igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG


Blog Film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]


เวทีความคิด - การพัฒนาบุคลิภาพทางการเมือง (personality politics development)

โดย
สู่ดิน ชาวหินฟ้า
28 มิถุนายน 2558

(ก) บทนำ

บุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่บ่งบอก ธาตุแท้ของบุคคล องค์กร คือ "ความมีอยู่-ความเป็น-ความจริง" (self-being) ที่สาธารณชน รับสัมผัสได้ มนุษย์ เป็นสัตว์สังคม นอกจากมีความต้องการด้านปัจจัยสี่แล้ว ยังต้องการสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง ตลอดจนการยอมรับ ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งจุดประสงค์ข้อสุดท้าย คือที่หมายสำคัญ ของการคิดสร้างและพัฒนา บุคลิกภาพของคนในสังคม.

บุคลิกภาพ เกี่ยวข้องกับ กระบวนทัศน์ (paradigm) อย่างใกล้ชิด และมีผลเป็นพลวัตต่อกันเสมอ กระบวนทัศน์ของคน เกิดจากการสั่งสม การเรียนรู้ การอบรมเลี้ยงดู วัฒนธรรม ทำให้คน มีความคิด ใช้ปัญญา และแสดงพฤติกรรม ออกมาเหมือนกันและแตกต่างกัน ตามลักษณะกระบวนทัศน์ของแต่ละคน กระบวนทัศน์ จึงเป็นรากเหง้า ของบุคลิกภาพของคน การยกระดับกระบวนทัศน์ ก็จะทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนหรือพัฒนาไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

บุคลิกภาพ สามารถพัฒนาได้ ทั้งในส่วนบุคคล (personal) และองค์กร (organization) หรือแม้กระทั่งระบบ (system) ส่วนในแง่ของการเมือง หากพูดถึง บุคลิกภาพในระบบการเมือง ก็จะครอบคลุมทั้งคน (นักการเมือง) องค์กร (กลุ่ม พรรค) และระบบ (ระบอบการปกครอง) แต่ก่อนอื่น ต้องตีความหมายของ "การเมือง" ให้ชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่จะนำคำว่า บุคลิกภาพเข้าไปอธิบายขยายความ ให้การเมือง มีความสมบูรณ์ทั้งรูปและนาม อันเป็นเป้าหมายหลักของบทความนี้.

(ข) ความหมายของ การเมือง

การเมือง (politics) โดยอุดมคติ โดยหน้าที่ และโดยเป้าหมายสูงสุด หมายถึง การบริหารจัดการ 3 เรื่องหลักๆ คือ

  • ผลประโยชน์ (proportional benefits)
  • การพัฒนาคน (human-development)
  • ความสุขมวลรวม (Gross National Happiness: GNH)
  • [อีกหมวดหนึ่ง: 3-พลวัต ที่ส่งผลต่อ บุคลิกภาพของการเมือง และนักการเมือง ... "ผลประโยชน์ - อำนาจ - จริยธรรม"].

    เนื้อหา เรื่องราว ที่ต้องบริหารจัดการ ข้างต้น ก่อให้เกิด "รูปแบบ-โครงสร้าง" (formative) และ "สาระ-คุณค่า" (essence) ของการเมืองโลก หรือการเมืองมนุษย์ แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ระดับอนารยชน หรือ ระดับโลกียชน (worldly politics) ระดับโลกาภิวัตน์ (globalization politics) และ ระดับอาริยะสากล (civilization politics).

    (1) การเมืองโลกียชน จะยึด "รูปแบบ" โดยไม่ให้ความสำคัญกับ "คุณค่า" รูปแบบดังกล่าว จะยึดโยงกับ ระเบียบ พิธีการ เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการแสวงประโยชน์เพื่อส่วนตน หรือพวกพ้อง เป็นสำคัญ ผู้ปกครอง มักเอาเปรียบ ผู้ถูกปกครอง จนเห็นได้ชัด และ เกิดปัญหา การต่อสู้ทางชนชั้น และผลประโยชน์กันอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ของคุณภาพประชากร ผู้ปกครอง มักทำตัวอยู่เหนือผู้ถูกปกครอง แนวทางการพัฒนาคน จึงมุ่งสร้าง "ความจงรักภักดี" เพื่อให้เกิดการยอมรับใน อำนาจ อิทธิพล ในความเป็นชนชั้นนำ และมุ่งหมายเอาผลประโยชน์ในระดับประชาชาติ (GNP) เป็นตัวชี้วัด ความสำเร็จและความรุ่งโรจน์ของการเมือง เป็นบ่อเกิดของพฤติกรรม การบริโภคทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ ทั้งฝั่งประชาชนและฝั่งผู้นำ มีลักษณะ "การบริโภคแบบสวาปาม" (mass consumption).

    การเมืองของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ เกือบทั้งหมด จัดอยู่ในระดับนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม เช่น ประชาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม.

    (2) การเมืองโลกาภิวัตน์ จะให้ความสำคัญทั้ง รูปแบบ และ คุณค่า มีการยืดหยุ่น ระเบียบ และพิธีการต่างๆ ไม่ยึดอยู่กับรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง มุ่งรักษาดุลยภาพระหว่าง "ผลประโยชน์" (ทั้งของผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง) กับ "การพัฒนาคน" (ทั้งผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง) เป็นเป้าหมายสำคัญ มีการปรับสมดุลระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตัว กับ ประโยชน์ส่วนรวม อย่างชัดเจน (ทั้งในแง่กฏหมาย และกฏสังคม) ไม่มุ่ง GNP อย่างบ้าคลั่ง อาจมีการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ การคลัง และภาษี ตามสถานการณ์ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเป็น "การบริโภคแบบพอประมาณ" (fairly consumption) คือ มีการสร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติที่เสียหายไป ในรูปแบบวิธีการต่างๆ หรือ มีการจัดการหลังการบริโภคที่ถูกหลัก เช่น การเวียนกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์ (recycle) การหาพลังงานทดแทน.

    ผู้ถูกปกครอง อาจถูก "เอาเปรียบ" จากฝ่ายปกครองอยู่บ้าง หรือ อาจถูก "บังคับ" (ทางกฏหมาย อิทธิพล) แต่ประชาชน ยัง "ทนสภาพ" กับการถูกเอาเปรียบ หรือ บังคับ จากผู้ปกครองนั้นได้ จนรู้สึกไม่เดือดร้อน หรือ มีความรู้สึก "ยอมรับ" ทางชนชั้น โดยปริยาย มักเกิดกับประเทศ ที่ตกอยู่ในช่วงยุค ที่ผู้ปกครอง มุ่งหมายและหวังผล การเปลี่ยนแปลงประเทศ แม้ว่า ผู้นำจะถูกตราหน้าจากประชาคมโลก ว่าเป็น "เผด็จการ" ก็ตาม. การเมืองโลกาภิวัตน์ ในประเทศต่างๆ อาจเกิดขึ้นสลับช่วงเวลาได้ ตัวอย่างเช่น การปกครองสิงค์โปร์ ยุคของ ลี กวน ยู.

    (3) การเมืองอาริยะสากล จะมองกลับขั้วทางความคิด แตกต่างจากการเมือง 2 ระดับข้างต้น คือ การเมืองอาริยะสากล ผู้นำ หรือ ผู้ปกครอง จะเป็นต้นแบบ หรือนำพา (opinion leader) ด้านความคิด ปัญญา และความประพฤติ ให้แก่ประชาชน ให้ความสำคัญและผลที่จะเกิดขึ้นตามลำดับ คือ หนึ่ง "ความสุขมวลรวม" ต้องมาก่อน ลำดับถัดไป คือ "การพัฒนาคน" ให้มีศักยภาพ และคุณภาพ ความสำนึก รับผิดชอบ และการจัดสรร "ผลประโยชน์" เป็นลำดับสุดท้าย โดยถือว่า อรรถประโยชน์ ที่ทุกคนควรได้รับนั้น ไม่ควรแตกต่างกัน ระหว่างผู้นำกับประชาชน ผู้นำ มีวิถีชีวิต (กิน อยู่ หลับนอน บริโภค) เช่นใด ประชาชน ก็มีวิถีชีวิต เช่นนั้น ทั้งนี้ มุ่งเอา GNH เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน เมื่อเห็นพฤติกรรมการบริโภคของประชากร เป็น "การบริโภคแบบพึ่งพา" (inhibition consumption) เช่น กสิกรรมในระบบธรรมชาติ เกษตรกรรมไร้สารพิษ สมุนไพร.

