หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

 

มี โจร เพราะ มี ประตูบ้านเปิดอ้า.
มี การลักขโมย เพราะ ประตูที่เปิดอ้า มีทรัพย์อยู่ข้างใน.
มี ของถูกลักขโมย เพราะ เจ้าของไม่ดูแลทรัพย์ของตน.

เมื่อ สิ่งนี้มี สิ่งนี้ ย่อมมี
เมื่อ สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ ย่อมเกิดขึ้น
,

ดังนี้แล.

 

11 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:คิดต่างมุม มองต่างม่าน เรื่อง เลี้ยงพระ อยากรวย อยากสุข

 

“อยากจน ให้เลี้ยงพระ ...
อยากรวย ให้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ...
อยากสุขสบาย ให้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่”

คำสอนของหลวงพ่อตัด ปวโร (ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร)

มีคนแชร์กันบ่อย แต่เห็นต่าง หน่อยนะท่าน,

 

(1) ที่ว่า อยากจนให้เลี้ยงพระ ... เป็นการพูด แบบเหมาหมก เหตุผล ไม่เข้ากัน!

พระท่านกินน้อย ใช้น้อย อยู่แล้ว โยมจะเสียหายสักเท่าไรกัน กับการเลี้ยงพระ.

เลี้ยงไปเถอะ นาบุญของศาสนา ไม่เคยมีปรากฏว่า คนจนลง เพราะจัดหาอาหาร ถวายเลี้ยงพระ. ที่จนเพราะถูกพระอลัชชี หลอกเอาเงินไปให้ อ้างบุญบังหน้า แบบหมดเนื้อหมดตัว นั่นต่างหาก.

นั่นแหละ ที่ทำให้จน แต่ก็ไม่เกี่ยวกับ การเลี้ยงดู ทำทาน ถวายอาหารพระ.

ส่วนบรรดาพระเสี่ย รวยล้นฟ้าทั้งหลาย ก็อาบัติปาจิตตีย์ ตลอดชาติ แบบไร้ยางอาย เพราะสะสมเงินทอง (ถ้าไม่สละออก ก็ยังอาบัติ อยู่นั่นเอง) โยม ก็ควรจะไป คว่ำบาตร ซะ. จะได้ ไม่ก่อเวรก่อกรรม ให้ทั้งแก่ ศาสนา และ ตัวญาติโยมเอง.

 

(2) ที่กล่าวว่า อยาก รวยให้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อันนี้ ก็ไม่จริง เสมอไป!

โดยเฉพาะ สังคมเศรษฐกิจ แบบมือใครยาว สาวได้สาวเอา, ไม่ว่า เกษตรกร จะเลี้ยงเป็ด สุกร หมาน่อย ธรรมดา หรือ ฝูงวัวฝูงควาย. เกษตรกร เหล่านั้น ก็ยังจนอยู่แบบเดิม เพราะถูกหลอก ถูกลากจูง (ไม่ต่างจาก วัว ควาย ถูกร้อยเชือก ที่จมูก) ให้เข้าไปในสายพานทาส ของระบบทุนนิยม-บริโภคนิยม.

จะว่าไปแล้ว ในหลวง ร.9 ได้ทรงวางแนวทาง ให้เกษตรกร เดินตามรอยพระราชดำริ “พึ่งตน พอเพียง” แต่ มันมีคนไม่ดี ที่มีอำนาจ (นักการเมือง) แอบมาลักเอา สมองและ พระราชดำริ ออกไปจากชาวบ้าน.

มันทำแบบนี้ ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี จนกระทั่งแก่นแท้ ในพระราชดำริ ค่อยๆ เลือนหายไป. จนมีคนบางกลุ่ม ถูกหลอก ให้เชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแค่ทฤษฎี.

ชาวบ้าน กลายเป็นคน สมองบริสุทธิ์ เพราะถูกล้าง ทุกวัน. เป็นเหตุ ให้ยากจน มาถึงทุกวันนี้ไงล่ะ!!

อยากรวย ... นั่นแหละ จะทำให้จน ยิ่งขึ้น.
พึ่งตน พอดี ... นี่สิ หนทาง พ้นทุกข์ โดยไม่ต้อง รวย. (ทุกข์ หายไป สุข ก็มาเอง โดยไม่ต้อง ขอ, รวย ก็แค่สิ่งสมมุติ)

 

นี่ .. ท่านต้องสอน ต้องพูดแบบนี้.

 

(3) ที่ว่า อยากสุขสบาย ให้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่.

ข้อนี้ มีส่วนจริง และไม่จริง. ในสังคมยุค 5G เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ไม่ใช่เรื่องง่าย และสบาย อย่างที่พูด.

ประการแรก, คนรุ่นใหม่ รักอิสระ และความเท่าเทียม. ความคิดที่จะ เลี้ยงพ่อแม่ ลดน้อยลงไปมาก อย่างน่าใจหาย.

