Article in 2018
igood media
HOME   |  Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG |

Blog film school

My Media channel


blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

บทความ: ชื่อบทความ

อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า ()

 

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: ชื่อบทความ

อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า ()

 

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: การปฏิบัติเพื่อจิตหลุดพ้น กับ มังสวิรัติ

การปฏิบัติเพื่อจิตหลุดพ้น คือ หนทางสู่นิพพาน. เป้าหมายของจิตหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย.

มีอยู่ 3 สิ่ง ต่อไปนี้ ที่ไม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ใดๆ ที่มนุษย์รู้จัก หรือที่มนุษย์กำหนดขึ้น คือ (1) กรรม - วิบากกรรม (2) นิพพาน - วิสัยพระพุทธเจ้า และ (3) เอกภพ - วัฏฏะสงสาร

3 สิ่งดังกล่าว มีความไม่แน่นอน จึงไม่อาจหากฏเกณฑ์ใดๆ มาควบคุมได้. กรรม และ วิบากกรรม มีความไม่แน่นอนในการเกิด การเสื่อม และการดับสลาย, นิพพาน ไม่ปรากฏในการเกิด ไม่ปรากฏการเสื่อม เมื่อดำรงอยู่ ก็ไม่มีสิ่งอื่นปรากฏ (อสังขตธรรม - บาลี ติก. อํ. 20/192/487) แต่ก็เป็นสิ่งๆ หนึ่งที่มีอยู่จริง และมีอยู่แน่ๆ (บาลี - อุ. ขุ. 25/206/158, อิติว. ขุ. 25/257/221, อุ. ขุ. 25/207/160) พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลพิเศษ (สัพพัญญุตญาณ) ที่แม้กระทั่งพระอรหันต์ก็ไม่อาจคาดเดาได้, เอกภพ และความยาวนานแห่งสังสารวัฏฏ์ หรือความนานแห่งกัปป์ ก็ไม่อาจกำหนดได้ แม้ว่ามันจะมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง แต่ก็ไร้ขอบเขต

ดังนั้น ภารกิจของจิตหลุดพ้น (1) จิตหลุดพ้น เป็นภารกิจเฉพาะตัว เฉพาะตน ไม่เป็นการทั่วไป (มุ่งนิพพาน). (2) จิตหลุดพ้น ไม่ได้ทำให้ วัฏฏสงสาร สิ้นสุดลง เอกภพก็ยังคงมีอยู่และดำเนินไป ไม่มีขอบเขต ไม่มีจุดสิ้นสุด. (3) จิตหลุดพ้น ก็ยังต้องรับวิบากกรรม ที่เป็นของตนในอดีต (อดีต ไม่อาจลบล้างได้ - ลูกศรเวลา ไม่อาจย้อนกลับได้).

ประเด็นการปฏิบัติเพื่อจิตหลุดพ้น ที่มีความแตกต่างกัน

การถือมังสวิรัติ และ การกินเนื้อสัตว์ จะมีผลอย่างไร หรือไม่ กับการทำให้จิตหลุดพ้น. การกินเนื้อสัตว์ หรือไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมด ของจิตหลุดพ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นไม่ใช่การป้องการการตายของสัตว์ เพราะสัตว์ต่างมีวิบากกรรมที่เป็นของตนมาแต่อดีต มันมีการเกิด การตาย อยู่เป็นเนืองนิตย์อยู่แล้วเช่นนั้นเอง.

พระตถาคต ห้ามภิกษุ กินเนื้อสัตว์ (1) ถ้ารู้เห็นว่าสัตว์นั้นเขาฆ่ามาเพื่อตน (2) ถ้าได้ยินมาว่าสัตว์นั้นเขาฆ่ามาเพื่อตน (3) รู้สึกรังเกียจในเนื้อสัตว์นั้น (บาลี ชีวกสูตร ม.ม. 13/48/57) ส่วนเนื้อสัตว์ 10 ชนิด คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี ก็ทรงห้าม [ไม่แน่ใจว่า วินัยบัญญัติข้อนี้ ถือปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นพันปี มาจากพุทธวจนหรือไม่. อ้างตาม พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ 5 ข้อ 60]

