Article in 2021

 

 

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

 

 

บทความ: ชื่อบทความ

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า ปรุง สีงา

 

ปรุง สีงา
00 มิ.ย. 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



บทความ:
แสง ความเร็ว ความโน้มถ่วง ในหลักสัมพัทธภาพ

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า


ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity) จะเกี่ยวข้องกับ ระบบที่มีความเร็วคงที่ หรือเป็นระบบที่ไม่มีความเร่ง การอธิบายทฤษฎีนี้อย่างง่ายที่สุด ก็เปรียบเทียบให้เห็นว่า เมื่อเรารู้สึกว่า ทุกสิ่งกำลังหยุดนิ่ง หรือมีความเร็วที่เท่ากัน. เราไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งใดกำลังเคลื่อนที่ เช่น โลกหมุนรอบตัวเอง และรอบดวงอาทิตย์ เรายัง รู้สึกว่าทุกสิ่งกำลังอยู่กับที่ แต่ที่จริง สิ่งที่เรานึกว่าหยุดอยู่กับที่กลับเคลื่อนที่.

 

หลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอกล่าวไว้ว่า การเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วคงที่ทั้งหมดเป็นการสัมพัทธ์ และไม่มีสถานะของการหยุดนิ่งสัมบูรณ์และนิยามได้ คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือคิดว่าตนอยู่นิ่ง แต่คนที่สังเกตบนชายฝั่งกลับบอกว่า ชายบนเรือกำลังเคลื่อนที่ ทฤษฏีของไอน์สไตน์รวมหลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอเข้ากับสมมติฐานที่ว่า ผู้สังเกตทุกคนจะวัดอัตราเร็วของแสงได้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่เชิงเส้นด้วยความเร็วคงที่ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

 

ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษล้มล้างแนวคิดของสเปซสัมบูรณ์และเวลาสัมบูรณ์ของนิวตันโดยการยืนยันว่า ระยะทางและเวลาขึ้นอยู่กับผู้สังเกต และเวลากับสเปซนั้นถูกรับรู้ต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้สังเกต
กล่าวให้ชัดคือว่า อัตราเร็วของแสงจะเท่ากันสำหรับทุกผู้สังเกต แม้ว่าพวกเขาจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันก็ตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพแสดงให้เห็นว่า c ไม่ใช่แค่ความเร็วของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า -- แสง -- เท่านั้น แต่ยังเป็นค่าพื้นฐานที่เชื่อมสเปซกับเวลาเข้าด้วยกัน กล่าวโดยเจาะจงคือว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพยืนยันว่าไม่มีวัตถุใดเคลื่อนที่เร็วเท่ากับแสงได้

 

1.สมมติฐานข้อที่หนึ่ง - หลักสัมพัทธภาพอย่างพิเศษ - กฎทางฟิสิกส์ ย่อมเหมือนกัน ในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไม่มีกรอบอ้างอิงพิเศษใดๆ


2.สมมติฐานข้อที่สอง - ความไม่แปรเปลี่ยนของ c - อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ เป็นค่าคงที่สากล (c) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงนั้น

 

หลักสัมพัทธภาพ ซึ่งกล่าวว่าไม่มีกรอบอ้างอิงที่อยู่กับที่.
ในสัมพัทธภาพ กรอบหนึ่งๆ ต้องสังเกตพบกฎทางฟิสิกส์แบบเดียวกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของผู้สังเกต กล่าวให้ชัดคือ อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต้องวัดได้ c เสมอ แม้ว่าจะวัดโดยระบบต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่าง ๆ (แต่คงที่)

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับระบบที่มีความเร็วไม่คงที่เมื่อ เทียบกับระบบที่มีความเร่ง เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ในเอกภพโดยใช้พื้นฐานความคิดที่แตกต่างจากฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบนิวตัน ส่วนใหญ่ทฤษฎีนี้จะ เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดระหว่างมวลและมีการพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ด้วย ใจความสำคัญของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมีดังนี้

 

1. ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปใช้อธิบายกับการเคลื่อนที่ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งความเร็ว หักโค้งหรือหมุนไปรอบๆ

 

2. แรงโน้มถ่วงเป็นสิ่งที่สสารทำให้เกิดขึ้นกับระยะทางและเวลา

 

3. ถ้าคุณตกตึก แรงเฉื่อยที่ชะลอการตกของคุณจะไปหักล้างแรงโน้มถ่วง ทำให้คุณไม่รู้สึกว่ามีแรงโน้มถ่วงอีกต่อไป

 

4. แสงและวัตถุเคลื่อนที่ตามรูปร่างของกาลอวกาศ (ถ้ามันโค้ง แสงหรือวัตถุก็จะเคลื่อนที่โค้ง)

 

5. ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าคุณเคลื่อนที่อย่างราบรื่น หรือแม้แต่จะพิสูจน์ว่าคุณกำลังเร่งอัตราเร็วอยู่หรือไม่ คุณนึกเอาเองจากสิ่งที่คุณเห็น

 

6. ไม่ว่าแรงโน้มถ่วงจะทำอะไรได้ ความเร่งก็ทำสิ่งนั้นได้เช่นกัน (ทางกลับกันก็ทำได้)
- ความเร่งทำให้แสงโค้งได้ฉันใด แรงโน้มถ่วงก็ทำให้แสงโค้งได้ฉันนั้น
- เมื่อแรงโน้มถ่วงทำให้แสงโค้ง แสงจะเดินทางช้าลง
- เมื่อแสงเดินทางช้าลง เวลาก็ช้าลง

 

7. จึงสรุปได้ว่าแรงโน้มถ่วงทำให้เวลาช้าลง และทำให้ระยะทางโค้ง

 

สภาพสัมพัทธ์ (Relativity)

- การบอกตำแหน่งของวัตถุใดๆจะไม่มีความหมาย ชัดเจนถ้าไม่มีสิ่งอื่นเป็นหลักสำหรับเปรียบเทียบ

- เวลาก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยเหตุการณ์บางอย่างเป็นหลักในการเปรียบเทียบเวลา

- ความเร็วซึ่งบอกอัตราการเปลี่ยนตำแหน่งย่อมเป็นปริมาณเปรียบเทียบกับแกนอ้างอิง

กรอบอ้างอิง (Frame of Reference)
แกนโคออร์ดิเนต หรือ กรอบอ้างอิงที่มีความเร่งเป็นศูนย์อย่างแท้จริง มี ชื่อเรียกกว่า “กรอบเฉื่อย” เพราะฉะนั้น แกนโคออร์ดิเนตอื่นๆ ที่มีความเร็วสัมพัทธ์คงที่ เมื่อเทียบกับ กรอบเฉื่อย ย่อมเป็นกรอบเฉื่อยด้วย.


3 กันยายน 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



บทความ:
สถานที่ปฏิบัติธรรม กับ การบรรลุธรรมนั้น ต่างกัน

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

ที่ตรงไหน เหมาะกับเรา สังเกตง่ายๆ ที่ตรงนั้น เราจะมีตัวตน

(วาทะธรรม จาก - 14กุมภา@14kumpha instagram)

 

ที่ตรงไหน เหมาะกับเรา สังเกตง่ายๆ ที่ตรงนั้น เราจะมีตัวตน.

และ ถ้าเรา ละตัวตนได้ ในที่นั้น, ที่นั้น ก็เป็นที่ สัปปายะ (ที่เราควรอยู่ ปฏิบัติธรรม) สำหรับ การบรรลุธรรม.

 

หลัก/แก่นแท้ 4 ข้อ ในการปฏิบัติธรรม ตามรอย "พุทธศาสน์" คือ -

 

(1)
เชื่อมั่น/มุ่งมั่น ใน สัมมาทิฏฐิ, เดินตามเส้นทาง อย่าแวะ ไปตามความเชื่อ หรือคำสอน ของใครๆ (แม้แต่ พระสาวก, แม้แต่ อาจารย์ของเรา ที่เป็น พระสาวก*) เพราะ คำสอนเหล่านั้น มักอยู่นอกแนวทาง ของ ตถาคต.

หลักที่ว่านี้ คือ ...


“อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท - อริยสัจสี่” **

 

ซึ่ง เป็นการร้อยเรียง แนวทาง/วิถีปฏิบัติ ดุจ แห ผืนเดียวกัน. [แห คือ เครื่องมือ จับปลา ชนิดหนึ่ง ที่สานด้วยด้ายเป็นตาราง สี่เหลี่ยมจตุรัส จนเป็นผืนเดียวกัน]

 

(2)
ให้ "กาย" เป็นหลักมั่น. เลือกเอาสักอย่าง ที่เหมาะกับตน เช่น ลมหายใจ การสัมผัสกับชิ้นงาน. และเมื่อเกิดผัสสะ (กระทบสัมผัส) กับ ...

 

วัตถุ/ภาพ/รูป ด้วย ตา
เสียง ด้วย หู
กลิ่น ด้วย จมูก
รส รสด้วย ลิ้น
สัมผัส วัตถุ ด้วย ผิวกาย
อารมณ์/รู้สึก ด้วย ใจ/จิต/มโน/วิญญาณ.

 

ให้พึง มีสติ พิจารณา สิ่งนั้นๆ ว่า, มันก็แค่ ธาตุ/ธัมมะธาตุ เท่านั้น.
มันเป็น สิ่งสมมุติ (สังขตาธาตุ) เท่านั้น, มีเกิด มีเสื่อม มีตาย, ไม่เที่ยงแท้, ไม่มีตัวตน.

 

(3)
พิจารณา/ใคร่ควร ผัสสะ ...

 

ตา กระทบ รูป
หู กระทบ เสียง
จมูก กระทบ กลิ่น
ลิ้น กระทบ รส
ผิวกาย กระทบ สัมผัส
ใจ กระทบ อารมณ์.

 

แก่นแท้ ของชีวิต กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนแต่เกิดจาก ผัสสะ ข้างต้นนี้ เท่านั้น.

มันก็แค่ ชั่ววูบ ไม่ยั่งยืน, เป็นแค่เหตุการณ์ สมมุติ. มาแล้วก็ไป, เกิดแล้วก็ตาย. อดีต อนาคต ก็ไม่เที่ยง, ปัจจุบัน ก็ไม่นิ่ง, ทุกข์ สุข อัตตา ก็ไม่จริง.

 

(4)
พิจารณา/ใคร่ควร ต้นเหตุ ที่มา ที่ไป ที่จบ ของทุกสรรพสิ่ง (สัพเพ สังขารา) ที่มันเกิด มันมี มันเป็น อยู่รายรอบตัวเรา ในทุกเวลา นั้นว่า มันก็คือ วงจรชีวิต ของขันธ์ห้า ที่ตถาคต เรียกว่า “ปฎิจจสมุปบาท

 

ปฎิจจสมุปบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้า ค้นพบ และนำมาสอนสั่ง.

-เป็นหลักเกณฑ์ ธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วเช่นนั้น ในจักรวาล เป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),

-เป็นกฏตายตัว เป็นธรรมดา (ธัมมะนิยามตา),

-เป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา),

-ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น (อวิตถตา),

-ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น (อนัญญถตา),

-เป็นสิ่งที่ เมื่อมีสิ่งนี้ เป็นปัจจัยแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ ย่อมเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)

 

ปฎิจจสมุปบาท เป็นวงจร การอุบัติเกิด ของสรรพสิ่ง (วัตถุธาตุ, จิตธาตุ / วัตถุ, พีชะ, สัตว์ เดรัจฉาน, มนุษย์, เทวดา-พรหม, อรหัตตา)

เริ่มขึ้นพร้อมกับ บิ๊กแบง (BIG BANG) อวิชชา - สังขาร - วิญญาณ - นามรูป. สี่อย่างนี้ เกิดขึ้นก่อน แบบพัวพันกัน (entanglement เกิดพร้อมกัน แต่อาศัยกันและกัน เกิด).

แล้วส่งต่อ ผล ไปยัง สฬายตนะ (จุดเกิดเหตุ/จุดปะทะสัมผัส) - ผัสสะ - เวทนา - ตัณหา - อุปาทาน - ภพ - ชาติ - ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ มักจะ โทมนัส อุปายาสะ. แล้ววน กลับไปที่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ในรอบต่อไป.

 

เหตุเกิดของ วงจร เพราะ ปฎิจจสมุปบาท เกิดขึ้น นั่นเอง, ถ้าจะตัดวงจรการเกิด ต้องตัดที่ สายพาน การเกิด ปฎิจจสมุปบาท เลือกเอาว่า จะตัดตรงจุดใด ... เชิญตามถนัด ของแต่ละคน.

[ตัดช่วงต้นๆ จะง่ายกว่า ปล่อยให้ไหล ไปไกล]

 

ปฏิบัติ/พิจารณา/ใคร่ควร สม่ำเสมอ นานไป ย่อมเกิด ปัญญา/วิชชา ว่า ...

 

สรรพสิ่ง/ขันธ์ห้า/สังขารสังขารทั้งหลาย (สัพเพ สังขารา) ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง), ธรรมทั้งหลาย (สัพเพ ธัมมา) ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา).

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง. สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์, สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็น อนัตตา.

สิ่งใด เป็นอนัตตา, พึงเห็นว่า ...
สิ่งนั้น ไม่ใช่ของ ของเรา (เนตัง มมะ), สิ่งนั้น ไม่ใช่ เป็นเรา (เนโสห มัสมิ), สิ่งนั้น ไม่ใช่ ตัวตนของเรา (นะ เมโส อัตตา).

 

การบรรลุธรรม เห็นธรรม ถึงธรรม จะค่อยๆ บังเกิดขึ้น เป็นลำดับๆ.

สรุป การปฏิบัติธรรม ตามวิถีแห่ง พุทธศาสน์ หรือ พุทธวจนะ สรุปหลักสั้นๆ ว่า

 

(1)
มีสัมมาทิฐิ

(2)
มอง สรรพสิ่ง
ใน ความเป็น "ธาตุ"

(3)
พิจารณา ทุกเหตุการณ์
ใน ความเป็น "อายตนะ"

(4)
ใคร่ควร เหตุเกิด-ดับ
ใน "ปฎิจจสมุปบาท"

 

ถ้า ยังดำเนิน ในแนวทาง 4 ข้อนี้ ... ท่านไปถูกทางแล้ว (สุคติ). แม้จะอยู่ในสถานที่ใด, เวลาใด, ทำสิ่งใด, พบปะกับผู้ใด ท่านย่อม 'อยู่เป็นสุข' (อยู่เป็น).

 

นั่นแหละ ที่สัปปายะ ของท่านละ.

 

“ทุกข์” มีไว้ให้ “เห็น”
มิใช่มีไว้ให้ “เป็น”
“สุข” มีไว้สำหรับ “เป็น”
แม้จะ ไม่เห็น
“ทุกข์” คือ ต้นทุน ในการเรียนรู้
เพื่อแก้ปัญหา
“สุข” คือ กำไร ที่ได้รับ
จาก การแก้ปัญหา
ทั้ง ทุกข์ และ สุข
เป็นเพียง “ความรู้สึก”
ที่เห็นได้ และ เป็นจริง
แต่ “ความรู้สึก”
เป็น อารมณ์ที่ แปรปรวน
การกำจัด “อารมณ์แปรปรวน”
เสียได้ คือ “สมาธิ”
ดังนั้น
“สมาธิ” จึงปราศจาก
ทั้ง สุข และ ทุกข์.

 

บุตรแห่ง ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

 

หมายเหตุ -

*จาก พระไตรปิฎก บาลี - ทุก. อํ. 20/92/292. วิมุตติ นิพพาน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้ที่รู้ทางไป (สุคโต) ดีที่สุด ตรงที่สุด คือ ตถาคต. ยิ่งกาลเวลา ผ่านมาเนิ่นนาน หลักแท้ ย่อมบิดเบี้ยว ไม่ใช่เพราะใครอื่น แต่เพราะ พระสาวก นี่แหละ ที่มักบัญญัติ ธรรมขึ้นมาเอง แล้วตั้งตนเป็น อาจารย์ สำนักต่างๆ เป็นเช่นนี้ มากว่า 2,500 ปี.

 

**“อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท - อริยสัจสี่” ถูกนำไปอ้างอิง ในหนังสือ สรรพสิ่ง สัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ (The 7-Element: Absolute of Everything), เขียนโดย สู่ดิน ชาวหินฟ้า.
http://www.i goodmedia.net/index.html?#the-7-element
บทที่ 4 - 6.


2 กัยายน 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


บทความ:
รายการทีวีโชว์

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

การให้โอกาสคน ได้แสดงความสามารถ เป็นวถีทางหนึ่ง ในการสร้างทรัพยากรมนุษย์.

ผมสังเกตว่า เด็กไทย ถูกส่งเสริมไปในทาง บันเทิง มากกว่า สาระ ผ่านสื่อออนไลน์ มากเสียจน น่าตกใจ.

โดยเฉพาะ การร้องเพลง และการเต้น. ซึ่งส่วนหนึ่ง รับเอาอารยะธรรมต่างชาติ เข้ามามากเกินไป.

ผมไม่ได้กล่าวหาว่า การร้องเพลงเป็นเรื่องเสียหาย. แต่ผมอยากจะบอกว่า ความเจริญก้าวหน้า ของชีวิต และของชาติ ไม่ได้อยู่ที่เอาดีในทาง เต้นๆ ร้องๆ เป็นเรื่องหลัก. มิฉะนั้น เด็กๆ ก็จะถือเอาเป็นแบบอย่างว่า อาชีพนักร้อง นักเต้น ได้เงินเยอะ ได้เงินง่าย ทั้งๆ ที่ มันไม่มีความแน่นอน.

 

แต่ในความเป็นจริง กลับเป็นวิถี "ฉวยโอกาส" มากกว่า. เลยกลายเป็นว่า มุ่งอาชีพประเภทนี้ ดีกว่า อาชีพประเภท ปลูกสร้าง อาหาร อาคาร สิ่งของ. เมื่อเข้าสู่ภาวะ อาหารขาดแคลน การเป็นนักร้อง นักเต้น ก็ไม่ได้ช่วยอะไร.

 

คนรุ่นเก่า เคยบอกสอนไว้แล้วว่า อาชีพ เต้นกิน รำกิน นั้น ไม่ดี ไม่แน่นอน มักถูกดูแคลน มีส่วนจริง ในยุคนั้น, แต่ มันถูก ทำให้ไม่จริง ในยุคนี้. ดังนั้น เราจึงมองหา เด็กไทย ที่เก่งด้าน วิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์ ไม่ค่อยเจอ. แต่เด็กนักเต้น นักร้อง มีเยอะกว่า และได้รับการเชิดชู.

ที่ผมพูดนี่ เพื่อจะนำเข้าสู่ การแนะนำ รายการทีวีโชว์ ที่ดี มีคุณค่า ต่อคนไทย และสมควร ต่อการแนะนำครับ.

ในความรู้สึกของผมนะ, รายการ super100, super60, super10 ที่มี king power, ธนาคารออมสิน, AIS และ อื่นๆ เป็นสปอนเซอร์ สนับสนุนอยู่ เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ ต่อสังคมไทย.

เป็นสื่อสร้างสรรค์ คือ สร้างสรรค์ ทั้งความรู้สึกบวก (รัก กตัญญู) ทั้งเนื้อหาสาระ (เปิดเผยความสามารถเล็กๆ ของคน ให้ต่อยอด ไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้น) ทั้งประโยชน์มวล.

 

โดยเฉพาะ "ประโยชน์มวล" ที่เป็นรางวัล สิ่งของ โอกาส และ เงิน เพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่เข้าร่วมรายการ แสดงความสามารถ ในแต่ละราย, นับว่า มีมูลค่า ไม่น้อยเลย.

สิ่งที่ ทางรายการ ได้มอบให้แก่ ผู้ร่วมรายการไป เป็นก้อน เป็นมวล นั้น ได้สร้างประโยชน์ คุณค่า ทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว คนอื่น และชุมชน. สิ่งนี้ ดีกว่า แจกเงินแบบสังคมสงเคราะห์ หรือแบบให้เปล่า.

