Touring Saving Thailand

 

 

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

ทริป ท่องเที่ยว จักรยาน :
Touring Saving Thailand สระบุรี (มวกเหล็ก) - ด่านห้วยโก๋น จ.น่าน, ตุลาคม 2564. รณรงค์ คนไทย รักประเทศไทย รักษาวินัยชาติ.

ทัวร์ทางไกล ทริประยะกลาง (ไป 900 กม. + กลับ 800 กม.) ไปกับ อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า. ไปตามฝัน แบบมีจุดหมาย แต่ไม่เร่งรัดเวลา.

Touring Saving Thailand - ชวนคนโสด, คนมีอิสระ, คนไร้ภาระผูกรัด ปั่นไปด้วยกัน. ปั่นไป เที่ยวไป แสดงสัญลักษณ์ รักษ์ไทย รักสิ่งแวดล้อม รักวินัยจราจร.

 


นานาสาระ - ทริป ท่องเที่ยว จักรยาน :
TIP - Touring Saving Thailand

# ประสบการณ์กางมุ้งนอน. สำหรับ นักเดินทางไกล ท่องเที่ยว ธุดงค์ หรือนักปฏิบัติธรรม.
# เต็นท์ 2 หลัง ที่เพื่อนให้มา กับการจัดแพ็คของ ใส่รถ Police TEXAS

# e-bike คันนี้ perfect. (แนะนำ สำหรับรถ Electronic bike touring 20 inch wheel)

# เพราะเหตุใด รถล้อเล็กจึงวิ่งช้ากว่า

เมนู ในทริปนี้

เส้นทาง เที่ยวไป เที่ยวกลับ ดูแผนที่

วัตถุประสงค์ ทริป สระบุรี -ด่านห้วยโก๋น จ.น่าน

สัญลักษณ์ ทริปนี้

เงื่อนไข กติกา ข้อตกลง

ข้อแนะนำ สำหรับ เพื่อนนักเดินทาง ด้วยจักรยาน

การเตรียมตัว ก่อนเดินทาง ไม่รู้ ควรรู้ รู้แล้ว ควรทำ

 

 

เส้นทาง - แผนที่ เที่ยวไป เที่ยวกลับ

 

ทริปปั่น ประมาณ ตุลาคม 2564. (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบ)

 

A-ขาไป (เส้นสีน้ำเงิน) - เริ่มที่ สระบุรี, มวกเหล็ก ไปรวมกันที่ ชัยบาดาล - หนองไผ่ - เมืองเพชรบูรณ์ - เขาค้อ - แยกแคมป์สน - แยกบ้านแยง - นครไทย - ชาติตระการ - ทองแสนขัน - น้ำปาด - ข้ามแพนาหมื่น - นาน้อย - เมืองน่าน - สันติสุข - แยก สภ.น้ำอุ่น - ปัว - ท่าช้าง สุดทางที่ ด่านห้วยโก๋น. รวมระยะทาง ประมาณ 900 กม.

 

B-ขากลับ (เส้นสีแดง สีส้มเหลือง) - จากด่านห้วยโก๋น - บ่อเกลือ - ดอยภูคา - ปัว - ท่าวังผา - เมืองน่าน.

 

[จาก น่าน เลือกกลับเส้นทางที่ 1 กลับโดย รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน] - น่าน - แพร่ - เด่นชัย - พิษณุโลก ... แยกกลับบ้าน ตามอัธยาศัย.

 

[จาก น่าน เลือกกลับเส้นทางที่ 2 โดยปั่นจักรยานกลับ แวะท่องเที่ยวต่อ] น่าน - นาน้อย - ดอยเสมอดาว - อช.ภูสอยดาว - พระธาตุศรีสองรัก (จุดอธิษฐาน ของ 'คนโสด แสวงรัก') - อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง - หนองไผ่ - ชัยบาดาล - (กรุงเทพ, สระบุรี, มวกเหล็ก) สิ้นสุด การเดินทาง. รวมระยะทาง ประมาณ 820 กม.

 

สอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติม ที่
โทร.: 0970241772
Line ID: 0882919232 (สู่ดิน หินฟ้า)
website: www.igoodmedia.net?#tst

 

อ่าน เรื่องราว ของ "คนโสด แสวงรัก" ...
อ่านสนุกๆ ทุกเวลา บนเส้นเวลา ของ คนโสดแสวงรัก -
Single Person in Timeline (2020) เรื่องสั้น โดย ดิน หิน ฟ้า.

 



(1) รณรงค์ คนไทย รักประเทศไทย รักษาวินัยชาติ ผ่านจิตสำนึก ไร้ขยะ ออกกำลังกาย รักษาวินัยจราจร.

(2) สนับสนุน คนโสด คนมีอิสระ คนไร้ภาระผูกรัด ท่องเที่ยว ทั่วไทย ไปได้ทุกที่ ที่ไปได้ และ อยากไป.

 

 


 

 




เงื่อนไข การเข้าร่วม กิจกรรม

 

(1) จักรยาน ติดตั้ง ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า (e-bike).

 

(2) มีคุณสมบัติ ข้อใดข้อหนึ่ง หรือครบทั้ง 3 ข้อ คือ เป็นคนโสด เป็นคนมีอิสระ เป็นคนไร้ภาระผูกรัด. สามารถ เดินทางติดต่อกันได้ หลายวัน. ไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ ศาสนา.

 

(3) ผ่านการตรวจสุขภาพพื้นฐาน ควรมีการทำประกันภัย (ประกันอุบัติเหตุ).

 

(4) มี จัดเตรียม เครื่องนอน เครื่องใช้ และ อุปกรณ์ ส่วนตัว ไปให้พร้อม สำหรับการ ท่องเที่ยว พักแรม อาหาร เครื่องดื่ม การป้องกันตนเอง การซ่อมบำรุงรถ และ อุปกรณ์สื่อสาร ข้อมูล การบันทึกภาพ.

 

(5) ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดการเดินทาง, สมาชิก รับผิดชอบตัวเอง.

 

(6) ที่พักแรม คือ จุดรวม ของสมาชิกทุกคน เพื่อ พูดคุย ทบทวน ข้อตกลง ปัญหาที่เกิดขึ้น แลกเปลี่ยน ประสบการณ์. พักในสถานที่ใกล้กัน หรือ พักรวมกลุ่ม ตามความเหมาะสม และตามสถานการณ์ โดยพัก วัด โรงเรียน หน่วยบริการ ตำรวจทางหลวง รีสอร์ท.

 

(7) อัตรา ระยะทาง และ เวลา ในการเดินทางในหนึ่งวัน ประมาณ 60 - 120 กม. โดยมุ่ง กิจกรรม ท่องเที่ยว บันทึกภาพ พูดคุย เรียนรู้ เป็นหลัก.

 

(8) ระหว่างปั่นบนเส้นทาง พยายาม ไปเป็นคู่ เป็นอย่างน้อย หรือไปเป็นหมู่.

 

(9) พยายาม ไปให้ถึงจุดหมาย หากมีเหตุสุดวิสัย หรือ ต้องการยุติการเดินทาง ให้แจ้งแก่ ผู้นำทาง.

 

รายละเอียด และ คำอธิบาย เพิ่มเติม

 

ข้อ (1)

เหตุผล ที่ต้องให้สมาชิก ติดตั้งระบบไฟฟ้า (มอเตอร์) ให้กับรถของท่าน เพราะ จะทำให้การเดินทาง เป็นไปอย่าง สนุก สะดวก สบาย และราบรื่น ไม่เหน็ดเหนื่อยจนเกินไป โดยเฉพาะ การปั่นขึ้นเนินสูง ซึ่งมีอยู่หลายจุด โดยเฉพาะ ในเขตจังหวัดน่าน. ทำให้การเดินทาง ไม่ต้องรอกันนาน ไม่ล่าช้าเกินไป.

อีกประการหนึ่ง สมาชิกผู้สูงอายุ จะได้มีกำลังใจ เดินทางไปด้วยกัน จนถึงจุดหมายแน่นอน ไม่เจ็บป่วยไปเสียก่อน.

[โปรดอ่าน คำแนะนำ - ความรู้เพิ่มเติม สำหรับรถ e-bike]

 

ข้อ (2)

คุณสมบัติขอท่าน จัดอยู่ในกลุ่มใด

 

คนโสด หมายถึง คนที่ยังไม่แต่งงาน หรือ หม้าย หรือ หย่า (ตามกฏหมาย).

 

คนมีอิสระ หมายถึง ผู้ที่พร้อมจะเดินทาง ไปในที่ใดๆ จะทำสิ่งใด เวลาใด ก็ไม่มีใครห้าม ตลอดจน มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยประจำตัว อันเป็นอุปสรรค ต่อการเดินทางหลายวัน.

 

คนมีภาระผูดรัด หมายถึง คนที่หาภาระ ให้แก่ตัวเอง (หาเรื่องทำ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง) ปลดปล่อยไม่ลง ปลงไม่ได้ เช่น เขาให้เกษียณตัวเองแล้ว ยังหาเรื่อง (เพราะรัก) หางานทำไม่หยุด (เพราะชอบ), หาหมา แมว มาเลี้ยง (หากรรมหาเวร มาให้ตัวเอง โดยใช้วาทะกรรม "สงสารมัน" เป็นข้ออ้าง) ต้องอยู่เลี้ยงหลาน ต้องอยู่เฝ้าสวน อยู่เฝ้าบ้านให้ลูก ฯลฯ ส่วนผู้ที่ปลดปลงภาระเหล่านี้ ได้แล้ว เรียกว่า คนไร้ภาระผูดรัด.

ดังนั้น คนไม่โสด แต่มีอิสระ ก็ไปด้วยกันได้ แต่คนที่แม้จะโสด แม้จะมีอิสระ สุขภาพแข็งแรงดี แต่ยังมีภาระผูกรัดอยู่ ก็ไม่อาจร่วมเดินทางไปด้วยได้.

 

ข้อ (3)

สุขภาพพื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็น ควรออกกำลังกาย ฝึกซ้อมการปั่น อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ ก่อนเดินทาง. อย่าลืมพกพายารักษาโรคประจำตัว ยาสมุนไพร บัตรประจำตัวคนไข้ (บัตรประกันภัย) ก็ควรเตรียมไว้ให้ค้นหาได้ง่าย.

สำหรับท่านที่จำเป็น ต้องขนสัมภาระหนักๆ ไปด้วย ก็ควรทดสอบ การติดตั้ง สัมภาระกับรถ และลองออกปั่นไปสัก 2-5 กม. เพื่อประเมินกำลัง และการหาร เอาสัมภาระที่จำเป็นน้อยที่สุด ออกไปเสียบ้าง.

[โปรดอ่าน คำแนะนำ - สัมภาระ และการขนสัมภาระ]

 

ข้อ (4)

สมาชิกทุกคน ต้องเตรียม อุปกรณ์ต่างๆ ไปให้พร้อม แต่เท่าที่จำเป็น เพื่อลดน้ำหนักสัมภาระ.

ตลอดทริป จะไม่มีรถให้บริการ ขนสัมภาระ และ ซ่อมบำรุง. เมื่อรถเสีย, สมาชิก พึ่งพาตนเอง ส่วนหนึ่ง แต่จะมี สมาชิกอาสาบริการด้วย ส่วนหนึ่ง คอยให้การช่วยเหลือ. เราจะไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง.

[โปรดอ่าน คำแนะนำ - อะไรบ้าง ที่เราจะนำติดรถไป จำเป็นแค่ไหน]

 

ข้อ (5)

เรื่องค่าใช้จ่าย เราจะให้ประหยัดมากที่สุด เพื่อให้สมาชิกที่ไม่มีเงินเดือน เงินบำนาญ หรือ เงินสวัสดิการอื่น ไม่ต้องรับภาระ ค่าใช้จ่าย มากเกินไป. โดยยึดนโยบายว่า "แม้ไม่มีเงินเก็บมากมาย ก็ไปเที่ยวด้วยกันได้"

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เราต้องพักสถานที่ ที่สามารถให้บริการฟรีได้ เช่น วัด หรือ โรงเรียน หรือ หน่วยบริการตำรวจทางหลวง.

 

การพักที่วัด หรือ โรงเรียน อาจช่วยกันแชร์ ทำบุญให้แก่วัด หรือ โรงเรียน (นัยหนึ่ง เป็นการตอบแทนที่พัก ที่อาบน้ำ และไฟฟ้า). ส่วนกรณีพักที่ รีสอร์ท เราจะขอเช่าพื้นที่ สำหรับกางเต็นท์ อาบน้ำ และใช้ไฟฟ้า คืนละ 100 - 150 ต่อคน. อนุโลม สมาชิกบางท่าน จะยอมเสียค่าห้องพักเอง ก็ได้.

[โปรดอ่านคำแนะนำ - ประสบการณ์ ในการใช้จ่าย ระหว่างเดินทาง]

 

ข้อ (6)

จุดประสงค์ ที่ต้องให้พัก ในสถานที่เดียวกัน เพื่อเป็นจุดรวม ตรวจดูความพร้อม กำลังใจ ปัญหา ของสมาชิก. บางครั้ง อาจมีข้อตกลง หรือการเปลี่ยนแปลง โปรแกรมบางอย่าง แบบวันต่อวัน. ตลอดจน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับ การซ่อมบำรุง แก้ไข รถ และปัญหาอื่นๆ.

 

ข้อ (7)

ที่กำหนดไว้ว่า วันหนึ่ง เราจะเดินทางให้ได้ 60 - 120 กม. นั้น เป็นการเผื่อเวลา ในบางเส้นทาง บางสถานที่ ที่สมาชิกอาจพัก หรือ เที่ยวชม ถ่ายภาพ พูดคุย เรียนรู้ นานกว่าปกติ หรือ แค่เป็นทางผ่าน ปั่นเอาระยะทาง หรือ เผื่อเวลา รถเสีย ไว้ด้วย.

 

ข้อ (8)

การเดินทางโดยโดดเดี่ยว อาจไม่ปลอดภัย เช่น ปั่นไปในเส้นทาง ที่ขาดระยะจากสายตาเพื่อนๆ เป็นระยะเวลานานๆ อาจเกิดขึ้นได้ เพราะความเพลิดเพลิน ทำให้คลาดสายตา พลัดหลงจากหมู่ใหญ่ได้.

 

ดังนั้น ควรจับคู่ buddy กัน สองคนเป็นอย่างน้อย.

