igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียน นิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 


ประมวลศัพท์ และ คำสำคัญ

 

(ก) ลำดับชั้นความสำคัญของคำ (hierachical levels of words)

 

ลำดับความหมายบนสุด ใช้แทนกันได้:-

 

สรรพสิ่ง (everything)
ทุกๆ สิ่ง ที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จัก. ทุกๆ สิ่งนั้น มีทั้งเกิดปรากฏ มีการเสื่อมสลาย และมีทั้งที่ไม่ประกฏการเกิด ไม่ปรากฏการเสื่อมสลาย.

 

ธัมมะธาตุ (mental-data element)
มีความหมายเดียวกันกับ สรรพสิ่ง ใช้แทนความหมายกันได้. ธัมมะธาตุ หมายถึง สรรพสิ่ง ที่ถูกจัดวางลักษณะและคุณสมบัติ แยกเป็น 7 ข้อ คือ มวล – อนุภาค, แรง – คลื่น, อุณหภูมิ – พลังงาน, มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง, วัฏจักร – อนันต์, นามรูป – วิญญาณ – สังขาร, วิมุตติ – นิพพาน.

 

สังขารธรรม (formative phenomena)
สรรพสิ่ง ที่ถูกจัดกลุ่มวรรณะ ออกเป็น 6 วรรณะ คือ วัตถุธาตุ (matter) พีชะ (plantea) สัตว์ (animality | beast) มนุษย์ (human being) เทพ (God | super human) ธัมมะ – อสังขตะ (the unconditioned to appear).

 

ลำดับรอง :-

 

กลไกชีวะ (bio-mechanics | bio-physiological)
เป็นการมองภาพกว้างสุด ของปรากฏการณ์ของสรรพสิ่ง หรือ ธัมมะธาตุ ในรูปของกระบวนการ ที่ก่อให้เกิดการคลื่อนที่ เคลื่อนไหว (หมุน หรือ สั่น หรือ ย้ายตำแหน่ง). ไม่ว่าธัมมะธาตุนั้น จะมีลักษณะ ขนาด รูปทรง หรือคุณสมบัติแบบใดๆ ก็ตาม. กลไกชีวะ แบ่งสังขารธรรม ออกเป็น 2 ประเภท คือ กลไกชีวะ – ฟิสิกส์ (bio-mechanics) และ กลไกชีวะ – ชีวิต (bio-physiological). เมื่อมีการจัดขนาดของกลไกชีวะแล้ว จะแบ่งชีวิตได้เป็น 4 ขนาด คือ ชีวิตจักรวาล – ควอนตัม, ชีวิตจักรกล, ชีวิตแบบโลก, และ ชีวิตระบบขันธ์-5.

 

 

วัตถุธาตุ (material element) –
จิตธาตุ
(mental element)
ธัมมะธาตุ ที่ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 คือ วัตถุธาตุ มีลักษณะทางกายภาพ (physical) ตามกฎ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์, จิตธาตุ มีลักษณะ ผูกติดอารมณ์ เกิด – ดับ ตลอดเวลา และ เปลี่ยนแปลง เร็ว. สังขารธรรม 6 วรรณะ, อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป, กลไกชีวะ มีคุณสมบัติ ร่วมกัน แต่มีคุณสมบัติทางจิตธาตุแยกกัน.

 

สังขตธรรม (conditioned) –
อสังขตธรรม
(unconditioned)
ธัมมะธาตุ อันเป็นเสมือน ‘ต้นธาตุ ต้นธรรม' (origins) ของธรรมชาติ. สังขตาธาตุ เป็นธัมมะธาตุ ฝ่ายสังขตธรรม มีลักษณะ และคุณสมบัติตรงกันข้ามกับ อสังขตาธาตุ ซึ่งเป็นธัมมธาตุ ฝ่ายอสังขตธรรม.

 

อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
กลุ่มของธัมมะธาตุ ที่มีอยู่แล้วเป็นธรรมดาเช่นนั้นเองในธรรมชาติ และเป็นต้นกำเนิดของทุกๆ สิ่ง. สามารถแปลงคุณสมบัติและสถานะกลับกันไปมา ระหว่าง อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป เช่นเดียวกัน สสาร พลังงาน หรือ มวล – พลังงาน.

 

เอกภพ | จักรวาล (Universe)
คำว่า จักรวาล (cosmos) หมายถึงเอกภพ ซึ่งอยู่ภาวะที่เป็นระบบระเบียบ และซับซ้อน เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ ความยุ่งเหยิง (chaos). เอกภพ หมายรวมถึงทุกสิ่งที่เกิดหลังบิ๊กแบง มาจนกระทั่งปัจจุบัน. คำที่ใช้แทนกันได้ : ธรรมชาติ (nature) โลก (world). พุทธศาสน์ ใช้ว่า ‘ที่สุดแห่งโลก' หรือ ‘โลกธาตุ'

 

ลำดับความหมาย ที่เป็นองค์ประกอบ :-

 

ลักษณะ – สมบัติ (distinguishing quality)
เป็นการบอกเล่า รูปแบบ โครงสร้าง เนื้อหาสาระ ตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆ ของธัมมะธาตุทุกชนิดที่กล่าวอ้าง. ธัมมะธาตุใด ที่ถูกกล่าวขึ้น หรือถูกค้นพบ จะต้องบอกลักษณะและสมบัติ ของตัวมันเองได้ เช่น ตารางธาตุของอะตอม คู่ของควาร์ก กระบวนการ จิต มโน วิญญาณ เป็นต้น. ลักษณะ – สมบัติมูลฐาน ของธัมมะธาตุ แบ่งออกเป็น 7 ประการ.

 

กฎของเวลา (Rule of Time)
กฎทั่วไปของเวลากล่าวไว้ว่า “ถ้าปราศจาก มวล ก็ปราศจาก เวลา” “เวลา มีการเดินทาง และมีทิศทาง” “เวลา ดำรงอยู่ในมิติ 3 กาล คือ อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต” และ “เวลาดำรงอยู่ เพราะมีการรับรู้” เวลา เป็นธัมมะธาตุเพียงชนิดเดียว ที่เป็นองค์ประกอบร่วม กับธัมมะธาตุทุกชนิด. เวลา จึงมีการสัมพัทธกับ อวกาศ แสง และความโน้มถ่วงเสมอ.

 

กฎแห่งนิรันดร์ (Forever Rules)
กฎธรรมชาติหนึ่ง ที่ควบคุมค่าอนันต์ (infinity) ของสังขตธรรม และวัฏจักรการเกิด การเสื่อมของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ( ขันธ์-5) มีอยู่แล้วเช่นนั้นเป็นนิรันดร์ ในจักรวาล. กฎแห่งนิรันดร์ ทำหน้าที่ร่วมกับ กฎของเวลา และกฎสมดุล.

 

กฎสมดุล (Rules of Balance)
ทำหน้าที่รองรับความแตกต่างกันของธัมมะธาตุทั้งมวล (ที่แตกต่างกัน ทั้งคุณสมบัติและอาการ) และสนับสนุนกฎธรรมชาติอื่นๆ ทุกกฎ ให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้. กฎสมดุล กล่าวไว้ว่า “ปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้เกิดความสมดุล คือ ความเสถียร แรงกระทำ และ จุด ศูนย์ถ่วง” กฎสมดุล แบ่งสถานะภาพของสมดุลออกเป็น 3 ด้าน คือ สมดุลทางกลศาสตร์ สมดุลทางสังคมและมนุษย์ และสมดุลทางจิตธาตุ. หลักสมดุลทางฟิสิกส์ (principle of equivalence) จะทำให้กรอบอ้างอิงเฉื่อยท้องถิ่น ณ บริเวณที่มีแรงโน้มถ่วง มีรูปแบบเดียวกัน กับ กรอบอ้างอิงเฉื่อยที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง.

 

กฎของเวลา กฎแห่งนิรันดร์ และ กฎสมดุล เป็นกฎที่มีลำดับความสำคัญต่อองค์ประกอบต่างๆ ของธัมมะธาตุ อย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน.

 

(ข) ฟิสิกส์

 

กฎฟิสิกส์ (laws of physics)
หลักพื้นฐานทางธรรมชาติของวัตถุธาตุในเอกภพ ว่ามีพฤติกรรมอย่างไร อาจมาจากการอนุมาน เชิงตรรกะและเชิงคณิตศาสตร์.

 

กฎฟิสิกส์แบบนิวโทเนียน (Newtonian laws of physics)
หรือ กลศาสตร์ของนิวตัน (Newtonian mechanics) เชื่อว่าอวกาศและเวลาสัมบูรณ์ เป็นแนวคิดในยุคแรกของการสำรวจเอกภพ (ศตวรรษที่ 19). กฎนี้ อธิบายปรากฏการณ์ การเคลื่อนที่ของวัตถุใดๆ ทั้งที่อยู่บนโลก และวัตถุทางดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ระดับ มหภาค (macrosopic). กลศาสตร์นิวตัน สามารถอธิบาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีและถูกต้อง เกี่ยวกับวัตถุ ที่มนุษย์พบเห็น ในชีวิตประจำวัน. เพราะสามารถวัดค่า ตำแหน่งและความเร็วของวัตถุ รวมทั้งปริมาณต่างๆ ได้แน่นอน. กลศาสตร์นิวตัน เป็นทฤษฎีฟิสิกส์รุ่นแรก คิดค้นโดย เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ เมื่อศตวรรษที่ 17 นักฟิสิกส์รุ่นหลังๆ มักเรียกว่า กลศาสตร์คลาสสิก (classical mechanics).

 

เราจะมองเห็น กลศาสตร์นิวตัน ได้ชัดเจน ก็ต่อเมื่อนำหลักสัมพัทธภาพ มาเปรียบเทียบ คือ

 

กลศาสตร์นิวตัน

หลักสัมพัทธภาพ

วัตถุ เคลื่อนที่เป็นอิสระ

การเคลื่อนที่ของทุกสิ่ง สัมพันธ์กัน

เวลา มีความแน่นอน ชัดเจน

ปริมาณของเวลา ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สังเกต และความเร็ว

พิกัดตำแหน่ง และ เวลา อยู่แยกกัน

เวลาและอวกาศ เป็นส่วนผสมกัน (สัมพัทธกัน) ในตำแหน่งและเวลา (spacetime)

 

กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ “พลังงานสามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่ง ไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ แต่ไม่สามารถสร้างหรือทำให้พลังงาน หายไปได้.”

 

กฎความยาว พื้นที่ และเวลา
ของแพลงก์
- วิลเลอร์

(Plank-Wheller length, area and time)
กลศาสตร์ควอนตัม ที่ระบุถึงมาตราส่วนความยาวที่สั้นที่สุด ปริมาตร พื้นที่ ที่น้อยที่สุด และช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่สั้นที่สุด.

