หลักสูตรการสร้างหน้าเว็บ (Webpage Construction) | แผนการฝึกอบรม หลักสูตรการสร้างหน้าเว็บ | ตารางฝึกอบรม | ความรู้: เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking)

กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรสารสนเทศ (Web Designer Development Activity)

หมวด (ก) บทนำ

บุคลากรของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชุมชนอโศก จะได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ ในการพัฒนาเว็บไซต์ ที่อยู่ในเครือของชาวอโศก หลักสูตรที่ใช้ในการจัดฝึกอบรม แบ่งเป็น 4 หลักสูตร จัดให้แก่เจ้าหน้าที่ของเครือข่าย และญาติ-ธรรมที่สนใจ ได้แก่

1. หลักสูตรการสร้างหน้าเว็บ (Webpage Construction)

2. หลักสูตรการพัฒนาหน้าเว็บ (Advanced Webpage)

3. หลักสูตรโปรแกรมการจัดการหน้าเว็บ (Management Programming Webpage)

4. หลักสูตรโปรแกรมสื่อช่วยสอนบนหน้าเว็บ (CAI Programming Webpage)

ระยะเวลาในการฝึกอบรม จัดเป็น 2 ช่วงเวลา คือ

1. เวลาในหลักสูตร จัดกิจกรรมติดต่อกันจนกว่าจะจบหลักสูตร หรือจบกิจกรรมของหลักสูตรนั้น

2. เวลานอกหลักสูตร แบ่งกิจกรรมของหลักสูตรออกเป็นหลายๆ กิจกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดฝึกอบรมในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งจะใช้เวลาในระหว่างงานประเพณี งานกิจกรรมประจำปีของอโศก ได้แก่ งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ งานมหาปวารณา งานตลาดอาริยะปีใหม่ และงานสัมมนาต่างๆ

หมวด (ข) หลักสูตร

หลักสูตรการสร้างหน้าเว็บ (Webpage Construction)

ขอบเขตของหลักสูตร

-ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
-การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ (ทั้ง Hardware และ Software) ในการสร้างเว็บไซต์
-การเตรียมข้อมูล
-วิธีใช้โปรแกรม และ คำสั่งโปรแกรม ในการสร้าง และออกแบบหน้าเว็บ
-การออกแบบสร้างหน้าเว็บ สำหรับ www.asokecommunity.com
-การเผยแพร่ข้อมูล

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียน ศึกษาค้นคว้าความรู้ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างเว็บไซต์ รู้จักการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรม ข้อมูล สำหรับสร้างเว็บไซต์ เรียนรู้วิธีใช้โปรแกรม คำสั่งโปรแกรม ในการสร้าง และออกแบบหน้าเว็บ ฝึกปฏิบัติจริง ทดสอบโปรแกรม ตลอดจนร่วมกันออกแบบ สร้างหน้าเว็บของเครือข่ายชุมชนอโศก รวมทั้งสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่ทำไว้แล้ว บนอินเตอร์เน็ตได้

การฝึกอบรม

ฝึกอบรมติดต่อกัน โดยใช้ เวลาในหลักสูตร เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ฝึกปฏิบัติ และทบทวน ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง

 

หลักสูตรการพัฒนาหน้าเว็บ (Advanced Webpage)

ขอบเขตของหลักสูตร

-การสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว
-การประยุกต์ใช้เทคนิคพิเศษ (Effect) จากเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี
-การออกแบบ สร้าง เทคนิคพิเศษ (Effect) และวัตถุเคลื่อนไหว (Animation Object) บนหน้าเว็บ ด้วยตนเอง
-การสร้างสมุดสะสมภาพ
-เทคนิคการเชื่อมโยง วัตถุ และ หน้าเว็บ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียน สามารถสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวได้ และเผยแพร่ข้อมูลบนพื้นที่ของผู้ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต หรือ Host ที่ไม่คิดค่าบริการ (ฟรี Web Hosting) สามารถค้นคว้า คัดลอก ประยุกต์คำสั่งโปรแกรมสร้างเทคนิคพิเศษ (Effect) ต่างๆ และวัตถุเคลื่อนไหว (Animation Object) จากเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี และสามารถประยุกต์ใช้คำสั่งเหล่านั้นบนหน้าเว็บของตนได้ สามารถสร้างสมุดสะสมภาพ (Album Photo) ได้ ตลอดจนรู้จักใช้เทคนิคการเชื่อมโยง (Link) วัตถุ และ หน้าเว็บได้เป็นอย่างดี

