.2.1 หลักการตลาด

(1) ขายถูก
(2) ไม่ฉวยโอกาส
(3) ขยัน อุตสาหะ
(4) ประณีต ประหยัด
(5) ซื่อสัตย์ เสียสละ

4.2.2 นโยบายการค้า

(1) ของดี
(2) ราคาถูก
(3) ซื่อสัตย์
(4) มีน้ำใจ
(5) ขายสดงดเชื่อ

4.2.3 ตลาดบุญนิยม

(1) ร้านค้า สหกรณ์
(2) ตลาดนัดบุญนิยม
(3) ตลาดอาริยะ

4.2.4 องค์ความรู้ และวัฒนธรรมบุญนิยม

5. ชุมชนเข้มแข็ง

5.1 ชุมชนบุญนิยม ลักษณะ 14 ประการ ของชุมชนชาวอาริยะ

(1) เป็นสังคมที่เห็นได้ชัดถึงลักษณะของคนมีศีล มีคุณธรรม มีอาริยธรรม
(2) เป็นสังคมที่สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น
(3) มีงานที่เป็นสัมมาอาชีพ มีกิจการเป็นสาระที่มั่นคง
(4) ขยัน สร้างสรร ขวนขวาย กระตือรือร้น
(5) อยู่กันอย่างผาสุก สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบาน ร่าเริง
(6) ไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่รุ่งเรือง ฟุ้งเฟื่อง ไม่ผลาญพร่า สุรุ่ยสุร่าย
(7) มีความประณีต ประหยัด แต่เอื้อเฟื้อ สะพัดแจกจ่าย
(8) ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีอบายมุข ไม่มีทุจริตกรรม
(9) มีความพร้อมเพรียง สามัคคี อบอุ่น เป็นเอกภาพ
(10) สัมผัสได้ในความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ของความเป็นกลุ่มก้อน ภราดรภาพ
(11) มีความแข็งแรง มั่นคง ยืนหยัด ยั่งยืน
(12) เป็นสังคมที่สร้างทุนทางสังคม มีประโยชน์คุณค่าต่อผู้อื่น และสังคมทั่วไปในรอบกว้าง
(13) อุดมสมบูรณ์ แต่ไม่สะสม ไม่กักตุน และไม่กอบโกย
(14) มีน้ำใจ ไม่เอาเปรียบ เสียสละอย่างสุข และเห็นเป็นคุณค่าของคนตามสัจธรรม

5.2 องค์ประกอบ ของชุมชนบุญนิยม

(1) ศาสนา
(2) การเมือง การปกครอง
(3) การเงิน การคลัง
(4) กสิกรรม ปุ๋ย ขยะ
(5) สุขภาวะ
(6) ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม
(7) อุตสาหกิุจชุมชน
(8) การศึกษา ศิลปะ
(9) การสื่อสาร
(10) เศรษฐกิจ พาณิชย์
(11) การบริโภค
(12) กฎหมาย ยุติธรรม
(13) วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

5.3 การสร้าง และการบริหารจัดการองค์กรบุญนิยม นิยาม คุณสมบัติ คณะกรรมการ กิจกรรม-แผนงาน-โครงการ การสรุปบทเรียน ขององค์กรบุญนิยม

5.3.1 ชมรม

5.3.2 กลุ่ม

5.3.3 ชุมชน (พุทธสถาน, ศกร., สัมมาสิกขา)

5.3.4 หมู่บ้าน (พุทธสถาน, ศกร., สัมมาสิกขา)

5.3.5 เครือข่าย (ศกร.แม่ข่าย, ศกร.-ศรก. ลูกข่าย)

6. ทุนทางสังคม (Social Outputs)

6.1 ความหมาย กระบวนการ การสร้าง "ทุนทางสังคม"

6.1.1 ทุน หมายถึง ผลที่เกิดขึ้น (Output) ที่เป็นแก่น เป็นสาระ ต่อสังคม เรียกว่า “บุญ” หรือ บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ คือ

(1) การให้ทาน (ทานมัย)
(2) การรักษาศีล (ศีลมัย)
(3) การลด โลภ โกรธ หลง (ภาวนามัย)
(4) ความอ่อนน้อมถ่อมตน (อปจายนมัย)
(5) การช่วยขวนขวายรับใช้ทำการงาน (เวยยาวัจจมัย)
(6) การทำให้ผู้อื่นได้บุญ (ปัตติทานมัย)
(7) ความยินดีที่ผู้อื่นได้บุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
(8) การฟังธรรม (ธัมมัสสวนามัย)
(9) การแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย)
(10) การทำความเห็นให้ถูกตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)

6.1.2 ความยั่งยืนในการสร้าง "ทุนทางสังคม" สิ่งที่ต้องสร้างต้องทำ เพื่อให้ทุนทางสังคมเจริญงอกงาม

(1) ธุรกิจการค้าบุญนิยม
(2) การศึกษาบุญนิยม
(3) กสิกรรมบุญนิยม
(4) อุตสาหกรรมบุญนิยม
(5) การเงินบุญนิยม
(6) สาธารณสุขบุญนิยม
(7) การบริโภคนิยม
(8) สื่อสารบุญนิยม
(9) การเมืองบุญนิยม
(10) ศิลปะบุญนิยม

6.1.3 ตัวชี้วัดระดับคุณภาพของความเป็นทุนทางสังคม คือ อุดมการณ์ 7ส.