 

โทรศัพท์ ควรจดจำ ซึ่งกันและกันไว้. เมื่อปั่นไปถึง ทางร่วมทางแยก และมีการเลี้ยว พึงระรึกเสมอว่า มีผู้อยู่ข้างหลังเราหรือไม่ ถ้ามี และมองไม่เห็นผู้ใด ก็ควรจอดรอที่ทางแยก เพื่อบอกทาง ผู้อยู่หลังสุด (จุดนี้สำคัญมาก ป้องกันการหลงทาง)

 

ข้อ (9)

จุดหมายปลายสุด ของทริปนี้ คือ ด่านห้วยโก๋น. ตลอดเส้นทาง มีทั้งทางราบ และเนินเขา สลับกัน อาจทำให้สมาชิกบางคน ไปไม่ถึงจุดหมาย แม้จะมีรถ e-bike ก็ตาม.

จุดสิ้นสุดการเดินทาง เที่ยวนี้ จริงๆ อยู่ที่ ตัวเมืองน่าน. เมื่อไปถึงเมืองน่าน (ขาไป) จะถือว่า ยังไม่ถึงจุดหมาย จนกว่าจะไปถึง ห้วยโก๋น.

ขากลับ เมื่อผ่าน บ่อเกลือ ภูคา แล้วย้อนกลับมาที่ เมืองน่าน อีกครั้ง (ขากลับ) จึงเป็นการสิ้นสุดของทริปนี้ แต่ก็จัดว่า ท่านได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ แค่ 60%.


จาก เมืองน่าน (ขากลับ) หากสมาชิก ต้องการเดินทางกลับ สามารถเลือกได้ 2 เส้นทาง คือ กลับโดย รถยนต์ รถไฟ หรือ เครื่องบิน หรือปั่นจักรยานกลับ.

 

 

เมื่อท่านไปถึงเมืองน่าน แต่สามารถเลือกเดินทางกลับได้ โดยเครื่องบิน หรือ รถยนต์ ตามสะดวก, ที่ แพร่ โดยรถยนต์, ที่ เด่นชัย โดยรถไฟ, ที่ พิษณุโลก โดยรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน.


หากสมาชิก ต้องการเดินทางกลับ โดยปั่นจักรยานกลับ ถือได้ว่า ท่านได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ครบ 100%. ระหว่างปั่นกลับ ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง แวะพัก และท่องเที่ยวต่อ จนกว่าจะกลับถึงบ้าน.

 

จุดสำคัญ ที่แนะนำสมาชิก ในเส้นทางปั่นกลับ คือ ที่พระธาตุศรีสองรัก, เราจะมีกิจกรรม อธิษฐาน สำหรับ "คนโสด แสวงรัก" ถือเป็น ไฮไลท์ ของทริปนี้. เป็นของกำนัล เป็นสิ่งถูกใจ มอบให้แก่สมาชิกทุกคน.

..

 





ข้อแนะนำ สำหรับ เพื่อนรักนักเดินทาง

 

(1)

สิ่งที่พูดคุยกัน ระหว่างเดินทาง สิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด

 

“ระยะทาง พิสูจน์ ม้า
กาลเวลา พิสูจน์ คน
ความอดทน พิสูจน์ ความรัก และภักดี ”

 

ทุกท่านพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ที่ฟังแล้วสบายใจ หรือพอใจ. ไม่มีข้อห้าม ข้อกำหนด ขอบเขต ของเรื่องราว ถ้าเรื่องนั้น สร้างสรรค์ มีมุมบวก. ทุกคนมีความเห็น ที่แตกต่างกันได้ ไม่ควรสร้างกฎเกณฑ์ ไปบังคับ ให้คู่สนทนา ชอบ เห็น ยอมรับ ให้เหมือนตน ซึ่งจะไม่เป็นธรรม สำหรับเพื่อน.

 

และในทางกลับกลับ เพื่อนที่เป็นคู่สนทนา จะมาบังคับ ให้เราชอบ เห็น ยอมรับ ให้เหมือนกับเขานั้น ก็ไม่เป็นธรรม สำหรับเราเช่นกัน.

นี่คือ ประชาชาธิปไตย ที่เคารพสิทธิ และ เสรีภาพ ของคนอื่น.

 

อย่าลืมว่า คำพูด ที่พูดออกไปแล้ว แม้เพียงคำเดียว หรือ ครั้งเดียว หากผิดพลาด จะส่งผลลบให้แก่ ผู้พูด ไปตลอดเส้นทาง ที่เดินทางร่วมกันได้. เพราะ ความถือสา ความอดทน การปล่อยวาง ของแต่ละคน ไม่เท่ากัน. หากพูดแล้ว รู้สึกสะใจตน แต่ถ้าเป็นการ ทำลายมิตรภาพ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ. แค่คำ "ขอโทษ" อาจไม่มีผล เพราะบางครั้ง บางคน บางคราว ก็ไม่อาจรับ คำขอโทษได้.

 

การเลือกข้าง เลือกฝ่าย ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา สำหรับมนุษย์ ในฐานะเป็นสัตว์สังคม. แม้กระทั่ง สัตว์เดรัจฉาน ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นฝูง หรือ เป็นโขลง ก็มีฐานะ มีชนชั้น เหลื่อมล้ำ และมีสิทธิ ในการเลือกข้าง เลือกฝ่าย เช่นเดียวกับมนุษย์.

ความสามัคคี ในหมู่สัตว์ เกิดขึ้นเพราะ การแบ่งสรรปันส่วน ในอาหาร และสวัสดิภาพ ที่พอเหมาะพอดี และยอมทนกันได้ ในฐานะสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก สัตว์น้อย.

ในสังคมมนุษย์, สิ่งที่ทำลาย ความสามัคคี กลับไม่ใช่เรื่อง อาหาร และสวัสดิการ แต่เป็นเรื่องของ การริษยา ถือตัว (อัตตา) เป็นเรื่องใหญ่.

 

ดังนั้น ในสังคมหมู่เรา ที่เป็น นักปั่นจักรยานทางไกล พึงระรึกไว้เสมอว่า -

 

เมื่อใดก็ตาม "หากรู้สึกไม่สบายใจ เมื่อเห็นคนอื่น ดีกว่าตัวเอง" จงเข้าใจไว้เลยว่า 'ความริษยา' ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ในใจ ซึ่งจะไม่มีใครรู้ นอกจากตัวเอง, และ

 

เมื่อใดก็ตาม "หากรู้สึกพึงพอใจ เมื่อเห็นตัวเอง ได้เปรียบผู้อื่น หรือ ได้สิทธิเหนือกว่าผู้อื่น (ลัดคิว)" จงเข้าใจไว้เลยว่า 'มโนทุจริต' (โกง) ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ในใจ ซึ่งจะไม่มีใครรู้ นอกจากตัวเอง.

 

เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จงเลือกเข้าหา สัตบุรุษ (ผู้มีอุเบกขา วางใจ ไม่ถือสา) แล้วทุกอย่าง จะดำเนินไปได้สวยงาม. หากปล่อยให้ ทั้งความริษยา และ มโนทุจริต สะสมไว้กับตัว นานไป ย่อมเป็นการทำลาย ความสุข และมิตรภาพ ในหมู่เพื่อนๆ ไปอย่างน่าเสียดาย.

 

“มิตรภาพ สวยงามเสมอ”
“อดทน อดออม ถนอมจิต คิดให้อภัย”
“ยิ่งให้ ยิ่งได้ให้ช่วยเหลือแบ่งปันเสียสละ”

  เคี้ยง วราวัจน์ ลิ้มตรัยธนากุล,
  ประธานชมรมท่องไพร สุไหงโก-ลก.©

 

ประการต่อมา, คำพูดใด ที่ก่อให้เกิด การผิดศีล โดยเจตนา ก็เป็นสิ่งที่ ควร หรือ ต้อง "ละเว้น" โดยเฉพาะ คำพูดที่ก้าวล่วง ละเมิด ความหวงแหนส่วนตัว ของคนอื่น (ศีลข้อสาม - กาเมสุมิจฉาจาร) และ คำพูดที่ก้าวล่วง ละเมิด ความสงบสุข และอิสรภาพ ของคนอื่น (ศีลข้อสี่ - ไม่พูดเพ้อเจ้อ ก่อความรำคาญ, หยาบคาย, ด่า นินทา, เท็จ)

 

สุดท้าย - มีคำพูดบวก ที่เป็นสาระ สร้างสรรค์ ให้แง่คิด ชีวิตดี ตั้งมากมาย, จะไปมัวเสียเวลา ใฝ่หา คำพูดในเชิงลบ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า ทำไมกัน.


(2)
ความรู้เพิ่มเติม สำหรับรถ e-bike

 

ความรู้ที่ 1 - ปัจจัย 7 ข้อ ในการเลือกใช้ เลือกซื้อ รถ e-bike.

 

ข้อ 1. กิจกรรมที่ต้องการ ใช้รถจักรยาน

 

รถ e-bike สามารถนำไปใช้งาน ได้หลากหลาย เช่นเดียวกับ รถประเภทอื่นๆ ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่น การลาก-ส่ง สินค้า, การปั่นท่องเที่ยว, การปั่นวิบาก (เสือภูเขา, downhill), การใช้เป็นรถพ่วงเด็ก รถสำหรับคนพิการ หรือแม้กระทั่ง นำไปประยุกต์ใช่ ร่วมกับ scooter แบบต่างๆ.

 

ข้อสังเกต e-bike จะไม่นิยมนำไปใช้กับรถ ประเภทเสือหมอบ. และ e-bike มักจะเป็นที่รังเกียจ ของบรรดานักปั่นความเร็ว (ที่ใช้รถแบบเสือหมอบ) และมักเป็นคนหนุ่มสาว ขณะที่ e-bike จะเป็นที่ชอบใจ ของบรรดานักปั่นทัวริ่ง และมักเป็นคนสูงอายุ.

ดังนั้น ไม่สามารถ เอารถเสือหมอบ ไปเปรียบเทียบกับ รถ e-bike ได้เลย โดยเฉพาะด้านความเร็ว น้ำหนักรถ.


รูปแบบจักรยาน แบบนอนขับ (recumbent bike) ชนิด 3 ล้อ ก็กำลังเป็นที่ นิยม เพราะขับขี่ท่องเที่ยวทางไกล ค่อนข้างสบาย ปลอดภัย.

 

ข้อ 2. ประเภทของการขับขี่

 

จักรยานไฟฟ้า หรือ e-bike แบ่งตามประเภทของการขับขี่ ได้ 2 ประเภท คือ

(1) การปั่นแบบใช้บันไดจักรยาน (pedelec)

(2) การใช้มอเตอร์ เป็นตัวขับเคลื่อน.

ทั้งสองประเภท จะถูกนำมาผสมผสานกัน ระหว่างการออกแรงปั่น กับ แรงของมอเตอร์ ผ่านกล่องควบคุม (controller) ที่มีความอัจฉริยะ ในการแชร์กำลังอย่างเหมาะ ระหว่าง กำลังคน กับ กำลังของมอเตอร์ เพื่อให้เกิดความประหยัดของพลังงานไฟฟ้า ให้มากที่สุด.

 

ในหลายประเทศ (ในยุโรป), มีข้อกำหนดควบคุม พลังงานของมอเตอร์ จำกัดไว้ที่ 250w และ ความเร็วสูงสุด ไม่เกิน 25 กม./ชม. สังเกตได้ว่า เมื่อเราปั่นไปถึงความเร็วนี้ มอเตอร์จะปิดโดยอัตโนมัติ. แต่ถ้าผู้ใช้ ต้องการ ความเร็ว เกินกว่านี้ จำเป็นต้องมีใบอนุญาต. ข้อกำหนดนี้ ยังไม่ถูกบังคับ ในประเทศไทย.

แต่อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติ จักรยานเป็นรถที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ศูนย์ถ่วงของรถ แคบและต่ำ เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว เกิน 45 กม./ชม. จะควบคุมรถได้ยาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย.

 

ในทางปฏิบัติ, รถที่นำไปใช้ในกิจกรรมพิเศษ เช่น การแข่งขัน รถวิบาก (off road). ผู้ผลิต จะออกแบบมา ให้มีน้ำหนักเหมาะสม และมีหน้ายางกว้างกว่ารถทั่วไป แน่นอนว่า ย่อมต้องใช้พลังของมอเตอร์ สูงตามไปด้วย นั่นหมายถึงว่า ย่อมแบกน้ำหนัก แบตเตอรี่ ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้เพียงพอกับ ระยะทาง (มักถูกจำกัดไว้ ไม่เกิน 60 กม.) และ การกินไฟฟ้า ของมอเตอร์ (1,500w - 3,000w)

ส่วนรถที่นำไปใช้เพื่อการท่องเที่ยว (touring bike) ผู้ออกแบบรถ จะคำนึงถึง ระยะทางไกล และการแบกน้ำหนัก แต่ไม่เน้นเรื่อง ความเร็ว. ทำให้ ไม่ต้องใช้กำลังของมอเตอร์มากนัก. ส่วนใหญ่ ใช้มอเตอร์ 500w - 800w. ก็เพียงพอแล้ว.

 

ข้อ 3. รูปแบบการติดตั้งมอเตอร์ ให้กับรถ (motor mount)

เท่าที่สังเกต แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

 

(1) แบบที่ติดตั้งอยู่ในดุมล้อ เรียกว่า hub motor. อาจติดตั้งที่ล้อหน้า หรือ ล้อหลัง. มอเตอร์ดุมล้อหน้า จะช่วยให้การควบคุมรถ ง่ายและเบา. มอเตอร์ดุมล้อหลัง จะช่วยให้มอเตอร์ ออกแรงได้เต็มประสิทธิภาพดีกว่า.

[ดูรายละเอียด เรื่อง องค์ประกอบ ของจักรยานไฟฟ้า]

(2) แบบติดตั้งที่หัวกะโหลกรถ เรียกว่า crank assist systems. หรือ มักเรียกว่าแบบขับกลาง (mid-drive). มอเตอร์จะถูกติดไว้ ที่ด้านล่างของเฟรม แบบนี้ มีจุดเด่น คือ ช่วยปั่นปีนเนินสูงได้ดีที่สุด.