 

ที่จริง รายการประเภทนี้ ที่ต่างประเทศ ก็มีเยอะ เช่น Kids contest, Got tarent. ในประเทศไทย, รายการ ... ไมค์อะไรทั้งหลาย ก็ดัดแปลง มาจาก
รายการ America's Got tarent. รายการ super10, super60, super100, ก็เช่นกัน ใช้รูปแบบเดียวกันกับที่ฝรั่งทำ แต่นำเสนอเนื้อหา ที่มีสาระหลากหลายกว่า เหมาะกับบริบทของ สังคมไทย.

ทุกครั้ง ที่ผมดู ซุปเปอร์เท็น ในความรู้สึกของผม ผมเห็นว่า เด็กๆ ที่เข้าร่วมรายการ มักจะได้รับการสนองตอบ ในสิ่งที่พวกเขา นำเสนอ. ทำให้พวกเขา รู้สึกว่า การได้รับการยอมรับ (ผ่าน) จากคณะกรรมการ นั้น, พวกเขา ได้มาเพราะ "ความสามารถ" ไม่ใช่ "การขอ."

 

แม้ว่า บางคนที่เข้าร่วมรายการ จะไม่มีความสามารถ ถึงขั้นเอาออกมาอวดโชว์ได้, แต่ผู้จัด ก็เสาะแสวง ค้นหา สิ่งเล็กๆ ที่มีในตัวเขา เอาออกมาแสดงจนได้ เพื่อสื่อให้เห็นว่า ทางรายการ ต้องการ "ช่วย" เพราะ เขาเป็นคนกตัญญู ขยัน เสียสละ มีน้ำใจ ไม่ใช่เพราะ งอมืองอตีนขอ.

 

พิธีกร ก็ทำหน้าที่ ได้ดีมากๆ และ ลงตัว โดยเฉพาะ ครูเงาะ (รสสุคนธ์ กองเกตุ) คุณซุป (วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ) คุณบอย (เกียรติศักดิ์ อุดมนาค - เสนาหอย) และ โต๋ (ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร). สร้างบรรยากาศ ทำให้รายการสนุก ประทับใจ มีคุณค่า.

ส่วนเรื่อง การโฆษณาในรายการ ก็ไม่เป็นการรบกวนคนดู ส่วนใหญ่ เป็นโฆษณาแฝง. และดูไม่น่าเกลียด.

สังเกตได้ไม่ยากเลยว่า ทั้งพิธีกร และคนดู ในห้องสตู และทีมงานทุกคน ของรายการ ต่างได้รับ ความรู้สึกบวก ไปเต็มๆ. เป็นการสะสม ความรู้สึกที่ดี เป็นกุศล มองโลกในแง่บวก. และผู้ดูทางบ้าน ก็คงรู้สึก ไม่ต่างกัน.

สังคมไทย ที่ยืนยงอยู่ได้อย่างยาวนาน เพราะ คนไทย มีพื้นฐาน เรื่อง ความกตัญญู และ น้ำใจ ซึ่งสื่อออกมาจาก รอยยิ้ม และ การกราบไหว้. ผู้สนับสนุนรายการ super10, super60, super100 มาถูกทางแล้ว เหมือนมีส่วนร่วมกัน สร้างคนดีในสังคม.

ผมอยากให้ คนไทย มีความรู้สึกแบบนี้ สังคมไทยจะ สร้างสรรค์ รังสรรค์ซึ่งกันและกัน มากกว่าที่เป็นอยู่.

เห็น และรู้สึก อะไรดีๆ มีประโยชน์ คุณค่า, ก็เอามาแนะนำกันครับ.


13 สิงหาคม 25644

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


บทความ:
บทสวด ที่พาไปสู่สุคติ

 

บทสวดใด ที่ทำให้เรา ใคร่ครวญในธรรม, รู้ เข้าใจ สลาย ขันธ์ห้า ได้, บทสวดนั้น พระศาสดา ทรงสรรเสริญ.

 

บทสวดใด ที่ทำให้เรา *เพลิดเพลิน ติด หลงใน ขันธ์ห้า, บทสวดนั้น มักมีอักขระ สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร, เป็นบทที่กวีแต่งขึ้นใหม่ พาออกนอกแนว เป็นของสาวก. บทสวดนั้น ไม่พึงฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตที่จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา เล่าเรียน.

(อ้างอิงจาก พุทธวจน - บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.)

 

*บทสวดใด ที่ทำให้เรา เพลิดเพลิน ติด หลงใน ขันธ์ห้า เช่น บทสวดมีทำนองไพเราะ, บทสวด อวยพร ขออำนาจดลบันดาลทุกชนิด, บทสวด ที่พระทำ ตามๆ กันมา ซึ่งพระศาสดา มิได้บัญญัติ ให้กระทำ. แม้กระทั่ง บทสวดงานศพ งานทำบุญมงคล ที่สวดเป็นหมู่เป็นทำนอง, บทอวยพร บิณฑบาต.

 

(1) การเพลิดเพลิน ติดหลง ในขันธ์ห้า ได้กลายเป็น วิถีปฏิบัติ/รูปแบบ/โครงสร้าง ของชาวพุทธ อย่างเหนียวแน่น ลึกซึ้ง ถอนตัว รู้ตัว ได้ยาก. เพราะได้ถูกผสมปนเป ไปกับพิธีกรรม มาอย่างยาวนาน. หากมีผู้ ยก วจนะ ดั้งเดิมแท้ ของพระศาสดา ก็ย่อมจะไม่พอใจ และโต้แย้งว่า 'นี่ถูก นั่นผิด'.

 

(2) บทสวด ที่พระศาสดา ตถาคต ทรงสรรเสริญ และทำเป็นแบบอย่าง คือ บทที่ชื่อว่า
"อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท - อริยสัจสี่" (บทสวดชุดนี้ พระพุทธเจ้า ทรงสวดกับตัวพระองค์เอง อยู่บ่อยๆ แต่ปัจจุบัน มีชาวพุทธ จำนวนไม่ถึง 0.01% ที่นำไปใช้)

 

(3) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น คือ อนัตตา. สิ่งใด คือ อนัตตา, สิ่งนั้น ย่อมเห็น ถัดมาว่า นั่น! ไม่ใช่ของเรา (เนตัง มมะ) นั่น! ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสห มัสสะมิ) นั่น! ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อัตตา)

 

นี่คือ ผลอานิสงส์ ที่จะได้ แก่ผู้สวด สาธยายธรรม บทที่ชื่อว่า "อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท - อริยสัจสี่", ผลอานิสงส์ ที่ว่าคือ

- เห็นโลก ตามความเป็นจริง,
- ลด หน่าย ปล่อยวาง จิต ริษยา เกลียดชัง โกรธ พยาบาท,
- บังเกิด "สมาธิพุทธ" แบบลืมตาเห็นๆ เมื่อรวมสมาธิ เข้ากับ อานาปานสติ (ลมหายใจ).

จริงใจ ไมตรี สำนึกดี ขอบคุณ

-พุทธบุตร แห่ง ตถาคต อรหันตะ สัมมาสัมพุทธะ-


8 สิงหาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


บทความ:
จากทฤษฎี Black Swan ถึง สมดุลของธรรมชาติ

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

ทฤษฎีหงส์ดำ (Black Swan Theory) มาจากความเชื่อของคนแถบตะวันตก ว่า หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว. ต่อมา ในศตวรรษที่ 17 Willem de Vlamingh นักสำรวจชาวดัชต์ ค้นพบ หงส์ดำ (Black Swan) ในทวีปออสเตรเลียฝั่งตะวันตก ทำให้ความเชื่อที่ว่า หงส์ทุกตัว บนโลกนี้ เป็นสีขาว ถูกลบล้างไป.

 

Black Swan ได้กลายเป็นวาทะกรรม เปรียบเทียบ สิ่งที่มนุษย์ไม่คาดคิดว่า จะมี จะเกิดขึ้นจริง แต่มันก็เกิดขึ้นจริง. ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก หากมองปรากฏการณ์ต่างๆ ในมุมสัมพัทธ์.

 

ขยายกรอบคิดของเรา ไปให้ถึงทฤษฎี สัตตะธัมมะธาตุ (The 7-Element: Absolute of Everything) ก็จะมองเห็น ความซับซ้อนของธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างเป็นระเบียบ. มองเห็นสัดส่วน ที่เป็นจริง, รับรู้ ลำดับเกิด ดับสลาย แปรเปลี่ยน ได้อย่างเป็นขั้นตอน.

แล้วเราจะบังเกิด ความเชื่อใหม่ๆ และอัศจรรย์ ว่า, Black Swan ไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาด แต่อย่างใด.

 

เหตุการณ์ Black Swan, ยังต้องเกิดขึ้นอีก ในวันข้างหน้า. หากมองในมุม มติกลับด้าน และมุมลึก กว้าง ไกล กว่าที่มนุษย์ คาดหวัง (ตามศักยภาพของ ประสาทการรับรู้).

ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ไม่ใช่ฝีมือ มนุษย์. มนุษย์ มีส่วนทำลายล้าง โลก และดวงดาว ได้ไม่ถึง 1%.

 

มนุษย์เข้าใจว่า ตนเอง เป็นสัตว์ทรงปัญญาสูงที่สุด, แต่จริงแท้แล้ว ปริมาณ และพลัง ของมนุษย์ ไม่อาจเทียบกับ สัตว์อื่น และแรงธรรมชาติ ที่มีอยู่มากมายมหาศาล ได้เลย.

พลังการเปลี่ยนแปลง ในธรรมชาติ ทั้งสร้างสรรค์ และ ทำลาย มันมีมากมาย เกินกว่ามนุษย์ จะคาดคิดได้. เพราะ พลังการเปลี่ยนแปลง ในธรรมชาติ มาจาก กลไกชีวะทั้งหมดที่มีในเอกภาพ รวมกัน.

 

กลไกชีวะ (alive mechanics) : /คิดดีสี่ข้อ
ระบบชีวิต 4 แบบ
(1) ระบบชีวิต จักรวาล-ควอนตัม
(2) ระบบชีวิต จักรกล-หุ่นยนต์
(3) ระบบชีวิต แบบโลก
(4) ระบบชีวิต ขันธ์ห้า

 

ปรากฏการณ์มุมลบ - น้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยหนาว ภัยแล้ง ดินถล่ม สงคราม โรคระบาด อาชญากรรม.
ปรากฏการณ์มุมบวก - ฟ้าสงบ อุณภูมิคงที่ ชุมนุมสนุกสนานเฮฮา ข้าว กล้า ธัญญาหารสมบูรณ์ กลไกขับเคลื่อน ไม่สะดุด.

ปรากฏการณ์เหล่านี้ จะว่า เป็นส่วนหนึ่งของ Black Swans ก็ไม่ผิด. หมายความว่า Black Swans ไม่ใช่เฉพาะ ปรากฏการณ์มุมลบ เท่านั้น แต่ต้องรวมถึง ปรากฏการณ์มุมบวก ด้วย.

เพราะ จักรวาล และ โลกนี้ มีสองด้านเสมอ, มีขาว มีดำ. ถ้าไม่มีขาว ก็จะไม่รู้ว่า ดำ เป็นอย่างไร และถ้า ไม่มีดำ ก็จะมองไม่เห็น ขาว. ดังนั้น เมื่อมี Black Swans ก็จะมี White Swans.

 

วันนี้ เราได้รับผลกระทบ โรคระบาดรุนแรง ถือเป็นเหตุการณ์ปกติ ที่มันต้องเกิดขึ้น ส่วนหนึ่ง มาจากมนุษย์ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ที่ว่ามาจากมนุษย์ เพราะพฤติกรรมของ มนุษย์ที่เห็นแก่ตัว นั่นเอง. แล้วที่ไม่ได้มาจากมนุษย์ล่ะ, มันคืออะไร?

กลไกชีวะ มีลักษณะ/สมบัติ แบบเดียวกันหมด คือ มีการเคลื่อน (1) ไม่มีสิ่งใด ในจักรวาล จะหยุดนิ่ง (2) ระบบการเคลื่อน เป็นวัฏจักร - เริ่มจาก มีการเกิด มีการเสื่อม และ เสื่อมต่อเนื่อง แปรเปลี่ยนสภาพ ไปสู่ การเกิดในรอบใหม่ ไปเรื่อยๆ.

 

เมื่อมีการเคลื่อน ย่อมมีการรักษาสมดุล*, การรักษาสมดุล ย่อมมีสิ่งหนึ่งสูญเสีย และมีสิ่งหนึ่งถูกสรรสร้างขึ้น, การสูญเสีย ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ขณะเดียวกัน การสรรสร้าง ก็ไม่ใช่เรื่อง ที่น่ายินดี. เพราะทุกปรากฎการณ์ เป็นไปตามกฏธรรมชาติ ทั้งสิ้น.

 

(*เช่น การปั่นจักรยานล้อเดียว ถ้าไม่มีการเคลื่อน ก็ทรงตัวไม่ได้ ขณะมีการทรงตัวได้ จุดศูนย์ถ่วง ที่อยู่บนเส้นระนาบแนวดิ่ง ย่อม กวัดแกว่งไปมา ระหว่าง มากว่า/น้อยกว่า 90องศา เสมอ)

 

วันนี้ เราพบเจอ โควิด-19, แต่ในวันข้างหน้า จะมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์กว่านี้ มากมายนัก คือ จะมีสิ่งหนึ่ง (ไม่รู้ว่า จะเรียกว่าอะไร) คอยจู่โจม ระบบการทำงานของ หัวใจของมนุษย์ ผ่านดวงตา ผ่านหู, นั่นคือ การมองเห็น และการได้ยิน จะกลายเป็น พาหะ ให้สิ่งนั้น เข้ามาโจมตี หัวใจมนุษย์.

นั่นมันร้ายกาจ ยิ่งกว่า ไวรัสโคโรนา เป็นพันเท่า แสนเท่า!!

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างและคิดค้น วิทยาการ เพื่อให้มนุษย์ มีอำนาจ เหนือธรรมชาติ, แต่ ธรรมชาติ ก็ไม่ได้สนใจ, ธรรมชาติ ยังคง ทำหน้าที่รักษาสมดุล ของตัวเอง. แน่นอนว่า ย่อมกระทบ และทำลาย ในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. มนุษย์ โวยวายไป ก็ไร้ประโยชน์.


7 สิงหาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


บทความ:
เส้นแบ่ง ระหว่าง นิพพาน กับ อัตตา

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

“เส้นแบ่ง ระหว่าง นิพพาน กับ อัตตา คือ รู้ เห็น ด้วยตนเองว่า ทุกข์ หรือ ขันธ์-5 ไม่มี และ สูญสลายไปหมดสิ้นแล้ว ทั้งๆ ที่ มันก็ยังดำรงอยู่ ตามธรรมชาติ ของมัน.”

 

ปัญหา ก็คือว่า ส่วนใดของทุกข์ ดำรงอยู่? และ ส่วนใดของทุกข์ ดับสลายไป?

 

อธิบาย -

(1) ทุกข์ หรือ ทุกขัง มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ขันธ์-5, สรรพสิ่ง, นามรูป, สังสารวัฏ, ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ (อวกาศ) วิญญาน, อวิชชา, นิวรณ์, สังโยชน์, นันทิ ราคะ. แสง แรง พลังงาน มิติ กาล-อวกาศ มวล อนุภาค

 

(2) ภาวะทุกขัง มี 2 สถานะ คือ สถานะจิตภาค หรือ จิตธาตุ และ สถานะอนุภาค หรือ วัตถุธาตุ. เรารับรู้ ภาวะทุกขัง ได้ก็เพราะ วิญญาณ เป็นผู้บอก. ถ้าไร้ซึ่งวิญญาณ ก็ไม่มีภาวะทุกขัง (ไม่รู้ = ไม่มี). คือ ไม่มีทั้ง ทุกขังที่เป็นจิตธาตุ และ ทุกขังที่เป็นวัตถุธาตุ.

 

ซึ่งแท้จริงแล้ว สถานะวัตถุธาตุ (physical) ของทุกขัง ยังดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปรไปเรื่อยๆ ตลอดกาล.

 

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมันเป็นไปตาม กฏสังขตธรรม ที่มีอยู่ คู่กับจักรวาล มาตั้งแต่ต้น คือ เกิด ปรากฏ (อุปปาโท ปัญญายติ), เสื่อม ปรากฏ (วโย ปัญญายติ), เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่น ปรากฏ (ฐิตัสสะ อัญญถัตตัง ปัญญายติ). และเป็นไปตาม กฏธรรมชาติของปฏิจจสมุปบาท คือ มีอยู่แล้วเช่นนั้น เป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตา), เป็นกฏตายตัวเช่นนั้น เป็นธรรมดา (ธัมมะนิยามตา), มันย่อมเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา), ไม่ผิดจาก ความเป็นอย่างนั้น (อวิตถตา), ไม่เป็นไปโดยประการอื่น (อนัญญถตา) และเป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

 

(3) ถ้าภาวะทุกขัง สลายไปทั้งหมดจริงๆ คือ สลายทั้งภาวะจิตธาตุ (psychic) สลายทั้งภาวะวัตถุธาตุ (physical), จักรวาล หรือ เอกภพ (universe) ก็จะไม่เกิดขึ้น, สัตว์ บุคคล นรก เทวดา เปรต วินิบาต ก็จะไม่อุบัติ และ ก็จะไม่มีพระอรหันต์ ในร่างของมนุษย์เป็นๆ (สอุปาทิเสสนิพพาน)

 

(4) “อวิชชา สังขาร วิญญาณ” เป็นธัมมะธาตุ ที่มีอยู่คู่กับ จักรวาล ตลอดกาล. ก่อนหน้าที่วิญญาณ จะรู้ว่า ตัวตนของมัน มีอยู่ เมื่อ อวิชชา สังขาร และ วิญญาณ ปรุงแต่งซึ่งกันและกัน, เมื่อ วิญญาณ รู้ว่าตนเองมีอยู่ จึงสร้าง นามรูป ภพ ชาติ ขึ้น เพื่อให้ “สัตตานัง” หรือ สัตว์ หยิบยึดฉวย เอามาเป็นของตน.

ดังนั้น, หากกำจัดเสียซึ่ง วิญญาณ เพียงตัวเดียว วงจรภพชาติ ก็จะสิ้นสุดลง.

 

จึงได้ข้อสรุปว่า วิญญาณ คือ เส้นแบ่ง ระหว่าง อัตตา กับ นิพพาน.

 

อ้างอิงจาก หนังสือ: สรรพสิ่ง สัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ (The 7-Element: Absolute of Everything),
http://www.igoodmedia.net/author/index.html?#the-7-element


3 สิงหาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด:
ถ้าชอบ พระอริยะ ก็จะได้พบ พระอริยะ

 

ได้ฟัง คนบ่น วิจารณ์ พฤติภาพ ของพระสงฆ์ไทย ทั้งที่ทำตนไม่เหมาะสม แก่สมณะเพศ ทั้งที่พูดสอน นอกแนวพุทธ. แล้วเกิดจิตตก รู้สึกไม่สบายใจ ไม่เลื่อมใส พระสงฆ์ มากขึ้นเรื่อยๆ. จนเข้าใจว่า ในประเทศไทย คงจะไร้พระแท้ๆ ในศาสนาพุทธ เสียแล้ว.

 

ของดี มีจำนวนน้อย หายาก และราคาแพง ฉันใด, พระอริยะ ก็มี จำนวนน้อย และหายาก ฉันนั้น.

 

การแสวง หรือ จะได้พบ พระอริยะแท้ๆ นั้น ไม่ง่าย แต่ก็ ไม่ยาก, ขึ้นอยู่กับ ความชอบ.

ชอบพระตลกโปกฮา ก็ไปฟัง พระมหาสมปอง หรือพระรุ่นน้อง หลวงพี่กาโตะ.

ชอบพระเล่นคารม พูดเปรียบเทียบ พูดเป็นกลอน ร้องเพลงก็ได้ เลือกตามที่ชอบ มีเยอะ.

