igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]


:ความเข้าใจ เรื่องมิติ (dimension) สู่คำอธิบาย ความมีอยู่ของสรรพสิ่งในเอกภพ

มิติ (dimension) เป็นคุณลักษณะสมบัติ เกี่ยวกับ ขนาด ระยะ ขอบเขต ของวัตถุสารต่างๆ โดยทั่วไป มนุษย์รับรู้ ความมีอยู่ของมัน ได้สูงสุด ไม่เกิน 3 มิติ การอธิบายคุณสมบัติมิติของวัตถุ จึงใช้ฐานการรับรู้ ไม่เกินมิติที่ 3 สำหรับ บ่งบอกคุณสมบัติของวัตถุสาร ในโลกนี้ และในจักรวาล ซึ่งสามารถอธิบายได้ 5 สถานภาพ คือ

(1) มิติ ของ พื้นที่-พื้นผิว (area | place | surface)
(2) มิติ ของ รูปทรง (shape | outline | form)
(3) มิติ ของ วัตถุ-สสาร (matter)
(4) มิติ ของ เวลา (time) และ
(5) มิติ ของ เอกภพ (univers)

คุณลักษณะสมบ้ติของมิติ ทั้ง 5 สถานะ ต่างก็มี มิติที่ 0 เป็นจุดเริ่มแรก ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน (singularity) ในการก่อเกิดไปสู่มิติที่สูงขึ้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่อง มิติได้ง่ายขึ้น ขอสร้างจินตภาพของมิติ ลงใน สภาพว่างเปล่า (space) เสียก่อน เพื่อให้เห็นภาพในใจ ดังนี้
มิติที่ 0 คือ "ความนิ่ง" (ไม่ใช่ไม่มี แต่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว หรือไม่อาจเคลื่อนย้ายได้)
มิติที่ 1 คือ "แนวตรง 1 ทิศทาง" ไป-กลับ หรือ เดินหน้า-ถอยหลัง หรือข้างบน-ข้างล่าง หรือเฉียง ก็ใช่
มิติที่ 2 คือ "แนวตรง 2 ทิศทาง" เพิ่มจาก มิติที่ 1 ออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน
มิติที่ 3 คือ "แนวตรง 3 ทิศทาง" เพิ่มจาก มิติที่ 1 และ มิติที่ 2 ออกไปจากแนว มิติที่ 2 ในมุมที่มากกว่า 1 องศา และน้อยกว่า 180 องศา (ถ้าจะให้เห็นชัด คือ ค่าใกล้เคียง 90 องศา) และการยื่นออกไป เป็นไปทั้ง 2 ด้านที่อยู่ตรงข้าม

แต่อย่างไรก็ตาม มิติที่ 1 - มิติที่ 3 ดำรงอยู่ในสถานะต่างๆ ทั้ง 5 สถานะ ที่เหมือนกันและต่างกัน ดังนี้

1. มิติ ของ พื้นที่-พื้นผิว (area | place | surface)

โดยทั่วไป พื้นที่ หรือ พื้นผิว คนเราเข้าใจว่า หมายถึง ภาวะความเป็นแผ่นผืน ห่อหุ้มรูปทรง หรือวัตถุ อาจจะราบเรียบ หรือไม่ราบเรียบก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปทรง หรือวัตถุที่มันห่อหุ้มอยู่ มิติของพื้นผิว ไม่มีความหนา

มิติที่ 1 จุดที่สามารถเคลื่อนไปได้ 1 ทิศทาง ออกไปจากปลายทั้งสองด้าน เป็นแนวระนาบ อาจจะเป็นแนวระนาบตรงหรือไม่ก็ได้ เช่น เส้นตรง 1 เส้น การเคลื่อนที่ไป ของจุดดังกล่าว หากใช้อธิบาย ในขอบเขตพื้นที่ ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เอกภพ ที่ปลายทั้งสองด้าน จะไม่บรรจบกัน แต่อาจซ้อนทับกันหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความโค้ง และทิศทางการเคลื่อนที่ไปของเส้น ดุจเดียวกับ เส้นม้วนของหมี่ หรือฝอยเหล็กขัดหม้อ