 

(3) แบบใช้มอเตอร์ขับโซ่ หรือขับเพลา. ใช้ได้กับรถหลากหลายประเภท เช่น รถสองล้อ สามล้อ สี่ล้อ และมักเป็นแบบที่ผู้ใช้ ประกอบขึ้นเอง (D.I.Y - Do It Yourself) มีหลากหลายราคา และหลายคุณภาพ. เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีเทคนิคเชิงช่าง.

 

(4) แบบใช้มอเตอร์ ขับที่วงล้อรถจักรยานโดยตรง หรือ bike booster. แบบนี้ ไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะต้องใช้มอเตอร์ ที่รอบความเร็วสูง และให้กำลังน้อยกว่าแบบอื่น. มันส่งพลังงาน ไปที่ล้อผ่านยางนอกของวงล้อ. แต่แบบนี้ มีข้อดี คือ มอเตอร์มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบากว่าทุกแบบ ที่กล่าวมา.

 

ข้อ 4. แบตเตอรี่

 

ส่วนใหญ่ ใช้แบตเตอรี่ แบบลิเธียม ไอออน (Li-on) ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า แบบลิเธียม ฟอสเฟต (LiFePo4). แบตเตอรี่ ทั้ง 2 แบบ ต่างก็มีอายุการใช้งาน ประมาณ 3 ปี หรือ จำนวนการชาร์จ ประมาณ 1,000 ครั้ง.

ชาร์จจากไฟฟ้าบ้าน (220 v.ac) ด้วยเครื่องชาร์จ ที่ให้กระแส ไม่เกิน 5ah. ยิ่งใช้เครื่องชาร์จ ah สูง ก็ยิ่งใช้เวลาในการชาร์จน้อย แต่จะทำให้แบตเตอรี่ เสื่อมเร็ว.

แรงดันไฟฟ้า (volt) ของแบตเตอรี่ ที่ใช้กับ e-bike ส่วนใหญ่ทั่วไป นิยมใช้ 2 ขนาด 36v กับ 48v ซึ่งตรงกับ แรงดันไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์. เหตุที่นิยมใช้กันมาก เพราะ

(1) เหมาะสมกับ ระยะทาง และ ความเร็ว ของรถที่ใช้ (ประมาณ ระยะทาง 60 กม. ที่ความเร็ว 40 กม. ต่อ ชม.)
(2) สามารถแลกเปลี่ยน แบตเตอรี่ กันได้ ในหมู่เพื่อนสมาชิก

 


แบตเตอรี่ แบบสำเร็จรูป จากโรงงาน

 

แบตเตอรี่ ชนิดประกอบเอง

 

อนึ่ง การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้ง ให้เต็มก้อน เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ในการคำนวณ อายุการใช้งาน กับ จำนวนครั้ง ในการชาร์จ. เช่น เหลือกระแสไฟ 90% (ชึ่งยังสามารถ ใช้ต่อได้อีก) แล้วชาร์จเต็ม 100% นับจำนวนการชาร์จ 1 ครั้ง. เหลือกระแสไฟ 10% (ซึ่งได้เวลาชาร์จ) แล้วชาร์จเต็ม 100% ก็นับจำนวนการชาร์จ 1 ครั้ง เช่นกัน. ถามว่า จะชาร์จแบบแรก หรือแบบหลัง ดีล่ะ จึงจะใช้งานแบตเตอรี่ ได้คุ้มค่ากว่ากัน?

สรุปว่า ชาร์จบ่อย อาจไม่ใช่วิธี ยืดอายุแบตเตอรี่ เสมอไป (เพราะแบตก้อนหนึ่ง หลังจากชาร์จเต็ม ได้ 1,000 ครั้ง ก็จะค่อยๆ เสื่อมไปๆ). แต่ถ้า เหลือกระแสไฟ ไว้ในแบตเตอรี่น้อย อาจไม่ทันการ เมื่อต้องการเอารถออกไปปั่น ในระยะไกล. จะชาร์จเผื่อทิ้งไว้ หรือ ใช้ไฟ ใกล้หมดก่อน แล้วค่อยชาร์จ อย่างไรดี, นี่แหละ ที่เรียกว่า ศิลปะในการใช้แบตเตอรี่ ให้คุ้มค่า.

 

ข้อ 5. ระยะทาง ที่พอเหมาะกับแบเตอรี่

 

ความจุแบตเตอรี่ (battery capacity) ก็เหมือนกับ ขนาดของถังน้ำมันรถ มีหน่วยเป็น แอมแปร์ - Ah. คุณจะปั่นไปได้ไกลเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับความจุ หรือพลังงานของแบตเตอรี่ เป็นสำคัญ. กรณีไต่เนินเขาสูง ย่อมใช้พลังงาน ของแบตเตอรี่ มากกว่าทางเรียบแน่นอน. แต่การบรทุกน้ำหนักแบตเตอรี่ ก็เป็นภาระเช่นกัน ซึ่งเราต้องเลือก.

 

สรุปว่า เราต้องการ ความจุแบตเตอรี่ มากเท่าใดนั้น ให้พิจารณาจาก

-ระยะทาง (กม.)
-ความชันของถนน (% ความลาดเอียง)
-น้ำหนักของแบตเตอรี่ (กก.)
-น้ำหนัก ของคนขี่ และ สัมภาระ
-การออกแรงช่วยปั่น (แรงคน + แรงมอเตอร์)
-ราคาแบตเตอรี่ (บาท)

แต่สิ่งที่ควรพิจารณา เผื่อไว้ หลังผ่านการใช้งาน เกินหนึ่งปี คือ อายุแบตเตอรรี่ มันจะลดลงไปเรื่อยๆ. ควรเลือกความจุแบตเตอรรี่ เผื่อไว้ด้วย. หรือถ้าจะให้ดี ให้ออมเงิน ไว้ซื้อแบตเตอรี่ใหม่ ทุก 3 ปี.

 

เช่น ทางเรียบ, ความจุแบตเตอรี่ 15ah (มอเตอร์ ขนาด 500 watt) จะวิ่งไปได้ไกล 100 - 120 กม. (เปิดสวิทช์ช่วยปั่น) หรือ 60 - 80 กม. (ใช้แรงมอเตอร์ อย่างเดียว)

จากประสบการณ์ ที่ผมเคยใช้งานแบตเตอรี่ แบบหนักหน่วง คือ ปั่นปีนเนิน จาก อ.ปัว ขึ้นไปถึง จุดชมวิว 1715 ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ด้วยน้ำหนักคน รถ และ รถพ่วง ประมาณ 90 กก. เนินสูง ระดับ 6% - 10% ระยะทางติดต่อกัน 12 กม. รวมกับ ระยะทางลงเขา (ปิดสวิชท์ มอเตอร์) ไปจนถึง อ.บ่อเกลือ รวมระยะทาง 48 กม. ใช้พลังงาน แบตเตอรี่ 48v 25ah ไปทั้งหมด 75%. แต่ขากลับ จาก อ.บ่อเกลือ ถึง อ.สันติสุข รวมระยะทาง 60 กม. ใช้พลังงาน รวมทั้งหมด 95%. (ใช้พลังงาน มากกว่า เพราะ ผ่านเนินสูง หลายจุด มากกว่า ช่วง อ.ปัว - ดอยภูคา)

 

ข้อ 6. ราคา และ ค่าบำรุงรักษา

 

ของดี ราคาแพง ย่อมมีคุณสมบัติ และมีตัวช่วย อำนวยความสะดวกให้เรา มากกว่า รุ่นที่มีราคาถูก. ต้องถามใจเราดูว่า เราต้องการคุณสมบัติเหล่านั้น มากน้อยแค่ไหน, ถ้าไม่ต้องการมากนัก ก็ควรเลือก รถราคาธรรมดา. (รุ่นแพง ก็จะมีระบบ โน่น นั่น นี่ มากมาย)

หลักๆ คือ ดูเรื่องเฟรม เบรค โช๊คอัพ สำหรับมอเตอร์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่คุณต้อง ตัดสินใจเลือก ตามกำลังเงิน และ คุณภาพ ยี่ห้อ รุ่น.

 

ข้อ 7. ทดลองขี่ และ การค้นหาข้อมูล

 

สิ่งสำคัญที่สุด ก่อนตัดสินใจเลือก ที่จะใช้มัน คือการทดลองขี่ การค้นหาข้อมูล การสอบถามความคิดเห็น ของกลุ่มนักปั่นจักรยานไฟฟ้า อ่านรีวิวรถรุ่นที่เราจะซื้อมาใช้ ก่อนตัดสินใจ

 

เราอาจจะตั้งคำถามง่ายๆ ว่า
-ชอบแบบนี้หรือเปล่า?
-ไต่ขึ้นเนินเขาได้ดีหรือไม่?
-มีฟังก์ชั่น คุณสมบัติ ตรงตามที่เราต้องการหรือไม่?
-มันจะใช้งานได้ อย่างที่เราคาดหวังไว้หรือไม่?

ความรู้ที่ 2 - องค์ประกอบ ของจักรยานไฟฟ้า.

 

ส่วนหลักสำคัญ ของจักรยานไฟฟ้า มีแค่ 4 ส่วน คือ มอเตอร์ กล่องควบคุม คันเร่ง และ ระบบช่วยปั่น (PAS).

 

1. มอเตอร์

มอเตอร์ ที่นิยมนำมาติดตั้ง ในรถจักรยานไฟฟ้า จะเลือกชนิดที่ให้พลังงานด้วย ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) มี 2 แบบ คือ แบบมีแปรงถ่าน (Brush DC motor) หรือ มอเตอร์ทั่วๆ ไป และ แบบไร้แปรงถ่าน (Brushless DC motor - BLDC) หรือ hub motor.

 

มอเตอร์ฮับ กับวงล้อ 26 นิ้ว แบบล้อโต หน้ากว้าง 4 นิ้ว.
1- กล่องควบคุม (controller)
2- มอนิเตอร์
3- คันบังคับเบรค
4- คันเร่ง (แบบมือบิด)
5- ตัวช่วยปั่น (ติดที่หัวกะโหลกรถ)
6- สายรัด

 

มอเตอร์แบบแปรงถ่าน จะมีขดลวดพันอยู่บนแกนเพลา ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก (โดยจ่ายกระแสไฟ ผ่านก้อนแปรงถ่าน เข้าไป) ให้ไปผลักแม่เหล็กถาวร ที่ติดฝังอยู่รอบๆ. สังเกต จะมองเห็นสายไฟ เพียง 2 เส้น คือ สีแดง (+) สีดำ (-). ต่อสายไฟนี้ เข้ากับแบตเตอรี่ มอเตอร์จึงจะทำงาน ถ้าต่อผิดขั้ว มอเตอร์จะหมุนกลับทิศ. มอเตอร์แบบนี้ ถูกผลิตขึ้นให้หมุนแบบดุมล้อ (hub) ก็ได้ และหมุนที่แกนเพลาก็ได้ และ ทั้งสองแบบ อาจมีเกียร์ภายใน และไม่มีเกียร์ภายใน.

มอเตอร์ แบบมีเกียร์ภายใน พร้อมชุด kit. มอเตอร์เปล่า ต้องขึ้นวงล้อเอง.

 

มอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (BLDC), ภายในจะมีขดลวด และแม่เหล็ก จัดวางเรียงเป็นรูปดาวหลายแฉก. เมื่อป้อนกระแสไฟเข้าไป ขดลวดก็จะสร้างสนามแม่เหล็ก ผลักดูดกัน เพื่อให้แกนเพลาของมอเตอร์หมุน.

ดังนั้น BLDC จะมีวงจรควบคุม ซับซ้อนกว่ามอเตอร์แบบแรก. การจ่ายกระแสไฟเข้าไป จึงต้องมีวงจรควบคุมกระแสไฟ ให้ได้จังหวะ เพื่อไม่ได้การดูดผลักของแม่เหล็ก เกิดการสะดุดนั่นเอง.

ตัวเซนเซอร์แม่เหล็ก ที่เรียกว่า hall sensor จะทำหน้าที่ประสานกับ วงจรควบคุมกระแสไฟ เป็นอย่างดี. เพราะมอเตอร์ที่จะใช้กับจักรยาน ต้องการความแม่นยำสูง ในการหมุน ว่าจะให้ช้าหรือเร็วแค่ไหน ในการออกตัวของรถ.

 

BLDC motor แบบแกนหมุน เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เหมาะสำหรับงานหนัก หรืองาน DIY (ออกแบบ สร้างด้วยตนเอง). BLDC motor แบบดุมล้อ มักเรียกว่า hub motor. ตัวมอเตอร์ จะถูกวางไว้ที่ดุมล้อของรถ อาจเป็นดุมหลัง หรือดุมหน้า. ด้วยเหตุนี้ มันจึงถูกเรียกว่า hub motor.
BLDC ทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้ ก็มีทั้งชนิดที่มีเกียร์ภายใน และไม่มีเกียร์ภายใน เช่นกัน.

ฮับมอเตอร์ (BLDC motor) ชนิดที่ไม่มีเกียร์ จะรับกระแสได้สองทิศทาง ทำให้เดินหน้า ถอยหลังก็ได้. มีข้อเสีย คือ จะกินพลังงานไฟมากกว่า ชนิดที่มีเกียร์. ฮับมอเตอร์มีเกียร์ เรียกเป็นทางการว่า planetary gear แม้จะมีราคาแพง แต่มีขนาดเล็ก ให้แรงบิดสูงกว่า ทำงานได้เงียบ นุ่มนวล ติดตั้งง่าย จึงนิยมใช้กันมาก ใน e-bike.

 

 

จะขอพูดถึง BLDC motor gear อีกสักหน่อย, ชุดเฟืองเกียร์ของมอเตอร์ จะมีเกียร์เฟือง อยู่ 3 อัน ทำจากเหล็ก หรือ ไนลอน. ถ้าทำจากเหล็ก ทำให้กลไกภายในทนทาน แต่ก็เพิ่มน้ำหนักให้กับมอเตอร์ ส่วนที่ทำจากไนลอน (เหนียว) แม้จะดูเหมือนว่า ความทนทานจะลดลง แต่จะช่วยลดน้ำหนักของตัวมอเตอร์ ลงไปได้มาก. ปัจจุบัน ชุดเฟืองเกียร์ ที่ทำจากไนลอน กำลังเป็นที่นิยม ชุดเฟืองเกียร์ ก็หาอะหลั่ยเปลี่ยนได้ง่าย.