ชอบพระพูดแต่เรื่องนรก สวรรค์ บอก (หลอก) ทำบุญด้วยเงิน แบบหมดตัว ก็ไปวัดพระธรรมกาย.

ชอบพระ ที่สวดเป็นอย่างเดียว เทศน์ไม่เป็น มีทุกวัด ทั่วประเทศ นับจำนวนเรือนแสน โดยเฉพาะ ในงานศพ และงานสารพัดบุญมงคล.

ชอบสาระ สัจจะ ในแก่นแท้ หวังได้อริยะบุคคล จนถึงขั้น อรหันต์ ก็ไปที่ วัดนาป่าพง (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล) พุทธสถาน ชาวอโศก (พ่อครูสมณะโพธิรักษ์)

ชอบความสงบ แต่อาจไปไม่พบนิพพาน ก็ไปที่วัดป่า วัดไหนก็ได้.

ชอบเสี่ยงโชค ทำคุณไสย พ่น เสก สัก ทำนาย ใบ้หวย ขอยันต์ รวย รวย รวย และสารพัด เดรัจฉานวิชชา, มีหลากวัด หลายหลวงพ่อ ให้เลือกตามชอบ ทั่วราชอาณาจักร. ถ้าเลือกไม่ถูก ว่าจะไปที่ไหน หาใคร ให้ไปถาม Google, YouTube.

ชอบสิ่งใด ย่อมมี มิตรสหาย และสิ่งแวดล้อม แบบนั้น. คือ

ชอบในทางกุศล มิตรสหาย และสิ่งแวดล้อม ก็พาไปกุศล สวรรค์

ชอบในทางอกุศล มิตรสหาย และสิ่งแวดล้อม ก็พาไป นรก ทุกข์ เดือดร้อน ความต่ำทราม.

แต่ถ้าชอบความหลุดพ้น (วิมุตติ นิพพาน) มิตรสหาย และสิ่งแวดล้อม ก็พาไป สู่ความหลุดพ้น.

หลักแห่งการประพฤติตน ไปสู่ ความหลุดพ้น คือ "อิทัปปัจยตา-ปฏิจจสมุปบาท-อริยสัจสี่"

หลักแห่งการพาตน ไปสู่ หายนะ คือ เสพอร่อย (อัสสาทะ) ในราคะและความเพลิน (ราคะ นันทิ).

พระก็เหมือนสินค้า เมื่อมีคนชอบแบบใด ท่านก็เป็นแบบนั้น ตามที่ชอบ. ส่วน วจนะของพระศาสดา ไม่ใช่สินค้า แต่มีคุณค่านับราคาไม่ได้. ใครก็ตาม นำเอาไปเผยแพร่ ย่อมเป็นผู้มีคุณค่า มีคุณสมบัติ เป็นพระอริยะ ที่สมควรกราบไหว้.

ไม่ว่าจะชอบ ในทิศทางใด, กุศล อกุศล วิมุตติ, ย่อมไม่มีทางใด สะดวกสบาย ง่ายๆ. ทุกทิศทาง มีลำบาก ต้องสู้ด้วยกันทั้งนั้น.

เลือกตามที่ชอบๆ เถิด.


4 มิ.ย. 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด:
ธรรมชาติแท้จริง หาได้ในประเทศไทย

 

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

(ก) ธรรมชาติ แท้จริงของ สังคมมนุษย์.

 

ข้าพเจ้า สนับสนุน ทุกรัฐบาล ที่ไม่เอาเปรียบ ประชาชน ในขณะที่ ประชาชน ก็ยังพอ "อดทน" ได้ ในการ "ได้เปรียบ" ของผู้มีอำนาจ หรือ ของผู้มีโอกาส เหนือกว่า.

ปัญหาย่อมเกิดขึ้น ถ้าคราใด, ประชาชน เรียกร้อง เพื่อตัวเอง มากเกินไป ในขณะที่ ผู้ปกครอง ก็ "เอาเปรียบ" คดโกง ภาษีและทรัพย์สิน ส่วนรวม ไปเป็นของตน.

ฝ่ายหนึ่ง "อดทน" ฝ่ายหนึ่ง "พอเพียง" เป็นความเหลื่อมล้ำ ที่พอเหมาะพอดี, คือ ทนกันและกันได้. ไม่มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ที่แท้จริง ในสังคม.

"ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน" เป็นเพียง อุดมคติ เท่านั้น.

 

(ข) ธรรมชาติ แท้จริงของ ประเทศไทย.

 

"ความผิดเดียว ที่เป็นตราบาป ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ยึดอำนาจ มาจาก คนสารเลวแล้ว ไม่ปฏิรูปประเทศ ให้เสร็จ ก่อนให้มีการเลือกตั้ง. นอกนั้น ยังพอรับได้ โดยเฉพาะ มีอำนาจแล้ว ไม่โกง."

 

"ถ้าผมไม่ทำ แล้วใครจะทำ" คำพูดนี้ ยังอยู่ในความทรงจำ. ถ้าพลเอกประยุทธ์ ไม่ปฏิรูปตำรวจ ไม่ปฏิรูปนักการเมือง แล้ว ต่อไปในวันข้างหน้า ก็คงไม่มีใครทำ.

การยึดอำนาจ ที่สวยงามครั้งนั้น เหมือนปล้นสมบัติ ที่โจรขโมยไป. ได้มาแล้ว กลับปล่อยให้มอดแมลง กัดกิน ชอนไช จนผุพัง ไปตามกาลเวลา เข้าทำนอง "เสียของ"

เพราะ การยึดอำนาจ ในครั้งต่อไป จะทำได้ยากมากๆ หรือทำไม่ได้เลย.

นี่คือ เหตุผล ที่กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศไทย ทำไม่ได้ และจะไม่มีวันเกิดขึ้น.

และนี่ก็ ไม่ใช่ สิ่งเลวร้ายไปเสียทั้งหมด หรือเป็นความผิดพลาด ของผู้นำ ไม่ว่าใคร จะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตาม.

ประเทศไทย มีอัตลักษณ์ เฉพาะตน. เป็นรัฐราชการ, มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนไทย, มีคนไทย รักสงบ แต่ไร้วินัย, มีประชาธิปไตยเสรี, มีความเหลื่อมล้ำในทุกๆ ด้าน, และมีนักการเมือง ที่มีแนวคิด เป็นนายของ ประชาชน.

ปัญหาใหญ่ และซับซ้อน คือ นิสัยประจำชาติ ของคนไทย ที่เป็นอุปสรรค ถ้าคิดจะปฏิรูปประเทศ.

 

"มักง่าย งมงาย ไร้วินัย ใฝ่อบายมุข สุขระเริง เหลิงอำนาจ ทาสริษยา บ้าบารมี".

 

(ค) หมายเหตุ แห่งนิยาม

 

"ได้เปรียบ" คือ สิทธิบางอย่าง ของผู้แทน ที่ได้รับ จากประชาชน ซึ่งประชาชน ไม่สามารถกระทำได้. หรือ ประชาชนด้วยกันเอง ได้สิทธิ มากกว่ากัน.

การได้เปรียบ ซึ่งกันและกัน จะดำเนินไปตามปกติ ตราบเท่าที่ ฝ่ายที่ด้อยกว่า ยังอดทน อีกฝ่ายได้. ถือว่า เป็นเรื่องปกติของ สังคมมนุษย์.

ภาวะ การได้เปรียบ เกิดขึ้นที่ ใต้เส้นความอดทน (below the line self-control)

"เอาเปรียบ" คือ สิทธิบางอย่าง ของผู้แทน ที่ได้รับ จากประชาชน และใช้สิทธินั้น เพื่อประโยชน์ ของตนเองและพรรคพวก. หรือ การใช้สิทธิ เกินขอบเขต ของตนเอง ของประชาชน จนไปกระทบกับ สิทธิของ คนอื่น.

 

ภาวะ การเอาเปรียบ เกิดขึ้นที่ เหนือเส้นความอดทน (above the line self-control)

 

"อดทน" คือ การยอมรับได้ ในสถานะของตน ที่ด้อยกว่า สถานะของคนอื่น ในขีดจำกัดหนึ่ง (ซึ่งแต่ละคน มีไม่เท่ากัน)

 

ความอดทน อยู่บน เส้นความอดทน (self-control line).

 

ความอดทน เป็น คุณสมบัติพื้นฐาน ของมนุษย์และสัตว์โลก ทั้งหลาย ที่ยังรักษาสภาพ ความผาสุก ในสังคมไว้ได้. (ถ้าสัตว์ทั้งหลาย ไร้ความอดทน มันก็คือ กลียุค นั่นเอง.)

 

"พอเพียง" คือ การข่มใจตนเอง ที่จะไม่ใช้สิทธิ ที่ตนได้รับนั้น ผิดธรรมชาติ เกินพอดี, หมายถึง การข่มใจตนเอง ที่จะไม่เรียกร้อง เพื่อตนเอง จนผิดธรรมชาติ เกินพอดี.

ความพอเพียง เป็นทั้ง ความรู้สึก และ พฤติภาพ ของมนุษย์. ไม่สามารถ กำหนดค่า เป็นมาตรฐานตัวเลข ออกมาได้.

 

พอเพียง จัดเป็นคุณธรรม ขั้นสูง. ไม่ว่าผู้นั้น จะอยู่ในฐานะ ผู้นำประเทศ หรือ เป็นประชาชน ก็ตาม, ความพอเพียง จะเป็นดัชนี วัดค่าความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ของประเทศ.


17 พฤษภาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด:
สื่อมวลชนมืออาชีพ จะจัดการข่าวสาร อย่างไร ในยุคสังคมอ่อนไหว,

 

(ก) ความสำคัญ ของ ข่าวสาร กับ สังคมเป็นสุข.

 

ข่าวสาร เปรียบเหมือน อาหาร ของสังคม, มีทิศทาง การไหล จาก แหล่งข่าว (ปาก) ผ่านช่องทางสื่อสาร (กระเพาะ) ไปยัง ประชาชน (อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย).

ถ้าข่าวสารนั้น มีสาระประโยชน์ ก็จะถูกนำไปเป็น สารอาหาร ทำให้คนรับข่าวสาร ฉลาดขึ้น. แต่ถ้าข่าวสารนั้น ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ เป็นข้อมูลเท็จ สร้างความแตกแยก (fake news), มันก็จะถูก ถ่ายทิ้ง ออกมาเป็น ปัสสาวะ อุจจาระ.

ถ้าใครยัง ปรารถนา ที่จะเสพ fake news ก็คงไม่ต่างกับการ "กินขี้" หรือ สนุกสนาน กับการแพร่เชื้อ fake news เหล่านั้น (post / share) ก็เหมือนกับการ "กินขี้ปนกับข้าว."

สังคมเข้มแข็ง สังเกตได้จาก พฤติกรรม จิตอาสา ของคนในสังคม ว่า เคารพกฏเกณฑ์ ของสังคม มากน้อย แค่ไหน. ถ้าสังคมอ่อนไหว ก็สังเกตได้จาก พฤติกรรม ตื่นตระหนก มักง่าย ด่าทอกัน ของประชาชน.

กล่าวได้ว่า ข่าวสาร กับ สังคม เป็นทั้งปัจจัยส่งเสริม ทำลาย และ สร้างสรรค์ ซึ่งกันและกัน.

 

(ข) ปัญหาของคน คือ ต้นตอของ ข่าวสาร.

 

เกณฑ์ที่นำมาวัดค่า ของข้อมูล ข่าวสาร คือ จริง หรือเท็จ. แต่ไม่ว่า ข้อมูลนั้น จะจริงหรือเท็จ ก็สร้างปัญหา ให้กับคนอยู่ดี เพราะโดยแท้จริงแล้ว, ปัญหาของคน มีหลากหลาย สาเหตุ หลายรูปแบบ. และนั่นแหละ คือ ต้นตอ ของข่าวสาร.

 

การนำเสนอข่าวสาร จึงต้อง จำแนกออกเป็น 4 สถานการณ์.

(1) ข่าวจริงบางข่าว สมควร เผยแพร่ ทันที

(2) ข่าวจริงบางข่าว ถ้าเผยแพร่ ในทันที จะสร้างความตื่นตระหนก ควรชะลอไว้ก่อน

(3) ข่าวเท็จทุกข่าว ควรบอกกล่าว ให้ สาธารณชน รับรู้ทันที ว่านี่คือ ข่าวเท็จ (ข่าวลือ)

(4) ข่าวบิดเบือน คือ ข่าวเท็จ ผสมปนเปกับ ข่าวจริง ควรบอกแก่ สาธารณชน ว่าสิ่งใดจริง ว่าสิ่งใดเท็จ.

 

(ค) แหล่งข่าว ไม่ใช่ปัญหา แต่อุปนิสัย และ วุฒิภาวะ ของคนที่ปล่อยข่าว คือต้นเหตุหลัก.

 

ข่าวจริง เกี่ยวกับสถานการณ์ ที่กำลังคุกคาม ชีวิต ทรัพย์สิน และ สวัสดิภาพ ของ ประชาชน เช่น สถานการณ์ล่าสุด ของ โควิด, คำเตือน เรื่องพายุ, การล่อลวง ของคนร้ายไซเบอร์.

ข่าวประเภทนี้ ควรนำเสนอ ทันที.

ส่วน ข่าวจริง ที่อาจสร้าง ความตื่นตระหนก เช่น มีคนป่วยตายจริง เพราะโควิด, มีคนบ้า อาละวาด ไล่ยิงคน ในห้างสรรพสินค้า. ข่าวสะเทือนขวัญ เช่น บุคคลสำคัญ เป็นที่เคารพรัก ของสาธารณชน ถึงแก่อสัญกรรม หรือ ข่าว การเสด็จทิวงคต ของเจ้าฟ้า หรือ แม้กระทั่ง ข่าวการเสด็จสวรรคต ของ พระเจ้าแผ่นดิน.

ด้วยเหตุนี้, ข่าวประเภทอ่อนไหว สร้างความตื่นตระหนก และสะเทือนขวัญ ของประชาชน ต้องมีลำดับ ขั้นตอน ห้วงเวลา ที่เหมาะสม ในการนำเสนอ.

อาการ ตื่นตระหนก ของคน มักสร้าง ความปั่นป่วน ให้แก่ เจ้าหน้าที่ ที่รักษาความสงบ. 'ตื่นวัวตื่นควาย' ยังวุ่นวายน้อยกว่า คนแตกตื่นใน 'มงคลตื่นข่าว.' (มงคลตื่นข่าว คือ การเชื่อใน สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ว่าเป็นมงคล โดยไม่มีเหตุผล)

ข่าวเท็จ ข่าวลือ มาจากคน 4 ประเภท คือ -

หนึ่ง, คนที่เกลียดชัง หรือ ริษยา อีกคนหนึ่ง (ศัตรู) มักจะสร้างเหตุที่ไม่จริงขึ้นมา หรือ ผสมเหตุการณ์เท็จ ปะปนไปกับ เหตุการณ์จริง (โพสต์ - ตีสี ใส่ไข่) เพื่อให้ร้าย คนที่ตนเกลียดชัง ให้ได้รับ ความเสียหาย.

สอง, คนที่ถูกบุคคล ในข้อหนึ่ง ยุยง ปลุกปั่น (เสี้ยม) ให้เกลียดชัง อีกคนหนึ่ง (แม้เขาจะไม่รู้จักกันมาก่อน) ให้ร่วมกันพูด ร่วมกันเผยแพร่ ข่าวสาร (แชร์) แบบเดียวกับ ที่บุคคล ในข้อหนึ่ง กระทำ, เพื่อหวังผล ให้มีคนเกลียดชังกัน เพิ่มขึ้น และ เป็นการหาพรรคพวก ดุจเดียวกับ "ฝนตก ขี้หมูไหล คนจัญไร ไปรวมกัน"

สาม, คนที่แสดงตัว ออกนอกหน้า ว่าเกลียดชังศัตรู ของบุคคลในข้อ หนึ่ง (ทั้งๆ ที่ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน) เพื่อเอาใจ บุคคลในข้อ หนึ่ง, ด้วยการ พูด เผยแพร่ ข่าวสาร แบบเดียวกับ ที่บุคคล ในข้อหนึ่ง กระทำ.

สี่, คนโง่ คนหูเบา คนสมองกลวง คนปัญญาทึบ ซึ่งได้รับข่าวสาร จากบุคคล ในข้อหนึ่ง, ข้อสอง, ข้อสาม และเชื่อ ในทันที โดยไม่มีการไตร่ตรอง. แล้วพูด เผยแพร่ ข่าวสาร แบบเดียวกับ ที่บุคคล ในข้อหนึ่ง กระทำ เพื่อไม่ให้ เป็นคน ตกยุค.

ข่าวเท็จ ข่าวลือ สร้างความเสียหาย ด้านจิตใจ และ อาจรุนแรง กระทบต่อ ความมั่นคงของชาติ กระทบต่อ การบริหาร การปกครอง การจัดการ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง.

 

(ง) จะจัดการ ข่าวเท็จ ข่าวลือ ได้อย่างไร?

 

การควบคุม ข่าวเท็จ ข่าวลือ ต้องใช้ ทั้ง อำนาจทางกฎหมาย (ฟ้องร้อง) การสื่อสารมวลชน (แถลงข่าว) และ จิตวิทยามวลชน (agenda and propaganda).

การรู้เท่าทัน ข่าวเท็จ ข่าวลือ ต้องใช้ มโนทัศน์สัมพัทธภาพ ในการวิเคราะห์-สังเคราะห์ เพื่อแยกแยะ จริง เท็จ ในเหตุการณ์ ของข่าวนั้น.

ถึงวาระที่ต้องจริงจัง ในการกล่าวโทษ ฟ้องร้อง ผู้ปล่อยข่าว สร้างความเสียหาย ให้แก่ผู้อื่น. อย่างน้อย ประเทศไทยก็มีกฎหมาย นำมาบังคับใช้ อย่างรวดเร็ว และไม่มีละเว้น.

ช่องข้อมูลข่าวสาร ที่มีเป็นจำนวนมาก ทั้งวิทยุ ทีวี YouTube และ ช่องสื่อออนไลน์อื่นๆ ต้องเผยแพร่ เกาะติด พวกข่าวปลอม ให้มากที่สุด แม้จะเป็นช่องสื่อบันเทิง ก็ต้องช่วยกัน ด้วยจิตสำนึกสาธารณะ และจิตสำนึกทางศีลธรรม ที่กระทำ ออกมาจากจิตใจภายใน ไม่ใช่การบังคับด้วย มาตรการและ อำนาจนโยบาย จากรัฐบาล.

ชี้เฉพาะ ผู้สื่อข่าว ทั้งสมัครเล่น (มือโพสต์ - นักเลงคีย์บอร์ด) และ วิชาชีพ (correspondences) รวมทั้ง ผู้ที่ทำหน้าที่ แอดมิน (administrator) ทั้งหลาย จำเป็นต้องมี ต้องใช้ มโนทัศน์สัมพัทธภาพ หรือ conceptual relativity มาเป็น เครื่องมือ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

ในที่นี้ ขอสรุปหลักการ โดยย่อ ไว้ให้นำไปใช้.

 

(จ) มโนทัศน์สัมพัทธภาพ เครื่องมือของนักสื่อสารมวลชน มืออาชีพ

 

การพิสูจน์ความจริง ด้านวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สัตว์ บุคคล หรือ เหตุการณ์ ก็ตาม, ต้องมีการเปรียบเทียบกับ สิ่งเดียวกันนั้น เพื่อค้นหาว่า วัตถุ สัตว์ บุคคล หรือ เหตุการณ์ นั้น
มีสมบัติอย่างไร มีพฤติการณ์ อย่างไร มีการเคลื่อน (movement) อย่างไร. แล้วหาความจริง ประโยชน์ และโทษ จากสิ่งนั้นให้ได้.