ประการที่สอง, พ่อแม่ยุคใหม่ ก็เอาใจยากซะด้วย ขี้ใจน้อย ปากไม่มีวินัย กินอาหารก่อโรค บางคน ก็พูดจาด้วยภาษา ไม่ต่างจากรุ่นลูก เลยไม่มีขอบเขต แยกแยะว่า นั่นพ่อ นั่นลูก “กู-มึง, เหี้ย-สัตว์” เท่ากัน.

ความสุข จึงหาได้ยาก เมื่อคิดว่า ถึงคราว จะต้องเลี้ยงพ่อแม่ และ ผู้เป็นพ่อแม่ ก็ยากที่จะหวังว่า ลูกจะมาเลี้ยงดู ตอนแก่.

ที่ถูกที่ควร ต้องบอกสอน ให้ทำใจข้างใน ละ หน่าย คลาย จาง จาก ริษยา พยาบาท ผรุสวาท ตัณหา.

หรือจะไปลอก copy พุทธวจน ของพระศาสดา มาบอกต่อ ก็ยิ่งดี. นอกจาก เป็นการแสดง ความกตัญญู ต่อศาสนา แล้ว ยังถือว่า เป็นพระสาวกอยู่. (พระศาสดา ไม่อนุญาต ให้พระสาวก คิดปรุงแต่ง ดัดแปลง ธรรมะ ของพระองค์. แต่ให้ แสดงธรรม หรือ copy คำของพระองค์ เท่านั้น)

เมื่อพูดมาถึง บรรทัดนี้ ทำให้ นึกถึง ข้อสรุป เกี่ยวกับ สุข ทุกข์ ของ ปราชญ์ ท่านหนึ่ง ที่กล่าวว่า

 

“ทุกข์” มีไว้ให้ “เห็น” มิใช่มีไว้ให้ “เป็น”
“สุข” มีไว้สำหรับ “เป็น” แม้จะ ไม่เห็น
“ทุกข์” คือ ต้นทุน ในการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหา
“สุข” คือ กำไร ที่ได้รับจาก การแก้ปัญหา
ทั้ง ทุกข์ และ สุข เป็นเพียง “ความรู้สึก” ที่เห็นได้ และ เป็นจริง
แต่ “ความรู้สึก” เป็น อารมณ์ที่ แปรปรวน
การกำจัด “อารมณ์แปรปรวน” เสียได้ คือ “สมาธิ”
ดังนั้น “สมาธิ” จึงปราศจาก ทั้ง สุข และ ทุกข์.

 

ก็พอจะเห็นทางออกได้บ้างนะ สำหรับ คนอยากรวย อยากสุขสบาย แต่ยังมองไม่เห็นวิธี ที่เหมาะใจ.

โยมที่ไม่เข้าใจ ถ่องแท้ ชอบแชร์ คำของ หลวงพ่อ ปวโร กันจัง.

ปีนี้ จึงขออธิบาย ขยายความ ให้ชัดขึ้น อีกสักหน่อย เพื่อให้เกิด ปัญญาพละ ปัญญินทรีย์.

 

11 พ.ย. 2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:สิ่งเสมือนมีชีวิต (visual life): มองในมุมของ สัตตะธัมมะธาตุ.

 

สัตตะธัมมะธาตุ คือ ความสัมบูรณ์ ของปรากฎการณ์ของสรรพสิ่ง ซึ่งประกอบกันเป็นรูปนาม ที่มีความหลากหลาย ทั้งขนาดและรูปแบบ ตั้งแต่ อนุภาค อะตอม โมเลกุล เซลล์ วัตถุ สิ่งมีชีวิต ไปจนถึง ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ดาราจักร จักรวาล (เอกภพ). การศึกษา สัตตะธัมมะธาตุ ก็คือ การศึกษา วัตถุธาตุ และ จิตธาตุ นั่นเอง.

 

วัตถุธาตุ มีคุณสมบัติมูลฐาน ที่ไม่อาจแยกย่อยต่อไปได้อีก 3 ข้อ คือ
ขนาด – มิติ.
พื้นที่ – ความหนาแน่น.
ตำแหน่ง – ความเร็ว.

 

ส่วน จิตธาตุ ก็มีคุณสมบัติมูลฐาน 3 ข้อ เช่นกัน คือ
ภพ – การอุบัติเกิด.
สังขาร.
วิมุตติ – นิพพาน.

 

การไม่หยุดนิ่งของเอกภพ ทำให้เอกภพกลายเป็น สิ่งเสมือนมีชีวิต (visual life), ชีวิตเสมือนของเอกภพ ช่วยให้เรามีมุมมองที่ชัดเจน และเข้าใจสรรพสิ่ง ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมองเห็น และเข้าถึงความจริงบางอย่าง ที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้ หรือวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้.

 

15 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:ระวัง ไอ้สี่เกลอ

 

หงุดหงิด
งุ่นง่าน
ง่วงเหงา
งุนงง

 

มันจะพากันมา เกาะกินกบาลเรา ... ระวังไว้นะ!
มันมา สมองก็ตีบตัน แถมพาไอ้โง่ มาคุยกะเราอีกตะหาก ...