 

กฎแม่เหล็กไฟฟ้า ของแม็กซ์เวลล์
(Maxwell's laws of electromagnetism)
ชุดของกฎฟิสิกส์ ซึ่งเจมส์ เคิร์ก แม็กซ์เวลล์ ได้รวมปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิด ให้เป็นหนึ่งเดียว ได้จากกฎเหล่านี้. ทำให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถพยากรณ์ (โดยการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์) พฤติกรรมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไฟฟ้า และแม่เหล็กได้.

 

กรอบอ้างอิงเฉื่อย (inertial reference frame)
กรอบหรือบริเวณที่มีแรงลัพธ์ กระทำเป็นศูนย์ หรือ ไม่มีความเร่งเกิดขึ้น หรือกรอบที่ไม่มีการหมุน ไม่มีแรงภายนอกผลักหรือดึงมัน ทำให้กรอบหรือบริเวณนั้น อยู่ในสภาพหยุดนิ่ง หรือกำลังเคลื่อนที่ไปด้วยความเฉื่อยของตัวมันเอง (ความเร็วคงตัวสม่ำเสมอ). หรือกล่าวว่า เวลาและอวกาศ เป็นเนื้อเดียวกัน ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย.

 

กลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics)
หรือ ทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) กฎฟิสิกส์ที่สามารถอธิบาย วัตถุธาตุขนาดเล็กระดับอนุภาค โปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน อะตอม โมเลกุลได้ แต่ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ ของวัตถุธาตุในระดับมหภาคได้.

 

การพัวพันกันเชิงควอนตัม (quantum entangled)
พฤติการณ์ที่เกิดขึ้น กับอนุภาคคู่ที่สื่อสารกัน. การวัดคุณสมบัติของอนุภาคหนึ่ง ของคู่อนุภาคพัวพัน จะทำให้รู้ถึงคุณสมบัติของอีกอนุภาคหนึ่งได้. อนุภาค 2 ตัว สื่อสารกันด้วยวิธีการพัวพัน. สภาวะการพัวพันกัน (การรับส่งข้อมูลกัน) ของอนุภาค แม้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใดก็ตาม เกิดขึ้นในอดีต แต่มารู้ข้อมูลในปัจจุบัน เท่ากับว่า อนุภาคเดินทางข้ามเวลาได้.

 

กาลอวกาศ (spacetime) | ปริภูมิ – เวลา
ปริมาตร หรือ “เนื้อ” ของมิติที่ 1 - 3 เมื่อรวมกับ การเคลื่อนที่ (ย้ายตำแหน่ง หมุน สั่น) ของวัตถุนั้น ก่อให้เกิดมิติที่ 4 หรือ เวลา รวมอยู่ในปริมาตร.

 

กาลอวกาศจิตธาตุ (mental space)
ปรกฏการณ์มิติที่ 2 ที่เกิดขึ้นกับจิต บนแกนเวลา อดีต อนาคต ปัจจุบัน และเกิดจานพอก 3 มิติ อันเป็น “เนื้อ” ของกาลอวกาศขึ้นโดยรอบแกนเวลา. กาลอวกาศจิตธาตุ มี 3 ประเภท คือ กาลอวกาศของรูปฌาน กาลอวกาศของอรูป และ กาลอวกาศของสุญญตา.

 

ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon)
บริเวณผิวของหลุมดำ ที่จะไม่มีอะไรหลุดออกไปได้ มักเรียกว่า เส้นขอบฟ้าสัมบูรณ์.

 

คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational waves)
เป็นริ้วความโค้งของกาลอวกาศ ที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วแสง แผ่ไปทั่วเอกภพ. คลื่นนี้วัดได้โดย ไลโก (LIGO) หอสังเกตการณ์และตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2 แห่ง และที่อิตาลี 1 แห่ง.

 

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves)
คลื่นของแรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็กรวมกัน แผ่กระจายไปทั่วเอกภพจากแหล่งกำเนิดคลื่น มีขนาดความยาวคลื่นและความถี่ แตกต่างกันมาก. มีชื่อเรียก ตามขนาดความยาวคลื่นหรือความถี่ คือ รังสีแกมมา รังสีเอ๊กซ์ รังสีอัลตราไวโอเล็ต แสง (ที่มนุษย์มองเห็นได้) คลื่นอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และ คลื่นวิทยุ.

 

ความโน้มถ่วง (graviton)
อนุภาคชนิดหนึ่ง ที่เป็นสื่อแรงโน้มถ่วง มีคุณสมบัติทวิ คลื่น/อนุภาค.

 

ควอนตัม (quantum)
หน่วยวัดที่เล็กที่สุด ที่คลื่นอาจถูกปล่อยออกมา หรือ ดูดกลืนเข้าไป เช่น ควอนตัมของแสง (photon).

 

ความเร็วสัมพัทธ์ (relative velocity)
การรับรู้เรื่องความเร็วที่แตกต่างกัน ระหว่าง สิ่งที่ถูกสังเกต (วัตถุ-บุคคล) กับ ผู้สังเกต (บุคคล). ถ้าผู้สังเกตอยู่นิ่งๆ กำลังดูวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ก็จะเห็นวัตถุนั้น มีความเร็วในการเคลื่อนที่ เท่ากับความเร็วจริง ของวัตถุทั้งขนาดและทิศทาง. แต่ถ้าผู้สังเกตกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว และมองดูวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน ก็จะเห็นวัตถุเคลื่อนที่ ด้วย ‘ความเร็วสัมพัทธ์' ซึ่งทั้งขนาดและทิศทาง จะผิดไปจากความเร็วจริงของวัตถุนั้น. กฎข้อนี้ ยกเว้นความเร็วของแสง, แม้ว่าผู้สังเกตจะอยู่นิ่งๆ หรือเคลื่อนที่แบบใดๆ ก็ตาม ความเร็วของแสงก็จะยังคงมีอัตราเร็ว (speed) เท่าเดิม.

 

ควาร์ก (quark)
คืออนุภาคมูลฐาน และเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสสาร ควาร์กมากกว่าหนึ่งตัว เมื่อรวมกัน จะเป็นอีกอนุภาคหนึ่งเรียกว่า แฮดรอน (hadron) ส่วนที่เสถียรที่สุดของแฮดรอนสองลำดับแรก คือ โปรตอนและนิวตรอน ซึ่งทั้งคู่เป็นส่วนประกอบสำคัญของนิวเคลียสของอะตอม. ควาร์กเป็นอนุภาคมูลฐานเพียงชนิดเดียว ที่มีปฏิกิริยากับแรงพื้นฐาน ได้ครบหมดทั้ง 4 ชนิด. ควาร์ก มีอยู่ 6 ชนิด (flavour) คือ up, down, charm, strange, top and bottom.

 

ค่าอนันต์ (infinity)
เป็นแนวคิดในทางคณิตศาสตร์ และปรัชญา ที่อ้างถึงจำนวนที่ไม่มีขอบเขต หรือไม่มีที่สิ้นสุด.

 

งาน (work)
งานในทางฟิสิกส์ หรืองานเชิงกล คือ ปริมาณของพลังงาน ที่เกิดจากแรงที่กระทำต่อวัตถุ ให้เคลื่อนที่ไป หรือ งาน (w) = แรง (F) x ระยะทาง (d). งานในทางเทอร์โมไดนามิกส์ ไม่ถือว่า ก่อให้เกิดงาน เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของระบบ ภายใต้อิทธิพลของความดันภายนอก (external pressure).

 

เงื่อนไขไร้ขอบเขต (no boundary condition)
แนวคิดที่ว่า เอกภพมีขนาดจำกัดอยู่ขนาดหนึ่ง แต่ไม่มีขอบเขต (ในเวลาจินตภาพ).

 

จิตสำนึกเสถียร
จิตสำนึกของคนในสังคม ที่สร้างความเสถียรภาพ หรือความสมดุลให้แก่สังคม คือ จิตสำนึกทางศีลธรรม จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกการมีส่วนร่วม และ จิตสำนึกทางการเมือง.

 

จีโอเดสิค (geodesic)
เส้นตรงสมมุติ ที่ถูกลากไปในอวกาศที่มีความโค้ง หรือเส้นที่สั้นที่สุด ในบริเวณอวกาศที่มีความโค้ง. เส้นตรงที่ลากไปบนผิวโลก จนปลายทั้งสองด้านบรรจบกัน หากมองระยะไกล ก็คือวงกลมขนาดใหญ่นั่นเอง.

 

เจตจำนงเสรี (free will)
ความสามารถของผู้กระทำการ ที่จะคิด กระทำ สิ่งใดๆ ที่สอดคล้องและอยู่ในกรอบของ ศาสนา กฎหมาย และจริยศาสตร์ โดยไม่ถูกจำกัด ด้วยปัจจัย และอิทธิพลแวดล้อม ทางกายภาพ (เช่น การจองจำ การทุพลภาพ) ข้อจำกัดทางสังคม (เช่น การข่มขู่ ตำหนิ ขนบประเพณี) และข้อ จำกัดทางจิตใจ.

 

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theories) ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
ทฤษฎีพื้นฐานการรักษาโรคทางจิต เชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถตัดสินใจได้โดยลำพัง ภายใต้หลักเหตุผล. จิตวิเคราะห์ แบ่งโครงสร้างความรู้สึกผิดชอบของจิต ตามอิทธิพลและปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่านิยม ศีลธรรม, พฤติกรรม ปฏิกิริยาตอบโต้ และ สิ่งเร้า.

 

ทฤษฎีสรรพสิ่ง (theory of everything)
แนวคิดการรวม แรงพื้นฐาน 4 ชนิด เข้าด้วยกัน เพื่อค้นหาความจริง ของต้นกำเนิดของบิ๊กแบง และการขยายตัวของเอกภพ. ทฤษฎีสรรพสิ่ง เสนอโดย สตีเฟ่น ฮอว์กิง. มองในแง่ของมานุษยวิทยา, จิตธาตุ นับเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในเอกภพ แต่ทฤษฎีสรรพสิ่ง ไม่ได้กล่าวถึง อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ทฤษฎีนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จ. “สัตตะธัมมะธาตุ” ที่เสนอโดย ผู้เขียน เป็นการรวมคำอธิบายสรรพสิ่ง ไว้ในทฤษฎีเดียวกัน ซึ่งรวมถึง แรงพื้นฐานทั้ง 4 ชนิดด้วย.

 

โทโปโลยี (topology)
รูปทรงใดๆ ที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เพื่อให้วัตถุมีเนื้อของรูปทรงติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โดยไม่มีส่วนใดฉีกขาดออกจากกัน หรือเชื่อมเข้ามาใหม่. โทโปโลยี สามารถแยกความแตกต่าง ระหว่างทรงกลม (ที่ไม่มีรู) กับ ทรงโดนัท (ที่มีรู) ได้.

