igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียน นิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 

บทที่ 2
ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐาน ของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน

 

 

TOPIC

มวล–อนุภาค
(ฟิสิกส์ของอะตอม และ มวลของสุริยะ – ดาราจักร, มวล ในความหมายที่มนุษย์โลกรู้จัก,
จิตวิญญาณ ดำรงสถานะเช่นไร, แรงพื้นฐานของธรรมชาติ อยู่เบื้องหลังของปรากฎการณ์ต่างๆ ในเอกภพ,
คลื่น และ พฤติการณ์ของคลื่น, ข้อถกเถียง จากการค้นพบอนุภาคใหม่ ของศูนย์วิจัย CERN,
ความแตกต่างระหว่าง แรงด้านฟิสิกส์ กับแรงด้านจิตธาตุ, พฤติการณ์ของ อนุภาคอิเล็กตรอน โฟตอน จิตวิญญาณ
)

ข้อสรุปบางประการ และการสันนิษฐาน เกี่ยวกับ มวล–อนุภาค จิต

แรง-คลื่น
(สสารมืด (dark matter) พลังงานมืด (dark energy) และหลุมดำ (black hole), แรงพื้นฐานของธรรมชาติ อยู่เบื้องหลังของปรากฎการณ์ต่างๆ ในเอกภพ, คลื่น และ พฤติการณ์ของคลื่น, ข้อถกเถียง จากการค้นพบอนุภาคใหม่ ของศูนย์วิจัย CERN, ความแตกต่างระหว่าง แรงด้านฟิสิกส์ กับแรงด้านจิตธาตุ, พฤติการณ์ของ อนุภาคอิเล็กตรอน โฟตอน จิตวิญญาณ)

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับ แรง – คลื่น

อุณหภูมิ – พลังงาน
(กฎ / ระบบ / กระบวนการ ทางอุณหพลศาสตร์, ระบบและสภาพแวดล้อม ทางอุณหพลศาสตร์ ของเอกภพ ที่สามารถวัดได้)

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ ในวัตถุธาตุและจิตธาตุ

[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เอกภพ หรือจักรวาล คือที่รวมของสรรพสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ไร้ขอบเขต ไม่เคยสงบนิ่ง. เอกภพเป็นห้วงอวกาศ ที่เต็มไปด้วยดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หลุมดำ สสารพลังงาน รวมกันมากมายเป็นจำนวนอนันต์ ทั้งขนาดปริมาณ ปริมาตร และพลังงานที่สะสมอยู่. เอกภพ กำเนิดมาจากสารที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกัน ภายใต้แรงกดดันที่มีค่าเป็นอนันต์. จากนั้นเกิดการวิวัฒน์ ทั้งขนาด มวล พลังงาน ทั้งส่วนที่เป็นวัตถุธาตุและจิตธาตุ.

 

วิทยาศาสตร์ มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมา เฉพาะส่วนที่เป็นวัตถุธาตุเท่านั้น ในขณะที่ พุทธศาสน์ มุ่งศึกษาส่วนที่เป็นจิตธาตุเป็นส่วนมาก และศึกษา ส่วนที่เป็นธาตุสสาร เป็นส่วนน้อย.

 

พุทธศาสน์ มองว่าการก่อเกิดและการวิวัฒน์ของเอกภพทั้งมวล อยู่ภายใต้ระบบธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม . สรรพสิ่งที่อยู่ภายใต้สองระบบนี้ เรียกรวมกันว่า “ธัมมะธาตุ”. ในหนังสือเล่มนี้ ได้จำแนกธัมมะธาตุ ตามลักษณะ คุณสมบัติ และอาการ ออกเป็น หรือ 7 ลักษณะอาการ หรือ 7 ธัมมะธาตุ (สัตตะธัมมะธาตุ) ดังที่จะกล่าวโดยละเอียดต่อไป.

 

นักวิทยาศาสตร์ จำแนกวัตถุธาตุต่างๆ ในเอกภพ ออกเป็น 2 ประเภท เพื่อทำการศึกษา คือ ธรรมชาติ บริสุทธิ์ หรือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ ธรรมชาติที่ถูกประยุกต์ หรือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์. ในขณะที่ ตถาคต แบ่งธรรมชาติ ทั้งที่เป็นวัตถุธาตุและจิตธาตุ ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ สังขตลักษณะ (สังขตธรรม) และ อสังขตลักษณะ (อสังขตธรรม). สังขตลักษณะ เป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง ภายใต้หลักการที่ว่า เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย (เหตุ) สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (ผล). มีการเกิด มีการเสื่อม และมีความไม่เที่ยงแท้ตลอดเวลา. อสังขตลักษณะ เป็นธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะของ ‘สิ่งสิ่งหนึ่ง' ที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง ในการเกิด, สิ่งสิ่งนั้น มีอยู่ แต่ไม่ปรากฎการเสื่อม ไม่ปรากฎการแปรปรวน.

 

วัตถุธาตุ ที่จัดอยู่ในสังขตะลักษณะ เรียกว่า ภูตรูป หรือ มหาภูตรูป, ส่วนที่เป็นจิตธาตุ เรียกว่า อุปาทายรูป [01]. ภูตรูป ได้แก่ ปฐวีธาตุ (ดิน) อาโปธาตุ (น้ำ) เตโชธาตุ (ไฟ-อุณหภูมิ) วาโยธาตุ (ลม อากาศ) และ อากาสธาตุ (อวกาศ สุญญากาศ) ซึ่งก็คือสสาร พลังงาน ขนาดต่างๆ ตั้งแต่ อะตอม โมเลกุล วัตถุ สิ่งมีชีวิต ไปจนกระทั่ง ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร และวัตถุต่างๆ ในห้วงอวกาศ. อุปาทายรูป ก็คือ วิญญาณธาตุ หรือ จิตธาตุ ทั้งหมด. เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อินทรีย์ นิวรณ์ สังโยชน์ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ฯลฯ.

 


[01] ตถาคต ตรัสเกี่ยวกับเรื่องรูป “รูปชนิดใดก็ตาม ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า รูป คือ มหาภูตรูปมี 4 และ อุปาทายรูป คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่” ไว้เพียงเท่านี้ รูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่ หมายถึง จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง. ดู ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3. [ซอฟต์แวร์].  E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 110, 359 และ หน้า 1, 453.

 

 

 

สรรพสิ่ง อุบัติขึ้นภายใต้หลักแห่งสังขตธรรม จะมีคุณลักษณะและอาการพื้นฐาน ทางธรรมชาติ ร่วมกัน 3 ประการ เรียกว่า สังขตลักษณะ คือ (1) มีการเกิดปรากฎ (2) มีความเสื่อมปรากฎ คือมีความไม่เที่ยงแท้ (อนิจจตา) และ (3) เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสิ่งอื่นปรากฎ หรือมีความแปรปรวน ไม่สามารถทนสภาพเดิมได้ (ทุกขตา) และไม่มีตัวตนที่แท้จริง (อนัตตตา). การเกิด การเสื่อม และการดับสลาย ของสรรพสิ่งดังกล่าว ย่อมมีปัจจัยอื่นเป็นต้นเหตุเสมอ. ปรากฎการณ์ของสังขตลักษณะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่นนั้นเป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), เป็นกฎตายตัวเช่นนั้นเป็นธรรมดา (ธัมมนิยามตา), เป็นสิ่งที่เคยเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นนั่นเอง (ตถตา), เป็นสิ่งที่ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น (อวิตถตา), เป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปโดยประการอื่น (อนัญญถตา), และเป็นธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) คือ 'เมื่อมีสิ่งนี้ เป็นปัจจัยแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.' (บาลี - อง. ติก. 20/576/368., นิทาน. สํ. 16/30-61.)

 

ลักษณะ–สมบัติ 7 ประการ ต่อไปนี้ จะชี้วัดว่า สรรพสิ่งในเอกภพทั้งหมด คือ ธัมมะธาตุ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “ต้นธาตุ ต้นธรรม” อันเป็นหลักการที่พื้นฐานที่สุด ของความจริง. ลักษณะ–สมบัติ 7 ประการ จะอธิบายการเกิด การดำรงอยู่ การเสื่อมสลาย ตลอดจนปรากฎการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งสิ้น.

 

(1) มวล – อนุภาค (mass–particles)

(2) แรง – คลื่น (force–wave)

(3) อุณหภูมิ – พลังงาน (temperature–energy)

(4) มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง (dimension and spacetime–form)

(5) วัฎจักร – อนันต์ (cycle–infinity)

(6) นามรูป – วิญญาณ – สังขาร (mind and matter–conciousness–corporeality)

(7) วิมุตติ – นิพพาน (integrity liberation | Nibana)

 

 

การจัดโครงสร้างหมวดหมู่ของสรรพสิ่ง ให้สอดคล้องกับ ลักษณะ–สมบัติ ของธัมมะธาตุ ทั้ง 7 ข้อ ต่อไปนี้ ผู้เขียนได้นำไปวางไว้ในลำดับของ สังขารธรรม ที่ได้แยกเป็นอีกหมวดหมู่หนึ่ง เพื่อประกอบการอธิบายในหนังสือเล่มนี้. สังขารธรรม (Formative phenomena) [02] คือการจัดกลุ่มวรรณะของสรรพสิ่ง จากวรรณะล่างสู่วรรณะบน แบ่งออกเป็น 6 วรรณะ หรือ 6 ระดับชั้น คือ

 


[02] สังขารธรรม ทั้ง 6 วรรณะ มาจากสิ่งที่ตถาคตเรียกว่า สัตว์ (สัตตา). สัตว์ มีลักษณะและคุณสมบัติ (อัตตาเฉพาะอย่าง) 3 ชนิด คือ (1) พวกมีกายชนิดหยาบ จะได้ร่างกายที่มีรูป ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งต้องบริโภคอาหาร (กวฬิงการาหาร) (2) พวกมีกายชนิดสำเร็จด้วยใจ จะได้ร่างกายที่มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง (3) พวกชนิดไม่มีรูป คือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา (ความจำได้ หมายรู้). กายชนิดแรก ตรงกับ สังขารธรรม ระดับพืช สัตว์ รวมมนุษย์ด้วย พวกมีกายชนิดที่สองและสาม ก็คือสังขารธรรม ระดับเทพ และธัมมะ – อสังขตะ. ดู อริยสัจจากพระโอษฐ์ 1. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 65-66.

 

(1) วัตถุธาตุ (matter | element) ได้แก่ สสารและพลังงานทุกชนิดทุกขนาด ตั้งแต่ อนุภาค อะตอม ธาตุ โมเลกุล เซลล์ วัตถุ ไปจนถึง สุริยะ ดาราจักร และวัตถุทุกชนิดในห้วงอวกาศ. สังขารธรรมระดับนี้ จะมี ลักษณะ–สมบัติ ของธัมมะธาตุ ข้อ 1 – 5 และบางส่วนของ ข้อ 6.

 

(2) พีชะ (plantea) ได้แก่ วัตถุที่มีรูปแบบชีวิตที่จำกัด เช่น พืชทุกชนิด ปรสิตต่างๆ และวัตถุที่มีรูปแบบชีวิตอื่นอาศัยอยู่ เช่น พืชที่มีเทวดาอาศัยอยู่ (คนธรรพ์). พีชะ เป็นสังขารธรรม มีลักษณะ–สมบัติของธัมมะธาตุ เช่นเดียวกับวัตถุธาตุ.

 

(3) สัตว์ (animality | beast) ได้แก่ สัตว์เดรัจฉาน สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในนิยามของนักวิทยาศาสตร์ และตามคำนิยามของศาสดาในศาสนาต่างๆ. ได้แก่ สัตว์ที่ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ และหรือโลกในระบบสุริยะอื่น ในห้วงเวลาต่างๆ กัน. สัตว์กึ่งมนุษย์ สัตว์ที่เกิดในภพภูมิอบาย (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย) สัตว์ที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง (โอปปาติกะสัตว์) สัตว์กึ่งเทวดา หรือ สัตว์สวรรค์ เช่น ครุฑ ยักษ์ อสูร วลาหก [03]. สังขารธรรม ที่อยู่ในวรรณะนี้ จะมีลักษณะ–สมบัติ ของธัมมะธาตุ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 5 และข้อ 6 บางส่วน.

 


[03] สัตว์สวรรค์ จัดเป็นเทวดาฝ่ายเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ครุฑ ยักษ์ วลาหก กุมภาพันธ์ อสูร. คนธรรพ์ เป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทวดา กึ่งมนุษย์ (อสูร กับ ยักษ์ จัดอยู่ในกลุ่ม มาร หรือ เทวดาเลว). นาค เป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งสัตว์ กึ่งมนุษย์.

 

(4) มนุษย์ (human being) ได้แก่ มนุษย์ในโลกนี้ ทุกเผ่าพันธุ์ หรือมนุษย์โลก ในระบบสุริยะอื่น. มีลักษณะ–สมบัติของธัมมะธาตุ ตั้งแต่ ข้อ 1 ถึงข้อ 6 ประกอบด้วย ร่างกายและจิตใจ (ขันธ์-5) ดำรงชีวิตโดยอาศัยพืชและสัตว์ เป็นอาหาร และเป็นที่อาศัย. มนุษย์ เป็นสังขารธรรม ที่มีความพิเศษ สามารถเปลี่ยนสถานะ เป็นวรรณะอื่นได้ (มนุษย์ – สัตว์ – เทพ) หลังรอบการตาย เมื่อได้ชีวิตในรอบใหม่. เปรตวิสัย จัดเป็นสัตว์นรกกึ่งมนุษย์. พระพุทธเจ้า แบ่งวรรณะของมนุษย์ ตามภูมิของจิตวิญญาณไว้เป็นสองพวก คือ พวกปุถุชน กับ พวกอริยบุคคล, ปุถุชน ดำรงชีวิตสูงกว่าสัตว์ และสูงกว่าเปรต แต่ต่ำกว่าอริยบุคคล. พวกอริยบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และ อรหันต์. มนุษย์ระดับอริยบุคคลเท่านั้น ที่สามารถเลื่อนระดับ ลักษณะ–สมบัติ ของธัมมะธาตุเป็น วิมุตติ–นิพพาน ได้.

 

(5) เทพ (God | super human) เป็นมนุษย์อีกพวกหนึ่ง แต่ไม่ต้องอาศัยร่างกายแบบมนุษย์โลก แต่สามารถมีร่างกายพิเศษ (สำเร็จด้วยใจ). มีถิ่นที่อยู่อาศัยในภพภูมิชั้นกามภพ รูปภพ อรูปภพ ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีกมากมาย ได้แก่ เทวดา และ พรหม. เทพ มีองค์ประกอบเพียง 4 ขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ). สังขารธรรมวรรณะนี้ เป็นผู้มีลักษณะ – สมบัติของธัมมะธาตุ ตั้งแต่ ข้อ 5 (วัฏจักร-อนันต์) ข้อ 6 (นามรูป–วิญญาณ–สังขาร) และ สามารถพัฒนาให้สูงขึ้น ถึงระดับ วิมุตติ–นิพพาน ได้เช่นเดียวกับมนุษย์.

 

(6) ธัมมะ–อสังขตะ (the unconditioned to appear) ได้แก่ มนุษย์ หรือเทวดา ผู้ได้ลักษณะ–สมบัติ วิมุตติ–นิพพาน ครบถ้วน บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์. เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ยังคงดำรงสถานะ ลักษณะ–สมบัติ ของธัมมะธาตุ ครบทุกข้อ. ดังนั้น ธัมมะ–อสังขตะ จึงเป็นสังขารธรรมที่มีวรรณะสูงสุด มีความสมบูรณ์ที่สุด และเป็นอมตะ ไม่เกิด ไม่เสื่อม ไม่ตาย. มีเพียงมนุษย์โลก และ เทพ เท่านั้น ที่สามารถเปลี่ยนสถานะตนเองไปสู่ ธัมมะ–อสังขตะ ได้.

 

ภาพที่ 2.01 สัตตะธัมมะธาตุ (ธัมมะธาตุ 7) ปรากฎการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง : สังขตธรรม – ความจริงสมมุติ อสังขตธรรม – ความจริงปรมัตถ์.

 

ตารางที่ 2.01 ความสัมพันธ์ระหว่าง ธัมมะธาตุ กับ ลักษณะ–สมบัติ 7 ประการ

 

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

2.1
มวล
–อนุภาค (mass–particles)

 

มวล อนุภาค จัดเป็นสมบัติพื้นฐานของ สสาร และสารทุกชนิดในเอกภพ. ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจ พื้นฐานของสสารกันก่อน. สสาร (matter) หมายถึงสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัส เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายใน สสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร (substance). สาร ก็คือ สสารที่นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบและกำหนดคุณสมบัติ. นอกจากนี้ ยังมีสารที่มีสถานะภาวะของไหล สสารสมมาตร สสารยิ่งยวด สถานะควอนตัม สถานะนิวโตรเนียม (neutronium) หรือแม้กระทั่ง สถานะสสารประหลาด ซึ่งไม่รู้ว่าจะจัดให้มันอยู่ในกลุ่มใด ก็เรียกสถานะนี้ไปก่อน. สถานะเหล่านี้ของสาร มักไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงไม่ค่อยถูกเอ่ยชื่อบ่อยนัก.

ภายใต้ กฎของอุณหพลศาสตร์ สสารมีทั้งหมด 5 สถานะ [04]. คือ

 

 

(1) พลาสมา (plasma) เกิดขึ้นในภาวะอุณหภูมิร้อนจัด จนกระทั่งเกิดการฉีกกระชากอะตอม กลายเป็นหน่วยย่อยที่เล็กกว่าอะตอม.

(2) ก๊าซ (gas) ภาวะที่อะตอมของสสาร อยู่กระจัดกระจายกัน ไม่จัดเรียงเป็นรูปแบบที่ชัดเจน.

(3) ของเหลว (liquid) ภายใต้อุณหภูมิที่ลดลงระดับหนึ่งทำให้อะตอมอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นระเบียบมากนัก.

(4) ของแข็ง (solid) ภาวะที่อะตอมของสสาร อยู่อัดแน่น และมีรูปแบบตายตัว.

(5) สารเยือกแข็ง โบส–ไอน์สไตน์ (Bose–Einstein) [05].

 

สารเยือกแข็ง โบส–ไอน์สไตน์ มีภาวะตรงข้ามกับ พลาสมา. เกิดจากความเย็นยิ่งยวดใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ ทำให้อะตอมนับล้านตัว เกาะกลุ่มอัดตัวกันแน่น ในสถานะพลังงานต่ำ จนกลายเป็นสสารเดียวที่สังเกตได้ เรียกว่า ซูปเปอร์อะตอม.นักวิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่ม สสารประหลาด (strange matter).

 


[04]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 96. June 2019, หน้า 35.


[05]
สารเยือกแข็ง โบส-ไอน์สไตน์ (Bose-Einstein condensate : BEC) มาจากคำทำนายของ ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และ สัตเยนทระ นาถ โบส (Satyendra Nath Bose). เขาได้ทำนายไว้ใน ค.ศ.1925 ว่าสารเยือกแข็งชนิดนี้ มีอยู่จริง. จนกระทั่ง มีผู้ค้นพบสารเย็นยิ่งยวดนี้ได้ คือ โวล์ฟกัง เคทเทิร์ล (Wolfgang Ketterle) แห่งสถาบัน M.I.T. โดยเขาได้สร้างภาวะ ที่มีอุณหภูมิต่าที่สุดในโลกได้แล้ว คือ 4.5 x 10 -10(ยกกำลัง -10) องศา C เหนือ 0 kelvin เมื่อปี ค.ศ. 2003. และกลุ่มวิจัยของ เลเน เวสเตอร์การ์ด ฮาว (Lene Vestergaard Hau) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด (Harvard) ก็ได้ค้นพบ สารชนิดนี้ เช่นเดียวกัน. ฮาว ยังค้นพบอีกว่า แสงเลเซอร์ จะวิ่งช้าลงเมื่อถูกยิงเข้าใส่ BEC และหยุดลง. นอกจากนี้ กลุ่มของนักฟิสิกส์ชาวฟินแลนด์, จูฮา ทูโอริเนียมี (Juha Tuoriniemi) ก็สามารถลดอุณหภูมิของอะตอมโรเดียม (rhodium) ได้ถึง 1.0 x 10 -10(ยกกำลัง -10) องศา C เหนือ 0 kelvin โดยใช้สนามแม่เหล็ก. ดู Tom Shactman. (2008). “The Coldest Place in the Universe.” วารสาร Smithsonian, January 2008. [online]. https://www.smithsonianmag.com /science-nature/the-coldest-place-in-the-universe-8121922/

 

 

ธาตุ (element) เป็นสารบริสุทธิ์ ที่ประกอบด้วย อะตอม เพียงชนิดเดียว เช่น คาร์บอน (C) กำมะถัน (S8(subscript 8)) เป็นต้น. ถ้าหากมีธาตุ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมกัน โดยมีอัตราส่วนคงที่แน่นอน เรียกว่า สารประกอบ (compound substance). แต่ถ้านำสาร ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาผสมกัน โดยไม่จำกัดส่วนผสม หรือ มีส่วนผสมไม่แน่นอน และการผสมกันนั้น ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้น จากการผสมกันนั้น ก็เรียกว่า ของผสม (mixture). ของผสม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สารละลาย (solution substance) สารแขวนลอย (suspension substance) และ คอลลอยด์ (colloid). สสาร เปลี่ยนแปลงสถานะได้ คือ การระเหย การระเหิด การควบแข็ง การควบแน่น การแข็งตัว การเยือกแข็ง และการหลอมเหลว หรือการละลาย. ทั้งหมดนี้ คือ ข้อสรุปในการนิยามคำว่า สสาร และสถานะสสาร.