(1) ส.สุข สุขที่กิเลสลดลง
(2) ส.สูง ได้รับการยอมรับคุณค่า ความดีงามที่จริงจากผู้อื่น
(3) ส.สร้างสรร สร้างอย่างเลือกเฟ้นด้วยความมีปัญญา
(4) ส.เสียสละ พยายามเสียสละให้มากเสมอ เพราะเห็นเป็นคุณค่าของชีวิต แม้ที่สุดเสียเปรียบก็จำยอมเมื่อถึงคราว
(5) ส.สมบัติ เป็นโลกุตรสมบัติ หรือ อาริยสมบัติ
(6) ส.สูญ สูญสิ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน
(7) ส.สัมบูรณ์ มีทุกอย่างครบทั้ง 6 ส.

6.2 องค์ประกอบของทุนทางสังคม

6.2.1 คนดี (สรรค่า สร้างคน)

(1) คนดี ต้องมีทรัพย์แท้ (อริยทรัพย์ 7) คือ

– ศรัทธา
– ศีล
– หิริ (ละอายต่อบาป)
– โอตตัปปะ (สะดุ้งกลัวต่อบาป)
– สุตะ (ทรงจำธรรมได้มาก)
– จาคะ และ
– ปัญญา

(2) คุณลักษณะผู้เจริญ ไม่มีวันตกต่ำ 12 ประการ คือ

– ไม่กลบเกลื่อน เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือน
– นิ่งฟังอย่างเปิดใจ เมื่อถูกติเตียน
– ไม่เพ่งโทษผู้ว่ากล่าวติเตือนสั่งสอน
– เอื้อเฟื้อต่อคำสอน และผู้สอน
– อ่อนน้อมถ่อมตนอย่างดียิ่ง
– มีความปีติยินดีต่อคำสอน ต่อคำติเตียนที่ถูกต้องดีงาม
– ไม่ดื้อรั้น
– ไม่ยินดีในการขัดคอ
– มีปกติรับฟังความเห็นต่างอย่างดีเยี่ยม
– เป็นผู้มีความอดทน
– อุตสาหะบากบั่น พากเพียร

(3) คุณภาพ 4 ขั้นของคนดี คือ

– ผู้รู้ได้ถ้วน ทำได้ที่ เรียกว่า “ผู้สำเร็จ”
– ผู้ทำได้ดี แต่รู้ไม่มาก เรียกว่า “ผู้เป็น”
– ผู้ทำได้ยาก แต่รู้มากและง่าย เรียกว่า “ผู้รู้”
– ผู้มีป้ายปริญญาประกาศนียบัตร เรียกว่า “ผู้ได้รับการรับรอง”

(4) อุดมการณ์ความเป็นมนุษย์ 6 ประการ คือ

– สะอาด
– สว่าง
– สงบ
– สุภาพ
– สมรรถนะ
– สามัคคี

6.2.2 สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี

(1) หลักพรหมจรรย์ 3 ประการ คือ

– มิตรดี
– สหายดี
– สังคมสิ่งแวดล้อมดี
เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์

(2) สภาพที่ยืนยัน หรือตัวชี้วัด ความเป็น คนดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี คือ หลักวรรณะ 9 ประการ

– เลี้ยงง่าย (สุภระ)
– บำรุงง่าย (สุโปสะ)
– มักน้อย (อัปปิจฉะ)
– ใจพอ สันโดษ (สันตุฎฐิ)
– ขัดเกลา (สัลเลขะ)
– มีศีลเคร่ง (ธูตะ)
– มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปสาทิกะ)
– ไม่สะสม (อปจยะ) และ
– ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)

(3) บรรยากาศชุมชนบุญนิยม 9 ประการ

ข้าวมีกิน
ดินมีเดิน
ตะวันมีส่อง
พี่น้องมีเสร็จ
เห็ดมีเก็บ
ป่วยเจ็บมีคนรักษา
ขี้หมามีคนช่วยกวาด
ผ้าขาดมีคนช่วยชุน
บุญต่างคนต่างเร่งกอบโกย