 

บิ๊กแบง (big bang)
บิ๊กแบง หรือ การระเบิดใหญ่ เป็นทฤษฎีที่สร้างแบบจำลอง การกำเนิดและวิวัฒนาการ ของเอกภพ เมื่อ 13,800 ล้านปีมาแล้ว. เอกภพมีจุดกำเนิดมาจาก สภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน เรียกว่า ภาวะเอกฐาน (singularity). ช่วงที่บิ๊กแบงเกิด เป็นห้วงเวลาที่สั้นมาก ใช้เวลาประมาณ 10 -34(ยกกำลัง -34) วินาที ก่อเกิดเอกภพอันกว้างใหญ่ ในทันที. แรงพื้นฐานทั้ง 4 บังเกิดขึ้น. 0.01 ในพันล้านวินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลง ควาร์ก รวมตัวกันเป็น โปรตอน และ นิวตรอน. ผ่านไป 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงอีก เกิดนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม. ผ่านไป 300,000 ปี อุณหภูมิ ของเอกภพ ลดลง เหลือ 10,000 เคลวิน ก่อเกิดธาตุไฮโดรเจนและธาตุฮีเลียม. ต่อมาอีกราว 1,000 ล้านปี แกแล็กซีต่างๆ ก็เกิดขึ้นตามมา.

 

แบบจำลองมาตรฐาน (standard model)
ใช้แสดงสถานะและชั้นต่างๆ ของ อนุภาคมูลฐาน คือ ควาร์ก เลปตอน กลูออน W -โบซอน Z -โบซอน โฟตอน และ ฮิกส์โบซอน. และใช้จำแนก แรงพื้นฐาน 4 ชนิด ในธรรมชาติ คือ แรงโน้มถ่วง แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า. อุปสรรคของแบบจำลองมาตรฐาน คือ เมื่อมีการค้นพบสถานะใหม่ๆ ของอนุภาค เช่น สสารมืด อนุภาคคู่แฝด จะไม่สามารถบรรจุสิ่งที่ค้นพบใหม่ เข้าไปในแบบจำลองมาตรฐานได้.

 

ปฏิอนุภาค (antiparticle)
อนุภาคสสารแต่ละชนิด จะมีคู่ปฏิอนุภาคของมันเอง (อนุภาคคู่แฝด). เมื่ออนุภาคชนเข้ากับคู่ของมัน จะเกิดการประลัยคู่ขึ้น (การหักล้างของแรง มวล) กลายเป็นพลังงานขึ้นมาแทนที่.

 

ปัจจุบันจินตภาพ (imaginary present)
แนวคิดการแก้ไขปัญหาเรื่อง เส้นเวลาปัจจุบัน ที่มีความสัมพัทธ์กัน (เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ในเวลาปัจจุบัน ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เกิดขึ้นต่างเวลากัน) ด้วยการกำหนดให้มี “เส้นเวลาปัจจุบันจินตภาพ.” เส้นเวลาจินตภาพ เกิดขึ้นได้ เพราะเป็นไปตามกฎของเวลา “เวลาดำรงอยู่ เพราะมีการรับรู้.”

 

ปัจจุบันสัมบูรณ์ (objective present)
แนวคิดเรื่องเวลาสัมบูรณ์ ทั้งระยะทางและปริมาณ แนวคิดนี้ใช้ในพื้นที่ระยะใกล้ เช่น บนพื้นโลก เหตุการณ์ปัจจุบัน เกิดขึ้นได้พร้อมกัน เพราะเหตุการณ์เหล่านั้น เกิดขึ้นใน “เส้นเวลาปัจจุบัน” เส้นเดียวกัน.

 

ปัจจุบันสัมพัทธ์ (relative present)
แนวคิดที่ทำให้เวลาไม่มีจุดเริ่มต้นจริง และไม่มีจุดปลายจริง เมื่อนำปัจจัยเรื่อง ระยะทาง มากำหนด. เช่น “เส้นเวลาปัจจุบัน” ของมนุษย์ บนดาว 2 ดวง ที่อยู่ห่างไกลกัน ย่อมเป็นคนละเส้นกัน.

 

ปริมาณ สเกลาร์ (scalar) – เวกเตอร์ (vector)
สเกลาร์ กับ เวกเตอร์ คือ ปริมาณทางฟิสิกส์. ปริมาณสเกลาร์ คือ ปริมาณทางกายภาพที่มี ขนาด แต่ ไม่มีทิศทาง. เช่น มวล (mass) ความยาว (length) เวลา (time) อุณหภูมิ (temperature) ปริมาตร (volume) พื้นที่ ... ตารางหน่วย อัตราเร็ว ... เวลา ต่อ หน่วย. ปริมาณเวคเตอร์ คือ ประมาณที่มีทั้ง ขนาด และ ทิศทาง เช่น การกระจัด (displacement) แรง (force) ความเร็ว (velocity) ความเร่ง (acceleration) สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า.

 

พลาสมา (plasma)
สถานะที่ 4 ของสสาร ที่มีอุณหภูมิสูงยิ่งยวด ทำให้อะตอมของสสารวิ่งชนกันยุ่งเหยิง เช่น ในฟ้าผ่า ใจกลางของดวงอาทิตย์. บางครั้ง พลาสมา อาจอยู่ในสถานะเย็น เช่น การเกิดลูกบอลฟ้าผ่า (ball lighting) . พลาสมา ประกอบด้วย อิเล็กตรอน และ ไอออน เมื่อมันมีปฏิกิริยา กับสนามแม่เหล็ก มันจะหักล้างประจุของกันและกัน. สถานะที่อยู่ตรงข้ามกับ พลาสมา เรียกว่า Bose-Einstein condensate สสารนั้นจะหยุดนิ่ง ไม่มีพลังงานเหลืออยู่เลย คือ สสารนั้นถูกทำให้เย็นถึง ศูนย์องศาสัมบูรณ์.

 

ภาวะเอกฐาน (singularity)
บริเวณของกลางอวกาศ ที่ความโค้งของกาลอวกาศ มีความเข้มมาก จนต้องใช้กฎแรงโน้มถ่วงควอนตัมมาอธิบาย. ทำให้มวลและพลังงาน ที่มีอยู่ทั้งหมดในเอกภพ ที่เรามองเห็นและกระจัดกระจายกัน 360 องศา ถูกแรงโน้มถ่วงอันยิ่งยวด จนทำให้มองเห็นน้อยกว่า 1 องศา หรือเกือบถึง 0 องศา.

 

มโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity)
มุมมองของ ผู้สังเกต กับ ผู้ถูกสังเกตหรือสิ่งที่ถูกสังเกต มองเหตุการณ์เดียวกัน ใน เวลา และ ตำแหน่ง ที่แตกต่างกัน. มโนทัศน์สัมพัทธภาพ มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ (1) ปัจจัยสัมพัทธ ได้แก่ เวลา (time) วัตถุ – บุคคล (object) ตำแหน่ง – พิกัด (locality) (2) เหตุการณ์ และ อารมณ์ (event–emotion) (3) ผู้รับรู้ข้อมูล (ผู้สังเกต ผู้ถูกสังเกต).

 

 

มวล (mass)
การวัดปริมาณเนื้อของสสารในวัตถุ. มวล ก็คือ พลังงานที่อัดกันแน่นมากนั่นเอง. ความเฉื่อย ของวัตถุ คิดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับมวลของมัน. นอกจากนี้ เรายังใช้คำว่า มวล ในความหมายว่า วัตถุประกอบด้วย มวล.

 

เมฆอิเล็กตรอน (cloud electron)
แบบจำลองล่าสุด ของการให้คำนิยามอิเล็กตรอน. อะตอม ประกอบด้วย อิเล็กตรอน ขนาดประมาณ 10 -8(ยกกำลัง -8) เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเมฆ (มิใช่อยู่แยกกันเป็นเม็ดๆ) เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลา รอบๆ นิวเคลียส มีวงโคจร (obital) หลากหลายแบบ จำแนกตามระดับพลังงานของอิเล็กตรอนแต่ละตัว ในการบ่งบอกรูปร่างหน้าตาของมัน. เมฆอิเล็กตรอน จะห่อหุ้ม นิวเคลียส ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของอะตอม. อิเล็กตรอนแต่ละตัว จะมีประจุไฟฟ้าลบ และถูกตรึงไว้ในเมฆของมัน.

 

ระบบพิกัด (coordinate system)
พิกัด คือ ค่าที่ใช้บอกตำแหน่งอ้างอิงของสิ่งใดๆ เช่น จุด บนแนวระนาบ 2 มิติ หรือในอวกาศ 3 มิติ. ค่าที่เป็นตัวเลขชุด แสดงคู่อันดับ (ชุดพิกัด 2 แกน) หรือ 3 สิ่งอันดับ (ชุดพิกัด 3 แกน x y z ) แทนตำแหน่งหรือจุดของสิ่งนั้นๆ บนแนวระนาบ หรืออวกาศ เพื่อบอกตำแหน่งที่อ้างอิง ได้ ของสิ่งนั้นๆ เพียงสิ่งเดียว (ตัวเลขชุดพิกัดแต่ละชุด จะหมายถึง ตำแหน่งพิกัดเพียงตำแหน่ง เดียวเท่านั้น).

 

ระเบียบวิธี (revelatory methodology)
ระเบียบวิธีของศาสดาในการอธิบาย ข้อธรรมที่ละเอียด ลึกซึ้ง กุศโลบาย ในการอธิบาย เชื่อมโยง นามธรรมที่ลึกซึ้ง ให้มนุษย์ธรรมดาเข้าใจได้ อย่างมีลำดับ ขั้นตอน. เช่น ตถาคต อธิบาย การรู้ชัดในการเกิด (สมุทัย) การดับ (อัตถังคมะ) รสอร่อย (อัสสาทะ) โทษ (อาทีนวะ) อุบายอันเป็นเครื่องนำออกไป (นิสสรณะ) จากที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ เพื่อการหลุดพ้น จากสิ่งร้อยรัด.

 

แรงทางจิต (focused mentality)
แรงที่กระทำต่อจิตธาตุ มี 4 ชนิด คือ (1) เจตนา – มนสิการ (2) ทิฏฐิ – ปัญญา (3) สติ – สมาธิ – ฌาน (4) กรรม – วิบาก.

 

แรงไทดัล (tidal gravity)
แรงโน้มถ่วง มีอิทธิพลต่อการยืดออกของเวลา. นิวตัน เรียกว่า “แรงไทดัล” ขณะที่ ไอน์สไตน์ เรียกมันว่า “ความโค้งงอของกาลอวกาศ.” แรงไทดัล (tidal gravity) เป็นแรงโน้มถ่วงในธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่สังเกตได้. แรงไทดัล เป็นความเร่งโน้มถ่วง ที่บีบอัดวัตถุตามทิศทางหนึ่ง และดึงยืดมันในอีกทิศทางหนึ่ง.

 

แรงโน้มถ่วงควอนตัม (quantum gravity)
แรงที่เกิดจากการหลอมรวมของ แรงในสัมพัทธภาพทั่วไป กับแรงในกลศาสตร์ควอนตัม.