ประเด็นความเห็นแย้ง อันเป็นที่มาของความแตกต่าง ในการถือมังสวิรัติ คือ เนื้อสัตว์ที่บริโภคในปัจจุบัน ย่อมรู้ย่อมเห็นว่า มาจากโรงฆ่าสัตว์ทั้งสิ้น หรือจากการฆ่าโดยเจตนาทั้งสิ้น ไม่มีเนื้อสัตว์ชนิดใดเลยที่มาจากสัตว์นั้นตายเอง (ซึ่งบริโภคได้). ดังนั้น กฏข้อนี้ จึงถือเป็นข้อปฏิบัติเคร่ง ในกลุ่มผู้ถือมังสวิรัติ. แต่ในกลุ่มผู้ไม่ถือมังสวิรัติ ก็อ้างเหตุผลว่า เนื้อสัตว์เหล่านั้นที่เขานำมาถวาย แม้จะถูกเขาฆ่ามาก็ตาม แต่ไม่ได้ฆ่ามาเฉพาะเจาะจงเพื่อถวายภิกขุ เป็นวิถีประเพณีของชาวบ้านอยู่แล้ว ภิกขุมีอาชีพเสมือนขอทาน จึงรับอาหารเนื้อสัตว์จากชาวบ้านได้. และก็เป็นประเด็นเห็นแย้งต่อมาว่า ถ้าภิกขุไม่รู้จักเลือกรับอาหารเลย อ้างศรัทธาจากชาวบ้านอย่างเดียว ถ้าเขาเอาสิ่งเสพติดมาถวาย ก็ต้องรับใช่หรือไม่. ดังนั้น ด้วยจิตสำนึกแห่งเมตตาธรรม ฝ่ายผู้ถือมังสวิรัติ จึงตั้งเป็นกฏข้อปฏิบัติเคร่งครัดว่า การกินเนื้อสัตว์ ยังไม่ทำให้วิถีแห่งธรรม (ศีลข้อหนึ่ง) บริสุทธิ์. การกินเนื้อ เป็นเหตุแห่งการฆ่า (สมมุติว่า คนทุกคนกินมังสวิรัติ เหตุแห่งการฆ่า ก็ยังมีอยู่เช่นนั้น เช่น สัตว์ฆ่ากันเอง ตามวัฏจักรธรรมชาติ และเป็นการสมมุติที่เป็นจริงได้ยาก).

ดังนั้น การกินเนื้อ ไม่กินเนื้อ ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมด ที่จะทำให้จิตหลุดพ้น. แต่ผู้ปฏิบัติเพื่อจิตหลุดพ้น ยังกินเนื้ออยู่ ก็ต้องรับวิบากกรรม เชื้อโรคต่างๆ ที่มากับเนื้อสัตว์เหล่านั้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. และนี่คือ เหตุผลที่แยบผล สำหรับนักมังสวิรัติ. แต่ทั้งหมดทั้งมวล คนทุกคน เกิดมาแล้วก็ต้อง แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น หากไม่ต้องการ แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ อย่าเกิดมาอีก. ทำอย่างไรเล่า จึงจะไม่ทำให้เกิดมาอีก. พระตถาคต ตรัสไว้ว่า การตัดวงจรปฏิจจสมุปปบาท (อวิชชา - สังขาร - วิญญาณ - นามรูป - สฬายตนะ - ผัสสะ - เวทนา - ตัณหา - อุปาทาน - ภพ - ชาติ - ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ) คือ การตัดเหตุแห่งการเกิด.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2018)

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: คำสำคัญ ความสำคัญ คนสำคัญ : วิถีคิด ถอดรหัส.

ความสำคัญ ทำให้คนสำคัญ คนจะสำคัญได้ ต้องมีวิถีคิด และรู้จักถอดรหัส. และนี่คือ คำสำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้.

คำว่า 'วิถีคิด' (enlightened of think) ต่างจาก 'วิธีคิด' (way of think). วิถีคิด เป็นการคิดแบบองค์รวม ไม่คิดแยกออกจากองค์ประกอบ ส่วน วิธีคิด คือการคิดเป็นเรื่องๆ เป็นกรณีไป เป็นการคิดแบบแยกเป็นส่วนๆ มุ่งคำตอบที่เป็นโครงสร้างรูปแบบ หรือผลผลิตที่นับจำนวนได้. วิถีคิด มีความลึกซึ้งในการคิดมากกว่า วิธีคิด เพราะวิถีคิด มีการถอดรหัส มากกว่าการตีความหมาย จากการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น ผิวกายสัมผัส. การถอดรหัส มีความลึกซึ้งกว่าการตีความหมาย เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ ปัจจัยและอิทธิพลแวดล้อม การคิดสร้างสรรค์ และตรรกเชิงบวก. วิธีคิด อาจไม่สนใจ การคิดสร้างสรรค์ และอาจคิดอยู่บนตรรกเชิงลบ. [ตรรกเชิงลบ เช่น โกงได้นิดหน่อย ไม่เป็นไร ถ้าทำให้ประเทศพัฒนาขึ้น]

ตัวอย่าง 'ยาก กับ ง่าย'
(ก) วิธีคิด - ทำสิ่งยาก ให้เป็นสิ่งง่าย ทำอย่างไร? ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง? ใช้เวลานานเท่าใด? ต้องการเป้าหมายในขนาด ปริมาณเท่าใด?