 

การค้นหาความจริง เกี่ยวกับมวล ของ วัตถุธาตุ–สสาร ที่มีขนาดเล็ก ระดับอะตอม และ ที่มีขนาดใหญ่ ระดับสุริยะ ดาราจักร เป็นเรื่องยาก เพราะอยู่เหนือการรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์. นักวิทยาศาสตร์ จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้ากัน ในสถานที่ทดลอง ภายใต้วิธี และกฎเกณฑ์ทางด้านฟิสิกส์ เช่น กฎฟิสิกส์แบบนิวโทเนียน (Newtonian laws of physics), หลักสัมพัทธภาพ (principle of relativity) หลักความสัมบูรณ์ ของความเร็วแสง (principle of absoluteness of the speed of light) กฎแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ (Maxwell's laws of electromagnetism) หลักสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) หลักสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity) กลศาสตร์ควอนตัมแบบใหม่ (new quantum mechanics).

 

แม้นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จะคิดค้นประดิษฐ์ กฎเกณฑ์ฟิสิกส์ขึ้นมามากมายเพียงใด แต่การศึกษา ค้นคว้าทดลอง ก็ประสบปัญหาอยู่ดี. เมื่อการศึกษา ลงลึกไปถึงสิ่งที่เล็กละเอียด ระดับอนุภาค เช่น แสง ซึ่งประพฤติตัวเป็นได้ ทั้งอนุภาคและคลื่น ในเวลาเดียวกัน และอนุภาคบางตัว อยู่ในสถานที่สองแห่งได้ ในเวลาเดียวกัน. นักวิทยาศาสตร์ จึงสร้างกฎเกณฑ์มารองรับ ความแปลกประหลาดเหล่านี้ เช่น หลักของความไม่แน่นอน (uncertainty principle) หลักการกีดกันของเพาลี เป็นต้น. มีข้อจำกัดเกิดขึ้นมากมาย ในการวัด พื้นที่ ความยาว และเวลา ของวัตถุขนาดเล็กกว่าอะตอม และใหญ่ระดับเอกภพ อันเกิดจาก การวิปริตของอิเล็กตรอน (electron degeneracy) ปัญหาการบิดงอของอวกาศ ที่ส่งผลกระทบต่อ เส้นลวดจักรวาล (cosmic string) ซึ่งเป็นเส้นลวดสมมุติ ขนาด 1 มิติ เป็นต้น. เนื่องจากขนาดของวัตถุที่ศึกษา เล็กและใหญ่เกินไป ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานมากมาย ทั้งที่เป็นข้อยุติแล้ว และยังไม่ยุติ เกี่ยวกับสถานะ การอุบัติ และอายุขัยของมัน รวมทั้งกฎของฟิสิกส์ที่ควบคุมมัน.

ก่อนหน้า ปี ค.ศ.1900 วิทยาศาสตร์ ยังอยู่ภายใต้คำอธิบาย ในกรอบอ้างอิงระดับโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ทฤษฎีนิวโทเนียน (หลักกลศาสตร์ของนิวตัน) และทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ของ แมกซ็ เวลล์. นับเป็นฟิสิกส์ยุคเก่า ที่มุ่งอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ของวัตถุบนโลกมนุษย์ ที่มีขนาดใหญ่สังเกตได้ และเคลื่อนที่ช้า เช่น ความร้อน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสั่น การถ่ายเทพลังงาน. แต่เมื่อเวลาผ่านไป การศึกษาพฤติการณ์ ของวัตถุขนาดเล็ก ระดับอะตอม และวัตถุขนาดใหญ่ ระดับดาวฤกษ์ หลุมดำ ก็เกิดปัญหามากมายตามมา. เพราะทฤษฎีดั้งเดิมไม่สามารถอธิบายได้. จำเป็นต้องคิดค้น ทฤษฎีใหม่ๆ มาใช้อธิบาย ทำให้ข้อสันนิษฐานต่างๆ ได้รับความกระจ่างมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นการก้าวเข้าสู่ ยุคใหม่ของฟิสิกส์.

 

ฟิสิกส์ยุคใหม่ มุ่งเน้นอธิบายพฤติกรรม ของอนุภาคสสาร เช่น นิวตริโน โฟตอน และอนุภาคสื่อแรงชนิดต่างๆ เช่น อนุภาคความโน้มถ่วง อนุภาคโบซอน เป็นต้น. การแปรเปลี่ยน ของ มวล พลังงาน เวลา และความเร็วแสง ในกาลอวกาศ (spacetime) ที่มีมากกว่า 3 มิติ จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) และ หลักสัมพัธภาพ (principle of relativity) ของไอน์สไตน์ มาอธิบาย. สสาร ที่มีอัตราเร่ง ที่มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง มวล จะเปลี่ยนเป็น พลังงาน (E = m c2 (ยกกำลัง 2) โดย E คือ พลังงาน, m คือ มวลของวัตถุ และ c คือ อัตราความเร็วแสง, อัตราความเร็วของแสง ในสุญญากาศ มีค่าเท่ากับ 3 x 10 8(ยกกำลัง 8) เมตร ต่อวินาที หรือ 299,792,458 เมตร ต่อวินาที หรือราว 1.079 พันล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง).[06]

 


[06]
อัตราเร็วของแสง มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ว่าผู้สังเกต จะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสง ที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ. การวัดอัตราเร็วของแสง ในสุญญากาศ เป็นแค่ “นิยาม” ไม่ใช่ การวัดจริงๆ. คำว่า “เมตร” (ของแสง) หมายถึง ระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศ ในเวลา 1/299,792,458 วินาที = “วินาทีแสง” คือ แสงเดินทางได้ 299,792,458 เมตร ใน 1 วินาที. การนิยามค่านี้ ถูกนำไปใช้ในสัดส่วน เดือนแสง และ ปีแสง ของระยะทางในระบบสุริยะ ดาราจักร และ เอกภพ.

 

ภาพที่ 2.02 ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ที่เกิดใหม่ ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - October No. 76/2017)

 

 

ภาพที่ 2.03 เปรียบเทียบสัดส่วน ขนาด และมวล ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - February No. 92/2019)

 

 

2.1.1
ฟิสิกส์ของอะตอม และ มวลของสุริยะ
– ดาราจักร

 

มวล – อนุภาค เป็นคุณสมบัติ วัตถุธาต –สสาร ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนกระทั่งดับสลายไป หรือเปลี่ยนสถานะไป. วัตถุธาตุทุกชนิดทุกประเภท ในเอกภพ ประกอบขึ้นจากอนุภาคขนาดเล็ก เรียกว่า อะตอม (atom). อะตอม เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของสสารทุกชนิด ที่ประกอบขึ้นเป็นวัตถุมีรูปร่าง. แบบจำลองของอะตอม มีความซับซ้อน เนื่องจากมีขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องอาศัย การอนุมานโครงสร้าง ให้ใกล้เคียงความจริงที่สุด. โดยอาศัยทฤษฎีควอนตัม มาอธิบาย เช่น การเกิดขึ้น ของสเปคตรัมของแสง ที่เปล่งออกมาจาก อะตอม และการแผ่รังสีต่างๆ การดูดกลืน และการปลดปล่อยพลังงานของอนุภาคของแสง ที่เรียกว่า โฟตอน (photon) ออกจากอะตอม. โฟตอน ก็คือ รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบอื่น เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา. โฟตอน นับเป็นอนุภาค ที่มีความแปลกพิสดาร เพราะมีคุณสมบัติคู่ ของการเป็นอนุภาคก็ได้ คลื่นก็ได้ และ จะมีความสัมพันธ์ กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเสมอ.

 

โครงสร้างพื้นฐานของอะตอม ประกอบด้วย อนุภาคมูลฐาน (elementary particle) ที่มีขนาดเล็กลงไปอีก เรียกว่า นิวตรอน โปรตรอน และ อิเล็กตรอน. อนุภาคมูลฐานเหล่านี้ ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จะผลักซึ่งกันและกัน และที่ทำให้นิวตรอนและโปรตรอน ของแต่ละอะตอม เกาะกลุ่มรวมกันเป็น องค์ประกอบของ นิวเคลียส (nucleus – แกนของอะตอม ที่มีความหนาแน่นสูง) เพราะมันถูกตรึงไว้ด้วย แรงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นแรงขนาดเข้มข้นสูงมาก. โปรตรอน มีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอน มีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง และเมฆอิเล็กตรอน ที่หุ้มอยู่โดยรอบ มีประจุไฟฟ้าลบ. แรงไฟฟ้า ทำหน้าที่ตรึงเมฆอิเล็กตรอน ให้โคจรรอบนิวเคลียส ด้วยระยะห่างที่แคบมากๆ (ขนาดของ อะตอม เท่ากับ 10 -10(ยกกำลัง -10) เมตร ) [07].

 

อะตอมของธาตุแต่ละชนิด จะมีจำนวนอนุภาคมูลฐาน ไม่เท่ากัน เช่น ธาตุออกซิเจน (O) มีจำนวนโปรตอน 8 อนุภาค, ออกซิเจน -2 อนุภาค (อิเล็กตรอน มากกว่า โปรตอน 2 อนุภาค), อิเล็กตรอน 8 + 2 = 10 อนุภาค และ นิวตรอน = 16 - 8 = 8 อนุภาค. การดำรงอยู่ของอะตอม มันไม่ได้อยู่นิ่งๆ แต่จะมีแรงธรรมชาติอื่นๆ (แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม) มากระทำต่อมัน ตลอดเวลา.

 


[07] มวลของโปรตอน (mp(supscript p)) มีค่าเท่ากับ 1.0073 u มวลของนิวตรอน (mn(supscript n)) มีค่าเท่ากับ 1.0087 u โดยที่ 1 u มีค่าเท่ากับ 1.6605 x 10 -27(ยกกำลัง -27) กิโลกรัม และ มวลของอิเล็กตรอน (me(supscript e)) มีค่าเท่ากับ 9.1 x 10 -31(ยกกำลัง -31) กิโลกรัม ซึ่งเบากว่า มวลของโปรตรอน และ นิวตรอน รวมกันถึง 1,800 เท่า.

 

ภาพที่ 2.04 วิวัฒนาการของความเข้าใจ โครงสร้างภายในอะตอม (Atomic models)
(ภาพจาก : https://chemiis.files.wordpress.com /2016/06/16/inorganic-atomic-model/ - 16 June 2016)

 

โครงสร้างภายในของอะตอม [08]

 

เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ (Ervin Schrodinger: 1887 - 1961 A.D.) ค้นพบว่า อะตอม ประกอบ ด้วยอิเล็กตรอน ที่มีความเล็กละเอียดมาก รวมอยู่กันเป็นกลุ่ม เมฆอิเล็กตรอน ห่อหุ้ม นิวเคลียส ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของอะตอม. เมฆอิเล็กตรอน มีขนาดประมาณ 10 -8(ยกกำลัง -8) เซนติเมตร (ประมาณ 1 ในล้าน ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์) นิวเคลียส มีขนาด 10 -13(ยกกำลัง -13) เซนติเมตร คือ เล็กกว่าเมฆอิเล็กตรอนรวมกัน 100,000 เท่า และมีมวลมากกว่า หลายพันเท่าของเมฆอิเล็กตรอน. ซึ่งพอจะเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าเมฆอิเล็กตรอนทั้งก้อน เท่ากับดาวโลก นิวเคลียสจะมีขนาดประมาณ หนึ่งสนามฟุตบอล. อิเล็กตรอนแต่ละตัว จะมีประจุไฟฟ้าลบ และถูกตรึงไว้ ในเมฆของมัน ด้วยแรงดึงดูด จากประจุไฟฟ้าบวกของนิวเคลียส. แต่แรงดึงดูดนี้ ไม่ทำให้มันตกลงไป ในนิวเคลียส เพราะมีแรงอีกชนิดหนึ่งต้านไว้.

แรงชนิดนี้เกิดจาก ตัวอิเล็กตรอนเอง ที่อยู่อย่างเบียดเสียดกัน ทำให้เกิดความโกลาหล ดิ้นรน (สั่น) และเกิดความร้อน. การดิ้นรน หรือการสั่น สร้างแรงชนิดหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า ความดันสภาพซ้อนสถานะ หรือ ความต้านทานต่อความกด รวมกับ ความร้อนที่เกิดจากการสั่น ทำให้เกิด การต่อต้านแรงดึงดูดอันทรงพลัง ของนิวเคลียส. อุปมาเหมือนสังคมสัตว์ ที่ผู้นำฝูงพยายามควบคุม ให้สมาชิกอยู่รวมกันได้เป็นหมู่ แต่สมาชิก เมื่ออยู่รวมกันมากๆ ย่อมเกิดการขัดแยังอึดอัด ต้องการออกไปจากฝูง. แต่ความกลัวภัยอันตราย จากภายนอกและการอดอาหาร ก่อให้เกิดแรงโน้มน้าวใจ ให้จำเป็นต้องอยู่รวมในฝูงต่อไป. แต่ถ้าไม่มีผู้นำฝูง สัตว์หมู่นั้นก็จะสลายตัวไป, ธรรมชาติจะรักษาสถานะของหมู่ด้วยการ เลือกผู้นำฝูงขึ้นมาแทนที่. ดุจเดียวกับนิวเคลียสที่จะไม่มีวันสลายไป นอกจากจะนำมันเข้าสู่ กระบวนการ ทำลายโครงสร้างอะตอม ด้วยสูตร E = M c2(ยกกำลัง 2).

 


[08] อธิบายโดย คีพ ธอร์น ดู ธอร์น, คีพ เอส. (รศ.ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง แปล). (2554). ประวัติย่อของหลุมดำ Black Holes & Time Warps. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มติชน. หน้า 185.

 

ภาพที่ 2.05 ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ แสดงให้เห็น อะตอม แต่ละตัว (ภาพจาก วิกิพีเดีย: Atomic resolution Au100.JPG - 28 January 2008)

 

 

ในปี ค.ศ. 1911 เออร์เนสต์ รัทเธอฟอร์ด (Ernest Rutherford : 1871 – 1937 A.D.) ค้นพบว่า โครงสร้างภายในของอะตอม ประกอบด้วย นิวเคลียสประจุบวก ที่มีขนาดเล็กมากๆ ล้อมรอบ ด้วยอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่ง ที่โคจรไปรอบๆ. ปรากฎต่อมาว่า สิ่งที่รัทเธอฟอร์ดพูดไว้เกี่ยวกับนิวเคลียส และอะตอม นั้นเป็นจริง. เมื่อปี ค.ศ.1974, 1977, 1995 นักฟิสิกส์ยังพบความจริงเพิ่มเติมอีกว่า โปรตอนและนิวตรอน ไม่ได้เป็นอนุภาค “มูลฐาน” แต่ยังมีอนุภาคที่เล็กกว่า และตั้งชื่อให้มันว่า ควาร์ก (quark). ควาร์ก มีอยู่ 6 กลุ่ม หรือ 6 เฟลเวอร์ (flavor) คือ up, down, strange, charmed, bottom, top. แต่ละกลุ่มจะมี 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน แต่สีของมันจะผสมกันจนทำให้มันเหมือนไม่มีสี. ควาร์ก มีขนาดเล็กกว่า ความยาวคลื่นของแสงมากๆ. เราจึงไม่อาจหวังว่าจะมองเห็น หรือดูส่วนประกอบของอะตอมเหล่านั้น ในแบบปกติได้. มวลขนาดเล็กของมัน ทำให้มันมีสถานะเป็นคลื่นไปด้วย ในเวลาเดียวกัน. ที่จริง นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้จบเรื่อง อนุภาคที่เล็กที่สุดไว้แค่ ควาร์ก. เพียงแต่ว่า ยังมีคำถามอื่นที่น่าสนใจกว่า เช่น ถ้าทำให้อนุภาคเหล่านั้น มีพลังงานสูงยิ่งๆ ขึ้น ด้วยการเร่งความเร็ว ให้มันวิ่งชนกัน. อาจจะมีอนุภาคอื่นที่ซ่อนอยู่ เช่น ปฏิอนุภาค นิวตริโน กราวิตอน ปรากฎตัวขึ้นมาก็ได้.

 

โดยทั่วไป สสารในเอกภพ มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ. แต่มีเพียงธาตุเดียว ที่มีสถานะยืดหยุ่นอย่างมาก ต่างจากธาตุอื่นๆ ในเอกภพ. นักวิทยาศาสตร์ จัดให้มันอยู่ในสถานะที่ 4 คือ พลาสม่า (plasma). พลาสม่า พบได้ใน หลอดฟลูออเรสเซนต์ จอโทรทัศน์ และ ในชั้นโอโซนของเปลือกโลก. พลาสม่า เป็นก๊าซชนิดหนึ่ง ที่มีความเป็นกลางทางไฟฟ้า แต่ก็เป็นธาตุสื่อนำไฟฟ้าได้ดี ในเวลาเดียวกัน. พลาสม่า ประกอบด้วย อิเล็กตรอน และ ไอออน และเมื่อมันมีปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็ก มันจะหักล้างประจุของกันและกัน. นอกจากนี้ เราสามารถพบพลาสม่าได้ ในอุณหภูมิที่สูงยิ่งยวด เช่น ในฟ้าผ่า ใจกลางของดวงอาทิตย์, แต่มันก็มีโอกาสอยู่ในสถานะเย็นได้เช่นกัน. พลาสม่าเย็น สามารถลุกสว่างได้ โดยไม่ต้องมีฟ้าผ่า เช่น การเกิดลูกบอลฟ้าผ่า (ball lighting) ส่องสว่างเหนือหุบเขา ริมแม่น้ำเฮสจา ในเขตเฮสดาเลน ประเทศนอร์เวย์ ในช่วงปี 1981 จัดเป็น พลาสม่าเย็น เพราะแสงไฟที่ลุกสว่าง จะไม่ติดไฟ ไม่มีความเป็นกัมมันตรังสี และไม่มีประจุไฟฟ้า.

 

แสง (photon) และ ความโน้มถ่วง (graviton) เป็นอนุภาคที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในเอกภพ และมีคุณสมบัติมูลฐาน คือไม่หยุดนิ่ง หรือสั่น เหมือนอนุภาคชนิดอื่นๆ. อาการไม่หยุดนิ่งของอนุภาค เรียกว่า สปิน (spin) หรือ โมเมนตัมเชิงมุมชนิดหนึ่ง (คุณสมบัติที่บ่งบอกถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่ของวัตถุ). เราอาจจินตนาการสปินได้ว่า ให้อนุภาคเป็นเหมือนลูกข่าง ที่กำลังหมุนรอบแกน (สมมุติ) ของตัวเอง. ดังนั้น การหมุนรอบแกนสมมุติตัวเองของอนุภาค เช่น อิเล็กตรอน ทำให้มันดูเหมือนเป็นแท่งแม่เหล็กเล็กๆ แท่งหนึ่ง. เราสามารถบอกได้ว่า สปินของอนุภาค จะสร้างความแตกต่าง เมื่อมองจากทิศทางต่างๆ ทำให้มันมีค่าที่กำหนดเป็น เลขควอนตัมสปิน 4 ค่า ที่แตกต่างกัน. ปัจจัยที่ทำให้ สปิน 0, สปิน 1, สปิน 2, สปิน ? สร้างความแตกต่างให้แก่อนุภาค คือ รอบองศาการหมุน และทิศทาง.

 

นักวิทยาศาสตร์ ได้ข้อสรุปนี้ว่า อนุภาคสสารทุกอนุภาค ในเอกภพ ที่รู้จักทั้งหมด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อนุภาคที่มี สปิน ? ซึ่งประกอบเป็นสสารในเอกภพ และอนุภาค สปิน 0, สปิน 1, และ สปิน 2 ก็คืออนุภาคที่เป็นตัวทำให้เกิดแรงต่างๆ ระหว่างอนุภาคสสาร. ธรรมชาติของอนุภาค จะไม่มีอนุภาคใดๆ เกิน 1 ตัว ที่จะมีสปินเหมือนกัน ในตำแหน่งและความเร็วเดียวกัน. ความจริงข้อนี้ ทำให้เกิดข้อคำถามว่า ถ้าอนุภาคของสสาร 2 ตัว มีตำแหน่งและความเร็ว (ในการหมุน) เดียวกัน ซึ่งอาจเป็นไปได้, จะเกิดอะไรขึ้นกับพวกมัน?. อนุภาคเหล่านั้น จะยุบตัว ไปสู่ภาวะความหนาแน่นยิ่งยวด ภายใต้แรงโน้มถ่วงยิ่งยวด ที่พวกมันสร้างขึ้นหรือไม่?. การประพฤตินอกลู่ทางของอนุภาคแบบนี้ นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับไม่ได้ เพราะมันจะทำลายกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์. ดังนั้น พวกเขาจึงตั้งกฎไว้ว่า หากอนุภาคสสาร ‘เกือบจะ' อยู่ในตำแหน่งเดียวกันแล้ว พวกมันจะต้องมีความเร็วต่างกัน. ซึ่งหมายความว่ามันจะมี ‘ช่องว่างของห้วงเวลา' เพียงเสี้ยวนาโนวินาที ที่จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ . และนี่คือข้อสรุปที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า อนุภาค ย่อมมีช่องว่า (space) เสมอ และไม่มีในที่ใดๆ ในเอกภพ ที่จะไม่มีช่องว่าง อันเกิดจาก ลักษณะสัมพัทธภาพ “ตำแหน่ง” – “ความเร็ว”.