 

7 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:ท่องเที่ยวดี ต้องมี 4 ปัจจัย

 

(1) รถดี
(2) ถนนดี
(3) เพื่อนดี
(4) สถานที่ดี (สวยงาม ปลอดภัย อาหาร ที่พัก บริการ)

 

2 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:การเพียรเผากิเลส ที่ถูกต้อง คืออย่างไร?

 

ชาวพุทธ เข้าใจผิดว่า การเพียรเผากิเลส คือ ต้อง “ฝืน” หรือ “ออกแรง” ต่อต้าน ต่อสู้ กับ ความอยาก ทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในใจ.

นั่นก็ถูก เป็นแนว สายบู๊. แต่มีอีกแนวหนึ่ง (สายบุ๋น) ที่คนมองข้าม และเข้าใจผิด ว่านี่ไม่ใช่ การเพียรเผากิเลส.

นั่นคือ การรู้ลมหายใจ หรือ อานาปานสติ. หากทำให้ต่อเนื่อง ยิ่งต่อเนื่อง ยิ่งเป็นสมาธิ ยิ่งก่อเกิดพลัง เผากิเลส ได้เช่นกัน.

เพราะความสิ้นไป แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ. เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่ง ราคะ.

นันทิ ความเพลิน, ราคะ ความอยาก เป็นกิเลส ที่เรารู้ทันได้ยาก แทรกซึมเข้ามา ไม่รู้ตัว ต้องเพียรเผามัน ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง.

และวิธีที่พระตถาคต แนะนำมา แนะนำบ่อยที่สุด ให้ทำ คือ รู้ลม อานาปานสติ.

 

ลมหายใจ มา, นันทิ-ราคะ ไป
ลืมลมหายใจ, นันทิ-ราคะ มา

 

หมายเหตุ -
นันทิ-ราคะ เปรียบเหมือน โลหิต ในร่างกายของกิเลส. ไม่ว่าจะเป็นกิเลส สายพันธุ์ดูด-โลภะ (เวทนา ตัณหา อุปาทาน) สายพันธุ์ผลัก-โทสะ (เวทนา โกรธ พยาบาท ริษยา) สายพันธุ์ไม่ดูดไม่ผลัก-โมหะ ย่อมมี นันทิ-ราคะ เป็นกระแสเลือด ไหลเวียน. การละนินทิ-ราคะ ตถาคต สรุปลงตรงที่ อัปปะมาทะ ไม่ประมาท นั่นเอง.

 

6 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:มองกัน คนละมุม

 

(1) โลกในความเกลียดชัง

 

จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เห็นแบบนี้ ...

#ฆาตกร
บีบให้จน...แล้วแจก
กดให้โง่...แล้วปกครอง
ปล่อยให้ป่วย...แล้วรักษา
ใช้ภาษีที่รีดมา...สร้างบุญคุณ

#ปล้นทำลายชาติ
"การทำให้ผู้คน สิ้นหวัง
และยอมแพ้ เป็นวิธีหนึ่ง
ที่จะทำให้ อยู่ในอำนาจ
ได้นานๆ ยาวๆ
และใช้อำนาจ
ได้มากขึ้นเรื่อยๆ"


(2) โลกในความเป็นจริง

 

เห็นแบบนี้ ...

-ปล่อยให้รวย แล้วรีดภาษี (ถ้าทำได้นะ!)
-ส่งเสริมให้ฉลาด แล้วให้อิสระเสรี (ทำเลว อัปปรีย์อย่างไรก็ได้)
-ป่วยแล้วรักษาฟรี จากการรีดภาษีของคนรวย (ซึ่งเป็นเรื่องยาก)

3 เรื่องนี้ ถ้าคุณ (มึง) ทำได้ ถือเป็นบุญคุณ ต่อประเทศชาติ.

 

(3) หวย! ช่วย หรือ ทำลาย ชาติ?

 

จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เห็นแบบนี้ ...

การทำให้ผู้คน มีหวังและไม่ยอมแพ้ เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ หวย ขายได้นานๆ ยาวๆ และใช้ หวย นั่นแหละ เป็นเครื่องมือ สร้างอำนาจ สร้างบารมี มากขึ้นเรื่อยๆ

 

เห็นแบบนี้ ...
“การทำให้ผู้คน สิ้นหวัง (ถูกหวยแดก) และยอมแพ้ (เลิกซื้อหวย) เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้ อยู่ในอำนาจ
ได้นานๆ ยาวๆ และใช้อำนาจ
ได้มากขึ้นเรื่อยๆ” ... มันจริงตรงไหนวะ!!

 

2 มิ.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:วจนะ ที่มีความหมายเดียวกัน เพื่อไปสู่ การปล่อยวาง

 

คำเหล่านี้ บ่งบอกสภาวะ/สถานะ ของ “สัตว์” (มนุษย์ เทวดา เปรต เดรัจฉาน นรก) ที่เวียนวนเกิด-ตาย
ในสังสารวัฏ เป็นจำนวนอนันต์รอบ. คือ วน loop เกิด-ตาย ตาย-เกิด เพราะมี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มี ตัณหา เป็นเครื่องผูก สัตว์ ไว้ใน loop.