ทีนี้ มาดูโครงสร้างภายในของมันสักหน่อย. ด้านที่มีสายไฟ ยื่นออกมา, เมื่อถอดฝาปิดออก ก็จะเห็นขดลวด และแม่เหล็ก วางเรียงกันตรงขอบดุมล้อ จำนวนมาก. ขดลวดและแม่เหล็กนี่แหละ มันจะหมุนรอบแกนเพลา ด้วยอำนาจของสนามแม่เหล็ก จากขดลวดทั้ง 3 ชุด มาผลักแม่เหล็กนี่เอง.


ปัจจัยในการคำนวณ เลือกมอเตอร์ หลักๆ ก็คือ จำนวนวัตต์ (watt) แรงบิด (torque) และ ความเร็วรอบ (speed).

 

แรงบิด คือ แรงที่กระทำให้วัตถุ เคลือนที่จากจุดหมุน มีหน่วยเป็น นิวตัน.เมตร หรือ n.m, ให้นึกถึง ล้อจักรยาน เมื่อเกิดแรงบิดที่ศูนย์กลางของล้อ ถ้าล้อมีขนาด (รัศมีขอบล้อ) ใหญ่ขึ้น ก็จะต้องใช้แรงบิดสูงขึ้นตามไปด้วย. จักรยานล้อเล็ก ก้ใช้แรงบิดน้อย เข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้ามอเตอร์มี "แรงบิดสูง" จะช่วยให้ออกแรงได้มาก นั่นเอง.

แรงบิด ก็เหมือน แรงที่ปลายด้ามกุญแจ.

 

ความเร็วรอบ หมายถึง ความเร็วรอบ ของการหมุนของมอเตอร์ มีหน่วยเป็น รอบต่อนาที (RPM). ปกติ มอเตอร์เปล่า จะหมุนได้ 3,000 รอบ ต่อนาที, จึงต้องมีการทดเกียร์ เพื่อลดความเร็วรอบ และเพิ่มแรงบิด. ความเร็วรอบ และ แรงบิด และรัศมีวงล้อ มีผลต่อการเลือก อัตราทดของเกียร์ แต่ไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยาก เป็นอันเข้าใจง่ายๆ ว่า มอเตอร์มันจะหมุนเร็วช้าอย่างไร เราก็ไปทดแรงเอาจาก เกียร์ของรถจักรยานของเราเอาเอง อีกทีก็แล้วกัน.

 

ส่วนที่ว่า เราจะใช้มอเตอร์ ขนาดกี่วัตต์ดี, ถ้าเรารู้ความเร็วรอบ และ แรงบิด ของมอเตอร์แล้ว เราก็จะรู้ว่า กำลังวัตต์ของมอเตอร์ ควรจะใช้เท่าไร. แต่ที่เข้าใจเป็นเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ยิ่งวัตต์สูง ให้แรงเยอะ แต่ก็กินไฟเยอะไปด้วย. ถ้าจักรยาน บรรทุกน้ำหนักเยอะ ปีนเขาบ่อย แน่นอนว่า ต้องใช้ชนิดที่มีแรงบิดเยอะ วัตต์ก็สูงตามไปด้วย.

 

ส่วนจะเลือกแรงดันไฟ (volt) ว่าจะใช้ 24 volt, 36 volt, 48 volt, หรือ 60 volt. สรุปง่ายๆ ว่า มอเตอร์ที่ใช้แรงดันไฟต่ำ จะกินกระแสไฟมาก (แบตหมดเร็ว) มอเตอร์ที่ใช้แรงดันไฟสูง จะกินกระแสไฟน้อยกว่า (แบตหมดช้า). นี่คือเหตุผลว่า ทำไมจึงแนะนำ ให้ใช้แรงดันไฟ 48 volt กับมอเตอร์ เพราะ เป็นแรงดันไฟ ที่กำลังพอดีสำหรับจักรยานสองล้อ หรือสามล้อ ให้กำลังมอเตอร์ได้แรงดี แบตก้อนไม่ใหญ่เกินไป หากต้องการความจุสูงๆ.

พูดเรื่องมอเตอร์มายืดยาว ก็น่าจะพอแล้ว.

 

2. กล่องควบคุม (controler box)

กล่องควบคุม สังเกตง่ายๆ จะเป็นกล่องอลูมิเนียมเล็กๆ ภายในบรรจุแผงวงจร สำหรับจ่ายไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ ให้แก่มอเตอร์. ข้างในมันจะออกแบบมาอย่างไร ก็ไม่ต้องไปสนใจมัน แต่เข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อนว่า

ระบบควบคุม คือ การป้อนกระแสไฟฟ้า ให้แก่มอเตอร์ (driver) อย่างเหมาะสม เพื่อให้มันออกแรง เต็มประสิทธิภาพ (power). และ ระบบควบคุม ที่ใช้กับมอเตอร์ แบบ BLDC กับ มอเตอร์ธรรมดา จะไม่เหมือนกัน นำมาแลกกันใช้ไม่ได้ ต้องเลือกให้ตรงกับ ชนิดของมอเตอร์ด้วย.

 

การต่อสายไฟ จากมอเตอร์ จากคันเร่ง จากตัวช่วยปั่น และ จากจอมอนิเตอร์ เข้ากับ กล่องควบคุม ทำได้ไม่ยาก ให้ดูที่สีของสายไฟ และแบบของหัวต่อสาย ต่อสายไฟให้สีเดียวกัน และรูปหัวต่อเหมือนกัน เข้ากันได้ ก็ไม่น่าจะยาก. ถ้าไม่เข้าใจ ก็ดูจากคู่มือ. โดยทั่วไป การต่อสายไฟ จะมีรูปแบบเดียวกันเป็นสากล.

 

3. คันเร่ง

 

รถที่ใช้น้ำมัน จะมีคันเร่ง เพื่อเพิ่มหรือลด ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ให้แก่เครื่องยนต์. รถจักรยานไฟฟ้า ก็เช่นกัน, คันเร่ง ทำหน้าที่เหมือนปุ่มวอลลุ่มทั่วไป คือ สามารถเร่ง หรี่ ปรับแรงดันไฟฟ้า ที่ขาออกได้. แต่คันเร่ง ที่ใช้กับจักรยาน จะใช้ เซนเซอร์สนามแม่เหล็ก (hall sensor) แทน เพราะคงทน และแม่นยำกว่า.

เมื่อเราบิดคันเร่ง ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กแปรผัน เป็นแรงดันไฟ ส่งไปให้ระบบควบคุม เพื่อให้มันปล่อยกระแสไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ออกไป มากน้อยตาม ความแรงของแรงดันไฟของ hall sensor.

 

คันเร่ง ที่เราเห็น จะมี 2 แบบ คือ แบบกดด้วยหัวแม่มือ และแบบมือบิด เหมือนรถจักรยานยนต์. เลือกเอาตามที่ถนัด.


4. ระบบช่วยปั่น - PAS (Pedal Assistant System)

 

ระบบช่วยปั่น ไม่ได้หมายถึง มันจะช่วยออกแรงปั่น แทนเรา, แต่มันจะช่วยผ่อนแรงคน ในขณะปั่น ทำให้คนปั่น ไม่ต้องบิดคันเร่ง แค่ใช้เท้าปั่นบันไดถีบ ให้รถเคลื่อนตัวออกไป มันก็จะทำหน้าที่คล้ายคันเร่งไปในตัว (แต่เป็นการเร่ง แบบปรับไม่ได้ คือ หากเราปรับระดับความเร็วเกียร์ไว้เท่าใด มันก็จะเร่งให้เท่านั้น ไม่ลด ไม่เพิ่ม)

ระบบ PAS ในรถ e-bike รุ่นใหม่ๆ จะฉลาดขึ้นมาก, มี
เซนเซอร์แม่เหล็ก เหมือนกับที่อยู่ในคันเร่ง นั่นละครับ. ซึ่งการติดตั้งแม่เหล็ก และตัวเซนเซอร์ แล้วแต่ว่า คนผลิต จะออกแบบอย่างไร. บางเจ้าก็ฝังไว้ที่แกนหัวกะโหลกรถ บางเจ้าก็แยกติดที่ซี่ลวดของรถ (เหมือนติดตั้ง เซนเซอร์วัดความเร็วรถ)

 

เมื่อเราปั่น เซนเซอร์แม่เหล็ก ก็จะ ส่งสัญญาณ ไปที่กล่องควบคุม ให้มันบริหาร สัดส่วน การแปรผันระหว่าง ความเร็วรถ กับการป้อนกระแสไฟให้แก่มอเตอร์. ถ้าเราต้องการเร่งความเร็วรถ ก็ปั่นให้เร็วขึ้น เท่านั้นเอง สะดวกสบายมาก. ตอนปั่นขึ้นเนิน มันก็จะช่วยตอบสนอง เร็วช้าได้ ตามสถานการณ์ ถ้าเป็นเนินสูงมากๆ เราปั่นเองก็ไม่ไหว มอเตอร์มันก็ช้าไปด้วย เราอาจบิดคันเร่ง ช่วย (เหมือนเฆี่ยนวัวควาย นั่นแหละครับ) ก็ได้ แต่เตือนไว้ก่อนว่า ไฟฟ้าหมดเร็วแน่นอน.

 

แนะนำวิธีอ่าน รหัสยางรถจักรยาน

 

แนะนำ การอ่านค่าของยางรถ

เช่น 26 x 1.95 หมายถึง ยางที่ใช้กับ ขอบล้อ ขนาด 26 นิ้ว หน้ายาง กว้าง 1.95 นิ้ว. 100 psi คือ แรงดันลม ที่ยางรับได้สูงสุด (สูงกว่านี้ ยางระเบิด).

การเติมลม ควรเติมให้ได้สัก 70-80% ของค่าแรงดันลมสูงสุด ที่ยางรับได้ (maximum pressure ของยาง)
เช่น 125 psi ให้เติม 85-100 psi พอแล้ว. ยางขนาดเล็ก อัดลมแรงดันสูงได้ ยางขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้อง อัดลมแรงดันสูง. ที่สำคัญคือ ยางใน ต้องมีขนาด ที่เหมาะสมกับยางนอก และ รับแรงดันได้พอๆ กัน.

สูบลม ให้เลือกชนิดที่ใช้ได้กับ หัวจุ๊บจักรยานของเรา. สูบราคาแพง มักจะมีที่ใส่หัวจู๊บให้เปลี่ยนได้ สองแบบ และอาจมีเกจ์วัดแรงดันลมได้ด้วย.
รถที่จอดทิ้งไว้นานๆ จะมีลมซึมออกมาได้ เป็นเรื่องปรกติ. ดังนั้น ควรหมั่นตรวจดูลมยางเสมอ ก่อนออกปั่น.

 


(3)
สัมภาระ และการขนสัมภาระ ทำได้แค่ไหน จึงจะพอดี

 


(4)
ประสบการณ์ บางแง่มุม ในการใช้จ่าย ระหว่างเดินทาง

 

..

 





การเตรียมตัว ก่อนเดินทาง - ไม่รู้ ควรรู้ รู้แล้ว ควรทำ

 


(1)
ซ้อมปั่นอย่างไร สร้างความแข็งแกร่งให้ร่างกาย

 

คงจะแนะนำเฉพาะ คนสูงอายุ อายุเกิน 59 ปี ขึ้นไป และคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปปั่น เพราะ ขี้เกียจ ท้อแท้ (โดยเฉพาะตอนปั่นขึ้นเนิน) กลัวเหนื่อย เมื่อยก้น และอีกสารพัดเหตุผล ที่จะไม่ยอมออกไปปั่น.

ง่ายๆ คือ ดูลมยาง อย่าให้แฟบ ชุดปั่นจักรยาน อาจไม่จำเป็น (เพียงแค่อย่าแก้ผ้า หรือนุ่งผ้าถุงกระโจมอก ก็พอแล้ว) ใส่รองเท้า ใส่หมวก กระติกน้ำดื่ม แล้วจูงรถออกไป คร่อมรถ ตีนขวาแตะบันไดขวา (ห้ามแตะบันไดซ้าย เด็ดขาด) ตีนซ้ายถีบตะกุยพื้นดิน ให้รถเคลื่อน พอรถทรงตัวดี ค่อยเอาก้นนั่งบนอาน.

ค่อยๆ ปั่นไปข้างหน้า เบาๆ อย่าใช้เกียร์หนัก ถ้ารู้สึกต้องออกแรงขาหนักๆ รถจึงเคลื่อน ให้ปรับเกียร์จากหนัก เป็นเบา เบาแค่ไหน ของแต่ละคนไม่เท่ากัน. เอาเป็นว่า เบาที่สบายๆ รู้สึกหนืดๆ พอดี แต่อย่าเบาเกิน. ประมาณว่า จานหน้า ใช้ใบกลาง เฟืองหลัง (ถ้ามี 9 ใบ - ส่วนใหญ่ จะมี 9 ใบ) ใบที่ 3-4.

ข้อสำคัญ ... เวลาปั่น ให้เริ่มที่เกียร์เบาก่อน ปั่นต่อเนื่องไป "อย่าหยุด" ย้ำว่า อย่าหยุด ปั่นไปสักครึ่งชั่วโมง เป็นการอุ่นเครื่อง. อย่าบ้าปั่นเร่งเครื่องตาม พวกขาแรง. ปั่นต่อเนื่อง อย่าหยุด ก็เพื่อบอกกับกล้ามเนื้อขาว่า เราจะขอใช้งานมัน เป็นการกระตุ้นให้มันอย่าขี้เกียจ หัวใจก็จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยง บริเวณที่ออกแรง ตลอดเวลา. เลือดผ่านเข้าไป เอาออกซิเจนเข้า ดูดเอาของเสียออก ตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ไม่เครียด มีแรงต่อเนื่อง.