ช่องว่างของห้วงเวลาดังกล่าว ที่เกิดขึ้นจากการสปินของอนุภาคสสารสองตัว ดูเหมือนจะสอดคล้องกับ ปรากฎการณ์ การเกิด–ดับ ของวิญญาณ . แม้ว่า นักฟิสิกส์จะยังไม่รับรองว่า วิญญาณ คือ อนุภาคชนิดหนึ่ง ก็ตาม แต่วิญญาณ ก็เป็นธัมมะธาตุหนึ่งที่มีอยู่ในเอกภพ. ตถาคต ศาสดาแห่งพุทธศาสนา เป็นผู้อธิบายลักษณะ คุณสมบัติ และอาการ ของวิญญาณ ไว้อย่างละเอียดทุกแง่มุม. พระองค์เปรียบวิญญาณ เหมือนแสง (มโน) ซึ่งสอดคล้องกับนักฟิสิกส์ควอนตัม อธิบายว่า แสง เคลื่อนที่เป็นห้วงๆ. หากจะเรียกลักษณะนามของวิญญาณว่า ‘ดวง' ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้. วิญญาณ แต่ละดวง เกิดแล้วดับไป ในห้วงเวลาที่น้อยนิดเช่นเดียวกับ ความเหลื่อมกันของความเร็วและตำแหน่ง ของอนุภาค ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว. หลักการเดียวกันนี้ จะไม่มีวิญญาณ 2 ดวง เกิด–ดับ พร้อมกัน. แต่ก็ไม่ควรจะมีการพิสูจน์หลักการนี้ เพราะช่องว่างของห้วงเวลา เกิด–ดับ ของวิญญาณนั้น สั้นมาก จนไม่อาจวัดค่าได้ด้วยสมการทางฟิสิกส์ นอกจากจะวัดด้วยการรับรู้ทางจิต. ศาสดาของพุทธศาสนา มองเห็นประโยชน์ข้อนี้ คือ การนำพาจิตที่มีคุณสมบัติอีกแบบหนึ่ง เข้าไปแทรกระหว่าง ช่องว่างของห้วงเวลาเกิด-ดับ ของวิญญาณ เพื่อปฏิบัติการบางอย่าง. นั่นคือวัตถุประสงค์หลัก ที่พระองค์ต้องการให้มนุษย์ ที่ผ่านการฝึกฝนทางจิต ใช้เป็น ‘ช่องทางหลุดพ้น' อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ของพุทธศาสนา.

 

ภาพที่ 2.06 มวลของดาราจักรทางช้างเผือก ที่นักดาราศาสตร์คำนวณได้
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - February No. 92/2019)

 

จากข้อสรุปที่ว่า ในเอกภพย่อมมีช่องว่าง ส่งผลให้พฤติการณ์ของอะตอมในบริเวณที่เป็น อวกาศสัมบูรณ์ จะมีการกระเพื่อมของที่ว่างเสมอ.[09] การกระเพื่อมของที่ว่าง มี 2 รูปแบบ คือ (1) การกระเพื่อมของที่ว่าง เชิงความโน้มถ่วง (เกิดจากวัตถุมีมวล ขนาดใหญ่) (2) การกระเพื่อมของที่ว่าง (pulsation) เชิงแม่เหล็กไฟฟ้า (เกิดจากมวลของอะตอม). มวลของสสาร เกิดจาก สนามของอนุภาคสื่อแรง ที่เรียกว่า ฮิกส์. ฮิกส์ แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเอกภพ ทำให้อนุภาคต่างๆ มีมวล. การกระเพื่อมของที่ว่างดังกล่าว จะแผ่ อนุภาคคู่เสมือน ออกมา (กราวิตอนเสมือน และ โฟตอนเสมือน). ทำให้เกิดข้อสมมุติฐานใหม่ต่อมาว่า อนุภาคคู่เสมือนที่แผ่ออกมา อาจมีการกระเพื่อมของ กระแสการเกิด–ดับ ของวิญญาณ ปะปนอยู่ในนั้น ก็อาจเป็นได้.

 


[09]
ธอร์น, คีพ เอส. (รศ. ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง แปล). (2554). อ้างแล้ว. หน้า 466, 475.

 

การกระเพื่อมของที่ว่าง สอดคล้องกับธรรมชาติของ โมเมนตัมเชิงมุม (angular-momentum). โมเมนตัมเชิงมุม คือ การวัดปริมาณการหมุน (สปิน) ที่มีของวัตถุหนึ่ง (คำว่า “หมุน” ใช้แทนคำว่า “โมเมนตัมเชิงมุม” ). คุณสมบัติ ในการไม่เป็นระเบียบ ของอะตอม อันเกิดจากการสั่น หรือ การสปิน หรือการกระเพื่อมของที่ว่าง ที่ปรากฎทั่วไปในเอกภพ สอดคล้องกับ หลักธรรมชาติ 3 ประการ ของตถาคต, สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน และหลักสังขตธรรม ข้อที่ว่า ธัมมะธาตุมีการเกิดปรากฎ มีความเสื่อมปรากฎ และมีความแปรปรวน. การดับสลายของสรรพสิ่ง ยังไม่มีผู้ใด จะกำหนดวันเวลาที่แน่นอนได้ แต่ก็ยอมรับว่า เวลานั้นมีอยู่จริงในอนาคต. นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ คํานวณไว้ว่า ดวงอาทิตย์ จะอยู่เป็นแหล่งพลังงาน ให้กับโลกต่อไปอีก 5,000 ล้านปี หลังจากนั้น มันจะขยายตัวกลาย เป็นดาวฤกษ์ยักษ์สีแดง และกลืนกินดาวเคราะห์บริวารไปทั้งหมด. ดังนั้น การเกิดขึ้น การดับสลายของสิ่งขนาดใหญ่ (ดาราจักร) ก็มาจากการดับสลายของสิ่งขนาดเล็ก (อะตอม) ด้วยเช่นกัน.

 

2.1.2
มวล ในความหมายที่มนุษย์โลกรู้จัก

 

ในทางฟิสิกส์ มวล (mass) หมายถึง ปริมาณเนื้อสารของวัตถุ ซึ่งจะมีค่าคงที่ตลอดเวลา ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม หรือไม่ว่า วัตถุนั้นจะมีแรงใดๆ มากระทำก็ตาม. มวล มีหน่วยวัดเป็น กิโลกรัม (kg) ต่างจาก น้ำหนัก (weight) ซึ่งหมายถึง แรงดึงดูดของมวลใหญ่ (เช่น โลก) ที่มีต่อ มวลเล็ก (เช่น ก้อนหินบนผิวโลก) มีหน่วยวัดเป็น นิวตัน (N) ผกผันไปตาม ค่า g ( ความเร่งเนื่องจาก แรงโน้มถ่วงโลก. บนผิวโลก มีค่า g = 9.8 m/s2(ยกกำลัง 2) และ บนดวงจันทร์ ค่า g = 1/6 เท่าของโลก). โดยทั่วไป หน่วยน้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับ มวล.

 

ในอีกแง่หนึ่ง มวลก็คือ การวัดความเฉื่อยของวัตถุ ที่เป็นสัดส่วนโดยตรง กับมวลของมัน. ไอน์สไตน์ อธิบายว่า แท้จริงแล้ว มวล ก็คือ รูปของพลังงาน ที่อัดแน่นกันมาก นั่นเอง. ความเฉื่อย หรือ แรงเฉื่อย (inertial) หมายถึง ความต้านทานของวัตถุ เมื่อถูกเร่งด้วยแรงที่มากระทำกับตัวมัน.

 

ในปี ค.ศ.1960 นักวิทยาศาสตร์ จากหลายๆ ประเทศ ได้ร่วมกัน สร้างระบบการวัดปริมาณแบบเมตริกใหม่ และให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก เรียกว่า หน่วย เอสไอ (SI Unit) การวัดของหน่วย เอสไอ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของ มวล คือ, หน่วยวัดมวล ใช้ กิโลกรัม (Kg), บริเวณที่ว่าง ซึ่งถูกแทนที่โดยสสาร เรียกว่า ปริมาตร (volume) ใช้หน่วยวัดเป็น ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3(ยกกำลัง 3)) หรือ มิลลิลิตร (mL) และ ลิตร (L), อุณหภูมิ (temperature) คือ ความเย็นหรือความร้อน ที่มีอยู่ในวัตถุ มีหน่วยวัดเป็น เคลวิน (k) และ องศาเซลเซียส (c), ความหนาแน่น (density) คือ ปริมาณมวลของสาร ที่มีอยู่ใน 1 หน่วยปริมาตร มีหน่วยวัดเป็น กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ กิโลกกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร. นอกจากนี้ ความหนาแน่น ถูกนำไปใช้วัดค่าได้หลากหลาย เช่น ด้านคณิตศาสตร์ ประชากรศาสตร์ ธรณีวิทยา การแพทย์ อุตุนิยมวิทยา สิ่งแวดล้อม ค่าความทึบของแสง ตลอดจน การบันทึกของหน่วยดิจิตัล ลงบนสื่อเทป ซีดี ฮาร์ดดิสก์.

นอกจากนี้ มวล ยังบ่งบอกถึงปริมาณ ความหนาแน่นของวัตถุ สิ่งของ สิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์ ได้อีกด้วย. คณะนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา [10] ได้คำนวณจำนวนตัวเลขของ สปีชีส์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด บนโลกของเรา ได้เท่ากับ 1,000 ล้านล้านสปีชีส์ ซึ่งคำนวณจาก ตัวอย่างจุลินทรีย์ 20,376 แหล่ง และ ข้อมูลพืชกับสัตว์ 14,862 แหล่ง. โลกของเรา มีจํานวนมด มากกว่ามนุษย์ มากมายนัก ไม่อาจนับจํานวนได้ถูกต้อง แต่ประมาณได้ว่ามีจำนวนมด ประมาณ 10,000 ล้านล้านตัว, มนุษย์ ประมาณ 7,300 ล้านคน. ทำให้มด มีมากกว่ามนุษย์ถึง 1,369,863 เท่า. ทั่วทั้งโลก มีมดมากกว่า 12,000 สปีชีส์, อาณาจักรของพวกมด ที่ใหญ่ที่สุด คือ มดอาร์เจนไตน์ ซึ่งกินแนวอาณาเขต ยาวกว่า 6,000 กิโลแมตร. องค์การสหประชาชาติ คำนวณไว้ว่า เมื่อปี ค.ศ.1 มีจำนวนมนุษย์ในโลก รวมกันแค่ 300 ล้านคน. แต่ปัจจุบัน มีจำนวนมากกว่า 7,000 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 10,000 ล้านคน ในปี ค.ศ.2050 [11]

 


[10]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 65 . November 2016, หน้า 18.


[11]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 65. July 2017, หน้า 21.

 

 

 

 

2.1.3
จิตวิญญาณ ดำรงสถานะเช่นไร

 

ได้กล่าวมาบ้างแล้วว่า วิญญาณ คือ ธาตุรู้ เป็นธัมมะธาตุอันหนึ่ง จัดอยู่ในจิตธาตุ ไม่มีมวล แต่มีส่วนคล้ายกับอนุภาคและคลื่น หรืออาจเป็นอนุภาค – คลื่นอีกแบบหนึ่ง. จิตวิญญาณ เป็นนามธรรม ที่ศาสดาของทุกศาสนาให้ความสำคัญ อาจมากกว่าด้านวัตถุ แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ท้าทาย สำหรับนักวิทยาศาสตร์ คือ จิตวิญญาณ มีมวลหรือไม่ และดำรงสถานะเป็นคลื่น หรือ อนุภาค กันแน่ หรือว่าอาจเป็นได้ทั้ง อนุภาค – คลื่น.[12] นักวิทยาศาสตร์ เข้าใกล้วิญญาณ ได้แค่ระบบประสาท คลื่นไฟฟ้าจากสมอง. เช่น การส่งคลื่นความจำ จากสมอง ผ่านสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ชื่อ อะเซติลโคลีน (acetylcholine) ไปยังอวัยปลายทาง. สารสื่อประสาท ทำหน้าที่ นำคำสั่งจากสมอง ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ เพื่อสั่งการทำงาน. แต่วิญญาณ มีระบบการทำงานซับซ้อน ยิ่งกว่าระบบประสาท และคลื่นไฟฟ้าในสมอง นับเป็นล้านเท่า.

 


[12]
วัตถุธาตุ (รูปธรรม – รูปธาตุ) ดำรงสถานะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือไม่เป็น อนุภาค ก็เป็น คลื่น ยกเว้น อนุภาคของแสง เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น. วิญญาณ เป็นนามธรรม อุบัติขึ้นและดับสลายไปในเวลาเดียวกัน ไม่อาจนับห้วงเวลาของการดำรงอยู่ได้. เมื่อวิญญาณอุบัติขึ้นและดับสลายไป ได้ทิ้ง “เหตุการณ์” (event) เป็นร่องรอยอย่างหนึ่งไว้. ดูรายละเอียดใน หัวข้อ 4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร ในบทที่ 4.

 

โดยปกติ อนุภาคอิสระ (free particle) เมื่อไม่ถูกแรงใดๆ กระทำเลย มันจะเคลื่อนที่อย่างโดดเดี่ยว ภายใต้อิทธิพลความเฉื่อยของตัวมันเอง. แต่เมื่อมีแรงโน้มถ่วงมากระทำ มันก็จะตอบสนองแรงโน้มถ่วงนั้น เพียงอย่างเดียว. วิญญาณ ไม่ได้ประพฤติตัวเหมือน อนุภาคอิสระ แต่อุบัติขึ้นและดับสลายไป ในเวลาเดียวกัน จึงไม่อาจระบุพิกัดของมันได้ และไม่อาจมีแรงใดๆ มากระทำกับมันได้. วิญญาณ ได้ทิ้ง “เหตุการณ์” (event) เป็นร่องรอยอย่างหนึ่งไว้ ณ จุดหนึ่ง ในกาลอวกาศ (จุดใดๆ ในอวกาศ ที่ขณะเวลาเฉพาะค่าหนึ่ง). เหตุการณ์ของวิญญาณ ที่อุบัติขึ้นนั้น อาศัยปัจจัยในการเกิดขึ้น และดับสลาย เรียกว่า กระบวนการ จิต มโน วิญญาณ. วิญญาณ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เช่นเดียวกับแสง. แท้จริงแล้ว วิญญาณ กับ สัตว์บุคคล ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน. การรวมกันของสองนิ่งนี้ ได้สร้างเหตุการณ์ร่วมกัน. รอยต่อระหว่าง วิญญาณ กับ เหตุการณ์ นั้น สั้นและแคบมากๆ (อาจสั้นกว่า ความยาว พื้นที่ และเวลาของแพล็งก์-วีลเลอร์ หลายพันเท่า ), จนทำให้วิญญาณกับสัตว์บุคคล “รู้สึก” ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน. รอยต่อและช่องว่างอันสั้นและแคบนี้ ตถาคต เพียงผู้เดียว เป็นผู้ค้นพบ.

 

ในเบื้องต้น เราเข้าใจไว้ก่อนว่า วิญญาณจะอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ มันจะต้องมีร่างอันเป็น “ที่ตั้งอาศัย” (สัตว์ บุคคล) ซึ่งเปรียบเสมือนบ้าน (house). ถ้าวิญญาณไม่มีมวล ก็จะไม่มีแรงใดๆ ในทางฟิสิกส์ ที่จะมากระทำต่อวิญญาณได้. การเข้าใจว่า วิญญาณ ล่องลอยได้ และมีพลังบางอย่าง จึงเป็นไปไม่ได้. พลังของวิญญาณ แบบกลศาสตร์จึงไม่มีจริง, วิญญาณ เป็นแค่เหตุการณ์เหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น. ความเร็วของเหตุการณ์ ก็คือ อัตราของการเกิด-ดับ ของวิญญาณนั่นเอง. ช่วงการเกิด-ดับ ของวิญญาณ จึงมี “รอยต่อ” บันทึกไว้ในห้วงสั้นๆ ของเหตุการณ์ ซึ่งสั้นและแคบมากๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว. รอยต่อนี้ มีไว้สำหรับ “ตัดตอน” เพื่อกันไม่ให้วิญญาณ ดวงอื่นๆ มารับช่วงต่อ. ดังนั้น ความเร็วของเหตุการณ์ ของ การเกิด–ดับของวิญญาณ จึงไม่ใช่ พลัง และไม่ใช่การหมุน (spin) แบบกลศาสตร์. อนุภาคฮิกส์ มีช่วงอายุที่สั้นมากๆ แต่ก็ยังสามารถตรวจจับได้ และกำหนดคุณสมบัติ “อนุภาค” ให้แก่มัน. แต่ช่วงอายุการเกิด ของวิญญาณ สั้นกว่านั้นมาก ในทางฟิสิกส์แล้ว ไม่อาจกำหนดสถานะที่ชัดเจน ให้แก่วิญญาณได้. หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อวิญญาณ แสดงร่องรอย การเกิด-ดับ ในรูปแบบ “เหตุการณ์” เท่านั้น จึงไม่อาจระบุแน่ชัดได้ว่า วิญญาณ ดำรงสถานะเป็น คลื่น หรือ อนุภาค.

 

การวัดค่าต่างๆ ของวัตถุธาตุ–สสาร ทั้งทางเคมีและฟิสิกส์ ต้องมีมาตรฐานร่วมกัน 2 ประการ คือ ความถูกต้อง (accuracy) และ ความแม่นยำ (precision). ความถูกต้อง หมายถึง ผลของการวัดใกล้เคียงกับ ค่าจริง ของปริมาณที่วัด หรือหน่วยที่วัด, ส่วน ความแม่นยำ หมายถึง ผลของการวัด มากกว่าสองครั้ง มีค่าเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน. การวัดค่าของวิญญาณ จึงวัดได้แค่ มี หรือ ไม่มี, ปรากฎ หรือ ดับสลาย. ส่วนห้วงเวลา ของการ มี หรือ ปรากฎ / ไม่มี หรือ ดับสลาย ยาวนานเท่าใด ไม่อาจกำหนดได้ แบบวิทยาศาสตร์. ตถาคต ใช้วิธีการอนุมานเปรียบเทียบ ในสิ่งที่ผู้ศึกษาคุ้นเคย. ความถูกต้อง ความแม่นยำ ในการได้บรรลุธรรม ขั้นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรือ อรหันต์, พระองค์ก็ไม่ได้สร้างเครื่องมือ หรือมาตรวัดมอบไว้ ให้แก่ผู้ใด. พระองค์ ให้ใช้ตัวผู้นั้นเอง เป็นมาตรวัดตัวเอง (อันวิญญูชน จะพึงรู้ได้เฉพาะตน – ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพวิญฺญูหิ). ความเป็นอัตนัยสูงเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับ เครื่องวัดแบบฟิสิกส์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

 

ตารางที่ 2.02 เปรียบเทียบ คุณสมบัติและองค์ประกอบ ของสิ่งที่มีมวล (วัตถุธาตุ-สสาร) กับ สิ่งที่ไม่มีมวล (ธัมมะธาตุ-จิต) จากหน่วยขนาดเล็ก ไปหน่วยขนาดใหญ่.

 

คำอธิบาย :

*สสาร =
ต้องการที่ว่าง ในการดำรงสถานะ และมีมวล (matter is anything occupies space and has mass) [การเกิดปรากฎของ สสาร = การเกิดปรากฎของ มิติ กาลอวกาศ]

*วิญญาณ =
ไม่ต้องการรูปทรงอาศัย ไม่มีมวล. วิญญาณ มี 6 หมู่ (พวก) คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ในบรรดาวิญญาณ ทั้ง 6 หมู่ จะไม่เกิดปรากฎพร้อมกัน แต่สับเปลี่ยน เวียนกันเกิด “ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันคลอดคืน” ต่อเนื่องกันไป.

*สังขารทั้งหลาย =
มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ‘รูปทรง' ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร และ ส่วนที่เป็น ‘อาการ' ได้แก่ การคิดปรุงแต่งเหตุการณ์ ประกอบด้วย 3 กาล คือ การคิดปรุงแต่งเหตุการณ์อนาคต เรียกว่า สังขาร, การคิดปรุงแต่งเหตุการณ์อดีต เรียกว่า สัญญา, การคิดปรุงแต่งเหตุการณ์ปัจจุบัน เรียกว่า เวทนา.

*สฬายตนะ =
แดนต่อให้เกิด วิญญาณ ทั้ง 6 หมู่ คือ ตา กระทบ รูป ก่อเกิด จักขุวิญญาณ, หู กระทบ เสียง ก่อเกิด โสตวิญญาณ, จมูก กระทบ กลิ่น ก่อเกิด ฆานวิญญาณ, ลิ้น กระทบ รส ก่อเกิด ชิวหาวิญญาณ, กาย กระทบ สิ่งที่มาสัมผัสผิว ก่อเกิด กายวิญญาณ. ใจ กระทบ อารมณ์ ก่อเกิด มโนวิญญาณ.

 

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

ข้อสรุปบางประการ และการสันนิษฐาน เกี่ยวกับ มวล–อนุภาค จิต

 

คุณสมบัติธัมมะธาตุ มวล-อนุภาค ของสรรพสิ่ง ก่อให้เกิด อันตรกิริยา [13]  สืบเนื่อง และเกิดข้อสันนิษฐาน หลายประการ -

 


[13]
อันตรกิริยา (interaction) เป็นชนิดของการกระทำ ที่เกิดขึ้นระหว่างก้อนวัตถุ มากกว่าหนึ่ง มีผลซึ่งกันและกัน การผสมผสานของอันตรกิริยาหลายๆ อันตรกิริยา นำไปสู่การอุบัติ (emergent) ของปรากฎการณ์ ซึ่งมีความแตกต่าง ของความหมายในหลายๆ ศาสตร์.