มิติที่ 2 แนวระนาบของจุดที่เคลื่อนที่ไป ในทุกทิศทาง ของมิติที่ 1 เช่น แผ่นกระดาษ การขยายออกไปของระนาบ อาจเป็นแนวระนาบตรงหรือไม่ก็ได้ หากใช้อธิบาย ในขอบเขตพื้นที่ ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เอกภพ พื้นที่ที่แผ่ขยายออกไปนั้น อาจจะซ้อนทับกันหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความโค้ง และทิศทางของการแผ่ขยายของพื้นที่

มิติที่ 3 แนวระนาบที่บิดงอ ของ มิติที่ 2 ทำให้เกิด มิติที่ 3 ของพื้นที่-พื้นผิว เช่น พื้นผิวของผลส้ม พื้นผิวของตุ๊กตา ในมิติที่ 3 นี้ อาจมีมิติของที่ว่าง (space) ซ้อนทับอยู่ คุณลักษณะสมบัติ ของมิติที่ว่างที่ซ่อนอยู่นี้ จะเปลี่ยนไปตาม ขนาด ระยะ ของการบิดงอ

2. มิติ ของ รูปทรง (shape | outline | form)

มิติของรูปทรง อธิบายได้คล้ายกับ มิติของพื้นที่ แต่แตกต่างกันตรงที่ พื้นที่ที่แผ่ออกไปทุกทิศทางนั้น จะบรรจบกันจนมีพื้นผิว เชื่อมติดต่อกัน จนเป็นรูปทรงผืนเดียวกัน (เพื่อห่อหุ้มรูปทรง) อาจมีความราบเรียบ หรือบิดงอก็ได้ ขึ้นอยู่กับ วัตถุที่มันห่อหุ้มอยู่

มิติที่ 1 จุดที่สามารถเคลื่อนไปได้ 1 ทิศทาง ออกไปจากปลายทั้งสองด้าน เป็นแนวระนาบโค้ง จนปลายทั้งสองข้างบรรจบกัน เป็นเส้นรอบวง

มิติที่ 2 แนวระนาบที่มีความโค้ง ของจุดที่เคลื่อนที่ไป ในทุกทิศทาง ของมิติที่ 1 และความโค้งนั้น จะทำให้พื้นผิว ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ (layer) แต่ยังไม่เป็นผืนเดียวกัน เช่น พื้นผิวของม้วนกระดาษ มิติที่ 2 ของรูปทรง จึงมีพื้นที่งอกออกไปได้เรื่อยๆ (ถ้าใช้อธิบายกับเอกภพ พื้นที่ที่งอกออกไปนั้น จะมีค่าเป็นอนันต์ (infinity)

มิติที่ 3 แนวระนาบ ของ มิติที่ 2 ที่เชื่อมต่อเป็นพื้นที่เดียวกัน เช่น พื้นผิวของผลส้ม พื้นผิวของตุ๊กตา ในมิติที่ 3 ของรูปทรง จะมีมิติของที่ว่าง (space) ซ้อนทับอยู่เสมอ เพราะพื้นผิวมีความโค้ง

3. มิติ ของ วัตถุ-สสาร (matter)

โดยทั่วไป วัตถุ-สาร จะมีมวล แต่ถ้ามีขนาดเล็กมากๆ จะเรียกว่า อนุภาค อนุภาค อาจเป็นได้ทั้ง อนุภาค และ พลังงาน วัตถุ-สาร มาจากองค์ประกอบที่แน่นอน และองค์ประกอบพื้นฐาน ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