สังเกตว่า ตอนลงเนิน พวกเราหลายคน ชะล่าใจ หยุดปั่นเอาซะดื้อๆ ตอนนั้น กล้ามเนื้อ มันก็หยุดทำงาน เลือดส่งออกซิเจนเข้าไปน้อย และก็ดูดเอาของเสียออกมาน้อยด้วย แต่พอขึ้นเนิน จึงออกแรงปั่น คราวนี้แหละ กล้ามเนื้อขามันตั้งตัวไม่ทัน เพราะมันถูกสั่งให้หยุดพัก มันอาจจะถือโอกาสไปเที่ยว หรือแอบหลับก็ได้ พอปลุกอีกที ก็เจอเนินสูงซะแล้ว คราวนี้งานเข้าละซี. มันถูกเฆี่ยนให้ออกแรง แต่ออกซิเจนมาน้อย หรือมาไม่ทัน มันก็เกิดอาการเมื่อย ปวดขาซะงั้น. คิดว่า หลายคนคงเจออาการแบบนี้. แต่ถ้าตอนลงเนิน ก็ออกแรงปั่นตลอด (ไม่หยุดปั่น อย่าหยุดปั่น) ไม่ปล่อยให้กล้ามเนื้อ ฉวยโอกาสหยุดประท้วง ออกซิเจนก็ถูกส่งเข้ามาเรื่อยๆ ของเสียก็ถูกผ่องถ่ายออกตลอดเวลา พอเจอเนินสูง มันก็รับมือไหว อย่างต่อเนื่อง. ตอนลงเนิน ต้องเปลี่ยนเกียร์ให้หนัก หนืดขึ้นเข้าไว้ ตามความลาดชันของถนนด้วย. (รถของบางคน เปลี่ยนเกียร์จนสุดแล้ว รถก็ยังเบา ไม่หนืด เป็นเพราะว่า จานหน้าใบเล็กไป รถมันออกแบบมาแค่นั้น ก็ไม่ต้องไปสนใจมัน ... ก็ปั่นมันทั้งเบา อย่างนั้นแหละ. แค่ท่องในใจว่า อย่าหยุดปั่น เป็นใช้ได้. แน่นอนว่า รถอาจมีความเร็ว ต้องระวังผิวถนนด้วย ว่ามีหลุมข้างหน้าหรือเปล่า.

 

ถ้าทำตามนี้ ทุกวัน หรือ วันเว้นวัน รับรองว่า ท่านจะปั่นจักรยาน อย่างมีความสุข และไม่ขี้เกียจ. อย่าลืมสูตรนี้ “เกียร์หนืดพอดี ปั่นต่อเนื่อง ช้าได้ แต่อย่าหยุด.”

 

ขออนุญาต ยกตัวอย่าง คนที่ผมรู้จักท่านหนึ่ง คือ คุณลุงสนิท เรืองศรี อายุก็ย่าง 80 ปี แล้ว. ตอนไปร่วมปั่นทริป จาก แม่สาย ไป สุไหง-โกลก ผมสังเกต ท่านปั่นไปเรื่อยๆ ไม่เร่ง ไม่รีบ แม้จะเจอเนินขนาดไหนก็ตาม ลุงแกก็ปั่นไปได้ ไม่เคยเห็นท่านจูง ตอนขึ้นเนิน ผมสังเกต เวลาคุณลุงปั่น (เมื่อนั่งบนอาน) จะปั่นไม่หยุด ไม่พัก นั่นคือเหตุผลว่า ทำให้แรงของคุณลุง ไม่ตก แน่นอนว่า อาจไม่เร็วเหมือนคนหนุ่ม มีรั้งท้ายบ้าง แต่ก็ไปได้ตลอด จนถึงจุดหมาย. นั่นคือ การปั่นจักรยานทางไกล ที่ถูกต้อง หมายความว่า ปั่นทัวร์ทางไกล ไม่เอาความเร็ว แค่เอาความอึด. ความอึด จะทรงตัวอยู่ได้ เคล็ดมันอยู่ตรงนี้นี่แหละ คือ ขณะปั่น ใช้เกียร์เบา หนืดพอดี อย่าหยุด ถ้าเจอเนินสูง ก็ทดเกียร์ไปเรื่อยๆ เพียงแค่ประคองรถที่ช้าๆ อย่าให้ล้ม เป็นใช้ได้.

การจูงรถขึ้นเนิน จะเหนื่อยกว่า ปั่นขึ้น และช้า เสียเวลา. ถ้าไปเจอเนินสูงจริงๆ แบบ ขึ้นดอยที่ภูคา บ่อเกลือ หรือ ดอยเสมอดาว (จังหวัดน่าน) เอาเข้าจริง ลงจูงกันทุกคน. นี่ก็อีกเหตุผลหนึ่ง ที่ผมแนะนำให้ ปรับรถเป็น e-bike เพราะมันจะเป็นตัวช่วย ให้ปีนเนินได้ ไม่เสียเวลามากเกินไป และไม่เหนื่อยแบบลากไส้.

 

(2)
อุปกรณ์เสริม สำหรับจักรยาน มีอะไรบ้าง

 

อุปกรณ์ต่อไปนี้ จำเป็นต้องซื้อแยก จากตัวรถ แต่รถบางคัน ก็แถมบางอย่างมาให้ -
บางข้อ อาจมีความจำเป็นมาก บังคับต้องติดตั้ง แต่บางข้อ อาจไม่จำเป็น สำหรับรถบางคัน หรือเจ้าของรถบางคน.

 

1. ไฟท้าย สีแดง เลือกชนิดที่กระพริบได้ เพื่อประหยัดแบตเตอรี่


2. เครื่องวัดรอบความเร็วรถ เลือกแบบไร้สาย wireless ก็ได้. กรณีรถไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า อาจรบกวน สัญญาณ wireless ให้เปลี่ยนไปใช้ แบบมีสาย.


3. ไฟเลี้ยว (ถ้ามีได้ ก็จะดี)


4. ไฟฉาย หรือ โคมไฟหน้า (ติดที่แฮนด์) ถอดเก็บได้ เมื่อยังไม่ใช้ จะทำให้ไม่เกะกะ ระหว่างขับขี่


5. กระดิ่ง จะใช้แบบ ระฆัง หรือ ไฟฟ้า ก็ได้ แล้วแต่ชอบ


6. ที่ปิดปลายแฮนด์ (เหมือนเขาควาย) ช่วยให้ มือไม่หลุดจากแฮนด์ หรือช่วยเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนตำแหน่ง วางมือบนแฮนด์ก็ได้. กรณีที่ใช้แฮนด์แบบ ปีกผีเสื้อ ที่ปิดปลายแฮนด์ก็ไม่จำเป็น.


7. กระจกส่องหลัง เลือกชนิดติดที่แฮนด์ หรือ ที่หมวก ก็ได้ ตามถนัด ที่จำเป็นคือ ติดด้านขวา ส่วนด้านซ้าย มีด้วยก็ดี


8. ขาตั้ง มีให้เลือกหลายแบบ เช่น ขาตั้งเดี่ยว ขาตั้งคู่, ทั้งสองแบบ มีจุดติดตั้ง ที่กลางตัวรถ (ใกล้หัวกะโหลกรถ) กับที่บริเวณ เพลาท้าย เลือกตามสะดวก ตามชอบ. รถที่บรรทุกน้ำหนักมาก ควรเลือกขาตั้งแบบคู่ (แต่คนที่มีคู่แล้ว จะเลือกขาตั้งแบบใดก็ได้!)


9. ที่กันโคลน ทั้งล้อหน้า และ ล้อหลัง ควรติดหรือไม่ พิจารณาตามฤดูกาล. แต่เหตุการณ์ฝนตก อาจคาดเดาไม่ได้ หรือบริเวณที่มีน้ำ ก็คาดเดาไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรติดตั้งไว้ จะดีกว่า.


10. สปริง กันคอรถสบัด ขณะจอดรถ คอรถมักหักเลี้ยว ไม่ไปขวา ก็ไปซ้าย บ่อยๆ เข้า อาจส่งผลให้ สายเคเบิล สายเบรค สายไฟ ขาดได้.


11. ตระกร้าหน้ารถ และรวมถึง ตะแกรงด้านหลัง.


12. ที่ใส่ขวดน้ำดื่ม


13. ที่ยึดโทรศัพท์ (บนแฮนด์)


14. creat ติดบันไดรถ ข้อนี้ ไม่แนะนำ สำหรับนักปั่นทัวร์ทางไกล. (ไม่แนะนำ แล้วบอกทำไม?!

 


(3)
อะไรบ้าง ที่เราต้องเอาติดรถไป

(พิจารณาตามความจำเป็น ของแต่ละอย่าง ของแต่ละคน)

 

1. เครื่องมือ อะหลั่ย ซ่อมรถ


-ยางใน ควรเลือก ชนิดที่ใช้หัวจุ๊บเติมลม (วาล์ว - valve type) แบบเดียวกัน ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง (ดูภาพประกอบ) ที่นิยม มี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 กับ แบบที่ 2 (ดูภาพ)

-กล่องอุปกรณ์ปะยาง ข้างในมี ที่งัดยาง 2 อัน, ตะไบขูดแผลยาง ก่อนปะ 1 อัน, กาวยาง 1 หลอด, แผ่นปะยาง 6 แผ่น (ปะได้ 6 แผล)

-สูบลม ควรเตรียม adapter สำหรับแปลงหัวเติมลม ไปให้พร้อม กรณี ใช้ยางในที่มีหัวจุ๊บคนละแบบ.

-ประแจเลื่อน, ชุดกุญแจหกเหลี่ยม (มีหลายขนาด), คีมล็อค (ตัวเล็ก), มีดคัตเตอร์

-สายรัด (cable ties) ขนาดต่างๆ

-สายยางรัดของ อาจตัดแบ่งมาจาก ยางในรถที่ไม่ใช้แล้ว ก็ได้ ประหยัดดี.

-ข้อต่อโซ่ พร้อม เครื่องมือตัดต่อโซ่. หากซื้อโซ่อะหลั่ย ไปเผื่อไว้ก็จะดีมาก. (ส่วนใหญ่ รถบริการ หรือ อาสาบริกร จะมีอุปกรณ์เหล่านี้ไว้แล้ว)


หัวสูบลม แบบต่างๆ

หัวจุ๊บยางใน แบบต่างๆ

 

2. เสื้อผ้า นุ่งห่ม


-เสื้อผ้า ชุดปั่นจักรยาน 1 - 2 ชุด

-อุปกรณ์ปั่นจักรยาน หมวก, ถุงมือ, รองเท้า

-เสื้อผ้าลำลอง แล้วแต่ชอบ และจำเป็น แต่ไม่ควรขนไปเยอะ

-หมวกไหมพรม คลุมหัวกันหนาว

-ผ้าอาบน้ำ (ผ้าถุง ผ้าขะม้า ผ้าเช็ดตัว)

 

3. อุปกรณ์ป้องกัน


-เสื้อกันฝน

-แว่นกันแดด ชนิดใส่กลางวัน ค่ำ

-โม่งคลุมหัว (ไม่สามารถกันเมีย ตามหาได้!)

-หน้ากากกันฝุ่น กันไวรัสโควิด-19

-เจลแอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อ (ไม่แนะนำ แอลกอฮอลล์ขวด ดื่มเพื่อฆ่าเชื้อในกระเพาะ)

-ปลอกแขน ปลอกขา, ปลอกคอ ไม่ต้อง

-ถุงเท้ายาว ป้องกันอากาศหนาวจัด

-แผ่นฟอยล์ กันร้อน กันหนาว. หรือหา ถุงพลาสติกดำ ขนาดใหญ่ เอาไว้กันลม (แต่กันหิมะไม่ได้!)

 

4. ที่นอน เรือนนอน


-เต็นท์ เลือกแบบที่ชอบ แต่ให้มีน้ำหนักเบา กางง่าย เก็บง่าย รวดเร็ว. อุปกรณ์เสริมเต็นท์ คือ ผ้าเต็นท์กันน้ำ กันฝน, เสา fly sheet 2 ต้น, ผ้ายางรองกันชื้น.

-มุ้งนอน กันยุงได้ (แต่กันเจ้าหนี้ไม่ได้!) แต่ถ้าเต็นท์ กันยุงได้ ก็ไม่ต้องใช้

-เสื่อปูนอน อาจใช้เสื่อสำหรับเล่นโยคะ ก็ได้ เบาดี พร้อมผ้าปูนอน.

-เชือก หลายขนาด เลือกที่พอเหมาะ. เผื่อดัดแปลง เป็นราวตากผ้าได้ (แต่ห้ามเอาไปผูกคอ ก่อนตาย!)

-เก้าอี้พับ (อาจจำเป็น สำหรับคนที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม) หรือ เสื่อปูรองนั่ง เลือกขนาดพอเหมาะ สำหรับคนเดียว เพื่อลดน้ำหนัก สัมภาระ.

-ผ้าห่ม หรือ ถุงนอน. ถ้าหนาวมากๆ ให้เตรียมไป 2 ถุง (น้ำหนักเบามาก เอาไปเผื่อก็ไม่หนักหนาอะไร)

-หมอน หมอนลม หรือ อาจใช้อุปกรณ์อื่นแทน ก็ได้ เช่น เสื้อกันหนาว (ม้วนห่อเป็นหมอน) แพ็คกล่องนมแล็คตาซอย ห่อด้วยผ้า.

 

5. อุปกรณ์ซักล้าง ทำความสะอาด

-ถังซักล้าง เลือกชนิดที่พับเก็บได้.

-สายยาง เส้นผ่าศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5 เมตร ใช้กรณีที่ ห้องอาบน้ำมีแต่ก็อกน้ำอย่างเดียว ไม่มีฝักบัวอาบ. ที่ปลายสายยาง ต้องเผื่อหัวต่อ ให้ต่อเข้ากับก็อกน้ำ ที่ต่างขนาดได้ด้วย.

-กระป๋องตักน้ำ ควรเลือกขนาดที่ใช้งาน ได้สารพัดประโยชน์ คือ แทนแก้วน้ำดื่ม ล้างหน้า อาบน้ำ ต้มน้ำร้อน ดื่มกาแฟ เช่น แก้ว stanless หัวม้าลาย

-ยาสีฟัน, เจล ซักผ้า อาบน้ำ สระผม, พลาสติกคลุมหัว

-สำลีปั่นหู, หวี, ไม้จิ้มฟัน

-กรรไกร ตะไบ ตัดแต่งเล็บ

 

6. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 

-กล้องถ่ายภาพ หากต้องการแยกใช้ต่างหาก จากกล้องของโทรศัพท์ ก็เตรียมไปด้วย อย่าลืม แบตเตอรี่ พร้อมแท่นชาร์จไปด้วย และ flash memory ก็เตรียมไปให้พอ. หรืออาจต้องนำ notebook คอมพิวเตอร์ ไปด้วย กรณีถ่ายภาพวิดีโอยาวๆ แล้วโหลดไฟล์วิดีโอ ลงฮาร์ดดิสก์ได้ทันที. หรือไม่ก็ สั่งโหลดไฟล์ ขึ้นไปเก็บไว้บน crown.