- ละนันทิ (นันทิ = ความเพลิน)
- ละราคะ (ราคะ = นันทิ)

- ละสังโยชน์ (สังโยชน์ = เครื่องร้อยรัด ให้ผูกติดกับ นันทิ ราคะ)

- อานาปานสติ (รู้ลมหายใจ = ละนันทิ ละราคะ ละสังโยชน์)

- ไม่ประมาท
(อัปปมาทะ = เหตุให้เกิด นันทิ ราคะ สังโยชน์)

 

*อัปปมาทะ คือ คำสุดท้าย ของพระศาสดา ก่อน ปรินิพพาน.

สรุป อานาปานสติ หนึ่งใน สติปัฏฐานสี่ เป็นต้นทุน ที่มีราคาถูกที่สุด อยู่ใกล้ที่สุด เป็นสมาธิ ที่พระศาสดา สรรเสริญ มากที่สุด (พูดบ่อยที่สุด) และ เรียกมาใช้ได้ทุกเวลา.

ดังนั้น ในทุกๆ วัน ทุกนาที จงรู้ลมหายใจเข้าไว้ ให้ได้นานที่สุด.

ท่านจะนับถือศาสนาใดก็ตาม ลมหายใจ มีอยู่ในทุกๆ ที่ จงใช้ให้เป็นประโยชน์.

เพราะ ลมหายใจ นี่แหละ จะเป็นปราการสุดท้าย ที่ทำให้เรา ปล่อยวางได้ ในที่สุด.

 

30 พ.ค. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:เส้นทางหลุดพ้น เปรียบเหมือนเส้นจีโอเดสิค

 

เพราะเหตุใด “เส้นทางหลุดพ้น” ลัด ตรง จริง จึงต้องรับฟัง เฉพาะวจนะของตถาคต เท่านั้น.

อุปมาเหมือนว่า ... เมื่อได้ลิ้มรสอาหาร ที่อร่อยที่สุดแล้ว, อย่างอื่น ที่ได้ลิ้มรสถัดมา ย่อมไม่อร่อย.

ก็เช่นเดียวกันกับ การเรียนรู้เรื่อง จิตวิญญาณ และนิพพาน จากทฤษฎีต้นฉบับ ที่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ผู้นั้น จะฟังคำบรรยาย เกี่ยวกับจิตวิญญาณและนิพพาน ซึ่งเป็นคำพูด บรรยายของผู้อื่นนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ เต็มไปด้วยวลี โวหาร กาพย์กลอน เป็นเรื่องนอกแนวนิพพาน เป็นสิ่งที่ผู้พูด นึกคิด ตริตรองเอาเอง.

ผู้ที่รู้ เข้าใจ เข้าถึง จิตวิญญาณ และ นิพพาน ได้ดีที่สุด คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ นั่นต่างหาก ที่เราพึงเรียน พึงรับฟัง พึงใคร่ครวญ.

ใครอื่นพูด ย่อมสุ่มเสี่ยง ในความผิดพลาดได้ง่าย. เพราะเส้นทางนิพพาน แคบ เล็ก อย่างยิ่ง ดุจเดียวกับ การกำหนดองศา ของยานอวกาศ ที่จะให้พุ่งตรงไปยังดวงดาวเป้าหมาย ในอีกกาแลกซี่หนึ่ง โดยไม่ให้ผิดพลาด แม้แต่ หนึ่งในพันล้าน ของหน่วยลิปดา.

ผู้ปรารถนา เส้นทางหลุดพ้น (นิพพาน) ลัด ตรง ดุจเดียวกับการเลือก เส้นจีโอเดสิก (geodesic) ซึ่งเป็นเส้นตรงที่สั้นที่สุด ระหว่าง 2 จุด บนผิวโค้ง, ย่อมที่จะฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตที่จะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

เพราะ ทฤษฎีของพระองค์ เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา.

 

29 พ.ค. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:บางสิ่ง กับ ความเหมาะสม

 

บางสิ่ง เหมาะสมกับเรา (ในสายตาของคนอื่น) แต่เราไม่ชอบ,
บางสิ่ง ไม่เหมาะสมกับเรา (ในสายตาของคนอื่น) แต่เราชอบ.
บางครั้ง สิ่งที่ ทั้งเหมาะสมกับเราและที่เราชอบ แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ สิ่งนั้นก็ไร้ประโยชน์.

 

18 พ.ค. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:สิ่งที่เหมือนกัน ของ อนุภาค วิญญาณ ตถาคต

 

ความเหมือนกัน ของธรรมชาติฟิสิกส์ กับ ธรรมชาติของจิต มีอยู่. เมื่อสิ่งหนึ่ง “ถูก” อีกสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณและลักษณะเดียวกัน ย่อมไม่แสดงตนว่า “ถูก” และนั่นไม่ได้ หมายถึงว่า สิ่งอันหลัง ผิด.