 

(1) วัตถุที่มีคุณสมบัติเป็น มหาภูตรูป เป็นวัตถุ ที่มีคุณสมบัติ และ องค์ประกอบทางฟิสิกส์.

องค์ประกอบภายในของวัตถุ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของแข็ง (ปฐวีธาตุ) ของเหลว (อาโปธาตุ) หรือก๊าซ (วาโยธาตุ) และทั้ง 3 สถานะ ย่อมอยู่ภายใต้กฎอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics). สสารและพลังงาน ทุกรูปทรง ทุกมิติ และรวมถึงที่ว่าง (space) ย่อมมีความร้อน (เตโชธาตุ) สถิตย์อยู่. สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอม รวมตัวกันเป็น โมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (heat). อุณหภูมิ คือ การวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ ของอนุภาคสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับ ความร้อน หรือ เย็น ของสสารนั้น. พลังงาน สามารถถ่ายเทได้ พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่ง ไปยังสสารหรือระบบอื่น กระทำได้โดย อาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ซึ่งเรียกว่า ความร้อน. ณ อุณหภูมิ -273.15 องศา C อะตอมของสสาร จะไม่มีการเคลื่อนที่ และจะไม่มีสิ่งใดลดอุณหูมิ ได้ต่ำไปกว่านี้ได้อีก นักวิทยาศาสตร์จึงกำหนดให้ 0 K มีค่าเท่ากับ -273.15 องศา C และเรียกสถานะนี้ว่า ศูนย์องศาสัมบูรณ์.

 

(2) ไม่อาจกำหนดมิติให้แก่วิญญาณได้ เหมือนกับวัตถุอื่น เพราะคุณสมบัติมวล พลังงาน

วัตถุตั้งแต่สองก้อนขึ้นไป จะมีแรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์. เราสามารถวัด ขนาดน้ำหนัก (ค่าความโน้มถ่วงพื้นผิว หรือ ความเร่ง เนื่องจากความโน้มถ่วงของดาว – m/s2(ยกกำลัง 2)) ของตัวมันเอง และน้ำหนักของวัตถุ ที่มันดูดติดไว้ได้. วัตถุที่มีมวล ขนาด 1 กิโลกรัม (วัตถุที่โลกดึงดูดไว้) จะมีน้ำหนัก ประมาณ 9.8 นิวตัน บนพื้นผิวโลก. ทำให้วัตถุนั้น ดำรงสถานะในมิติ กาลอวกาศ ด้วยโทโปโลยี (topology) ที่หลากหลาย.

อาจอุปมาพฤติการณ์ของวิญญาณ คล้ายกับ อนุภาคคู่คลื่น. อนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ จนไม่สามารถกำหนด ขนาดของมวลได้ มักดำรงอยู่ในภาวะ สภาพซ้อนสถานะระหว่าง อนุภาค/คลื่น เช่น อนุภาคโฟตอน (รังสีของแสง) อนุภาคนิวตริโน (neutrino). นิวตริโน สามารถทะลุทะลวง ผ่านสสารที่ห่อหุ้มมันไปได้ โดยไม่ถูกดูดกลืน.

 

(3) การค้นพบอนุภาคคู่แฝดเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ.

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ยอมรับว่า อนุภาคคู่แฝด หรือ ปฏิสสาร (antimatter) เป็นอนุภาคมูลฐาน แต่ไม่อยู่ในแบบจำลองมาตรฐาน. การค้นพบคุณสมบัติเฉพาะของอนุภาคบางตัว (ที่นับวันจะมีโอกาสพบมากขึ้นเรื่อยๆ) ยังเป็นข้อสงสัย สำหรับนักวิทยาศาสตร์ว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เบื้องต้น พบว่า มันมีมวลเท่ากับอนุภาคปกติ แต่มีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกันกับ อนุภาคที่เป็นคู่ของมัน เช่น โพสิตรอน (positron) เป็นอนุภาคคู่ของอิเล็กตรอน (antielectron) ซึ่งถูกค้นพบโดย คาร์ล ดี แอนเดอสัน (Carl D. Anderson) ในปี ค.ศ.1932 . แอนติโปรตอน เป็นอนุภาคคู่ของโปรตรอน (antiproton) แอนตินิวตรอน เป็นอนุภาคคู่ของนิวตรอน (antineutron). ขณะนี้ มีการค้นพบคู่แฝดเพิ่มบ้างแล้ว โดยศูนย์วิจัย CERN เมื่อปี ค.ศ.1995 เป็นแอนติไฮโดรเจน 9 ตัว.

นักวิทยาศาสตร์ ยังคงพยายามหาคำอธิบาย สิ่งประหลาดมหัศจรรย์ ที่มีในธรรมชาติ ที่พวกเขาค้นพบ, อนุภาคคู่แฝด ตัวใดตัวหนึ่ง อาจเป็นวิญญาณก็ได้ แต่เรียกในชื่ออื่น.

 

(4) ความแตกต่างระหว่าง ควอซาร์ พัลซาร์ กับ แสงของจิตที่บริสุทธิ์เข้มข้น.

มวลของวัตถุในอวกาศ ที่เรียกว่า ควอซาร์ (quasar) มีความหนาแน่นสูงมาก และสว่างจ้าในเอกภพที่อยู่ห่างไกล นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เชื่อว่ามันได้รับพลังงานจากหลุมดำขนาดยักษ์. และ ดาวนิวตรอนที่หมุนได้ และมีแม่เหล็ก เรียกว่า พัลซาร์ (pulsar) ขณะหมุน มันจะส่งรังสีคลื่นวิทยุ รังสีเอ็กซ์ ออกมา ลำรังสีจะกวาดไปรอบๆ เหมือนแสงสปอร์ตไลต์กวาดไป. ทั้งสองกรณี ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบว่า พลังงานที่สว่างจ้า น้อยกว่าหรือเทียบเท่า ปรากฎการณ์แสงสว่าง ที่เกิดในนรกภูมิ เมื่อคราวพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ อุบัติขึ้นหรือไม่?

 

(5) จะอุปมาการบรรลุธรรม เหมือน การสร้างสุญญากาศ ได้หรือไม่?

มวล – อนุภาค สนามไฟฟ้า – แม่เหล็กไฟฟ้า สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ ในทุกอณูของมิติ กาลอวกาศ พร้อมกับนำพาพลังงานทุกชนิด ออกไปด้วย จนกระทั่งบริเวณนั้น มีค่าพลังงานเป็น 0, บริเวณนั้น จะถูกเรียกว่า สุญญากาศ (vacuum). แต่ปรากฎว่า ภายในสุญญากาศ ก็ยังปรากฎ การกระเพื่อมของที่ว่าง ซึ่งไม่สามารถย้ายออกไปได้. ดังนั้น แท้จริงแล้ว ในสุญญากาศ ก็ยังมีปรากฎการณ์ อย่างหนึ่ง (การกระเพื่อมของที่ว่าง) อยู่นั่นเอง. พฤติการณ์เช่นนี้ อุปมาเหมือนกับ การผันแปร สุญญากาศ (vacuum fluctuations) ที่พลังสนามไฟฟ้า หรือ อนุภาคเสมือน จะขโมยพลังงานจากบริเวณข้างเคียงชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะคืนกลับไปอย่างรวดเร็ว.

พฤติการณ์การเกิดสุญญากาศเช่นนี้ อาจอุปมาเหมือนการเกิดขึ้นของ วิมุตติญาณทัสสนะธาตุ ได้หรือไม่?. สัตว์หรือบุคคลใดก็ตาม ที่กำจัดรอยต่อหรือช่องว่าง ระหว่างการเกิด-ดับของวิญญาณได้สำเร็จ สัตว์หรือบุคคลนั้น ก็จะเกิดสภาพ การกระเพื่อมของที่ว่าง ซึ่งเป็นการก้าวไปสู่การบรรลุธรรม ขั้นหลุดพ้น. รูปแบบของชีวิตแบบเดิม (ซึ่งเรียกว่า ‘สัตตา') จะเปลี่ยนสถานะ ไปเป็นรูปแบบการเกิดใหม่ ซึ่งเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะธาตุ. (วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ผู้รู้ใหม่ รู้ว่าการกระเพื่อมที่เกิดขึ้นนั้น ตนพ้นสภาพจากการเป็น “สัตว์” หรือ สัตตานัง แล้ว โปรดดูรายละเอียดใน บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ.)

 

(6) มวล เป็นเพียงรูปหนึ่งของพลังงาน ที่อัดแน่นมาก เป็นไปได้หรือไม่ ที่วัตถุทุกชนิดจะระเบิดได้ ?

กฎสัมพัทธภาพพิเศษ ของไอน์สไตน์ กล่าวว่า มวล เป็นเพียงรูปหนึ่งของพลังงาน ที่อัดแน่นมาก. จากหลักการที่ว่า ปริมาณพลังงาน ที่ได้จากการเปลี่ยนมวล จะมีค่ามหาศาล ตามสูตร E = M c2(ยกกำลัง 2) เมื่อ E เป็นพลังงาน ที่ระเบิดออกมา M คือมวลที่เปลี่ยนพลังงาน และ c = 2.99792 x 10 8(ยกกำลัง 8) เมตร ต่อวินาที คือความเร็วแสง. สมมุติว่ามนุษย์คนหนึ่ง มีมวล 75 กิโลกรัม เมื่อคำนวณจากสูตร พลังงานระเบิดจะเท่ากับ 7 x 10 18(ยกกำลัง 18) จูล ซึ่งมีค่ามากกว่า พลังงานของระเบิดไฮโดรเจน 30 เท่า.

 

(7) วัตถุต่างๆ ในเอกภพ สามารถหายตัวได้หรือไม่?

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จันทรเศขร (Subrahmanyan Chandrasekhar: 1910 - 1995 A.D.) ได้ข้อสรุปว่า มวลของดาวฤกษ์ทุกดวง รวมทั้งวัตถุอื่นๆ ซึ่งมีมวลที่เกิดจากสสารที่มีความหนาแน่นสูง จะมีค่าน้อยกว่า มวลของดวงอาทิตย์ 1.4 เท่าเสมอ. ดาวฤกษ์หรือวัตถุที่มีมวลมากกว่าค่านี้ จะทำให้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง ดูดตัวมันเองหายไป กลายเป็นหลุมดำ (วัตถุ 3 มิติแบน). จากทฤษฎีฟิสิกส์ข้อนี้ วัตถุต่างๆ ในเอกภพที่เราพบเห็น ไม่อาจสลายตัวหรือหายตัวได้ด้วยขนาด (เพราะขนาดของมันส่วนมาก ไม่ใหญ่เกิน 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์) แต่อาจหายตัวได้ด้วยวิธีอื่น.

 

(8) มวล แสง เวลา จิต ดำรงสถานะอย่างไร?

ความเร็ว เกี่ยวข้องกับ มวล, หลักกลศาสตร์ควอนตัม กล่าวไว้ว่า ไม่มีวัตถุใดๆ เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า อัตราความเร็วของแสง. เพราะถ้าวัตถุเคลื่อนที่ ยิ่งใกล้ความเร็วแสงเท่าใด มวลของมันก็จะเพิ่มเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเท่านั้น ทำให้มันต้องใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อเร่งอัตราความเร็ว ให้เท่าหรือใกล้เคียง กับความเร็วแสง. นั่นหมายถึงว่า มวลของมัน จะมีค่ามากเป็น อนันต์ (infinity) จนไม่ สามารถจะหาพลังงาน ขนาดอนันต์ จากที่ใดมาใช้ได้. แต่ในทางกลับกัน ถ้าให้วัตถุที่ไม่มีมวล สามารถเคลื่อนที่ ได้เร็วเท่าความเร็วแสง หรือมากกว่า เช่น อนุภาคโฟตอน (แสง) อนุภาคนิวตริโน การเดินทาง ของเวลา การเดินทางของกระแสจิต ก็จะได้คำอธิบาย ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง.

นักวิทยาศาสตร์ ทราบแล้วว่า โฟตอน เป็นอนุภาคชนิดเดียว ที่มีสองสถานะในเวลาเดียวกัน, ส่วน นิวตริโน ยอมรับว่ามีอยู่ แต่ยังไม่สามารถตรวจจับได้. เวลา เป็นส่วนผสมของอวกาศ ก่อให้เกิดมิติที่สี่ ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทำให้เส้นทางการเดินของเวลา แผ่ขยายออกไปทุกทิศทางเช่นเดียวกับแสง. เวลาไม่ได้วิ่งไปวิ่งมา อย่างโดดเดี่ยว แต่มันเกาะอยู่กับสิ่งที่มันวัด เช่น แสง. ถ้าวัตถุที่มันทำการวัด ถูกเร่งความเร็ว หรือถูกหน่วงให้ช้าลง หรือหยุดนิ่งอยู่กับที่ มันก็เลยดูเหมือน การเดินทางของเวลา เร็วขึ้น หรือ ช้าลง หรือ ถูกตรึงไปกับวัตถุที่มันเกาะอยู่ เช่น เวลาของอนุภาคแสงในหลุมดำ เวลาของพวกอสูรขณะเดินทางข้ามภพ (จากนรก ผ่านมนุษย์ สู่สวรรค์).

จิต หรือ วิญญาณ เป็นธัมมะธาตุชนิดเดียว ที่มีคุณสมบัติพิเศษ และมีความประหลาดยิ่งกว่าอนุภาค และเวลา. จิต ไม่อาจกำหนดพิกัดที่อยู่ รูปทรง มวล น้ำหนัก ได้เลย และไม่มีโอกาสเดินทาง หรือเคลื่อนที่จากที่ใดไปยังที่ใดได้ เพราะอายุการเกิดและดับสลายนั้น สั้นและแคบมากๆ แต่จิตก็ สามารถดำรงอยู่ได้ในทุกๆ ที่ในเอกภพ ราวกับว่ามันเดินทางไปได้ทุกๆ ที่. การดำรงอยู่ของจิต ขึ้นอยู่กับ จำนวนที่มีมากมายเป็นอนันต์ อาจเป็นไปได้ว่า ที่ว่างในอวกาศของเอกภพกว่าร้อยละ 94 อาจสถานที่ที่จิตสถิตอยู่.

 

จิตวิญญาณของเทวดา เกิด–ดับ ได้เร็วกว่ามนุษย์ จึงมีพลังของการคิด การรับรู้ ได้ดีกว่ามนุษย์. เทวดา อาศัยร่างที่ไม่มีมวล ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอนุภาคสสาร เช่น quantum foam, cosmic string เป็นล้านเท่า. ทำให้วิญญาณของเทวดา สถิตย์อยู่ในรูปกายที่เล็กละเอียด ไม่มีมวล และมีความเป็นอิสระ มากกว่า จิตของมนุษย์ในร่างกาย แบบมนุษย์โลก ที่หยาบและมีมวล. ส่งผลให้ เทวดา มีอายุยาวนานกว่ามนุษย์มาก เพราะไม่ต้องบำรุงหล่อเลี้ยง ให้อาหารแบบร่างกายมนุษย์. การเดินทาง ไปในที่ใดๆ ของเทวดา จึงเป็นการย้ายมวลสาร ที่ไม่อยู่ในกฎของมวล และพลังงาน แบบกลศาสตร์. ดังนั้น พลังของวิญญาณในที่นี้ จึงไม่อยู่ในกฎของกลศาสตร์ ไม่ใช่การขยับเคลื่อนที่ แบบกลศาสตร์ และไม่ใช่การหมุน (spin) แบบโมเมนตัมเชิงมุม. กล่าวได้ว่า พลังของวิญญาณ ก็คือ ธาตุรู้ นั่นเอง ที่ทะลุทะลวงไปได้ทุกๆ ที่ เช่นเดียวกับอนุภาคนิวตริโน ทำให้ ธาตุรู้ของเทวดา มีพลังและเร็วกว่า ธาตุรู้ของมนุษย์เป็นพันเท่า.

 

(9) จิต แตกต่างจาก มวลของวัตถุ แต่ก็อยู่ภายใต้อิทธิพล ของความโน้มถ่วงทางจิต.

อาการของจิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

 

(1) ลักษณะเบาบาง เย็น มีการแผ่กระจายออกจากศูนย์กลาง และมีการปรุงแต่ง. จิตที่เบาบางเหล่านั้น ย่อมเป็นอิสระจากแรงโน้มถ่วงใดๆ จะกระจายตัวไปสู่ที่สูง ซึ่งตรงกับคติทางศาสนาทุกศาสนาที่ว่า จิตกุศลย่อมไปสวรรค์ และเรียกลักษณะอาการ ของจิตแบบนี้ว่า กุศลจิต.

 

(2) ลักษณะหนาแน่น ร้อน ดูดดึง หดตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง และมีการปรุงแต่ง. ลักษณะนี้ยังแบ่งออกได้ 2 สาเหตุ คือ เหตุเพราะความรัก ความพึงพอใจในลักษณะต่างๆ เช่น นันทิ ราคะ ตัณหา อุปาทาน และเหตุเพราะความอัดแน่น ด้วยความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ โศกเศร้า ร่ำไรรำพัน คับแค้นใจ. รวมทั้ง 2 สาเหตุเรียกว่า อกุศลจิต. จิตที่หดตัวเป็นกลุ่มก้อน ย่อมมีความหนาแน่น มีน้ำหนัก และร้อน ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วง ในตัวของมันเองด้วย และจิตกลุ่มอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันด้วย จะกระจายตัวไปสู่ที่ต่ำ ซึ่งตรงกับ คติทางศาสนา ทุกศาสนาที่ว่า จิตอกุศลย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำ เช่น นรก.

 

(3) ลักษณะที่เป็นอิสระ ว่างเปล่า ไม่แผ่กระจายตัว ไม่หดตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ ไม่รับและไม่ส่งอิทธิพลของความโน้มถ่วง ไม่ว่ารูปแบบใดๆ (นิพพิทาวิราคะ).

 

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

2.2
แรง
– คลื่น (force–wave)

 

2.2.1 สสารมืด (dark matter) พลังงานมืด (dark energy) และหลุมดำ (black hole) : สิ่งที่ยังไม่สามารถจับต้องได้

 

สสารปกติในเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้ว มีเพียงร้อยละ 4.6 เท่านั้น ที่เหลืออีก ร้อยละ 25 เป็นมวลและพลังงาน ส่วนที่เหลือนอกนั้น ยังคงเป็นปริศนาว่า มันคืออะไร. นักดาราศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า สสารทุกชนิดในเอกภพ ควรเป็นวัตถุมีมวล เพราะมันมีความโน้มถ่วง สามารถดึงดูด ดาราจักรและกลุ่มดาราจักร เข้าไว้ด้วยกันได้. พวกเขาคาดว่า สสารเหล่านั้นอาจประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานชนิดพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นช่วงหลังการเกิดบิ๊กแบง.

สสารมืด และ พลังงานมืด ยังคงเป็นปริศนา ในโลกวิทยาศาสตร์ อีกยาวไกล ว่ามันคือสิ่งใดกันแน่, นักวิทยาศาสตร์ จึงวางมันไว้ในระบบอุดมคติก่อน เพื่อรอการพิสูจน์. หากวัตถุใด ที่สามารถดูดกลืนรังสี ( คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ) ทั้งหมดไว้ ก็สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สิ่งนั้นคือ “วัตถุมืด” อาจมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกลวง ที่แสงผ่านเข้าไปแล้ว ไม่สามารถกลับออกมาได้ ในขณะเดียวกัน มันก็แผ่รังสีความร้อน (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงความถี่ อินฟาเรด) ออกมา เพื่อรักษาเสถียรภาพ หรือ สถานะของมันให้ดำรงอยู่ (ดูดกลืน = ปลดปล่อย) ตามกฎสมดุล (balance rules). วัตถุประเภทนี้ มีคุณสมบัติคล้ายหลุมดำ (black hole).

 

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของดาวฤกษ์ และมีหลุมดำขนาดยักษ์ ซ่อนอยู่ที่ใจกลาง. ล่าสุดพบว่า กระจุกดาราจักรขนาดเล็ก ( กระจุก 20 – 30 ดาราจักร ) ก็มีหลุมดำยักษ์เช่นกัน. พวกเขายังเชื่ออีกว่า เอกภพ อาจจะซุกซ่อนหลุมดำยักษ์เอาไว้มากกว่าที่คิด. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก หอดูดาวแฟร์มี ของนาซา, พบพฤติการณ์การแผ่รังสีแกมมา ของดาราจักรแอนโดรมีดา ซึ่งมีดาวฤกษ์กระจุกตัวอย่างเข้มข้นอยู่ตรงใจกลาง แทนที่จะกระจายตัวเฉลี่ยออกไปเท่าๆ กัน. ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า รังสีแกมมาใกระจุกดาราจักรนี้ น่าจะเกิดจากสสารมืด ซึ่งอยู่ในใจกลางของกระจุกดาราจักร.[14]

 


[14]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 77. November 2017, หน้า 14.