    ดูเหมือนว่า การเมืองอาริยสากล จะขัดแย้งกับ การเมืองโลกียชน แต่ความเป็นจริง การเมืองอาริยสากล กลับเป็นตัวช่วยพยุงการเมืองโลก ให้อยู่รอด และดำเนินต่อไปได้ โดยหลักการแล้ว มิได้เป็นศัตรูกับ การเมืองโลกียะแต่อย่างใด แต่ถ้าวาระใด ที่่มนุษย์มุ่งแข่งกันแสวงผลประโยชน์ มุ่งบริโภค ไม่หยุดยั้ง โดยอาศัยการเมืองเป็นช่องทาง หรือเป็นเครื่องมือ วาระนั้น โลกก็ถึงคราวหายนะเร็วขึ้น แม้การเมืองอาริยสากล ก็ไม่อาจดำรงสภาพอยู่ได้เช่นกัน. อาจพอยกตัวอย่าง ...

    การเมืองระดับนี้ได้ เช่น การปกครองของผู้นำ ภูฐาน หรือ การปกครอง ของ กษัตริย์โอมามุกต้า การเมืองอาริยะสากล จะเกิดขึ้นได้ยาก สำหรับประเทศต่างๆ ในโลก เพราะช่วงระยะของการ "พัฒนาคน" เป็นไปอย่างล่าช้า และถูกอิทธิพลของทั้ง โลกวิสัย และ โลกาภิวัตน์ เบีบดเบียนอยู่บ่อยๆ ปัจจุบัน จึงยังมองเห็นการเมืองระดับนี้ได้ยาก และไม่ชัดเจนเท่ากับ การเมืองสองระดับข้างต้น.

    (ค) บริบทสังคมไทย

    โดยธรรมชาติของสังคมไทยแล้ว มีพื้นฐานกระบวนทัศน์ ที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง เท่าที่รวบรวมได้ในขณะนี้ มี 4 เรื่อง คือ.

    (1) อิทธิพลของลัทธิศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องกรรม และผลวิบากของกรรม เชื่อทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และเชื่อเรื่องพลังการสาปแช่ง รวมทั้งไสยศาสตร์ มนต์ดำ.

    (2) ความกตัญญูกตเวทีคุณ โดยอิงหลักศาสนา เป็นพื้นฐาน เนื่องจากสังคมไทย เป็นสังคมเกษตรกรรม-กสิกรรม ซึ่งผูกพันกับธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนเกิดความผูกพัน กลายเป็นวาทกรรมทางพิธีการ ของคำว่า "แม่" ซึ่งคนไทยต้องให้ความเคารพ และแสดงกตเวทิตาคุณ ในความหมายของคำว่าแม่ 4 ประการ คือ แม่ธรณี แม่คงคา แม่โพสพ และ แม่ผู้ให้กำเนิดร่างกายชีวิต.

    (3) ความจงรักภักดีใน สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหลอมรวมอยู่ในวิถีชีวิตคนไทย มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และ ประเทศไทย แม้ว่าปัจจุบัน สถานบันกษัตริย์จะมีสถานะอยู่เหนือการเมือง แต่นั่นในแง่ของรัฐธรรม กฎหมายสูงสุดได้ระบุไว้เช่นนั้น แต่ในแง่ความเชื่อถือศรัทธา กลับอยู่ในความเคารพเทิดทูนของประชาชน แม้ว่าบางช่วงบางยุค ได้รับผลกระทบจากการเมืองบ้างก็ตาม แต่ในภาพรวม สถานบันพระมหากษัตริย์ ยังดำรงอยู่ในความเชื่อศรัทธาของประชาชนส่วนใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการบริหาร อำนาจ-ศรัทธา-ผลประโยชน์ ของสถานบันกษัตริย์ เป็นไปอย่างสมดุล.

    (4) การผูกขาด หรือ การใช้อำนาจอภิสิทธิ์ ของนักการเมือง ข้าราชการ และผู้มีอิทธิพล ผ่านระบบทุน ได้รับการฝังรากลึก อยู่ในการรับรู้และความรู้สึกของคนไทย มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทั้งนี้ เป็นผลต่อเนื่องของระบบศักดินาของไทย ที่ปรับตัวให้เข้ากับ อิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก และผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ระบบทุน ต้องปรับตัวและกระจายไปยังส่วน องคาพยพต่างๆ ในสังคม ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ในยุคปัจจุบัน ทำให้ลักษณะและคุณสมบัติของคำว่าทุน ขยายขอบเขตเกินกว่า ทุน ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ การตลาด (man, money, material, machine, management, marketing) มาแต่เดิม.

