igood media
HOME   |  Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG |

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

บทความ:
เวทีความคิด ตอน: มองโลกให้เป็น ไอกู๊ด (iGood)

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

หลักสัมมาปัญญา หรือ iGood ขึ้นต้นด้วย i ซึ่งเป็นตัวย่อของ ปัญญาฉลาด (intelligence) มี 4 ข้อ คือ อารมณ์อุดมปัญญา (i-emotion) คิดฉลาดสร้างสรรค์ (i-thinking) ปัญญาสรรสร้าง (i-creativity) และ องอาจปัญญา (i-action)

นักปราชญ์บางคน กล่าวว่า โรงเรียนทุกวันนี้ “ตายแล้ว” เพราะเป็นสถาบันสร้างมนุษย์ให้เป็นหุ่นยนต์ ซึ่งถูกควบคุมโดย "ระบบ" และเคลื่อนไหวไปตาม "โปรแกรมต่างๆ" ไม่สามารถปลดปล่อยตัวเอง ให้เป็นอิสระได้

พ่อหลวงแห่งสยามประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาสให้แก่คนไทย มาเกือบสองร้อยปีแล้ว แต่ระบบทาส ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจาก ทาสเก่า ที่ล่ามด้วยโซ่ตรวน เป็น "ทาสใหม่" ที่ถูกล่ามตรึงด้วย ระบบเงินผ่อน สินเชื่อต่างๆ ซึ่งเคลือบด้วยแคบซูลอันหอม หวาน (สุข เสพ อร่อย) กลายเป็น “ทาสผู้ปล่อยไม่ไป” ปัจจุบัน คนไทยยังมีเอกลักษณ์ความเป็น "ไท” หลงเหลือไว้ให้ชื่นชมกันสักเท่าไร

ตำราประวัติศาสตร์ไทย ระบุไว้ว่าคนไทยเป็นชนชาติที่รักสงบ และมีอุปนิสัยชอบรักสนุก
มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แขกบ้านแขกเมืองมาก็ประทับใจ เพราะสังคมไทย มีลักษณะพิเศษอยู่ 4 ประการ คือ

(1) ความเชื่อเรื่องกรรม ผลวิบากของกรรม และการสาปแช่ง ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

(2) ความกตัญญู ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และ สถาบัน “แม่” ซึ่งประกอบด้วย แม่ธรณี แม่คงคา แม่โพสพ แม่ผู้ให้กำเนิดชีวิตเป็นคน

(3) การผูกขาด การใช้อำนาจอภิสิทธิ์ ของผู้มีอำนาจ และนักการเมือง (ระบบศักดินา) โดยเฉพาะนักการเมือง จะใช้ระบบทุน (ทุนอภิสิทธิ์ ทุนอิงอำนาจรัฐ ทุนผูกขาด และ ทุนเสรี) เป็นเครื่องมือ แสวงผลประโยชน์ และ สร้างความได้เปรียบให้แก่ตน และพวกพ้อง (ผลประโยชน์ทับซ้อน) จาก (1) ถึง (3) ส่งผลให้เกิด

(4) อุปนิสัยน้ำเน่า 9 อย่าง ของคนไทย คือ “มักง่าย งมงาย ไร้
วินัย ใฝ่อบายมุข สุขระเริง เหลิงอำนาจ ทาสริษยา บ้าบารมี หนีกรรมเวร” ซึ่งต้อง
แก้กลับ ด้วยการสร้างอุปนิสัยที่ดี 9 อย่าง คือ “เรียบง่าย ใฝ่สาระ
สัจจะตรง โปร่งใส ไร้อบายมุข สุขพอเพียง เลี่ยงริษยา ทานบารมี ใช้หนี้กรรม”

การมองโลกในแง่ดี ของคนทุกวันนี้ก็คือ มองว่า "ฉันจะได้อะไร จากใคร" (เป็นทัศนะเชิงลบ) แทนที่จะมองว่า "ฉันจะให้อะไร แก่ใคร" (ทัศนะเชิงบวก) จึงทำให้ การมองโลกในแง่ดี เปลี่ยนไป มาดูกันว่า พฤติกรรมการ “ให้” ของคนในสังคม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