 

แรงพื้นฐาน (fundamental interactions)
แรงที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับเอกภพ (หลังบิ๊กแบง) สื่อของแรงจะแผ่คลื่นของแรง ออกไปในสนาม (field) ทั่วเอกภพ. แรงพื้นฐานมี 4 ชนิด คือ (1) แรงดึงดูดระหว่างมวล หรือแรงโน้มถ่วง (gravitational force) (2) แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic force) ที่เกิดขึ้นระหว่าง อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และผสมรวมเข้ากับสนามแม่เหล็ก (3) แรงนิวเคลียร์ (nuclear force) หรือแรงอย่างเข้ม มีระยะส่งแรงสั้นแต่เข้มอย่างยิ่งยวด ในการยึดเหนี่ยวควาร์ก ให้เป็นนิวเคลียสของอะตอม (4) แรงอย่างอ่อน (weak force) มีระยะส่งของแรงสั้นๆ ไปยังอนุภาคสสารทั้งหมด แต่ไม่ส่งแรงต่ออนุภาคสื่อแรง ที่ไม่ใช่ w boson (อ่านว่า ดับเบิลยูพลัส โบซอน) และ z boson. (อ่านว่า ซีนอท โบซอน)

 

 

เวลาสัมพัทธ์ (relative time)
การรับรู้เรื่องเวลา (ตำแหน่งเวลา ระยะเวลา กาลเวลา) ที่แตกต่างกัน ระหว่าง ผู้ที่ถูกสังเกต กับผู้สังเกต เมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรอบอ้างอิง (ภาวะแวดล้อม) หรือในกาลอวกาศ ที่เคลื่อนที่ ด้วยความเร็วแตกต่างกัน หรือที่มีอำนาจความโน้มถ่วงแตกต่างกัน.

 

ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (absolute zero)
พลังงานที่ถ่ายเท จากสสารไปยังสสารอื่น หรือจากระบบหนึ่ง ไปยังระบบอื่น จะเกิดขึ้นได้เมื่อสสารหรือ ระบบทั้งสอง มีความแตกต่างของอุณหภูมิ. ณ อุณหภูมิ –273.15 องศา C อะตอมของสสารจะไม่มีการเคลื่อนที่, สารต่างๆ จะหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวใดๆ เพราะไม่มีพลังงานความร้อนเหลืออยู่เลย และจะไม่มีสิ่งใดลดอุณหูมิต่ำไปกว่านี้ได้อีก. อุณหภูมิในทางทฤษฎี ที่เอนโทรปีจะมีค่าต่ำที่สุด ซึ่งเท่ากับ 0 เคลวิน (k) หรือ -273.15 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้). นักวิทยาศาสตร์ จึงกำหนดให้ 0 K มีค่าเท่ากับ –273.15 ํC และเรียกสถานะนี้ว่า ศูนย์องศาสัมบูรณ์.

 

สตริง (string)
แบบจำลองของอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด อธิบายว่า อนุภาค มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ ในลักษณะเหมือนการสั่นไหวของเส้นเชือก. การสั่นทำให้เกิดมิติเดียว แต่เป็น เส้น (string) แทนที่จะเป็นจุด หรือศูนย์มิติ. สตริง สอดคล้องกับคุณสมบัติของเวลา เพราะเส้นสตริง ไม่มีจุดปลาย เช่นเดียวกับเวลา.

 

สนาม (field)
อนุภาค หรือปรากฏการณ์ ที่กระจายอย่างต่อเนื่องในอวกาศ เช่น สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า คลื่นความโน้มถ่วง และ ความโค้งของกาลอวกาศ รวมทั้งรูปทรงของ มิติที่ 4. ภายในสนาม จะมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์เกิดขึ้น.

 

สนามควอนตัม (quantum field) ถูกควบคุมโดย กฎกลศาสตร์ควอนตัม. การวัดค่าต่างๆ ในสนามควอนตัม (ซึ่งมีขนาด ปริมาณเล็กมากๆ) ถ้าต้องการค่าที่แม่นยำ จะทำได้ยาก. เช่น โครงสร้างอวกาศ ที่มีขนาดเล็กที่สุด เรียกว่า ฟองควอนตัม (quantum foam).

 

สปิน (spin)
คือคุณลักษณะพื้นฐานของ อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคประกอบของควาร์ก (hadron) และ นิวเคลียสอะตอม อนุภาคมูลฐานประเภทเดียวกันทุกตัว จะมีเลขควอนตัมสปิน เลขเดียวกัน. การหมุนรอบแกนสมมุติของตัวเอง ของอนุภาคสสาร. สปิน เป็นพฤติการการเคลื่อนที่แบบหนึ่งของอนุภาค (อนุภาค มีการเคลื่อนที่ 3 แบบ คือ การเคลื่อนของตำแหน่ง การหมุน การสั่น). บางครั้งก็เรียกว่า โมเมนตัมเชิงมุม (angular-momentum).

 

สสารมืด | พลังงานมืด (dark matter | dark energy)
สิ่งที่นักฟิสิกส์ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เพียงแค่พบว่ามันมีแทรกอยู่ในห้วงอวกาศ เช่น ระหว่างรอยขาดของสารธารดาว ของแขนที่เป็นวงก้นหอย ของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก. เป็นวลีของนักวิทยาศาสตร์ เมื่อพบสิ่งลึกลับในอวกาศ ที่ไม่สามารถ ระบุคุณสมบัติให้แก่มันได้ ดาวมืด หรือ หลุมดำ ก็จัดอยู่ในสสารมืดเช่นกัน.

 

สัมบูรณ์ (absolute)
ปริมาณที่มีค่าคงตัว แน่นอน ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ค่าที่วัดได้ จะเท่ากันในทุกกรอบอ้างอิง. อวกาศสัมบูรณ์ (absolute space) อวกาศ 3 มิติแบบนิวตัว หรือ 3 มิติแบบโลกที่เราอาศัยอยู่ มีการหยุดนิ่งสัมบูรณ์ และความยาวของวัตถุใดๆ คงที่เสมอ ไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ ของกรอบอ้างอิงที่ถูกวัด. เวลาสัมบูรณ์ (absolute time) เวลาตามแนวคิดของนิวตัน มีความเป็นสากล วัดค่าได้เพียงค่าเดียว และเท่ากัน ในช่วงเวลาระหว่างเหตุการณ์ใดๆ ผู้สังเกตบนกรอบอ้างอิงใดๆ จะวัดได้เท่ากัน.

 

สารประหลาด (exotic material)
สารที่มีความหนาแน่น ของพลังงานเฉลี่ยเป็นลบ สามารถวัดค่าได้ ขณะที่ผู้วัดเคลื่อนที่ผ่านมัน ด้วยอัตราความเร็วใกล้แสง. สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ คิดว่ามันมีอยู่จริง แต่ยังไม่สามารถค้นพบ หรือ พิสูจน์มันได้.

 

หน่วย เอสไอ (SI Unit)
ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ที่ใช้กันเกือบทุกประเทศในโลก เรียกว่า หน่วยฐานเอสไอ (International System of Units) มี 7 หน่วย คือ กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิ เวลา ความยาว มวล ความเข้มของแสง และ ปริมาณของสาร.

 

หลักการกีดกันของเพาลี (Pauli's exclusion principle)
หลักการหนึ่ง ของกลศาสตร์ควอนตัม กล่าวว่า อะตอม จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละวงโคจร (orbital) มากกว่า 1 อิเล็กตรอน และแต่ละออร์บิทัล จะไม่มีอิเล็กตรอน เกินกว่า 2 ตัว อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน (คือมีค่าเลขควอนตัมทั้ง 4 ค่า เหมือนกัน) เรียกอนุภาคกลุ่มนี้ว่า เฟอร์มิออน (fermions) . เฟอร์มิออน สามารถเป็นได้ทั้งอนุภาคมูลฐาน เช่น อิเล็กตรอน หรือเป็นอนุภาคประกอบ เช่น โปรตอน ก็ได้. ยกเว้นอนุภาคสื่อแรง โบซอน (bosons) ที่ไม่ได้อยู่ใน หลักการกีดกันของเพาลี เพราะ โบซอน จะมีเลขสปินเป็นจำนวนเต็มเท่า และ โบซอนมากกว่าสองตัว สามารถมีสถานะเชิงควอนตัมเดียวกันได้.

 

หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนต์เบิร์ก (uncertainty principle)
เป็นกฎฟิสิกส์ที่อยู่ภายใต้ กลศาสตร์ควอนตัม กล่าวว่า ถ้าเราวัดตำแหน่งของวัตถุ (อนุภาค) หรือความเข้มของสนาม ด้วยความแม่นยำสูงเท่าใด การวัดของเราอีกอันหนึ่ง จะไปรบกวนความเร็วของวัตถุนั้น. ความเร็ว กับ ตำแหน่งพิกัด ไม่อาจวัดได้ในเวลาเดียวกัน.

 

หลักความสัมบูรณ์ของความเร็วแสง
(principle of absoluteness of the speed of light)
แสงเดินทางด้วยควอนตัมของโฟตอน ด้วยอัตราเร็ว (speed) คงที่สม่ำเสมอ ทฤษฎีสัมพัทธภาพยืนยันว่า ไม่มีวัตถุใดเคลื่อนที่เร็วเท่ากับแสง. เมื่อความเร็วของวัตถุ เข้าใกล้อัตราเร็วแสง มวลของวัตถุจะเพิ่มขึ้น ทำให้วัตถุเร่งความเร็วได้ยากขึ้นเรื่อยๆ.

 

หลักสัมพัทธภาพ (principle of relativity)
หลักสัมพัทธภาพ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง ‘ตำแหน่ง' กับ ‘การเคลื่อนที่' การบอก พิกัดตำแหน่ง ของวัตถุใดๆ ไม่สามารถบอกได้ ถ้าไม่มีสิ่งอื่นเทียบเคียง. การระบุห้วงเวลา หรือปริมาณเวลา จะต้องอาศัย เหตุการณ์ (event) บางอย่าง เป็นหลักเทียบเคียง. ความเร็ว กับตำแหน่งพิกัด ย่อมเป็นปริมาณเปรียบเทียบ กับแกนอ้างอิง. หลักสัมพัทธภาพ ของกาลิเลโอกล่าวไว้ว่า การเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วคงที่ทั้งหมดเป็นการสัมพัทธ์. ไม่มีสถานะของการหยุดนิ่งสัมบูรณ์ หรือกล่าวได้ว่า จะไม่มีกรอบอ้างอิงที่ตรึงอยู่กับที่.

 

หลักสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity)
กฎฟิสิกส์ของไอน์สไตน์ เมื่อไม่มีแรงโน้มถ่วง. กฎทางฟิสิกส์ ย่อมเหมือนกัน ในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย. อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศเป็นค่าคงที่สากล (c) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ ของแหล่งกำเนิดแสงนั้น.