-สายชาร์จโทรศัพท์ เลือกชนิดที่ใช้ ถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลได้ด้วย (โหลดเร็ว)

-power bank. แต่แบตเตอรี่ ที่ใช้กับมอเตอร์รถ สามารถใช้แทน power bank ได้อยู่แล้ว.

-อะแดปเตอร์ หัวต่อ ปลั๊กพ่วง สายไฟ AC (1x2) ยาว สัก 5 เมตร

 

7. อื่นๆ จิปาถะ


-ยารักษาโรค แต่ละคน ไม่เหมือนกัน

-ซองใส่บัตรประจำตัว บัตรประกัน เอกสารสำคัญ อย่าเก็บซ่อนไว้มิดชิดเกินไป

-รองเท้าแตะ (เผื่อหายระหว่างทางด้วย)

-นกหวีด

-กล้องส่องทางไกล ปัจจุบัน มีชนิดที่ติดกับกล้องโทรศัพท์ แล้วซูมภาพเข้ามาดูได้เป็นร้อยเท่า.

-ชุดต้มน้ำร้อน ชงกาแฟ (อาจแชร์ ร่วมกับเพื่อน ก็ได้) แก๊สกระป๋อง, เตาไฟ, กาต้มกาแฟ. บางครั้ง ใช้ต้มน้ำอาบ ในวันที่มีอากาศหนาวจัด และห้องน้ำไม่มีน้ำอุ่นอาบ. อาจใช้ต้มน้ำร้อน ประคบ ฟกช้ำก็ได้.

สิ่งที่ไม่ควรขนไป (อย่างยิ่ง)
-ตู้เย็น
-เตาไมโครเวฟ
-ครก สาก
-เครื่องซักผ้า
-เตารีด

 

(4)
ทริปนี้ จะพาแวะเที่ยวที่ไหนบ้าง


ตามแผนที่ เส้นทางที่เลือกไว้ จะพาแวะเที่ยว สถานที่ที่น่าสนใจ แต่สำหรับสมาชิกบางคน อาจเคยไปมาแล้ว ก็ข้ามไปนะครับ.

 

(5)
อาหาร สำหรับ นักทัวร์ทางไกล

 

..

(6)
บทความพิเศษ - เลือกใช้รถจักรยานอะไรดี ที่เหมาะกับสถานการณ์ บรรทุกหนัก ปีนเขา.

..

บทความนี้ เขียนขึ้นจากคำถามของ ลุงสนิท เรืองศรี ผู้ที่ผมเคารพนับถือ. ท่านเป็นนักปั่นจักรยานทัวร์ทางไกล ที่มีอายุมากเกือบจะที่สุด เท่าที่ผมรู้จัก. ท่านให้ผมช่วยสรุป ความเห็นเรื่องจักรยานทัวริ่ง ที่ผมมีผมใช้อยู่ ว่าจะอย่างไรดี.

 

ผมขอสรุป ตามประสบการณ์ ที่่ผ่านการทดลอง ทั้งผิดทั้งถูก และยึดในกฏของแรงฟิสิกส์, ดังนี้.

 

ข้อความทั้งหมดต่อไปนี้

 

-เกี่ยวกับประเภทรถทัวริ่งเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรถแข่ง รถถนน เสือหมอบ เสือภูเขา บีเอ็มเอกซ์.

 

-มาจากประสบการณ์ และความเห็นส่วนตัว ท่านใดอ่านแล้ว ไม่ชอบ ไม่เป็นประโยชน์ ก็ให้ข้ามไป หรือทนไม่ได้ ก็ลบทิ้งไป.

 

-ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ จะส่งต่อให้เพื่อนๆ ก็ได้.

 

ก่อนอื่น ขอบอกเล่า พื้นฐานอุปนิสัย และการปั่นจักรยานของผม พอเป็นสังเขป เพื่อเป็นข้อพิจารณาว่า เพราะเหตุใด ผมจึงคิด จึงประพฤติเช่นนี้.

 

ผมซื้อและใช้จักรยานคันแรก เมื่อปี 2543 เป็นรถ hard trail ยี่ห้อ Gary Fisher รุ่น Paragon (รุ่นปี 1999) ปั่นมาตลอด และเปลี่ยนอีกหลายคัน จนกระทั่งมาเป็น Giant รุ่น Xteam XTR ล้อ 26 นิ้ว และคันสุดท้าย Loui Ganeau ล้อ 700c. ทุกคันเอามาทำ ทัวริ่งทั้งหมด. ผมไม่ลงแข่ง ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มแล้ว.

 

เหตุผล (ผมเพิ่งมาได้ข้อสรุป เมื่อไม่กี่ปี) การแข่งขัน คือการ 'รีด' เอาพลังสมบูรณ์ ภายในของเรา ออกไป แลกกับบางสิ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่ การปั่นทัวร์ท่องเที่ยว คือ การ 'ดูดซับ' เอาพลังธรรมชาติ (แสง ทัศนะ ความสุข) จากภายนอก เข้ามาใส่ในร่างกายและจิตใจของเรา. ดังนั้น ผมไม่โง่ ที่จะลงแข่งขัน แต่ผมฉลาด ที่จะออกปั่นท่องเที่ยว.

 

ผมเป็นคนมีรายได้เข้ามา น้อยมาก ตามบุพกรรมที่ผมทำมา. ทุกคนต่างมีบุพกรรม ไม่เท่ากัน, บางคนรวย บางคนจน บางคนมีสุขภาพแข็งแรง บางคนอ่อนแอ บางคนอิสระ บางคนมีภาระผูกรัด ฯลฯ. ดังนั้น ผมจึงต้องประหยัด ในการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเรื่องกิน ซื้อของ.

 

ผมไม่ค่อยเข้าร่วมกลุ่ม แชร์ซื้ออาหาร เพราะเพื่อนๆ ต่างก็จ่ายและซื้อกินของแพง (ของดี) แต่พอถึงคิวผมบ้าง ผมไม่มีเงินมากอย่างเขา ครั้นจะจ่ายมากไป เงินเราก็หมดก่อนเวลา ครั้นไม่จ่าย ก็ว่าใจแคบ ไม่มีน้ำใจ. ดังนั้น ผมจึงได้ขอสรุปว่า ซื้อของกินในกลุ่ม ไม่ต้องมีการแชร์ (ยกเว้นเรื่องน้ำใจ) ใครกิน คนนั้นจ่าย แฟร์และอิสระ ไม่ต้องผิดใจกันภายหลัง.

 

นั่นคือเรื่องพื้นฐาน ขอมาพูดต่อเรื่องรถ. ผมเคยใช้ รถเสือภูเขา ล้อ 26 นิ้ว (Giant) และ รถไอบริด ล้อ 700c มาทำเป็นรถทัวริ่ง ปั่นในระยะไกล มาครึ่งประเทศแล้ว, มันก็ยังมีปัญหาอยู่ดี.

 

ปัญหาหลักๆ คือ การบรรทุกน้ำหนัก.

 

(1) ทำให้การทรงตัวของรถ ไม่ดี และใช้แรงปั่นมาก. เหมือนคนเมา ทั้งตอนขึ้นและตอนจอด.

 

(2) ขาตั้ง มักไม่แข็งแรง หักบ่อย ทำให้รถล้ม.


(3) คอรถ มักเหวี่ยงซ้ายหรือขวา ตอนจอด เพราะน้ำหนักของกระเป๋า ที่เกาะบนตะเกียบหน้า.

 

วิธีแก้ปัญหาของผม คือ

(1) คิดใหม่ คิดนอกกรอบ โดยการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทัศนะ ไม่ติดอยู่กับความเชื่อเดิมๆ (ไม่มีอะไรดี คงที่ถาวร ถ้าสิ่งนั้่น ยังเป็นสังขตธรรม หรือ ของสมมุติ)

 

(2) ยอมให้คนอื่นว่าเราบ้า คิดอะไรแผลงๆ แปลกๆ (แต่เรากลับพบคำตอบที่น่าพอใจ) ชนิดที่ นักปั่นหัวคิดเดิมๆ เขาไม่ทำกัน.

 

(3) เปลี่ยนไปใช้ มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวช่วย.

 

(4) ลองเปลี่ยนไปใช้รถพับ ล้อ 20 นิ้ว.

 

(5) ทดลองใช้รถพ่วงท้าย บรรทุกของหนัก.

 

 

คราวนี้ มาว่ากันโดยละเอียด ทีละข้อ.

 

ก. ความคิด สำคัญสุด “ปล่อยให้เพื่อนเข้าใจเราผิด ดีกว่า เราทำผิดเสียเอง”

 

ควรมองทุกอย่าง ภายใต้หลักสัมพัทธภาพ จะทำให้เราคิดแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ในที่สุด. สัมพัทธภาพ มีคุณสมบัติ ใจกว้าง ไม่ติดยึดในมุมเดียว คือ ทุกเหตุการณ์ ย่อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

 

เพราะมีเหตุปัจจัย 3 ข้อ คือ

 

(1) เวลา, ไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนตลอดเวลา. อย่าคิดว่า นั่นถูกต้องเสมอ หรือผิดมหันต์

 

(2) สถานที่ พิกัด, ถิ่นที่อยู่ หรือ จุดยืน ต่างสถานที่ ต่างจุดพิกัด ย่อมมองเห็น เหตุการณ์เดียวกัน ได้ต่างกัน. อย่าคิดว่า มุมที่ตนเห็นนั่น ถูกต้องเสมอ หรือผิดตลอดกาล.

 

(3) วัตถุ บุคคล, นี่ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ วัตถุหลากหลายประเภท มีคุณสมบ้ติต่างกัน แต่ละคนก็ยิ่งมากความคิด. เราไม่อาจตัดสินว่า สิ่งนั้่น คนนั้น ถูกหรือผิด ตามใจเราได้เลย.

 

 

ที่พูดมาเสียยืดยาว ก็เพื่อให้เหตุผลว่า กว่าผมจะตัดสินเลือก ในสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง ก็ไม่ใช่ง่าย ต้องอาศัยเวลา แรงบีบคั้น ความรู้ เงิน มาจัดสรรเรื่องจักรยาน ให้แก่ตัวเอง จนกระทั่งลงตัว. ถ้าผมเป็นคนดื้อด้าน ไม่ฟังใคร ไม่รับรู้ข้อมูลใหม่ สถานการณ์โลก-เทคโนโลยีใหม่ ผมก็คงอยู่ในโลกเดิมไปอีกนาน.

 

แต่ก็นั่นแหละ โลกยุคใหม่ได้ทำลาย โลคยุคเก่าไปโดยปริยาย ทำให้เราไม่สามารถ "ตาม" โลกใหม่ได้ตลอด. ดังนั้น เราจึงต้อง "เลือก" ที่เหมาะ ที่เราชอบ พอประมาณ. เราไม่จำเป็นต้อง ทุกๆ เรื่อง ที่เขามี เขาเป็น หรือ เขาต้อง "สนอง" ใจเรา ในทุกๆ เรื่อง. ทุกคนต่างอิสระ ส่วนตัว ด้วยกันทั้งนั้น จะไปบังคับเขาไม่ได้.

 

การนำของติดตัวไป ระหว่างการเดินทาง, ผมมีความคิดว่า อย่าเอาของไปฝากไว้กับคนอื่น ที่ร่วมเดินทาง เขาอาจเกรงใจ รับฝากไว้ ในมุมของเรา แต่เขาอาจรู้สึกไม่อิสระ ในมุมของเขา. ที่สำคัญคือ เวลารถเรามีปัญหา ของที่ฝากคนอื่นไว้ เราก็ไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะ เครื่องมือ ยางในรถ ไม่ควรฝากเพื่อน ต้องเอาติดตัวไปเสมอ.

 

การว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น โดยเฉพาะคนที่มีอัตตาจัด ถือตัว อาจสร้างความรำคาญให้แก่เขา อันนี้ก็ไม่ควรทำ. ผมเคยเจอมาแล้ว ด้วยความปราถนาดี แนะนำหลายเรื่อง แต่กลับไปรบกวนอิสระของเขา กลายเป็นว่าเรา "เสือก" อีกข้อหนึ่ง ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การวางใจ ปล่อยวางใจ ของตัวเราเองให้ได้ เมื่อถูกต่อว่าทั้งต่อหน้า ลับหลัง, ว่าช้าอืดอาดบ้าง หัวโบราณบ้าง ขี้ตระหนี่บ้าง ไม่รู้จักเกรงใจบ้าง หัวร้อนบ้าง หัวงูบ้าง ตาขาวบ้าง ฯลฯ สุดแล้วแล้วใจคน จะคิดไป.

 

ผมยังคงใช้มุมมองสัมพัทธอยู่เช่นเดิม แบ่งใจรับ เห็นต่าง ในเรื่อง เวลา สถานที่ และ วัตถุ-บคคล. ผมถือคติว่า "ปล่อยให้เพื่อนเข้าใจเราผิด ดีกว่า เราทำผิดเสียเอง" (ผมคิดว่า นี่คือ คติอมตะ ที่ทำให้ผมรู้จักปล่อยวางได้)

 

ข. คิดนอกกรอบ อาจแลกกับ ความสูญเปล่า หรือไม่ก็ รางวัลชีวิต.

 

ทุกครั้ง ที่ผมกลับจากทัวร์ทางไกล ผมจะปรับปรุง ปรับแต่งรถ หาสิ่งใหม่ๆ ใส่ให้มัน. แน่นอนว่า บางครั้งก็สิ้นเปลือง ซื้อของมาเปลี่ยน บางครั้งก็ใช้ได้ บางครั้งก็ใช้ไม่ได้ ต้องเก็บไว้เป็นอะหลั่ย. เหตุหนึ่งเป็นเพราะ เราไม่ศึกษา ดูตัวอย่าง ของคนอื่นก่อน.

 

 

ผมหันมาใช้รถไฟฟ้า ด้วยเหตุผลว่า จะทำให้ผมปั่นขึ้นภูเขาสูงได้ ไม่ต้องเหนื่อยมาก และไปได้ไกลขึ้น. ผมคิดว่า การท่องเที่ยวที่ทำให้หมดสนุกคือ ถ้าเหนื่อยเกินไป ก็หมดอารมณ์สุข.