(1) ให้ คือ เอา
เป็นวิธีหลอกล่อ ของผู้ให้พวกหนึ่ง ซ่อนกลลวง สร้างภาพ เพื่อให้คนทั่วไป เข้าใจว่านี่คือการ “ให้” แต่มันคือการช้อน "เอา" สิ่งที่ให้ไปแล้ว คืนมาเป็นของตน (ในรูปของ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข) ทำให้ ผู้รับ เข้าใจผิดคิดว่า ผู้ให้ ใจดีมีบุญ เช่น
นโยบายประชานิยม ของนักการเมือง การซื้อเสียง ด้วยการผันเงินงบประมาณของรัฐ สร้าง
อาคารวัตถุสิ่งของ แล้วติดป้ายประกาศว่า ข้าพเจ้า ชื่อนั้นชื่อนี้ เป็นคนสนับสนุน (ให้) ชาวบ้าน ก็พากัน ศรัทธา อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็พวก ลด แลก แจก แถม ดอกเบี้ย 0% ทำให้เกิดความสับสน ตกลงใครเป็นผู้รับ ใครเป็นผู้ให้กันแน่

(2) ให้ คือ ได้
คือ การแลกเปลี่ยน ซื้อขาย แต่อยู่บนพื้นฐานว่า “ผมต้องได้มากกว่าที่
คุณได้” และ เรียกมันว่า “กำไร” (ได้เปรียบ)

(3) ให้ คือ ให้
นี่เป็นการให้จริงๆ ให้แล้วไม่คิดเอาคืน เช่น พ่อแม่ ให้ชีวิต ให้การเจริญ
เติบโตแก่ลูก ครู อาจารย์ ให้ความรู้แก่ศิษย์ การให้แบบนี้ มีความหมาย มีประโยชน์ เพราะสร้างสุขโดยรวมให้สังคม

ครู อาจารย์ ก็เหมือนพ่อแม่ จึงเขียนความในใจ มาฝากว่า

เดือนหนึ่งครบ ใกล้จบ หลักสูตรแล้ว
ไร้วี่แวว นักศึกษา มาเต็มห้อง
อย่าหายหน้า ไปไหน ใคร่ขอร้อง
พวกเธอต้อง รีบตักตวง ห่วงวิชา

เคยนอนดึก ก็ฝึกนอน ตอนหัวค่ำ
สิ่งเหลวใหล ใฝ่ต่ำ อย่าคบหา
คบเพื่อนดี ชีวิตดี มีราคา
คบเพื่อนชั่ว มั่วยา พาเสียตัว

อย่ามัวช้า มัวเพลิน เดินทอดน่อง
รีบเข้าห้อง คูหา ให้ครบหัว
อาจารย์รอ อยู่ในห้อง จนน่ากลัว
เพราะเหลือตัว คนเดียว เปล่าเปลี่ยวคน

ค่าของคน คือทนอด งดใจได้
ไม่หลงเชื่อ งมงาย ไร้เหตุผล
มอบสิ่งดี มีน้ำใจ ใส่กมล
บันทึกไว้ ให้ผู้คน ได้จดจำ

ว่าครั้งหนึ่ง ยังจำ ใบหน้าได้
ตาใสใส ยิ้มสวยสวย ดูคมขำ
ด้วยคำพูด ดูดดื่ม ปลื้มทุกคำ
เป็นผู้นำ และผู้ตาม งามน้ำใจ

เข้าห้องเรียน เขียนรายงาน ส่งการบ้าน
ส่งให้ทัน วันที่ มีนัดหมาย
ไม่เอาเปรียบ เรียบร้อย พลอยสบาย
แต่ฉับไว เพื่อหมายมุ่ง ผดุงธรรม

อยากบอกว่า เรื่องเรียน เพียรให้หนัก
ส่วนเรื่องรัก พักไว้ก่อน อย่าถลำ
เรียนจบแล้ว รีบตั้งหน้า หางานทำ
โปรดอย่าลืม คำมั่น วันอำลา

แล้ววันหนึ่ง วันนั้น วันที่คอย
น้ำตาย้อย หยาดแก้ม แซมใบหน้า
พบกันแล้ว ไม่แคล้ว เป็นแก้วตา
พร้อมกันมา ฉลองชัย ให้แก่กัน

จบเสียที สี่ปี ที่เหนื่อยหนัก
มอบความรัก ให้แม่พ่อ รอรับขวัญ
สิ้นสุดแล้ว ลูกรัก ที่จากกัน
แสนตื้นตัน กลั้นน้ำตา ปริญญาใจ.

(สู่ดิน: สิงหาคม 2550)

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net