igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 


line

:เวทีวามคิด - อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าย่ำของสู่ง ประเพณี หรือ พุทธวจน อะไรสูงส่งกว่ากัน

เหตุผลที่ ไม่ควรให้เด็กเล็กเกิน บวชเณร และ ให้คนไม่มีศีลเข้ามาบวช เป็นความลึกซึ้ง ในศาสนาพุทธ ที่ชาวพุทธเองก็ไม่รู้ เหตุเพราะ ยึดถือ 'ประเพณี' แต่ละทิ้ง 'พุทธวจน'

คลิปภาพ ประกอบบทความ:
https://youtu.be/TE5n5KfF4_4
https://youtu.be/gKXoSWwfzmU
https://youtu.be/EMma4TvO78w
https://youtu.be/6UPoUxWdA_E
https://youtu.be/PthKYrbohtg
https://youtu.be/8dl1S8gonXk

วัยเด็ก ทำอะไรก็ดูน่ารัก บวชเณรแล้วก็ยังดูน่ารัก น่าเอ็นดู ทำอะไรผิดๆ พลาดๆ ก็ดูขำๆ ดี น่ารักแบบเด็กๆ

"จะไปเคร่งครัดอะไรกันนักกันหนา ก็แค่ลูกเณร"
"ทำบุญกับพระบวชใหม่ จะได้บุญเยอะ"
"ยิ่งถวายเงินเยอะๆ ก็ยิ่งได้บุญ มากเท่านั้น ... ทุ่มสุดตัว ปิดบัญชีโลก เปิดบัญชี ธรรม"

นี่คือ มุมมอง ความเห็น ของพ่อแม่ ญาติโยม ซึ่ง คิดเอาเองว่า เหมาะสม ถูกต้อง
แต่ไม่เคยถาม ตถาตค พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สักคำ ว่า พระองค์ เห็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ พระพุทธองค์ เปรียบเหมือน 'เจ้าของ' (เป็นต้นธาตุ ต้นธรรม) แท้ๆ.

เราทราบกันดีว่า องค์ประกอบสำคัญ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระรัตนตรัย เปรียบเหมือน แก้วสามประการ คือ พระตถาคต (อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) คำของพระองค์ หรือ 'พุทธวจน' (พระธรรม) และ สาวกของพระตถาคต (พระสงฆ์) รวมถึง อุบาสก อุบาสิกา (ต้องถือเกณฑ์ คุณสมบัติ สาม ประการ คือ ศีลห้า ละมิจฉาทิฐิ และ มั่นคงต่อ พระรัตนตรัย)

คำของพระศาสดา เป็นที่มาของทุกสิ่ง ซึ่งเป็นต้นธาตุ ต้นธรรม ที่ชาวพุทธ ควรเคารพ ยำเกรง ไม่ถือเอามาเป็นของเล่น อย่าได้ ตัดทอน ดัดแปลง แต่งเติม คำของพระองค์ เป็นอันขาด แต่ ก็มีสงฆ์สาวก (ที่ขึ้นชื่อว่า พระอาจารย์ ทั้งหลายแหล่) รวมทั้ง ฆราวาส ดื้อด้านทำกัน จนกลายมาเป็นประเพณี ... กลายเป็นว่า ประเพณี สูงกว่า คำของพระศาสดา ไปเสียแล้วอย่างนั้นหรือ?

คำของพระศาสดา เป็นของสูง เพราะ คำของพระองค์ สอดรับกัน ไม่ขัดแย้งกันเลย
ตลอดเวลา ๔๕ ปี ที่พูด สั่งสอนไป และไม่เคยล้าสมัย (อกาลิโก)

แต่ พระและญาติโยม (ที่รู้ และไม่รู้) กลับเอา 'ของสูง' มาล้อกันเล่น เอาเด็กๆ มาแต่งชุด ซึ่งเป็นของศักดิ์สิทธิ์ (ธงชัย ของพระอรหันต์) ให้เขาแสดงบทบาท เป็นนักบวช "พฤติประเพณี" (ศิลพตปรามาส) เช่นนี้ มีทำกันเกร่อ เอาคนมาบวช แค่วันเดียว เป็นองค์พระ (ก็เป็นได้แค่ สมมุติสงฆ์) ออกจากโบสถ์ เป็นพระใหม่ ญาติโยมไม่รู้ พระครู อุปัชฌาย์ ก็ไม่บอก (รู้ แต่ไม่บอก) ว่าการเอาเงินใส่ย่ามพระใหม่นั้น ญาติโยมแทบจะไม่ได้บุญเลย เพราะเหตุที่ว่า ทำให้พระอาบัติ ตั้งแต่วันแรก เงินและทอง เป็นของ อนามาส (ของเน่า ของบูด อสรพิษ) สำหรับพระ ได้มาแล้ว ไม่สละออก ปลงอาบัติ นิคสัคยปาจิตตีย์ ไม่ตก เป็นพระไม่บริสุทธิ์ ไปตลอดกาลนาน ... เหตุการณ์ ทำนองนี้ มีใครเคยนึกถึงหัวอก ของตถาคตบ้าง ที่เอาของสูง มา 'ยำเล่น'

จริงๆ แล้ว การสร้างกุศล มีตั้งหลายวิธี แต่เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ จึงเลือกวิธี ที่สุ่มเสี่ยงบาป อกุศล ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือ ทำบุญ แต่ได้บาปอกุศล ปะปนมา

ศีลห้า นี่สุดยอดสูงสุดแล้ว สำหรับ ฆราวาส หรือคนธรรมดา ปฏิบัติศีลให้ได้ เสียก่อน นี่ก็เฉียดเป็นพระอริยะบุคคล ระดับพระโสดาบันแล้ว อย่าข้ามขั้น (ปลอมบวช แปลงบวช - บวชตามประเพณี) เอาของสูง มาทำเล่นๆ มันเสียของ กว่าพระตถาคต จะตรัสรู้ สิ่งที่วิเศษสุดยอดมาได้ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องใช้เวลา คิดเป็นหลายอสงไขย แสนมหามหากัปป์ ซึ่งยาวนานมาก และเหน็ดเหนื่อย กับการสร้าง ประดิษฐ์คำสอน ให้เราเข้าใจ สามารถปฏิบัติตามและบรรลุ ก้าวข้าม ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และ ไม่ตาย อีกต่อไปได้ นี่คือ สิ่งสูงสุด ที่มีเฉพาะมนุษย และเทวดา เท่านั้น ที่จะเรียนรู้ได้ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เรียนรู้ได้ยากมาก ยิ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน ด้วยแล้ว ไม่อาจรู้ธรรมะของตถาคต ได้เลย [อย่าอุตริ นิมนต์พระไปสวดบังสกุล ให้ช้าง ม้า วัวควาย ที่ตายแล้ว จะบ้ากันไปใหญ่]

ที่มาของบุญ มีให้เลือกตั้งหลายทาง บุญ ที่ได้จากการ ฟังธรรม สนทนาธรรม บรรยายธรรม คิดไตร่ตรองในธรรม ปฏิบัติมรรค มีองค์แปด และสุดท้าย ทำทาน แน่นอนว่า การบวช ถือเป็นการสร้างบุญ ที่หวังได้ อานิสงส์ สูงสุด ... แต่ทราบหรือไม่ว่า ถ้าทำไม่ดี ก็ได้บาปสูงสุดเช่นกัน เปรียบเหมือน นักมวยรุ่นเล็กสุด ไปท้าชก นักมวยรุ่นหนักสุด (ถ้าการชก เปรียบเหมือน การสู้กับกิเลส) ถ้าซ้อมมาดี มั่นใจ แล้วชนะ ถือว่าสุดยอด แต่ถ้าแพ้ อาจถึงตาย

พุทธศาสนิกชน เกือบลืมไปแล้วว่า ยังมีบุคคล ๕ ประเภท (รัตนะ ๕) จะเป็นผู้เยียวยา รักษาพระพุทธศาสนา ให้ยืนยาวไปอีกนาน ไม่ใช่แค่ ๕,๐๐๐ ปี อย่างที่เข้าใจกัน (ตถาคต ไม่เคยพูดเลยว่า ศาสนาของพระองค์ จะยาวแค่นี้ ที่รับฟังกันมานั้น สาวกรุ่นหลัง พูดเอาเอง ก็เพราะว่า คำสอนของพระองค์ เป็น อกาลิโก จะหมดไปใน ๕,๐๐๐ ปี ได้อย่างไร)

รัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก (ปิงคิยานีสูตร) บุคคล ๕ ประเภทนี้ คือ
พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคล ผู้แสดงธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคล ผู้รู้แจ้งธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑
บุคคล ผู้รู้แจ้งธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๒๑๓)

ถ้าเราหันมาใส่ใจ เอาภาระ ฟังคำของพระศาสดา สักวันละนิด ข่าวฉาวโฉ่ เกี่ยวกับพระปราชิก อลัชชี ที่ละเมิดพระธัมวินัย เอาพุทธผสมกับไสยศาสตร์ มั่วสุมหากิน ก็คงจะลดน้อย เบาบางลงได้บ้าง ... อย่ามัวโทษแต่พระกันอยู่เลย ญาติโยม ก็ร่วมด้วย ช่วยกัน ก่อกวนคำสอนที่บริสุทธิ์ ให้ผสมปนเปกับสิ่งแปลกปลอม (บัญญัติขึ้นภายหลัง) จนแทบไม่เหลือ ความเป็น "พุทธ" ให้เห็น กลายเป็น คำอ้างของคนนอกศาสนา หรือคนเลื่อมใสน้อย พลอยเลื่อมใสน้อยลงไปอีก คนที่ไม่เลื่อมใส ก็กลับต่อต้าน

ที่จริง ฟ้า (สัจธรรม) ไม่มีวัน ตกต่ำ แล้ว คนจะเหยียบย่ำ ได้อย่างไร จะมีก็แต่ คน เท่านั้น ที่ตกต่ำ เพราะ คิดเหยียบย่ำ ฟ้าสูง ... แค่คิด ก็ต่ำแล้ว.

igood-end 24 เม.ย. 2560

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:ทำได้ กับ ได้ทำ ต่างกันที่ตรงไหน?