สิ่งเปรียบเทียบ ที่ว่านี้ เรียกว่า มโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity)

 

 

 

ปัจจัยสัมพัทธ์ ประกอบด้วย
(1) เวลา (อวกาศ รูปทรง-มิติ) - time
(2) พื้นที่ ตำแหน่ง-พิกัด - locality
(3) วัตถุ-บุคคล - person & object

 

เหตุการณ์ เกิดขึ้นจาก
(1) พฤติการณ์ หรือ การกระทำของ วัตถุ/สิ่ของ เรียกว่า เหตุการณ์
(2) อารมณ์ รู้สึก เป็นพฤติการณ์ หรือ การกระทำที่อยู่ในจิตใจ ของบุคคล ที่อยู่ในขอบเขต ของเหตุการณ์ (ผู้ถูกสังเกต) และ บุคคล ที่อยู่นอกขอบเขต ของเหตุการณ์ (ผู้ถูกสังเกต) ซึ่งเรียกว่า ผู้รับรู้ข้อมูล.

ผู้รับรู้ข้อมูล คือ ผู้สังเกต และ ผู้ถูกสังเกต ซึ่งกำลังมองดู เหตุการณ์.

การรับรู้เหตุการณ์ของ ผู้สังเกต กับ ผู้ถูกสังเกต หรือ ข้อมูลที่ได้รับนั้น เกิดการสัมพัทธกัน. บุคคลที่หนึ่ง (ผู้ถูกสังเกต) แม้จะอยู่ในเหตุการณ์ แต่อาจได้รับข้อมูลที่มี ขอบเขตจำกัด

เช่น อาจอยู่ในรัศมี และองศาการมองเห็นการได้ยินที่แคบกว่า. ซึ่งต่างจากบุคคลที่สอง (ผู้สังเกต) อาจได้รับ ข้อมูลที่มีขอบเขตกว้างกว่า เพราะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้ 360 องศา. นอกจากนี้ ความแตกต่างกันในสมบัติการเป็นธาตุ ยังเป็นเงื่อนไขในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อีกด้วย.

 

ความแตกต่างของข้อมูลที่สัมพัทธกันนั้น แม้จะเป็นอิสระต่อกัน แต่สามารถนำมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ผล เพื่อหาข้อสรุป ก็จะได้ความจริงที่สมเหตุสมผลมากที่สุด.

 

ดังนั้น มโนทัศน์สัมพัทธภาพ จะเกิดขึ้นได้ จะต้องนำปัจจัยด้านเวลา ตำแหน่ง พิกัด วัตถุ – บุคคล ให้มาอยู่ในเหตุการณ์ จะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไปไม่ได้ หรือมีแต่ปัจจัยเวลา ตำแหน่งพิกัด วัตถุ – บุคคล แต่ไม่มีเหตุการณ์ มโนทัศน์ที่สัมพัทธกันก็จะไม่สมบูรณ์.

 

สมมุติว่า นาย ก. กับ นาย ข. เป็นช่างซ่อมปล่องไฟเก่า และต่างคนก็เข้าไปซ่อมปล่องไฟ คนละปล่อง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน (ทั้งสองคน ต่างก็เป็นผู้สังเกตซึ่งกันและกัน).

พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฎว่า นาย ก. ตัวสะอาด นาย ข. ตัวสกปรกเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า. เนื่องจาก ทั้งนาย ก. และ นาย ข. ต่างก็เป็นผู้สังเกตซึ่งกันและกัน เมื่อนาย ก. มองเห็นนาย ข. ตัวสกปรก ก็คิดว่า ตนก็คงสกปรกเช่นเดียวกัน (เป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผล) ส่วน นาย ข. มองเห็น นาย ก. ตัวสะอาด ก็ได้ข้อสรุปไม่ต่างกัน.

 

จะเห็นว่า ทั้งนาย ก. และ นาย ข. ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์แบบเดียวกัน และสังเกตซึ่งกันและกัน จะได้ข้อสรุปแบบเดียวกัน แต่บุคคลภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหตุการณ์ เฝ้าดูพวกเขาซ่อมปล่องไฟ (ในฐานะเป็น ผู้สังเกต) จะมองเห็นความแตกต่างระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. (ในฐานะเป็น ผู้ถูกสังเกต). มโนทัศน์สัมพัทธภาพ จะช่วยให้ผู้สังเกตหรือผู้ถูกสังเกต มองเข้าถึงความจริงได้ ก็ต่อเมื่อ ต้องรู้จักวางสถานะตัวเอง และวัตถุบุคคล ให้ถูกต้อง.

 

(ฉ) มุมมองสัมพัทธ์ ทำให้นักข่าวพลเมือง เป็นสื่อมืออาชีพ

 

ในโลกของการสื่อสารมวลชน และการสื่อสารออนไลน์ เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารภาพ เสียง ข้อความ ผ่านพื้นที่สื่อที่ค่อนข้างจำกัด เพียงแค่กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากเครื่องรับ เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์.

หากเราใช้มโนทัศน์เชิงเดี่ยว ในการรับรู้ข้อมูล เราก็จะได้ข้อมูลเฉพาะที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่านั้น แต่เหตุการณ์อื่นๆ ที่อยู่นอกกรอบเวลา นอกกรอบพื้นที่ และเหตุการณ์นั้น อาจมีบุคคลอื่นมาเกี่ยวข้อง เราไม่อาจรับรู้ได้ ทำให้ข้อมูลที่เราได้รับไม่เพียงพอ สำหรับการวิเคราะห์หาความสมเหตุสมผล.

 

ครั้นเราทราบข้อจำกัดนี้ ทำอย่างไรเราจึงจะเอาข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งอยู่นอกกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากเครื่องรับ. เราอาจหาทางออกด้วยการใช้จินตนาการ (ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย) หรือ ออกไปสืบหาจากสื่ออื่นๆ ข้างนอกด้วยตนเอง (ซึ่งอาจทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย) ทางออกทั้งสองวิธี ต่างก็มีอุปสรรคและข้อจำกัด เช่น จินตนาการของเรา อาจไม่อยู่บนพื้นฐานของตรรกะ หรือออกนอกลู่ทางทางศีลธรรม จารีตประเพณี แหล่งข่าวข้างนอกอาจให้ข้อมูลเท็จ เพราะผู้ให้ข่าวไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์. ปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะเราใช้มโนทัศน์เชิงเดี่ยว.

 

การใช้มโนทัศน์สัมพัทธภาพ ในการมอง และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจากแหล่งสื่อแบบใด ผู้ใช้จำเป็นต้อง

(1) วางสถานะวัตถุ – บุคคลของตนเอง ให้เป็นทั้ง ผู้ถูกสังเกต (บุคคลที่หนึ่ง) และผู้สังเกต (บุคคลที่สอง)

(2) สภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ เช่น ระบบนิเวศ วัฒนธรรม ความเชื่อ ข้อกฎหมาย และ

(3) นำปัจจัยด้านสมบัติของวัตถุ – บุคคล มาเป็นเงื่อนไขในการวิเคราะห์สรุปผลด้วย.

 

เงื่อนไข 3 ประการข้างต้น ไม่ใช่การจินตนาการอย่างไร้เหตุผล ไร้ตรรกะ, ผู้ใช้มโนทัศน์สัมพัทธภาพ ต้องคิด วิเคราะห์ จากเงื่อนไขที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริงให้มากที่สุด จึงจะทำให้การวิเคราะห์ สรุปผล มีความสมเหตุสมผล จนเป็นที่ยอมรับได้.

 

ความเป็นกลาง ของสื่อสารมวลชน จะเป็นได้ก็แต่ในอุดมคติเท่านั้น. เพราะการใช้มโนทัศน์สัมพัทธภาพ ในการมองเหตุการณ์ใดๆ จะปราศจากจุดศูนย์กลางในทุกมุมมอง และจะไม่มีมุมมองเพียงจุดเดียว แล้วจะได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง นอกจากมโนทัศน์นั้น มาจากข้อสมมุติฐาน ที่ผ่านการพิสูจน์การทดลองหลายครั้ง แล้วได้ผลเหมือนเดิม.

ในโลกของสังคมข่าวสาร, มีคำกล่าวที่น่าคิด ประโยคหนึ่งว่า

 

“คุณจะได้คำตอบแบบใด ขึ้นอยู่กับว่า คุณถามใคร.”

 

คำตอบที่ได้ อาจถูกต้อง ถูกใจ สำหรับคนหนึ่ง แต่อาจไม่ถูกต้อง ไม่ถูกใจ สำหรับคนอีกคนหนึ่ง. นั่นเป็นเพราะว่า แต่ละมุมมองจะไม่มีจุดศูนย์กลางที่แท้จริงนั่นเอง. นอกจากว่า คำตอบนั้น มาจากปากของพระเจ้า ที่ผู้นั้นยังเคารพเลื่อมใส ศรัทธา.


12 พฤษภาคม 2564.

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


บทความ:
รู้จักวิถีธรรมชาติ วิถีชีวิต เพื่อเข้าถึงธรรม ผ่าน ธาตุ-6 ขันธ์-5 และ สัตตะธัมมะธาตุ.

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

 

 

วิถีการเรียนรู้, วิถีปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งเดียวกัน. เรารู้สิ่งใดมา ก็จะปฏิบัติ ตามสิ่งที่รู้. เราปฏิบัติสิ่งใด เราก็จะ เพิ่มพูนความรู้ ตามที่ปฏิบัติ.

 

ก. บทนำ

 

สัญญลักษณ์ ขันธ์-5

 

การศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ ก็คือการเรียนรู้ชีวิต เพราะชีวิตกับธรรมชาติ เป็นสิ่งเดียวกัน. หากใช้มุมมองสัมพัทธ์ (มโนทัศน์สัมพัทธภาพ - conceptual relativity) ระหว่าง วิทยาศาสตร์ - พุทธศาสน์,* เพื่อเปรียบเทียบ หลักการทั้งสองฝั่ง จะก่อให้เกิด พลังของการเรียนรู้ ความจริง ได้อย่างทะลุทะลวง ถึงสิ่งที่ถูกปิดบังในบางมุม.

ความรู้ ใน ความรู้, เป็นเพียงความรู้ ในระดับตื้นเขิน เพราะ สิ่งที่รู้ เป็นการสนองตอบ ความอยากรู้. โดยไม่มีเป้าหมาย ชัดเจน คือ อยากรู้ไปทุกเรื่อง แม้เรื่องนั้น ไม่มีประโยชน์.

ความจริง ใน ความรู้, เป็นความรู้ ที่แสดงเป้าหมาย ชัดเจน อีกระดับหนึ่ง คือ ในบรรดา สิ่งที่ควรรู้ คัดสรรเฉพาะ ความจริง เท่านั้น ส่วน ความเท็จ ตัดทิ้งไป. (แต่ ความจริง บางอย่าง ไร้ประโยชน์ ให้โทษทุกข์ ก็มี) ความรู้ระดับนี้ ก็คือ วิทยาการ ด้านต่างๆ ที่เรียนกัน ในสถาบันการศึกษา ทั่วไป และทั่วโลก.

ความรู้ ใน ความจริง, นี่สิ เป็นสิ่งที่มนุษย์ ควรรู้ เพื่อให้ สิ่งที่รู้เหล่านั้น นำพาไปหา ความจริง. แน่นอนว่า ความรู้ ระดับนี้ ย่อมเป็นสาระ ประโยชน์.

ความจริง ใน ความจริง, เป็นผลผลิตสุดท้าย ในการแสวงหา ผ่านสิ่งที่เรารู้. ความจริง ย่อมต้องมี หลักการและทฤษฎี มารองรับเสมอ. ความจริงสูงสุด อันเป็นปรมัตถ์ ที่พระพุทธเจ้า ค้นพบ, พระองค์ ทรงบัญญัติหลักการ ขึ้นมารองรับ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท และ อริยสัจสี่.

ในบรรดา ธาตุ-6, ขันธ์-5, สัตตะธัมมะธาตุ จัดอยู่ใน ความรู้ ใน ความจริง ที่จะนำพา ผู้ศึกษาเรียนรู้ ไปสู่วิถีธรรมชาติ วิถีชีวิต ได้อย่างลึกซึ้ง และไม่ผิดพลาด.

[หมายเหตุ*
โปรดสังเกต ในบทความนี้ ผู้เขียนไม่ใช้คำว่า พุทธศาสตร์ เพราะในนั้น มีความรู้อื่น ที่ตถาคต ไม่ได้บัญญัติไว้ ผสมปะปนอยู่ไม่น้อย. ส่วน พุทธศาสน์ มาจาก ศาสนียะ หรือ สาสนียะ แปลว่า คำสั่งสอน ของตถาคต โดยส่วนเดียว.]

 

ข. มโนทัศน์สัมพัทธภาพ เครื่องมือของ จินตนาการ

 

การพิสูจน์ความจริง ด้านวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สัตว์ บุคคล หรือ เหตุการณ์ ก็ตาม, ต้องมีการเปรียบเทียบกับ สิ่งเดียวกันนั้น เพื่อค้นหาว่า วัตถุ สัตว์ บุคคล หรือ เหตุการณ์ นั้น
มีสมบัติอย่างไร มีพฤติการณ์ อย่างไร มีการเคลื่อน (movement) อย่างไร. แล้วหาประโยชน์ และโทษ จากสิ่งนั้นให้ได้.

สิ่งเปรียบเทียบ ที่ว่านี้ เรียกว่า มโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity)

 

 

 

ปัจจัยสัมพัทธ์ ประกอบด้วย
(1) เวลา (อวกาศ รูปทรง-มิติ) - time
(2) พื้นที่ ตำแหน่ง-พิกัด - locality
(3) วัตถุ-บุคคล - person & object

 

เหตุการณ์ เกิดขึ้นจาก
(1) พฤติการณ์ หรือ การกระทำของ วัตถุ/สิ่ของ เรียกว่า เหตุการณ์
(2) อารมณ์ รู้สึก เป็นพฤติการณ์ หรือ การกระทำที่อยู่ในจิตใจ ของบุคคล ที่อยู่ในขอบเขต ของเหตุการณ์ (ผู้ถูกสังเกต) และ บุคคล ที่อยู่นอกขอบเขต ของเหตุการณ์ (ผู้ถูกสังเกต) ซึ่งเรียกว่า ผู้รับรู้ข้อมูล.

ผู้รับรู้ข้อมูล คือ ผู้สังเกต และ ผู้ถูกสังเกต ซึ่งกำลังมองดู เหตุการณ์.

 

วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ ในเชิงฟิสิกส์ ตลอดจน ขนาด-มวล-รูปทรง-มิติ ของวัตถุ ในเอกภพ มีหลากหลาย ซับซ้อน. สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น ไม่มี. เช่น สิ่งนั้น มีขนาดเล็กระดับ อะตอม อนุภาค หรือ มีขนาดใหญ่ระดับ ดาวเคราะห์ สุริยะ กาแลกซี่ มหากาแล็กซี่ ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น หรือรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสปกติได้. วัตถุเหล่านั้น ก็คงจะไม่มีอยู่จริง ใช่หรือไม่?

มนุษย์ เป็นกลไกชีวะ ที่ทรงพลังปัญญา. ดังนั้น สิ่งลึกลับซับซ้อน ย่อมเป็นความท้าทาย ที่มีต่อพลังสติปัญญา และ ความคิดสร้างสรรค์. กลุ่มนักฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ ได้เรียนรู้และค้นหามันได้ ด้วยการใช้ จินตนาการ เหตุผล และ ทฤษฎี.

เมื่อจะอธิบาย เกี่ยวกับปัจจัยสัมพัทธ์ และองค์ประกอบ ข้ออื่นๆ, ย่อมเกี่ยวข้องกับ เวลา และ ความเร็ว เสมอ. สำหรับสิ่งที่ มีความแตกต่างกันมากๆ, ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ การใช้จินตนาการ เหตุผล และ ทฤษฎี จึงจะได้ความจริง เกี่ยวกับสิ่งนั้น.

อัลเบิร์ต ไอสไตน์ นักฟิสิกส์สัมพัทธภาพ กล่าวว่า "จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้" ทำให้ผู้ศึกษา เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ ที่มีความซับซ้อน ด้วยขนาด ระยะ และความเร็ว ในการเคลื่อน ได้ไม่ยาก. เช่น อัตราความเร็วของแสง การผสมกันของ เวลาและอวกาศ (space-time) เป็นต้น.

 

ผู้เขียน กล่าวว่า "ความจริง ที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา,
แต่ความจริง ที่ตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ ตลอดกาล.
” ทำให้ผู้ปฏิบัติ เข้าถึงความจริงได้ ด้วยตนเอง โดยไม่มีสิ่งใดซับซ้อน. เช่น เมื่อรู้แจ้งแทงตลอด ในสิ่งสมมุติ (สังขตลักษณะ) ย่อมเข้าถึง อีกฝั่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่ง (อสังขตลักษณะ) ได้โดยไม่ผิดพลาด.

 

การพิสูจน์ความจริง ทางด้านจิตวิญญาณ, ไม่สามารถใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เลย.
ความจริง ทางด้านจิตวิญญาณ จึงต้องมีหลักการเฉพาะ ตนเอง. คือ สังขตลักษณะ, อิทัปปัจจยตา, ปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจสี่ และ อสังขตลักษณะ.

 

ดังได้กล่าวไปแล้วว่า การพิสูจน์ความจริง ของสิ่งที่อยู่ในระยะไกล ขนาดใหญ่ เกินกว่า ประสาทสัมผัส ของมนุษย์ จะรับได้. จำเป็นต้องใช้จินตนาการ เปรียบเทียบ. จิตวิญญาณ เป็นสิ่งซับซ้อน, แม้จะอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แต่เราก็ไม่เห็นมันได้ง่ายๆ. เพราะวิญญาณ ไม่มีขนาด ไม่มีมวล ไม่มีระยะ ไม่มีมิติ แต่มีอยู่ในบุคคล และสัตว์. การบอก การแสดง การบัญญัติ การอธิบาย เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และมักเกิดข้อผิดพลาด ได้ง่าย.

จิตธาตุ นั้น ละเอียด ลึกซึ้ง ประณีต ยิ่งกว่า วัตถุธาตุ เป็นล้านเท่า. ตถาคต ทรงอธิบาย สาธยาย จิตวิญญาณ ไว้ในพระสูตรต่างๆ ก็ทรงสาธยาย ด้วยมุมมองสัมพัทธ์ทั้งสิ้น, เช่น การอุปมา เปรียบเทียบ, ฉันใด ฉันนั้น, สังเกต ผู้สังเกต.

ด้วยเหตุนี้, ปัจจัยสัมพัทธ์ สำหรับ จิตธาตุ มีเพียง 2 ข้อ เท่านั้น คือ เวลา-อวกาศ และ การเคลื่อน-ความเร็ว. (โปรดดู ความหมายของ เวลา ใน เวลาจินตภาพ, ความหมายของ อวกาศ ใน ธาตุ-6, ความหมายของ การเคลื่อน ในสมาธิ ฌาน และสมาธิ ที่ไม่เรียกว่าฌาน.)

 

ค. อุบัติการณ์ ในธาตุ-6

 

พระพุทธเจ้า ได้บัญญัติ ภาวะร่วมกัน ระหว่าง วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์ ไว้แล้วใน ธาตุ-6.

 

(1) ดิน - ปฐวีธาตุ
(2) น้ำ - อาโปธาตุ
(3) ไฟ - เตโชธาตุ
(4) ลม - วาโยธาตุ
(5) อากาศ* - อากาสธาตุ
(6) วิญญาณ - วิญญาณธาตุ

 

อากาศ คือ ที่ว่าง, นักดาราศาสตร์ หมายถึง อวกาศ หรือ เอกภพ (universe). ผู้เขียน มีความเห็นว่า คำนี้ สื่อความหมาย ได้กว้างหลายกรณี เช่น อากาศ หมายถึง ที่ว่างเปล่า (ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม), อากาศ คือ ที่ตั้งอยู่ของ นิพพานธาตุ, อากาศ เป็น คุณสมบัติของ ทุกขตา, อากาศ ก็คือ อวกาศ นั่นเอง.