มิติที่ 1 มีหลายขนาด ได้แก่ โมเลกุล อะตอม อนุภาค ซึ่งเคลื่อนที่ตลอดเวลา ภายในของ อะตอม อนุภาค ยังประกอบด้วยอนุภาคส่วนย่อยอีกมากมาย มีนิวเคลียสเป็นแกนกลาง มีอิเล็กตรอนหมุนรอบ ภายในนิวเคลียส ยังกอบด้วย อนุภาคนิวตรอน โปรตอน การเคลื่อนที่ของอนุภาคเหล่านั้น ดูเหมือนจะไม่มีการเคลื่อนย้ายจุด แต่ความริงแล้ว เป็นการเคลื่อนย้าย ในระยะทางที่สั้นและเล็กมาก และเป็นการหมุนวนแกนกลาง (นิวเคลียส) ซึ่งลักษณะการหมุนวน จะอยู่ในลักษณะของการสั่นของเส้นเชือก (ตามทฤษฎีสตริง)

ดังนั้น มิติที่ 1 ของวัตถุสาร ยังมีมิติอื่นๆ ซ่อนอยู่ที่นักวิทยาศาสตร์ กำลังศึกษาอยู่

มิติที่ 2 ได้แก่ รัศมี และ เส้นผ่าศูนย์กลาง ที่วางตัวอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ระหว่าง จุดกึ่งกลางกับผิวของวัตถุ ซึ่งนับจำนวนตำแหน่งได้มากมาย สำหรับวัตถุ ที่มีรูปทรงอิสระ มิติที่ 2 ของวัตถุแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับรูปทรง ขนาด และสถานะทางฟิสิกค์ (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) ซึ่งการวัดค่า ของรัศมีและเส้นผ่าศูนย์กลาง ในเวลา และสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ไม่อาจจะได้ค่าที่คงที่ได้ โดยเฉพาะของเหลว กับ ก๊าซ

มิติที่ 3 เป็นลักษณะสมบัติ ที่สมบูรณ์ที่สุด ของวัตถุ สสาร ทุกชนิด เพราะสามารถวัดค่าได้ ทั้งน้ำหนัก ปริมาตร ระยะ ขนาด พื้นที่ และเป็นวัตถุสาร ที่คนเรารับรู้ได้โดยง่าย

4. มิติ ของ เวลา (time)

มิติของเวลา จะถูกนำไปใช้อธิบาย ร่วมกับ มิติในเอกภพ ซึ่งรวมเอาเวลา รวมเข้ากับ อวกาศ เรียกว่า กาล-อวกาศ (space-time) ซึ่งจัดอยู่ในมิติที่ 4 ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of General Relativity) ของ ไอน์สไตน์ (ค.ศ.1915) ซึ่งกล่าวไว้ว่า กาล-อวกาศ (space-time) มีความโค้งงอ กาล-อวกาศ จะโค้งงอตามอิทธิพลของ มวล พลังงาน และ โมเมนตัม

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (1) ใช้อธิบายการเคลื่อนที่ทุกรูปแบบ ของวัตถุทุกชนิดในเอภพ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งความเร็ว หักโค้ง หรือหมุนไปรอบๆ (2) แรงโน้มถ่วง เป็นสิ่งที่สสารทำให้เกิดขึ้น กับระยะทาง และเวลา (3) แรงเฉื่อยจะหักล้างกับแรงโน้มถ่วง (หากเราตกจากที่สูง แรงเฉื่อย จะไปชะลอการตกจากที่สูง โดยการหักล้างแรงโน้มถ่วง ทำให้เราไม่รู้สึกว่ามีแรงโน้มถ่วง) (4) แสง และ วัตถุ เคลื่อนที่ ตามรูปร่างของ กาล-อวกาศ (ถ้ากาล-อวกาศโค้ง แสงหรือวัตถุก็จะเคลื่อนที่โค้งตาม) (5) แรงโน้มถ่วง ทำให้เวลาช้าลง และทำให้ระยะทางโค้ง เพราะ ความเร่ง ทำให้แสงโค้งได้ฉันใด แรงโน้มถ่วง ก็ทำให้แสงโค้งได้ฉันนั้น เมื่อแรงโน้มถ่วงทำให้แสงโค้ง แสงจะเดินทางช้าลง เมื่อแสงเดินทางช้าลง เวลาก็ช้าลง (6) ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า คนเราเคลื่อนที่อย่างราบรื่น หรือ แม้แต่จะพิสูจน์ว่า เรากำลังเร่งอัตราเร็วอยู่หรือไม่ แต่คนเรามักจะคิดนึกเอาเอง จากสิ่งที่เห็น