ทำได้ กับ ได้ทำ ต่างกันที่ตรงไหน?
'ได้ทำ' คือ ทำได้ ไม่หวังผล
'ทำได้' คือ ได้ทำ ตามเกณฑ์ที่พึงยล
อย่าปะปน เอาผลได้ มาไขว้กัน.

igood-end
17 ธ.ค. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:3 วิธีมัดใจสามี ระหว่างมาเรียน

1. ทำตัวเอง ให้คนอื่นเห็น "คุณค่า" ในตัวเรา

คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ทันสมัย เสื้อผ้า ทรงผม ใบหน้า ก็เปลี่ยนเสียใหม่ให้ดูสดใสกว่าเดิม (เอาแค่ให้เห็นความแตกต่างจากเดิม ก็พอ ไม่ต้องมาก เพราะถ้าแต่งมากเกินไป ประเดี๋ยวจะหาว่าเรา "อ่อยเหยื่อ")
ท่วงท่าในการเดิน จากเดิมที่เคยเดินบิดแบบตูดเป็ด ก็เปลี่ยนท่าเดินแบบ นางแบบนอกเวที (อย่าเดินตามอย่างนางแบบบนเวที เพราะจะหาว่าเรา "ดัดจริต")

2. อย่าเร่งรัด กัดติด เขา (สามี) จนเกินไป จนเขารู้สึกอึดอัด

เพราะอาการประเภท "กัดไม่ปล่อย" จะสร้างความอึดอัด รำคาญ เขาจะรู้สึกว่า ในบ้านก็ถูกขัง ออกนอกบ้านก็ถูกกัก ปล่อยเขาไปบ้างในบางเวลา โดยเฉพาะในหมู่เพื่อนผู้ชายด้วยกัน เพราะสิ่งที่ผู้ชายทั้งหลายกลัวเสียหน้ามากที่สุดคือ ถูกตราหน้าว่า "กลัวเมีย"

3. ถ้าเขาไม่อยู่ในโอวาท (โอวาททางใจ) ก็คิดเสียว่า "หมามันกินขี้ได้ แต่มันก็ซื่อสัตย์"

เขาจะไปยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงอื่นบ้าง ตามประสาสันดานเดิม ก็ปล่อยๆ ไปบ้างเถอะ ประเภท "เอาหูไปนา เอาตาไปห้าง (ห้างสรรพสินค้า)" เพียงแค่เราทำตัวเองให้ดูดี ทันสมัย บริการ (สามี) ทุกระดับ ประทับใจ มันไม่หายหัวไปไหนหรอก ประเดี๋ยวมันก็กลับมา ซุกหน้ากับรังเก่า ดุจสุนัขผู้ซื่อสัตย์ ยังไงยังงั้น เพราะอย่างไร ผู้ชายส่วนใหญ่ ยอมให้เมียเป็นใหญ่ในบ้านอยู่แล้ว.

igood-end
29 พฤษภาคม 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

: เงื่อนไข "ความเป็นกลาง"

หลายคนเชื่อว่า "ความเป็นกลาง" ไม่มีในโลก แล้วคนที่บอกว่า ตัวเองชอบวางตัวเป็นกลาง นั่นก็กำลังเป็นปัญหาว่า แล้วคนอื่นก็ไม่ใช่กลางน่ะซิ เมื่อคนพูดน่ะ อยู่ตรงกลางเสียแล้ว คนอื่นๆ ก็ต้องไม่ใช่ เพราะ "กลาง" ย่อมมีหนึ่งเดียว (เช่นเดียวกับ วงกลมหนึ่งวง ย่อมมีจุดศูนย์กลางเพียงหนึ่งจุดเท่านั้น)

นั่นเป็นความคิดของ คนที่มีโลกทัศน์แบบ วัตถุนิยม ยึดเอารูปแบบ โครงสร้าง เป็นสาระ ทำให้เกิดข้ัอโต้แย้ง มากกมาย อาจนำไปสู่ ความเข้าใจผิดที่ว่า ความเป็นกลางไม่มีในโลก

ความจริงแล้ว ความเป็นกลาง มีอยู่จริง เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงค้นพบหลัก มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ให้ไว้เป็นหลักดำเนินชีวิตของมนุษย์

แต่ ความเป็นกลาง ตามที่พระพุทธเจ้าหมายถึงนั้น มีเงื่อนไข อยู่ 3 ข้อ คือ

(1)
ต้องค้นหา หรือ ชูประเด็น สิ่งสองสิ่ง (เน้นว่า ต้องมีสองสิ่ง จะมีเพียงสิ่งเดียว หรือ สามสิ่ง ก็ไม่ได้) ซึ่งสองสิ่งนั้น แตกต่างกันสุดขั้ว เช่น

-กามสุขัลลิกานุโยค = บ้าเสพสุข กับ อัตตกิลมถานุโยค = บ้าหาทุกข์ให้ตน

-ดำ กับ ขาว

-ซ้าย กับ ขวา (เหลือง กับ แดง)

-ฯลฯ

(2)
สิ่งสองสิ่ง ตามข้อ (1) ยังไม่ถูกยอมรับ ยังไม่จบ ยังมีปัญหา ยังมีสิ่งค้างคาใจอยู่

ซึ่งสรุปว่า

-ดี ก็ยังไม่ ดี 100% (ยังมีส่วน เลว อยู่)
-ถูก ก็ยังไม่ ถูก 100% (ยังมีส่วน ผิด อยู่)
-จริง ก็ยังไม่จริง 100% (ยังมีส่วนเป็น เท็จ อยู่)
-ประโยชน์สุข ก็ยังไม่เป็นประโยชน์สุข 100% (ยังมีสวนเป็นโทษทุกข์ อยู่)
-ศิลปะ ก็ยังไม่ใช่ศิลปะ 100% (ยังมีส่วนเป็น อนาจาร อยู่)
-สาระ ก็ยังมีสาระไม่เต็ม 100% (ยังมีส่วนเป็น อสาระ อยู่)
-เที่ยงธรรม ก็ยังไม่เที่ยงธรรม 100% (ยังมีส่วน ลำเอียง อยู่)
-เหมาะควร ก็ยังไม่เหมาะควร 100%
-หมดสูญ (ตัวตน) ก็ยังไม่สูญ หมดตัว หมดตน (อรหัตผล) 100%

(3) สิ่งอีกสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ สองสิ่ง ในข้อ (1) ซึ่งอาจจะไม่อยู่ตรงกลางก็ได้ คือ จะมีตำแหน่งอยู่ ณ จุดใดๆ ก็ได้ แต่ ไม่ใช่ สองสิ่ง ในข้อ (1) ก็แล้วกัน ... สิ่งนี้นี่แหละ ที่เรียกว่า "ความเป็นกลาง"

หมายเหตุ:
คนที่ยังทะเลาะกัน เรื่องการยอมรับความเห็นของแต่ละฝ่าย เพราะ เอาไม้บรรทัดของตน (ทิฐิของตน) ไปวัด คนอื่น (ซึ่งมีทิฐิต่างกัน) และในทำนองกลับกลับ คนอื่นที่ว่านี่ ก็เอาไม้บรรทัดของตน (ทิฐิของตน) ไปวัดอีกฝ่าย (ซึ่งมีทิฐิต่างกัน) ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ทะเลาะกันไม่เลิก

แล้วจะตัดสินอย่างไร ตอบ.ต่างคนต่างอยู่ ตามหลัก นานาสังวาส โดยให้มหาชนเป็นคนตัดสิน. ถ้าเช่นนี้แล้ว สังคมก็จะอยู่ได้

แต่บางคนอาจแย้งว่า อ้าว! แล้วถ้า มหาชนส่วนใหญ่ เกิดเป็นมิจฉาทิฐิ หรือ อวิชชา มันมิยุ่งไปหมดหรือ อันนี้ ก็สุดแล้วแต่ พระบัญชาของพระเจ้าแล้วละครับ ตัวใครตัวมัน ตามวิบากกรรมที่มาเกิด. ถ้ายังไม่อยากให้ถึงวันนี้ "คนดีอย่าท้อแท้ ต้องออกมาช่วยแก้ปัญหาสังคม" ครับ.

โจทย์:
การนำเสนอข่าวของ สำนักข่าวทีวี ช่อง-3 ช่อง-7 ช่อง-9-อสมท. ช่อง-TPBS. ช่อง-5-ททบ. ช่อง-สทท.11. และ ทีวีดาวเทียม ช่อง-Blusky. ช่อง-Asia Update. การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2556 l สำนักข่าวเหล่านั้น นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด.

igood-end
3 ก.พ. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:อย่าตัดสินด้วย... (Be marked with ...)

อย่าเอา อัตลักษณ์ ของบุคคลผู้นั้น ไปชี้วัดสิ่งต่อไปนี้

อย่าเอา "ความพึงพอใจ" ไปชี้วัด "คุณภาพ"
อย่าเอา "ทัศนคติ" ไปชี้วัด "คุณธรรมความดี"
อย่าเอา "วิสัยทัศน์" ไปชี้วัด "ความงดงาม"
อย่าเอา "ภาพตรา" ไปชี้วัด "บุคลิกภาพที่ดี"
อย่าเอา "ภาพลักษณ์" ไปชี้วัด "คุณค่า"
อย่าเอา "ภาพพจน์" ไปชี้วัด "ความน่าเชื่อถือ"

เพราะ ความพึงพอใจ ทัศนคติ วิสัยทัศน์ ภาพตรา ภาพลักษณ์ ภาพพจน์ ของบุคคลผู้เป็นปุถุชนเหล่านั้น ย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำ.

(Please don't ...

Satisfaction don't be marked with Quality,
Attitude don't be marked with Virtue,
Vision don't be marked with Aesthetics,
Brand don't be marked Perfect identity,
Image don't be marked with Worth,
Figure of speech don't be marked with Trustworthiness.

Because worlding of themselve have been flowing into dirt and sin.)

sudin@igoodmedia
23-11-2012.

ปุถุชน (worldling) หมายถึง ชนผู้หนาด้วยกิเลส (ไม่มีศีล ไม่ละอายและเกรงกลัวต่อบาป)
ภาพลักษณ์ (image) หมายถึง ลักษณะที่บ่งบอกบุคลิกภาพ อากัปกิริยา วาจา การกระทำ (บ่งบอก กาย วาจา)
ภาพตรา (brand) หมายถึง สิ่งที่บ่งบอกความเป็นจริง ความมีจริง และความได้จริง ของบุคคลผู้นั้น (บ่งบอก ใจ) โดยไม่ต้องบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร หากแต่รับรู้ได้ด้วยความรู้สึก
ภาพพจน์ (figure of speech) หมายถึง มุมมอง ความเห็น ของบุคคลอื่น ที่มีต่อบุคคลผู้นั้น ผ่านการสื่อสารด้วยคำพูด

igood-end
23 พ.ย. 2555

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)


line

:บุญมาก บุญน้อย

บุญ จะเกิดขึ้นต่อผู้กระทำ เมื่อ มีการสละ หรือ จาคะ ออกจากผู้นั้นไป
บุญ จะเกิดขึ้นต่อผู้กระทำ มาก หรือ น้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัย ลำดับต่อไปนี้

(ปัจจัยหลัก)
ลำดับที่ 1. กิเลส ของผู้ให้. กิเลส ในที่นี้หมายถึง ความอยากได้ผลตอบแทน หลังจากที่ตนได้ สละ หรือ จาคะ สิ่งนั้น (วัตถุ สิ่งของ) ออกไปแล้ว (สิ่งที่สละ หรือ จาคะ ออกไป ถ้าไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็น กิเลส จะมีผลตรงกันข้าม คือ จะส่งผลแห่งบุญ เพิ่มขึ้นตามอัตราส่วน)

ลำดับที่ 2. ความต้องการ ของผู้รับ. ความต้องการ ในที่นี้หมายถึง ความต้องการด้านปัจจัยสี่ (need) แต่ถ้าเป็นความต้องการ (want) ความอยาก (desire) ที่อยู่นอกเหนือจาก ปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพ (ปัจจัยสี่) เป็นความต้องการ ที่ตอบสนองแล้วได้บุญน้อยกว่า
ดังนั้น ถ้าผู้รับ เป็นผู้มีกิเลสน้อยเท่าใด ผู้ให้ก็จะได้รับผลบุญมากเท่านั้น

ลำดับที่ 3. ความจำเป็นเร่งด่วน ของผู้รับ. ได้แก่ เร่งด่วนมาก ถ้าช้าอาจตาย อาจสูญเสียอวัยวะ หรือ อาจสูญเสียทรัพย์ ตามลำดับ

(ปัจจัยรอง)
ลำดับที่ 4. คุณภาพของสิ่งของที่ให้.