 

ธาตุ ในข้อ (1) - (5) เป็นธรรมชาติ ที่จัดอยู่ในฝ่ายวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีวะ เคมี ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ คณิตศาสตร์ จักรวาลวิทยา, เพราะเกี่ยวกับ วัตถุทั้งหมด ที่มันปรากฏอยู่ในพิกัด พื้นที่ และ ปรากฏอยู่ในเวลา.

ธาตุ ในข้อ (6) เป็นธรรมชาติฝ่าย จิตธาตุ ที่ ไม่มีขนาด ไม่มีมวล ไม่มีรูปทรง มิติใดๆ ไม่มีระยะพิกัด และไม่ปรากฏอยู่ ในเวลาจริงโลก.

วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ มี 6 ประเภท คือ การรู้ทางตา (จักขุวิญญาณ) การรู้ทางหู (โสตวิญญาณ) การรู้ทางจมูก (ฆานวิญญาณ) การรู้ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ) การรู้ทางกาย (กายวิญญาณ) และ การรู้ทางใจ (มโนวิญญาณ).

 

วิญญาณ หรือ จิต เมื่อผัสสะ กับ ธัมมะธาตุใด (รูป หรือ เวทนา หรือ สัญญา หรือ สังขาร) จะเกิดการรู้ ได้เพียงคราวละ หนึ่งธัมมะธาตุ เท่านั้น ซึ่งใช้เวลาสั้นมาก (อาจเท่ากับ 10 ยกกำลัง -33 วินาที) แล้วดับสลายไป. แล้วจะมี วิญญาณ อีกดวงหนึ่ง ประพฤติแบบเดียวกัน ต่อๆ กันไป ไม่จบสิ้น. ตถาคต ตรัสการเกิดขึ้น ของวิญญาณ ไว้ว่า "... วิญญาณดวงหนึ่งเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน"

 

โปรดสังเกตว่า วิญญาณ มีพฤติการณ์การเคลื่อน แบบ "กระพริบ" คือ เกิด ดับ เกิด ดับ (มิใช่ หมุน หรือ สั่น ตามกฏฟิสิกส์ แต่ก็คล้าย อนุภาคโฟตอน หรือแสง ที่ส่งเป็นคลื่นออกไป เป็นห้วงๆ เรียกว่า ควอนต้า). ทำให้วิญญาณ มีอวกาศและเวลา ที่เป็นแบบของตัวเอง แตกต่างจาก เวลาและอวกาศ แบบวัตถุธาตุ.

วิญญาณธาตุ จัดว่าเป็นธัมมะธาตุสื่อกลาง ที่เป็นเหตุ ให้เกิดธัมมะธาตุอื่นๆ ของจิต เป็นหมู่ 6 หรือ ชุด 6 เช่น ผัสสะ-6 เวทนา-6 สัญญา-6 อายตนะ-6.

 

ง. การสัมพัทธ์กัน ของ เวลาจินตภาพ (imaginary time) กับ เวลาจริงโลก (real time) ในภวังค์จิต ระดับชั้นต่างๆ

 

 

การเกิด การแปรปรวนเป็นอย่างอื่น การดับสลาย และ การดำรงอยู่ ของธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อากาสธาตุ ดำเนินไปตามเวลาจริงโลก. ส่วน การเกิด-ดับ ของวิญญาณธาตุ จะดำเนินไปตามเวลาจินตภาพ.

เวลาจริงโลก เป็นเวลาที่มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ สามารถรับรู้ได้ เข้าใจได้ เพราะเป็นสิ่งที่กำเนิด คู่กันมา.
เส้นแกนของเวลาจริงโลก จะตั้งในแนวระนาบ (แกน Y) มี 3 กาล คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, แต่เส้นแกนเวลา ของจิตวิญญาณ หรือ เวลาจินตภาพ จะตั้งในแนวดิ่ง (แกน X) ตั้งฉากกับแกน Y มี 3 กาล เช่นกัน คือ อนาคต อดีต ปัจจุบัน. (โปรดสังเกต; การทำงานของจิตหรือวิญญาณ จะเริ่มที่ อนาคต ก่อน ต่อมา อดีต แล้วมาสิ้นสุดที่ ปัจจุบัน)

ทั้งเส้นแกนเวลา X และ เส้นแกนเวลา Y จะมีจุดร่วม "ปัจจุบัน" อันเดียวกัน. แต่เนื่องจาก ปัจจุบันจริงโลก บนแกน Y (เวลาจริงโลก) จะไหลไป ในทิศทางเดียวตลอด ไม่หยุด ทำให้ ปัจจุบันจริงโลก และ ปัจจุบันจินตภาพ ไม่มีตัวตนอยู่จริง (ปัจจุบันไม่สัมบูรณ์). เหตุผลข้อนี้ เป็นไปตามหลัก อนิจจตา-ทุกขตา-อนัตตตา.

ดังนั้น เวลา ในห้วงของ จิตที่ทรงสภาวะ สมาธิ ฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะไหลไป ในแนวดิ่ง ควบคู่ไปกับ ปัจจุบันขณะ ของเวลาจริงโลก ในแนวระนาบ. ทำให้ผู้ทรงสภาวะจิต ในระดับชั้นต่างๆ รู้สึกว่า ในขณะภวังค์ การไหลของเวลา จะช้ามากๆ หรือไม่ก็เร็วมากๆ หรือ เวลาหยุดเดิน (ทั้งที่ความจริง เวลาก็ไหลไปตามปกติ ตามนาฬิกาโลก)

 

 

การทำจิตให้นิ่ง (สมาธิ ฌาน) แต่ยังมีสัญญา (การจำได้ หมายรู้) ในดิน น้ำ ไฟ ลม เรียกว่า ฌาน มี 4 ระดับ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน)

 

การทำจิตให้นิ่ง (สมาธิ ที่ไม่เรียกว่า ฌาน) จนกระทั่ง ดับสัญญาบางส่วน (สมาธิ ที่อยู่เหนือ ฌาน) เข้าถึง อากาสธาตุ (ธาตุ ที่ 5) ว่างๆ และรวมไปถึง อณูของธาตุต่างๆ. ผู้นั้น จะรู้ด้วยตนเองว่า อากาศ (อวกาศ) ไม่มีที่สุด (เหมือนการนั่งยาน ท่องเที่ยวไปใน อวกาศ) เรียก สมาธินี้ว่า "อากาสานัญจายตนะ"

 

การทำจิตให้นิ่ง (สมาธิ ที่ไม่เรียกว่า ฌาน) ซ้อนไปในพื้นที่ของ อากาสานัญจายตนะ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทั่วอวกาศ เอกภพ และลึกลงไปถึงอณูของธาตุต่างๆ รู้หมดสิ้นทุกสิ่ง เท่าที่อยากรู้ (แต่ไม่ใช่ ตรัสรู้) เรียกสมาธินี้ว่า "วิญญานัญจายตนะ"

 

การทำจิตให้นิ่ง (สมาธิ ที่ไม่เรียกว่า ฌาน) ต่อไปอีกเรื่อยๆ ซ้อนไปในพื้นที่ของ วิญญานัญจายตนะ ไปจนสุดขอบจักรวาล หรือขอบเอกภพ (ที่จริง จักรวาล ไม่มี ขอบ แต่มี ขนาด อยู่ขนาดหนึ่ง) จึงรู้ความจริงว่า แท้จริงแล้ว ในจักรวาล และอวกาศใดๆ ไม่มีอะไรเลย (อะไร อะไร ก็ไม่มี) เรียกว่า "อากิญจัญญายตนะ"

 

การทำจิตให้นิ่ง จนกระทั่ง ดับสัญญาทั้งหมด เหลือแต่ วิญญาณ สังขาร. สัตว์ใด ที่ทำจิตให้นิ่ง ในชั้นนี้ จะไม่เรียกว่า สมาธิ ไม่เรียกว่า ฌาน, ตถาคต เรียกว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนะ" หรือ อสัญญีสัตว์. จะมีความรู้สึก หรือไม่มีความรู้สึก ก็บอกไม่ได้ (มีก็ไม่ใช่ ไม่มี ก็ไม่ใช่).

 

มีเพียง สังขารธรรม ระดับมนุษย์ และเทวดา เท่านั้น ที่สามารถเรียนรู้ ปฏิบัติ เข้าถึงภวังค์จิตเหล่านี้ได้, คือ สมาธิ ฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

 

จ. การกระจัด ธาตุ-6 ไปสู่หมู่ธัมมะธาตุอื่น เพื่อการเข้าถึง อมตธรรม.

 

กล่าวได้ว่า ธาตุ-6 ขันธ์-5 และ สัตตะธัมมะธาตุ จะเป็นธัมมะธาตุแกนกลาง หรือ เป็นธัมมะธาตุร่วม สำหรับฝ่ายฟิสิกส์ และฝ่ายจิตวิญญาณ ที่สามารถนำไปกล่าวอ้างอิงได้ เพื่อพิสูจน์ ยืนยัน ตัวตนของวัตถุธาตุ สังขารธรรมทั้งหลาย, ตลอดจน เพื่อการปฏิบัติธรรม และการเข้าถึงอริยธรรม ในระดับชั้นต่างๆ ได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด.

 

 

(1)
ในบรรดา ธาตุ-6, มีอยู่ใน สังขารธรรม ที่ตถาคต เรียกว่า ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และ อากาสธาตุ, ส่วนที่เป็น เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ จัดรวมเป็น วิญญาณธาตุ.

ใน ขันธ์ทั้งห้า (สัพพะภาวะ) เมื่อจะนำเข้าสู่ สมการ "ปฏิจจสมุปบาท" ตถาคต จะแยก วิญญาณขันธ์ (เอกภาวะ) ออกจาก 4 ขันธ์ (นานาภาวะ) เพื่อให้เห็น ภาวะ-สถานะ การเกิด การดับ ของวิญญาณธาตุ ได้ชัดเจนขึ้น.

 

(2)
ในบรรดา ธาตุ-6, ได้ถูกอธิบาย ด้วยหลักสัมพัทธภาพ วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์, ในหนังสือชื่อ สรรพสิ่งสัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ: สัมพัทธภาพ ของ ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์ (The 7-Element: Absolute of Everything), ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง (The Theory explain Everything).

ธัมมะธาตุ 5 คุณสมบัติ ต่อไปนี้
มวล-อนุภาค, แรง-คลื่น, อุณหภูมิ-พลังงาน, มิติ กาลอวกาศ-รูปทรง, วัฏจักร-อนันต์. ก็คือ คำอธิบาย ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อากาสธาตุ.

ส่วน ธัมมะธาตุ อีก 2 คุณสมบัติ คือ นามรูป-วิญญาณ-สังขาร, วิมุตติ-นิพพาน. เป็นคำอธิบาย วิญญาณธาตุ รวมทั้ง ลักษณะและคุณสมบัติร่วม ของ ธาตุ-6.

 

 

(3)
ในบรรดา ธาตุ-6, ได้ถูกระบุไว้ใน กลไกชีวะ (alive mechanics) เพื่อให้ คุณสมบัติ-ลักษณะ ของสรรพสิ่ง อยู่ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน (สัตตะธัมมะธาตุ).

 

กลไกชีวะ เป็นระบบชีวิต ที่ถูกอ้างขึ้น ตามกรอบอ้างอิง 4 ขนาด ได้แก่
(1) ชีวิตจักรวาล-ควอนตัม
(2) ชีวิตจักรกล
(3) ชีวิตแบบโลก
(4) ชีวิตระบบขันธ์-5.

 

กลไกชีวะ เป็นการรวมเอา ธาตุ-6 และ ขันธ์-5 เข้าไว้ เป็นองค์รวมเดียวกัน ให้เป็นระบบชีวิต ที่สามารถอธิบายคำว่า ชีวิตกับสรรพสิ่ง ได้อย่างสมบูรณ์.

กลไกชีวะ- ฟิสิกส์ (bio-physiological) ก็คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อากาศธาตุ, ส่วน กลไกชีวะ-ชีวิต (bio-mechanics) ก็คือ ชีวิตระบบ ขันธ์-5 นั่นเอง.

 

 

(4)
ในบรรดา ธาตุ-6, ก็คือสิ่งเดียวกันกับ สังขารธรรม-6 เพียงแต่มอง ในอีกมุมหนึ่ง. สังขารธรรม-6 ก็คือ ธรรมชาติ 6 ระดับ ที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ได้แก่ วัตถุ, พีชะ, สัตว์, มนุษย์, เทวะ และ ธัมมะ-อสังขตะ.

ในสังขารธรรม ระดับ วัตถุ และ พีชะ คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อากาสธาตุ. ส่วน สัตว์ และ มนุษย์ คือ การรวมธาตุทั้ง 6 ไว้ด้วยกัน (ซึ่งก็คือ ชีวิตระบบขันธ์-5). ในภพมนุษย์ ผู้เขียน เห็นว่า ยังจำเป็นต้องแยก กลุ่ม ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปุถุชน กับ อริยชน. ปุถุชน นับเนื่องรวมกับหมู่ มนุษย์ทั่วไป ส่วน อริยชน แยกไปไว้ใน ธัมมะ-อสังขตะ.

สังขารธรรม ระดับเทวะ (เทวดา และ พรหม) ประกอบด้วยจิตล้วนๆ ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นวัตถุเลย. แต่เทวดา ก็พยายามสร้างวัตถุขึ้นมา เพื่อเสพ, แต่ทำได้เพียง การสมมุติ (เนรมิต) หรือ การปั้น (ปรุงแต่ง - สังขาร) สิ่งนั้น ด้วยใจ ซึ่งก็คือ การทำนาม ให้เป็น รูป นั่นเอง. และเรียกสิ่งที่ถูกปั้นนั้นว่า สิ่งอันเป็นทิพย์, เช่น ม้าทิพย์ นางทิพย์ รถทิพย์ อาหารทิพย์ เป็นต้น.

สังขารธรรม ระดับ ธัมมะ-อสังขตะ
หมายถึง พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึง พระอนาคามี พระสกทาคามี และ พระโสดาบัน. บุคคลผู้ ธัมมะ-อสังขตะ ที่อาศัย ธาตุทั้ง 6 ก็มี, ที่อาศัย ธาตุ 2 คือ อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ ก็มี. (ความจริง คือ อาศัย วิญญาณธาตุ อย่างเดียว แต่วิญญาณธาตุ มีพันธะและขอบเขต ทับซ้อน ผสมร่วมกันกับ อากาสธาตุ จึงทำให้ทั้ง วิญญาณธาตุ และ อากาสธาตุ เป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน)

บุคคลผู้ ธัมมะ-อสังขตะ สามารถดำรงสภาวะ ได้ 2 สถานะ คือ มนุษย์โลก และ เทวดา. พระอรหันต์ ที่เป็นมนุษย์และยังไม่ตาย เรียกว่า ผู้มี สอุปาทิเสสะนิพพานธาตุ. พระอนาคามี ผู้เกิดในภพเทวดาชั้นพรหม อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะบรรลุอรหัตผล ในชั้นพรหม และจะปรินิพพานในชั้นพรหม. พระสกทาคามี ผู้เกิดมาอีกครั้งเดียว ในภพเทวดา (ชั้นกามภพ) แล้วจะบรรลุอรหัตผล ในภพของเทวดา. พระโสดาบัน ผู้เกิดมาอีกครั้งเดียว ในโลกมนุษย์ แล้วจะบรรลุอรหัตผล, แต่ถ้ายังมีเศษเหลือ ก็จะไปเวียนเกิดอีกไม่เกินสามครั้ง หรือไม่เกินเจ็ดครั้ง ในโลกมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง แล้วจะบรรลุอรหัตผล.

 

 

(5)
ในบรรดา ธาตุ-6, จัดเป็นธรรมชาติ ฝ่ายสมมุติ (สังขตธรรม) มีพฤติการณ์ เป็นวัฏจักร คือ มีการเกิด (อุปฺปาโท ปญฺญายติ) แล้ววิวัฒน์ ไปสู่การเสื่อม (วโย ปญฺญายติ) และเสื่อมต่อเนื่อง ไปเป็นอย่างอื่น (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ) หรือ ดับสลายจากสิ่งหนึ่ง ไปอุบัติเกิดเป็น อีกสิ่งหนึ่ง ในรอบถัดไป.

การเกิดขึ้นของเอกภพ หรือ บิ๊กแบง อนุภาค อะตอม ธาตุต่างๆ ตลอดจน ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ วัตถุ คลื่น แสง แรง พลังงาน ความร้อน การเคลื่อน อวกาศ และ เวลา ก็คือ การอุบัติเกิด ธาตุ-6 นั่นเอง, โดยเฉพาะ สิ่งที่บรรจุ อยู่ใน อากาสธาตุ ล้วนแต่เป็น สิ่งที่มนุษย์อยากได้ใคร่รู้ มานานนับอสงไขย.

ในอากาสธาตุ ประกอบด้วย เวลา สังสารวัฏ และ วิญญาณ (อีกนัยหนึ่ง กล่าวว่า อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป มีอยู๋เช่นนั้นเอง ใน อากาสธาตุ). ในอากาสธาตุ นอกจากเป็นที่แสดงของ สังขตะลักษณะแห่งสังขตะธรรม แล้ว (ธรรมชาติ ฝ่ายสมมุติ/ปรุงแต่ง) ยังเป็นที่ตั้งที่อาศัยของ สังขตะลักษณะแห่งอสังขตะธรรม (ธรรมชาติ ฝ่ายปรมัตถ์/ไม่มีการปรุงแต่ง) อีกด้วย.

นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นธัมมะธาตุใดๆ (นามรูป | รูปนาม | สรรพสิ่ง) หรือแม้แต่ ธาตุทั้ง 6, ขันธ์-5, สังขารธรรม-6, กลไกชีวะ, สัตตะธัมมะธาตุ, อุปาทายรูป-24, และ รวมถึง นิพพานธาตุ ก็ยังต้องอาศัย อากาสธาตุเป็นเขตแดน. หรือเป็น กรอบแสดง (monitor) อยู่นั่นเอง.

 

ฉ. บทสรุป

 

“วิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาความแก่ ความเจ็บป่วย และทุกขภาพ. ลัทธิ ความเชื่อ แก้ปัญหาการตาย และหลังการตาย. พุทธศาสน์ แก้ปัญหาการเกิด อันเป็นต้นเหตุของ แก่ เจ็บ ตาย.”

 

ตถาคต ถือกำเนิดมาในโลกมนุษย์ เพื่อทำสิ่งเดียว คือ "ตรัสรู้" อริยสัจสี่, ความจริงที่จะทำให้ สัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมาแล้ว ไม่ต้องเวียนกลับมาเกิดอีก. ด้วยเหตุนี้ พระองค์ จึงได้ชื่อเรียกขานว่า "ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ"

สิ่งที่ตถาคต ตรัสรู้ ไม่ได้อยู่ที่ใด, ไม่ได้อยู่ในอวกาศ ในเอกภพ, ไม่ได้อยู่ที่ดาวฤกษ์ หรือดาวเคราะห์ ดวงไหน, ไม่ได้อยู่ในภวังค์จิต, ไม่ต้องนั่งยานชนิดใดๆ ไป. แต่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ นี่แหละ.

 

ก่อนที่เราจะเรียนรู้ความจริง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้, ก่อนที่เราจะเลื่อมใส เชื่อถือ และ ศรัทธา ในคำตรัสรู้ของพระศาสดา จนเราเกิดความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ ถูกต้องแล้ว. เราก็ไปหลงระเริง ยินดีกับ ความรู้ที่ติดหนึบ และวนเวียนอยู่กับ เรื่องของวัตถุ และเราก็หลงใหล ต้องมนต์เสน่ห์ ในรสอร่อย (อัสสาทะ) ของมัน จนถึงกับ มอบกายถวายชีวิต ทั้งชีวิต เพื่อศึกษาและเรียนรู้มัน. เราเชื่อ และศรัทธามัน อย่างเหนียวแน่น และให้เกียรติ ยกย่อง เรียกมันว่า วิทยาการ. ซึ่งถูกสถาปนา ให้เป็นศาสตร์แขนงเอก หรือเป็นศาสตร์ 2 แขนง อันเป็นต้นกำเนิด วิทยาศาสตร์ และ สังคมศาสตร์.