 

หลุมดำ เป็นปรากฎการณ์ ที่มนุษย์เข้าใจได้ยาก แต่สรุปเป็นหลักการง่ายๆ ว่า “สิ่งเสมือนจุดหนึ่งจุด ที่มีมวลหนาแน่นมาก”. ถ้าเราลองจินตนาการว่า ถ้าเอกภพ คือแผ่นยางราบเรียบ หลุมดำ ก็คือลูกบอลน้ำหนักมาก ที่วางอยู่บนแผ่นยาง น้ำหนักจะดึงผิวแผ่นยาง ให้ห้อยย้อยลงไป ทำให้เรามองเห็นหลุมดำ (ตามจินตนาการ ) ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน. คือ

 

(1) บริเวณขอบของ “ปากแตร” เป็นบริเวณที่กว้างที่สุดของปากหลุม จะมีแรงดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลางของหลุม ระดับหนึ่ง ซึ่งวัตถุใดๆ ที่โคจรเข้าไปในบริเวณนี้ ยังคงต่อสู้แรงดึงดูดได้บ้าง จนสามารถรักษาวงโคจรของมันได้อยู่. เขตนี้นับว่าเป็นเขตอันตราย สำหรับวัตถุที่โคจรผ่านเข้าไปใกล้หลุมดำ.

(2) ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมดำ ถือว่าเป็นเขตหายนะของวัตถุใดๆ ที่ล้ำเข้าไปในเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์. ไม่ว่าสิ่งใดๆ แม้กระทั่งแสงและเวลา เมื่อโคจรเข้าไปแล้ว จะไม่สามารถหลุดออกมาได้เลย. ณ จุดนี้เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงภาวะเอกฐาน ยิ่งเข้าใกล้จุดที่เป็นภาวะเอกฐาน เวลาก็จะเคลื่อนตัวช้ามากๆ จนกระทั่งที่จุดภาวะเอกฐาน เวลาจะหยุดนิ่ง.

(3) จุดหนึ่งจุด ที่เป็น ภาวะเอกฐาน (Singularity) ซึ่งก็คือ มวลของหลุมดำ ที่อัดแน่น. ภาวะเอกฐาน มีค่าประมาณ 10 -33(ยกกำลัง -33) เซนติเมตร. และถ้าหลุมดำนี้ จะประพฤติตนเป็นรูหนอนอวกาศ ตามกฎแรงโน้มถ่วงควอนตัม มันจะมีช่วงอายุการเกิดที่สั้นมากที่สุด คือ 10 -43(ยกกำลัง -43) วินาที เท่านั้น.

 

 

 

 

หลุมดำ เกิดขึ้นจากการสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์ ที่มีขนาดจำเพาะ. ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ มีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีอายุราว 4,000 ล้านปี, เมื่อมันเผาผลาญเชื้อเพลิงของมัน (ไฮโดรเจน) จนหมดลง ดาวฤกษ์ก็จะขยายตัวออกเป็น ดาวยักษ์แดง (red giant) ก่อนจะหดตัวลงเป็น ดาวแคระขาว (white dwart). แต่ถ้าดาวฤกษ์ มีมวลมากกว่า ดวงอาทิตย์ 10 -30(ยกกำลัง -30) เท่า, เมื่อเชื้อเพลงหมด มันจะยุบตัวและระเบิดเป็น ซูเปอร์โนวา และหลังจากนั้น ซากที่หลงเหลือจากการะเบิด ถ้ามีขนาดเล็กกว่า ดวงอาทิตย์ ก็จะกลายเป็น ดาวนิตรอน ที่มีความหนาแน่นสูงมากๆ แต่ถ้าเศษซากที่หลง เหลือจากการระเบิดซูเปอร์โนวา ยังคงมีมวลใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ก็จะยุบตัวเป็น หลุมดำ.[15] หลุมดำขนาดเล็ก ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 กิโลเมตร แต่มีมวล เกือบ 5 เท่า ของน้ำหนักของดวงอาทิตย์. หรือแม้กระทั่งหลุมดำ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตร แต่มวลของมัน หนักประมาณครึ่งหนึ่งของ มวลของโลก. 3,370,000,000,000,000,000,000,000 กิโลกรัม (3,370 ล้านล้านล้านล้าน กิโลกรัม ).

 


[15]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 65. November 2016, หน้า 70-75.

 

ในเอกภพมีหลุมดำเกิดขึ้น จำนวนมากมาย, บางครั้งก็เกิดการชนกันเอง (แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) ของหลุมดำแต่ละหลุม มีขนาดเล็กเพียงแค่ไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น). ก่อให้เกิดคลื่นกระแทก ที่เรียกว่า คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational waves) แผ่ออกไปในอวกาศ. แม้จะเป็นการสั่นสะเทือน เพียงเล็กน้อย แต่เพราะมวลขนาดใหญ่ยักษ์ ของหลุมดำ มันสามารถส่งอิทธิพล ของคลื่นความโน้มถ่วง ออกไปได้ไกล จนสามารถวัดค่าได้. สัญญาณเก่าแก่ ที่มาจากการชนกัน ของเทหวัตถุ หรือสสารในอวกาศ มีส่วนช่วยในการตอบคำถามที่ว่า มีอะไรเกิดขึ้นภายในหลุมดำ.

 

X-ray Telescopes Find Evidence for Wandering Black Hole.

 

นักวิทยาศาสตร์ ตรวจจับรังสีเอกซ์ จากหลุมดำ ได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1964 จากหลุมดำ ขนาดกลาง ชื่อ ซิกนัส เอกซ์ –1 (Cygnus X–1) มีมวล 14.8 เท่า ของดวงอาทิตย์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 87 กิโลเมตร. และในปี ค.ศ.1974 สตีเฟน ฮอว์กิง ได้เสนอทฤษฎีที่อธิบายว่าหลุมดำ สามารถสลายตัว เมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายพันล้านปี การสลายตัวของหลุมดำ จะปลดปล่อยรังสีชนิดหนึ่งออกมาอย่างช้าๆ เรียกรังสีนี้ว่า รังสีฮอว์กิง.

 

ประวัติศาสตร์ของ หลุมดำ ยังเป็นกรณีศึกษา ของนักดาราศาสตร์ ต่อไปอีกนาน, เพราะมันมีอิทธิพลต่อระบบสุริยะ ดาราจักร ทั่วเอกภพ และส่งผลต่อพัฒนาการ ของมนุษยชาติด้วยเช่นกัน. แมกซ์ แพลงค์ (Max Planck : 1858-1947 A.D.) เป็นบุคคลแรกๆ ที่พูดถึงการแผ่รังสีของวัตถุมืด หรือ หลุมดำ. ก่อนปี ค.ศ. 1900 ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น มักจะอธิบายตาม กฎกลศาสตร์ของนิวตัน และ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กซ์ เวลล์. แต่เมื่อมีการทดลอง และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ เช่น

(1) ปรากฎการณ์การแผ่รังสีของวัตถุมืด (black-body radition).

(2) ปรากฎการณ์ โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) เป็นปรากฎการณ์ที่ อิเล็กตรอน หลุดออกจากสสาร เมื่อสสารนั้น สัมผัสกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง. เรียกอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาว่า โฟโตอิเล็กตรอน.

(3) ปรากฎการณ์ควันตัม และสเปกตรัมของอะตอม อันเนื่องมาจากการวิปริต และการเกิดสภาพซ้อนสถานะ ของอิเล็กตรอน. ทำให้ กลศาสตร์ของนิวตัน และทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ของแม็กซ์ เวลล์ ไม่สามารถใช้อธิบาย ปรากฎการณ์ดังกล่าวได้. จำเป็นต้องใช้ ทฤษฎีควันตัม (quantum theory) ซึ่งเสนอโดย แมกซ์ แพลงค์ และกลศาสตร์ควอนตัมแบบใหม่ เพื่ออธิบายพฤติการณ์ การแผ่รังสีของวัตถุมืด และปรากฎการณ์อื่นๆ ที่น่าสนใจตามมา เช่น แรงโน้มถ่วงควอนตัม (quantum gravity) ที่อาจอยู่ในใจกลางของหลุมดำ.[16] เนื่องจาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอนุภาคที่มีพลังงานมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความถี่, ส่งผลให้ระดับพลังงานในธรรมชาติ มีความไม่แน่นอนและไม่ต่อเนื่อง (เช่นเดียวกับลักษณะของ ควันตัม) ตาม หลักแห่งความไม่แน่นอน.

 


[16]
แมกซ์ แพลงก์ สังเกต พลังงานของแสง (จากอนุภาคโฟตอน ซึ่งไม่มีมวล) มันจะแบ่งส่วนย่อยๆ ของพลังงานออกมา เป็นห้วงๆ เรียกว่า “ควอนตา” เขาปรารภแค่ว่า “มันก็แค่เป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาเท่านั้น ... จริงๆ แล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรกับมันมากหรอก ...” สังเกตว่า การค้นพบของวิทยาศาสตร์ เริ่มจาก การจินตนการมาก่อน.

 

นอกจากนี้ ยังมีสารอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า สารประหลาด (exotic material) [ซึ่งน่าจะเรียกว่า ‘สารพระเจ้า' มากกว่า สิ่งใดที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่า มีอยู่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไร มักจะยกให้เป็น อำนาจพระเจ้าสร้างมันขึ้นมา]. สารประหลาด มีความหนาแน่นของพลังงาน โดยเฉลี่ยเป็นลบ ซึ่งจะวัดค่ามันได้ ผู้ทำการวัด จะต้องเคลื่อนที่ผ่านมัน ด้วยอัตราความเร็ว ใกล้ความเร็วแสง. สารประหลาด ก็ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งยังทำการพิสูจน์ได้ยากอยู่นั่นเอง.

 

 

2.2.2
แรงพื้นฐานของธรรมชาติ อยู่เบื้องหลังของปรากฎการณ์ต่างๆ ในเอกภพ

 

ที่จริง ธาตุและสสารทุกประเภทในเอกภพ มีแรงและพลังงานซ่อนแฝงอยู่. มนุษย์ รับรู้แรง และพลังงานได้ จากประสาทรับสัมผัส กลิ่น น้ำหนัก การเคลื่อนไหว และการเสียดทาน ที่เกิดจากวัตถุธาตุ-สสาร นั้น. นักวิทยาศาสตร์ ได้สร้าง แบบจำลองมาตรฐาน (standard model) ขึ้นมา เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ของอนุภาคสสาร ที่ทยอยกันค้นพบ. (ล่าสุดคือ อนุภาคสื่อแรง ชื่อ Higgs boson) อนุภาคเหล่านั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบ และมีโครงสร้างอย่างไร. แบบจำลองมาตรฐาน อธิบายว่า อนุภาคมูลฐานในเอกภพ ประกอบด้วย อนุภาคสสาร 12 ชนิด ที่สามารถรวมตัวกัน และเกิดอันตรกิริยาต่อกัน ผ่านอนุภาคที่เป็นพาหะของแรง หรืออนุภาค สื่อแรง 4 ชนิด. โปรตอน และ นิวตรอน เกิดจากอนุภาคมูลฐานทั้ง 12 ชนิด และเมื่อรวมกับ อิเล็กตรอน จะกลายเป็น อะตอม, หลายๆ อะตอม รวมกันเป็น โมเลกุล, หลายๆ โมเลกุล รวมกันเป็นโครงสร้าง ของ สิ่งต่างๆ. ตั้งแต่ วัตถุขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิต จุลินทรีย์ แบคทีเรีย พืช สัตว์ ไปจนถึง ดาวเคราะห์หิน ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ดาราจักร และอื่นๆ ในห้วงอวกาศ. แต่แบบจำลองมาตรฐานนี้ กลับไม่ได้รวม แรงโน้มถ่วง เอาไว้ด้วย.

 

ภาพที่ 2.07a แรงพื้นฐานที่ค้นพบแล้ว 4 ชนิด (ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - June No. 72/2017)

 

ภาพที่ 2.07b แรงพื้นฐานที่ค้นพบแล้ว 4 ชนิด
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - June No. 72/2017)

 

 

ภาพที่ 2.07c แรงพื้นฐานอีก 1 ชนิด ที่สันนิษฐานว่ามี แต่ยังค้นไม่พบ
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - June No. 72/2017)

 

 

ตามแบบจำลองมาตรฐาน, อนุภาคมูลฐาน 12 ชนิด เรียกว่า เฟอร์มิออน (fermion) ซึ่งถ้าไม่ใช่ ควาร์ก (quarks) ก็เป็น เลปตอน (lepton). ควาร์ก เป็นองค์ประกอบส่วนที่ย่อยที่สุดของ โปรตอน และ นิวตรอน, ส่วน เลปตอน จะรวมตัวกับ ควาร์ก เท่านั้น. กลุ่มของ ควาร์ก 6 ชนิด คือ up quark, down quark, strange quark, charm quark, bottom quark, top quark. กลุ่มของ เล็ปตอน 6 ชนิด ได้แก่ electron, muon, tau, electron-neutrino, muon-neutrino, tau-neutrino (นิวตริโน เดินทางด้วยความเร็ว เกือบเท่าแสง และผ่านสสารต่างๆ ได้อย่างอิสระ มันสามารถเดินทางผ่านโลกได้โดยตรง)

อนุภาคที่เป็นพาหะของแรง เรียกว่า โบซอน (boson) ประกอบด้วย gluon, photon, Z boson, W boson, Higgs boson. อนุภาคสื่อแรงเหล่านี้ ทำหน้าที่ผลักและดึง ให้อนุภาคทุกชนิด อยู่ในภาวะสมดุล ทำให้อนุภาคมูลฐานทั้งหลาย และอนุภาคอื่นๆ รวมตัวกันได้ และมีมวล. แม้นักวิทยาศาสตร์ จะเชื่อว่า แรงโน้มถ่วง และ สสารมืด มีอยู่ที่ไหนสักแห่งในเอกภพ แต่ยังค้นหาไม่พบ กลายเป็นส่วนที่ขาดหายไป ในแบบจำลองมาตรฐาน. เพื่อให้การจัดกลุ่มของอนุภาคมูลฐาน มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น, นักวิทยาศาสตร์ จึงรวมเอา แรงโน้มถ่วง ที่ยังมองไม่เห็นตัวตน ไว้ในสารบบของแรงด้วย.

 

สรุปว่า แรงที่เกิดมาพร้อมกับเอกภพ (และจะดับสลายไปพร้อมกับเอกภพ) มี 7 ชนิด คือ

(1) แรงโน้มถ่วง (gravitational force) (2) แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic force) (3) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (weak nuclear force) (4) แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (strong nuclear force) และรวมกับแรงชนิดอื่นๆ อีก 3 ชนิด ซึ่งเป็นแรงมีอิทธิพลร่วมกับแรงพื้นฐาน คือ (5) แรงของโมเลกุลชนิดเดียวกัน ดึงดูดกัน (cohesive force) (6) แรงที่เกิดจาก คลื่นและกระแสลม (wave) (7) แรงเสียดทาน.

 

ภาพที่ 2.08 แบบจำลองมาตรฐาน ของอนุภาคที่ค้นพบ
(ภาพจาก วิกิพีเดีย: Standard Model of Elementary Particles.svg - 27 June 2006)

 

 

แรงโน้มถ่วง หรือความโน้มถ่วง เป็นแรงที่รู้จักกันดีและเข้าใจได้ง่าย เพราะพบเห็นทุกวัน. แรงโน้มถ่วง ทำให้ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร เคลื่อนที่เป็นวงโคจร ในขณะที่เอกภพกำลังขยายตัว. ระบบสุริยะของเรา ใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการโคจรรอบดาราจักรทางช้างเผือก 1 รอบ. ดังนั้น ระบบสุริยะทั้งดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ จึงเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว ประมาณ 800,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง.

แรงไทดัล (tidal gravity) เป็นแรงโน้มถ่วงในธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง ที่สังเกตได้ แรงไทดัล เป็นความเร่งโน้มถ่วงที่บีบอัดวัตถุตามทิศทางหนึ่ง และดึงยืดมันในอีกทิศทางหนึ่ง ตรงกันข้าม (ลักษณะเดียวกับการ ฉีก วัตถุให้ขาดจากกัน). แรงไทดัลที่เกิดจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นตัวการทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง ในมหาสมุทรบนโลกของเรา.

แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นแรงที่ถูกปลด ปล่อยออกมาจาก ปฏิกิริยาและการเคลื่อนไหวภายในอะตอมของสสาร.

แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน เป็นแรงที่ทำให้ เกิดการสลายตัว ของสารกัมมันตรังสี เป็นเหตุให้อะตอม มีการสลายตัวอย่างช้าๆ.

แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ทำหน้าที่ยึดเกาะโปรตอนและนิวตรอน ให้รวมกันเป็นนิวเคลียส (แก่น) ของอะตอม. นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้วัตถุธาตุ สสารต่างๆ ปรากฎตัวตนให้จับต้องได้.

มีแรงกลอีกประเภทหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อ การเปลี่ยนแปลงรูปทรง การเคลื่อนไหว ของวัตถุสาร และเปลือกโลก. ได้แก่ แรงตรึงผิว (surface tension) แรงของคลื่นกระแทก (shock wave) แรงของคลื่นไหวสะท้อน หรือคลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) แรงของแผ่นดินไหว (earthquake) แรงปะทะของน้ำและลม (swash) แรงที่เกิดจากคลื่นกระแทกจากศูนย์กลาง เช่น แรงจากแผ่นดินไหว ใต้ทะเล (tsunami) แรงจากระเบิด (blast wave) แรงของอนุภาคกลิ่นต่างๆ (scent particle).

 

แรงต่างๆ เหล่านี้ มีหน่วยวัด ที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัว. volt คือ หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า, abvolt คือ หน่วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า (เซนติเมตร-กรัม-วินาที), Gilbert คือ หน่วยวัดแรงแม่เหล็ก, calorie คือ หน่วยวัดพลังงานความร้อน และ watt คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า.

แรงที่ทำให้วัตถุต่างๆ หมุนหรือเคลื่อนที่ได้ ตามกฎกลศาสตร์ ของไอแซค นิวตัน ถูกนำไปใช้สร้างจรวด และเครื่องจักรกลต่างๆ มากมาย. กฎพื้นฐาน 3 ข้อ ของนิวตัน กล่าวไว้ว่า (1) วัตถุ จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ หรือ เคลื่อนที่ต่อเนื่องด้วยความเร็วคงที่ ไปจนกว่า จะมีแรงภายนอก มากระทำต่อวัตถุนั้น (2) แรง เท่ากับ มวล คูณด้วย ความเร่ง จากสูตร a = F/m ( เมื่อ a คือ Acceleration -ความเร่ง, F คือ Force -แรง, m คือ mass -มวลของวัตถุ) (3) แรงกิริยา เท่ากับ แรงปฏิกิริยา หรือ แรงกระทำ เท่ากับ แรงต้าน.

 

แรงที่เกิดจาก คลื่นความดันของเสียง ที่มากเกินต้องการ อาจสร้างอุปสรรคแก่สภาพแวดล้อม บนพื้นโลก. ความเร็วเสียง เสียง คือ คลื่นความดัน ที่กระจายตัวออกจากการขนกัน ของโมเลกุล เสียงเดินทางช้า เมื่อเดินทางผ่านก๊าซและอากาศ แต่เคลื่อนที่เร็วขึ้นในน้ำ และเร็วที่สุดเมื่ออยู่ใน ของแข็ง. เสียงเดินทางในอากาศ ที่ความสูงระดับน้ำทะเล เท่ากับ 1,225 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, ในระดับ ความสูงกว่านี้ เสียงยิ่งเดินทางได้ช้า และในอวกาศ เสียงไม่สามารถเดินทางได้. น้ำที่มีอุณภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นตัวกลาง ทำให้เสียงเดินทางได้เร็วเท่ากับ 5,342 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง. เสียงเดินทางผ่านเนื้อเหล็ก ด้วยความเร็ว 18,423 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, และเดินทางผ่านเนื้อหินเพชร ด้วยความเร็ว 43,200 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง.

นักวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างเครื่องบินเร็วเหนือเสียงมาแล้วหลายรุ่น, เครื่องบินขับไล่โจมตี เอฟ/เอ -18 ฮอร์เน็ต (F/A-18 Hornet) สามารถบินทำลายกำแพงเสียง ที่ความเร็ว 1,915 กิโลเมตรต่อชั่วโมง. เครื่องบินที่เร็วที่สุดในโลก ชื่อ คองคอร์ด (ค.ศ.1975 ) บินด้วยความเร็ว 2,179 กิโลเมตรต่อชั่วโมง, แต่สร้างมลภาวะโซนิคบูม ด้วยพลังเสียง 136 เดซิเบล สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่มันบินผ่าน เครื่องบินรุ่นนี้ จึงถูกยกเลิกไป ในปี ค.ศ. 2003.[17]

 


[17]
SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 80. February 2018, หน้า 60-61.

 

ความเร็วของรถเลื่อนจรวดที่แล่นบนราง เมื่อปี ค.ศ.2003 เท่ากับ 10,325 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง (8.5 มัค). ในปี ค.ศ.1973 เรือที่เร็วที่สุดในโลก ชื่อ สปิริต ออฟ ออสเตรเลีย (Spirit of Australia) ถูกสร้างขึ้น ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่น แล่นด้วยความเร็ว 511 กิโลเมตรต่อชั่วโมง. เครื่องบิน ล็อกฮีต เอสอาร์ –71 แบล็คเบิร์ด (Lockhead SR-71 Blackbird) ที่ได้ชื่อว่า เร็วที่สุดในโลก ลำล่าสุด บินได้เร็ว 3,530 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เร็วกว่า จรวดต่อสู้อากาศยาน). ยานอวกาศ นิว ฮอไรซันส์ (New Horizons) ถูกส่งออกไปเพื่อสำรวจ ดาวพลูโต เมื่อปี ค.ศ.2006 แล่นด้วยความเร็ว 58,536 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งจัดว่าเป็นยานอวกาศ ที่แล่นได้เร็วที่สุดในโลกในขณะนี้.