ลำดับที่ 5. ปริมาณ ที่ให้แต่ละครั้ง.

ลำดับที่ 6. จำนวนครั้งที่ให้.

igood-end
1 พ.ย. 2555

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:ตำแหน่ง และ ฐานะ ของคน 3 ยุค

(1) ยุคก่อนเทคโนโลยี: ตำแหน่งและฐานะ ทำให้คน ยอมรับนับถือกัน ด้วยความดีและความสามารถ

(2) ยุคเทคโนโลยีเฟื่องฟู: ตำแหน่งและฐานะ ทำให้คน ยอมรับนับถือกันด้วย เงิน อำนาจ และรูปร่างหน้าตา

(3) ยุคทุนและเทคโนโลยีล่มสลาย: ตำแหน่งและฐานะ ทำให้คน มองเห็นมันไร้ค่า แต่ กลับให้ความสำคัญกับ ลมหายใจ และปัจจัยสี่

igood-end
14 ก.ย. 2555

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:น้ำนิ่งแต่ไหล คนนิ่งไร้ใจ

น้ำนิ่งไหลลึก ใช้เปรียบเทียบกับ "คน"*
แต่ น้ำนิ่งในแก้วสุรา ใช้เปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้เลย
เพราะสิ่งที่อยู่ในแก้ว ไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ มันมีสิ่งเจือปน ที่คาดเดาไม่ได้
ในคุณสมบัติหรือรสชาด

แต่น้ำใน คลอง หนอง บึง หรือ น้ำในทะเล
มันมีคุณสมบัติที่เป็นธรรมชาติของมัน
เหมือนคน ที่ดูภายนอก สงบเสงี่ยม มองไม่ออกว่า นิสัยใจคอเป็นอย่างไร

*ทุกคนหล่อและสวยเสมอ และทุกคนก็มีมุมมองที่ดีที่สุดสำหรับตนเองเสมอ ขุอบคุณสำหรับสิ่งที่ดีๆ ที่ "ขุด" มันขึ้นมามอง (ต้องใช้คำว่า "ขุด" เพราะ ความดีใ นยุคนี้ มันมี หิริ-โอตตัปปะ แรง จึงชอบที่จะหลบๆ ซ่อนๆ ไม่ค่อยกล้าสู้หน้ากับ ความเลว)

igood-end
14 ก.ย. 2555

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ไอ้นั่นโว๊ย!

ด่านตรวจรถ ด่านที่ 1 (ตรวจรถจักรยานยนตร์)

ตำรวจ: ไอ้น้อง รถคันนี้ได้แต่งรึเปล่า?
วัยรุ่น: อ๋อ! ไม่ครับ เราแค่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ
ตำรวจ: ถ้างั้น ก็ไม่มีทะเบียนน่ะซิ?
วัยรุ่น: ครับ ไม่มี
ตำรวจ: งั้น ไปโรงพัก

(เออ! หาเรื่องกูจนได้)
ไอ้น้อง ตำรวจเค้าไม่ได้หาเรื่องหรอก แต่เราน่ะให้คำตอบตำรวจผิดเอง (นี่หว่า)

ด่านตรวจรถ ด่านที่ 2 (ตรวจรถจักรยานยนต์)

ตำรวจ: ไอ้น้อง รถคันนี้ ได้แต่งรึเปล่า?
วัยรุ่น: อ๋อ! ครับ
ตำรวจ: ไหน ขอดูทะเบียนหน่อยซิ? ... อืม! ... งั้นก็ไป
วัยรุ่น: ขอบคุณครับ
ตำรวจ: เปล่า ไปโรงพัก
วัยรุ่น: ทำไมล่ะครับ ทะเบียนผมก็มี ใบขับขี่ผมก็มี
ตำรวจ: แต่ ไม่มี ... ไอ้นั่นโว้ย!

คำว่า "ไอ้นั่นโว้ย!" ของตำรวจ คืออะไร ใครทายถูกมั่ง

น่าคิด
คนทำดี ต้องประกาศตัว
คนทำชั่ว ต้องประกาศจับ


19 ก.ย. 2555

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:พลวัติ ของ เวลา (Q-SPORT)

การประยุกต์ใช้ เวลา สามารถทำได้ 6 มิติ

Quantity คือ การบอกขนาด หรือรูปทรงของเวลา มีหน่วยนับเป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี ทศวรรษ ศตวรรษ เช่น 60 วินาที, 60 นาที, 24 ชั่วโมง, 30 วัน, 4 สัปดาห์, 12 เดือน, 10 ปี, 10 ทศวรรษ, 1 ศตวรรษ เป็นต้น

Sequence คือ การจัดลำดับก่อนหลัง ใช้หน่วยนับเป็นตัวเลข เช่น ที่ 1. ที่ 2. ที่ n…, ใช้หน่วยนับเป็นวลี เช่น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ หน่วยนับเป็นเหตุเป็นผล เช่น หลังจากนั้น ดังนั้นจึง เมื่อ…จึง…

Point คือ การบ่งบอกความหมาย ณ จุดเวลาใดๆ มีหน่วยความหมายเป็น นาฬิกา (น.) เช่น 06.30 น., 24.00 น. วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 เป็นต้น

Opportunity คือ การบ่งบอกความไม่แน่นอนว่า มีหรือไม่มี ได้หรือไม่ได้ เป็นหรือไม่เป็น เรียกว่า โอกาส บางครั้ง บางสถานการณ์ก็มีโอกาส หรือได้โอกาส หรือเป็นโอกาส ในการสอดแทรกเข้าไปร่วมกิจกรรม ในการกำหนด หรือหาโอกาส ถ้าเกี่ยวกับกลไกลทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี ใช้หลักทฤษฎีความน่าจะเป็นมาวิเคราะห์ ถ้าเกี่ยวกับคน องค์กร การใช้อำนาจ ใช้หลักทฤษฎีความประพฤติ และหลักทางสังคมศาสตร์ เข้ามาช่วยวิเคราะห์) โดยใช้คำว่า “มี - ไม่มี”, “ได้-ไม่ได้”, “เป็น-ไม่เป็น” เป็นหน่วยประสิทธิผล

Relation คือ การบ่งบอกสัดส่วน หรืออัตราส่วน ที่แสดงความสัมพันธ์ หรือผกผันกัน ระหว่าง (1) หน่วยเวลา กับหน่วยเวลา ใช้จำนวนเท่าเป็นหน่วยนับ เช่น ความเร็ว 10 เท่า (2) หน่วยเวลา กับหน่วยมาตราอื่น เช่น ความเร็ว 10 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ความจุ 5 ลบ.ม. ต่อ 1 นาที น้ำหนักเพิ่ม 50 กรัม ทุกๆ 1 วินาที เป็นต้น

Times คือ การบ่งความถี่ของการกระทำ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งใดๆ ใช้จำนวนครั้งเป็นหน่วยนับ เช่น 1 ครั้ง, 2 ครั้ง, n ครั้ง เป็นต้น

igood-end
2549-05-01

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:ทุนทางสังคม

(1) คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้น จากองค์รวมของสังคม

(2) เป็น สิ่งที่มีอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ

(3) เป็น สิ่งที่สร้างขึ้น ด้วยน้ำมือมนุษย์

(4) เป็น สิ่งที่ใครใคร ก็หยิบฉวยเอามาใช้ได้ทั่วไป

(5) เป็น สิ่งที่เกื้อกูลมนุษยชาติ ให้เป็นอยู่อย่างผาสุก

(6) เป็น สิ่งที่มีคุณค่า มีพลัง เทียบกับ มูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ได้

(7) เป็น สิ่งที่อ่อนไหวต่อการทำลายล้าง เมื่อถูกทำลายแล้ว ย่อมหมดไป

(8) เป็น สิ่งที่มีคุณค่าทางนามธรรมสูง สร้างยาก และใช้เวลายาวนาน

องค์ประกอบ ทุนทางสังคม (social input/output resource) 9 ประการ

(1) คน และพลังมวลชน
(2) ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
(3) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
(4) ความรู้ และความจริง
(5) การสื่อสาร
(6) สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
(7) วัฒนธรรม
(8) ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ
(9) นวัตกรรมทางสังคม

ปัจจัยหลัก ที่ทำให้เกิด เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง คือ (1) ระบบการผลิต (2) ระบบการตลาด (3) ระบบการสื่อสาร และ (4) ระบบทุนทางสังคม

igood-end
2549-12-21

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:ศาสตร์แห่งองค์รวม (6-Entanglement of Oneness)

ความเป็นหนึ่งเดียว (Oneness) ของสรรพสิ่ง มีองค์ประกอบ 6 ที่สัมพันธ์กัน (entanglement) และเป็นพลวัต (dynamic) ต่อกันเสมอ

(1) เวลา–อวกาศ–ความเร็วแสง (time–space–speed of light) คือ สิ่งเดียวกัน

(2) แรง–การเคลื่อนที่ (force–dynamic)
แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง แรงยึดเหนี่ยวนิวเคลียส แรงสลายอะตอม แรงทั้งสี่ ก่อให้เกิด ความเร็ว ความเร่ง และ การเคลื่อนที่ ของ เวลา อวกาศ แสง อนุภาค มวลสาร อุณหภูมิ คลื่น

(3) อนุภาค–มวลสาร (particle–mass) ประกอบด้วย อนุภาคของมวลสาร และ อนุภาคของจิต อนุภาค ก่อให้เกิด ปริมาตร ขนาด ระยะ รูปทรง *อนุภาคของจิต (จิต) เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง (เจตสิก)

(4) อุณหภูมิ–คลื่น (temperatur-electromagnetic waves) แสดงสถานะ การเกิดขึ้น–ตั้งอยู่–ดับสลาย ของ อนุภาค แสง แรง เวลา

(5) จิต เจตสิก รูป นิพพาน แสดงสถานะของ สภาวะของสิ่งที่ประกอบเป็นร่าง (physical + psychological + biological + psychic + moral + general relativity: นิยาม 5 หรือ กฏธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วแน่นอนตายตัว) รูป นาม – นาม รูป

(6) มิติ และ ไตรลักษณ์ (dimension and 3-act phenomena)

มิติที่ 1–3 รูป, มิติที่ 4–5 เวลา แรง, มิติที่ 6–10 จิต กับ เจตสิก, มิติที่ 11 นิพพาน แต่ทุกมิติ ย่อมอยู่ภายใต้ กฏไตรลักษณ์ ทั้งสิ้น.