นี่คือ สัจธรรมของธรรมชาติ ของการเกิด การเสื่อม ของสรรพสิ่ง.

—อนุภาคคู่หนึ่ง เมื่อนำมันมาสื่อสารกัน (เรียกว่า การพัวพันเชิงควอนตัม - Quantum Entanglement) ด้วยการสร้าง หรือ ให้พวกมันทำปฏิกิริยากัน ในเชิงของสถานะควอนตัม (quantum state), เมื่อ อนุภาคหนึ่ง หมุน (spin) ซ้าย อีกอนุภาคหนึ่ง จะหมุนขวาทันที, จะไม่มี อนุภาค หมุนไปทางเดียวกัน คราวละสองตัวพร้อมกัน.

—อนุภาคแสง (photon) เกิดดับ ตามคุณสมบัติ ในความเป็น ควอนต้า ซึ่งมีความคล้ายกับ การเกิดดับ ของวิญญาณ. ทำให้เรารู้สึกว่า แสงมีความสว่างตลอดเวลา, ซึ่งที่จริง ดวงของอนุภาคแสง หรือ quanta มีจำนวนเป็นอนันต์ และ เกิดดับ (กระพริบ) ตลอดเวลา.

จะไม่มี ของอนุภาคแสงอนุภาคใด สว่าง (เกิด) พร้อมๆ กัน คราวละ สองอนุภาค.

—วิญญาณ ดวงหนึ่งดับ อีกดวงย่อมเกิด, จะไม่มี วิญญาณเกิดหรือดับ พร้อมๆ กัน คราวละสองดวง. อาจกล่าวได้ว่า นี่คือ การพัวพันกันของวิญญาณ ในลักษณะเดียวกันกับ การพัวพันกันเชิงควอนตัมของอนุภาค.

ทำให้เกิดปรากฏการพัวพันกันของวิญญาณ ในลักษณะ เกิด-ดับ. ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบหนึ่ง ที่มีความเร็วเหนือแสง (faster-than-light speeds)

—วิญญาณ แต่ละดวง ย่อมเกิดเกาะใน ขันธ์ ได้คราวละหนึ่งขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, วิญญาณ จะไม่เกิดเกาะ สองขันธ์ ในเวลาเดียวกัน.

(ทั้งนี้ เพื่อให้ เกิดช่องว่าง ระหว่าง เกิด-ดับ ของวิญญาณ, ช่องว่างนี้ จะเป็นพื้นที่ของ สุญญตา หรือ วิมุตติ นิพพาน)

—ในยุคกาลเดียวกัน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมไม่มาอุบัติพร้อมกัน สององค์.

หากมองทั้งระบบแล้ว ช่องว่างใดๆ ของเวลา ที่อยู่ระหว่างการพัวพันกัน ของสองสิ่งหรือมากกว่าสองสิ่ง นั้น ทั้งเล็กและคับแคบอย่างยิ่งยวด. ในทัศนะของฟิสิกส์ มีความยุ่งยากเป็นอย่างมาก ที่จะวัดค่าของมัน ในทัศนะของจิตวิญญาณ ยิ่งมีความยุ่งยาก ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปไม่ได้เลย.

18 พ.ค. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:ไม่มีสิ่งใด จะชั่วร้ายเท่า "ดอกเบี้ย"

 

ดอกเบี้ย ไม่ใช่ พระเจ้า แต่มันคือ จอมซาตาน (ตำแหน่งผู้นำสูงสุด ของความชั่วร้าย - dictator)

ดอกเบี้ย เป็นประกาศิต (mandate | edict) เด็ดขาด ไร้การผ่อนปรน.

ดอกเบี้ย เป็นประธานาธิบดี ของเงินทุกสกุล.

ดอกเบี้ย เป็นนายกมนตรี ของสถาบันการเงิน (ธนาคาร) ทุกแห่ง.

ดอกเบี้ย เป็นปีศาจ มีอำนาจมนต์ดำ ครอบงำวิถีชีวิต ทุกคน.

ดอกเบี้ย มีชีวิตอยู่บนกาลเวลา มีเงินต้น เป็นอาหาร มีนักทวงหนี้ เป็นบ้านอาศัย. มันไม่เคยเจ็บป่วย และไม่มีวันตาย. เป็นสิ่งไร้หัวใจ ไร้ความเมตตา ปราณี.

ดอกเบี้ย เป็นเหตุให้เกิด ทาส ไพร่ ส่วย ความบาดหมาง ความแตกแยก สงคราม. ทำลายมิตรภาพ ระหว่างญาติพี่น้อง มิตรสหาย.

ดอกเบี้ย ไม่มีบรรพบุรุษ ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไร้เพศ แต่สามารถมีทายาท (ดอกเบี้ยทบต้น) ได้ตลอดเวลา.