แต่อย่างไรก็ตาม เวลา ก็มีมิติพื้นฐานของมัน คือ

มิติที่ 1 จุดกำเนิดของเวลา ในเส้นเวลา (timeline) บนโลก ไม่อาจกำหนดจุดเริ่มต้นของเส้นเวลาได้ หากแต่ถ้าคิดในมิติที่ใหญ่กว่านั้น จุดเริ่มต้นของเวลา ก็คือจุด ณ เวลาที่เกิดการระเบิดใหญ่ (Big bang) ของเอกภพ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นเวลา มาจนถึงปัจุจุบัน และไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า มันจะสิ้นสุดลงที่ใด

มิติที่ 2 คือการนับเวลา ที่มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ของเหตุการณ์ (event in timeline) เช่น จากอดีต สู่ ปัจจุบัน หรือ ปัจจุบัน สู่ อนาคต หรือ อดีต สู่ อนาคต นั่นคือการบอกเล่าเหตุการณ์ ผ่านเส้นเวลา แบบมิติที่ 2 แม้เส้นเวลาจะมีความโค้ง แต่จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด จะยังไม่บรรจบกัน แต่อาจซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ได้ (layer) ดังนั้น พาหะ ที่โลดแล่นไป บนเส้นเวลาดังกล่าว ไม่อาจจะสื่อสารกับ พาหะตัวอื่นได้ แม้จะมีชั้นของการซ้อนทับกัน

มิติที่ 3 คือ การย้อนเวลา ของเหตุการณ์ หรือการเดินทางข้ามเวลา (time travel) เพราะการเดินทางข้ามเวลาได้นั้น เส้นเวลา จะมีความโค้งเสมอ และ พาหะ จะผ่านไป ยังจุดใดจุดหนึ่ง ในเส้นเวลา ในทางฟิสิกส์ กระทำได้ 2 วิธี คือ โดยการเคลื่อนที่ ให้เร็วกว่าแสง (faster-than-light : FTL) และ การใช้รูหนอน (traversable wormhole)

5. มิติ ของ เอกภพ (univers)

จักรวาล หรือ เอกภพ (univers) เป็นวัตถุสารที่มีขนาด ระยะ พื้นที่ ที่ไม่อาจวัดค่าที่แน่นอนได้ สิ่งที่เล็กที่สุด มีอยู่ในเอกภาพนี้ และสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ก็อยู่ในเอกภพนี้เช่นกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ กำลังศึกษาค้นคว้า ถึงที่มา และที่สิ้นสุดของมัน รวมทั้ง สิ่งที่ซ่อนอยู่ (เรียกว่า สสารมืด หรือ dark matter) ในเอกภพนี้ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณมากมายมหาศาล มากกว่าวัตถุ-สาร ที่เรามองเห็นและพิสูจน์ได้

มิติของพื้นที่-พื้นผิว มิติของรูปทรง มิติของวัตถุ-สาร และ มิติของเวลา ทุกมิติเหล่านี้ เป็นมิติพื้นฐาน (มิติที่ 1, มิติที่ 2, มิติที่ 3) ของเอกภพนี้ทั้งสิ้น ดังที่อธิบายไปแล้วข้างต้น แต่มิติที่เหนือกว่านี้ จะใช้อธิบาย วัตถุ-สาร ในเอกภพ

ในมิติที่ 1 - มิติที่ 3 จะมีเรื่องของ แรง มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบว่า ในเอกภพนี้ ประกอบด้วย แรงพื้นฐาน 4 ชนิด เพื่อนำไปอธิบายประกอบ มิติของวัตถุ-สารต่างๆ คือ

(1) แรงโน้มถ่วง (gravity force) เป็นแรงที่ดึงดูดมวลสารและพลังงานเข้าด้วยกัน โดยมีพาหะของแรงซึ่งไม่มีมวล เรียกว่า แกรวิตอน (graviton) พาหะของแรง สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ระหว่างวัตถุสองชนิด ที่ดึงดูดกันและกัน