(ข) วิถีคิด - ทำเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่ทำได้ทุกเรื่อง เรื่องง่ายบางเรื่อง อาจยากสำหรับบางคน ขณะที่ เรื่องยากบางเรื่อง อาจง่ายกับอีกคนหนึ่ง. เรื่องยากบางเรื่อง อาจไม่จำเป็นต้องทำ แต่เรื่องง่ายบางเรื่อง อาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ (เร่งด่วน). เรื่องง่ายๆ หลายเรื่อง สำหรับเรา แต่อาจสร้างปัญหาให้คนรอบข้าง หรือสร้างมลภาวะ ก็ไม่ควรทำ หรือ เรื่องยากบางเรื่อง ถ้าทำแล้ว ส่งผลต่อความรู้สึกดีๆ ของคนอื่น ก็ควรทำ และ เรื่องยากแม้เพียงเรื่องเดียว สามารถทำให้คนคนหนึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดี เป็นพระอริยะเจ้า นั่นคือสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง แค่เรื่องเดียวก็สุดจะคุ้มแล้ว.

ตัวอย่าง 'บ้านหลังใหม่'
(ก) วิธีคิด - อยากได้บ้านหลังใหม่ ต้องทำอย่างไร? คำตอบคือ ทำได้หลายวิธี เช่น รื้อหลังเก่าทิ้ง แล้วสร้างใหม่ในที่เดิม หรือ ขายหลังเก่า ไปซื้อบ้านหลังใหม่ หรือ เผาทิ้ง ทุบทิ้ง เมื่อไม่มีที่อยู่ ก็จำเป็นต้องไปหาบ้านใหม่อยู่ดี. หาเงิน สะสมเงินไว้ให้เพียงพอ เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ หรือ เสี่ยงโชคจากหวยรางวัล หรือไม่ก็ โกง ปล้น ด้วยวธีการต่างๆ เพื่อได้เงินไปซื้อหาบ้านใหม่

(ข) วิถีคิด - ก่อนอื่น ต้องถอดรหัส จากคำว่า 'บ้าน' ให้ได้เสียก่อน. บ้าน คือ สถานที่อยู่อาศัย มีองค์รวมของความสุข สถานที่อยู่อาศัย หรือที่ใดๆ ที่มีแต่ความทุกข์ สถานที่นั้น ไม่เรียกว่าบ้าน (แต่คืออะไรสักอย่าง ซึ่งมีชื่อเรียกได้หลากหลาย เช่น คุก บ่อน ตู้แช่เย็น โรงอบ นรก). ดังนั้น ไม่ว่าบ้านหลังเก่า หรือ หลังใหม่ ถ้าผู้อยู่อาศัยนำแต่ความทุกข์ เดือดร้อน เข้าไป บ้านหลังนั้น ก็ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่อาศัย หรือ เรียกว่า "บ้าน" ตรงกันข้าม แม้จะเป็นบ้านหลังเก่า แต่รู้จักปรับเปลี่ยนนิสัย มุมมอง (ด้านจิตใจ) ของผู้อยู่อาศัย และ รู้จักเปลี่ยนแปลง ปัดกวาด จัดวาง ให้สถานที่นั้น น่าดู น่ารื่นรมย์ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหา บ้านหลังใหม่ ให้เสียเวลา เสียเงินไปมากมาย.

ตัวอย่าง 'รัฐบาล กับ ประชาชน'
(ก) วิธีคิด - รัฐบาลที่ชอบธรรม ต้องมาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน ซึ่งเรียกว่าระบอบประชาธิปไตย. (ถ้าได้มาเป็นรัฐบาล โดยวิธีอื่น ถือว่า ไม่ชอบธรรม). รัฐบาล ทำหน้าที่ ปกครอง สั่งการ ให้ประชาชนมีความสุข ความมั่งคั่ง เป็นการต่างตอบแทนระหว่าง รัฐบาล กับ ประชาชน. ประชาชน 'เลือก' ให้เป็นรัฐบาล เพราะ 'รับปากว่าจะให้' ในสิ่งที่ประชาชนต้องการ. รัฐบาล ทำให้ประชาชนพอใจ เพื่อตนจะได้แสวงผลประโยชน์จนครบวาระ. ดังนั้น ประชาชน มีหน้าที่ 'เลือก' จากสิ่ง (นักการเมือง พรรคการเมือง) ที่จัดไว้ให้เท่านั้น (เหมือนกินข้าวราดแกง).