ดูรายละเอียดที่นี่

igood-end
2551-04-16

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:นวัตกรรม (พลัง สื่อ สาร)

นวัตกรรม (innovation) คือ สิ่งที่มนุษย์ คิดใหม่ ทำใหม่ คิดต่อยอด ทำต่อยอด (จากสิ่งที่มีอยู่เดิม) แล้ว “แสดงตน” ว่าเป็นผู้คิดผู้ทำ (copy right)

พันธกิจสำคัญ ของนวัตกรรม คือ
(1) การแสดงศักยภาพ (potential) และ คุณภาพ (quality)
(2) สื่อ (media–mean) และ สาร (mass–motive) เพื่อชี้วัด สมการ ต่อไปนี้ ให้เป็นจริง

คน (human) 
             = เข้าใกล้ นิพพาน (หมดทุกข์ หมดปัญหา)
ระบบ (system) 
             = พลวัต (dynamic)
สังคม วัฒนธรรม (social–culture) 
             =นิเวศน์สมดุล (ecological equilibrium)
อำนาจ (authority) 
             = จริยธรรม (ethics)
เทคโนโลยี (technology) 
             = ศีลธรรม (moral)
พัฒนา (development) 
             = ความงาม (aesthetics)
ฉลาด (intelligence) 
             = เสียสละ (unselfish)
ขยัน (hardy) 
             = สร้างสรรค์ (creative)
ซื่อสัตย์ (be honest) 
             = ถูกต้อง (be rightful)
สิ่งใหม่ (new–original) 
             = สิ่งเก่า (6Re–used: Reuse Repair Recycle Reject Return Retire)

นิพพาน (nirvana) คือ ที่สุดของนวัตกรรม ของมนุษยชาติ (สวากขาตธรรม) คือ ทำได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดด้วย “สถานที่” และ “กาละ” (อะกาลิโก) ไม่จำกัดด้วยบุคคล ใครทำใครได้ (สันทิฏฐิโก) เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ (เอหิปัสสิโก) เป็นประโยชน์แน่ๆ (โอปะนะยิโก) ปัญญาชนผู้ฉลาด ทำถูก ทำจริง เท่านั้น จึงจะรู้ จะเห็น ยอมรับ (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู หิ)

igood-end
2553-12-30

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:จริยธรรม 9 (ธรรมะ 9 คู่)

(1) จริง เท็จ
(2) ถูก ผิด
(3) ดี ชั่ว
(4) ประโยชน์สุข โทษทุกข์
(5) ศิลปะ อนาจาร
(6) สาระ ไร้สาระ
(7) เที่ยงธรรม ลำเอียง
(8) เหมาะควร ไม่เหมาะควร
(9) หมด เหลือ*

*สิ่งที่ หมด เหลือ = กิเลส อัตตา

igood-end
2551-04-22

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:สังขารธรรม (formative phenomena)

อนุภาค มวลสาร ในเอกภาพ มี 4 ประเภท คือ
(1) วัตถุ (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ)
(2) พีชะ (พืช สัตว์)
(3) ชีวะ (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย โลก)
(4) จิต (มนุษย์ เทพ ธรรม)

สังขารธรรม ในเอกภาพ มี ๖ ระดับ คือ
(1) ธาตุ / สสาร (mass)
(2) พีชะ (organism)
(3) เดรัจฉาน (wildness)
(4) ปุถุชน - มนุสโส (homo sapiens)
(5) เทพ (super maning / goodness)
(6) ธรรม (integrity / being nothing)

ระดับสังขารธรรม 6 ระดับ =สังขารธรรม 6 ประเภท (มีชีวิต-ไม่มีชีวิต)
(1) ธาตุ หรือ สสาร (mass)
(2) พีชะ (organism)
(3) เดรัจฉาน (wildness)
(4) ปุถุชน - มนุสโส (homo sapiens)
(5) เทพ (super maning / goodness)
(6) ธรรม (integrity / being nothing)
=(1) ดิน วัตถุ (material)
=(2) พืช (plant)
=(3) สัตว์ (animal)
=(4) คน – มนุษย์ (human)
=(5) เทพ – พระเจ้า (God)
=(6) ธรรม (darma)

(1) ธาตุ หรือ สสาร (mass)

องค์ประกอบ : 
             ของแข็ง + ของเหลว + อุณหภูมิ + อากาศ + ช่องว่าง 
             = ธาตุทั้ง 5 (ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ)
คุณลักษณะ : 
             สสาร + พลังงาน 
             = (mass + power)

(2) พีชะ (organism)

องค์ประกอบ : 
             ธาตุทั้ง 5 + อาหาร (food) *อาหาร เป็นตัวสร้าง กริยา
คุณลักษณะ : 
             สสาร + พลังงาน + กริยา 
             = (mass + power + action) 

(3) เดรัจฉาน (wildness)

องค์ประกอบ : 
             ธาตุทั้ง 5 + อาหาร (food) + ภูตะ (รู้สึก รับรู้) 
             *ภูตะ เป็นตัวสร้าง กรรม และ วัฎฎะ ให้แก่ตัวเอง
คุณลักษณะ : 
             สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วัฎฎะ 
             = (mass + power + action + motion + eternity)

(4) ปุถุชน–มนุสโส (homo sapiens)

องค์ประกอบ : 
             ธาตุทั้ง 5 
             + อาหาร (food) 
             + ภูตะ (รู้สึก รับรู้) 
             + ปาณะ (พลังฉลาด – intelligence creating) 
             + กิเลส (ดุร้าย – evil / greed / passion)
คุณลักษณะ : 
             สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วัฎฎะ 
             = (mass + power + action + motion + eternity) 

*กิเลส เป็นตัวสร้าง วิบาก ให้แก่ตนเอง

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต

กิเลส แบ่งออกเป็ 10 ประเภท คือ(1) อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต (2) โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ (3) โมหะ ความหลงใหล ความโง่ (4) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา (5) ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ (6) วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ (7) โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ (8) ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา (9) อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต (10) มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง

(5) เทพ (super maning / goodness)

องค์ประกอบ :
             ธาตุทั้ง 5 
             + อาหาร (food) 
             + ภูตะ (รู้สึก รับรู้) 
             + ปาณะ (พลังฉลาด) 
             + ภพ (สวรรค์) 
             *ปาณะ กับ ภพ เป็นตัวสร้าง วิบาก ให้แก่ตนเอง (ทั้งวิบากบวก และ วิบากลบ)

คุณลักษณะ : 
            สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วิบาก 
            = (mass + power + action + motion + effect)

สังขารธรรม ระดับ เทพ ขึ้นไป ต้อง “มี” “เป็น” “อยู่” ในร่างของมนุษย์ เท่านั้น ส่วน เดรัจฉาน ไม่อาจรับสภาพ และคุณสมบัติ ความเป็นเทพได้

(6) ธรรม (integrity / being nothing / nought)

องค์ประกอบ : 
             ธาตุทั้ง 5 
             + อาหาร (food) 
             + ภูตะ (รู้สึก รับรู้) 
             + ปาณะ (พลังฉลาด) 
             + สุญญตา 
             *ปาณะ กับ สุญญตา เป็นตัวสลาย อัตตา (ตัวตน) 
                คงเหลือแต่กลไกของร่างกาย ที่ทำหน้าที่ต่อไป
คุณลักษณะ : 
             สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + กาละ (เวลา) 
             = (mass + power + action + motion + time)

คำอธิบาย:

–อาหาร คือ การเคลื่อนที่ หรือแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5 ออกมาเป็นพลัง หรือกำลังงาน (energy)

–กริยา หมายถึง อาการที่เป็นผลจากการแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5

–ภูตะ คือ จิตใจ ที่สามารถรับรู้ได้ หรือรู้สึกได้ เมื่อสัมผัสกับ (1) อุณหภูมิ (2) แสง สี (3) เสียง (4) รส (5) กลิ่น (6) ผิวหนัง (7) อารมณ์
สัตว์ไม่สามารถรับรู้เรื่อง ปาณะ หรือ วิญญาณได้ ดังนั้น ความดีความชั่ว สัตว์ไม่รู้จัก กรรมของสัตว์ จึงเป็น วัฎฎะ มิใช่วิบาก เพราะกรรมนั้นขาดเจตนา ด้วยเหตุนี้ ภพ ชาติ ชรา มรณะ ของสัตว์จึงยาวนาน

–ปาณะ หรือ วิญญาณ คือ การรับรู้ได้ เรียนรู้ได้ มีจริงได้ และเป็นจริงได้ (being) ในเรื่องของ (1) ถูก-ผิด (2) จริง-เท็จ (3) ประโยชน์-โทษ (4) ความดี-ความชั่ว (5) ศิลปะ-อนาจาร (6) สาระ-อสาระ (7) เที่ยงธรรม-ลำเอียง (8) ควรทำ-ควรละเว้น (9) ความหมด-ความหลงเหลือ ส่วน กิเลส เป็นเครื่องแบ่งเขตความเป็น ปุถุชน กัลยาณชน มนุษยชน โดยนับเอา ความหนาแน่น หรือ ความเบาบาง (อาการ:action ลิงค:origination นิมิต:happen อุเทศ:meaning) เป็นตัวชี้วัด

ถ้ารับรู้ได้ เรียนรู้ได้ เป็นได้แค่เพียง “คน” ถ้าถึงขึ้น มีจริงได้ เป็นจริงได้ ก็เรียก “มนุษย์” จนถึงขั้น “เทพ”

–ภพ คือ ความติด ความเหลือ ที่ค้างอยู่ในจิต (ชีวะนุปาทิ-ชีระนุปาทิ) หรือ ค้างอยู่ในวัฎฎะ (ภพ ชาติ ชรา มรณะ) บางทีก็เรียก สัคคะ หรือ สวรรค์

–สุญญตา หรือ ความว่าง (nought) คือ สภาวะที่ไม่หลงเหลือ สิ่งหนึ่งสิ่งใด ต่อไปนี้ ไว้ในจิตและวิญญาณเลย ได้แก่ ความชั่ว ความเท็จ สังโยค อกุศล อวิชชา (ทุกข้อมีค่าเป็น 0)

–กรรม ของสังขารธรรม ระดับ “ธรรม” เป็นกรรมบริสุทธิ์ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งใด หรืออะไร กรรม จะดำเนินไปตาม เส้นเวลา บคคลผู้สามารถ (บรรลุ) มี “กรรม” กับ “กาละ” เป็นสิ่งเดียวกัน เรียก "อรหัตตบุคคล" คือ เป็นบุคคลผู้ที่ไม่เหลือแม้ ชีวะนุปาทิ และ ชีระนุปาทิ มีชีวิตเพื่อผู้อื่น หมดสิ้นอัตตาตัวตน เป็น "สุญญตบุคคล" หรือ "สรรพัญญูบุคคล" ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบัน สภาพเช่นนี้ เรียกฐานะบุคคลเหล่านี้ว่า "โพธิสัตวบุคคล" ซึ่งคำว่า สัตว ในที่นี้ ย่อมมิใช่ ฐานะ เดียวกันกับ "สัตว์" ในสังขารธรรม ที่ 3 เพียงแต่ขอยืมคำมาใช้เท่านั้นเอง.

igood-end
2551-04-21

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:สัจจะแห่งความรัก

3–Extreme Special LOVE Day:
Global
Family
Soul

3–M:
Mind Mine Motto.

