igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]


:พฤติกรรมของมวลของสาร (behavior of mass's message in commumication process)

วัตถุยิ่งมีมวลมาก ก็เคลื่อนที่ได้ยาก "มวล" เป็นเครื่องชี้วัด "แรงต้านของวัตถุ" ซึ่งทำให้ความเร็วของมันเปลี่ยนไป นั่นคือในมิติของวัตถุสิ่งของ แต่ในมิติของการสื่อสาร สามารถอธิบายเทียบเคียงกันได้เช่นเดียวกัน เพราะการสื่อสารใดๆ ย่อมต้องอาศัย "ตัวสาร" (message) เป็นพาหะพา ความหมาย ไปจนถึงเป้าหมาย คือ ผู้รับสาร แต่ มวลของตัวสาร มิอาจวัดหรือประเมินคุณสมบัติได้เช่นเดียวกับ มวลของวัตถุ มวลของวัตถุ มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ จับต้องได้ (ในระดับเซล หรือ โมเลกุล สามารถวัดค่าได้ แต่ถ้ามีขนาดเล็กมากในระดับ อะตอม ลงไป ไม่อาจวัดค่าที่แน่นอนได้ วัดได้เพียงค่าโดยประมาณเท่านั้น) จงหาว่า มวลของตัวสาร ในการสื่อสาร มีอะไรบ้าง

มวลของตัวสาร (mass of message) ในการสื่อสาร ประกอบด้วย
(1) ภาพ (picture-image)
(2) ข้อความ (text-word)
(3) เสียง (sound-sound wave)
(4) แสง-สี (light-color)
(5) รูปทรง-สัดส่วน (shape-ratio)

(1) ภาพ (2) ข้อความ (3) เสียง (4) แสง-สี (5) รูปทรง-สัดส่วน ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า มวลของตัวสาร ทำหน้าที่เป็นเพียง "พาหะ" เท่านั้น แต่สิ่งที่ซ่อนไปกับตัวสารคือ "ความหมาย" ซึ่งผู้ส่งสารจะเข้ารหัส (encode) ไว้แล้ว เพื่อให้ผู้รับสารเป็นผู้ถอดรหัส (decode) ในภายหลัง ส่วนแรงต้านของตัวสาร (friction force) จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการส่งสารไปตามช่องทาง (channel) ลักษณะและประเภทของแรงต้านเหล่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าสารนั้นอาศัยช่องทางใดเคลื่อนที่ไป อุปสรรคของสิ่งพิมพ์ คือความไม่ชัดเจนของภาพและข้อความ หรือ การถูกทำลายทางกายภาพก่อนถึงมือผู้รับ อุปสรรคของวิทยุหรือโทรทัศน์ คือ ความไม่ชัดเจนของสัญญาณภาพสัญญาณเสียง หรือ เครื่องรับเครื่องส่งไม่ทำงาน เป็นต้น เหล่านี้คืออุปสรรคด้านตัวสารและช่องทางสาร

อุปสรรคด้านการเข้ารหัสและการถอดรหัส ได้แก่ ความถูกต้องในรูปแบบ วิธีการ ที่ยอมรับได้ทั้งทางฝั่งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เรียกว่า protocal นอกจากนี้ ในการสื่อสารไปสู่มวลชน หรือ การสื่อสารมวลชน ยังต้องอาศัยรูปแบบวิธีการด้านโครงข่ายงานในการสื่อสาร ในระดับต่างๆ ซึ่งเรียกว่า topology

ส่วนอุปสรรคด้านผู้ส่งสารและผู้รับสาร คือทักษะในการเข้ารหัสและการถอดรหัส บางครั้งทักษะการอ่าน การดู การตีความก็เป็นอุปสรรค ดังนั้น ภาษา และระดับของภาษา (ทั้งภาษาข้อความ ภาษาพูด ภาษาภาพ ภาษาท่าทาง) ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารด้วย ปัจจัยอุปสรรคอีกประการหนึ่งคือ ประสบการณ์เดิม และวัฒนธรรมของผู้รับสาร และผู้ส่งสาร ซึ่งหากมีประสบการณ์หรือวัฒนธรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ก็ทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ

สรุปว่า อุปสรรครบกวน (noise) ในขณะมีการสื่อสาร ก็คือแรงต้านในการสื่อสาร เช่นเดียวกับ แรงต้านของมวลวัตถุนั่นเอง

ผลกระทบที่เกิดขึ้น (effect) อันเนื่องมาจากการกระบวนการสื่อสารเกือบจะถึงในขั้นสุดท้าย คือ การรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ของทางฝั่งผู้รับสาร แล้วส่งสัญญาณกลับไปยังผู้ส่งสาร (feedback) ว่าผลเป็นอย่างไร พอใจหรือไม่พอใจ ยอมรับหรือไม่ยอมรับ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ นับเป็นการสิ้นสุดของกระบวนการสื่อสาร (communication process) จากนั้นก็จะเป็นข้อตกลงกันระหว่างฝั่งผู้รับสารและผู้ส่งสาร ว่าจะมีการตอบสนอง (interactive) กันอย่างไรต่อไป