(ข) วิถีคิด - รัฐบาลที่ชอบธรรม ต้องรับผิดชอบในนโยบายของตน ใจกว้าง เมื่อทำไม่ได้ หรือล้มเหลว ต้องลาออกเพื่อเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถกว่า ทำหน้าที่แทน ตามหลักการที่ว่า ตนไม่ใช่เจ้าของประเทศ แต่ประเทศนี้เป็นของประชาชนทุกคน. รัฐบาลที่ดี ต้องทำให้ประชาชนสามัคคีกัน, ความสามัคคี มาจาก การทนกันได้ยอมกันได้ ระหว่าง ฝ่ายผู้เสียเปรียบ กับฝ่ายผู้ได้เปรียบ ด้วยการส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยกันให้มากที่สุด เพื่อลดความรู้สึกการได้เปรียบ-เสียเปรียบลง. (ในความเป็นจริงของสังคมมนุษย์ ไม่สามารถทำให้คนทุกคน เสมอภาคกันได้ในทุกเรื่อง) ความสุข ความมั่งของประชาชน มิใช่ การต่างตอบแทน ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน (ความรู้สึกนี้ ทำให้รัฐบาลกลายเป็นเทพเจ้าบันดาล) แต่เป็นแค่ 'ความรู้สึก' ที่รัฐบาลควรรักษาดุลแห่งความรู้สึกนี้ไว้ เท่าระยะเวลาที่ตนปฏิบัติหน้าที่ (การทำให้ประชาชน 'ทนทุกข์ได้' ก็นับว่าประสบผลสำเร็จแล้ว) ประชาชน สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจ ในขณะที่ รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ประชาชน ฉลาดคิด มีตรรกเชิงบวก และพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นวงจร (มิใช่ต่างคนต่างทำ หรือมีโครงการต่างๆ ทับซ้อนกันมากมาย เหมือนทุกวันนี้) รัฐบาลเป็นแค่ 'ผู้จัดการ' ให้ประเทศ คือ ทรัพยากร ประชาชน สุขภาวะ และโทคโนโลยี มีความสมดุล. ถ้าทำได้แบบนี้ จึงจะเรียกว่า รัฐบาลที่ชอบธรรม.

สรุป ในวิถีคิด มีการถอดรหัส เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นเข้าใจตรงกัน เกิดความรับผิดชอบ ความรัก ความสามัคคีร่วมกัน. ส่วนวิธีคิด แค่ตีความหมายให้ตนเองเข้าใจ ก็เพียงพอแล้ว คนอื่นไม่จำเป็นต้องคิดหรือเข้าใจเหมือนกันก็ได้ ให้เขาคอยรับผลผลิตก็พอ.

อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2018)

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: โลกแห่งความเป็นจริง ของสังคมมนุษย์ : ฐานรากของความสามัคคี

ตราบใดที่ กลุ่มผู้เสียเปรียบ สามารถ 'ทนได้' กับการเอาเปรียบของ กลุ่มผู้ได้เปรียบ ตราบนั้น, ความสามัคคี ของคนในชาติ ก็ยังดำเนินได้ต่อไป. แต่ในทางตรงกันข้าม ความสามัคคี ของคนในชาติ จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากกลุ่มผู้เสียบเปรียบ 'ทนไม่ได้' กับการเอาเปรียบ ของกลุ่มผู้ได้เปรียบ.

ในความเป็นจริง ... เราไม่อาจทำให้คนทุกคน เสมอภาคเท่าเทียมกันได้ทุกเรื่อง, ในสังคมย่อมมีกลุ่มผู้ได้เปรียบ และกลุ่มผู้เสียเปรียบเสมอ (ตามกฏแห่งกรรม).

สิ่งที่จะมาทลายกำแพง 'ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ' คือ 'การพึ่งพาอาศัยกัน' ของคนทั้งสองกลุ่ม. การพึ่งพาอาศัยกัน เกิดจากการถอดถอน 'ความรู้สึก' ได้เปรียบ-เสียเปรียบ ซึ่งกันและกันลง. นั่นคือ การลดลง ของความเห็นแก่ตัวของแต่ละฝ่าย ให้ได้มากที่สุด.

ในสังคมมนุษย์ ความแตกต่างระหว่าง ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ อาจมีค่าใกล้ 0 แต่จะไม่ถึง 0. หน้าที่พื้นฐานของผู้ปกครอง (ในการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ) คือ การรักษาปัจจัยเงื่อนไข 'ความรู้สึก ทนได้' ของกลุ่มผู้เสียเปรียบ กับ 'ความจำเป็น ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน' ของกลุ่มผู้ได้เปรียบ' ให้อยู่ในภาวะ สมดุล. นี่คือ โลกแห่งความเป็นจริง ของสังคมมนุษย์.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2018)
[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: มนุษย์ กับ สภาพแวดล้อม 2 ระบบ

อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2017)

ในสังคมมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ มนุษย์โลกีย์ (worldly) กับ มนุษย์โลกุตระ (enlighten)