    คือ เกิดสภาพทุน 4 สภาพ คือ ทุนอภิสิทธิ์ (ทุน ที่เกิดจาก อำนาจ-อิทธิพล ของสถาบันต่างๆ) ทุนอิงอำนาจรัฐ (ทุน ที่มาจากช่องทางในระบบราชการ) ทุนผูกขาด (ทุน ที่ไม่มีทุนอื่น มาแข่งขัน) และ ทุนเสรี (ทุน ขนาดใหญ่ของบรรษัทข้ามชาติ ที่ระบาดเข้ามาในประเทศ ส่งผลกระทบต่อมวลประชาติ และความเหลื่อมล้ำในสังคม).

    (5) อุปนิสัยพื้นฐานของคนไทยและสังคมไทย ที่แพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มสังคม จนกลายเป็นลักษณะประจำประเทศไทยไปเสียแล้ว เรียกว่า นิสัยน้ำน่า 8 ประการ "มักง่าย งมงาย ไร้วินัย ใฝ่อบายมุข สุขระเริง เหลิงอำนาจ ทาสริษยา บ้าบารมี" (นิสัยน้ำเน่า) แต่ลักษณะดังกล่าว ยังไม่ทำให้สังคมไทยล่มสลาย เพราะมี นิสัยน้ำดี 8 ประการ "เรียบง่าย ใฝ่สาระ สัจจะตรง โปร่งใส ไร้อบายมุข สุขพอเพียง เลี่ยงริษยา ทานบารมี" มาถ่วงดุล แม้ว่าจะเป็นดุลที่มีพลังโน้มเอียงน้อยมากก็ตาม ก็ยังพอเป็นปัจจัยอิทธิพล ในการถ่วงดุลดังกล่าว ...

    [ปัจจัยด้านนามธรรม (psychological) เช่น ความดี ความจริง ความถูกต้อง สามารถถ่วงดุลกับ ปัจจัยด้านรูปธรรม (physical) เช่น ... ชิ้น ... จำนวน ... อัน (ตัวเลข) ที่ถ่วงดุลกันได้เพราะมี "หน่วยวัด" ต่างกัน ทำให้ปัจจัยทั้งสองด้าน ไม่อาจตัดสินแพ้ชนะกันได้ แต่อาจส่งผลกระทบกันได้ กล่าวคือ ปัจจัยด้านรูปธรรม มีพลัง อำนาจทางฟิสิคส์ (การบังคับด้วยอาวุธ) มักจะสร้างผลกระทบในระยะสั้น ให้แก่ปัจจัยด้านนามธรรม (ยอมจำนน) แต่ อำนาจสัจจธรรม และ ความเป็นธรรม ซึ่งเป็นแรงหนุน อันเกิดผล effect ก็จะสร้างดุลถ่วง อำนาจทางฟิสิคส์ขึ้นในภายหลัง แม้จะใช้ระยะเวลานานก็ตาม เป็นไปตามหลัก "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่ทำอะไรเลย ก็ไม่ได้อะไร" หรือ "กรรมตามสนอง".

    นักการเมือง ทั้งสองฝั่ง (ฝั่งที่ยึดปัจจัยด้านรูปธรรม กับ ฝั่งที่ยึดปัจจัยด้านนามธรรม) ?].

    (ง) พันธกิจภาคส่วนการเมืองไทย

    พัฒนาการการเมืองภาครัฐในประเทศไทย มีความเกี่ยวข้อง สัมพันกัน ของการเมืองท้องถิ่น การเมืองภาคธุรกิจ หรือภาคเอกชน การเมืองภาคประชาชน อย่างแนบแน่น บางยุคสมัยพัวพันกัน จนแยกไม่ออกว่า การเมืองท้องถิ่น การเมืองเอกชน การเมืองภาคประชาชน กับการเมืองภาครัฐ ส่วนใดมีอิทธิพลต่อกัน ในทิศทางใด ทั้งนี้เป็นเพราะ พฤติกรรมที่ไร้ระเบียบ ของนักการเมืองและประชาชนที่ใช้สิทธิ์ทางการเมือง ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการทับซ้อน ในการใช้สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งจะเห็นว่า มีการละเมิดกันจนยุ่งเหยิงไปหมด.