เช่น ในการสื่อสารด้านการศึกษาเรียนรู้ ซึ่งต้องวัดและประเมินองค์ความรู้ (message) ที่ชัดเจน โดยอาศัยการตอบสนองของผู้เรียนเป็นเกณฑ์ชี้วัด เป็นไปได้ว่า ในชั้นเรียนหากผู้เรียนไม่แสดงอาการตอบสนองอย่างไรเลยในระหว่างการมีกิจกรรม ก็ไม่อาจบอกได้ว่า ในการบรรยายของผู้สอนในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ แต่สิ่งหนึ่งที่วัดยาก คือ "ความรู้ที่ผุดขึ้นในระหว่าง..." มันจะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ในขณะที่ "ความกระจ่างที่ผุดขึ้นในระหว่าง..." ก็เกิดขึ้นกับตัวผู้สอน ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่มีความหมายมีคุณค่า และผู้สอนก็เข้าใจในวิธีการบรรยายที่ชำนาญขึ้น ว่าจะบอกอธิบายอย่างไรให้เรื่องที่ยากกลายเป็นเรื่องง่าย เรื่องลึกให้เป็นเรื่องตื้น เรื่องลี้ล้บให้เป็นเรื่องเปิดเผย เรื่องที่มืดมนก็เป็นเรื่องที่แจ่มแจ้ง

ดังนั้น การเข้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ จะได้ประโยชน์ทั้งผู้สอน (ผู้ส่งสาร) และผู้เรียน (ผู้รับสาร) และคำว่าชั้นเรียนนี่ไม่ได้หมายถึงห้องสี่เหลี่ยม ที่เป็นสถานที่ถูกกำหนดให้มานั่งฟังบรรยายเท่านั้น หากแต่เป็นสถานที่ใดๆ ที่นัดหมายกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เช่น ในโลกออนไลน์ ก็อาศัยเว็บบอร์ดสาธารณะ จากผู้ให้บริการฟรีในอินเทอร์เน็ตก็มีให้เลือกตั้งมากมาย เช่น facebook, twitter, sky (อาจารย์สู่ดิน ใช้บริการเว็บบอร์ดออนไลน์ที่ www.facebook.com/sudin.chaohinfa ใช้บริการตู้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ sudin.expert@yahoo.com และมีห้องเรียนอเล็กทรอนิกส์เป็นของตัวเอง เป็นที่สำหรับวางหนังสือ เอกสาร ภาพ เสียง ที่ www.igoodmedia.net)

ความรู้ที่ผุดขึ้นในระหว่าง (knowlege insight between...) มักจะเกิดขึ้นในสภาวะ 3 สภาวะ คือ การสนทนา การอ่าน-ฟัง-สัมผัส ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา-รูป, หู-เสียง, จมูก-กลิ่น, ลิ้น-รส, ผิวกาย-สัมผัส) และ การพิจารณาสติปัฏฐานด้วยประสาทสัมผัสใจ (โยนิโสมนสิการ - reasoned-systemetic-analysis thinking) ซึ่งก็คือการคิดอย่างถูกวิธี มีหลักการ มีเหตุผล เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นจุดเริ่มต้นในการคิด (ถ้าเริ่มด้วย มิจฉาทิฏฐิ ทุกอย่างที่ตามมาก็ผิดหมด)

พฤติกรรมของตัวสาร จะไม่อยู่นิ่งๆ แต่จะเคลื่อนที่ไปอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับ อนุภาคของสสาร และจักรวาล ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
(1) มิติของการขนส่ง และการขนส่งมวลชน (Logistics and mass transportation) คือ การเคลื่อนย้าย วัตถุ พืช สัตว์ มนุษย์ ไปให้ถึงเป้าหมาย อย่างปลอดภัย โดยอาศัยการบริหารจัดการ การวางแผน การดำเนินการ และการควบคุมองค์กร บุคคล ข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ

(2) มิติของการสื่อสาร (communication) คือ การเคลื่อนย้ายมวลของสาร (mass of message) ไปให้ถึงผู้รับ โดยผู้รับมีความเข้าใจความหมายในสารนั้น โดยอาศัยกระบวนการสื่อ (communication process) รูปแบบวิธีการสาส์น (protocal) และโครงข่าย (topology)

(3) มิติของการศึกษา (education) คือ การเคลื่อนย้ายประสบการณ์ จากภายนอกไปสู่การรับรู้ภายในของผู้เรียน จนผู้เรียนเกิด "ความรู้ผุดขึ้นในระหว่าง..." ที่มีกิจกรรมในการเรียนรู้นั้น โดยอาศัยหลักการจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา

(4) มิติของการพัฒนา (development) คือ การทำให้วัตถุ พืช สัตว์ มนุษย์ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ในเชิงบวก (ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเชิงลบ ไม่เรียกกว่า พัฒนา แต่จะเรียกว่า หายนะ) โดยอาศัยมิติทั้ง 3 มิติ ดังกล่าวข้างต้นมาเป็นเครื่องมือ

การเดินทางของสาร การเดินทางของสสาร การเดินทางของมนุษย์ สรรพสิ่ง และการเดินทางของดวงดวว จักรวาล ล้วนอยู่บนเส้นทางเดียวกัน และมีจุดจบเหมือนกัน คือ ความไม่แน่นอน และเป็นอนันต์ (infinity) มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางเส้นนั้น มนุษย์จึงไม่มีสิทธิ์กำหนดหรือบงการ หรือควบคุมกระบวนการ หรือสิ่งใดๆ บนเส้นทางดังกล่าวได้เลย แต่มนุษย์ มีสิทธิ์กำหนดทิศทางเป้าหมายของ "ความเป็น ความมีอยู่" ของตนเอง ที่จะไม่เบียดบนตนและคนอื่น รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ทำตามกิเลสตนเอง รวมทั้งมีสิทธิ์ที่จะตัดวงจรปฏิจสมุปบาท (วงจรการเกิด ดับ ของการเวียนว่ายตายเกิดใน ภพ ชาติ ชรา มรณะ) เพื่อจะยุติการเดินไปบนเส้นทางดังกล่าว แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.99999999999999999999999999999) จะไม่ใช้สิทธิ์นั้น.

เพราะอะไร?.


สู่ดิน ชาวหินฟ้า
3 กรกฎาคม 2556.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]

 
   
  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net