กระแสไฟฟ้า เกิดจาก อิเล็กตรอน ที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงจร กระแสไฟฟ้าในวงจร อาจเป็นการไหล ของประจุบวก หรือ ประจุลบ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง. ถ้าเป็นกระแสไฟตรง (direct current) อิเล็กตรอน จะไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวก อิเล็กตรอน ที่กำลังเคลื่อนที่ จะให้พลังงาน เป็นไปตามกฎของโอห์ม (Ohm's Law) คือ V หรือ E = R x I. เมื่อ V คือ แรงดันไฟฟ้า (voltage - มีหน่วย เป็น volt: V) แรงที่ทำให้ อิเล็กตรอน ที่มีความต่างศักดิ์กัน เคลื่อนที่ไปในวงจร. R คือ ความต้านทานไฟฟ้า (resistance - มีหน่วย เป็น ohm:) ตัวชี้ความยากหรือง่าย ในการไหลผ่าน ของกระแสไฟฟ้า. I คือ กระแสไฟฟ้า ในวงจร (current intensity - มีหน่วย เป็น ampere: A).

 

2.2.3
คลื่น และ พฤติการณ์ของคลื่น

 

ในเอกภพอันกว้างใหญ่ ได้ซุกซ่อนคลื่นต่างๆ เอาไว้มากมาย ล้วนแต่เป็นคลื่นที่มนุษย์ไม่อาจสัมผัสมันได้โดยตรง แต่อาจใช้เครื่องมือเทคโนโลยีช่วยได้บ้าง เช่น คลื่นที่มีความยาวสั้นมากๆ และ ยาวมากๆ (long-short wave) คลื่นความร้อน (heat) คลื่นตกกระทบ (incident wave) คลื่นวิทยุ (radio) คลื่นไฟฟ้า (electric) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic) คลื่นไมโครเวฟ (microwave) รังสีต่างๆ (radiation) คลื่นสมอง (brain wave). นั่นเป็นเพราะว่า สสารทุกชนิด ทุกประเภท ที่มีอุณหภูมิ เหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์ จะแผ่รังสีในย่านความถี่ต่างๆ ออกมาเสมอ.

 

ชนิดของคลื่น คลื่นแบ่งออกตามลักษณะของตัวกลาง ได้เป็น 2 ประเภท คือ

(1) คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก

(2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คือ คลื่นที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่.

 

แต่ถ้าจำแนกคลื่น ตามลักษณะการกำเนิดคลื่น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คลื่นดล และ คลื่นต่อเนื่อง. คลื่นดล (pulse wave) คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิด สั่นเพียงครั้งเดียว แล้วเกิดคลื่นลูกหนึ่ง กระจายออกจากแหล่งกำเนิด เช่น คลื่นที่เกิดจากการโยนหินลงไปในน้ำ. คลื่นต่อเนื่อง (continuous wave) คือ คลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิด หลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิด คลื่นหลายลูกติดต่อกัน เช่น คลื่นน้ำที่เกิดจากการใช้มอเตอร์. การจำแนกคลื่น ตามลักษณะการเคลื่อนที่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คลื่นตามขวาง และคลื่นตามยาว. คลื่นตามขวาง (transverse wave) เป็นคลื่นที่ส่งผ่านไปในตัวกลาง แล้วทำให้อนุภาคในตัวกลาง เคลื่อนที่ตั้งฉากกับทิศทาง. เช่น คลื่นแสง และคลื่นตามขวางในเส้นเชือก. คลื่นตามยาว (longitudinal wave) เป็นคลื่นที่ส่งผ่านไปในตัวกลาง แล้วทำให้อนุภาคในตัวกลาง เคลื่อนที่ตามแนวขนานกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นสปริง เป็นต้น.

 

คุณสมบัติพื้นฐานร่วมกัน ของคลื่นทุกประเภท คือ ถ้าเปลี่ยนทิศทาง จะเกิดการสะท้อนเมื่อตกกระทบผิว (คุณสมบัติการสะท้อน – reflection). ถ้าเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่ง ไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง คลื่นจะเปลี่ยนทิศทาง (คุณสมบัติการหักเห – refraction). ถ้าคลื่นเคลื่อนที่ โดยการขยายวงออกไปเรื่อยๆ เช่น คลื่นที่วิ่งผ่านออกจากช่องแคบๆ จะมีลักษณะขยายขนาดของลำคลื่นออกไป (คุณสมบัติการเลี้ยวเบน – diffraction). ถ้าคลื่นวิ่งมาตัดกัน จะเกิดการซ้อนทับกันได้ (คุณสมบัติการแทรกสอด – interference). ถ้าคลื่นมีความถี่ต่างกัน จะเคลื่อนที่แยกตัวออกห่างจากกัน (คุณสมบัติการกระจาย – dispersion). การเคลื่อนที่ของคลื่น จะเป็นเส้นตรงเสมอ (คุณสมบัติการแผ่เชิงเส้นตรง – rectilinear propagation). ตัวอย่างของคลื่น ที่เราพบได้ประจำวัน เช่น คลื่นเชิงกล (คลื่นผิวน้ำ คลื่นเสียง) คลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้า (รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา รังสีอัลตราไวโอเล็ต แสงที่เรามองเห็น คลื่นอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ) รวมทั้ง คลื่นสนามแรงโน้มถ่วง.

 

 

ภาพที่ 2.09 ส่วนประกอบของคลื่น และลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

 

คลื่นที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) คลื่นแรงโน้มถ่วง (gravitational wave) คลื่นการกระเพื่อม การสั่น (pulsation wave) ส่วนคลื่นพลังจิต (psychical wave) เป็นคลื่นเพียงชนิดเดียว ที่นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่สามารถสร้างเครื่องมือตรวจจับได้ จึงเป็นคลื่นที่ไม่สามารถค้นพบได้ โดยวิธีกลศาสตร์. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา ของคลื่นทุกชนิด ได้แก่ ระยะตำแหน่ง (spatial) เวลา (temporal) และ จังหวะ (rhythm) ของอนุภาคที่อยู่รอบๆ.

 

ภาวะคลื่น เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกสถานที่ ทุกเวลา รอบตัวเรา แต่ประสาทสัมผัสทางตา สามารถรับความยาวคลื่นเหล่านั้น ได้แค่ระดับ 400 - 700 นาโนเมตร. มนุษย์ มองเห็นสีของแสงได้จำกัด อย่างมาก ไม่เกิน 256 สี ทั้งที่ในเอกภพ มีสีมากกว่า 16.7 ล้านสี. สายตามนุษย์ สามารถมองเห็น ภาพสามมิติจริง กับ สามมิติจำลอง (hologram picture) ได้. ประสาทสัมผัสทางหู สามารถรับความดังของเสียง ได้จำกัด แค่ 30 – 140 เดซิเบล และ รับคลื่นความถี่ของเสียง ได้ 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เท่านั้น.

 

คลื่นเสียง ที่มนุษย์รับรู้ได้ ผ่านประสาทสัมผัส และผ่านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ silent, loud, low-high frequency, echo, ultrasound, ultrasonic, big bang, musical, voice, alto, sonic. คลื่นแสง ที่มีอยู่ในเอกภพ ที่สายตามนุษย์รับรู้ และ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์วัดค่าได้ ได้แก่ sunlight, electric light, flash, daylight, back-light, aurora, ultraviolet ray, UV, infrared, bolt, blaze, candlelight. คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของคลื่นแสง ที่ก่อให้เกิดสีสันต่างๆ ได้แก่ hue, shade, tone, monochrome.

กลิ่นก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ในอวกาศก็มีกลิ่น, ดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัย ได้ปล่อยสารประกอบมีกลิ่นจำพวก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) [18] ออกมามากมายเต็มเอกภพ. แต่ในอวกาศไม่มีอากาศ จมูกจึงไม่ได้รับกลิ่น นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS สังเกตว่า หลังกลับจากนอกตัวยาน จะมีกลิ่นเหมือนเนื้อไหม้บนเตาเหล็ก ที่ชุบน้ำมันเครื่อง ติดมากับชุดนักบินอวกาศ ซึ่งกลิ่นนี้ มาจากสารดังกล่าวนั่นเอง.[19]

 


[18]  สารประกอบกลุ่ม polycyclic aromatic hydrocarbon เป็นกลุ่มของสารเคมี มากกว่า 100 ชนิด เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ หรือการสลายทางเคมีของสารอินทรีย์ ที่ได้รับความร้อนหรือถูกเผาจาก เชื้อเพลิง ถ่านหิน ไม้ และสาร อินทรีย์อื่นๆ.


[19]
 SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 74. Auguest 2017, หน้า 19.

 

 

คลื่นกระแทก (shock) หมายถึง บริเวณที่เกิดความไม่ต่อเนื่องของของไหล จะเกิดขึ้นเมื่อของไหล ไหลไปชนกับอุปสรรค หรือไหลชนกันเอง ด้วยความเร็วสัมพัทธ์ ที่มากกว่าความเร็วเสียง. เรียกของไหล ที่กำลังไหลเข้าหาคลื่นกระแทกนั้นว่า upstream และเรียกของไหลส่วน ที่ไหลผ่านคลื่น กระแทกมาแล้วว่า downstream. ส่วนของไหลที่ถูกเร่งอนุภาค (shock acceleration) ด้วยความเร็ว ระดับหนึ่ง ก่อให้เกิด รังสีคอสมิค (cosmic rays) พลังงานสูง. รังสีคอสมิค จากนอกระบบสุริยะ ส่วนใหญ่ ถูกเร่งให้มีพลังงานสูง ที่บริเวณคลื่นกระแทกที่เกิดขึ้น หลังจากการระเบิดของ supernova. รังสีคอสมิค ที่ผ่านเข้ามาในระบบสุริยะ ก็ถูกเร่งให้มีพลังงานสูง ที่คลื่นกระแทกเช่นกัน.

 

2.2.4
ข้อถกเถียง จากการค้นพบอนุภาคใหม่ ของศูนย์วิจัย CERN

 

LHC (Large Hadron Collider) คือ เครื่องเร่งอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาว 27 กม. เริ่มใช้งาน เมื่อปี ค.ศ.2008. นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลอง ยิงโปรตอน นับล้านๆ ตัว ผ่านเครื่องเร่งอนุภาคนี้ เพื่อให้มันชนกัน ซึ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลาเล็กน้อยมาก จนไม่สามารถจับได้ทัน. แม้จะมีเครื่องตรวจจับ 6 เครื่องอยู่ก็ตาม เครื่องตรวจจับ จะคอยวัดชิ้นส่วนของอนุภาค ที่หลงเหลืออยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ.2012 อนุภาค Higgs boson ก็ถูกค้นพบ และได้รับการยืนยันแล้ว. มันถูกจัดเข้าในระบบของ แบบจำลองมาตรฐาน ไปแล้ว. แต่เมื่อปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ ได้ตรวจจับอนุภาค ที่ค้นพบใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า อนุภาคมูลฐานอื่นๆ มาก. มันมีมวล วัดได้ 750 GeV/c2(ยกกำลัง 2) ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถกำหนด หรือระบุสมบัติให้กับมันได้ เพราะคุณลักษณะของอนุภาคใหม่นี้ ไม่เข้ากับแบบจำลองมาตรฐาน.

 

ภาพที่ 2.10 เปรียบเทียบขนาดของเครื่องเร่งอนุภาค 5 รุ่น
ของศูนย์วิจัย CERN ตั้งแต่ เริ่มสร้างปี ค.ศ 1958, 1976, 1989, 2008,
และ 2035 (ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - November No. 89/2018)

 

 

นักวิทยาศาสตร์พยายามให้คำนิยาม กับอนุภาคที่ค้นพบใหม่นี้ ว่าคืออะไรกันแน่. แบ่งข้อสรุปเป็น 5 แนวทาง คือ

(1) มันคืออนุภาคที่เป็น “พาหะ” ของแรงโน้มถ่วง ซึ่งก็คือ graviton

(2) เป็นอนุภาคสสารคู่ยิ่งยวด หรือ super partner ของ ฮิกส์ โบซอน เรียกว่า ฮิกสิโน (higgsino). อนุภาคนี้ อาจะป็นสัญญาณ ของสมมาตรยิ่งยวด เพราะแต่ละอนุภาค ในแบบจำลองมาตรฐาน จะมีคู่ แบบ super partner ที่มีขนาดใหญ่กว่าอยู่แล้ว. กล่าวคือ อนุภาคสสาร มีคู่เป็นอนุภาคแรง, อนุภาคแรง มีคู่เป็น อนุภาคสสาร.

(3) เป็นอนุภาคแรงชนิดใหม่ ในธรรมชาติ ซึ่งได้รับการรวมตัวกัน ด้วยวิธีใหม่ ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งต้องใช้แรงนิวเคลียร์แบบเข้มยิ่งยวด ในการดำรงของสถานะของมัน.

(4) เป็นอนุภาคประตู ทางเข้าสู่อีกเอกภพหนึ่ง ซึ่งเป็นเอกภพคู่ขนาน ที่เต็มไปด้วยสสารมืด.

(5) อนุภาคนี้ คือ สตริง (string).

 

นักวิทยาศาสตร์บางคน บอกว่าค่าวัดที่ได้นี้ ไม่ใช่การค้นพบอนุภาค แต่เป็นการพิสูจน์ว่า แบบจำลองมาตรฐาน และอนุภาคในแบบจำลองไม่ถูกต้อง. ที่จริง โลกประกอบ ด้วย สตริงซึ่งสั่นไหว[20] ที่ความถี่เฉพาะ แต่ละความถี่ ก็คือ อนุภาคหนึ่งๆ ในแบบจำลองมาตรฐาน นั่นเอง, สรุปว่า อนุภาคใหม่ที่ค้นพบนี้ ไม่มีอยู่จริง. แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องให้เครื่อง LHC ทำงานต่อ และหวังพึ่งเครื่องเร่งอนุภาครุ่นใหม่ คือ FCC ซึ่งจะทำงานได้ในอนาคต เพื่อยืนยันการมีอยู่จริง ของอนุภาคใหม่นี้.

 


[20]
ทฤษฎีสตริง เป็นแบบจำลองของอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด และสั่นไหวได้. การสั่นของมัน ทำให้เกิดมิติเดียวแต่เป็นเส้น (string) แทนที่จะเป็นจุด หรือศูนย์มิติ. ทำให้สตริง มีความสอดคล้องกับคุณสมบัติของเวลามากขึ้น เพราะเส้นสตริง ไม่มีจุดปลาย เช่นเดียวกับเวลา.

 

อนุภาคพาหะของแรง รวมทั้ง สตริง อาจมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ จิตวิญญาณ หรือ มีจิตวิญญาณทับซ้อนอยู่ในสตริง. หากจะกล่าวว่าอาจมี แบบจำลองของพระเจ้า (God Created model) อยู่ก่อนแบบจำลองมาตรฐาน ที่นักวิทยาศาสตร์ คิดขึ้นมาก่อนก็ได้. ตถาคตทรงค้นพบ แบบจำลองทางธรรมชาติ มาก่อนหน้านั้นแล้ว. แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ สังขตธรรม ธรรมชาติของการปรุงแต่ง อันเป็นต้นแบบของเอกภพทั้งมวล กับ อสังขตธรรม ธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง.

 

ภาพที่ 2.11 หน้าที่ของเครื่องเร่งอนุภาค Future Circular Collider หรือ FCC เพื่อการวิจัยและการค้นหา บิ๊กแบง (ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED - November No. 89/2018)

 

 

2.2.5
ความแตกต่างระหว่าง แรงด้านฟิสิกส์ กับแรงด้านจิตธาตุ

 

แรง เป็นสมบัติและอาการของธัมมะธาตุ ที่กระทำต่อวัตถุธาตุทุกประเภท. แรง ไม่เพียงแต่กระทำให้วัตถุเคลื่อนไปเท่านั้น แรงยังสร้างสมดุลให้แก่วัตถุได้อีกด้วย เรียกว่า สภาพสมดุลทางกลศาสตร์ (mechanical equilibrium). ปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพ สมดุลทางกลศาสตร์ ได้แก่ จุดศูนย์กลางมวล จุดศูนย์ถ่วง โมเมนต์ และเสถียรภาพของสมดุล (โปรดดูรายละเอียด ข้อ 6.4 กฎสมดุล ในบทที่ 6). การกระทำของแรง ที่กระทำต่อวัตถุ ส่งผลต่อการพัฒนาด้านกลศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เป็นอย่างมาก.

 

หลักฟิสิกส์ กล่าวไว้ว่า แรงที่กระทำต่อวัตถุธาตุต่างๆ ได้แก่แรงพื้นฐาน 4 ชนิด ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ คือ แรงโน้มถ่วง. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แรงโน้มถ่วง มีอนุภาคกราวิตอน (graviton) เป็นอนุภาคสื่อแรง ปัจจุบัน ยังไม่พบอนุภาคนี้. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (แรงแม่เหล็กรวมกับแรงไฟฟ้า) แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม และ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน.

 

แรงทั้ง 4 ชนิด ในทัศนะของพุทธศาสน์ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่อยู่ภายใต้ กฎสังขตธรรม สอดคล้องกับหลักฟิสิกส์ ในข้อที่ว่า แรงพื้นฐานทั้งสี่นี้ ต่างก็เป็นปัจจัยที่ทำให้สสารและพลังงาน ดำรงอยู่และสลับสถานะกัน ตลอดเวลา.

ควาร์ก ทำหน้าที่ดึงดูดนิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นของอะตอมไว้ จำเป็นต้องอาศัยแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ที่มีรัศมีของแรงสั้นและแต่เข้มข้นสุดขั้ว. แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน เป็นตัวละลายสารกัมมันตรังสี ทำให้อะตอมเสื่อมสลายตัว. แรงชนิดนี้ จะส่งผลเฉพาะอะตอมที่มันสถิตอยู่เท่านั้น เพราะอะตอมแต่ละตัว จะมีแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนเป็นของตัวเองอยู่แล้ว. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า และ แรงโน้มถ่วง เป็นแรงที่แผ่กว้างไปทั่วเอกภพ. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า สังเกตได้และพิสูจน์ได้ง่ายกว่า เพราะมนุษย์สัมผัสมันได้ทุกวัน เช่น แสง สี คลื่น. ส่วนแรงโน้มถ่วง แม้ทุกคนรู้ว่ามันมีอยู่จริง แต่ก็สัมผัสไม่ได้ อาจเป็นเพราะเงื่อนไขบางอย่าง ที่นักวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า มันมีอยู่จริงอย่างไร. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แรงโน้มถ่วงจะต้องมี สื่อของแรง ซึ่งเรียกว่า กราวิตอน เช่นเดียวกับแรงชนิดอื่น (ซึ่งค้นพบแล้ว) คือ กลูออน โฟตอน โบซอน (W boson and Z boson) เป็นอนุภาคสื่อของ แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม แรงแม่เหล็กไฟฟ้า และ แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน ตามลำดับ. ดังนั้น จะพิสูจน์ตัวตนของแรงโน้มถ่วงได้จริง จะต้องค้นพบ กราวิตอน ให้ได้ก่อน.

จิตธาตุ เป็นปรากฎการณ์หนึ่งในธรรมชาติ อาศัยเหตุปัจจัย ในการดำรงอยู่และเสื่อมสลาย. ปรากฎการณ์ของจิตธาตุ ในทัศนะของวิทยาศาสตร์ อาจไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า แรง หรือ คลื่น แบบฟิสิกส์ เพราะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น. แต่ในทัศนะของพุทธศาสน์, สิ่งที่มากระทำต่อจิตธาตุ เปรียบเสมือนแรงอีกแบบหนึ่ง (แต่ไม่ใช่แรงทางฟิสิกส์ เพื่อให้การอธิบาย เข้ากันได ้ระหว่างปรากฎการณ์ทางด้านวัตถุและด้านจิต จำเป็นต้องใช้คำว่า แรง ไปพลางก่อน).

 

แรง ที่กระทำต่อจิตธาตุ มี 4 ชนิด คือ

(1) เจตนา – มนสิการ
(2) ทิฏฐิ – ปัญญา
(3) สติ – สมาธิ – ฌาน
(4) กรรม – วิบาก.

 

เจตนา – มนสิการ  มีความจงใจ เป็นเหตุ มีกรรม เป็นผล. แรงชนิดนี้ สังเกตได้ง่ายกว่าแรงชนิดอื่น มีอยู่ในสัตว์ทุกตัวตน (สัตว์ ในที่นี้ หมายถึง สัตว์เดรัจฉาน สัตว์อบาย มนุษย์ เทวดา). เจตนา เกิดขึ้นเพราะสัตว์นั้น เป็นผู้จงใจกระทำกิริยาอาการต่างๆ ด้วยตนเอง จะส่งผลต่อไปยังแรงชนิดที่ 4 คือ วิบาก.