    ความหมายของภาคส่วนการเมือง

    (1) การเมืองเอกชน หมายถึง การเมืองที่จำกัดขอบเขตอยู่ในแวดวงของภาคธุรกิจ กลุ่มนักธุรกิจ องค์กรทางธุรกิจ

    (2) การเมืองท้องถิ่น หมายถึง การเมืองของหน่วยปกครองถิ่น เช่น อบต. อบจ. เทศบาล การ

    (3) เมืองภาคประชาชน หมายถึง การเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ซึ่งการเมืองทั้งสามภาคส่วน ต่างก็มีรูปแบบ ที่อิงแบบเดียวกัน คือ มีระบบผู้แทน มีการประชุม มีคณะบริหาร มีพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีกลุ่มประชาชนสนับสนุน. การเมืองเอกชน กับ การเมืองท้องถิ่น มีความสัมพันธ์ในผลประโยชน์ต่างตอบแทน เช่นเดียวกับ การเมืองภาคประชาชน ก็มีส่วนสัมพันและการสนับสนุนกันกับ การเมืองเอกชน (เป็น "ท่อน้ำเลี้ยง" ให้กลุ่มการเมืองภาคประชาชน ดำเนินต่อไปได้) และการเมืองท้องถิ่น (สนับสนุนด้าน "มวลชน") และการเมืองทั้งสามส่วน ต่างก็เกี่ยวโยงและพัฒนาไปสู่การเมืองภาครัฐ ในขณะที่ การเมืองภาครัฐ ก็แผ่ขยายอำนาจ ภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจน ความจงรักภักดี ไปยังการเมืองเอกชน (เช่น นายทุนใหญ่สนับสนุนนักการเมือง โดยได้รับ "สัมปทาน" งานประมูลภาครัฐ เป็นสิ่งตอบแทน) การเมืองท้องถิ่น (เช่น นักการเมืองท้องถิ่น เป็นหัวคะแนนให้ ผู้สมัคร ส.ส. โดยต่างตอบแทนกันทางการเมือง) และการเมืองภาคประชาชน (เช่น พรรคฝ่ายค้าน ไปร่วมกับการชุมนุมประท้วง).

    ดังนั้น สิ่งที่ยึดโยงวงแหวนพันธกิจภาคส่วนการเมืองไทย ทั้งสามวง เพื่อให้ภาคส่วนการเมืองเอกชน ภาคส่วนการเมืองท้องถิ่น และภาคส่วนการเมืองประชาชน ให้ดำรงสภาพอยู่ได้ คือ

    (1) อำนาจ ผ่านระบบผู้แทน

    (2) ภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของข้าราชการ พนักงานของรัฐ

    (3) ความจงรักภักดี ความศรัทธา ของประชาชน ที่มีต่อสถาบัน และองค์กร หรือแม้กระทั่งตัวนักการเมือง

    [เพิ่มเติม: ภาพลักษณ์ภายนอก (รูปธรรม) ที่นักการเมือง จำเป็นต้องสร้างให้ดูดี -บุคลิกภาพ เกี่ยวกับการพูด และการแสดงความคิดเห็น -บุคลิกภาพ เกี่ยวกับการปรากฏกาย และการปฏิเสธฝูงชน -บุคลิกภาพ เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ และการรับฟังความคิดเห็น -บุคลิกภาพ ในการเผชิญวิกฤต และการตัดสินใจ].

    สรุป

    บุคลิกภาพทางการเมือง (personality politics) ของนักการเมือง ขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ดังนั้น อาจเสียเวลาเปล่า หากนักการเมือง ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อการสร้างภาพให้แก่ตัวเอง (น่าจะเรียกว่า หาช่องทางเรียกร้อง "ความชอบ" ให้แก่ตัวเอง) แต่โดยเนื้อแท้ทั้งทางความคิด ปัญญา และความประพฤติ ยังหมกหมุ่นในโลกียวิสัย และไม่มีความเพียงพอในการบริโภคกาม (consumption lifestyle) ภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสาธารณชน ก็เป็นได้แค่รูปธรรมที่ปรากฏชั่วคราว ไม่ยั่งยืน..

    ทรัพย์ของ คนบุญ มี “ค่า” สูงกว่า ทรัพย์ของ คนบาป
    ทรัพย์ของ คนบาป มี “ราคา” แพงกว่า ทรัพย์ของ คนบุญ

    ดังนั้น ...

    ข่าว–สาระ ของ “คนทำดี” มี “ค่า” สูงกว่า ข่าว–สาระ ของ “คนทำเลว”
    ข่าว–สาระ ของ “คนทำเลว” มี “ราคา” สูงกว่า ข่าว–สาระ ของ “คนทำดี”.

    อ่านบทความอื่นๆ : www.igoodmedia.net

     
       
      thinking focus new idea today
    คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
     


    igood media copyright
     
    SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
    Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
    All rights reserved. me@igoodmedia.net