Love is not hard for seek,
but hard concern its to sustain forever.
Love is not real but its friendly relations for human. (So Love is cheap, Forgivingness is expensive, Self dissolvable is truth and mystery.)

“ความรัก มิใช่สิ่งยาก ในการค้นหา
แต่ยากนัก ที่จะรักษาให้ได้ตลอดไป”

“ความรัก มิใช่ความถูกต้องจริงแท้ (เพราะรักมักลำเอียง) แต่ เป็นเครื่องมือสร้าง ความผาสุก สำหรับมนุษย์”

(ดังนั้น “รักโลกีย์” มีค่าน้อย รักการให้ มีค่ายิ่งกว่า แต่ รักที่จะยอมสลายอัตตา นี่สิ ยิ่งใหญ่
สุดยอด มหัศจรรย์)

igood-end
2553-02-14

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:อารยธรรมไอที อารยธรรมมนุษย์

อารยธรรมไอที 5 ยุค

(1)
ยุคสร้างและพัฒนา “รหัสความหมาย” ให้กับคอมพิวเตอร์ (Code marked language: CML)

(2)
ยุคสร้าง “ความจริง” ที่มาจาก “รหัสความหมาย” (programming)

(3)
ยุคแก้ไข “ความผิดพลาด” ที่เกิดจาก “รหัสความหมาย” (error)

(4)
ยุคป้องกัน “ความเสียหาย” ที่เกิดจาก “ความผิดพลาด” ของ “รหัสความหมาย” (bug)

(5)
ยุคทำลาย “รหัสความหมาย” ที่เกิดจาก “เจตนาอันชั่วร้าย” ของมนุษย์ (virus)

มนุษย์มี อารมณ์ (motive) เป็นแรงผลักดันให้เกิด พฤติกรรม (behavior)
คอมพิวเตอร์มี โปรแกรม (software) เป็นแรงผลักดันให้เกิด การตอบสนอง (interactive output) ระหว่างมนุษย์ กับ คอมพิวเตอร์

อารยธรรมมนุษย์
คือ การกระทำ “ความจริง”
ให้กับ “ความรู้” ที่มนุษย์ ควรรู้

คือ การงดกระทำ “ความจริง”
ที่เกิดจาก “ความรู้” ที่มนุษย์ ไม่ควรรู้

คือ การเปิดเผย “ความรู้”
ที่เป็น “ความจริง” ที่มนุษย์ ควรมี ควรเป็น ควรได้

คือ การปกปิด “ความรู้”
ที่เกิดจาก “ความจริง” ที่มนุษย์ ไม่ควรมี ไม่ควรเป็น ไม่ควรได้

บ่อนทำลาย หรือ ส่งเสริม อารยธรรมของมนุษย์ มี 2 ประการ คือ ไอทีวัตถุ (technology hardware & technology software) และ ไอทีจิต (technology mentality)

ไอทีจิต (technology mentality) หมายถึง “วิธีคิด” และ “การบูรณาการทางความคิด” ระหว่าง องค์ประกอบ 5 ประการ

(1) สุขภาวะจิต ที่เป็นมนุษย์ปกติ (มนุสส มนุสโส – physical wellbeing human)
(2) ความรู้ และ ทักษะ (knowledge–skill)
(3) อารมณ์ และ ความรัก (motive–love)
(4) การสื่อสาร (communication)
(5) เวลา (time dimension)

igood-end
2550-12-13

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:กิเลส กับ นิพพาน (มึง กับ กู)

นิพพาน เกิดจาก
การฆ่ากิเลส ให้ตาย การดัด นิสัย ให้ตรง
นิพพาน มิใช่ ได้มาจาก
การพร่ำสอน สดับ หลับตาปั้นเอา หรือ
เสก สัก ปัก เป่า
เมื่อ กิเลส เป็น “มึง” นิพพาน เป็น “กู”

ยุทธศาสตร์ สู้กิเลส กู้นิพพาน

มึงมา กูมุด (กดข่มด้วยเพ่ง สมาธิ กสิณ)
มึงหยุด กูแหย่ (ทดสอบ พลังจิตสมาธิ ด้วย ผัสสะ)
มึงแย่ กูตี (ตั้ง ตบะ เอาจริง)
มึงหนี กูไล่ (พิจารณา ด้วย ปัญญา ไตรลักษณ์)
มึงตาย กูเผา (รู้ด้วยตนเอง ว่าสอบผ่าน เรื่องใด)
(ถ้าไม่เผา ก็เหม็นแย่นะซิ)

igood-end
2551-04-21

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:เหตุผล กับ ความปารถนา

คนบ้า คือ คนที่ไม่มีเหตุผล มีแต่ความปรารถนา ปรารถนามาก ก็บ้ามาก ปรารถนาน้อย ก็บ้าน้อย

คนปกติ คือ คนที่มีเหตุผล และ มีความปรารถนา

ส่วนคนที่มีเหตุผล แต่ลดความปรารถนาลง จนเหลือน้อย คือ คนอาริยะ (คนเจริญแล้ว)

ถ้าอาริยชนผู้นั้น เป็นผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยเหตุผล กับ ทำลายความปรารถนาทั้งหลาย (กิเลส ตัณหา อุปาทาน) ลงเสียได้ ก็คือ พระอรหันต์ (อรหัตชน) มี สูง-ต่ำ ตามลำดับ

ถ้าอาริยชน ผู้พัฒนาจิตสูงส่ง (จริง ถูก ดี ประโยชน์ ศิลปะ สาระ ธรรมะ เหมาะควร) ถึงขั้น โพธิสัตวบุคคล แล้วละก้อ ย่อมเป็นผู้มีเหตุผล มีความปรารถนา เพื่อผู้อื่นเท่านั้น

แต่ถ้าคนผู้ใด ไม่มีทั้งเหตุผล และไม่มีทั้งปรารถนา คือ คนไม่ใช่คน จะเรียกว่าอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่คน ก็แล้วกัน

igood-end
2553-01-09

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]
line

:ความปารถนา เงื่อนไข ความงาม

ความปรารถนา (desire) เป็น ความรู้สึกของคน
ที่ช่วยให้รู้จักแยกแยะ ความแตกต่าง ระหว่าง
จริง-เท็จ ถูก-ผิด ดี-ชั่ว ประโยชน์สุข-โทษทุกข์ ได้ ความปรารถนา จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์ และสัตว์ มีชีวิตอยู่รอด

เงื่อนไข (condition) เป็น กฏเกณฑ์ ความจำเป็น ที่ต้องปฏิบัติ เพราะ ถ้าละเว้น จะส่งผลกระทบต่อ ร่างกาย ชีวิต ความปลอดภัย และ การยอมรับจากสังคม เงื่อนไข ใช้ได้กับ มนุษย์ และ สัตว์

ความงาม (aesthetics) เป็น อารมณ์ปรุงแต่ง ของมนุษย์ ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่เป็นสุข สัตว์ ไม่รู้จัก ไม่ต้องการ ความงาม

igood-end
2553-01-09

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:คุณลักษณะ ของ ยอดมนุษย์ (super human)

มี ร่างกาย เป็น คน
มี สมอง เป็น นักปราชญ์
มี กำลัง ดุจ พลังช้าง
มี ใจแกร่ง ดั่ง หัวใจเสือ
มี สายตา กว้างไกล ดุจ ตาเหยี่ยว
มี หู หยั่งรู้รวดเร็ว ดุจ หูค้างคาว
มี จมูก รับรู้กลิ่น เหมือน จมูกสุนัข
มี ลิ้น รับรส เหมือน ลิ้นจระเข้
มี ผิวหนัง ทนร้อนทนหนาว อย่าง หนังแรด
มี พลังเสียง ดุจ เสียง สิงโต
มี อริยาบท สง่างาม ดุจ สมณะ

igood-end
2554-12-18

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:คนเก่ง คนกล้า คนถูก คนดี

คนเก่ง
ทำในสิ่งที่ตน สามารถทำได้ โดยไม่คำนึงว่าสิ่งนั้นจะส่งผล ดี–ร้าย ประโยชน์–โทษ สุข–ทุกข์ ต่อสังคม หรือไม่ อย่างไร

คนกล้า
ทำในสิ่งที่ ตนเชื่อมั่น แม้ว่าเรื่องนั้นจะ ถูก–ดี–มีประโยชน์ หรือไม่ก็ตาม
ดังนั้น คนเก่ง และ คนกล้า ที่ไร้การควบคุม จะสร้างความเดือดให้แก่สังคม มากที่สุด

คนถูก
ทำในสิ่งที่ สังคมยอมรับ ว่า ถูก–ดี–มีประโยชน์ แต่ก็ยังไม่มีหลักประกันว่า สิ่งที่ทำนั้น จะไม่ส่งผลเสียหายให้แก่สังคม

คนดี
ทำในสิ่งที่ ตนศรัทธา ว่าสิ่งนั้น ถูก–ดี–มีประโยชน์–สุข และ ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่สังคม

คนเก่งดี
ทำตาม อุดมการณ์ ของตน ด้วย จิตมุ่งมั่น เสียสละ เรียนรู้ พัฒนา เพื่อมุ่งสู่ ความถูก ดี มีประโยชน์ สุข ศิลปะ สาระ ธรรมะ เหมาะควร ทั้งต่อ ตนเอง และ ผู้อื่น

คนกล้าดี
ทุ่มเททำตาม อุดมการณ์ ปัญญา ศรัทธา ของตน และ ยืนหยัด ยืนยัน ฟันธง ที่จะ เลือกข้าง ฝั่งที่ ถูก ดี มีประโยชน์ สุข ศิลปะ สาระ ธรรมะ เหมาะควร ทั้งต่อ ตนเอง และ ผู้อื่น

igood-end
2555-01-19

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:กรรม กับ กาละ

กรรม หรือ กาละใดๆ ที่เป็นไปเพื่อ ความผาสุก
เสียสละ ลดละตัวตน กรรม และ กาละนั้น ย่อมเป็น สาระ
“ทำดี” ต้อง “ได้ดี” “ทำชั่ว” ต้อง “ได้ชั่ว”
ไม่ทำอะไรเลย ก็ไม่ได้อะไรเลย ถ้าขืนได้ไป มันก็คือ “หนี้” (หนี้กรรม) ที่ต้องชดใช้
“ทำดี” แต่ “ไม่ได้ดี” เพราะ ทำดียังไม่มากพอ.
“ทำชั่ว” แล้ว “ได้ดี” เพราะ หลง “หนี้” (หนี้กรรม)” คือ กำ ไร

igood-end
2551-10-03

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:คมเลนส์ คมคิด

การเผยแพร่ (publicity)
คือ การสื่อสารทั่วไป ตามสิทธิ หน้าที่ ความพึงพอใจ ต่อสาธารณะ เหมือนการใช้ เลนส์ปกติ (normal lens 50 mm.) ถ่ายภาพ ที่มีมุมมองปกติ ไม่กว้าง หรือ แคบ จนเกินไป