 

หลักสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity)
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง แรงโน้มถ่วงกับภูมิศาสตร์ของตำแหน่ง ของสสาร. สสารทุกรูปแบบ มีการเคลื่อนที่ (การย้ายตำแหน่ง การหมุน การสั่น) สัมพันธ์กับแรงที่มากระทำ. แรงโน้มถ่วง เกิดจากมวลของสสาร เกิดขึ้นในระยะทางและเวลา. เช่น การตกจากตึก แรงเฉื่อยที่ชะลอการตก จะไปหักล้างกับ แรงโน้มถ่วง ทำให้รู้สึกว่า แรงโน้มถ่วงนั้นหายไป. อนุภาคทุกชนิด รวมทั้งแสง จะเคลื่อนที่ไปตามรูปร่างของกาลอวกาศที่มีความโค้ง. เราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เราเคลื่อนที่ หรือมีกำลังอัตราเร่งความเร็ว. แรงโน้มถ่วง ทำให้เวลาช้าลงได้ และทำให้ระยะทางโค้งได้.

 

เหตุการณ์ (event)
จุดหนึ่งของเวลา ซึ่งบรรจุอนุภาค หรือปรากฏการณ์ ไว้ในอวกาศ หรือ ตำแหน่งหนึ่งๆ ในอวกาศ ที่ขณะเวลาเฉพาะค่าหนึ่ง. หรืออีกนัยหนึ่ง ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดหนึ่งในกาลอวกาศ เช่น การระเบิดของพลุ การเกิดฟ้าผ่า เป็นต้น. เหตุการณ์ เป็นส่วนหนึ่งของ สนาม. เหตุการณ์ ในทางจิตวิญญาณ จะรวม อารมณ์ เข้าไว้ด้วย.

 

องค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป
(European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (CERN : Conseil Europ?en pour la Recherche Nucl?aire)
เป็นองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1954 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์. ภารกิจ คือ วิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์. เซิร์น ได้ติดตั้ง เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ (LHC : Large Hadron Collider) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวน ขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร. ผลงานที่ LHC ค้นพบคือ พบอนุภาคสื่อแรง ฮิกส์โบซอน. และในปี ค.ศ. 2035 เซิร์น จะทำการติดตั้ง เครื่องเร่งอนุภาค Future Circular Collider หรือ FCC มีขนาดเส้นรอบวง ประมาณ 108 กม. เพื่อการวิจัยและการค้นหาบิ๊กแบง และสสารมืด ต่อไป.

 

อนุภาคมูลฐาน (elementary particle)
อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมของสสาร หรือ ชิ้นส่วนของสสาร ที่เชื่อว่าไม่อาจแบ่งแยกต่อไปได้อีก (วัตถุธาตุที่เล็กสุดนี้ เรียกว่า อนุภาคมูลฐาน) เช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน โปรแกรม นิวตรอน โพสิตรอน แอนติโปรตรอน แอนตินิวตรอน.

 

อนุภาคอิสระ (free particle)
อนุภาคที่ไม่ถูกแรงใดๆ กระทำเลย นอกจากแรงโน้มถ่วงอย่างเดียว.

 

อะตอม (atom)
หน่วยพื้นฐานของสสาร ที่ประกอบขึ้นจากแกนกลาง ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงอันยิ่งยวด ในการยึดเหนี่ยวนิวตรอนและโปรตอน ให้เป็นแก่นของอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส (นิวตรอน โปรตอน) และดึงดูดเมฆอิเล็กตรอน ให้โคจรอยู่รอบๆ.

 

อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics)
ศึกษาความสัมพันธ์ด้านฟิสิกส์และเคมีของ ความร้อนของสสาร กับ ทิศทางของเวลา ที่ก่อให้ เกิด พลังงาน แรง สนาม คลื่น และกาลอวกาศ. ตัวแปรในระบบอุณหพลศาสตร์ คือ ความหนาแน่น ความดัน ปริมาตร อุณหภูมิ พลังงาน เอนโทรปี เอนทาลปี.

 

เอนทาลปี (enthalpy)
ปริมาณความร้อน ที่ไหลเข้าหรือไหลออกจากระบบ ใช้อธิบายพลังงานศักย์ ในระบบปิดภายใต้ ความดันคงที่ และอุณหภูมิ (เอนโทรปี) คงที่. ภายใต้สภาวะปริมาตรคงที่ เมื่ออุณหภูมิในระบบเพิ่ม ความดันก็จะเพิ่มด้วย แต่จะไม่มีงานเกิดขึ้น. แต่ภายใต้สภาวะความดันคงที่ เมื่ออุณหภูมิในระบบเพิ่มขึ้น ปริมาตรก็จะเพิ่มขึ้นด้วย.

 

เอนโทรปี (entropy)
เป็นสมบัติของระบบปิด ที่เกิดความไร้ระเบียบของระบบขึ้น ทำให้ระบบสูญเสียความสามารถในการทำงาน. เช่น น้ำแข็งในแก้ว ที่อยู่ในกล่องอุ่น (ระบบปิด) เมื่อละลายแล้ว จะไม่สามารถคืนตัวกลายเป็นน้ำแข็งได้อีก และอากาศอุ่นในกล่อง เมื่อเย็นแล้ว จะไม่สามารถคืนตัวไปเป็นอากาศอุ่นได้อีก. การเปลี่ยนแปลงของเอนโทรปี นั้นเป็นไปในทิศทางของศรเวลา ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยเวลาโดยตรง.

 

(ค) พุทธศาสน์

 

การบรรลุธรรมของสัตว์
การหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย (กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชา). สัตว์นั้น สามารถแยกขาด วิญญาณ ออกจาก ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ในขันธ์-5 ได้สำเร็จ. ภาวการณ์บรรลุธรรม 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และ อรหันต์.

 

ขันธ์-5
องค์ประกอบ 5 ประการ ของระบบชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์. รูปขันธ์ ส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ใช้เป็นร่างอาศัย (abode) ของขันธ์ทั้ง 4 ซึ่งเป็นจิตธาตุ. เวทนาขันธ์ จิตธาตุที่เป็นปัจจุบัน, สัญญาขันธ์ จิตธาตุส่วนอดีต, สังขารขันธ์ จิตธาตุส่วนอนาคต. วิญญาณขันธ์ จิตธาตุที่เป็น “ธาตุรู้” และเป็นผู้เข้าไปตั้งอาศัย ในขันธ์ทั้ง 4.

 

จิต มโน วิญญาณ
กระบวนการเกิด การวิวัฒน์ของอวิชชา สังขาร วิญญาณ ภพ ชาติ ชรา มรณะ ในขันธ์-5 ภายใต้ หลักปฏิจจสมุปบาท.

 

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
พระนามของศาสดาของพุทธศาสนา, ชื่อนี้ได้มาเพราะ การได้ตรัสรู้อริยสัจสี่. พระองค์ จะใช้คำว่า ตถาคต เรียกแทนพระองค์เอง.

 

นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
สิ่งที่ก่อเกิดเป็น สังขารธรรม ทุกระดับชั้น หรือ กลไกชีวะ – ชีวิต (bio-physiological) ทุกชนิด. นามรูป – วิญญาณ – สังขาร ประกอบด้วย ส่วนที่เป็น วัตถุธาตุ และ ส่วนที่เป็น จิตธาตุ.

 

ปฏิจจสมุปบาท
ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น. กฎสูงสุดของธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้ว เป็นกฏตายตัวเช่นนั้น ไม่ผิดไปจากความเป็นเช่นนั้น ไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็นสิ่งที่ เมื่อมีสิ่งนี้ เป็นปัจจัยแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

 

ภพภูมิ (sphere)
อาณาจักรกำเนิดของสัตว์นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา โดยมี ความพอใจ (ฉันทะ) ความกำหนัด (ราคะ) ความเพลิน (นันทิ) ความทะยานอยาก (ตัณหา) กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ (อุปายะ) ความยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส (อุปาทาน) เป็นเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพภูมิเหล่านั้น. ภพภูมิกำเนิดเดรัจฉาน กับ มนุษย์ เป็นภพภูมิร่วมของวัตถุธาตุและจิตธาตุ นอกนั้น เป็นภพภูมิของจิตธาตุ. ภพภูมิของสัตว์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคุณภาพ คือ กามภพ รูปภพ และ อรูปภพ.

 

ภัย 5 ประการ
ภัย ที่พระอริยะผู้ประกอบด้วยกำลัง 4 ประการ (ทาน การพูดอันเป็นที่รัก การประพฤติประโยชน์ และ การมีตนเสมอกันด้วยอริยะคุณ) ก้าวล่วงพ้นได้แล้ว คือ อาชีวิตภัย (ภัยอันเนื่องด้วยชีวิต) อสิโลกภัย (ภัยคือการติเตียน) ปริสสารัชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท) มรณภัย (ภัยคือความตาย) ทุคติภัย (ภัยคือทุคติ).

 

วิญญาณฐิติ
ที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ (abodes of consciousness) ซึ่งทำให้กาย และ สัญญา ของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกันและแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการผูกสัตว์ และจำแนกสัตว์ ไว้ในภพภูมิต่างๆ. สัตว์ถูกผูกไว้ในภพภูมิอันเป็นที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ เพราะความไม่รู้ชัดในการเกิด การดับ (ของวิญญาณ) รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และ อุบายในการออกไปจากวิญญาณฐิติ.

 

วิมุตติ – นิพพาน
ธัมมะธาตุ ที่เป็นคุณวิเศษของ มนุษย์ เทวดา ซึ่งได้มาจากการปฏิบัติ อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ.

 

ศาสนีย์
สมควรจะสั่งสอน มาจากคำว่า สาสนํ (บาลี) แปลว่า คำสั่ง คำบังคับ เป็นส่วนหนึ่งของ อนุสาสนีปาฎิหาริย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันเป็นที่น่าอัศจรรย์ เป็นคำสอนที่พูดบ่อยและเป็นเรื่องสำคัญ. พหุลานุสาสนี หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากที่สุด. ศาสนา พุทธพจน์ พุทธวจน ก็เป็นคำอยู่ในกลุ่มความหมายเดียวกัน หมายถึง คำของพระตถาคต.

 

สังขตลักษณะ
สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ จะถูกปรุงแต่งขึ้น (สังขตธรรม) ให้มีลักษณะมูลฐานเหมือนกัน 3 ประการ คือ มีการเกิดปรากฏ เกิดแล้วก็มีการเสื่อมปรากฏ และ การเสื่อมนั้น มีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุดจนไปสู่การแตกสลาย. สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เรียกรวมๆ กันว่า สังขตาธาตุ.

 

สังขาร (1)
สังขาร หมายถึง รูปสังขาร หรือ กายสังขาร (body) ชีวิต ร่างกายและจิตใจ ตัวตน ในความเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา, บางครั้งเรียกว่า สังขารทั้งหลาย.

 

สังขาร (2)
สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง (mental formations) สิ่งใดๆ ให้เป็นรูป นาม กิริยาอาการ ประกอบด้วย กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร. การปรุงแต่ง (กิริยานาม) สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (กรรมนาม) เครื่องปรุงแต่ง (ประธานนาม).