ในระบบโลกีย์ อำนาจของตัณหา ราคะ ย่อมแรง เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ แก่ชรา ก็ย่อมถูกแรงกระเพื่อมของมัน อยู่ดี เหมือนคนเสพติดยา ก็ไม่ได้เสพ ก็อาจไม่สบาย ไม่สบายใจ ก็มีผลกระทบทางร่างกาย ไม่แปลกที่ คนวัยชรา ถ้าได้เติมเชื้ออบายมุขสักหน่อย ก็จะเหมือนดูดี สบายใจ กายก็สบายไปด้วย.
แต่ถ้า เราจัดยา แบบโลกุตตระให้ ก็ย่อมส่งผลกระทบ จิตใจภายใน อย่างแน่นอน เพราะแวดล้อมเป็นโลกีย์ แต่เนื้อยา เป็นโลกุตตระ ทำแบบนี้ มันผิดฝาผิดตัว

ในระบบโลกุตตระ อำนาจของตัณหา ราคะ มันไม่มีแรง ในสภาพแวดล้อม แบบโลกกุตตระ ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ แก่ชรา ก็ไม่ถูกแรงกระเพื่อมของมัน ทำอ้นตรายได้ เหมือนคน รู้เท่ากันสิ่งเสพติด ก็ไม่ไปเสพมัน และเมื่อจิตใจแข็งแรงดีแล้ว (ระดับโสดาบัน ขึ้นไป) ออกไปเผชิญกับ ตัณหา ราคะ ก็ยังพอสู้ไหว ไม่ลำบาก - ไม่เคยมีใครทำวิจัยว่า นักปฏิบัติธรรม (ปฏิบัติธรรมจริงๆ แบบอยู่วัด ไม่ใช่ไปบวชชีพราหมณ์ หรือไปวัดปฏิบัติธรรมตามกระแส แห่กันไป) เจ็บป่วยเพราะแพ้กิเลส ตัณหา

งานวิจัยดังกล่าว เป็นสิ่งที่ "ไม่ถูกธรรม" ตามหลักศาสนา ตรงที่ ประเด็นคำถาม ถามผิด เหมือนกับ มีคนถาม พระตถาคต ว่า "ผัสสะ มีใครเป็นเจ้าของ?" พระตถาคต ตอบว่า ท่านถามผิด ที่ถูกต้อง ต้องถามว่า "ผัสสะ เกิดจากที่ใด? ไม่เกิดจากที่ใด?"

(1) คนวัยชรา ที่ไม่ได้เสพกาม อายุ จะสั้น หรือ จะยาว เพราะอะไร?
(2) คนวัยชรา ที่ไม่ต้องอาศัยกามแล้ว จะเป็นอย่างไร?

คิดดูเถิด ตั้่งคำถามต่างกัน
(1) ตั้งสมมุติฐาน แบบโลกียะ
(2) ตั้่งสมมุติฐาน แบบโลกุตตระ

ก็จะได้คำตอบต่างกัน
แบบที่ (1) ถูก ในมุมมองของ โลกียะ แต่ ผิด ในมุมมองของ โลกุตตระ
แบบที่ (2) ผิด ในมุมมองของ โลกียะ แต่ ถูก ในมุมมองของ โลกุตตระ

เมื่อกระทบ (ผัสสะ) สิ่งใดๆ ก็ตาม ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์
ถ้ารู้สึก "เครียด" นั่นเพราะ มันไม่ถูกใจเรา
ถ้ารู้สึก "เฉยๆ" นั่นเพราะ มันถูกต้อง
ถ้ารู้สึก "ว่างๆ" เพราะ มันเป็นเช่นนั้นเอง นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตัง มะมะ) นั่นไม่เป็นเรา (เนโสหมัสสะมิ) นั่นไม่ใช้ตัวตนของเรา (นเมโส อัตตา).

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: ระบบทีม แบบไทยแลนด์ 4.0

คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า Thailand 4.0 มาเมื่อไม่กี่ปีนี้. ไทยแลนด์ 1.0 2.0 3.0 และ 4.0 คืออะไร? มันคือข้อกำหนด ยุคของรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่อิงกับเทคโนโลยี. โดยที่ ยุค 1.0 คือ ภาคเกษตรกรรม ที่เน้นการลงทุนภาคเกษตรเป็นหลัก เช่น พืชไร่ พืชสวน เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งป่าไม้ ทำเหมือง ยุคนี้ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้เกิดวลี "หนุ่มนาข้าว สาวนาเกลือ" ยุคต่อมา คือ 2.0 มุ่งเน้นอุตสาหกรรม ซึ่งใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมาก มีโรงงานผุดเกิดทั่วประเทศ เช่น โรงงานทอผ้า ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ วลีคำว่า "สาวโรงงาน" ก็เกิดขึ้นในยุคนี้.