 

ทิฏฐิ – ปัญญา  แปรตามตัวอักษรว่า ความเห็น เป็นแรงที่อยู่เบื้องลึกของจิตใจ ทำให้สัตว์มีความรู้สึกเป็นตัวตน. ทิฏฐิ ตรงกับสิ่งที่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เรียกว่า อีโก้ (ego). ทิฏฐิ เป็นแรงที่ทำให้สัตว์มีความเป็นอิสระสูง เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ของสัตว์เลยทีเดียว. ทิฏฐิ จะทำให้มนุษย์มีเจตจำนงเสรี (free will) หรือไม่ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการมีเจตนา ทั้งในด้านบวก (สัมมาทิฏฐิ ปัญญา) และด้านลบ (มิจฉาทิฏฐิ). ทิฏฐิ มีคุณสมบัติคล้ายแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน สังเกตได้ยาก เพราะอยู่เบื้องลึกของจิต. สัมมาทิฏฐิ สามารถใช้เป็นแรงสลาย เจตนาด้านลบ และจิตด้านลบได้ อันเป็นผลมาจาก การใช้แรงปัญญา เช่น อวิชชา ตัณหา ราคะ นันทิ ฉันทะ สังโยชน์ เป็นต้น.

 

สติ – สมาธิ – ฌาน  เป็นแรงทางจิตที่สร้างขึ้น โดยการรวมจิตสู่ศูนย์กลาง. เป็นแรงที่สัตว์นั้น ต้องกระทำขึ้นเอง เพื่อนำพลังของแรงไปใช้ในงานอื่น เช่น การล่าเหยื่อของสิงโต การสอดด้ายเข้ารูเข็มของคนงาน การเพ่งสมาธิในฌาน เป็นต้น. สมาธิ มีคุณสมบัติคล้ายแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม คือ เป็นแรงที่ยึดจิตซึ่งมักกระเจิดกระเจิง ให้อยู่รวมศูนย์ในที่แห่งเดียว มีสติเป็นสื่อของแรง (ถ้าไม่มีสติ สมาธิก็ไม่อาจรวมศูนย์ได้ กล่าวได้ว่า สติ เป็นเหตุ, สมาธิ และ ฌาน เป็นผล).

 

กรรม – วิบาก  เป็นผลมาจาก เจตนา มนสิการ. แรงชนิดนี้ มีความพิเศษ ต่างจากแรงชนิดอื่น คือ ไม่มีความแน่นอน ในผลที่ปรากฎขึ้น อันเนื่องมาจากเจตนา เพราะเหตุที่ เจตนาและกรรม มีความแตกต่างหลากหลาย และมีเงื่อนไขซับซ้อน. วิบาก สามารถแผ่ขยายผลของแรงไปสู่ผู้อื่นได้ ในลักษณะของ “การสื่อสาร”. วิบาก มีคุณสมบัติคล้ายแรงโน้มถ่วง มีกรรมเป็นสื่อกลาง (ถ้าไม่มีเจตนา ก็ไม่มีกรรม และถ้าไม่มีกรรม ก็ไม่มีวิบาก).

รัศมีแรงของวิบาก แผ่ไปได้ไกล และส่งผลต่อตัวสัตว์นั้นเอง และสัตว์อื่นในระยะไกล ข้ามภพข้ามชาติเลยทีเดียว. การเกิดและการเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันของสัตว์ ล้วนเป็นผลมาจาก วิบาก ทั้งสิ้น. นั่นคือ ในระหว่างสัตว์เหล่านั้น ได้มีการสื่อสารกันของวิบาก มาก่อนหน้านั้นแล้ว. การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของสัตว์ บุคคล มีรูปแบบลักษณะ ที่แตกต่างหลากหลาย ไม่สามารถคาดเดา หรือหากฎแน่นอนตายตัวได้. เช่น ไม่อาจบอกได้ว่า ฆ่าสุนัขแล้ว จะต้องไปเกิดเป็นสุนัข ในชาติถัดไป หรือ ฆ่าพระอรหันต์แล้ว จะต้องไปเกิดเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นตรรกที่ผิด.

 

เจตนา-มนสิการ ทิฏฐิ-ปัญญา และ สติ-สมาธิ-ฌาน เป็นแรงทางจิต ที่ส่งผลของแรงในระยะใกล้ แต่มีความเข้มมากกว่า, จึงส่งผลของแรง ต่อผู้กระทำนั้นเอง จะไม่ส่งผลต่อผู้อื่น. แต่ กรรม-วิบาก จะส่งผลของแรงไปได้ในระยะไกล และผลของแรงนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว. เปรียบเหมือน การโยนท่อนไม้ขึ้นไปบนอากาศหลายๆ ครั้ง แล้วปล่อยให้ตกลงมา ซึ่งส่วนของท่อนไม้ ที่ตกลงบนพื้นดินแต่ละครั้ง ก็ไม่มีความแน่นอนว่า ส่วนใดของท่อนไม้นั้น จะสัมผัสกับพื้นดินก่อน.

 

2.2.6
พฤติการณ์ของ อนุภาคอิเล็กตรอน โฟตอน จิตวิญญาณ

 

กระแสไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ สร้างขึ้นจากเซลล์ประสาท หลายพันล้านเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบอวัยวะ ตั้งแต่การมองเห็นไปจนถึง การเรียนรู้ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ. เซลล์ประสาท จะสื่อสารระหว่างกัน และส่งคำสั่งต่างๆ โดยส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กออกไปด้วยเร็วสูง ตามลำดับขั้นตอน. คือ (1) ตัวเซลล์ (cell body) ในเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ ‘ยิงกระแส ไฟฟ้า' ไปยังเซลล์อื่นๆ. (2) เซลล์อื่นๆ ขณะหยุดนิ่ง สามารถสร้าง ‘ประจุไฟฟ้า' ไว้ในตัวเองได้ เพื่อสร้างความต่างศักดิ์ (ลบ) ไว้รับกระแสไฟฟ้าจากเซลล์อื่น ความเร็วในการรับส่งของกระแสไฟฟ้า วัดได้ 360 กม./ชม. (3) การส่งกระแสประสาท จะกระทำผ่าน ‘สารสื่อประสาท' สารสื่อประสาท จะพกพาข้อมูลที่ได้รับ ไปยังสมอง (4) ก่อเกิดกระแสประสาท หลายล้านเส้น ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา บนเครือข่ายเซลล์ประสาท ภายในสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะ ‘เซลล์ประสาทรับความ รู้สึก (sensory neurons). 'กระแสประสาท จะทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท ที่มาจาก ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ผ่านทางระบบประสาทส่วนกลาง ไปยังสมอง เพื่อประมวลผล. (5) จากนั้น ‘เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons)' จะรับข้อมูลคำสั่ง หรือสัญญาณ จากสมองที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อตอบสนอง เป็นพฤติกรรมต่างๆ.

 

กฎฟิสิกส์ข้อหนึ่ง กล่าวว่า พลังงานรวมในเอกภพ ต้องมีค่าคงที่ พลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำให้สูญหายไปได้ แต่เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปแบบอื่นได้ เช่น จากพลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อน. แรงและพลังงานของจิต ก็มีพฤติการณ์ไม่ต่างกัน แต่มีลักษณะและคุณสมบัติ ต่างจากแรงในทางฟิสิกส์ ดังที่กล่าวไปแล้ว.

ส่วนการเคลื่อนที่ของอนุภาค, แม้อนุภาคจะมีคุณสมบัติไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ไม่ได้วิ่งจากดาวดวงนั้นไปดวงนี้ หรือวิ่งจากที่นั่นมาที่นี่. อนุภาคส่วนใหญ่ จะเคลื่อนอยู่ในวงจำกัดของมัน เรียกว่า สปิน หรือ โมเมนตัม (การหมุน) ด้วยอัตราความเร็วใกล้ความเร็วแสง. มีอนุภาคเพียง 3 ชนิดเท่านั้น ที่มีลักษณะสปิน และเคลื่อนไปทั่วเอกภพไปพร้อมกัน คือ อนุภาคโฟตอน (คลื่นแสง) คลื่นความโน้มถ่วง และ นิวตริโน. ความจริง โฟตอน ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเส้นสายต่อเนื่อง แต่เกิดเป็นห้วงสั้นๆ ของคลื่น ซึ่งเรียกว่า ควอนตัม. ควอนตัม ถูกส่งต่อๆ ไป ทั่วเอกภพ และเรียกชื่อต่างๆ ตามลักษณะความยาวคลื่น คือ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ รังสีอัลตราไวโอเล็ต รังสีหรือแสงที่มนุษย์มองเห็น คลื่นอินฟาเรด คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ. พฤติการณ์ของโฟตอน มีลักษณะคล้ายจิต (วิญญาณ). แต่ต่างกันตรงที่ การส่งต่อข้อมูลของจิต จากดวงหนึ่งไปอีกดวงหนึ่ง จะกระทำในทันที่ที่เกิด และส่งข้อมูลแล้ว ก็จะดับในทันที. จิต เกิด-ดับ ในทันที ทำให้จิตของสัตว์ต่างๆ ดูเหมือน เคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็ว ที่วัดด้วย “การรับรู้” หรือความรู้สึก ไม่ใช่อัตราเร็ว ที่วัดค่าได้ทาง ฟิสิกส์. ส่วนคลื่นความโน้มถ่วง และคลื่นนิวตริโน ยังเป็นอนุภาคที่อยู่ใน “การรับรู้” ของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งรอการพิสูจน์
อัตลักษณ์ที่แท้จริงต่อไป.

 

กระแสไฟฟ้าพลังจิต (psychological electric) คืออะไร. จิตมีการทำงาน คล้ายวงจรไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 หน่วย คือ

(1) หน่วยที่เป็นที่อาศัยของจิต (รูปขันธ์) ได้แก่ ตัวเซลล์ประสาท และสารสื่อประสาท เปรียบเหมือน อิเล็กตรอนของไฟฟ้า

(2) หน่วยการรับรู้สัมผัสปัจจุบัน (เวทนาขันธ์) ได้แก่ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neurons) ธาตุรู้จะเริ่มที่นี่. หน่วยการรับรู้สัมผัส เปรียบเหมือนแรงดันไฟฟ้า

(3) หน่วยความจำ หรือการจดจำอดีต (สัญญาขันธ์) ได้แก่ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เปรียบเหมือน ปริมาณของอิเล็กตรอน หรือกระแสไฟฟ้า

(4) หน่วยประมวลผล (สังขารขันธ์) หน่วยนี้จะทำงาน ในเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) การคิดปรุงแต่ง การตัดสินใจ ซึ่งล้วนแต่ เป็นเหตุการณ์อนาคตทั้งสิ้น. หน่วยประมวลผลนี้ จะถูกกลั่นกรองจากสติ สัมปชัญญะ ทิฐิ หิริ โอตตัปปะ เปรียบเหมือน ความต้านทานไฟฟ้า. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว จะถูกนำไปจัดเก็บไว้ ในหน่วยสุดท้าย คือ

(5) หน่วยพลังงานและข้อมูล (วิญญาณขันธ์). พลังงานและข้อมูลต่างๆ จะถูกบริหารและควบคุม โดยวิญญาณ รวมกันเป็นมวลก้อนของธาตุรู้ ในลักษณะของเหตุการณ์หนึ่ง และถูกเก็บสะสมเป็น กรรมและวิบาก เปรียบเหมือน พลังงานของอิเล็กตรอน.

 

เมื่อนำมาอธิบาย ด้วยกฎของโอห์ม, จิต หรือ วิญญาณ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตลอดเวลา มีพฤติการณ์เช่นเดียวกับ อิเล็กตรอน ที่กระโดดไปมา ระหว่างนิวเคลียสของอะตอมอื่น เพื่อสื่อสารกัน. จิต เปรียบเหมือน ลิง นิวเคลียส เหมือน เสาหลัก, การจับหรือบังคับให้ลิง หยุดนิ่งอยู่กับเสาหลัก เป็นเรื่องยาก และต้องมีการฝึกฝน. ตามกฎฟิสิกส์ อิเล็กตรอน ที่อยู่นิ่งๆ จะไม่เกิดพลังงาน แต่ถ้าทำให้มันวิ่งไปมา จะก่อเกิดพลัง. ในกรณีของจิต จิตที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ซัดส่ายไปรอบๆ เสาหลัก จะให้พลังงานเป็นลบ (อกุศล). แต่ถ้าจะทำให้จิตสงบนิ่ง อยู่กับเสาหลัก ต้องใช้พลังงานภายนอก ซึ่งเรียกว่า ฌาน. จิตที่สงบนิ่งอยู่กับเสาหลัก จะสะสมพลังงานเป็นบวก (กุศล) จนทำให้มันหมุนอยู่นิ่งๆ ได้ เรียกว่า สมาธิ. สมาธิ จะเก็บซ่อนพลังงานไว้ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป.

 

เวทนา มีพฤิตการเหมือน แรงดันไฟฟ้า เพื่อส่งอิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่ไป. มนุษย์รับรู้สัมผัส จากรอยต่อระหว่าง ประตูรับ (อายตนะภายใน - ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับ วัตถุที่มาปะทะ (อายตนะภายนอก - รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์). เวทนาที่เกิดขึ้น จะมีระยะเวลาที่ต่อเนื่อง ยาวนานเพียงใด ขึ้นอยู่กับ “ตัวกรองกระแส” ได้แก่ สติ ความยั้งคิด ซึ่งจะส่งผลต่อ พลังของจิตดวงถัดไป ให้เกิดการจำเหตุการณ์ในอดีตได้ จากสิ่งที่ปะทะสัมผัส (เกิดสัญญาขันธ์) และเกิดการสะสม ปริมาณความรู้สึกระดับหนึ่ง เหมือนปริมาณกระแสไฟฟ้า. ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อมา อาจพบกับอุปสรรค ที่ไม่อาจจะกระทำการ ตามที่ปรารถนาได้ เหมือนตัวต้านทานของกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวกรองกระแส. ในที่สุด มนุษย์ก็จะต้องแสดงพฤติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งออกมา หยุดรอ ไม่ทำตามที่คิด หรือทำต่อ. กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ จะกลายเป็นพลังงานสะสม (ซึ่งมิใช่พลังงานทางฟิสิกส์) เรียกว่า “กรรม-วิบาก”. กรรม-วิบาก  เปรียบเหมือน พลังงานที่ถ่ายเทออกมาจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน (พลังงานที่เปลี่ยนรูป).

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับ แรง – คลื่น

 

(1) วัตถุธาตุ – สสาร ที่มีคุณสมบัติ มวล – อนุภาค มักจะมีคุณสมบัติของ แรง พลังงาน และความเป็นคลื่น ติดตัวมาด้วย.

คลื่น ที่กระจายอยู่ทั่วเอกภพ มีอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันชัดเจน คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) กับ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave). คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นที่มีคุณสมบัติ ของแรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็ก ซึ่งถูกเรียกชื่อ แตกต่างกันออกไป ตามความถี่ ส่วนใหญ่มนุษย์จะมองไม่เห็น.

แรง มีความสัมพันธ์กับ ความเร็ว, ความเร็ว 0 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง กับ 0 กิโลเมตร ต่อวินาที มีค่าไม่เท่ากัน. ถ้านำ 0 ไปวัดค่า ในกรวยเวลาของเหตุการณ์ใดๆ, 0 จะสะสมอัตราเร่ง acceleration ไว้. นักฟิสิกส์ชาวนอร์เวย์ คำนวณว่า ความเร็วสูงสุด ที่ยานอวกาศ จะสามารถแล่นไปในอวกาศได้ คือ 1,000 ล้านกิโลเมตร ต่อชั่วโมง. ความเร็วนี้เทียบได้เท่ากับ ร้อยละ 99.999 ของความเร็วแสง. (ในทางทฤษฎี ไม่มีสสารใด มีความเร็วเท่ากับแสง)

แรงระเบิดในอวกาศ มีอันตรายมากกว่าบนโลก เพราะก๊าซร้อน และเศษสะเก็ดระเบิด จะพุ่งออกไปทุกทิศทางด้วยความเร็วสูงมาก โดยไม่มีสิ่งใดเสียดทาน. ตัวอย่างผลของการระเบิดของ ซูเปอร์โนวา (super nova) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ระเบิด ของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่. การระเบิดซูเปอร์โนวา แต่ละครั้ง จะพ่นก๊าซร้อนที่มีความเร็ว ได้ถึงหลายพันกิโลเมตรต่อชั่วโมง. ตัวอย่าง แคสสิโอเปีย เอ เป็นซากของซูเปอร์โนวา ที่ระเบิดเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา. ปัจจุบัน ยังมีก๊าซร้อนพ่น ออกจากศูนย์กลาง ด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตรต่อวินาที. ขณะนี้ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ใช้คลื่น 2 ประเภท ในห้วงอวกาศ คือ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) เพื่อการหาประวัติการเกิด ของหลุมดำ การยุบตัวของดาวฤกษ์ และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) เพื่อวัดขนาดดาวฤกษ์ และปรากฎการณ์ซุปเปอร์โนวา.

 

(2) หลักแห่งความไม่แน่นอน (uncertainty principle) มีบทบาทในการรักษาดุล ของกฎกลศาสตร์ควอนตัม ในข้อที่ว่า ถ้าเราวัด ตำแหน่ง ของวัตถุ หรือความเข้มของสนาม ได้ความแม่นยำสูงมากเท่าใด ก็จะไปรบกวน หรือกระทบกับ ความเร็ว ของวัตถุนั้น หรือกระทบกับ อัตราการเปลี่ยนแปลง ของสนาม. การรบกวนนี้ ไม่อาจพยากรณ์ได้. หากวัด ตำแหน่ง ได้ถูกต้องมากเท่าใด ณ ขณะใด การวัด ความเร็ว ณ ขณะนั้น ก็อาจผลิดพลาดมากขึ้น.

 

(3) แสง เป็นวัตถุธาตุที่ไม่มีมวล มันเดินทางในสุญญากาศ และในอวกาศ ด้วยความเร็ว 299,792.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่มีสิ่งใด กีดขวางเสียดทาน นอกจากแรงโน้มถ่วงยิ่งยวด อันเกิดจากอิทธิพลของหลุมดำ. แรงผลักวัตถุที่มี มวล และเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว ต้องเผชิญกับ แรงต้าน เสมอ. แต่วัตถุอื่นๆ ที่มีมวล เมื่อจะผลักให้มันเคลื่อนไป ด้วยความเร็ว มันต้องเผชิญกับ แรงต้าน ซึ่งอาจเป็นแรงเสียดทาน หรือแรงโน้มถ่วง. ไม่ว่าวัตถุชิ้นนั้น จะเคลื่อนที่บนพื้นผิวโลก หรือในอากาศ หรือในอวกาศก็ตาม. ดังนั้น การคิดหาวิธีให้วัตถุเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วแสงนั้น เป็นไปได้ยาก.

 

(4) แรงแต่ละประเภท มีความเข้มของแรง แตกต่างกัน 4 ระดับความเข้ม คือ

(4.1) ความเข้มระดับสัมพัทธภาพ (relativity-gravitation) ได้แก่ แรงของโมเลกุลชนิดเดียวกัน จะดึงดูดกัน (cohesive force). แรงที่เกิดจากอันตกิริยา ระหว่างวัตถุสองก้อนขึ้นไป เช่น แรงโน้มถ่วง แรงไทดัล

(4.2) ความเข้มระดับกลศาสตร์ (mechanic) ได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์ รวมทั้ง แรงกลทั่วไป เช่น แรงแผ่นดินไหว แรงระเบิด แรงคลื่นกระแทก เป็นต้น

(4.3) ความเข้มระดับกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) เป็นแรงยึดเกาะยิ่งยวดของอนุภาค เช่น แรงยึดเกาะของควาร์ก ในแกนของนิวเคลียส แรงที่ศูนย์กลางของหลุมดำ

(4.4) ความเข้มระดับพลังจิต แม้ว่าโดยคุณสมบัติของจิต ไม่สามารถสร้างแรงแบบกลศาสตร์ได้ แต่ก็ให้พลังงานอีกแบบหนึ่ง ทิ่ส่งผลต่อการเปลี่ยน แปลงของธัมมะธาตุ นามรูป-วิญญาณ-สังขาร.

 

ตถาคต ตรัสว่า ธาตุย่อมเข้ากันได้ด้วยธาตุ เป็นหลักฐานความจริง ที่ยืนยันได้ว่า แรงโน้มถ่วง ที่มีความเข้มอ่อนๆ มีอยู่จริงในระดับจิตวิญญาณ. การชุมนุมกันของฝูงชนจำนวนมากๆ หรือการอยู่ในชุมนุมชน จะเกิดแรงดึงดูดกัน 3 แรง คือ แรงโน้มถ่วง (แรงฟิสิกส์) เนื่องจากมนุษย์ก็มีมวล แต่ผลของแรงจะอ่อนมาก วัดค่าได้ยาก. แรงทางจิตวิทยา (แรงที่มาจากอิทธิพลของความเชื่อ วัฒนธรรม) เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ก่อให้เกิดแรงผลักบางอย่าง ที่ซ่อนเร้น อยู่ในพฤติกรรมของมนุษย์. พลังจิต หรือ แรงทางจิต แม้ว่าจิตไม่มีมวล แต่ก็มีพลังงานแบบหนึ่ง แต่ไม่อาจวัดค่าได้ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์.

 

ความกลัว ความกล้า เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ของจิตวิญญาณ. เมื่อต้องเผชิญหน้ากัน บางครั้งอาจเกิดการหักล้างกันเอง แบบเดียวกับ ปฏิสสาร ซึ่งมันจะหักล้างกับสสาร ที่เป็นคู่ของมัน. เช่น ถ้าทำให้ความกลัวหายไป ความกล้าก็หายไปด้วย โดยจะถูกแทนที่ด้วย พลังงานสงบนิ่ง ที่จะไม่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ “วิ่งหนี” และ “วิ่งเข้าใส่” ทั้งฝ่ายเราและฝ่ายเขา, ในขณะเดียวกัน ก็มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น คือ ความกลัว อาจเป็นปัจจัยให้เกิด ความกล้าบ้าบิ่นขึ้น หรือ อารมณ์กล้าบ้าบิ่น มักจะโดดเดี่ยว อาจทำให้เกิดความกลัวขึ้นมาก็ได้.