 

เราไว้วางใจโดยดุษฎี ในศาสตร์ต้นกำเนิด ทั้ง 2 แขนง, ยอมแลกด้วยเวลา ชีวิต และทรัพย์สิน เงินทอง อย่างไร้ข้อกังขา เพื่อรับแลกเอาใบประกาศ. แม้มันจะทำให้ บางคนร่ำรวย ได้ยศ บรรดาศักดิ์ ได้ตำแหน่ง ได้รับการนับถือ ก็ตาม. แต่เมื่อ ชีวิตดำเนิน มาถึงช่วงปลาย ของชีวิต, กลับทำให้ผู้นั้น คิดขึ้นได้ว่า สาระแท้จริง ของชีวิตที่เกิดมา คือ ความรู้ในความจริง ที่จะทำให้หลีกพ้นไปจาก ความตาย ความทุกข์ เจ็บป่วย นั่นต่างหาก.

ความรู้ ที่เล่าเรียน ที่เชื่อ ตามๆ กันมา ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ ได้เลย, กลับสร้างความทุกข์ ทับถมทวี ให้แก่ตัวเอง และครอบครัว มาก หนักขึ้นทุกเวลา นาที.

 

เมื่อเรายังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ย่อมประมาทในวัย ประมาทในเวลา จึงสั่งสมขยะชีวิต ไว้มากมาย. แต่เมื่อเรารู้สึกตัว เมื่อถึงช่วงปลายชีวิต เราก็พร้อมที่จะยอมเสีย ยอมสละ ปลดปล่อยวางอดีต ที่รกเลอะไปด้วยขยะ ความรู้เลอะเทอะ สร้างความขุ่นมัว ให้แก่จิตใจ ออกไป. แล้ว หักเหพฤติกรรม หันหน้าสู่เส้นทาง ที่ตถาคต ตรัสรู้

 

การตัดสินใจ เข้าสู่โหมดโลกุตตระ จำเป็นต้อง กลับทิศ หรืออาจต้อง "หักดิบ" เดินหน้าเต็มกำลัง (เท่าที่มี ในวัยสังขาร) ด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธา ในทฤษฎีแห่งอมตธรรม. นั่นคือ วิถีธรรมชาติ วิถีชีวิต ที่ดำเนินไปถูกทางแล้ว.

 

วิถีทางนี้, เราต้องอาศัย ธาตุ-6 ขันธ์-5 สัตตะธัมมะธาตุ เป็นที่ประกอบร่าง รูปทรง, เป็นองค์อวตาร ในการแสดงพฤติการณ์ต่างๆ, เป็นเครื่องจักรกลในการแสดงออก ซึ่งเจตนา (กรรม), เป็นอุปกรณ์ สำหรับจัดเก็บ ผลผลิตของกรรม (วิบาก), เป็นเครื่องกำเนิด แรงทางจิตทั้งสี่ (เจตนา-มนสิการ, ทิฐิ-ปัญญา, สติ-สมาธิ-ฌาน, กรรม-วิบาก).

 

“กฎธรรมชาติ สร้าง สังขตาธาตุ ขึ้นมาในเอกภพ แต่ ตถาคต สร้าง นิพพานธาตุ ขึ้นมาในปัจจุบัน”

 

 

ตถาคต ตรัส ชี้ บอก แล้วว่า สิ่งนี้ มีอยู่จริง "... สิ่งสิ่งหนึ่ง ที่บุคคลพึงรู้แจ้ง, เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่. ในสิ่งนั้นนั่นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจหยั่งลงได้, ในสิ่งนั้นนั่นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่อาจหยั่งลงได้, ในสิ่งนั้นนั่นแหละ นามรูป (ขันธ์-5) ดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ, นามรูป ดับสนิทในสิ่งนี้ เพราะการดับสนิท ของวิญญาณ ดังนี้." (บาลี - สี. ที. 9/289/348.

 

คำว่า "สิ่ง" ในพุทธวจน ข้างต้น พระองค์ หมายถึง วิมุตติ-นิพพาน.
นั่นหมายความว่า การบรรลุธรรมวิเศษ (วิมุตติ-นิพพาน) นั้น ทำได้หลายวิธี ในภพชาติมนุษย์ แต่ต้องภายใต้หลักการ และทฤษฎี "อิทัปปัจจยตา-ปฏิจจสมุปบาท-อริยสัจสี่."

ในจักรวาลนี้ จะไม่มีสิ่งใด หยุดนิ่ง. แม้แต่ ตวามตาย. ตายแล้ว ย่อมเคลื่อน ไปสู่ การเกิด ในรอบถัดไป ในทันที. หน้าที่ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ในครั้งเดียวหนนี้ ต้องให้คุ้มค่า ครั้งถัดไป ที่จะได้ภพมนุษย์อีกนั้น ยากมาก.

พวก อลัชชี ทรราช นักการเมืองโกง โจร คนริษยา ผู้ทรงธรรม นักบวช เทวดา เปรต สัตว์โลก สัตว์นรก, ล้วน มีวงจร เกิด-ตาย ที่เป็นของตนเอง. ผู้มีปัญญา ย่อมไม่ไปทุกข์กังวล ในกรรม และวิบาก ของคนอื่น. เพราะ กรรม ของผู้อื่น ไม่สามารถ ช่วยอะไรเราได้เลย.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า,
นักวิชาการ สัมพัทธภาพ วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์
และ ศิลปิน ด้านวรรณกรรม.

แหล่งอ้างอิง: สรรพสิ่งสัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ (The 7-Element: Absolute of Everything)

2 เมษายน 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด: มหาบุรุษ บุรุษ วีรบุรุษ

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วยพยุงชาติ ไม่ให้ล่มจม หลังระบอบทักษิณ กำลังกลืนกิน ประเทศ. นับเป็น ความชอบอันกล้าหาญ ที่น่ายกย่อง ดุจ "วีรบุรุษ." แต่ก็เป็น ความผิดพลาดร้ายแรง ที่ต้องลดคำว่า วีรบุรุษ ลงมา เหลือแค่ "บุรุษ" เพราะ ไม่ใช้ อำนาจเต็ม ที่มีในขณะนั้น "ปฏิรูปประเทศ" ก่อนเข้าสู่ การเมือง ในระบอบเลือกตั้ง*. เพราะ เมื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการเมือง, การยืนข้าง ประชาชน ทำได้แค่ 25% เท่านั้น.

ในประวัติศาสตร์, ไม่มี นักการเมือง คนใดเลย ที่ทำเพื่อ ประชาชน เกิน 50% - เมื่อเทียบสัดส่วน 'รายได้' กับ (การฉวย) 'โอกาส'. วิเคราะห์ดูเถิด ว่าเท็จจริง อย่างไร!

คุณค่า ความน่าเชื่อถือ ของท่าน จากวีรบุรุษ ค่อยๆ ลดลง เหลือแค่ "ษุรุษ" และสุดท้าย คือ "หลุด" ไปจาก ความทรงจำ ของคนดี ที่จงรักภักดี รักชาติ รักแผ่นดิน รักสถาบัน.

วาทะเด็ด ที่ว่า "ถ้าผมไม่ทำ แล้วใครจะทำ" ในอดีต มันจะกลับมาทำร้ายท่าน ในปัจจุบัน และในอนาคต.

"เป็นนักการเมือง พูดกลับกลอก โกหก ตอแหล ได้, แต่นั่น ไม่ใช่วิสัย ของ วีรบุรุษ"

- ปราชญ์นิรนาม.

มีเพียงหนทางเดียว ที่จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนได้อย่าง สง่างาม เป็น "วีรบุรุษ" ทั้งในวันนี้ และ ในอนาคต คือ อย่าปล่อยให้ "ถ้าผมไม่ทำ แล้วใครจะทำ" เป็นแค่ วาทะกรรม.

หรือ จะปล่อย ลอยแพให้ท่านเลือกเส้นทาง ... ผมพอแล้ว แก่แล้ว ไม่เอาแล้ว ... นั่นเท่ากับว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา "หลุด" ออกจากวงจร วีรบุรุษ ไปจริงๆ. แล้วประเทศไทย ก็วนเข้าสู่ วงโคจรอุบาทว์ ในรอบถัดไป.

อย่าเพิ่งเชื่อ สิ่งนี้! เพราะ อารมณ์ พาไป. ถ้าท่าน ยังไม่คิด ใคร่ครวญ ด้วยเหตุผล.

เมื่อ สิ่งนี้ มี, สิ่งนี้ ย่อมมี.
เมื่อ สิ่งนี้ เกิดขึ้น, สิ่งนี้ ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อ สิ่งนี้ ไม่มี, สิ่งนี้ ย่อม ไม่มี.
เมื่อ สิ่งนี้ ดับไป, สิ่งนี้ ย่อมดับสลายไป.

[แท้จริงแล้ว, ไม่มีเนื้อแท้ ของระบอบประชาธิปไตย ในโลก มีแต่ ระบอบเลือกตั้ง]

18 มีนาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด: 5 วุฒิภาวะ ชี้วัด คนดี คนเลว.

โดย ปรุง สีงา

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า เคยห้ามเหล่าพระญาติ อย่าทำสงครามกันเลย. แต่พวกเขา ก็ไม่ฟัง, เพราะ "อำนาจ" มันมีอิทธิพล เหนือกว่า "ศรัทธา" พระศาสดา ทรงห้ามถึง 4-5 ครั้ง ก็ไร้ผล. แล้วจะทำอย่างไรได้ เอ๊า! จะรบกัน ก็ ... ตามนั้น. และแล้ว สงคราม ก็เกิดขึ้น จนได้.

ยุคปัจจุบัน, ไม่มีใคร ศรัทธาใคร. มีแต่ ใครมีอิทธิพล เหนือใคร. แล้วจะทำ อย่างไรได้ล่ะ?

...

ถ้าคนที่รู้ตัวว่า เป็นคนดีจริง, ต้องแสดงพลังแห่งความดี สู้กัน. หากอยู่เฉย "รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี" คงจะไม่ได้. เพราะคนชั่ว ที่เข้าใจว่า ตนเอง เป็นคนดี มักแสดง ชั่วออกมา ตลอดเวลา

สิ่งบ่งบอก ดี-เลว พื้นๆ ดูได้ที่คำพูด. ด่า หยาบคาย ไร้ตรรกะ หรือตรรกะบิดเบี้ยว.

วุฒิภาวะ ที่แยกให้เห็น คนดี คนเลว คือ

#วุฒิภาวะทางอารมณ์ ได้
#วุฒิภาวะทางตรรกะเหตุผล
#วุฒิภาวะทางจริยธรรม-ศีลธรรม
#วุฒิภาวะทางการเมือง
#วุฒิภาวะความชอบธรรม-ยุติธรรม

-ไร้วุฒิภาวะทางอารมณ์, ไม่มั่นคง นิดหน่อย ก็ดราม่า ขัดใจหน่อย ก็บูลลี่ แหกปากโวยวาย.

-ไร้วุฒิภาวะตรรกะเหตุผล, เชื่อและยอมรับเฉพาะ เหตุการณ์-บุคคล ที่ตนเอง ได้ประโยชน์.

-ไร้วุฒิภาวะทางจริยธรรม-ศีลธรรม, เมื่อเห็น คนอื่น ดีกว่าตน ย่อมรู้สึก ไม่สบายใจ (ริษยา). และ เมื่อตน ได้เปรียบ คนอื่นแล้ว รู้สึก พอใจ (โกง).

-ไร้วุฒิภาวะทางการเมือง, คิดจะทำอะไรก็ได้ ตามใจตัว. ประชาชน ก็แค่ข้ออ้าง ให้ตนรู้สึก ชอบธรรม.

-ไร้วุฒิภาวะความชอบธรรม-ยุติธรรม, คือ เบ่ง "อำนาจ" จนไปเบียด "จริยธรรม-ศีลธรรม" และ เบียด "กฎหมาย-นิติธรรม"

อย่าให้ 5-วุฒิภาวะ มาทำลาย คุณค่า ของคนดี ก็แล้วกัน.

ปรุง สีงา
12 กุมภาพันธ์ 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด: ความชอบธรรม ในฐานันดรทั้งหก อยู่ที่ไหน?

โดย ปราชญ์นิรนาม

สิ่งที่ บุคคลใน ฐานันดรที่หนึ่ง (ผู้สอนศาสนา) และ ฐานันดรที่สอง (ผู้มีอำนาจ-ปกครอง) กระทำต่อ ฐานันดรที่สาม - ฐานันดรที่หก. ควรพิจารณา สำนึก ไว้ตลอดเวลา คือ ความชอบธรรม ที่ต้อง ดำรงไว้ ในสังคม ให้มากที่สุด.

(1) ฐานันดรที่หนึ่ง - ผู้สอนศาสนา ในทุกศาสนา.

(2) ฐานันดรที่สอง - ผู้มีอำนาจ-ปกครอง, คนทำสื่อ.

(3) ฐานันดรที่สาม - ผู้แทน, ผู้ทำการแลกเปลี่ยน, ผู้ประกอบการค้าขาย การขนส่ง.

(3) ฐานันดรที่สี่ - ผู้ปฎิบัติ, ผู้ใช้แรงงาน.

(5) ฐานันดรที่ห้า - เด็ก, คนแก่, คนป่วย, คนพิการ, คนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ.

(6) ฐานันดรจัณฑาล - คนขี้เกียจ และ คนขี้โกง.

 

 

 

 

ปัจจัย ความชอบธรรม 3 ข้อ -

จริยธรรม ศีลธรรม
กฎหมาย นิติธรรม
อำนาจ

 

สามปัจจัยนี้ ผู้อยู่ในฐานันดรระดับบน ต้องรู้จักใช้ ต้องยืดหยุ่น ให้เหมาะกับ สถานการณ์ ทุกข์-ปัญหา ที่เกิดขึ้น.

ถ้าใช้เกณฑ์ หลักจริยธรรม มากเกินไป ย่อมกระทบกับ อำนาจ และหลักกฎหมาย, อาจส่งผลให้ คนไม่เชื่อถือ กฎหมาย ไม่ไว้วางใจ อำนาจ.

ถ้าจะใช้เกณฑ์ หลักกฎหมาย เคร่งครัด มากเกินไป ย่อมกระทบกับ จริยธรรม และ อำนาจ.

ถ้าจะใช้เกณฑ์ อำนาจ ในการตัดสิน เด็ดขาด เกินไป ย่อมกระทบกับ จริยธรรม และหลักกฎหมาย.

เส้นสีน้ำเงิน คือ ความพอดี ในการใช้ ปัจจัย ทั้งสาม, ส่วนเส้นประ เป็นภาวะ ของการ “ใส่เกียร์ว่าง” ของผู้มีหน้าที่ ไม่ทำอะไรเลย.

สมมุติ ให้ความชอบมธรรม มีพื้นที่ = 360 องศา, หากลด องศาที่มุม คู่ใดคู่หนึ่ง เพื่อให้ ด้านใดด้านหนึ่ง โน้มเข้าหา จุดความชอบธรรม ย่อมทำให้ ด้านทั้งสอง ที่อยู่ตรงข้าม ห่างออกไปจาก จุดความชอบธรรม ทั้งนี้ เพื่อรักษา สมการพื้นที่ 360 องศา เอาไว้.


26 กุมภาพันธ์ 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



บทความ:

การสร้างเซฟโซน รองรับกาสิโน และหวยใต้ดิน ทำได้แค่ไหน กับบริบทความเหลื่อมล้ำ ของสังคมไทย

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

ประเทศไทย มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ในอัตราที่สูง. หรือกล่าวได้ว่า ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจน สูงมาก. สังเกตได้จาก อสังหาริมทรัพย์ เงินในบัญชี มูลค่าหุ้น ของกลุ่มคนรวย ในประเทศ (นี่เป็นเพียงข้อมูลที่เปิดเผยได้เท่านั้น สำหรับเศรษฐีบางคน ยังมีข้อมูลที่ถูกปิดบังไว้ อีกมากมาย) เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มคนชั้นกลาง และคนยากจน มีสัดส่วนที่ห่างกันมากมาย. ความเหลื่อมล้ำเช่นนี้ เป็นเหตุให้เกิด แนวคิด การสร้างอาณาเขตสิทธิเฉพาะ เพื่อประกันความปลอดภัย ให้แก่กิจกรรม ของคนบางกลุ่ม หรือ ที่เรียกว่า "เซฟโซน" (safe zone)[*].

[*อันที่จริง คำว่า safe zone น่าจะมีความหมายสัมพัทธ กับคำว่า save zone คือ บริเวณที่มีการปกป้อง สถานะอันร่ำรวย ของเศรษฐี]

เซฟโซน จะประกันความปลอดภัย ในเรื่องอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับว่า เซฟโซนนั้น ประกอบกิจกรรมอะไร. ในที่นี้ จะพูดถึงประเด็นที่มีผู้เสนอให้รัฐบาลเปิดเสรี บ่อนกาสิโน และ หวยใต้ดิน ให้ถูกกฎหมาย. จึงเกิดคำถามว่า ในบริบทของสังคมไทย ทำได้แค่ไหน? แนวคิดการเปิดบ่อนเสรี เริ่มมีมาเรื่อยๆ แต่มาพูดกันมากขึ้นในช่วง หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง. ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อ เป็นการหาเงินมาเพื่อทดแทนรายได้ของรัฐ จากการกู้เงิน มาแก้ไข เยียวยา ให้แก่ผู้ประสบภัยโรคระบาด โดยไม่ต้องเก็บภาษีเงินได้ ที่เคยทำกันเป็นปกติทุกปี. สังคมไทย มีการเชื่อมโยงกัน ในหลายมิติ. การจัดการด้วยวิถีทางกฏหมาย หรือการใช้อำนาจ เพียงด้านเดียว อาจส่งผลกระทบกับมิติอื่น ที่อ่อนไหวกว่า.

การเปิดเสรี บ่อน หวย และการพนันแบบอื่น ให้ถูกต้องตามกฏหมาย ในเขตเซฟโซน ดูจะเป็นมุมมองที่ดี ในเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาล จำเป็นต้องหาเงิน มาชดเชยให้แก่เงินคงคลัง (วิธีหาเงินของรัฐบาล) เป็นการมองมิติด้านกฏหมาย เพียงด้านเดียว และค่อนข้างมักง่าย. ด้วยเหตุผลว่าเป็นวิธีการที่ง่าย เหมือนคว้าของใกล้มือไว้ก่อน โดยไม่ได้มองถึงผลกระทบ ในระยะยาว ที่มีต่อความอ่อนไหวด้านสังคม และจุดอ่อนในเชิงการใช้อำนาจ ของผู้ปฏิบัติ.

 

คำถาม 6 ข้อ ที่รัฐบาลต้องมีคำตอบ

ก่อนอื่น ต้องมีคำตอบที่ชัดเจน ในคำถาม 6 ข้อ ต่อไปนี้ ก่อนจะคิดดำริ กระทำการ ในสิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ของประเทศไทย ในอนาคต.

คำถาม ข้อ (1) เซฟโซน ทำได้จริงหรือ?

การปกป้อง ให้มีเฉพาะนักพนันต่างชาติเท่านั้น เข้าบ่อนได้ เหมือนปิดประตูตีแมว หรือ ล่อเสือให้มาติดกับ. อาจไม่ใช่ปัญหา สำหรับผู้เข้าบ่อน แต่ผู้ก่อปัญหา กลับเป็นผู้เกี่ยวข้องฝ่ายไทยด้วยกันเอง ที่จัดสรรประโยชน์ไม่ลงตัว. ความเหลื่อมล้ำในการใช้อำนาจ (ลูบหน้าปะจมูก) จะยังคงเป็นอุปสรรค ในการกำหนดเขตปลอดภัย สำหรับแหล่งการพนัน โดยเฉพาะหวยใต้ดิน. อาจกล่าวได้ว่า กาสิโน เป็นแหล่งหากินของ คนรวย หวย เป็นแหล่งหากินของ คนจน. ผู้มีหน้าที่ปราบปราม บ่อนเถื่อน หวยเถื่อน บางกลุ่ม บางสี บางคน ยังคงหากิน และมีรายได้ (ที่ตรวจสอบไม่ได้) อยู่กับการพนัน หวยเถื่อน และสิ่งผิดกฏหมายอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วทุกตำบล ในรูปแบบของ "ส่วย" การฟอกเงินที่ผิดกฏหมาย ในบ่อนการพนัน กลายเป็นสิ่งที่ตำรวจ จับต้องไม่ได้.