ยุคถัดมา เรียกว่า 3.0 ยุคนี้ มีการนำเทคโนโลยีและการเงินการลงทุน เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือมากขึ้น สมัยหนึ่ง มีวลีจากรัฐบาลที่ตั้งความหวังไว้ว่า ไทยจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ NICs (Newly Industrialized Countries) และจะเป็นเสือตัวที่ห้าในเอเซีย. [แต่ปัจจุบัน เรามารู้ทีหลังว่า การพัฒนาภาคทรัพยากรมนุษย์กับ การนำเทคโนโลยีมาใช้ ไม่สอดคล้องกัน ก่อเกิดปัญหาทางสังคมตามมา จึงมีผู้แปลคำว่า NICS เสียใหม่ว่า นรกกำลังมาเยือน - Narok Is Comming Soon] Thailand 3.0 จึงเน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศ เน้นแรงงานมีฝีมือมากขึ้น เพื่อการทำงานที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า. อาจเรียกว่า ยุค 3.0 คือยุคทองของการลงทุน

ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างบ้าคลั่ง แต่ประเทศยากจนและล้าหลัง ตามไม่ทัน จึงมักตกเป็นเหยื่อ (ผู้บริโภค) มากกว่า ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น ทั้งคนไทยด้วยกันเอง และกับต่างชาติ อันเนื่องมาจาก ทุกฝ่ายต่างตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของเทคโนโลยีดิจิตัล ซึ่งถูกควบคุมจากประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี. เหตุนี้ รัฐบาลไทย จึงพยายามผลักดันให้คนไทย ตื่นตัวหันมาเรียนรู้ ปรับพฤติกรรม ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่กำลังถาโถมเข้ามา จนคนไทยตั้งตัวไม่ทัน กลายเป็นทาสโทคโนโลี และกลายเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพ ซึ่งอาศัยความอ่อนแอทางด้านจิตปัญญาของคนไทย ซึ่งกำลังเป็นข่าวอยู่ทุกวัน. กลายเป็นว่า ไทยแลนด์ 4.0 ยังเป็นภาพมัวๆ อันเนื่องมาจาก ความเหลื่อมล้ำ จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ และใช้ผิดวิธี ผิดเวลา ผิดสถานที่.

โชคดีที่คนไทย มีความสามารถเฉพาะตัวสูง ไม่แพ้ชาติอื่นๆ นี่คือข้อดีที่ควรให้ความสำคัญ โดยการนำความสามารถเหล่านั้น มาพัฒนาระบบทีมงานให้เข้มแข็ง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในยุค 4.0 แต่เนื่องจาก ความแตกต่างทางชนชั้นของสังคมไทย ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ รายได้ ความแตกต่างทางการศึกษาของคนไทย นั้นสูงมากเกินไป ก่อให้เกิดวิสัยทัศน์และแนวคิดของคนแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันมาก กลายปัญหาแทรกซ้อนในการพัฒนาทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

ชาวเกษตรกรภาคชนบท มักไม่รู้จักระบบทีมกันเลย ที่จริงไม่ควรเรียกว่า ระบบทีมด้วยซ้ำ เพราะ 1.0 คือ มีการใช้ความสามารถส่วนตัวสูง แต่ละเลยความสามารถรวมกันของหลายๆ คน ในการทำงานอย่างเดียวกัน หรือชิ้นเดียวกัน. ไม่ใช่ว่าคนไทย ไม่มีความสามารถ ตรงกันข้าม ความสามารถส่วนตัวสูงไม่แพ้คนชาตอื่น แต่ถ้าเอาความสามารถเหล่านั้น มารวมกัน กลับให้ผลผลิตโดยรวมแย่ลง. เพราะว่า ทุกๆ ระบบของไทย ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับระบบทีม. คนไทยส่วนใหญ่ ยังยึดติดกับระบบทีม แบบ 1.0 และ 2.0 อยู่อย่างเหนียวแน่น เช่น การยอมรับแบบ 'กันเอง' มากกว่าแบบมี 'กฏเกณฑ์' ทำให้กฏเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น ไม่มีการนำมาใช้ปฏิบัติจริงจัง. ตัวอย่างเช่น การขับขี่รถย้อนศร แม้ว่าสมาชิกที่อยู่ในรถ ไม่เห็นด้วย แต่คนขับก็ขับรถย้อนศรไปได้. หลายโครงการที่มีการแบ่งส่วนหรือระบบงานกันดีอยู่แล้ว แต่ได้ผู้นำในยุค 1.0 มักเกิดสถานการณ์ "ล้วงลูก" ของผู้นำทีมอยู่เสมอ ด้วยการขอใช้อำนาจลัด (รัฐ) ทำเอง แบบ ม.44 ผลคือทำให้ระบบทีม เสียสมดุล หรือล้มเหลว.