 

แต่บางครั้ง และหลายครั้ง ดูตัวอย่างใน YouTube นี่แหละ ทำให้เราคิดทำ ประดิษฐ์ ดัดแปลงตาม บางครั้งก็ได้ไม่ได้ผล แต่ส่วนใหญ่จะดี เพราะมีตัวอย่างให้ดูก่อน. ครั้งหนึ่ง ผมเคยลองประดิษฐ์ รถปั่นนอน (Recumbent Bike) ทำมาตั้ง 4 คัน เสียเงินไปก็เยอะ. แต่สุดท้าย ก็ไม่ได้ใช้. ได้ข้อสรุปว่า

 

(1) รถปั่นนอน มีน้ำหนักมาก เวลาวิ่ง กินพื้นที่ถนนเยอะ อันตราย

 

(2) กลไกเยอะ มีข้อผิดพลาดสูง

 

(3) ถ้าจะมีรถประเภทนี้จริงๆ ควรซื้อจากโรงงาน จะดีกว่า คุ้มกว่าทำ.

 

 


รถคันนี้ ทำเสร็จ ใช้เพียงครั้งเดียว

 

รถคันนี้ ติดตั้ง mid-drive 500w bat. 15Ah (รถของ พ.ท.รุจิโรจน์ พลันสังเกตุ) ขับขี่ดีมาก เป็นจุดเริ่มต้น ให้อยากใช้รถพับล้อ 20 นิ้ว.

ข้อควรต้องทำ คือ ปรับขนาดล้อ ให้ตรงกับ รอบมอเตอร์. ถ้ารอบต่างกัน จะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก.

 

 

ประการสำคัญที่สุด ที่เราไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ อย่าปั่นรถไฟฟ้า ไปจี้หลังรถเสือหมอบ หรือปั่นแซงรถเสือหมอบเป็นเด็ดขาด. นั่นอาจเป็นการ หยามน้ำหน้าพวกเขาก็ได้, เขาจะไม่ชอบเลย ถ้ามีคนปั่นแซง (เป็นปกติของนักปั่นทำความเร็ว-แข่งขัน). และคนกลุ่มนี้ ห้ามพูดเรื่องไฟฟ้า เขาอาจไม่ชอบเช่นกัน เพราะเท่ากับไปดูถูกแรงของพวกเขา (ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่ม ขาแรง). สรุปว่า รถไฟฟ้า ไม่อาจเข้ากันได้กับรถเสือหมอบ.

 

ผมไม่เคยชอบรถพับ ล้อ 20 นิ้วเลย. แต่พอคิดจะเอารถขึ้นรถยนต์ ขึ้นรถไฟ ก็เห็นประโยชน์ของรถประเภทนี้. แต่นั่น ไม่ได้เป็นจุดเปลี่ยนของผม ที่จะหันมาใช้รถพับ, แต่ผมต้องการเอามาเป็น รถหัวลากรถพ่วงต่างหาก. นี่คือสิ่งที่ผมคิดนอกกรอบ และเกิดผลดีแก่ผม อย่างมาก ซึ่งขอเล่าในข้อถัดไป.

 

ค. มอเตอร์ไฟฟ้า คือ คำตอบ สำหรับตัวเอง (แต่อาจไม่ใช่คำตอบ สำหรับคนอื่น).

 

 

นี่คือ รถคันแรกยุคใหม่ ซื้อใหม่ ปี 2006 size 14.5 inch, ให้หลัง 15 ปี จึงติดตั้งมอเตอร์

 

รถคันแรก ที่ผมติดตั้งมอเตอร์ให้ คือ Giant เสือภูเขา เมื่อปี 2017 โดยทางร้านติดตั้งให้. เป็นรถล้อ 26 นิ้ว ใช้มอเตอร์แบบขับกลาง (mid-drive) 500w 48v แบตเตอรี่ LiFo 6.5Ah จัดว่าเป็นรถที่มีถังน้ำมันเล็ก วิ่งได้ไม่ไกล ผมจึงไม่นำมันไปวิ่งทางไกล. ตอนนั้น ราคาแบตเตอรี่แพงมาก. รถ e-bike Giant จึงกลายเป็นรถประเภท "คุณหนู" คือ แรง แต่ไปได้ไม่ไกล.

 

 

รถ e-bike คันแรก Gaint มอเตอร์ mid-drive 500w 48v bat .25Ah. กับ รถพ่วงคันที่ 2

 

ปีถัดมา ติดตั้งมอเตอร์ให้กับรถล้อ 700c เป็นมอเตอร์เกียร์ ดุมหน้า 350w 48v แบตลิเธียมไอ-ออน 7.5Ah. คันนี้ ติดตั้งเอง แบบประหยัด ไม่ใส่ตัวช่วยปั่น ไม่มีจอหน้าปัทม์ มีแต่มือบิด (แบบรถมอเตอร์ไซค์) คันเร่ง อย่างเดียว. จุดประสงค์ เพื่อเอาไว้ปั่นออกกำลังกาย แบบอิสระ คือ ปิดปั่นด้วยไฟฟ้าก็ได้ ปั่นเปล่าโดยไม่มีไฟฟ้าช่วยก็ได้. รู้สึกเป็นอิสระดี และชอบรถคันนี้มาก.

 

 

e-bike คันที่สอง moter gear ล้อหน้า 350w 48v bat 7.5Ah กับ รถพ่วง คันแรก.

 

กับรถพ่วง คันที่ 3 ล้อ 12 นิ้ว ตัวรถค่อนข้างหนัก

 

ข้อดีของ ข้อต่อพ่วง ด้วยลูกหมาก (แบริ่งแบบ ตาโปน-ตาเหลือก) คือ เวลารถพ่วงเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ดึงรั้ง ให้รถหัวลาก เสียการทรงตัว แต่อย่างใด. (เคยเกิดเหตุแบบนี้ 4 ครั้ง มาแล้ว)

 

 

ปีถัดมา จ้างเพื่อน (ร้านอนันต์ เลเซอร์ มวกเหล็ก) ประกอบแบตเตอรี่ Lithium ให้ ความจุ 25Ah. ในราคาตอนนั้น 14,000 บาท, ถือว่าเป็นแบตก้อนใหญ่ และราคาแพง. แต่มาวันนี้ รู้สึกว่าไม่แพง เพราะใช้เซลแบต เบอร์ 22650 ยี่ห้อง tesla ราคาแพง แต่ของดี. ประกอบดี แข็งแรง ทำให้ไม่มีปัญหา มาจนถึงทุกวันนี้. เอาแบตก้อนนี้ ไปให้เจ้ารถ Giant เท่ากับติดปีกให้มัน.

 

ปี 2019 เอารถ Loui Ganeau 700c 350w 48v พร้อมพกแบตไป 2 ก้อน (15Ah + 7.5Ah) ออกท่องเที่ยวภาคเหนือ ปั่นจาก มวกเหล็ก - พิจิตร เพื่อนไปส่งที่ ลำปาง ปั่นต่อจาก เกาะคา ไป พะเยา หลานไปส่งที่ เชียงราย แล้วปั่นต่อตลอดจาก เทิง เชียงคำ ภูลังกา สองแคว น่าน บ่อเกลือ เวียงสา แพร่ พิษณุโลก แล้วกลับ มวกเหล็ก. ปรากฏว่า รถไม่มีปัญหาเลย (มีขั้วสายไฟขาดนิดหน่อย ซ่อมได้) ลุยน้ำลุยฝนได้สบาย รวมทั้งลุยร้อน ปีนภู ได้ แต่ค่อนข้างหนัก ช่วงผ่าน อ.บ่อเกลือ

 

ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การปีภูสูงๆ ระดับ 5% - 8% ควรใช้มอเตอร์ ความแรง ไม่ต่ำกว่า 500w. และถ้าใช้มอเตอร์ชนิดขับกลาง จะดีที่สุด.

 

ปี 2020 เอารถ Giant ไปท่องเที่ยวกับคณะทัวร์ทางไกล แม่สาย - สุไหง-โกลก. ด้วยพลังมอเตอร์ 500w แบบขับกลาง กับแบต 25Ah ทุกอย่างราบรื่น ไร้ปัญหาใดๆ ทำให้ปั่นมีความสุขมาก คือ ไม่เหนื่อยมาก. นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เมื่อถึงปลายทางจรบทริปแล้ว ทุกคนเอารถขึ้นรถไฟ รถยนต์กลับบ้านกันหมด. เหลือผมคนเดียว กับพี่หน่อย สองคน อยู่ท่องเที่ยวต่อ. โดยเอารถขึ้นรถไฟ จาก สุไหง-โกลก ไปลงที่ ยะลา จากนั้น ก็ปั่นไปตลอดเส้นทาง ยะลา-เบตง, เบตง-ยะลา - หาดใหญ่ - ตรัง - กระบี่ - สตูล - ภูเก็ต - พังงา - ระนอง - ชุมพร. ถ้ารถไม่เสีย ก็คงปั่นต่อถึง กรุงเทพ และถึงบ้าน. แต่รถของพี่หน่อย มาเสีย ก่อนถึง ชุมพร จึงต้องเอารถขึ้นรถกลับพร้อมกัน ถึงกรุงเทพฯ. จบทริป คงได้ 3,800 กม. ปรากฏว่า Giant ปกติทุกประการ. ผมเลยรักมัน ก็ตรงนี้แหละ.

 

 


 

ต่อมา ธ.ค.2020 เอารถ Giant พร้อมทำรถพ่วง (คันที่ 2) ไปร่วมกับกิจกรรม ปั่นสะพานบุญ สมทบทุนช่วยโรงพยาบาลบ่อเกลือ น่าน. นั่นคือความประทับแรก ที่ได้ใช้รถพ่วง.

 

ตั้งแต่นั้นมา ผมเลยตัดสินใจ ใช้รถพ่วง มาจนถึงทุกวันนี้ เพราะมันสามารถ พาสัมภาระหนักๆ ประมาณ 38 กม. ปีภูสูงๆ จากฝั่ง อ.ปัว ขึ้นภูคา โดยไม่มีปัญหาอะไรเลย. เหนื่อยพอๆ กับคนอื่น แต่ถึงสันภู ได้แบบม้วนเดียวจบ และยังมีแบตเหลืออีกกว่าครึ่ง. แม้กระทั่ง ปั่นขากลับ จากบ่อเกลือ กลับ มวกเหล็ก ก็ไม่มีปัญหาอะไร.

 

มาปี 2021 ไปร่วมทริป แม่สาย-เบตง อีกรอบ. เอา Giant คนเดิม ปั่นลากรถพ่วงหนักๆ ไปด้วย จากมวกเหล็ก จนถึง แม่สาย. พอเริ่มทริป จากแม่สาย มาถึงแม่ใจ ไฟฟ้าขัดข้อง เลยส่งทั้งรถทั้งคน กลับ มวกเหล็ก (มาทราบภายหลังว่า ก็แค่สายไฟฟ้าขาดใน ตอนนั้น เสียดายเวลามาก ไม่มีเวลาตรวจละเอียด) และเปลี่ยนเอา Loui Ganeau 700c พร้อมทำรถพ่วงคันใหม่ (ล่าสุด สีขาว) เบากว่าเดิม ลดสัมภาระลง. แล้วกลับไปร่วมทริป แม่สาย-เบตง อีกครั้ง ที่ นครสวรรค์ ไปจนถึง หาดใหญ่ แล้วกลับก่อน ด้วยมีเหตุจำเป็น.

 

ง. ถึงคิวใช้รถพับ ล้อ 20 นิ้ว, เป็นคำตอบสุดท้าย

 

เคยประกอบรถไฟฟ้า ให้ พ.ท.รุจิโรจน์ พลันสังเกตุ เป็นรถพับ KHS ล้อ 20 นิ้ว, มีโอกาสได้ทดสอบปั่นดู. ปรากฏว่า เป็นรถดี ขับขี่ดี รู้สึกชอบ และอยู่ในความคิดว่า อยากได้ อยากเปลี่ยน รถพับแบบนี้.

 

 


 

คือมาสรุปด้วยตัวเองว่า

 

(1) เราก็ใช้ mid-drive 500w อยู่เป็นปกติแล้ว

(2) คิดว่าจะใช้รถพ่วง เป็นส่วนใหญ่. แต่ปัญหาคือ รถลาก ไม่อยากให้มอเตอร์ ทำงานหนักเกินไป. รถล้อ 20 นิ้ว จึงกลายเป็นทางเลือก.

 

 

รถพับคันแรก Police Texas ย้ายมอเตอร์ mid-drive 500w จากรถ Giant มาติดตั้งให้ แบตถูกซ่อนวางในกล่องด้านหลัง. ตะแกรงหลัง กลาง หน้า เชื่อมต่อเอง. ขาตั้งแบบนี้ แข็งแรง สะดวกดีมาก. ตะกร้า กลาง ใส่ของ เก็บ จับ วาง ได้สะดวกมือดีมาก. รถพับขึ้นลง สบาย. วันนำไปปีนภู ที่ ภูทับเบิก

 

(1) ต้องการใช้รถพับ ล้อ 20 นิ้ว เป็นรถหัวลาก โดยใช้มอเตอร์ 500w. ครั้งแรกจะหาซื้อรถพับ มือสอง, มาคิดทบทวน ถ้าซื้อมา เราต้องเสียเงิน เสียเวลา เปลี่ยนอะหลั่ยอยู่ดี. ผมใช้เวลาเลือกรถ อยู่นาน ราวสัปดาห์ จนกระทั่งได้คำตอบสุดท้ายที่รถคันสีส้ม Police Texas เป็นรถสายพันธุ์อินโดนีเชีย. ทั้งบึก แข็ง สเป็คดี ราคาถูก คนผลิตไม่ตระหนึ่ ให้อุปกรณ์มาดี, หลักๆ คือ ดิสก์เบรคชนิดน้ำมัน ทั้งล้อหน้า-หลัง, เกียร์ 8 สปีด (12t - 28t), ล้ออัลลอยด์ 2 ชั้น. ก็ถือว่า ของดี แต่ไม่ดีมากเหมือนรถราคาหมื่น.

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของรถล้อเล็ก 20 นิ้ว คือ รอบวิ่งจะช้า แต่ปีนเขาดี (เพราะล้อเล็ก). สังเกต ปั่นทำความเร็ว จะไม่ทันรถล้อใหญ่ 26 นิ้วขึ้นไป.