การประชาสัมพันธ์ (public relations)
คือ การสื่อสาร ถ่ายทอด บอกกล่าว ความดี ความมี ความเป็น ของ บุคคล องค์กร ต่อสาธารณะ เหมือนการใช้ เลนส์ไวด์ (wide–lens angle) ถ่ายภาพ มุมกว้าง “สร้างภาพ (ภาพที่ดี)”) ดังนั้น การประชาสัมพันธ์ ควรทำให้เป็นวาระ (agenda)

การโฆษณา (advertising)
คือ การสื่อสาร แข่งขันปลุกเร้า ในเรื่องส่วนตัว (individual) สาธารณะ (public) ธุรกิจ (business) เครือข่าย (corporate) เพื่อให้เกิดการบริโภค การปฏิบัติ หรือ งดเว้นปฏิบัติ เหมือนการใช้ เลนส์เทเล (tele-photo lens) เพราะ ต้องระบุกลุ่มเป้าหมาย (วัตถุที่จะถ่าย) ให้ชัดเจน

การรณรงค์ (campaign)
คือ การสื่อสาร ปลุกเร้า เชิญชวน เช่นเดียวกับ การโฆษณา ด้วย ระยะเวลา ต้นทุน พื้นที่ ที่มีจำกัด เพื่อหวังผล ตามแผน ที่ตั้งไว้ เหมือนการใช้ เลนส์มาโคร (macro lens) หรือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสไกลมากๆ (มุมแคบมาก เช่น เลนส์ 600 mm. – 1,200 mm.)
การใช้เลนส์ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง มิฉะนั้น จะได้ภาพไม่คมชัด และอุปกรณ์เหล่านี้ มักมีราคาแพง และ โอกาสได้ใช้ก็น้อยกว่าเลนส์ปกติ เหมือนกับ การกำหนดแผนรณรงค์ จำเป็นต้องโฟกัสแผนงาน แผนกิจกรรม ให้คมชัดที่สุด เพื่อให้แผนต่างๆ บรรลุผล คุ้มทุน คุ้มเวลา

การใช้กลยุทธ์ (strategy)
คือ การสื่อสารประยุกต์ ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการแข่งขันด้านสื่อ เทคโนโลยีสื่อสาร นักการสื่อสาร ต้องรู้จักใช้ เครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยีสื่อสาร นวัตกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ–สังคม–นิเวศวิทยา และเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ การผลิต การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การสื่อสาร การตลาด การแลกเปลี่ยน–การขาย การแข่งขัน การบริโภค และ การจัดการหลังการบริโภค (post–consumption) รวมทั้ง การบริหารแผนต่าง (แผนกิจกรรม แผนบุคคล แผนสื่อ แผนงบประมาณ และ แผนการประเมิน เหมือนการใช้ เล็นซ์ซูม (zoom lens) ส่องภาพวัตถุที่เล็กมากๆ หรือ อยู่ไกลมากๆ ที่สายตาปกติมองไม่ถึง
ดังนั้น การใช้ซูม ต้องมีความพยายาม ทักษะความชำนาญ เป็นพิเศษ และรู้จักใช้ตามสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์ (กลยุทธ์เชิงรุก)

การกำหนดวาระสื่อสาร (agenda setting)
คือ การกำหนดนโยบาย ระยะ วาระ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างจิตสำนึก ย้ำบทเรียน ให้แก่ สังคม ชุมชน ให้เห็นความสำคัญ โทษภัย ประโยชน์ คุณค่า ซึ่งต้องอาศัย พลังมวลชน พลังสื่อ ช่วงเวลา การศึกษาเรียนรู้ เหมือนการเลือกใช้
ฟิลเตอร์ (filter) ชนิดต่างๆ กับเลนส์ถ่ายภาพ ให้ได้ภาพตามที่ต้องการ หรือภาพพิเศษ ตามสภาพแสง สภาพอุณหภูมิ สภาพความชื้น ไม่ว่าจะเป็นฟิลเตอร์กรองแสง (nd filter) ฟิลเตอร์สีต่างๆ ฟิลเตอร์ตัดแสงสะท้อน (polarize filter) รวมทั้งข้อต่อเลนส์ ตลอดจน รู้จักเลือกอุปกรณ์เสริมในการถ่ายภาพด้วย เช่น tripod, flash, reflex jel เป็นต้น

นักสื่อสารมวลชน
(1) ต้องรู้จัก วิเคราะห์ โอกาส เหตุการณ์ กระแส ของมวลชน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม
(= รู้จักสภาพแสง)
(2) ต้องรู้จัก สังเคราะห์ หรือ เลือกใช้ สภาพแวดล้อม อำนาจ โอกาส อารมณ์มวลชน
(= เลือกฟิลเตอร์)


igood-end
2551-04-10

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:ให้อะไร ได้อะไร

ให้ทรัพย์ จะได้ ใจ ตอบแทน
ให้ใจ จะได้ มิตรภาพ ตอบแทน
ให้ มิตรภาพ จะได้ ความสามัคคี ตอบแทน

igood-end
2550-10-29

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:IAICI หลักพัฒนาองค์กร

I รักองค์กรด้วยใจ (incorporation)
A ทุ่มเทให้กับงาน (action)
I พัฒนาสารสนเทศ (information)
C ใช้กลเม็ดสื่อสาร (communication)
I มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี (interactive)

igood-end
2549-08-16

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:2 แนวคิด ในการเก็บ ภาษีน้ำเมา

แม้ว่า ธุรกิจน้ำเมา จะผิดศีลธรรม แต่คนไทยก็ยังยินดีที่จะให้มีธุรกิจนี้
อยู่ต่อไป เพราะยึดเอาเกณฑ์ไม่ผิดกฎหมาย มาเป็นข้ออ้าง

แต่อย่างไรเสียก็ควรเสียภาษี ซึ่งได้มาก็คงไม่เพียงพอกับ ความสูญเสียทางสังคม อันเกิดจาก
พิษภัยของน้ำเมาทั้งหลาย

ในการเก็บภาษีน้ำเมา มี 2 แนวคิด ที่ต่างก็หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง คือ

-เก็บตามอัตราความเข้มข้นของดีกรี
(เหล้าขาว เสียเปรียบ เหล้าแดง)

-เก็บตามราคาขาย
(เหล้าแดง เสียเปรียบ เหล้าขาว)

แต่คนที่เสียเปรียบที่สุด ... คือ
ตัวคุณเอง

อย่าเอาข้อความที่เกี่ยวกับ ศีลธรรม มาเป็นเครื่องมือโฆษณา ขายอบายมุข
เพราะจะทำให้ผู้ชม สับสน เช่น

"ดื่มสุรา ผิดศีลห้า ด้วยความปรารถนาดี จาก ....บรั่นดีไทย"

"คิดดี สังคมดี ....วิสกี้ไทย"

หากปล่อยให้ ธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินไปอย่างเสรี ไม่คุณก็ผม คงต้องรับชะตากรรมร่วมกัน แน่แน่

igood-end
2550-01-10

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:บทแก้พยาบาท ให้แก่สรรพคน

บทแก้พยาบาทให้แก่สรรพคน (ล้อบทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์)

บทสวดนี้ สำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เอาไว้สวดอ้อนวอน เมื่อจะถูกคนนำไปฆ่า
(แต่บางทีคนมองไม่เห็น หรือแกล้ง
มองไม่เห็น เพราะอดน้ำลายไหลไม่ได้)

สัพเพ "สัตว์คน"
ผู้เป็นคนทั้งหลาย ที่ต่างก็กลัวเกิด กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น.

อปานาติปาตา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ฆ่า หรือมีส่วนในการฆ่า ทำร้าย ทำลาย ชีวิตสัตว์ใดๆ ต่อไปอีกเลย

อทินนาทานา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ลักขโมย เอารัดเอาเปรียบใดๆ ต่อไปอีกเลย

อกาเมสุมิจฉาจารา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ละเมิดลูก ละเมิดผัวเมียของคนอื่น ด้วยการประพฤติในกามต่อไปอีกเลย

อมุสาวาทา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พูดโกหก ตอแหล นินทา ใส่ร้ายป้ายสีแก่ผู้ใดอีกต่อไปเลย

อสุราเมระยะมัชฌปมาทัฏฐานา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เสพสุรา เสพยาบ้า ยาอี อย่าเป็นผีพนันหวย พนันบอลต่อไปอีกเลย

อัพยาปัชฌา ทุกขาอัตตานัง ปริหะรันตุ
พวกเรายังมีความทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะไม่สามารถรักษาตน ให้พ้นจากภัย พยาบาทเบียดเบียนของท่านทั้งหลายทั้งปวง.

"สมัยหนึ่ง สมัยที่ปลาปิลันย่า กินคน
คนก็ว่า ปลาปิลันย่าดุร้าย
แต่ทีคนกินปลาตั้งมากมาย
ไม่มีใครพูดบ้างเลยว่า
คนน่ะร้ายกว่าปิลันย่าหลายเท่านัก"

igood-end
2550-01-09

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:การบริหาร กิจกรรม การศึกษาดูงาน นอกสถานที่

การบริหารกิจกรรมการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(Administration of External Activity and Exhibition)

ขอบข่ายในการบริหาร:

1. การไปศึกษาดูงานนอกสถานที่

2. การไปศึกษา หรือร่วมงานนิทรรศการ

3. การไปร่วมสัมมนาทางวิชาการ ในฐานะ
ผู้บรรยาย (ครู-kuru)
ผู้ฟัง (แขกรับเชิญ-guest)
ผู้ร่วมจัดงาน (เจ้าภาพ-owner)
ผู้สังเกตการณ์ (แขกทั่วไป-visitor)

4. การไปร่วมงานค่ายพัฒนาคุณภาพ ศักยภาพในด้านต่างๆ

5. การท่องเที่ยวเชิงสาระวิชาการ
ท่องเที่ยวเชิงบันเทิง
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

6. กิจกรรมเกมส์ และการผ่อนคลาย

องค์ประกอบ 7 ประการ ของการศึกษาดูงานนอกสถานที่:

เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผล ในรายงานการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์

(1) ปักธงก่อนไป Earmark
(2) วางเงื่อนไขเวลา Place in Time
(3) รักษาสุขภาวะ Good Health
(4) จับสาระใส่กล่อง Catch Facts
(5) มองหากลยุทธ์สื่อสาร Communicational Strategy
(6) ดูการจัดการแผน Planing
(7) ค้นหาแก่นความคิด Philosophy

รายละเอียด:

(1) ปักธงก่อนไป
-กำหนดวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการศึกษา (earmarked)
-คาดหวังในสิ่งที่จะได้พบได้เห็นได้รับรู้

(2) วางเงื่อนไขเวลา กำหนดนัดหมายต่างๆ (ในกรอบของมิติแห่งเวลา หรือ Q-SPORT Dimension)

-จำนวนเวลา ที่ไปศึกษาแต่ละแห่ง และรวมเวลาทั้งสิ้นกี่ชั่วโมง กี่วัน (Quantity Dimension)