(2) แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic force) แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นแรงที่ยึด อิเล็กตรอนกับโปรตอน ไว้ด้วยกัน เป็นแรงที่กระทำต่อ อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าวัตถุที่มีประจุบวก กับประจุลบ ที่แตกต่างกันสูง ก็จะทำให้เกิดแรงมาก วัตถุที่มีประจุลบและบวก ในสัดส่วนที่ต่างกันน้อย ประจุไฟฟ้าทั้งสอง ก็จะหักล้างแรงกันเอง จะก่อให้เกิดแรงที่แผ่วเบา

(3) แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน (weak nuclear force) เป็นแรงที่ทำให้เกิด การสลายตัว ของสารกัมมันตรังสี

(4) แรงที่ยึด โปรตอน กับ นิวเคลียส ของอะตอม เข้าด้วยกัน ผ่านอนุภาคพาหะ ชื่อ กลูออน (gulon) เรียกว่า แรงนิวเคลียร์แบบแข็ง (strong nuclear force) เป็นแรงที่ยึดควาร์กในโปรตอนและนิวตรอน นับว่าเป็นแรงที่มีความแข็งแรงมากที่สุด

ดังนั้น ไม่ว่าวัตถุ จะมีสถานะอยู่ในมิติใดๆ ก็ตาม ย่อมมีแรงพื้นฐานทั้ง 4 เป็นองค์ประกอบ ให้สถานะดำรงอยู่ได้ตามธรรมชาติ

มิติที่ 4 เป็นมิติของเวลา ที่ผูกติดกับการเคลื่อนที่ของ มิติที่ 3 ของวัตถุสารทุกชนิดในเอกภพ โดยเฉพาะวัตถุขนาดใหญ่ ตั้งแต่ระดับ ดวงดาว สุริยะ กาแลกซี่ และวัตถุสารอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ในเอกภพ

มิติที่ 5 - มิติที่ 11 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า มีอยู่จริง แต่อยู่ระหว่างการศึกษา พิสูจน์การมีลักษณะสมบัติอย่างไร

อาจเป็นไปได้ว่า มิติของจิตวิญญาณ มีอยู่และซุกซ่อน อยู่ในเอกภพด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องรอการพิสูจน์ ในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่ในเชิงสัจธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ค้นพบมานานแล้ว และนำมาอธิบาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ของจิตวิญญาณ ในรูปแบบคำสอนในศาสนา ภายใต้หลักทฤษฎีพื้นฐาน ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ (Tilakkhana : The three characteristics) ส่วนในโลกของวิทยาศาสตร์ ก็กำลังจะรวมทฤษฎีของสรรพสิ่ง เพื่ออธิบายทุกสิ่งอย่างในเอกภพ เรียกว่า ทฤษฎีสตริง (String) ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการพิสูจน์

แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะที่เรียกว่า นิพพาน (Niravan) ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ในทางวิทยาศาสตร์ แต่ในทางจิตวิญญาณ ค้นพบมานานแล้ว เพียงแต่ว่าการเชื่อมต่อ ให้โลกวิทยาศาสตร์เข้าใจ และพิสูจน์ได้ ยังไม่สามารถทำได้ อาจเป็นเพราะ นิพพาน อยู่เหนือมิติทุกมิติในเอกภพนี้ก็ได้.

บันทึกไว้ เมื่อ 22 มีนาคม 2557

อ่านบทความเรื่องอื่น ที่ใกล้เคียง
:เหตุการณ์ในโลกของฟิสิกส์ กับ โลกแห่งจินตภาพ แตกต่างกันอย่างไร
:พฤติกรรมของมวลของสาร (behavior of mass's message in commumication process)
:ศาสตร์แห่งองค์รวม (6-Entanglement of Oneness)
:สังขารธรรม (formative phenomena)


สู่ดิน ชาวหินฟ้า
22 มีนาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]

 
   
  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net