 

ข้อนี้ ผมมีวิธีแก้ ให้ทั้งแรง และ เร็ว. คือ ใช้จานหน้า 56t (ขอเดิมติดตัวรถ 52t) เฟืองหลัง ของเดิมๆ เพราะอัตราทดของมอเตอร์ เพียงพออยู่แล้ว สำหรับ 6-8 สปีด. จานหน้า ผมใช้ 2 ขนาด คือ

 

-ขนาด 44t จานใน ใช้สำหรับปีภูสูง เช่น ภูทับเบิก กับเฟืองหลัง สปีดที่ 6 ก็เพียงพอแล้ว (ไม่มีพ่วงท้าย) สำหรับแรงมอเตอร์ 500w

 

-ขนาด 56t จานนอก ใช้สำหรับปั่นทางราบ และทางเนินซึม ไม่เกิน 2 องศา. ซึ่งสามารถ ปรับ สปีดไปได้ถึง สปีดที่ 5 ตอนขึ้นเขา ทำให้ไม่หนักแรงมอเตอร์ จนเกินไป.

 

ทุกอย่าง ลงตัวพอดี สัดส่วน น้ำหนัก ราคา ความสูง พละกำลัง. นี่คือ เครื่องมือเดินทางไกล ชุดล่าสุด.

 

 

วันที่กลับจาก ทริปสำรวจเส้นทาง แม่สอด-มุกดาหาร เมื่อ มี.ค.2565

 


ไป > มวกเหล็ก - วิเชียรบุรี - เพชรบูรณ์ - ภูทับเบิก - หนองบัว นว. - วชิระบารมี พจ. - พิษณุโลก - บ้านแยง - อช.น้ำหนาว - หล่มสัก - ขอนแก่น - กาฬสินธุ์ - มุกดาหาร.

กลับ > มุกดาหาร - ขอนแก่น - บุรีรัมย์ - ลำตะคอง - มวกเหล็ก.

 

 

(2) รถพ่วง คันนี้ เป็นคำตอบสุดท้าย. เพราะเล็กที่สุด เบาที่สุด แต่รับน้ำหนักได้มาก.

 

จุดรับน้ำหนักสัมภาระ ที่นักปั่นเข้าใจผิด และทำผิดมาตลอด คือ

(1) เอาของหนัก ไว้ที่สูง เช่น บนตะแกรงสูง บนเฟรมรถ บนแฮนด์

(2) เอาของหนัก ไปเกาะตะเกียบหน้า.

 

ตามหลักการ คือ ของหนัก ต้องให้อยู่ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้, ไม่เช่นนี้ จะทำให้ศูนย์ถ่วงของรถแคบ (จุดหนักยิ่งสูง ศูนย์ถ่วงยิ่งแคบ) รถเสียหลักได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาจอด.

 

อีกจุดหนึ่ง คือ อย่าเอากระเป๋าหนัก (กระป๋องน้ำดื่ม พอได้) ไปแปะไว้กับตะเกียบหน้า. อ้าว! แล้วจะให้เอาไปไว้ตรงไหนล่ะวะ?! คำตอบ ก็คือ ใหชั่งออกแบบ หรือเราทำเองก็ได้ ทำที่ยึดเป็นตะแกรงหน้า ให้ตัวตะแกรง (กว้าง ยาว ไม่เกิน 40 ซม.) ยึดกับตัวถังหรือเฟรมรถ. ถ้าเป็นเฟรมเหล็ก ก็ทำง่ายหน่อย บางคนอาจใช้เหล็กเชื่อมกับตัวถังรถเลยก็ได้.

 

ทำอย่างไรก็ได้ ให้มันยึดแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก ไม่ต้องเกรงว่า ตัวตะแกรงจะหนักมาก. เพราะความแข็งแรง จะช่วยรับสัมภาระหนักๆ ของท่านได้เป็นอย่างดี. สังเกต เวลาเลี้ยวซ้ายขวา จะทำให้ไม่มีแรงฝืน ขืน ทิศทางเลี้ยว ซึ่งต่างจากเอาน้ำหนัก ไปเกาะที่ตะเกียบโดยตรง. สรุปว่า แม้บรรทุกข้างหน้าหนักมากๆ ก็จะทำให้เลี้ยวได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังจะดูโงนเงนมาก เพราะถ้าใส่น้ำหนักมากเกินไป.

 

แต่ถ้าให้น้ำหนัก อยู่ต่ำ ก็จะไม่มีอาการโงนเงน แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะรถล้อใหญ่ เวลาเลี้ยว ล้อจะไปโดนกระเป๋าได้. นี่อาจเป็นข้อได้เปรียบของรถล้อเล็ก. ทำให้การวางน้ำหนัก อยู่ในที่ต่ำกว่า นั่นเอง.

 

คุณสมบัติที่ดี เท่าที่ทดลองใช้รถพ่วงมา คือ

 

- รถพ่วง ควรใช้ล้อขนาด 12 นิ้ว ยางตัน จะดีมาก กันหนาม. เพราะถ้าล้อใหญ่ ความกว้างของรถ จะกว้างมาก หนัก และเทอะทะ. คันแรกของผม ใหญ่มาก ยาว 100 ซม. กว้าง 80 ซม. ใช้ล้อ 20 นิ้ว. หัวต่อระหว่างรถพ่วงกับจักรยาน ไม่ดี ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวรถพ่วง เหวี่ยงล้อหลังเซล้ม ตอนลงเขา ผลคือ ข้อมือซ้น เจ็บอยู่สองเดือน กว่าจะหาย.

 

คันถัดมา ลดขนาด เล็กมากๆ ล้อ 20 นิ้ว, ใช้ล้อรถเด็ก ขอบอลูมิเนียม แต่แข็งแรงดีมาก (ทุกวัน ยังเก็บไว้อยู่ ไม่ใช้แล้ว). คันนี้ เอาไป บ่อเกลือ น่าน มาแล้ว.

 

คันถัดมา เพิ่มขนาดนิดหนึ่ง ยาว 70 ซม. กว้าง 50 ซม. คันนี้ แข็งแรงมาก รับน้ำหนักได้มาก แต่ตัวรถก็ยังหนักอยู่. คันนี้ เอาไป แม่สาย มาแล้ว.

 

คันสุดท้าย รถพ่วงคันขาว ล้อ pu 12 นิ้ว (ล้อรถ wheel chair) ยาว 60 ซม. กว้าง 40 ซม. โครงสร้าง ใช้เหล็กน้อยชิ้นมาก. คันนี้ ใส่กล่องขนาด 60 ลิตร ได้พอดี มากพอสำหรับขนสัมภาระ (ยกเว้น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเตียงนอน)

 

(3) ตอนปีนเขา หากต้องการทดเฟืองท้ายให้ได้มากๆ สำหรับรถล้อ 20 นิ้ว ทำได้จำกัด. ไม่ควรเกิน 9 สปีด, และเฟืองใบสุดท้าย จะต้องไม่เกิน 32t. เพราะจะทำให้ต้องใช้ตีนผี ขายาว ลากดิน (เขามีแต่เขี้ยวยาวลากดิน แต่นี่ ตีนยาวลากดิน). และเมื่อขายาวมากๆ เสี่ยงต่อขาหัก เมื่อเจอก้อนหิน หรือลงหลุม ปะทะกับตีนผี.

 

จ. บรรทุกหนัก ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ การวางจุดน้ำหนัก ไม่ถูกที่

 

ผมได้ข้อสรุป สำหรับรถพับล้อ 20 นิ้ว คันสีส้ม.

 

ซื้อใหม่ ได้มาแค่นี้ Police Texas ทรงหนา กะทัดรัด. รถ 8-speed จานหน้าแผ่นเดียว 52t. ดิสก์เบรค น้ำมัน. ราคา 5,000 บาท. เหมาะเอา mid-drive มาติดตั้งให้ จานหน้าและแบริ่งหัวกะโหลก ไม่ได้ใช้เลย ต้องถอดออก ตอนติดตั้ง ถ้าซื้อของแพง อุปกรณ์ตรงนี้ ก็เสียเปล่า.

 

-เชื่อมตะแกรงหน้า กลาง หลัง ด้วยตัวเอง. ออกแบบเอง ให้พอดี และเข้ากับตัวรถ ด้วยเหล็กกล่อง 6 หุน แข็งแรงดี.

 

-ตะแกรงหลัง ที่ขายตามท้องตลาด ไม่แข็งแรง และราคาแพง. ที่สำคัญคือ มันถูกทำออกมา เพื่อให้ใส่ได้กับรถทุกคัน ที่มีล้อหลายขนาด. โดยทั่วไป โครงสร้างจะสูง ดูยุ่งเย่ง ไม่กระชับ. ถ้าเปรียบกับคน ก็เหมือนสาวสวย ผอมสูง เหมือนไม้เสียบผีนั่นแหละ. ความสูง ไม่เป็นผลดีกับการวางสัมภาระ. มันวางได้ก็จริง แต่ผิดหลักฟิสิกส์.

 

หลักของแรง คือ ของหนัก ต้องวางให้ต่ำที่สุด แนบกับเฟรมรถให้มากที่สุด. แต่เท่าที่เห็น นักปั่นทั่วไป จะวางกระเป๋าไว้ส่วนบนของตัวรถ โดยเฉพาะรถล้อใหญ่. นั่นเป็นความผิดพลาดมาอย่างยาวนาน ที่ทำกันจนเป็นประเพณี (และผมก็เคยทำแบบนั้นมาแล้ว แต่วันนี้ ผมเลิกทำแบบนั้นแล้ว).

 

ดังนั้น รถล้อเล็ก โอกาสที่จะวางกระเป๋าหนัก จึงวางได้ในระดับที่ต่ำกว่า รถล้อใหญ่. รถพับ จะหาที่วางสัมภาระได้มากกว่ารถล้อใหญ่. ตัวอย่าง ที่ผมทำ

 

-ตะแกรงท้าย ผมเอากล่อง สำหรับใส่ท้ายรถมอเตอร์ไซค์ มาวาง. ใส่แบตเตอรี่ เครื่องชาร์จไฟ และเครื่องมือ อะหลั่ยได้ด้วย. กล่องใหญ่ ก็ใส่ได้มาก.

 

-ตะแกรงกลาง ผมทำจุดเชื่อม ให้โครงของตะแกรง แนบกับเฟรมรถ ไม่ใช่มีแค่น็อตสกรูขันยึดกับเฟรมเท่านั้น (ถ้าเฟรมรถมีลักษณะท่อกลม จะทำยากสักหน่อย). แข็งแรงมาก ไม่บิดง่าย วางก้อนแบตก็ได้ แต่ผมใช้วางตะกร้า ใส่ของจิปาถะได้ หยิบก็ง่าย.

 

-ข้อดีของรถพับคือ ขึ้น-ลง ง่ายกว่า รถโครงสร้างใหญ่แบบเสือหมอบ. อานรถ ก็พับเก็บง่าย ไม่เกะกะ โดยเฉพาะ เปิด-ปิด กล่องสัมภาระ ที่อยู่บนตะแกรงท้าย.

 

-ตะแกรงหน้า ผมสามารถติดตั้ง กล่องได้อีกใบ รับน้ำหนักได้มาก. ทำให้มีที่เก็บสัมภาระแบบดูเรียบร้อย.

 

รถพ่วง คันนี้ สามารถบรรทุกของหนัก ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ต้องใช้แรงมอเตอร์. ท่านใดไม่ใช้มอเตอร์ ไม่ควรใช้รถพ่วงเด็ดขาด เพราะจะปั่นไม่ไหว.

 

หากมีความกลัวว่า ถ้าไฟฟ้าเสียล่ะ จะปั่นยังไง?

 

เป็นคำถามยอดฮิต และคนจะกลัวกันมาก ทำให้ไม่กล้าจะใช้รถไฟฟ้า (ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่ารถปกติ) และยิ่งเป็นรถพ่วงด้วยแล้ว เลิกคิดไปได้เลย เพราะปั่นไม่ไหวแน่ ถ้าไฟฟ้าเสีย. ข้อนี้ โปรดอย่าเป็นกังวลเลย.

 

โลกทุกวันนี้ มีสิ่งที่ให้น่ากังวลมากมาย เรากลับวางเฉย ไม่กลัว. เช่น

 

-คุณขับรถยนต์ทุกวัน ไม่กลัวรถเสียระหว่างทางบ้างหรือ? (เสีย ก็โทร.เรียกรถลากสิ หรือซ่อมกับอู่ใกล้ๆ, รถสมัยนี้ เสียยาก ถ้าเสียก็ถือว่า ซวย)

 

-ขี่รถจักรยานไฟฟ้า ไม่กลัวรถไฟฟ้าเสียระหว่างทางบ้างหรือ? (เสีย ก็ส่งไปรษณีย์ไทยกลับบ้านสิ หรือ ซ่อมกับช่างใกล้ๆ, มอเตอร์ไฟฟ้าสมัยนี้ เสียยาก ถ้าเสียก็ถือว่า ซวย)

 

*สำคัญก็ตรงที่ ติดตั้งอุปกรณ์ ได้มาตรฐานหรือเปล่า เท่านั้นแหละ*
*ถ้าให้มั่นใจ ก็ซื้อรถไฟฟ้า ที่ประกอบจากโรงงานซะหมดเรื่อง*

 

ดูที่ผมทดสอบ รถพ่วงคันล่าสุด ที่นี่.
ทดสอบรถพ่วงและรถลาก
https://www.youtube.com/watch?v=BDErkF_i2G8

ทดสอบ ไฟเลี้ยว ของรถพ่วง
https://www.youtube.com/watch?v=3LnnuPaj74w

 

บทความยาวนะครับ. แต่อาจมีประโยชน์
ขอบคุณ สำหรับ อ่านจนจบ.

 

2 เมษายน 2565.

***

 

นานาสาระ - ทริป ท่องเที่ยว จักรยาน :
TIP - Touring Saving Thailand

# ประสบการณ์กางมุ้งนอน. สำหรับ นักเดินทางไกล ท่องเที่ยว ธุดงค์ หรือนักปฏิบัติธรรม.
# เต็นท์ 2 หลัง ที่เพื่อนให้มา กับการจัดแพ็คของ ใส่รถ Police TEXAS

# e-bike คันนี้ perfect. (แนะนำ สำหรับรถ Electronic bike touring 20 inch wheel)

 

 


สู่ดิน ชาวหินฟ้า
-นักวิชาการ สัมพัทธภาพ วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์ และ
-ศิลปิน วรรณกรรม

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]

thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net