-ลำดับก่อนหลัง ในการไปยังสถานที่ต่างๆ ตามที่นัดหมาย (Sequence Dimension)

-เวลานัดหมาย (Point Dimension) ในการเริ่มเต้น หยุดพัก และสิ้นสุด

-สัมพันธภาพที่ต้องการ (Relation Dimension) กำหนดอัตราส่วนผกผันระหว่างเวลากับ
น้ำหนัก ความจุ และระยะ (Relation of time by weight, by capacity, by rength) ว่า
ต้องการผลลัพภ์ในอัตราส่วนเท่าใด ในการไปศึกษาครั้งนั้น เช่น ไปเก็บธาตุชนิดหนึ่ง
ให้ได้ปริมาตรหรือ นำหนัก หรือระยะ (กว้าง ยาว สูง) ให้ได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ ภายในเวลาที่กำหนดไว้

-โอกาสที่ผิดพลาด หรือ โอกาสที่จะได้รับบรรลุผล (Opportunity Dimension) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง มีมากน้อยเท่าใด ต้องบอกให้คณะที่ร่วมเดินทางไป ทราบด้วย

-จำนวนครั้ง (Time Dimension) ในการแจงนับทางสถิติ เพื่อจะทำให้การเก็บข้อมูลต่างๆ บรรลุผล และตรงตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย

(3) รักษาสุขภาวะ

-สุขภาวะทางร่างกาย ไม่เจ็บป่วยทางร่างกาย
-สุขภาวะทางจิต ไม่เจ็บป่วยทางจิต เช่น ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล
-สุขภาวะทางอารมณ์ (จิตวิญญาณ) สามารถรับสภาพต่างๆ ได้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวเพื่อประสบกับเหตุ เภท ภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (เตรียมรับสภาพได้ทุกสภาวะ)
-สุขภาวะทางสังคมของกลุ่ม หรือคณะที่เดินทางไป ต้องสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว ไม่เกิดความแตกแยก (หัวหน้าทีม ต้องรักษาทีมให้ดี)

(4) จับสาระใส่กล่อง

-ก่อนออกเดินทาง ตั้งแต่ข้อ (1) ปักธงก่อนไป จะต้องจัดกลุ่มของเรื่องที่จะศึกษาไว้ล่วงหน้า

เพื่อจะทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างเป็นระเบียบ

-พบเห็นข้อมูล (information) ข้อเท็จจริง (facts) ทั้งที่เป็นภาพ ข้อความ เสียง กลิ่น รส
ความรู้สึก บันทึกไว้ให้ครบถ้วน

(5) มองหากลยุทธ์สื่อสาร

-องค์ประกอบการสื่อสาร (SIMMCREFI) ที่พบเมื่อไปถึงยังสถานที่นัดหมาย คืออะไร
สังเคราะห์ให้ได้ จัดหมวดหมู่ให้ชัด

-กลยุทธ์การสื่อสาร ของเจ้าของสถานที่ ต้องค้นหาให้พบ ว่ามีอะไรบ้าง เช่น
กลยุทธ์การโฆษณาและประชาสัมพันธ์
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
กลยุทธ์การบริหารองค์การ
กลยุทธ์สื่อ (สื่อบุคคล สื่อวัตถุ-สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์-มัลติมีเดีย สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ สื่อสารสนเทศ สื่อปราศัย)

-แบบจำลองการสื่อสาร (Communication modeling)

(6) ดูการจัดการแผน ทั้ง 6 ด้าน (ถ้ามีครบ)

-แผนกิจกรรม โครงการ โครงงาน
-แผนบริหารบุคคล โครงสร้างองค์กร คุณสมบัติสายงานการบริหารการปกครอง
-แผนบริหารการเงิน หรือ แผนงบประมาณ ดูว่ามี Grant Chart หรือไม่
-แผนสื่อ
-แผนประเมินผล
-แผนพัฒนาทุนทางสังคม

(7) ค้นหาแก่นความคิด

-แก่นความคิดเชิงปริมาณ หรือ อภิปรัชญา (Metaphysics) คือ ศึกษา ความหมายเชิงคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Quality) และคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของสิ่งที่กำลังศึกษา (บุคคล เหตุการณ์ วัตถุ-สถานที่) ว่ามีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ มีที่มาอย่างไร

-แก่นความคิดเชิงคุณภาพ หรือ ญาณวิทยา (Epistemology) มุ่งศึกษา ความหมาย ที่แท้จริงของสัจจะ ความเชื่อที่บริสุทธิ์ รากเหง้าของความคิด ที่อยู่เหนือเหตุและผล อันเป็นแก่นของความเชื่อมั่น เชื่อถือ ซึ่งทำให้เกิดการสืบต่อ ทางวัฒนธรรม อย่างยาวนานและยั่งยืน

ดังนั้นการค้นหาแก่นความคิดของกลุ่ม หรือสิ่งที่เข้าไปศึกษา จึงต้องอาศัยระยะเวลา
ความอดทน ความสม่ำเสมอ ความซื่อสัตย์จริงใจ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เที่ยงตรง
แม่นยำ (validity) มีความเชื่อถือได้ว่าจริงแท้แน่นอน (reliability) และสิ่งที่ค้นพบนั้น
มีความบริสุทธิ์เที่ยงธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ใส่ร้าย หรือให้ร้ายแก่ผู้อื่น

Indu-Educationalization

การศึกษาเชิงคุณภาพ จะต้องประกอบด้วยการศึกษาจากภายนอกเข้าไปสู่ภายใน
(Education) และการศึกษาจากภายในออกสู่ภายนอก (Inducation) จึงจะทำให้เกิดสมบูรณ์ (Perfect) และความสมดุลย์ (Balance) ของสังขารธรรม (Being Phenomina) ซึ่งเป็นที่มาแห่งความผาสุกของมนุษยชาติ (Good Health Humanity)

igood-end
2550-01-02

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:นิทาน เรื่อง "NEXT of a white crocodile"

         มีลูกจรเข้ตัวหนึ่ง ถูกคลื่นพัดมาเกยตื้นที่หมู่บ้านชาวประมงแห่งหนึ่ง ชาวบ้านมาเห็นเข้า ก็สงสาร นำมาเลี้ยงไว้ด้วยปลาต่างๆ มันเป็นลูกจระเข้เผือก ทำให้มีผู้คนแตกตื่นมาดู ทำให้หมู่บ้านคึกคัก ไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา บ้างก็มาขอพร บ้างก็เสี่ยงโชคซื้อหวย ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง แต่ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจของหมู่บ้านดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก

         พอลูกจระเข้โตขึ้น ก็กินอาหารมากขึ้น ชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นภาระที่จะต้องหาอาหารมาให้มัน จึงประชุมกันว่า จะต้องสอนให้มันว่ายน้ำเป็น มันจะได้หาอาหารกินเองได้

         เมื่อมันว่ายน้ำเป็น ก็เที่ยวออกไปหากินในสถานที่ไกลออกไป ยิ่งไกลก็ได้กินอาหารที่แปลกขึ้น เป็นต้นว่า เนื้อสัตว์ต่างๆ ด้วยความที่มันเคยคลุกคลีกับมนุษย์ มันจึงฉลาด และรู้จิตใจของมนุษย์ ได้มากกว่าจระเข้ตัวใดๆ

         ครั้งหนึ่ง ในระหว่างออกล่าหาเหยื่อ มันไปพบลูกของชาวบ้านคนหนึ่งที่ริมหนองน้ำ ของอีกหมู่บ้านหนึ่งเข้า ก็คิดอยากจะลองกินเนื้อมนุษย์ คิดดังนั้น มันจึงตะครุบกิน เด็กน้อยผู้เคราะห์ร้ายนั้นเสีย และก็ติดใจในเนื้อมนุษย์ และอยากจะกินอีก ภายในจิตใจอันชั่วช้าของมัน ชาวบ้านไม่รู้

         เมื่ออยากกินเนื้อมนุษย์ มันก็ฉลาดพอที่จะหลอกล่อเหยื่อให้เข้าไปในพงไม้ซึ่งมีน้ำตื้น เมือสอดส่ายสายตาว่าไม่มีใครรู้ใครเห็น และสบโอกาสก็ตะครุบชาวบ้านผู้นั้นกินเป็นอาหาร

         เมื่อทำบ่อยๆ เข้า ก็มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งสงสัย และมาคอยแอบซุ่มดู ความจริงก็ปรากฎ ชาวบ้านกลุ่มนั้น จึงออกไปป่าวประกาศให้ทุกคนรู้ถึงกำพืดของเจ้าสัตว์ร้าย เจ้าเล่ห์

         แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังเชื่อว่ามันเป็นจรเข้ที่เทวดาส่งมาให้ "เห็นไหมตั้งแต่เลี้ยงมันไว้ เศรษฐกิจของหมู่บ้านเจริญรุ่งเรืองขึ้น จะว่ามันเป็นปีศาจร้ายได้อย่างไร"

         อีกไม่นาน จำนวนประชากรในหมู่บ้านก็หายไปทีละคนทีละคน ชาวบ้านที่รู้ความจริง ก็ออกไปชุมนุมกันที่สุขศาลา ของหมู่บ้าน และป่าวประกาศ ให้มาช่วยกันขับไล่ ให้มันออกไป เสียจากหมู่บ้าน แต่ความเห็นของชาวบ้าน ก็แตกต่างกันออกไป กลุ่มที่เห็นเหตุการณ์จริง และล่วงรู้พฤิตกรรมที่แท้จริงของเดรัจฉานตัวนั้น ก็ลงความเห็นว่าควรจะจับมันมาฆ่าเสีย เพื่อไม่ให้มันไปจับชาวบ้านมากินอีก อีกพวกหนึ่งก็ว่า แค่ขับไล่ให้มันออกไปจากหมู่บ้านก็พอ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่า น่าจะสมานฉันทน์ ไม่ควรฆ่า ไม่ควรขับไล่ มีเพียงสองสามคนที่พูดว่าควรอัญเชิญให้มาเป็น เทพคุ้มครองหมู่บ้านต่อไป

         "เห็นไหม ก็พวกท่านปล่อยให้มัน เอ๊ย! ให้เขาเร่ร่อน ไม่หาน้ำหาปลาให้กิน เขาก็เที่ยวเร่ร่อนไปหากินทีอื่นน่ะซิ ต่อไปนี้ พวกเราจะต้องอัญเชิญ ให้เขามาสิงสถิตย์ ณ เนินป่าอันร่มรื่น ที่พวกเราจะสร้างไว้ให้เขาอยู่ …นะพวกเรา สู้ สู้"

นิทานก็จบเพียงเท่านี้

igood-end
2550-05-05

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:ข้อเสนอ ให้รัฐธรรมนูญ บัญญัติ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย

ประเทศไทย ได้ประกาศให้ วันสำคัญทางศาสนา เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้คนไทย มีเวลาปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรม ทำได้สองด้าน คือ "ด้านรูปแบบ" ประเพณี เช่น ทำบุญ ใส่บาตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ และ "ด้านสาระ" เช่น การตั้งใจ (ตั้งตบะ) ลด ละ เลิก อบายมุข การรักษาศีล และการบำเพ็ญประโยชน์ (ทำบุญ) ทั้งหมดเพื่อให้จิตใจสะอาด น่าคิดว่า ทุกวันนี้ เมื่อถึงวันหยุด มีชาวพุทธ ปฏิบัติธรรม "ด้านสาระ" หรือ "ด้านรูแบบ" มากน้อยกว่ากันเพียงใด
โดยปกติ พุทธศาสนา มีอยู่คู่กับคนไทย สังคมไทย มาช้านาน จนไม่อาจจะแยกจากกันได้ ได้มีกลุ่มคน เรียกร้องต้องการให้รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย แต่การกระทำเช่นนั้น มีเหตุผลที่น่าคิด 9 ประการ คือ

(1) รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย ที่ถูกกำหนดขึ้น มีศักดิ์แห่งกฎหมาย (ความสำคัญ) ต่ำกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยพระศาสดา การละเมิดกฎหมาย ผู้ละเมิดจะมีความผิดหรือถูกลงโทษ จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาโทษทางศาลก่อน ส่วนการละเมิดพระธรรมวินัย ย่อมได้รับผลบาปทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ดังนั้นการบัญญัติ สิ่งที่สูงกว่าให้มาอยู่ภายใต้ศักดิ์แห่งสิ่งที่ต่ำกว่า นั้นไม่เหมาะควร

(2) การบัญญัติสิ่งที่เป็น นามธรรม (ละเอียด สูงส่ง) ให้เป็น รูปธรรม (หยาบ) เท่ากับ ทำให้ธรรมะ นั้นหยาบขึ้น ลดคุณค่าของธรรมะลงไป

(3) ฝ่ายที่ต้องการ ให้ระบุศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นความเห็นแก่ตัว ซึ่งแสดงอัตตา ความเป็นเจ้าของศาสนา ซึ่งโดยแท้แล้ว ศาสนา เป็นของมนุษยชาติทุกคน ไม่มีผู้ใดจะกีดกัน มิให้คนอื่นมานับถือ หรือเป็นเจ้าของได้

(4) ถ้าให้รัฐธรรมนูญ บัญญัติรับรองว่าประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเหตุผลที่ไม่สมควร เพราะถ้า มีผู้คิดล้มล้างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งมีบ่อยสำหรับประเทศไทย) ก็จะส่งผลให้ พระพุทธศาสนา ไม่มีสิ่งรับรอง อาจทำให้พุทธศาสนา หายไปจากประเทศไทยไปด้วย เพราะรัฐธรรมนูญถูกยกเลิก ศาสนาก็ถูกยกเลิกไปด้วย (กลับจะเป็นเหตุให้ ศาสนาอื่น สอดแทรกเข้ามามีอิทธิพลเหนือกว่า โดยไม่ตั้งใจ)
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีการบัญญัติให้รัฐธรรมนูญรับรอง แม้ว่า รัฐธรรมนูญจะถูกล้มล้าง แต่พุทธศาสนา ก็ยังคงอยู่ ตลอดไป

(5) ในสมัยพุทธกาล พระเทวทัต เคยยื่นข้อเสนอ ให้พระพุทธเจ้า บัญญัติกฎข้อหนึ่งว่า พระสงฆ์ ต้องฉันมังสวิรัติ (อาหาร ซึ่งไม่มีเนื้อสัตว์) ซึ่งพระสงฆ์ในสมัยนั้น (ส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู ซึ่งกินอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์อยู่แล้ว) ก็ฉันมังสวิรัติ อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว พระพุทธองค์ไม่ยินยอม เพราะเป็นพฤติการณ์ที่ไม่ชอบของพระเทวทัต ที่ต้องการแสดงตน (อัตตา = ความเห็นแก่ตัว ต้องการเป็นใหญ่เพียงคนเดียว) เหนือพระพุทธองค์ การกินเนื้อ หรือไม่กินเนื้อ เป็นประเด็นปลีกย่อย ของศาสนา ที่จะทำให้ศาสนาพุทธแผ่ขยายไปยังดินแดนอื่นๆ ได้
ข้อนี้ แสดงถึง พระสัพพัญญู (ความฉลาด) ของพระพุทธองค์ ที่ไม่ต้องการให้ ศาสนาตกไปอยู่ใน ความครอบครองของคนใด คณะใด หรือประเทศใด แต่เป็นของมนุษยชาติในโลก

(6) ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทยอยู่แล้ว ตั้งแต่อดีต ชาวพุทธ และ คนไทย ก็มีเสรีภาพในการนับถือศาสนาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน ที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา

(7) พระพุทธรูปยิ่งใหญ่โต ศาสนายิ่งเสื่อม การบัญญัติให้ศาสนาพุทธ ต้องมีกฎหมายบังคับ ก็เท่ากับยอมรับว่า ศาสนาพุทธในประเทศไทย อ่อนแอมากๆ เพราะถ้าแข็งแรงจริง (พระสงฆ์เคร่งครัดในพระธรรมวินัย) ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมายมาค้ำจุน

(8) การรับรองให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย จะมีผลบังคับได้เฉพาะ ด้านรูปแบบเท่านั้น เพราะ การลด ละ เลิก กิเลส การรักษาศีล เป็นเสรีภาพส่วนบุคคล ที่กฏหมาย ไม่สามารถบังคับได้ จึงไม่มีประโยชน์อันใด ที่จะบังคับให้คนไทย แสดงรูปแบบของพระพุทธศาสนา แต่เนื้อแท้นั้น ไม่ใช่

(9) เป็นช่องทางสร้างความแตกแยก ของคนในชาติมากยิ่งขึ้น เพราะฝ่ายที่อ้างว่าเป็น "พุทธ" (พุทธเทียม) ที่ยึดเฉพาะรูปแบบ (เช่น พุทธพาณิชย์, พุทธสังฆเภท, พุทธไสยาสน์) อาจหาช่องทางรังแก เบียดเบียน "พุทธ" ฝ่ายอื่นที่ "ตีความ สาระ" ของพระธรรมวินัย แตกต่างจากตน เพราะเนื้อแท้ของศาสนา มิใช่ขึ้นอยู่กับ รูปแบบ เท่านั้น แต่ต้องมีสาระด้วย
พระพุทธดำรัส กล่าวไว้ว่า หากสงฆ์มีความเห็นที่แตกต่างกัน (ทิฐิต่างกัน แนวปฏิบัติต่างกัน) ห้ามสงฆ์ทั้งสองฝ่ายไปตัดสินกันเอง ต้องให้ประชาชนที่ศรัทธาเป็นผู้ตัดสิน (เรียกว่าหลัก "นานาสังวาส") นี่คือเสรีภาพของพระศาสนา การละเมิดหลักนานาสังวาส ก็คือการบังคับด้วยอำนาจที่ไม่ชอบธรรม กับอีกฝ่ายหนึ่ง ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน (แต่ไม่ผิดกฎหมาย)

igood-end
2550-05-10

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:เศรษฐกิจพอเพียง 4 ระดับ

เศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งมรรคผลแท้จริง จะต้องแบ่งระดับของค่าชี้วัดออกเป็น 4 ระดับ เพื่อให้องค์กรที่มีความแตกต่างกัน มีโอกาส "เลือก" ปฏิบัติให้เหมาะสมหรือเหมาะกับความพอประมาณของตน

ระดับที่ 1 "ตอบสนอง" ความต้องการพื้นฐาน + "ศึกษาเรียนรู้" โทษภัยของความต้องการส่วนเกิน

ระดับที่ 2 "ตอบสนอง" ความต้องการพื้นฐาน + "ลด ความต้องการส่วนเกิน"

ความต้องการพื้นฐาน หมายถึง ความต้องการข้าว ผ้า ยา บ้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่ประชาชน จะต้องมี และ ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐ
ระดับ 1-2 มี
CSR: Corporated Social Responsibility ธุรกิจเพื่อสังคม
CG: Corporated Governance หลักธรรมาภิบาล
SC: Social Campaign รณรงค์ทางสังคม

ระดับที่ 3 "สร้าง" ความต้องการพื้นฐาน + "ลด" ความต้องการส่วนเกิน

ระดับที่ 4 "สร้าง + แจกจ่าย" ความต้องการพื้นฐานแก่ผู้อื่น/ประเทศอื่น + "ลด" ความต้องการส่วนเกิน

ระดับที่ 3-4 จะต้องสร้างและพัฒนา ทุนทางสังคม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
SIOR: Social Input/Output Resource (ทุนทางสังคม)
-human & forcefulness
-system & method
-participated mass politics
-knowledge & truth
-communication
-health & emotioning
-culture
-material capital
-social innovation

ยังไงเสีย ตลาด ก็ยังต้องอาศัยทุน โดยเฉพาะ "ทุนทางสังคม" (Social I/O resource: I/O: Input/Ouput) อยู่ดี เพราะตลาดตั้งอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาความได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม ให้รู้สึกว่า ยินดีพอใจในการเป็นผู้เสียเปรียบ (เสียเพราะแลกในสิ่งที่ได้) ทุนนิยมได้กลืนกินทุนทางสังคมลงไปทุกวัน ถ้าไม่รีบหรือ ไม่สร้างทุนชดเชย ก็จะตายกันทั้งคู่ และทั้งโลกด้วย

ทุนทางสังคม เป็นทรัพยากรที่ประกอบด้วยปัจจัยทางสังคมที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่ จากกระบวนการต่างๆ โดยอิงคุณธรรมทางศาสนา ทุนทางสังคมมีส่วนประกอบ 9 ประการ คือ (1)คน และพลังมวลชน (2) ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม (3) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน (4) ความรู้ และความจริง (5) การสื่อสาร (6) สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม (7) วัฒนธรรม (8) ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ (9) นวัตกรรมทางสังคม

กลยุทธ์ในการสร้างทุนทางสังคม คือ (1) การลด ปลด หนี้สิน (2) การสร้างเครือข่ายชุมชน (3) การฝึกอบรม ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะต้องอาศัยระบบการสื่อสารบุญนิยมมาใช้เป็นเครื่องมือ จึงจะทำให้การดำเนินงานของกลยุทธ์บรรลุผลตามเป้าหมาย คือให้เกิด การคิดใหม่ ทำใหม่ นำไปสู่ การคิดเป็น และทำเป็น

ดังนั้น..... ทุนทางสังคม คือ...
ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากองค์รวมของสังคม
เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์
เป็นสิ่งที่ใครใครก็หยิบฉวยเอามาใช้ได้ทั่วไป
เป็นสิ่งที่เกื้อกูลมนุษยชาติให้มีความเป็นอยู่อย่างผาสุก
เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล เทียบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ได้
เป็นสิ่งที่อ่อนไหวต่อการทำลายล้าง เมื่อถูกทำลายแล้วย่อมหมดไป
เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางนามธรรมสูง สร้างยาก และใช้เวลายาวนาน

igood-end
2550-07-31

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

 
   
  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net


:

.

igood-end
.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:

.

igood-end
.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.

igood-end
.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:

.

igood-end
.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:

.

igood-end
.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)