ตัวตนของ ดอกเบี้ย มีลักษณะเป็น ดวง. ดอกเบี้ย แต่ละดวง เป็นอิสระต่อกัน, ดวงหนึ่งดับไป อีกดวงหนึ่งเกิดขึ้น ตลอดวันตลอดคืน (เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ไม่ได้มีรายเดียว). ส่งผลให้มัน เป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันหายไปจาก ชีวิตของคน.

เราจะก่นด่า สาปแช่ง ด้วยโทสะ ไอ้สัส เหี้ย ควาย นรก อุบาทว์ อัปรีย์ จัญไร หยาบคายอย่างไร มันก็ไม่สะดุ้งสะเทือน. เพราะอย่างไรเสีย คน (เจ้าหนี้ - ลูกหนี้) จะต้องเรียกใช้มัน มาใช้เป็นข้อต่อรอง เป็นข้อตกลง กันอยู่ดี.

ไอ้คนเอ๋ย! พวกมึง หนีกูไม่พ้นหรอก แม้แต่รายเดียว” นี่คือ คำสบประมาท ท้าทายของดอกเบี้ย ที่เราไม่อาจโต้แย้งมันได้เลย.

แต่ ... มีสิ่งมีชีวิตเพียงประเภทเดียว ที่ดอกเบี้ย ไม่สามารถครอบงำได้เลย คือ หมา แมว ม้า แพะ แกะ ควาย ฯลฯ.

 

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:สัมพัทธภาพ ของ เหตุและผล

 

(1)
เพลง จะไพเราะ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ คนร้อง แต่อยู่ที่ คนฟัง.

(2)
เกมกีฬา จะแพ้-ชนะ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ผู้เล่น แต่อยู่ที่ ผู้ตัดสิน หรือ ผู้ชม.

(3)
ผู้แทนที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ชนะเลือกตั้ง แต่อยู่ที่ ธรรมาภิบาล
ในสันดาน.

(4)
ความแตกต่าง ระหว่าง สมณะ กับ โจร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ความศรัทธา หรือ ความเกลียดกลัว ของผู้คน แต่อยู่ที่ พฤติกรรม ทางกาย ทางวาจา.*

(5)
ความสุข (ใจ) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ คำอวยพร อ้อนขอ แต่อยู่ที่ ทนทุกข์ (กาย)** ได้ โดยไม่ทุกข์ (ใจ).***

 

หมายเหตุ:

[*พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา อาจทำให้ ผู้คนสับสนว่า สมณะ หรือ โจร, พฤติกรรมทางใจ มองเห็นยาก ชี้วัดได้ยาก]

[**เพราะเหตุที่ กายขันธ์ เกิดมาแล้ว ย่อมแก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา]

[***ทุกข์ใจ (โทมนัส) ย่อมเกิดแก่ผู้ ไม่ปล่อยวาง (ทั้งๆ ที่รู้ว่า ควรปล่อยวาง)]

8 พ.ค. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:พระสาวก พูดเอง ย่อมมีช่องให้ติติง

 

drama เพราะ คาดเดา ในมุมที่ตัวเอง ไม่เห็น แล้วเอาไปผสมกับ อารมณ์ ชอบ ชัง.

คำพูดของ พระพุทธองค์ ใหญ่สุด ทำไมไม่เอามาพูด เป็นแค่พระสาวก พูดเอง ย่อมมีช่องให้ติติงได้เสมอ.

เอ่อ! หลวงพี่ครับ

(1)
ที่บอกว่า อะไรที่เราทำแล้ว มีความสุข โดยที่ เราไม่เดือดร้อน และ คนอื่นไม่เดือดร้อนน่ะ ทำไปเถอะ.

สังคมทุกวันนี้ ทำไม่ได้ง่ายๆ นะครับ. เพราะถ้าไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น หาสุข ได้ยาก. เพราะ "สุข" คนไปตีความว่า คือ ผลของการตอบสนอง ความต้องการ.

คิดง่ายๆ ... ทุกคน ต้องการ (อยาก) ก็เหมือน เป็นแม่เหล็ก ดูด เข้าหาตัวเอง. คิดดู มีแต่คนดูด แต่ไม่มี คนผลัก ผลคือ ทะเลาะ แย่งชิง. ทำให้เดือดร้อน ทั้งตัวเอง และคนอื่น แน่ๆ.

แต่ถ้าพูดว่า เราจะต้อง อยู่กับความทุกข์ ให้ได้โดยไม่ต้องทน, นี่ซิ ของจริง พูดได้ถูกธรรม ตรงตาม วัตถุประสงค์ ของพระศาสดา.

เมื่อทนทุกข์ได้ สุขก็มาเอง. ไม่ต้อง ไปดูดเอาจากใคร ดูดจากที่ไหน ให้คนอื่นเดือดร้อน. จริงไหม๊!

(2)
อย่าไปมัวทะเลาะกับใคร ให้อภัยได้ ก็ให้อภัย. ผิดไปแล้วหลวงพี่! คำว่า ทะเลาะ ต้องดูด้วยว่า ทะเลาะกะใคร.