ระบบทีม แบบ 4.0 คืออย่างไร
ระบบทีม จะต้องมี อย่างน้อย 3 องค์ประกอบ คือ
(1) ผู้นำทีม - น.
(2) สมาชิกของทีม - ส.
(3) ผู้ปฏิบัติ - ป.

[อาจแทนค่าระบบทีม กับขนาดขององค์กร ได้หลายขนาด เช่น น. = นายกรัฐมนตรี, ส. = รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ, ป. = ปลัดกระทรวง. ถ้าในระดับชาติ น. = รัฐบาล, ส. = ส.ส. และ ส.ว., ป. = ประชาชน. ในองค์ภาคธุรกิจ น. = เจ้าของธุรกิจ หรือ CEO, ส. = ผู้จัดการ และ หัวหน้างาน, ป. = พนักงาน]

ในความเป็นจริง ในกลุ่มสมาชิกของทีม (ส.) สามารถมีผู้นำ (น.) ในทีมย่อยก็ได้. กลไกของระบบทีม ต้องทำงานเป็น 'คาบเวลา' หรือ สมัยวาระ กลไกของระบบทีม มี 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

(1) ก่อนลงมือปฏิบัติงาน คือ น. และ ส. มีระดับความสำคัญเสมอกัน, น. อาจเป็นทำหน้าที่เป็น ส. ก็ได้, ขณะที่ ส. ก็อาจมีข้อเสนอ และคำแนะนำ เทียบเท่า น. เพราะไม่มีใคร "ทำได้ทุกอย่าง" ทุกคน ให้คำปรึกษากันได้ ทุกตำแหน่ง ทุกคน. แต่ เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ (ฟันธง) ผู้ใช้ใช้อำนาจในการตัดสินขั้นสุดท้าย ต้องยอมให้แก่เจ้าของตำแหน่งตัวจริง คือ น. แม้เขาจะดู "ไม่ได้เรื่อง" ตามสายตา ความรู้สึกของ ส. ก็ตาม (เนื่องจากเลือกเขามาแล้ว ให้เป็น น. แล้ว มาตั้งแต่ต้น)

(2) ระหว่างปฏิบัติงาน เป็นลำดับถัดมาของระบบทีม ผลคือจะทำให้ ป. ไม่สับสน (อย่างน้อยก็ไม่มีภาพ น. กับ ส. ทะเลาะกัน) เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว จาก น. และ ส. แต่ ถ้า น. หรือ ส. ต่างคนต่างทำ ต่าง "ล้วงลูก" แบบทุกวันนี้ ประชาชน (ป.) ก็อาจเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อถือ ของทั้ง น. และ ส. ลงไป ตัวอย่างกรณี ความขัดแย้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย เที่ยวอาบอบนวด ลดภาษีได้ แต่ซื้อหนังสือ ลดภาษีไม่ได้.

หัวใจสำคัญของระบบทีม 4.0 คือ วัฒนธรรม และ กลไก

(1) ผู้นำ คือ 'ผู้รับใช้' ไม่ใช้ 'อำนาจ' ทำตามใจของตนเอง แต่ทำตามความเห็นของสมาชิก. นี่คือวัฒนธรรม ของระบบทีม 4.0

(2) น. และ ส. ต้องรู้จักใช้ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อำนาจ (authority) จริยธรรม (ethics) และ หลักนิติธรรม (rule of law) อย่างพอเหมาะพอดี ตามแบบจำลองสามเหลี่ยมความชอบธรรม (Model of Righteousness) [ดู บทความ สู่ดิน ชาวหินฟ้า. (2556). "แบบจำลองสามเหลี่ยมความชอบธรรม (Model of Righteousness)." [ออนไลน์] จาก http://www.igoodmedia.net/author/05_thinking_focus/idea_03_politics.html?#009] กล่าวคือ ความชอบธรรม (righteousness) คือ ศูนย์กลางของอุดมการณ์ ที่ทั้งอำนาจ จริยธรรม และ หลักนิติธรรม ต่างต้องการจะรักษาสถานภาพแห่งอุดมการณ์ของตน โน้มเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งความชอบธรรม. แต่ละด้านของสามเหลี่ยมความชอบธรรม จึงต้องสร้างความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่าย เพื่อรักษาสมดุลของรูปสามเหลี่ยม และเพื่อให้แต่ละด้านของตน โน้มเข้าใกล้จุดศูนย์กลางให้มากที่สุด นั่นหมายถึงว่า แต่ละด้านของสามเหลี่ยม จำเป็นต้องลดบทบาทบางอย่าง หรือยอมสูญเสียบทบาทบางอย่างของตน ที่อาจส่งผลกระทบของด้านที่อยู่ตรงข้าม เพื่อให้การโน้มเอียงเข้าสู่ศูนย์กลางนั้น.