ประเทศสิงคโปร์ เปิดบ่อนการพนันถูกกฏหมายได้ อนุญาตเฉพาะชาวต่างชาติ เข้าไปเล่น และประเทศไทย คิดจะเลียนแบบนั้น. การบังคับใช้กฏหมายของ ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย มีความเด็ดขาด มีสิทธิชอบธรรม มีอำนาจและความเท่าเทียม แค่ไหน เพียงไร หรือยังต้องรับคำสั่งจากใคร ที่อยู่เหนือกว่า. นั่นคือ สิ่งที่แตกต่างจาก เจ้าหน้าที่ของสิงคโปร์.

คำถาม ข้อ (2) แน่ใจหรือว่า จะเก็บภาษีการพนัน จากคนเล่นได้ ในเกณฑ์ที่พอใจ.

ก็เพราะความเหลื่อมล้ำ ในอำนาจ แบบลูบหน้าปะจมูกนั่นแหละ คืออุปสรรคใหญ่. อาจกลายเป็นว่า การเปิดบ่อนเสรี ก็ไม่ต่างกับการ "เตะหมู เข้าปากหมา" ปรากฏการณ์ ที่เปรียบเปรยว่า "โปลิศจับตำรวจ" จะเป็นแค่ละครฉากหนึ่งเท่านั้น ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนวงใน ตกลงแบ่งปันประโยชน์กัน อย่าทะเลาะกันให้เป็นข่าว. เกรงว่า นี่คือแหล่งส้องสุมอิทธิพล ของเจ้าพ่อ และนักการเมือง รุ่นต่อไป ที่ไม่ต้องไปเล่นไกลในต่างประเทศ เพราะมันตั้งอยู่ในบ้าน.

คำถาม ข้อ (3) การนำสิ่งผิดปกติ และขัดแย้งกับศีลธรรม ขึ้นมารับรอง ให้เป็นสิ่งถูกต้องในสังคม เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ.

ในสังคมไทย ยังมีสิ่งผิดกฏหมายอีกมากมาย (ตามแบบนิสัยคนไทย) ที่ยังแอบซุกซ่อน ทำกันอยู่ แต่กลับถูกละเลย จากเจ้าหน้าที่. ก็จะถือโอกาส ออกมาเรียกร้อง ให้รัฐบาล ออกกฏหมายรับรองบ้าง เช่น โสเภณีตีทะเบียน การเล่นพนันในงานศพ การพนันบอล ตู้เกมออนไลน์ ฯลฯ. คิดดูเถิด เรื่องวิปลาศเช่นนี้ อาจเกิดขึ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เช่นเดียวกับ ที่มีกลุ่มคน กล่าวจาบจ้วง อาฆาตองค์พระมหากษัตริย์ ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบเกือบร้อยปี.

คำถาม ข้อ (4) หวยใต้ดิน (และแม้หวยรัฐบาล) มีความซับซ้อน ในเชิงอำนาจ และการแบ่งสรรรายได้ แน่ใจหรือว่า จะเก็บภาษีจากหวยใต้ดิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซนต์.

อาจเกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกับ ข้อ (2) ก็เป็นได้. การกล่าวว่า นี่มิใช่เป็นการมอมเมาประชาชน เพราะโดยปกติ คนก็เล่นหวยกันเป็นประจำอยู่แล้ว. สิ่งนี้ ไม่ควรหลุดออกมาจากปาก ของคนชนชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม เพราะมันส่อให้เห็น ความตื้นเขิน ในเหตุผลและการขาดจิตสำนึกทางศีลธรรม และขาดวุฒิภาวะความชอบธรรม. หากจะเปรียบเทียบว่า หนุ่มผู้หนึ่ง มาขอสาวแต่งงาน โดยยื่นข้อเสนอว่า ตนขอมีภรรยาลับๆ ได้หรือไม่ เพราะโดยปกติ ตนก็มีหญิงอื่น คอยรับบริการอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว, คิดดูเถิด เหตุผลเช่นนี้ สมควรจะหลุดออกมา จากปากของหนุ่มคนนี้หรือไม่.

สิ่งผิดปกติ ผิดกฏหมาย ผิดศีลธรรม มันมีอยู่เป็นปกติในสังคมอยู่แล้ว จะห้ามปราม จะปราบ ก็คงไม่หมดไปจากสังคมได้ง่ายๆ. ทำได้ดีที่สุด ก็เพียงแค่บรรเทา ไม่ให้มันก่อปัญหารุนแรงขึ้น เท่านั้น. ดังนั้น พฤติการณ์ "แมวไล่จับหนู" ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไป ในวงการพนัน. นี่คือ ภารกิจของตำรวจ และเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องถือปฏิบัติต่อไป. คิดดูเถิด หากสังคมไทย มีแต่คนดี รักษาศีล ไม่มีโจร ไม่มีคนร้าย แล้วจะมีตำรวจไว้ทำไม.

คำถาม ข้อ (5) พระสงฆ์ครอบครองเงิน ถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ มีกระจายอยู่ทั่วไป ในทุกวงการ เช่น บ่อนพนัน หวย กีฬา ยาเสพติด การค้ามนุษย์ การทุจริตคอรัปชั่น ไม่เว้นแม้แต่ ในวงการพระสงฆ์. หากมีการตรวจสอบบัญชีทางการเงิน ของพระสงฆ์ หรือ องค์กรสงฆ์ วัดต่างๆ ต่างสะสมเงินในบัญชี มากมายมหาศาล เมื่อเทียบกับวิถีชีวิตสันโดษ ของนักบวชแล้ว พระจึงไม่มีความจำเป็น ในการสะสมเงินทอง มากมายเช่นนั้น และเงินรายได้เหล่านี้ ส่วนหนึ่งได้มาจากการบริจาคโดยสัทธา ส่่วนหนึ่งได้มาจาก ภาคธุรกิจของวัด หรือองค์กรสงฆ์ และส่วนหนึ่ง ได้มาอย่างลับๆ ไร้หลักฐานแหล่งที่มา. เงินรายได้ทั้งสามส่วน มีการเสียภาษีให้แก่รัฐน้อยมาก หรือเกือบไม่มีการเสียภาษีเลย. นอกจากนี้ เมื่อพระลาสิกขาไปแล้ว ยังคงลักลอบนำทรัพย์สิน เงินทอง ที่เก็บสะสมไว้ ติดตัวออกไป ไร้การตรวจสอบ. นี่ถือเป็นการละเลยทั้งทางภาครัฐ และประชาชน ที่ถูกฝังความเชื่อผิดๆ ของฝ่ายศาสนาว่า เงินทำบุญ ที่ให้แล้ว ให้เลย ไม่คิดจะเรียกร้องเอาคืน หรือตรวจสอบย้อนหลัง เพราะถ้าทำเช่นนั้น ถือว่าเป็น "บาป". ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น คือการหลอกลวงว่า เงิน สามารถซื้อสวรรค์ ซื้อนิพพาน ได้ เสมือน "ตั๋วช้าง" สำหรับการเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ในแดนนิพพาน. กลุ่มพระสงฆ์ ที่ทำสิ่งเลวร้ายเช่นนี้ ในทางกฏหมาย ก็ยังไม่สามารถเข้าไปเอาผิด จับกุมได้ เสมือนกลุ่มแกงค์อิทธิพล ที่มี "ตั๋วช้าง" สำหรับพิทักษ์ปกป้อง อาณาจักรของตน ให้อยู่เหนือกฏหมายได้.

มีผู้รู้กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลมีวิธีการ นำเงินรายได้จากวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ออกมาได้ ก็จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคนไทย และยกระดับคนยากจน ให้พ้นเส้นความยกจนได้. นั่นเท่ากับว่า เป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ อย่างได้ผลและรวดเร็ว. อย่างน้อย ก็เป็นเงินเยียวยาประชาชน สำหรับสู้ภัยโรคระบาดได้ โดยไม่ต้องไปเสียเวลา กู้เงินมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้. แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่ว่า จะมีรัฐบาลไหนกล้าทำ.

คำถาม ข้อ (6) ผู้เรียกร้องให้เปิดเสรีบ่อน เขาจะได้อะไร สังคมจะได้อะไร

กลุ่มคนที่มีเงินได้สูง (มีทั้งที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมาย) รวมทั้ง กลุ่มเศรษฐี อภิมหาเศรษฐี (ซึ่งมีจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพล ในเชิงปริมาณ). การเรียกร้อง ให้เปิดบ่อนเสรี มักมาจากคนกลุ่มนี้ ซึ่งนอกจาก จะมีอิทธิพลทางการเงินแล้ว ยังส่งอิทธิพล ต่อการใช้อำนาจทางการเมืองอีกด้วย ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม. (1) จะเชื่อได้อย่างไรว่า หากคนกลุ่มนี้ สูญเสียประโยชน์ จากการบริหารงานของรัฐบาล (ที่/ถ้า ยืนอยู่ข้างคนจน) และไม่เอื้อประโยชน์ฝ่ายตน หรือกระทำการขัดขวาง พฤติกรรมผิดกฎหมายของฝ่ายตน จะไม่สร้างความปั่นป่วน ให้แก่รัฐบาล. และ (2) จะเชื่อได้อย่างไรว่า ในเซฟโซน จะไม่มีการฟอกเงิน ที่มาจากการค้าสิ่งผิดกฏหมาย ค้าสิ่งเสพติด ค้ามนุษย์ ค้าส่วย.

หากจะอ้างว่า ประเทศนี้ ทุกคน ย่อมมีเสรีประชาธิปไตย ในการสร้างความร่ำรวยให้แก่ตน หากเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล. ถ้าเช่นนั้น คนจน คนด้อยโอกาส ก็คงจะเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถไปทั้งหมด เช่นนั้นหรือ? อย่าลืมว่า ทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิทางกฎหมาย ความเคารพนับถือ ความมั่นคง สวัสดิการ ความปลอดภัย นั้น ถือเป็นความต้องการพื้นฐาน ในฐานะมนุษย์ ที่รัฐพึงรับรองและมีหน้าที่เฉลี่ยและกระจายไป ให้แก่ประชาชนทุกคน ในประเทศ อย่างเท่าเทียม (ที่สุด เท่าที่จะทำได้). แต่กลับต้องถูกกลุ่มคนร่ำรวย (ซึ่งมีจำนวนน้อยนิด) ฉกฉวยเอาไปเป็นสิทธิของคน จนไม่เพียงพอ ต่อคนทั้งประเทศ นั่นแหละคือที่มา ของความยากจน.

 

ทางออกของปัญหา

(1) หากรัฐ สามารถตอบโจทย์ ทั้ง 6 ข้อนั้นได้ และให้ความมั่นใจ อย่างเป็นรูปธรรม ก็อาจเปิดเสรีได้ เป็นการนำร่อง และมีการติดตาม ศึกษาผลกระทบอย่างใกล้ชิด.

(2) การทำประชามติ เรื่องการเอาสิ่งผิดปกติ มาเป็นสิ่งปกตินั้น ไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน. และขัดแย้งต่อเจตนารมย์ ในการเป็นองค์กรรัฐ ที่ต้องมุ่งพิทักษ์ ความดี ความถูกต้อง ชอบธรรม ให้พ้นจากความชั่วร้าย ผิดศีลธรรมจรรยา. หากทำลงไป ก็คือรัฐเถื่อน ประชาคมโลก คงไม่ยอมรับคบค้าสมาคมด้วย.

แต่ต้องระลึกความจริงไว้เสมอว่า เรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา ไม่ควรนำวิธีการโหวต ตามแบบประชาธิปไตย ว่าสิ่งใดทำได้ หรือทำไม่ได้. ต้องใช้หลักคำสอนของศาสนา มาเป็นเกณฑ์ ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ. ถ้าเช่นนั้น ลูกสาว 3 คน คงจะชนะโหวต พ่อแม่ ในการขอมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ชาย ก่อนวัยอันควร. และ พระสงฆ์ทั้งประเทศ คงจงชนะโหวต พระสงฆ์ส่วนน้อย ในการครอบครองเงิน ได้ตามชอบใจ โดยไม่ผิดพระธรรมวินัย. เหตุการณ์อุบาทว์แบบนี้ อาจเกิดขึ้นสักวัน ในประเทศไทย หากรัฐบาล และชนชั้นนำ ยังปล่อยปละละเลย ให้มีการละเมิดกฏศีลธรรม อย่างออกหน้าออกตา โดยใช้ระบบประชาธิปไตย เป็นข้ออ้าง.

(3) ทำไมไม่ผลักดัน วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง. เพื่อสู้และถ่วงดุลย์ กับระบบทุนนิยม-เสรีนิยม-บริโภคนิยม เพราะระบบทุน มันได้ถูกแปลงไปเพื่อ สนองผลประโยชน์ของบรรดาพวกเศรษฐี มากกว่ากลุ่มคนระดับกลาง และกลุ่มคนจน.

แท้จริงแล้ว ระบบทุนนิยมดั้งเดิม จะไม่เอาเปรียบธรรมชาติ และไม่เอาเปรียบคนด้วยกันเอง แต่จะสร้างผลประโยชน์ ที่อำนวยประโยชน์แก่ คนทุกระดับ เท่าที่ฐานทรัพยากรมีอยู่ (ไม่ใช่สวาปาม - mass consumption) และ มีการสร้างทรัพยากร ทดแทนในส่วนที่ถูกใช้ไป. ระบบทุนที่เรารับรู้ เราเห็น ทุกวันนี้ มันถูกแปลงเป็น ทุนสามานย์ ไปแล้ว มุ่งการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จึงสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำ ให้แก่ทุกประเทศ ที่ดำเนินนโยบาย ภายใต้ทุนนิยมสามานย์ แม้จะเป็นสามานย์อ่อนๆ ก็ตาม (ทุนสามานย์ซ่อนเร้น).

(4) ความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาที่ "สะสม" มาทุกยุคสมัย ไม่ว่าผู้ใด หรือใคร จะขึ้นมาเป็นรัฐบาล. ความเหลื่อมล้ำ ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของประเทศ (จากการเก็บภาษี) ที่มีรัฐบาลอยู่ข้างคนร่ำรวย. ขณะที่ประเทศเข้าสู่ภาวะ การขาดแคลนเงินหมุนเวียน แต่กลุ่มคนรวย กลับมีภาวะตรงกันข้าม. นั่นแหละ คือที่มาของ การเอารัดเอาเปรียบของ กลุ่มคนรวย เช่น ปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาแพงซ้ำซาก.

 

ปัญหาสะสม ต้องใช้เวลาสะสาง

ประเทศไทย มีรายจ่ายสะสมเยอะ คงต้องใช้เวลาอีกนาน ในการชดใช้. ดังนั้น การจัดหาเงินทุนหมุนเวียนของประเทศ ในสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ของคนในประเทศ จึงต้องอาศัยระยะเวลาอีกนาน นับทศวรรษ. อย่าลืมว่า

(1) รายจ่ายของรัฐ มีทั้งส่วนสูญเปล่า อันเกิดจากการทุจริตของคนในรัฐบาล และข้าราชการ ที่สะสมมาแต่ในอดีต และที่มีในปัจจุบัน ซึ่งรอหลักฐานเอาผิด, (อาจเรียกว่า "ทุจริตรอหลักฐาน" ทำนองเดียวกับ "น้ำท่วมรอระบาย"). เช่น การชดใช้หนี้เงินทุจริต โครงการรับจำนำข้าว และ "เงินค่าโง่" ต่างๆ ที่เกิดจาก คนในรัฐบาลก่อน กระทำไว้.

(2) รายจ่ายของรัฐ ที่สูญเสียไปกับ โครงการประเภทเพื่อการหาเสียง ของนักการเมือง.

(3) รายจ่ายของรัฐ ที่สูญเสียไปกับซ่อมบำรุง ดูแล สาธารณะสมบัติ อันเกิดจาก ความไม่รับผิดชอบ ของฝ่ายประชาชนเอง. เพราะมีทัศนะเชิงลบ มานานว่า สิ่งนั้นคือ "ของหลวง" ไม่ใช่ "ของตน" จึงไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ หรือแม้จะฉวยเอามาเป็นของตน เมื่อใดก็ได้.

(4) อำนาจรัฐ ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ นายกรัฐมนตรีคนเดียว หรือคณะรัฐมนตรี ที่มีแนวคิด ความต้องการแตกต่างกัน (รัฐบาลผสม) แต่ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภา ร่วมด้วย. นั่นหมายถึงว่า แม้เราจะมีนายกรัฐมนตรีที่ดี อยากจะตัดสินใจทำในสิ่งที่เห็นว่า ควรทำ เพื่อประโยชน์ของประชาชน (ต้องการอยู่ข้างคนส่วนใหญ่ ที่เป็นคนด้อยโอกาส) ก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่นัก.

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย นับจากนี้แล้วนับย้อนหลังไป 4 หรือ 5 ทศวรรษ จะมีรัฐบาลผสมแบบนี้ทุกรัฐบาล แม้จะเป็นรัฐบาลที่บริหารโดยผู้เผด็จการก็ตาม. ดังนั้น การแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ ที่สะสมมาอย่างยาวนาน จึงไม่อาจกระทำได้โดยง่าย และโดยไว เท่านั้นปี เท่านี้ปี ก็ไม่อาจนับได้. จึงต้องทำแบบค่อยเป็น ค่อยไป สำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง. จนเกิดผลแห่งลักษณะ "ลูบหน้าปะจมูก" ให้เห็นอยู่ทุกครั้ง เมื่อมีการแถลงผลของการแก้ปัญหาใดๆ, คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมต้องสูญเสีย. การลูบหน้าปะจมูก ส่อให้เกิดปัญหา แต่ยังไม่แสดงอาการ เพราะต่างฝ่ายต่าง "ทนกันได้" เพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ และสถานะของตน เป็นการรักษาดุลแห่งผลประโยชน์ ร่วมกัน. ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ สาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากรูปแบบการปกครอง และวัฒนธรรม การใช้อำนาจ และการประสานผลประโยชน์ร่วมกัน, ที่ไม่เหมือนประเทศใดในโลก ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะประเทศไทย.

การสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ จึงไม่อาจกระทำได้ ด้วยวิถีทางของหลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม ที่ผ่านการเล่าเรียนและปฏิบัติกันมา อย่างยาวนาน. โดยพื้นฐานแล้ว ย่อมต้องอาศัยปัจจัย ด้านความมั่นคงทางสังคมและศีลธรรม และ ความมั่นคงทางด้านการเมืองร่วมด้วย.

ข้อสรุป ที่จำต้องยอมรับ

วันนี้ สังคมไทย ได้รับความบอบช้ำจาก การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม-บริโภคนิยม มานานนับศตวรรษ. ถ้าเป็นคน ก็จะมองเห็นร่องรอยแผลเป็น ไปทั่วลำตัว แต่คนคนนั้น ก็ยังมีชีวิตอยู่รอดแบบบอบช้ำ จนคิดว่า รอยแผลเป็น นั้นคงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ในวิถีชีวิตไปเสียแล้ว. จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เพราะเหตุใด คนไทยหลายส่วน จึงยังเข้าไม่ถึง ปรัชญาเศรษฐกิจการพึ่งพาตนเอง เพราะรูปแบบ วิถีที่ทุนนิยม-บริโภคนิยม หยิบยื่นให้นั้น มันอร่อยกว่า ทันสมัยกว่า. ศาสตร์พระราชา ก็เป็นแค่ "ความรู้สึก" ที่เคยภักดี ที่รอวันลืมเลือนหายไป.