คนดี, คนดีด้วยกันเอง จะไม่ไปทะเลาะด้วย. จะมีก็แต่ คนชั่วเท่านั้นแหละ ที่จะทะเลากะคนดี และ คนชั่วทะเลาะกันเอง.

ถ้าคนดี จะทำการทะเลาะ (ซึ่งไม่น่าเรียกว่า ทะเลาะ) ก็มีเรื่องเดียว คือ ไล่พวกอลัชชี คนอัปรีย์เลวชั่ว นั่นแหละ.

สังคมทุกวันนี้ คนเลวเยอะมาก สมควรอย่างยิ่ง ที่คนดี จะต้องเอาภาระ ตั้งแต่ ติติง ด่า โห่ไล่ ขับไล่ กระทืบ ... ซึ่งแล้วแต่ ความดื้อด้านของคนเลว และ ความใจกล้า ของคนดี.

ไม่ใช่ อะไร อะไร ก็อภัยมั่วๆ. ชัดเจนนะครับ.

คนดีคนไหน ที่ยังไม่ตาย ก็รีบๆ ทำซะนะ ชีวิตเหลือน้อยแล้ว. ติติงได้ ติ, ข่มได้ ข่ม, ด่าได้ ด่า, โห่ได้ โห่, ขับได้ ขับ, เสร็จ ค่อยให้อภัย ทำใจร่มๆ.

(3)
คิดดี ทำดี กับ คนใกล้ตัว คนที่เรารัก น่ะดีแล้ว, แต่ต้องดูด้วยว่า คนใกล้ตัวบางคน คนที่เรารักบางคน สมควรทำ มากน้อยแค่ไหน.

คนส่วนใหญ่ มักจะ "รู้สึก" ว่า คนที่เรารัก คนใกล้ตัว เป็นคนดี ทั้งนั้นแหละ ทั้งที่ (บางคน) เลวบัดซบ (เลว สำหรับคนอื่น) ก็มีถมไป.

ปัจจุบัน คิดดี ทำดี มั่วๆ ไม่ได้เสียแล้ว.

สรุปนะ อย่าหาว่าสอนพระเลย.

เป็นพระ จะพูดสอนอะไร ต้องคิดให้รอบคอบ ว่า ทำได้จริง เป็นจริง แค่ไหน. คำพูดของพระ คนจะเชื่อว่า เป็นของสูง เป็นสิริมงคล. แต่ถ้า ไม่จริง ปฏิบัติตามไม่ได้ พระเองจะเสียหาย พูดจาเพ้อเจ้อ (นี่ยังไม่นับ พวกอลัชชี ที่กินข้าวชาวบ้านฟรี แต่ทำเสนียดจัญไร ให้ชาวบ้าน).

นี่คือเหตุผลที่ว่า เป็นพระสาวก พูดอะไรตามใจชอบ มักมีข้อผิดพลาดเสมอ. แต่ถ้า เอาคำของ พระศาสดา ที่เป็นบรมครูอาจารย์ มาถ่ายทอด สั่งสอน มิดีกว่าหรือ ไม่สุ่มเสี่ยง ไม่ผิดพลาด ไม่เสียธรรม เป็นการธำรงรักษา พุทธศาสนา ที่ดีที่สุด.

อย่าตะแบง คำสั่งของพระองค์ซิ! พระสาวก!

 

28 ก.พ. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:กล้า กล้ัว อวิชชา

 

ถ้า กล้า จะ ไม่กลัว.
ถ้า กลัว จะ ไม่กล้า.
อวิชชา ทำให้ กลัว.
อวิชชา ไม่ได้แปลว่า โง่.

โง่ ไม่ได้หมายถึงว่า อวิชชา.

โง่ แปลว่า รู้ แต่ รู้ในเรื่องไม่จริง, รู้ในเรื่องเดรัจฉาน หรือ รู้ไม่รอบถ้วน.

ธรรมชาติ ของ อวิชชา คือ “มันไม่รู้เรื่องอะไร”

ดังนั้น อวิชชา จึงมี 2 สถานะเสมอ คือ วัตถุธาตุ และ จิตธาตุ.

อวิชชา เป็นต้นกำเนิด ของ จักรวาล (Bigbang) และจะดำรงอยู่ เช่นนั้น ตลอดนิรันดร์.

ความไม่รู้ เป็นบ่อเกิดของความกลัว. อวิชชา จะไม่มีวันหมด ไปจากจักรวาล.

ผู้ที่ทำลาย อวิชชา ได้ จะทำลายได้เฉพาะ อวิชชา ที่เป็นส่วนของตน เท่านั้น. ส่วน อวิชชา ของจักรวาล ไม่สามารถทำลายได้หมด.

ด้วยเหตุนี้

จะหวังว่า ยุคหนึ่ง จะมีพระศาสดา มาทำการรื้อขนสัตว์ ให้พ้นจากกองทุกข์ จนหมดสิ้น. แล้วพระองค์จึงจะ ดับขันธปรินิพพาน เป็นองค์สุดท้าย นั้น จึงเป็นแค่ อุดมคติ.