 

สัตว์ | สัตตา
ขันธ์-5 ที่มีความพอใจ (ฉันทะ) มีความกำหนัด (ราคะ) มีความเพลิน (นันทิ) มีความอยาก (ตัณหา) ติดข้องอยู่แล้ว ขันธ์-5 นั้น จะถูกเรียกว่า “สัตว์” ( ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง 5) . สัตว์ทั้งหลาย เป็นคำเรียกรวมๆ ของ สังขารธรรม ทุกประเภท ได้แก่ สัตว์ในอบาย (สัตว์นรก) เดรัจฉาน เปรตวิสัย โอปปาติกะ มนุษย์ เทวดา พรหม.

 

อสังขตลักษณะ
ลักษณะของสิ่งที่ตรงข้ามกับ สังขตลักษณะ ที่ไม่ได้เกิด ไม่ได้เป็น ไม่ถูกอะไรกระทำ ไม่ได้ถูกอะไรปรุงแต่ง (อสังขตธรรม). สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เรียกรวมๆ กันว่า อสังขตาธาตุ. ดู วิมุตติ นิพพาน ร่วมด้วย.

 

อริยบุคคล
พระอริยะ หรือ บุคคลผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (อริยมรรค 8 ประการ) และได้อริยคุณในระดับต่างๆ แบ่งเป็น 4 จำพวก รวม 8 ระดับ.

 

อริยสัจ-4
ความจริงแท้ของธรรมชาติ ที่อยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจจยตา และกระบวนการปฏิจจสมุปบาท. พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต อนาคต และในปัจจุบัน ล้วนแต่ตรัสรู้อริยสัจสี่.

 

อวิชชา
ความไม่รู้, มีคุณสมบัติซ้อนกัน 2 ด้าน คือ คุณสมบัติการเป็น วัตถุ ธาตุ คือ “มันไม่รู้เรื่องอะไร.” และ คุณสมบัติการเป็นจิตธาตุ คือ ความไม่รู้ในอริยสัจสี่. อวิชชา สังขาร วิญญาณ, 3 สิ่งนี้ มีอยู่ควบคู่กันในธรรมชาติ. อวิชชา เป็นปัจจัยหนึ่งในสองปัจจัย ที่ก่อให้เกิด การเวียนเกิด เวียนตายของสัตว์ และ วัฏจักรของสรรพสิ่ง (... มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหา เป็นเครื่องผูก ทำให้สัตว์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปใน วัฏสงสาร)

 

อิทัปปัจจยตา
กฎธรรมชาติ ที่กล่าวกว่า เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น และเมื่อสิ่งนี้ที่เป็นเหตุ ดับไป สิ่งนี้ที่เป็นผล จึงดับไป. อิทัปปัจจยตา เป็นหัวใจ หรือเป็นแกนหลักของ ปฏิจจสมุปบาท.

 

 


บรรณานุกรม

 

(ก) หนังสือ

ธอร์น, คิป เอส. (2554). ประวัติย่อของหลุมดำ Black Holes & Time Warps. แปลโดย ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง, รศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

แนวคิด ทางทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม . พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.

สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้น สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง: จากแนวปฏิบัติสู่

ฮอว์กิ้ง, สตีเฟน. (2554). ประวัติย่อของกาลเวลา ฉบับภาพประกอบ. แปลโดย ปิยบุตร บุรีคำ, ดร. และ อรรถกฤต ฉัตรภูติ, ดร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Tom Shactman. (2008). “The Coldest Place in the Universe.” Smithsonian Journal, January 2008.

(ข) โปรแกรมคอมพิวเตอร์

พุทธวจนสถาบัน. (2555–2560). พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 1 – 16. ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์. [ซอฟต์แวร์]. แหล่งดาวน์โหลด http://watnapp.com/book

สุธี สุดประเสริฐ. (2553). โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียง พุทธวจนจากพระไตรปิฎก (E-Tipitaka v3.0.6 – v3.0.7). [ซอฟต์แวร์]. แหล่งดาวโหลด http://etipitaka.com-#download

(ค) เว็บไซต์

เครือข่ายพุทธวจน วัดนาป่าพง ปทุมธานี. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.watnapp.com – http://www.buddha-net.com

ณัฐฬส วังวิญญู. (2553). ทฤษฎีกายา (Gaia Theory) โลกมีชีวิตในตัวเอง. [ออนไลน์]. สุขใจดอทคอม แหล่งสืบค้น http://www.sookjai.com/index.php?PHPSESSID =s0keg42ltaoq8mrik5q7 dmhhi7&topic=2988.0
http://www.gaiatheory.org/overview/

มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ปทุมธานี. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.buddhakos.org

ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://media.watnapahpong.org

โอฬาร เพียรธรรม. (2559). ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything) มีจริงในพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. สุขใจดอทคอม แหล่งสืบค้น http://www.sookjai.com/index.php?topic =177543.0

https://www.smithsonianmag.com/ science-nature/ the-coldest-place-in-the-universe-8121922/

https://en.wikipedia.org/ wiki/Friedrich_Nietzsche

http://philosophysc.blogspot.com/ 2009/09 friedrich-wilhelm- nietzsche-1884-1900_9608.html

https://en.wikipedia.org/ wiki/Psychoanalytic_theory

https://en.wikipedia.org/ wiki/Quantum_entanglement

https://en.wikipedia.org/ wiki/Principle_of_relativity

https://en.wikipedia.org/ wiki/Standard_Model

https://en.wikipedia.org/ wiki/Thermodynamics

https://en.wikipedia.org/ wiki/Uncertainty_principle

https://en.wikipedia.org/ wiki/Pauli_exclusion_principle

https://en.wikipedia.org/ wiki/Elementary_particle

 

(ง) วารสาร

SCIENCE ILLUSTRATED Journal. Post International Media. Co., Ltd. กรุงเทพมหานคร : ทรินิตี้ พับลิชชิ่ง.

Volume No. 65/2016.

Volume No. 67/2017.

Volume No. 72/2017.

Volume No. 76/2017.

Volume No. 89/2018.

Volume No. 92/2019.

Volume No. 93/2019.

Volume No. 94/2019.

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [TOP]

 


บันทึก เพิ่มเติม

 

หลักกลาง

หลักกลาง เป็นสัมพัทธภาพร่วมกัน ของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสน์ ที่ต่างฝ่ายใช้เป็นแกนร่วม ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น.

หลักกลาง ของ ฟิสิกส์
(สัมพัทธภาพ)

หลักกลาง ของ จิตวิญญาณ
(สังขตธรรม)

1. ในกรอบอ้างอิงทุกกรอบ กฎฟิสิกส์ จะต้องเหมือนกัน

1. ปรากฏการณ์ ของทุกสรรพสิ่ง (วัตถุธาตุ และ จิตธาตุ) ย่อมอยู่ภายใต้หลักกลาง ซึ่งเรียกว่า “สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม”

2. ทุกกรอบอ้างอิง จะมีสิ่ง 2 สิ่งขึ้นไป สัมพัทธกันเสมอ. เช่น อนุภาค 2 ตัว ในเซลเดียวกัน จะประพฤติตน (spin) ต่างกัน.

2. สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม จะสัมพัทธกัน ตามหลัก “อิทัปปัจจยตา–ปฏิจจสมุปบาท–อริยสัจสี่”

3. สิ่งที่สัมพัทธกัน จะสัมพัทธกัน ในเชิง
(1) พลังงาน – มวล
(2) การเคลื่อน – ความเร็ว และ
(3) เวลา

3. การสัมพัทธกัน ของ อิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท – อริยสัจสี่ ก่อให้เกิด ปรากฏการณ์ 3 ปรากฏการณ์ คือ
(1) อนิจจตา
(2) ทุกขตา และ
(3) อนัตตตา

มีเพียงธัมมะธาตุเดียว หรือสิ่งเดียว ที่ไม่อยู่ในกฏเกณฑ์ ของหลักการใดๆ สิ่งนั้น เรียกว่า วิมุตติ นิพพาน.

 

สัมพันธภาพ ของกาลอวกาศ ของวัตถุธาตุ จิตธาตุ

ความรู้สึกนึกคิด และ การปรุงแต่งทางใจ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ก่อเกิด กาลอวกาศ (space-time) ที่ไม่มีขอบเขต แต่มีขนาด อยู่ขนาดหนึ่ง. กาลอวกาศ ที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 รูปแบบ–ลักษณะ คือ

 

(1) กาลอวกาศ ในทางฟิสิกส์ เป็นการอธิบาย ปรากฏการณ์* ที่เกิดขึ้น ในกรวยของเวลา (อดีต อนาคต ปัจจุบัน) ของสสารทุกชนิด ทุกขนาด ตั้งแต่ อะตอม วัตถุธาตุ กลไกชีวะ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ หลุมดำ และ กาแล็กซี.

 

(2) กาลอวกาศ ในทางจิตวิญญาณ คือ ปรากฏการณ์ เกิด-ดับ (การเคลื่อน - movement) ของ จิตวิญญาณ ที่เกิดขึ้นใน กรวยของเวลา* (อดีต อนาคต ปัจจุบัน).

 

(3) กาลอวกาศผสม วัตถุ-จิต ได้แก่ ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น บนจุดตัดกัน ของ กรวยเวลาจริง กับ กรวยเวลาจินตภาพ ก่อให้เกิดแนวคิด ปัจจุบันสัมพัทธ์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้ง ปัจจุบันสัมบูรณ์ และ ปัจจุบันไม่สัมบูรณ์ (ตามทัศนะ เวลาสัมพัทธ์). ดูคำว่า ปัจจุบันจินตภาพ ปัจจุบันสัมบูรณ์ ปัจจุบันสัมพัทธ์ เวลาสัมพัทธ์ ประกอบ.

 

ปรากฏการณ์ ในทางฟิสิกส์ ได้แก่ การเคลื่อน แรงดัน ความร้อน รังสี คลื่น ความโน้มถ่วง เส้นทางผ่าน (event horizon line) หรือ เส้นรอบวง และ ไฮเปอร์สเปซ ตลอดจน ปรากฏการณ์สัมพันธ์อื่นๆ หลักความไม่แน่นอน หลักการกีดกัน. ปรากฏการณ์ ในทางจิตวิญญาณ ได้แก่ การเกิด การเสื่อม การแปรปรวน ไปเป็นอย่างอื่น (ตามหลักสังขตลักษณะ ของสังขตธรรม) ตามเหตุปัจจัย ที่อาศัยกันและกัน เกิด-ดับ (อิทัปปัจจยตา-ปฏิจจสมุปบาท), ความไม่เที่ยงแท้ถาวร (อนิจจตา, ทุกขตา) และ ความไร้ตัวตน (อนัตตตา) ของ ขันธ์-5 .