รัฐบาล มีสิทธิและอำนาจ ที่จะบริหารประเทศไปในแนวทางใดก็ได้ ที่จะทำให้ดูไม่น่าเกลียดมากนัก. อาจจะมีผู้แทนบางคน นักวิชการบางกลุ่ม คิดอุตริแปลกแยก มองว่า กาสิโน หวยใต้ดิน บ่อนเถื่อน การค้าโสเภณี นั้น ไม่ใช่สิ่งแปลกแยกไปจากชีวิตมนุษย์ มันได้กลายเป็น วิถีชีวิตคนไทย ไปเสียแล้ว. โชคร้ายสำหรับประเทศไทย ที่มีผู้แทนและนักวิชาการ ที่มีแนวคิดเชิงลบ และจิตใฝ่ต่ำแบบนี้ อยู่ในสภา และในมหาวิทาลัย. แทนที่จะช่วยยกระดับคุณภาพ ทางจิตวิญญาณ กลับซ้ำเติมให้ตกต่ำไปกว่าเดิม.

ให้น่าเป็นห่วงคุณภาพ ของชนชั้นผู้นำ ระดับแนวหน้าของประเทศว่า, อีกไม่นาน ก็คงอุตริ จัญไร เรียกร้องให้เปิดเสรีค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน อาวุธเถื่อน ค้าส่วย ค้าสิ่งเสพติด ได้อย่างออกหน้าออกตา, นั่นแหละ ฝันร้ายชัดๆ.

 

สู่ดิน ชาวหินฟ้า
4 มีนาคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


 


เวทีความคิด:

คนดู มักเก่งกว่า นักมวย, คนด่า มักเก่งกว่า คนทำ

โดย ปรุง สีงา

สิบห้าปีก่อน ทุกท่าน คงจำได้. รัฐบาลจากนักการเมือง ได้สร้างผลงานเด่นดัง จนฝังใจคนไทย ไม่รู้ลืม คือ สร้างสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จ, ออกนโยบายจำนำข้าว สร้างความหวัง ให้ชาวนา มันดูดีมากๆ แต่ดันทุจริต มโหฬาร, เกิดความเสียหาย? หลายแสนล้าน? จนทำให้อดีตนายกหนีคดี. ทิ้งขว้าง ลอยแพ สมุนรับใช้ ทั้งที่เป็นนักการเมือง? นักธุรกิจ ต้องติดคุกแทน หลายคน. ทั้งที่ท่านเหล่านั้น มาจากรัฐบาลประชาธิปไตย.

รัฐบาลทหาร จึงเข้ายึดอำนาจ จากนักการเมืองทุจริต พวกนั้น และนำมาสู่การเลือกตั้ง จนเป็นรัฐบาลชุดปัจจุปัน. และมีผลงาน (บางส่วน) ชัดเจน เช่น การวางระบบคมนาคม การประกันสุขภาพ.?

ส่วนเรื่องทุจริต แบบชัดชัด เห็นกันจะแจ้ง, ฝ่ายค้านยังไม่สามารถจับผิดได้. ถ้าจับผิดได้ แบบคดีจำนำข้าว แล้วละก็.

รับรองเลยว่า รัฐบาลล้ม แน่นอน.

การอ้าง ความยึดโยงกับประชาชน? ผ่านการเลือกตั้ง. ไม่ได้เป็น หลักประกันว่า ประชาธิปไตย ไร้เผด็จการ จะทุจริตไม่ได้ หรือ โกง ไม่ได้ หรือ จะทำให้คนทุกคน รวยเท่าๆ กันได้.

ไม่ว่ารัฐบาลใหน ย่อมถูกรุมกระทืบ เรื่องเศรษฐกิจ ทุกรัฐบาล.

ประเทศไทย เป็นสังคม "ลูบหน้าปะจมูก" ทำถูกใจฝ่ายหนึ่ง ก็ผิดใจอีกฝ่ายหนึ่ง. ก็เลยเป็นช่อง ให้ถูกรุมด่า พาทัวร์ลง ได้ทุกวี่ทุกวัน นั่นแหละน่า.

ดังนั้น ใครก็ตาม ไม่ว่าจะอาชีพอะไร มีศาสดาใด เป็นอาจารย์ เป็นทหาร เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ นักการเมือง และ สารพัดนัก ... เมื่อแปลงร่าง มาเป็น รัฐบาลเต็มตัว จะโดยวิธีเลือกตั้ง หรือ ลากตั้ง หรือ เผด็จการ.

เราๆ ท่านๆ ก็อย่าได้ไว้วางใจ.

รัฐบาลไหน?ทุจริต ก็เป็นรัฐบาลเลวเหมือนกัน ทั้งนั้นแหละ.

รัฐบาลเผด็จการ อาจมีการทุจริตก็ได้?. ก็เป็นหน้าที่ ของ ฝ่ายค้าน ที่จะต้องตรวจสอบ. รวมทั้ง ประชาชน และ สื่อมวลชน ต้องช่วยกันติดตามดูด้วย.

ทำดี ก็บอกว่าดี ให้กำลังใจ, ทำไม่ดี ก็ชี้แนะ ไม่ดียังไง. รู้แล้ว ต้องชี้. ส่วนพวก “ไม่รู้ ไม่ชี” น่ะ ดีแล้ว. เพราะถ้า ไม่รู้ แล้วเสือกชีี้ เหมือนนักการเมือง หัวหน้าแก๊งค์ชูสามนิ้ว, มันจะยุ่งไปกันใหญ่.

อย่ามัวแต่ ด่าเอามัน ด่าตามกระแส รับแชร์มา ถูกใจ แล้วแชร์ด่าต่อ ตามอารมณ์ริษยา พยาบาท เพราะเหตุที่รัฐบาล ทำไม่ถูกใจตัว โดยไม่ดู ไม่ฟังเหตุผลใดๆ เลยนั้น.

คนด่า ก็ระยำไม่แพ้ พวกอันธพาล.

เที่ยวโพสต์ด่า นายกโง่
ทำอวดโชว์ ฉลาดกว่า
ถ้าเขาโง่ จริงดังว่า
เหตุใดหว่า จึงอยู่ทน

คนโง่ อวดฉลาด
ชอบด่ากราด ขาดเหตุผล
ฉลาดจริง ต้องนิ่งทน
ดูที่ผล คนทำงาน.

ยุคนี้มี ปัญหาใหญ่
ให้คนไทย ร่วมประสาน
มือไม่พาย ก็อย่าร่าน
เอาตีนค้าน ต้านเรือไหล

ทำด้วยมือ ย่อมลำบาก
ทำด้วยปาก ยากหรือไร
หยุดก่นด่า ประเทศไทย
หยุดสาวไส้ ให้กากิน.

ปรุง สีงา
28 มกราคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



เวทีความคิด:

ส่งต่อ ความโง่ ให้เพื่อน เพื่อแลกกับ ความหวังดี.

ขออภัย! ถ้าท่านนับถือศาสนา พราหมณ์ คริสต์ อิสลาม หรือลัทธิอื่น ที่ไม่ใช่ ศาสนาพุทธ, โปรดข้ามไป เพราะอาจทำให้ท่าน ไม่สบายใจ. ส่วนท่านใด ที่เป็นชาวพุทธ โปรดพิจารณา โดยแยบคาย (โยนิโส มนสิการ เป็นอย่างดี). ถ้าหวังใน สุคติ สวรรค์ นิพพาน.

#อย่าส่งต่อความโง่ให้พื่อนเพื่อแลกกับความหวังดี

(๑) ส่งต่อ “ความโง่” ให้เพื่อน เพื่อแลกกับ “ความหวังดี”

เห็นผู้หวังดี แชร์สิ่งนี้ ไปทั่วสังคมออนไลน์. เรามาวิเคราะห์ดูกันว่า มันเป็นความ 'โง่' หรือ 'หวังดี' กันแน่!

“ปะโต เมตัง ปะระชีวินัง สุขะโต จุติ จิตตะ เมตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ

(คาถาพยายม ประชุมกับ พระอินทร์ พระพรหม ให้มีคาถาบทนี้ ไว้ช่วยคน ให้รอดพ้นจาก 'ความทุกข์ยาก ลำบาก')

ให้บอกต่อ อย่าหวง อย่าเอาแต่ตัวเองรอดนะ คนที่กำลัง ทุกข์ยาก เมื่อได้เห็นได้อ่านคาถานี้ เขาจะได้ บรรเทาเบาบาง. บอกต่อเพื่อน 29 คน จะเห็นผลทันตา”

ใครก็ตาม ที่ท่องคาถานี้ จะได้รับผล 'เห็นผลทันตา' อย่างนั้นหรือ? ทำไม ต้อง 29 คน 1 คน 28 คน 30 คน หรือ 100 คน ไม่ได้หรือ?

ถ้าเช่นนั้น ...

-คาถานี้ สามารถป้องกัน covid-19 ได้ ไปไหนมาไหน ไม่ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' ... ชัวร์เหรอ?

-เด็กที่กำลังร้องไห้ งอแง แสดงว่า กำลังตกอยู่ในภาวะ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' ถ้าท่องคาถานี้แล้ว จะหยุดร้องทันที ... ชัวร์เหรอ?

-ใครที่ซื้อหวย งวดหน้า ก็จะ ไม่ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' ถ้าท่องคาถานี้ ตอนที่ฟังผลการออกสลาก จะถูกหวย ... ชัวร์เหรอ?

-คนที่กำลังเจ็บป่วย ปวดโน่น นั่น นี่ จะไม่ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' จะหายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถ้าหยุดท่อง ก็จะกลับมาปวดอีก ... ชัวร์เหรอ?

-ถ้าใครไม่ท่องคาถานี้ จะ 'จน' และจะ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' ตลอดไป ... ชัวร์เหรอ?

-คนฉลาด รู้ว่า ความ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' เป็นกรรมเก่าก็ใช่ เป็นกรรมใหม่ก็ใช่. การท่องบ่น สวด อ้อนวอน ร้องขอ อำนาจดลบันดาล ให้ความ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' นั้นหายไป ย่อมไม่มีผล ขัดแย้งกับคำสอนของพระศาสดา.

-คนโง่ ไม่ฉลาดในการหาเงิน ย่อมมีความ 'ทุกข์ยาก ลำบาก' ถ้าท่องคาถานี้ และส่งต่อให้เพื่อน ทุกข์ ยาก จะสลายไป ... ชัวร์เหรอ?

(2) สิ่งนี้ ส่งต่อ "ปัญญา" ให้เพื่อน เพื่อดวงตา เห็นธรรม

การหยุดส่งต่อ คาถาข้างบนนั่น ต่างหาก เป็นความฉลาด ไม่ใช่เห็นแก่ตัว เพราะเหตุว่า "ส่งความเท็จ ให้เพื่อน ก็เหมือน หลอกเพื่อน ให้มาภักดี"

พุทธวจนคาถา -
"อุปปาโท ปัญญายติ
วโย ปัญญายติ
ฐิตัสสะ อัญญถัตตัง ปัญญายติ"
[บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.]

"อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ."
[บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔.]

ใครก็ตาม ที่ท่องคาถานี้ จะได้รับผลดังนี้

-เกิด ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ นำไปสู่ การเห็น ความจริงแท้ ของชีวิต.

-จะได้ มโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity) เป็นเครื่องมือ ในการวิเคราะห์ สรุปผล ข้อมูล ข่าวสาร บน ไลน์ เฟซ นสพ. ได้ตรง จริง.

-ถ้าในระหว่างตาย (รู้ตัวว่า จะตาย) หรือ ก่อนตาย ท่องบทนี้ อย่างมีสติ จิตจะไปสู่สุคติ.

-ความทุกข์ยาก ลำบาก ทุกคน จะต้องได้รับแน่นอน ไม่เกี่ยวกับคาถาบทนี้ แต่มันเกี่ยวกับ กรรม และวิบากของท่านเอง.

-ท่านจะอยู่กับ ความทุกข์ยาก ลำบาก ได้อย่าง ไม่ยาก ไม่ลำบาก.

-โชค ลาภ ร่ำรวย ที่จะได้รับ ก็ไม่เกี่ยวกับคาถาบทนี้ เช่นกัน. แต่มันเกี่ยวกับ 'ความพยายาม' 'โอกาส' 'ความพอเหมาะ' และ 'น้ำใจ' ที่มีในตัวของท่านเอง

ไม่มีอำนาจใด ดลบันดาลให้ได้.
ถ้าใครๆ ขอแล้วได้ สิ่งนั้น ... แล้วจะมีใคร เสื่อมจากอะไรได้เล่า!
ถ้าใครๆ ขอแล้วได้ สิ่งนั้น ... แล้วจะมีใคร เสื่อมจากอะไรได้เล่า!
ถ้าใครๆ ขอแล้วได้ สิ่งนั้น ... แล้วจะมีใคร เสื่อมจากอะไรได้เล่า!

#พุทธวจน -
"... (สำหรับผู้ที่) เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้ ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น* สมณ-พราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ และความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)” ดังนี้ มีอยู่.

(ครั้นแล้ว) เรา (ตถาคต) เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความ ที่เขายังยืนยันอยู่ ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องเป็นเพราะ การเนรมิตของอิศวรด้วย (ล่ะซิ?).

เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญ ดังนี้แล้ว คนเหล่านั้น ก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำ ในข้อที่ว่า 'สิ่งนี้ควรทำ' 'สิ่งนี้ไม่ควรทำ' อีกต่อไป.

เมื่อกรณียกิจ (สิ่งที่ควรทำ) และ อกรณียกิจ (สิ่งที่ไม่ควรทำ) ไม่ถูกทำ หรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่า เป็น 'สมณะอย่างชอบธรรม' ได้” ดังนี้.

(สรุปก็คือว่า ถ้าเป็นพระ ยังถือ ยังพิธีลัทธิของพวกพราหมณ์ อยู่ ก็ไม่ใช่ พระในพระพุทธศาสนา นั่นเอง.)

[ที่มา: ความเข้าใจผิดเรื่องกรรม 3 แบบ ที่อริยบุคคลจะต้องละได้ - บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.]

*ลัทธิทั้ง ๓ เป็นลัทธิของพราหมณ์ ได้แก่

ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว
ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้
ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดขึ้นเองลอยๆ ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย.

จริงใจ ไมตรี สำนึกดี ขอบคุณ
-บุตร แห่ง ตถาคต อรหันตะสัมมาสัมพุทธะ-

17 มกราคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



เวทีความคิด:

ผมว่า ผมเริ่มฉลาด ก็วันนี้เอง

โดย ปรุง สีงา

เพิ่งรู้ว่า ต้นเหตุของบ่อนพนัน
ที่แท้ก็คือ เงินสด นี่เอง.
ไม่ใช่คนเล่น
ไม่ใช่เจ้าของบ่อน
ไม่ใช่ตำรวจ ผู้รีดส่วย

ตามหาที่มาของเงินสด ให้เจอ
แล้วยึด เอามา ช่วยแก้ปัญหาสังคม บรรเทา ความเดือดร้อน ช่วง โควิด ระบาด ก็ได้.

นายกฯ สั่งการเลยครับ.

ส่วนคนเล่น ผมว่าไม่ต้องจับ ก็ได้ (ถ้าทำได้นะ) ยึดเฉพาะ เงิน (รวมทั้ง ทรัพย์ที่เอามาเล่น). ดูซิว่า เมื่อไม่มีเงิน จะเอาอะไรมาเล่นพนัน ...

เพราะ จับ รื้อ บ่อนหนึ่ง ก็จะมีอีกบ่อน เกิดขึ้น ลอยมา แล้วก็ ลอยไป. ที่เรียกว่า บ่อนลอย นั่นแหละ. เพราะ นักพนัน มันอยากเล่น ตลอดเวลา มันก็หาที่เล่น เรื่อยไป.

แต่ถ้า ไม่มีเงินเล่น ก็จบ.

ก็เหมือน เมาแล้วขับ นั่นแหละ. จับ เหล้า ดีกว่า จับคนเมา. เพราะคนดื่มเหล้า เมาทุกคน, (มีใครมั่งวะ กินเหล้าแล้ว ไม่เมา)

แต่ เหล้า ไม่ใช่คน, อ้าวเฮ้ย!
แล้ว จะจับใคร?

ปัญหาใหญ่ ละสิ!! ...

ครั้น จะจับ คนผลิตเหล้า แต่คิดดูแล้ว คนผลิตเหล้า มันใหญ่กว่า คนจับ. นี่หละ ปัญหาใหญ่.

ปรุง สีงา
15 มกราคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]



เวทีความคิด:

ท่านทราบหรือไม่ว่า เทวดา อยากฟังธรรม (สวด สาธยาย) ของใคร?

โดย สู่ดิน ชาวหินฟ้า

เทวดา ชอบฟัง คำของ ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มากที่สุด. เพราะ มีเพียง คำตรัสรู้ ของ พระองค์ เท่านั้น ที่จะทำให้ เทวดาเหล่านั้น พ้นทุกข์ และ บรรลุธรรมได้.

ดังนั้น บทสวด มี่ท่านใช้ ท่านสวด บทของใคร. ถ้าไม่ใช่ คำตรัสรู้ ของพระศาสดา เทวดาจะฟังรึ! เกรงจะเสียเวลาเปล่า.

บท คำตรัส ที่ตถาคต พูดบ่อยมากที่สุด คือ อิทัปปัจจยตา, ปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจสี่.

คาถา สู้กับ ความเจ็บป๋วย.

ยามเจ็บไข้ ใช้ได้ผล
ไม่ใช่กล หลอกเล่น ให้ตลก
เป็นข้ออรรถ ตรัสไว้ ให้สาวก
ป้องจิตตก ผกสู้ โรคายัง

เบญจขันธ์ มันเอียง ไม่เที่ยงแท้
เบญจขันธ์ มันก็แค่ เป็นทุกขัง
เบญจขันธ์ มันเป็น สิ่งผุพัง
เบญจขันธ์ มันเป็นดั่ง อนัตตา

เบญจขันธ์ มันเป็น เช่นนั้นหละ
เนตัง มะมะ มิใช่ของ เราหรอกหนา
เนโสหะ มัสสมิ นั่นก็ใช่ จะเอามา
ยึดเป็นของ ของข้า ไม่บรรเทา

น เมโส อัตตา อย่ายึดมั่น
ขันธ์ห้านั่น มิใช่ ตัวเราเขา
วางเสียได้ โรคร้าย ในกายเรา
จักบรรเทา เจ็บสาหัส ในบัดดล.

คาถาเต็ม:

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
- เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
- เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
- เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
- เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

สัพเพ สังขารา อนิจจา,
สัพเพ สังขารา ทุกขา,
สัพเพ ธัมมา อนัตตา.

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง,
สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์,
ธรรมทั้งหลาย มิใช่ตัวตน.

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็น ทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็น อนัตตา.

สิ่งใด เป็น อนัตตา สิ่งนั้น คือ
เนตัง มะมะ; นั่นไม่ใช่ ของเรา,
เนโสหะ มัสสมิ; นั่นไม่ใช่ เป็นเรา,
น เมโส อัตตา; นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา.

จบ.

เมื่อสิ่งนี้มี - ปล่อย คลาย ปล่อย ว่าง ปล่อย วาง. สิ่งนี้ ย่อมมี - อุเบกขา ในเวทนา. ชีวิต ก็เหมือน ขันธ์-5, เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ก็เสื่อม. ขันธ์-5 ไม่ใช่ของ ของเรา, ขันธ์-5 ไม่ใช่ เป็นเรา, ขันธ์-5 ไม่ใช่ ตัวตน ของเรา. อย่าไปคาดหวังว่า มันจะอยู่กับเรา ตลอดกาล.

ด้วยความอาทร ขอให้สู้ กับความเจ็บป่วย ได้ไม่ยากไม่ลำบาก. ให้นำบทสาธยายธรรม บทนี้ ให้คนป๋วย ฟังตลอดเวลา ซ้ำไปซ้ำมา อย่าหยุด.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า
14 มกราคม 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]


thinking focus new idea today
  คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net

   


 

 

บทความ: ชื่อบทความ

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า ปรุง สีงา

 

ปรุง สีงา
00 มิ.ย. 2564

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]