 

3 เมษายน 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


: 4 ความสำคัญ เป็นไฉน?

 

ซื้อรถ ซื้ออะหลั่ย ซื้อของตกแต่ง, ถูก แพง ไม่สำคัญเท่า "ถูกใจ"
ของถูกใจ ก็ไม่สำคัญเท่า "ประโยชน์ใช้สอย"
ของที่มี ประโยชน์ใช้สอย ไม่สำคัญเท่า พามันออกไป "ท่องเที่ยว หาความสุข"
แม้จะพามันออกไป "ท่องเที่ยว หาความสุข" แต่ สุขภาพของท่าน ไม่ไหวแล้ว, รถดี อะหลั่ยเยี่ยม ของตกแต่งชั้นยอด จะมีความหมายอะไรเล่า?

26 เม.ย. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:ปั่นจักรยาน

 

การปั่นแบบทัวริ่ง คือ การ “ดูดซับ” พลังธรรมชาติ เข้าหาตัว.
การปั่นแบบแข่งขัน เอาถ้วย เอาเหรียญ รางวัล เสียเงินลงทะเบียน คือ การ “รีด” เอาพลัง ในตัวของตัวเอง ออกไป. (รีดออกมาก ก็โง่มาก รีดน้อย ก็โง่น้อย)

4 มีนาคม 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 


:ยุคของสงคราม

 

สงคราม ยุคก่อน, “สงคราม สันติภาพ” (เอา เศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนด สงคราม)


สงคราม ยุคนี้, “สงคราม เศรษฐกิจ” (เอา สันติภาพ เป็นตัวกำหนด สงคราม)

3 มีนาคม 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:หมกมุ่น 4 เรื่อง จะเป็นบ้า

 

ใครคิด หมกมุ่น 4 เริ่องนี้ ระวัง จะเป็นบ้า (พระตถาคต บอกไว้แบบนั้น) [บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/104/77.]

(1)
วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย - มีพระพุทธเจ้า เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ที่รู้ทุกเรื่อง.

(2)
วิสัยของผู้ได้ฌาน - วิสัยของฌาน เปรียบเหมือน จักรวาล (มีขนาด ที่ไร้ขอบเขต)

(3)
วิบากกรรม - ผลของการกระทำ ว่าทำนั่น จะได้รับผล อย่างนั้น อย่างนี้, ไม่จริงเสมอไป. ผลของกรรม = สุดยอดของ อนิจจัง.

(4)
เรื่องของโลก (โลกจินดา) - โลกียะวิสัย ดีชั่ว ถูกผิด สุขทุกข์ ผสมปนเป แยกแยะไม่หมด หาที่จบไม่ได้.

ข้อนี้ น่าจะรวมถึง การค้นหาความจริงทางดาราศาสตร์ ของนักวิทยาศาสตร์ด้วย, ไม่มีวันจบ หาคำตอบไม่หมด.

 

28 กพ. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


: คำทำนาย - อนาคต ที่เราจะต้องเจอ

 

คำทำนาย

-อู่ซ่อมระบบกลไก จะหายไป อู่ระบบไฟฟ้า จะไม่โต เพราะบริการหลังการขาย ใช้วิธีเปลี่ยนอุปกรณ์ ไม่ใช่วิธีซ่อมบำรุง.

-โดรนโดยสาร จะเฟื่องฟู

-ราคาไฟฟ้าต่อหน่วย จะแพงขึ้น.

-ปัญหามลภาวะของ แบตเตอรี่ จะตามมา.

-คนตายบนท้องถนน จะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล.

-โรคระบาด จะกลายพันธุ์ รุนแรงขึ้น คนป่วยตายมากขึ้น.

-คนโง่ ไม่ได้โง่เพราะปัญญา แต่โง่เพราะความโลภ.

-คนเกิดไม่เป็นข่าว ดาราเป็นแฟนกัน จะอื้อฉาว.

-พระมีเมีย พระอาเสี่ย เต็มประเทศ.

-คนข้ามเพศ จะโด่งดัง.

-คนบ้า เต็มถนน.

-วัด จะเป็นเตาเผาศพ.

-เด็กๆ จะเป็นผัวเมียกัน เปิดเผย.

-จะมีคนดื้อด้าน สร้างกระเช้า ขึ้นภูกระดึง.

-กรุงเทพ จะถูกย้ายไป สระบุรี.

-วัคซีน/ไวรัส สำหรับฆ่าคน จะแทนที่ อาวุธสงคราม.

-ธุรกิจ ขายน้ำดื่ม จะแทนที่ ขายน้ำมัน.

 

20 กพ. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line


:โคกหนองนา โมเดล

 

สวรรค์บนดิน
ถิ่นเรียนรู้
เส้นทางกู้หนี้
วิถีชาวธรรม
น้อมนำพุทธวจน
ศาสตร์พระราชา

15 กพ. 2565

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line

 

 
 
    thinking focus new idea today
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 



 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2029 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net


:

.

.2564

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด ]
line