การฝึกอบรม

กำหนดเป็นคราวๆ คราวละ 1 กิจกรรมเป็นอย่างน้อย ใช้ เวลานอกหลักสูตร เรียนรู้ทฤษฎี ฝึกทักษะ และฝึกปฏิบัติ กิจกรรมละไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง จนกว่าจะจบเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรม ระยะเวลา และสถานที่ ในการฝึกอบรม ประยุกต์ตามความเหมาะสม

 

หลักสูตรโปรแกรมการจัดการหน้าเว็บ (Management Programming Webpage)

ขอบเขตของหลักสูตร

-การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Web server System, Scripts Programming, Database Programming
-การสร้างระบบค้นหา (Search Engine)
-การสร้างตัวนับสถิติการเข้าเยี่ยมชม (Counter)
-การสร้างสมุดเยี่ยม สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชม (Guest Book)
-การสร้างกระดานโต้ตอบสนทนา (Web Baord)
-การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น และแสดงประชามติ (Poll)
-การสร้างแผ่นป้ายโฆษณา และแผ่นป้ายโศลกธรรม หมุนเวียน
-การสร้างสมุดภาพหมุนเวียน
-การสร้างบริการส่ง E-mail และ file ผ่านหน้าเว็บ
-การสร้างบริการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านหน้าเว็บ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียน สามารถติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับแม่ข่าย (Web server System) โปรแกรมสำหรับเขียน และควบคุม คำสั่ง ชุดคำสั่ง (Scripts Programming) และโปรแกรมควบคุมฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (Database Programming) ได้ ฝึกปฏิบัติสร้างระบบค้นหา (Search Engine) ตัวนับสถิติการเข้าเยี่ยมชมเว็บ (Counter) สมุดเยี่ยม (Guest Book) กระดานสนทนา (Web Board) แบบสำรวจความคิดเห็น และแสดงประชามติ (Poll) แผ่นป้ายหมุนเวียน สมุดภาพหมุนเวียน สร้างหน้าต่างการให้บริการส่ง E-mail การขายสินค้า (E-commerce)

การฝึกอบรม

กำหนดเป็นคราวๆ คราวละ 1 กิจกรรมเป็นอย่างน้อย ใช้ เวลานอกหลักสูตร เรียนรู้ทฤษฎี ฝึกทักษะ และฝึกปฏิบัติ กิจกรรมละไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง จนกว่าจะจบเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรม ระยะเวลา และสถานที่ ในการฝึกอบรม ประยุกต์ตามความเหมาะสม

 

หลักสูตรโปรแกรมสื่อช่วยสอนบนหน้าเว็บ (CAI Programming Webpage)

ขอบเขตของหลักสูตร

-พื้นฐานการสร้างหนังสือไฟฟ้า หรือ E-book (Electronic Book)
-การออกแบบ และสร้าง ภาพประกอบ (Animation Picture)
-การออกแบบ และสร้าง E-book สำหรับผู้สอน (เอกสาร html หรือ Authorware)
-การออกแบบ และสร้าง E-book สำหรับผู้เรียน (เอกสาร LOGO-LEGO)
-การสร้างแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ
-การสร้างเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุม (Presentation Document)

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียน ศึกษาค้นคว้า ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ลักษณะ คุณสมบัติ คุณประโยชน์ หลักเกณฑ์ และวิธีการทำ หนังสือไฟฟ้า หรือ E-book รู้จักวางแผน ออกแบบ เตรียมข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความ ก่อนสร้าง E-book สามารถ ออกแบบ และสร้าง E-book แบบฝึกหัด แบบทดสอบ เอกสารนำเสนอ (Presentation Document) ด้วยตนเองได้ พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน ปรับปรุงผลงาน และประเมินตนเองได้

การฝึกอบรม

ฝึกอบรมติดต่อกัน โดยใช้ เวลาในหลักสูตร หลักสูตรนี้ จะแบ่งกลุ่มผู้เรียน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ หรือคุรุ เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ฝึกปฏิบัติ และทบทวน ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นนักเรียนสัมมาสิกขา หรือนิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ฝึกปฏิบัติ และทบทวน ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง

 

รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร

–ชื่อหลักสูตร
–ขอบเขตของหลักสูตร
–วัตถุประสงค์
–คุณสมบัติของผู้เรียน
–เนื้อหาสาระ
–ระยะเวลา
–กิจกรรม และเทคนิคการฝึกอบรม
–สื่อ อุปกรณ์ และโปรแกรมที่ใช้ฝึกอบรม
–การวัดผลประเมินผล
–ทรัพยากร และงบประมาณ
–เอกสารประกอบหลักสูตร คู่มือ แบบเรียน เอกสารอ้างอิง และเว็บไซต์ที่ค้นคว้าความรู้และทักษะเพิ่มเติม

 

เวลาเรียน และกิจกรรมประจำวัน

วัน เวลา

กิจกรรม

จำนวนเวลา (ชั่วโมง)

04.00 - 06.00 น.

สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ฟังธรรม

2

06.00 - 07.00 น.

กิจส่วนตัว

1

07.00 - 09.00 น.

เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ

2

09.00 - 11.00 น.

ฟังธรรมก่อนฉัน รับประทานอาหาร กิจส่วนตัว

2

11.00 - 13.00 น.

เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ

2

13.00 - 14.00 น.

พัก และ ฝึกปฏิบัติ ทบทวน

1

14.00 - 16.00 น.

เรียนรู้ทฤษฎี และฝึกทักษะ

2

16.00 - 18.00 น.

พักผ่อน รับประทานอาหารเย็น กิจส่วนตัว ทบทวน

2

18.00 - 20.00 น.

ฝึกปฏิบัติ และทบทวน (ทำการบ้าน)

2

 

หมวด (ค) การดำเนินการ

1. ผู้บริหารระบบ ร่วมกับ ผู้จัดการเว็บไซต์ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม ตามกรอบที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบของที่ปรึกษา เครือข่ายอินเตอร์เน็ตชุมชนอโศก (คอศ.)

2. จัดทำแผนการฝึกอบรม ตามขั้นตอนดังนี้

2.1 กรรมการ คอศ. ผู้มีหน้าที่จัดทำแผนการฝึกอบรม แล้วเสนอต่อที่ประชุม มูลนิธิธรรมสันติ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม และ กองทัพธรรมมูลนิธิ พร้อมกับตัวหลักสูตร เพื่ออนุมัติกิจกรรม และงบประมาณ

2.2 ประกาศรับสมัคร โดยระบุ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้าฝึกอบรมได้ ระเบียบปฏิบัติในระหว่างฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรม และค่าใช้จ่าย

2.3 กรรมการ คอศ. ผู้มีหน้าที่ จัดเตรียมเอกสารประกอบหลักสูตร คู่มือ แบบเรียน เอกสารอ้างอิง และเว็บไซต์ที่ค้นคว้าความรู้และทักษะเพิ่มเติม จัดทำสื่อการฝึกอบรม

2.4 คอศ. ตอบรับการเข้าฝึกอบรมของผู้สมัคร โดยแจ้งกำหนดการ วัน เวลา สถานที่ กิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติ และ วัสดุอุปกรณ์เสริม (ถ้ามี) แก่ผู้ที่จะเข้ารับการอบรมให้ทราบโดยเร็ว

2.5 กำหนด หรือแต่งตั้ง หรือเชิญ วิทยากร ปฏิบัติกร พร้อมแจ้งรายละเอียดของแผนการฝึกอบรม

2.6 ประสานงานไปยัง เจ้าของสถานที่จัดฝึกอบรม ในการจัดเตรียม สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ พร้อมทั้งติดตั้ง ทดสอบ การทำงานของอุปกรณ์ และโปรแกรม ให้เรียบร้อย

3. ดำเนินการฝึกอบรม ตามที่กำหนดไว้ในตาราง

หมวด (ง) การรายงานผล

เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ให้ผู้จัดการเว็บไซต์ จัดทำรายงาน ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ แล้วเสนอต่อที่ประชุม มูลนิธิธรรมสันติ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม และ กองทัพธรรมมูลนิธิ ทราบ