การนำระบบทีม 4.0 มาใช้อย่างจริงจัง ทำให้ระบบทีม อยู่ได้ ไม่แตกแยก ส่วนสมาชิกคนใด ทั้ง น. และ หรือ ส. ที่ปรับตัวไม่เข้ากับกลไกของระบบทีมข้างต้น ก็จะรู้สึกแปลกแยก หากปรับตัวไม่ได็ ก็จะถอนตัวออกไป โดยการลงประชามติ.

เป็นที่น่ายินดีที่ เรามีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม (โทรศัพท์) ใช้งานได้ตลอดเวลา พร้อมโปรแกรมต่างๆ (application) ให้เลือกใช้ตามถนัด เช่น Facebook, Line, Twister. รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ ก็สามารถตอบสนองกลไกระบบทีมได้ แทบจะไม่มีข้อจำกัด. การพัฒนาทีมย่อยๆ ในหมู่ประชาชน สามารถทำได้ผ่าน กลุ่มลายน์ กลุ่มเฟซบุค. นี่คือจุดเริ่มต้นของนำพาประเทศสู่ Thailand 4.0 อย่างเท่าเทียม.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2017)

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


บทความ: เหตุแห่งพุทธวิปลาศ คำสอนวิปริต

บทวิพากษ์ โดย อ.สู่ดิน ชาวหินฟ้า, 13 กันยายน 2560.
ขออภัย สำหรับท่าน ที่ไม่ใช่พุทธบริษัท หรือนับถือศาสนาอื่น โปรดข้ามบทความนี้ไป

โปรดสังเกตว่า ผู้ที่ออกแบบ พระพุทธรูป เป็นชาวฮินดู และพราหมณ์. ดังนั้น พวกเขา ก็จะสอดแทรกคติ แบบฮินดูและพราหมณ์ ผสมลงไป ทำให้รูปร่าง (form) ของพระพุทธเจ้า ไม่ตรงตามความเป็นจริง และขัดแย้งกับคำสอนของพระองค์ (สาวกทุกรูป ต้องปลงผม ไม่มีข้อยกเวัน แม้แต่พระตถาคตเอง). อิทธิพลทางความเชื่อนี้ ได้แผ่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ในเอเชียใต้.

และเป็นที่ทราบกันดีว่า คติของฮินดูและพราหมณ์ มีอิทธิพลครอบงำ พุทธแท้ๆ มาอย่างยาวนาน จนทำให้ความเป็น "เนื้อแท้" ของพุทธ หายสาปสูญไป. ก่อเกิดความวิปลาตในหมู่ชาวพุทธ เช่น ปฏิญาณตนเป็นพุทธบริษัท, แต่นับถือเทพในศาสนาอื่น, กราบไหว้อิทธิปาฏิหาริย์, ศรัทธาในไสยศาสตร์.

เมื่อมีผู้รู้จริงเห็นแจ้งแทงทะลุ สืบค้นรากคำสอนดั้งเดิมของพระตถาคต ซึ่งเรียกว่า พุทธพจน์บ้าง ธัมมะจากพระโอษฐ์บ้าง พุทธวจนบ้าง ทำการแยกแยะ เนื้อแท้ออกจากลัทธิปลอมปน นำธัมมะและข้อปฏิบัติ ที่เป็นของแท้และดั้งเดิม มาเปิดเผย. ย่อมสร้างความสะท้านสะเทือน ในวงการพุทธศาสนา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่ปรากฏกับ พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล แห่งวัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี, สมณะโพธิรักษ์ แห่งสันติอโศก และแม้กระทั่ง ท่านพุทธทาส ภิกขุ ก็ไม่พ้นข้อกล่าวหา เป็นต้นเหตุทำให้พุทธศาสนิกชน เกิดความแตกแยก.

น่าเสียดาย ภาพยนตร์เรื่อง "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" ถูกออกแบบฉากโดยผู้สร้าง ชาวฮินดู เราจึงได้เห็นรูปร่างของพระพุทธเจ้า ผิดเพี้ยนไปจากความจริง (พระสิทธัตถะ มีผม นั่นถูกแล้ว แต่เมื่อบวชแล้ว ก็ยังไม่ปลงผม) แน่นอนว่า เนื้อหาดี ทำให้ทุกคนมองข้ามข้อเท็จจริงข้อนี้ไป.

การศึกษาด้านศาสนาและวัฒนธรรม ที่เป็นต้นรากเดิมของแต่ละภูมิภาค จึงก่อเกิดประโยชน์ ในการมองเห็นความจริงที่ถูกซ่อนไว้. มันคือผลประโยชน์ที่ผู้ศึกษา ควรรู้ไว้เพื่อหาช่องทาง ในการสร้างมูลค่า. (ของแท้ ย่อมมีมูลค่าสูงกว่า ของปลอม)

สู่ดิน ชาวหินฟ้า (2017)

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง


  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2018 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net