 

เวลา ของ จิตวิญญาณ เป็นเวลาจินตภาพ (imaginary time) ที่ทิศทางของศรเวลา จะชึ้ในแนวดิ่ง (แกน x) ตัดกับ เวลาจริง ที่มีทิศทางของ ศรเวลา ชี้ไปตามแนวนอน (แกน y). ดังนั้น จุดตัดของ เวลาจินตภาพ กับเวลาจริง ก็คือ ปัจจุบัน นั่นเอง. แต่หลักสัมพัทธภาพ ทำให้ทัศนะ ที่มองปัจจุบัน มีมากกว่าหนึ่งทัศนะ. ดู ข้อ (3) กาลอวกาศผสม วัตถุ-จิต ประกอบ. จุดตัดบนแกน เวลาจินตภาพ กับ เวลาจริง (ปัจจุบัน) มีส่วนคล้ายกับ ปรากฏการณ์ ที่อยู่บริเวณ ภายในเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ ของหลุมดำ (black hole).

 

แสง กับ จิต

 

ความเร็วของจิต กับ ความเร็วของแสง ไม่สามารถวัดเปรียบเทียบกันได้ ด้วยมาตรวัดแบบฟิสิกส์ เพราะ (1) แสง เป็น วัตถุธาตุ จิต เป็น จิตธาตุ (2) อัตรา | ค่า ความเร็วของจิต ไม่ใช่ค่าแบบสเกลลาร์ และก็ไม่ใช่แบบ เวคเตอร์.

แต่สามารถนำมาอนุมานเทียบเคียงกันได้ ด้วยวิธีสัมพัทธ์ เท่านั้น. คือ

แสง เดินทาง ในแนวนอน ตามแกน y (อดีต ปัจจุบัน อนาคต), จิต ไม่ได้เดินทางไปที่ไหน เพราะเกิดแล้วดับทันที สมมุติได้แต่เพียงว่า การเกิด-ดับ ของจิต มี อดีต อนาคตปัจจุบัน เป็นแนวตั้งฉาก (แกน x) กับ แกน y ของแสง. (สตีเฟ่น ฮอว์กิง เรียกว่า เวลาจินตภาพ)

จุดตัดกัน ของทั้งสองแกน อยู่ที่ ปัจจุบัน. ดังนั้น แสงจึงมีการเดินทาง ตลอดเวลา หาที่เริ่มต้น ไม่ได้ และ หาที่สิ้นสุด ก็ไม่ได้ โดยมี แกน x ของจิต กระโดดข้าม ไป-มา ได้ ระหว่าง อดีต อนาคต ปัจจุบัน แบบไม่จำกัด. (เช่น เราฝัน | ปรุงแต่ง ไปอนาคต หรือ ย้อนอดีตได้ ตลอด ทั้งๆ ที่ เราก็นอน หรือ นั่งอยู่กับที่)

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เรา รู้สึกว่า จิตที่ปรุงแต่ง แม้ว่าเหมือน มีการเดินทาง (ตามเรื่องราว อดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ปรุงแต่งขึ้น) แต่ที่จริง มันถูกตรึงอยู่ที่ อยู่กับ ปัจจุบัน ตามเส้น การเดินทาง แนวนอน ของแสง.

ซึ่งอันที่จริง ปัจจุบันสมบูรณ์ (ถาวร) ก็ไม่มีอยู่จริง เพราะ กาลเวลา อวกาศ และ แสง เป็นสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจตา) นั่นเอง.

 

อิทัปปัจจยตา - เหตุและผลของ การเกิดขึ้น ของทุกปรากฏการณ์ อาจไร้ซึ่งทิศทางของเวลา

มีคำพูดหนึ่ง ที่พูดเล่นกัน ในหมู่เพื่อนฝูง “ถ้าคุณไม่มองผม แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ผมกำลังมองคุณ” เป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นเพราะ มีสิ่งหนึ่ง เป็นเหตุ. เช่นเดียวกับ อนุภาค 2 ตัว สื่อสารกันได้ เพราะ อนุภาคตัวหนึ่ง เป็นเหตุ (spin ขวา) อีกตัวหนึ่ง เป็นผล (spin ซ้าย). “ถ้าคุณกำลังมองผม แต่ผมไม่ได้มองคุณ” จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือ เกิดปรากฏการณ์ สื่อสารทางเดียว, รับผล แต่ฝ่ายเดียว (คุณ). เหตุผลข้อนี้ สามารถนำมาอธิบาย เรื่อง กรรมเป็นของตน (ไม่สามารถแบ่งผลของกรรม ให้แก่ใครๆ ได้) ได้อย่างสมเหตุสมผล.

วิญญาณ ของสัตว์หนึ่ง สื่อสารกับ วิญญาณ ของอีกสัตว์หนึ่ง ก่อเกิด การรับรู้ (ผัสสะ) แล้ว สัตว์เหล่านั้น ก็วิวัฒน์การรับรู้นั้น (ผัสสะ) เป็น ชอบ ชัง เฉยๆ. การรับรู้ ที่เกิดจาก วิญญาณ กระทำการเสมือน “ชี้เบาะแส” เป็นปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับ อนุภาคสองตัว สื่อสารกัน ภายใต้พฤติการณ์ที่ว่า “มันไม่รู้เรื่องอะไร

รถยนต์ที่กำลังแล่นสวนกัน มันจะประพฤติตน เช่นเดียวกับ “อวิชชา” คือ “มันไม่รู้เรื่องอะไร”. ถ้าเส้นทางที่มันวิ่งสวนกันนั้น เป็นเส้นเดียวกัน จะทำให้รถยนต์สองคัน ได้รับผล (ชนกัน) ตามอิทธิพลของแรง ที่ไปกระทำ. ผลการชนกัน จะเสียหายมากหรือน้อย (เหตุ-ในปัจจุบัน) ขึ้นอยู่กับ แรงที่ไปกระทำ (ผล-ในอนาคต). และเราไม่สามารถแก้ไข พฤติการณ์ที่ว่า “มันไม่รู้เรื่องอะไร” แต่สามารถ ลดผลเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ (เหตุ-ในอนาคต) ด้วยการ สร้างโปรแกรมต่างๆ (ผล-ในปัจจุบัน) เพื่อ ควบคุมความเร็วรถ ควบคุมการชลอความเร็ว ควบคุมการเลี้ยว เมื่อพบสิ่งที่กำลังจะปะทะ.

 

อวิชชา และ เอกภพ

อวิชชา คือ ต้นเหตุของทุก การอุบัติ (อุปฺปตฺติ – be born | happen ) ย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามที่มันเป็น คือ เกิด เสื่อม ดับสลาย แปรปรวนเป็นอย่างอื่น. อวิชชา เป็น “ปฐมเหตุ” ของสรรพสิ่ง หรือ จักรวาล หรือ สังขารธรรม, อาจเป็นสิ่งที่ นักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า big bang . หมายความว่า จะไม่มีการอุบัติใดๆ เกิดก่อน อวิชชา, เพราะเหตุที่ พื้นหลังของ อวิชชา ก็คือ อวิชชา นั่นเอง.

ดังนั้น การอุบัติ อวิชชา ก็คือสิ่งเดียวกับ คำว่า สังขาร สังขารทั้งหลาย สรรพสิ่ง เหตุการณ์ อารมณ์ ตามกฏสังขตธรรม. จึงอนุมานได้ว่า จักรวาล หรือ เอกภพ กับ อวิชชา เป็นสิ่งเดียวกัน อาจมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง (ซึ่งวัดไม่ได้) และไม่มีขอบเขต. เมื่อมองในมุมสัมพัทธภาพ (ในแง่ของ เวลา พื้นที่ วัตถุ) อวิชชา จึงมีสถานะ “ปฐมเหตุ” 2 สถานะ คือ สถานะวัตถุธาตุ และ สถานะจิตธาตุ.

อวิชชา (ซึ่งแต่เดิม มีอยู่ก่อนแล้ว เช่นนั้น – วัตถุธาตุ) จะยังไม่ปรากฏตัวตน จนกว่า วิญญาณ (ธาตุรู้) จะถูกปรุงแต่งขึ้นมา. และเมื่อวิญญาณ ทำหน้าที่ ก็จะปรากฏสิ่งที่เป็น นามรูป – รูปนาม ซึ่งก็คือ ปฐมเหตุของ ฟิสิกส์ ศาสตร์ และ ธรรม. จึงกล่าวได้ว่า อวิชชา – สังขาร – วิญญาณ – นามรูป จัดเป็นสายพานของ การอุบัติ ที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน และหมุนได้สองทิศทาง คือ (1) ตามเข็มนาฬิกา : อวิชชา –> สังขาร –> วิญญาณ –> นามรูป และ (2) ทวนเข็มนาฬิกา : นามรูป –> วิญญาณ –> สังขาร –> อวิชชา.

 

ความจริง เกี่ยวกับพระเจ้า (ศาสนาเทวนิยม) ในมุมมองสัมพัทธ์กับ เอกภพ (วิทยาศาสตร์) และ สุทธาวาส (พุทธศาสน์).

ผู้ที่นับถือ ศาสนาที่มีพระเจ้า จะมีความเชื่อเรื่อง ชีวิตและความตาย ล้วนแต่อยู่ภายใต้ การดลบันดาลของ พระเจ้า ที่ตนนับถือ ไม่ใช่เกิดจาก กรรม [1] หรือ การกระทำของตนเอง.

______
[1]
กรรม ในความหมายของ พระตถาคต คือ การเกิดขึ้น (อุปปาโท) ของเหตุปัจจัย ที่อาศัยกันและกันเกิด (ไม่ใช่ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดขึ้นมาลอยๆ หรือ เกิดเพราะมีใคร สิ่งใด อำนาจอะไร ดลบันดาล). พระตถาคต ได้จัดระเบียบของกรรม ไว้ในหลักธรรมชื่อ “อิทัปปัจจยตา-ปฏิจจสมุปบาท-อริยสัจสี่”

พวกเขาปรารถนาเช่นเดียวกัน คือ การมีชีวิตนิรันดร์ หรือ ชีวิตอมตะ [2] คือ ตายแล้ว ไปอยู่กับพระเจ้า. หมายถึง ผู้นั้นไปเกิดใน ภพสุทธาวาส [3] (อสัญญีภพ) นั่นเอง. ผู้ไปเกิดใน สุทธาวาส จะนับอายุขัยไม่ได้ ทำให้พระเจ้าของทุกศาสนา เชื่อว่า พระเจ้าเป็นนิรันดร์.

______
[2]
อมตะ ในทัศนะของศาสนาพระเจ้า คือ เกิดมาแล้ว มีชีวิตนิรันดร์ อยู่กับพระเจ้า. แต่ในทัศนะของ พระตถาคต อมตะ คือ ไม่มีการเกิดปรากฏ (น อุปปาโท ปัญญายติ) ไม่มีการเสื่อมปรากฏ (น วโย ปัญญายติ) เมื่อตั้งอยู่ มีอยู่ ก็ไม่มีภาวะอื่นใดปรากฏ คือ ไม่แปรปรวน (น ฐิตัสสะ อัญญะถัตตัง ปัญญายติ). สรุป เมื่อมีมีเกิด ก็ไม่มีตาย นั่นเอง.