(4) ลักษณะของธรรมชาติอโศก 11 ประการ

ดินงาม
น้ำใส
ไม้ร่ม
ลมพริ้ว
วิวสวย
รวยน้ำใจ
มีไฟทำงาน
เบิกบานในธรรม
ซึ้งกรรมซึ้งเวร
มีขันธ์เป็นเดนคูณค้ำ
พาทำธรรมชาติ

6.2.3 ระบบสาธารณโภคี

(1) สภาพของ “สาธารณโภคี” ที่จะเกิดเป็น “บุญนิยม” ต้องเป็นคนที่มีคุณลักษณะ พึ่งตนเองได้ สร้างสรร ขยัน อดทน ไม่เอาเปรียบใคร ตั้งใจเสียสละ

(2) อุดมคติของสาธารณโภคี คือ

– แรงงานฟรี
– ปลอดหนี้
– ไม่มีดอกเบี้ย
– เฉลี่ยทรัพย์เข้ากองบุญ

6.3 การสร้างทุนทางสังคม

6.3.1 การศึกษาตามวิถีพุทธ

(1) ปรัชญา “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา”

(2) หลักสำคัญการศึกษาของพุทธ 6 ประการ คือ

– ต้องเป็นผู้มีศีลไม่หย่อนยาน (อธิศีล)
– ต้องเป็นผู้มีศีลจนเป็นฌาน (อธิจิต)
– ต้องเป็นผู้มีศีลจนเกิดญาณ (อธิปัญญา)
– กระทั่งเป็นผู้ไม่มีความรำคาญ (อธิวิมุติ)
– กระทั่งเป็นบุคคลผู้เบิกบาน (อธิพุทธ)
– ต้องสมบูรณ์ด้วยการงาน จนบรรลุนิพพาน (อธิกุศลที่ถึงพร้อม)

6.3.2 ลักษณะบุญนิยมที่สมบูรณ์ 5 ประการ

(1) ทวนกระแส
(2) ทำได้ยาก
(3) เป็นไปได้เป็นจริง
(4) ไม่สร้างภาพ
(5) เป็นประโยชน์

6.3.3 สูตรสู่ความสำเร็จ 7 ขั้นตอน ของการสร้างทุนทางสังคม

(1) ศึกษา
(2) เอาจริง
(3) ต่อเนื่อง
(4) ประสานสัมพันธ์กลุ่ม
(5) ขยายงาน
(6) เผยแพร่
(7) การตลาด

6.4 สิ่งที่เป็นอุปสรรค ทำลายความเป็นทุนทางสังคม

6.4.1 อบายมุข 6

6.4.2 ความเสื่อมของชาวพุทธ 7 ประการ

6.4.3 มิจฉาวณิชชา 5 (การค้าขายที่ไม่ชอบธรรม)

6.4.4 มิจฉาอาชีวะ 5 (อาชีพที่ไม่ชอบธรรม)

6.4.5 อวิชชา 8

6.4.6 นิวรณ์ 5

6.4.7 อนุสัย 7 (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)

6.4.8 อุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)

7. เทคโนโลยี และนวัตกรรมพื้นบ้าน

 

ความรู้ทั่วไป (โลกะวิทู)

1. เศรษฐกิจ และสัมมาอาชีพ (Economy & Livelihood)

1.1 กสิกรรมไร้สารพิษ (Oganic Agricalture)

1.2 หัตถกรรม (Hand Made)

1.3 อุตสาหกิจชุมชน (Industrial & SMEs)

1.4 ผลิตกรรมเวียนใหม่ (Recycle)

1.5 สัมมาอาชีพอื่นๆ (Work & Process)

2. อาหารและสุขภาพ (Food & Health)

2.1 อาหาร การกิน อยู่ หลับ นอน (Food & Habitual)

2.2 สุขภาพ และการพัฒนาสุขภาวะ (Health & Development)

2.3 สมุนไพร (Herbal & Organic)

2.4 การแพทย์แผนไทย (Thai Health)

2.5 การแพทย์แผนปัจจุบัน (Medical)

2.6 การซ่อมเสริมสุขภาพ (Repair & Reforms)

3. ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (Nature & Environment)

3.1 ระบบนิเวศวิทยา

3.2 โลกานุวัตร (Globalization)

4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology)

4.1 เทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-Technology)

4.2 ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Expertise)

4.3 นวัตกรรมพื้นบ้าน (NovelFolk Technology)

4.4 คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ (Computer & IT)

4.5 เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology)

5. สังคม ศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรม (Social Education & Culture)

5.1 ศิลป และดนตรี (Art & Music)

5.2 การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism”

5.3 ปรัชญา (Philosophy)

5.4 ศาสนาและความเชื่อม (Religion & Ideology)

5.5 สังคมและเผ่าพันธุ์มนุษย์ (Sociality & Humanity)

 

ผู้ออกแบบโครงสร้าง: สู่ดิน ชาวหินฟ้า