[3]
อสัญญีภพ เป็นที่อยู่ของ สัตานังประเภท พรหม หรือ อนาคามี. มีชื่อเรียกอื่นอีก คือ สุทธาวาส, เนวสัญญานาสัญญายตนะ. ผู้ที่เกิดในอสัญญีภพ จะถูกเรียกว่า อสัญญีสัตว์ ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย สังขาร และ วิญญาณ (ไม่ครบขันธ์ห้า) จึงมีชีวิตอยู่ภายใตความรู้สึกว่า จะมีก็ไม่ใช่ จะไม่มีก็ไม่ใช่.

เอกภพ ไม่มีโดดเดี่ยว มีลักษณะเป็นพหุ. เอกภพแต่ละเอกภพ ตอนเกิด เรียก bigbang เกิดแล้ว ก็ขยายตัวไปเรื่อยๆ (ด้วยความเร็วแสง) และค่อยๆ สลายไป. เอกภพ มีปริมาณหลากหลาย เหมือนฟองสบู่. เช่นเดียวกับ ความเป็นพระเจ้า และ การมีอยู่ของ สุทธาวาส.

แท้จริงแล้ว, คุณลักษณะ—สมบัติ (ร่วม หรือเป็น มูลฐาน) ของ 3 สิ่งต่อไปนี้ คือ พระเจ้า God, เอกภพ หรือ จักรวาล (universe), สุทธาวาส (realm perception) เป็นสิ่งเดียวกัน เพราะ

(1)
พระเจ้า และ สุทธาวาส ไม่มีมวล ไม่มีพลังงาน มีแต่ นาม (ชื่อเรียกขาน) จึงมองไม่เห็น ตัวตน ในสายตามนุษย์.

ส่วน เอกภพ แม้จะมีส่วนประกอบด้วย ธาตุ (มวล พลังงาน) ที่นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบแล้ว กว่า 4.5% แต่ก็ไร้ขอบเขต และมีสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่วัตถุธาตุ ซ่อนอยู่. สิ่งที่ซ่อนอยู่นี้ (จิตธาตุ) จะว่ามี ก็ไม่ใช่ เพราะยังหาไม่พบ, จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะที่ว่างในเอกภพที่เหลือกว่า 95% อาจมีบางสิ่งซ่อนอยู่ ซึ่งยังหาไม่พบเช่นกัน.

(2)
ผลจากจาก ข้อ (1) ทำให้ทั้ง 3 สิ่ง ไม่มีตัวตน ไม่มีขอบเขต แต่มีขนาด อยู่ขนาดหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถวัดระยะได้ ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์.

พระเจ้า มีได้ในทุกๆ ที่ ทุกกาลเวลา ในเอกภพ. สุทธาวาส ก็มีอยู่ในทุกๆ ที่ ทุกกาลเวลา ในเอภพ เช่นกัน. ความเป็นพระเจ้า มีอยู่ เพราะมีผู้นับถือ บัญญัติขึ้น และกล่าวนามเรียกขาน. เมื่อยุคกาลเปลี่ยนไป นามเรียกขานของพระเจ้า ที่ผู้นั้นบัญญัติขึ้น ก็เปลี่ยนไป สูญหายไปได้.

ขอบของ เอกภพ สุทธาวาส ไม่อาจวัดด้วยระยะทาง แต่อาจวัดด้วยระยะเวลา (กัป) [นรก ก็ใช้วิธีวัดระยะด้วยเวลา เช่นกัน]

(3)
คุณลักษณะ—สมบัติ ของทั้ง 3 สิ่ง, พระตถาคต อธิบายไว้ใน พระสูตร สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม (บาลี ติก. อํ. 20/192/486.)

“... สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 อย่าง ... คือ 1. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ); 2. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ); 3. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ) ...”

(4)
เอกภพ พระเจ้า สุทธาวาส - เป็นธัมมะธาตุ ที่ดำรงอยู่ ภายใต้หลัก สังขตธรรมเดียวกัน (ลักษณะ 3 ประการ และ คุณสมบัติ 4 ประการ)

คือ มีอยู่ ตั้งอยู่แล้ว เป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตา), เป็นกฏตายตัว เป็นธรรมดา (ธัมมนิยามตา), มีความเป็นอย่างนั้น มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว (ตถตา), เมื่อเป็นอย่างนั้น จะไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างอื่น (อวิตถตา), เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว จะไม่ผันแปรไปเป็นอย่างอื่น (อนัญญถตา), เป็นสิ่งที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) ... [บาลี นิทาน. สํ. 16/30/61]

พระเจ้า มีการเกิด ก็มีการเสื่อมเช่นกัน และระยะเวลาเสื่อม ยาวนานมาก แต่ในที่สุดก็ตายเหมือนกัน. และในระหว่างเสื่อม (รอตาย) ก็มีความแปรปรวน คือ เป็นทุกข์ (ทนสภาพเดิมไม่ได้) ไม่เที่ยง (อนิจจัง) พระเจ้าจึงไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน (อายุยาวนานมาก ไม่ตายสักที จึงเข้าใจว่าตนเอง เป็นอมตะ มีตัวตน)

ดังนั้น เอกภพ พระเจ้า และ สุทธาวาส จึงไม่ใช่สิ่งที่จะสลายได้ง่ายๆ แต่ก็สลายไปในที่สุด. ดุจเดียวกับ หลุมดำ เพียงแต่ว่า อาศัยกาลเวลา ที่ยาวนานมากๆ เกินกว่ามนุษย์จะรับรู้ได้.

 

ความเหมือนกัน ของธรรมชาติฟิสิกส์ กับ ธรรมชาติของจิต

 

เมื่อสิ่งหนึ่ง “ถูก” อีกสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณและลักษณะเดียวกัน ย่อมไม่แสดงตนว่า “ถูก” และนั่นไม่ได้ หมายถึงว่า สิ่งอันหลัง ผิด.

นี่คือ สัจธรรมของธรรมชาติ ของการเกิด การเสื่อม ของสรรพสิ่ง.

 

อนุภาคคู่หนึ่ง เมื่อนำมันมาสื่อสารกัน (เรียกว่า การพัวพันเชิงควอนตัม - Quantum Entanglement) ด้วยการสร้าง หรือ ให้พวกมันทำปฏิกิริยากัน ในเชิงของสถานะควอนตัม (quantum state), เมื่อ อนุภาคหนึ่ง หมุน (spin) ซ้าย อีกอนุภาคหนึ่ง จะหมุนขวาทันที, จะไม่มี อนุภาค หมุนไปทางเดียวกัน คราวละสองตัวพร้อมกัน.

 

อนุภาคแสง (photon) เกิดดับ ตามคุณสมบัติ ในความเป็น ควอนต้า ซึ่งมีความคล้ายกับ การเกิดดับ ของวิญญาณ. ทำให้เรารู้สึกว่า แสงมีความสว่างตลอดเวลา, ซึ่งที่จริง ดวงของอนุภาคแสง หรือ quanta มีจำนวนเป็นอนันต์ และ เกิดดับ (กระพริบ) ตลอดเวลา.

จะไม่มีอนุภาคแสงอนุภาคใด สว่าง (เกิด) พร้อมๆ กัน คราวละ สองอนุภาค.

 

วิญญาณ ดวงหนึ่งดับ อีกดวงย่อมเกิด, จะไม่มี วิญญาณเกิดหรือดับ พร้อมๆ กัน คราวละสองตัว. อาจกล่าวได้ว่า นี่คือ การพัวพันกันของวิญญาณ ในลักษณะเดียวกันกับ การพัวพันกันเชิงควอนตัมของอนุภาค. ทำให้เกิดปรากฏการพัวพันกันของวิญญาณ ในลักษณะ เกิด-ดับ. ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบหนึ่ง ที่มีความเร็วเหนือแสง (faster-than-light speeds)

 

วิญญาณ แต่ละดวง ย่อมเกิดเกาะใน ขันธ์ ได้คราวละหนึ่งขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, วิญญาณ จะไม่เกิดเกาะ สองขันธ์ ในเวลาเดียวกัน. (ทั้งนี้ เพื่อให้ เกิดช่องว่าง ระหว่าง เกิด-ดับ ของวิญญาณ, ช่องว่างนี้ จะเป็นพื้นที่ของ สุญญตา หรือ วิมุตติ นิพพาน)

 

ในยุคกาลเดียวกัน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมไม่มาอุบัติพร้อมกัน สององค์. ก็อนุมานด้วยเหตุผลเดียวกัน.

 

หากมองทั้งระบบแล้ว ช่องว่างใดๆ ของเวลา ที่อยู่ระหว่างการพัวพันกัน ของสองสิ่งหรือมากกว่าสองสิ่ง นั้น ทั้งเล็กและคับแคบอย่างยิ่งยวด. ในทัศนะของฟิสิกส์ มีความยุ่งยากเป็นอย่างมาก ที่จะวัดค่าของมัน ในทัศนะของจิตวิญญาณ ยิ่งมีความยุ่งยาก ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปไม่ได้เลย.

 

สิ่งเสมือนมีชีวิต (visual life)

 

สัตตะธัมมะธาตุ คือ ความสัมบูรณ์ ของปรากฎการณ์ของสรรพสิ่ง ซึ่งประกอบกันเป็นรูปนาม ที่มีความหลากหลาย ทั้งขนาดและรูปแบบ ตั้งแต่ อนุภาค อะตอม โมเลกุล เซลล์ วัตถุ สิ่งมีชีวิต ไปจนถึง ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ดาราจักร จักรวาล (เอกภพ). 

การศึกษา สัตตะธัมมะธาตุ ก็คือ การศึกษา วัตถุธาตุ และ จิตธาตุ นั่นเอง.

วัตถุธาตุ มีคุณสมบัติมูลฐาน ที่ไม่อาจแยกย่อยต่อไปได้อีก 3 ข้อ คือ
ขนาด – มิติ,
พื้นที่ – ความหนาแน่น,
ตำแหน่ง – ความเร็ว
.

ส่วน จิตธาตุ ก็มีคุณสมบัติมูลฐาน 3 ข้อ เช่นกัน คือ
ภพ – การอุบัติเกิด,
สังขาร,
วิมุตติ – นิพพาน
.

 

การไม่หยุดนิ่งของเอกภพ ทำให้เอกภพกลายเป็น สิ่งเสมือนมีชีวิต (visual life), ชีวิตเสมือนของเอกภพ ช่วยให้เรามีมุมมองที่ชัดเจน และเข้าใจสรรพสิ่ง ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมองเห็น และเข้าถึงความจริงบางอย่าง ที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้ หรือวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้.

 

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [TOP]

 

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน 

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ

บทความ (สรุปจากหนังสือทั้งเล่ม)

 

 

 

 

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net