 

(5) นักวิทยาศาสตร์ มีความพยายามที่จะเอาชนะ แรงต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุ. แรงต้าน เป็นแรงธรรมชาติ ที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับเอกภพ วัตถุที่เคลื่อนที่ได้ ทั้งโดยการหมุนรอบแกนหรือเคลื่อนไป. ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ มันเอาชนะแรงต้าน ได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถเอาชนะได้ตลอดไป. แรงต้านกับแรงกระทำ เกิดขึ้น ก็เพื่อรักษาสมดุลของการหมุน และการเคลื่อนที่ของวัตถุ. เพราะหากไม่มีแรงต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุ จะมีอัตราเร็วคงที่ และเกิดความยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบในเวลาต่อมา.

 

(6) คุณสมบัติของความเป็นคลื่น สามารถกระจายไปได้ทั่วเอกภพ. ส่งผลให้ การสื่อสารข้อมูล ระหว่างอนุภาค ที่อยู่ห่างไกลกัน มีลักษณะเป็นคลื่น. การสื่อสารข้อมูล แบบสองทาง (2 way information) ระหว่างอนุภาค ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ ในอวกาศ คือ ข้อมูล เหตุการณ์ของอนุภาคหนึ่ง จะถูกส่งออกไปในอวกาศ ในทันทีทันใด ซึ่งมีความเร็วมากกว่าแสง หรืออาจเป็นการส่งข้อมูล แบบย้อนเวลา. สิ่งที่อนุภาคส่งไป เช่น ทิศทางการสปินของมันเอง หรือของอนุภาคคู่แฝด จะต้องมีขนาดและสถานะ ในระดับควอนตัม คือ มีคุณสมบัติความเป็นควอนไตซ์ (quantized) เป็นอนุภาค ที่มีพลังงานเฉพาะ ในระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น. มันจึงจะสามารถ สร้างช่องทางเชื่อมต่อ หรือรูหนอนอวกาศ ที่เรียกว่า สะพานไอน์สไตน์-โรเซน (Einstein-Rosen bridge) [21] แล้วลอดผ่านออกไปได้. เช่น สมมุติว่า อนุภาค ก. กับ อนุภาค ข. ถ้า อนุภาคหนึ่ง มีสปินขึ้น อีกอนุภาคหนึ่ง ต้องมี สปินลง (สปินของสองอนุภาค มีสปินตรงกันข้ามเสมอ) แต่ยังไม่ทราบว่า อนุภาค ก. หรือ ข. กันแน่ ที่มีสปินขึ้นหรือสปินลง. กำหนดให้ อนุภาค ก. อยู่บนโลก อนุภาค ข. อยู่ที่ดาวเสาร์ ผลการตรวจสอบพบว่า อนุภาค ก. บนโลก มีสปินขึ้น คนที่อยู่บนโลก จึงได้ข้อสรุป “ทันที” ว่า อนุภาค ข. บนดาวเสาร์ มีสปินลง. แต่คนที่อยู่บนดาวเสาร์ จะรับรู้ ได้อย่างไร ถ้าคนบนโลก ไม่นั่งยานอวกาศ (ที่ไม่เร็วกว่าแสง) ไปบอก หรือ ไม่ก็ส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็นสัญญาณแสง (ที่ไม่เร็วกว่าแสง) ไปบอก. แต่ความจริงคือ คนบนดาวเสาร์ วัดค่า อนุภาค ข. มีสปินลง เขาก็ได้ข้อสรุป “ทันที” เช่นกันว่า อนุภาค ก. บนโลก มีสปินขึ้น. ดังนั้น ข้อมูลที่ส่งออกไปในอวกาศ ทำให้เกิด teleportation ได้, นี่อาจเป็น สัญญะ ของการสื่อสารสำหรับ “มนุษย์” ในจักรวาล ที่อยู่ต่างดาราจักรกัน อันเป็น ภาษาดิจิตัลพื้นฐาน ของเอกภพโดยแท้. [การสื่อสารของวิญญาณ ก็ใช้รูปแบบเดียวกับ การสื่อสารระหว่างอนุภาค].

 


[21]
นักฟิสิกส์เชื่อว่า รูหนอนซึ่งสามารถทะลุผ่านข้ามไปกลับได้ หรือ รูหนอนทะลุได้ ในทางทฤษฎีสามารถเกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นมาได้ ถ้าใช้สสารประหลาด (exotic matter) ที่มีความหนาแน่นของพลังงาน (energy density) มีค่าเป็นลบ คาดกันว่า พลังงานที่มีค่าเป็นลบ สามารถรักษาเสถียรภาพของรูหนอนให้คงอยู่ได้.

 

(7) แรงโน้มถ่วงควอนตัม ยิ่งมีค่ามากเท่าใด แรงที่จะมากระทำให้แตกออกจากกัน ต้องมากกว่าเสมอ. ธาตุหนักและมีความแข็งมากเท่าใด ยิ่งมีแรงยึดเกาะของอะตอม มากเท่านั้น. เมื่อมีแรงที่มากระทำ ให้นิวเคลียสของอะตอม แตกตัวออกจากกัน จะเกิดความร้อนสูงมาก และมีความเร่งในการแตกตัว ในอัตราความเร็วไม่น้อยกว่า กฎความยาว พื้นที่ และเวลาของแพลงก์ – วิลเลอร์. ในทางตรงกันข้าม ธาตุที่มีความเบามากๆ แรงยึดเกาะของอะตอม ก็เบาบางไปด้วย. อนุภาค มีการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนที่ (สั่น หรือ สปิน) แต่วิญญาณ มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการเคลื่อนที่. การ เคลื่อนไหวของวิญญาณ คือการเกิด-ดับ ไม่เกี่ยวข้องกับ ระยะทาง พื้นที่. การเคลื่อนไหวของวิญญาณ ไม่ทำให้เกิดความร้อน. เพราะ วิญญาณ มีความเบาบาง ยิ่งกว่าวัตถุธาตุ และ ไม่อาจสลายตัวได้โดยง่าย แต่เปลี่ยนรูปสมบัติและอาการได้ โดยอาศัยแรงทางจิตทั้ง 4 ชนิด คือ เจตนา ทิฏฐิ สมาธิ วิบาก ในการปรุงแต่ง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ฉันทะ ราคะ นันทิ สังโยชน์ ตัณหา อุเบกขา เป็นต้น.

 

(8) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มีข้อสรุปเกี่ยวกับหลุมดำ ดังนี้ หลุมดำ มีหลากหลายขนาด และนับจำนวนเป็นอนันต์. หลุมดำ เป็นปรากฎการณ์ของวัตถุที่มีมวลมาก และความโน้มถ่วง เอาชนะแรงแรงผลัก หรือแรงหนีออกจากศูนย์กลาง ของอนุภาคต่างๆ รวมทั้งอนุภาคโฟตอน ทำให้วัตถุนั้นยุบตัวเองลง เป็นหลุมดำ. การวิวัฒน์ของหลุมดำ จะปลดปล่อยรังสีออกมา หรือไม่ก็เกิดการละเหยหายไป.[22] การอุบัติขึ้นของหลุมดำ อุปมาเหมือนการเกิดขึ้นของ อวิชชา. การทำลายอวิชชา เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะการอัดแน่น ของพลังงานของวัตถุธาตุ ร่วมกับแรงต่างๆ ของจิตธาตุ (เจตนา ทิฏฐิ สมาธิ วิบาก) ที่ยึดครองวัตถุธาตุนั้น มีระดับความเข้ม ของพลังงานไม่ต่างกับ แรงโน้มถ่วงของหลุมดำ.

 


[22]
การปลดปล่อยรังสี หรือการละเหยของหลุมดำ เพื่อรักษาสมดุลของหลุมดำ ให้มีสภาพอยู่ต่อไป หรือค่อยๆ ระเหยไป ไม่ระเบิดไปเสียก่อน เป็นไปตาม กฎสมดุล และกฎสังขตธรรม แม้ว่าการระเหยของหลุมดำ ยังเป็นแค่ข้อสันนิษฐาน.

 

จากข้อสรุปของหลุมดำ เป็นไปตามกฎสังขตธรรม, เมื่อมีการเกิด ก็ต้องมีการเสื่อม และเสื่อมต่อเนื่อง จนสลายไปในที่สุด (สิ่งที่สลายคือ รูป). แต่การสลายของธาตุต่างๆ ไม่ได้สูญหายไปทั้งหมดเสียทีเดียว มันยังเหลือพลังงาน และ อวิชชา (นาม) ส่วนหนึ่งไว้. แม้กระทั่งการระเหยของหลุมดำ, สิ่งที่ระเหยออกไป ก็คือการเสื่อมสภาพที่ต่อเนื่อง ซึ่งกินเวลายาวนานมาก. สิ่งที่ระเหยออกไป จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นธาตุอื่น.

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

2.3
อุณหภูมิ
– พลังงาน (temperature–energy)

 

ความร้อน และพลังงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สรรพสิ่งในเอกภพ เกิดการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา. อุณหภูมิ จะเป็นตัวเฉลี่ยของพลังงาน ของอนุภาคในสสาร ให้สอดคล้องกับ ความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น. ดังนั้น อุณหภูมิ จึงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานอันหนึ่ง ของทุกธัมมะธาตุในเอกภพ และ ความสำคัญมาก ต่อหลักการอุณหพลศาสตร์. เพราะเป็นตัวแปร ที่บ่งบอกถึง ปริมาณพลังงานของระบบ รวมทั้งบอกทิศทางการไหล ของพลังงาน ซึ่งจะไหลจาก ระบบที่มีพลังงานสูง ไปสู่พลังงานต่ำนั่นเอง.

 

2.3.1
กฎของอุณหพลศาสตร์
(laws of thermodynamics)

 

อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของฟิสิกส์ ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับ ความร้อน อุณหภูมิ งาน และพลังงาน ซึ่งจัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง ต่อกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ตลอดทั่วเอกภพ. อุณหพลศาสตร์ มิใช่คำทำนาย การเกิดดับของจักรวาล แต่เป็นตัวบ่งบอกทิศทางของเวลา (direction of time) ผ่านพฤติการของความไร้ระเบียบ หรือ เอนโทรปี (entropy) ที่เพิ่มขึ้น. อุณหพลศาสตร์ จึงต้องมีกฎของตัวเอง เพื่ออธิบายว่า สรรพสิ่งในเอกภพ เกิดมาอย่างไร เป็นไปอย่างไร และจุดจบอยู่ที่ใด.

 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ความโกลาหลในเอกภพ ก็คือ ความร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ (ความร้อน คือ พลังงานจลน์) [23] จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้. จนทำให้ ซาดี การ์โนต์ (Sadi Carnot: 1796-1832 A.D.) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส นำคุณสมบัตินี้ ไปสร้างเครื่องจักรความร้อน ซึ่งต่อมา ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานต่างๆ มากมาย ในการสร้างเครื่องจักรกลต่างๆ ในปัจจุบัน. จากแนวคิด เรื่องเครื่องจักรความร้อน ทำให้เกิดกฎข้อที่ 2 ของอุณหพลศาสตร์. ตัวแปรที่ส่งผลต่อกฎทุกข้อ ของอุณหพลศาสตร์ คือ พลังงานภายใน (internal energy: U), ความร้อน (heat: q), งาน (work: w), เอนทาลปี (enthalpy: H) และ ความจุความร้อน (heat capacity: C). ความร้อน (heat) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทระหว่างวัตถุ ที่มีอุณหภูมิต่างกัน. พลังงานภายใน (internal energy) หมายถึง พลังงานที่เก็บสะสมไว ้ภายในโมเลกุลของสารนั้น. งาน (work) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเท ระหว่างวัตถุที่มีแรงกระทำระหว่างกัน งานเกิดจากระบบที่เคลื่อนที่ได้. เอนทาลปี เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง ที่แตกต่างจากพลังงานภายใน.

 


[23]
เดิมที โจเซฟ แบล็ค นักฟิสิกส์ชาวสกอตแลนด์ เข้าใจว่า ความร้อนเป็นของไหลชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบเป็นสสาร ต่อมา เบนจามิน ทอมป์สัน นายทหารปืนใหญ่ ของกองทัพอเมริกา ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ ค้นพบจากความร้อนของปืนใหญ่ ไม่ทำให้น้ำหนักของมันเพิ่มขึ้น เขาจึงได้ข้อสรุปใหม่ว่า ความร้อนมิใช่ของไหล แต่เป็นพลังงานที่เคลื่อนที่ได้.

 

กฎของอุณหพลศาสตร์ 4 ข้อ ได้แก่

 

กฎข้อที่ 1 กฎทรงพลังงาน กล่าวว่า “พลังงานภายในของระบบที่เพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณพลังงานความร้อนที่นำเข้าสู่ระบบ ลบด้วยพลังงานที่สูญเสียไป เป็นงานของระบบที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อม” (The increase in the internal energy of a system is equal to the amount of energy added by heating the system, minus the amount lost as a result of the work done by the system on its surroundings.)

 

กฎข้อที่ 1 เกี่ยวข้องโดยตรง กับกฎการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกล่าวว่า “ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้น พลังงานจะไม่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และไม่มีการสูญหายไป แต่สามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปอื่นได้.” ดังนั้น กฎข้อนี้ บ่งบอกถึง การเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่เกิดขึ้นภายในระบบต่างๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางเคมีและทางกายภาพ.

 

กฎข้อนี้แทนด้วยสมการ , โดยที่ dU หมายถึง ปริมาณการเปลี่ยนแปลง พลังงานภายในระบบ คือ ความร้อนที่เข้าสู่ระบบ และ คืองานที่เกิดจากระบบ. หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ถ้าความร้อนเปรียบเสมือน เงิน การเปลี่ยนแปลง ของเงินเก็บส่วนตัวของเรา (dU) ย่อมเท่ากับ เงินที่เราหามาได้ () ลบด้วย เงินที่เราจ่ายออกไป () นั่นเอง. พลังงาน ที่เกิดจากกระบวนการ ที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อน (adiabatic process) [24] จะไม่ขึ้นกับวิถีทาง หรือทิศทางของงาน ที่กระทำต่อระบบ ในกระบวนการนั้นๆ. การเปลี่ยนแปลง (ของพลังงาน) จะขึ้นอยู่กับสถานะเริ่มต้น และสถานะสุดท้ายเท่านั้น. เช่น เมื่อเราจับแก้วน้ำที่ร้อน แก้วน้ำจะเย็นลง มือเราจะอุ่นขึ้น เท่ากับ ความร้อนถ่ายเท จากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง ไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า.

 


[24]
กระบวนการ adiabatic process จะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น รวดเร็ว จนความร้อนไม่สามารถถ่ายเท ระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมได้ทัน.

 

กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี หรือ พลังงานเสีย ในระบบอิสระ ที่มวลหรือพลังงานภายนอก ไม่สามารถเข้ามาในระบบได้ (ระบบอิสระ). ตัวแปรสำคัญ เกี่ยวกับการกำหนดทิศทาง ของการเกิดกระบวนการต่างๆ ตามกฎข้อที่ 2 เรียกว่า เอนโทรปี (entropy: S)

 

กฎข้อนี้ กล่าวว่า

(1) “ไม่มีเครื่องจักรความร้อนใดๆ ที่จะให้ประสิทธิภาพสมบูรณ์ 100%” (อธิบายโดย เคลวิน – แพลงก์; William Thomson, 1st Baron Kelvin. 1824–1907 A.D. และ Max Planck. 1858-1957 A.D.)

(2) “ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่สามารถถ่ายเทไปยัง แหล่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าได้ โดยธรรมชาติ” (อธิบายโดย เคลาซิอุส: Rudolf Julius Emanuel Clausius. 1822-1888 A.D.)

(3) “เอนโทรปีของระบบอิสระ ไม่มีทางที่จะลดลงในกระบวนการใดๆ” หรือ ความไร้ระเบียบ ในระบบที่มวล หรือพลังงานภายนอก ไม่สามารถเข้ามาในระบบได้ จะเพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด, นั่นหมายถึงว่า ทิศทางของเวลา (ลูกศรของเวลา) จะไม่มีวันย้อนกลับ. การที่สถานะหนึ่ง มีสถานะย่อย เป็นจำนวนมาก หมายความว่า สถานะนั้น มีความไม่เป็นระเบียบสูง.

 

โบลทซ์มันน์ (Ludwig Eduard Boltzmann: 1844–1906 A.D.) ให้ข้อสรุปว่า เอนโทรปี คือค่าที่วัดการกระจายตัว ของพลังงานในระบบ. ยิ่งพลังงานกระจายตัวกันมากเท่าใด จะทำให้พลังงาน ไม่มีระเบียบเท่านั้น คือพลังงานไม่เป็นกลุ่มก้อน. เรียกพลังงานชนิดนี้ว่า ‘พลังงานเสีย'. โดยพลังงานเสียนี้ ไม่สามารถสร้างงานได้ด้วยตนเอง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกฎข้อที่ 2. กฎข้อที่ 2 มีอิทธิพลต่อข้อสันนิษฐาน เกี่ยวกับจุดดับของจักรวาลว่า จะมีแต่พลังงานเสียในรูปของความร้อนเท่านั้น ไม่มี พลังงานอย่างอื่นอีก. เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า heat death.

 

ดังนั้น กฎข้อนี้จะเป็นจริง ถ้านำไปอธิบาย ภาพรวมของเอกภพ (ระดับมหภาค) เท่านั้น. ถ้าสิ่งเล็กๆ ขนาดอะตอม (ระดับจุลภาค) ไม่สามารถอธิบายได้. แต่กฎควอนตัมฟิสิกส์ ได้อธิบายสถานะพลังงาน ของสุญญากาศไว้ว่า สุญญากาศ (vacuum) เป็นสถานะที่มีพลังงานต่ำสุด โดยความหนาแน่น ของพลังงานสุญญากาศ มีค่าคงที่. ดังนั้น พลังงานภายใน ของระบบสุญญากาศ จะเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาตรเพิ่มขึ้น vacuum energy ก็คือ dark energy นั่นเอง และมันมีคุณสมบัติ ทำให้เอกภพขยายตัวด้วยความเร่ง.

เครื่องยนต์ความร้อน (heat engine) คืออุปกรณ์ ที่สามารถเปลี่ยนความร้อน ให้เป็นงานได้ โดยอาศัย สารทำงาน (working substance). เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำ มีน้ำกับไอน้ำเป็นสารทำงาน เครื่องยนต์เบนซิน มีอากาศและละอองน้ำมัน เป็นสารทำงาน สารทำงานในเครื่องยน์ความร้อน จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร. แต่จะไม่มีเครื่องยนต์ใด สามารถเปลี่ยนความร้อน ให้เป็นงานได้ทั้งหมด (ไม่มีเครื่องยนต์สมบูรณ์แบบ). ในทำนองเดียวกัน การถ่ายเทความร้อน ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ไม่มีตู้เย็นใด สามารถถ่ายเทความร้อน จากที่ซึ่งอุณหภูมิต่ำ ไปยังที่ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าได้ โดยไม่ได้รับงาน (ไม่มีตู้เย็นสมบูรณ์แบบ).

 

กฎข้อที่ 3 กฎของอุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ กล่าวว่า “เมื่อระบบเข้าสู่ภาวะศูนย์องศาสัมบูรณ์ กระบวนการทั้งหมด จะหยุดนิ่ง ค่าเอนโทรปีของระบบ จะมีค่าต่ำที่สุด” (As a system approaches absolute zero, all processes cease and the entropy of the system approaches a minimum value). หมายความว่า “ไม่มีกระบวนการใด ที่สามารถลดพลังงานของระบบลง จนถึงศูนย์องศาสัมบูรณ์ได้”

 

ในทางทฤษฎี ไม่มี ณ ที่ใดๆ ในเอกภพ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -273.15 องศา C (-459.67 องศา F) หรือ เท่ากับ ศูนย์สัมบูรณ์ (absolute zero) หรือเท่ากับ ศูนย์เคลวิน (0K). อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น สารบริสุทธิ์ทุกชนิดจะอยู่ในสภาพ ‘ผลึกสมบูรณ์แบบ' คือ องค์ประกอบของอนุภาค จะเรียงตัวเป็นระเบียบ อนุภาคจะไม่มีการเคลื่อนที่ และไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีความร้อน ไม่มีการแผ่รังสีใดๆ. โมเลกุลของสสารหยุดนิ่ง ไม่มีการสั่นไหว ไม่มีพลังงาน [25] เหลืออยู่เลย. ส่วนแก๊ส ก็จะกลายเป็นของเหลว ไปก่อนหน้านี้.

ดังนั้น อะตอมเหล่านี้จะจัดเรียงกันอยู่อย่างเป็นระเบียบที่สุด นั่นคือ จัดเรียงตัวได้เพียงแบบเดียวเท่านั้น. หรือกล่าวว่า ระบบไม่มีความไม่เป็นระเบียบ เหลืออยู่เลย. เพราะฉะนั้น ค่าเอนโทรปี ของระบบผลึก ที่สมบูรณ์แบบ ที่อุณหภูมิศูนย์เคลวิน จะมีค่าเป็น ศูนย์.

 

ในทางปฏิบัติ ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใด สามารถสร้าง สภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง. งานวิจัยล่าสุด ได้พิสูจน์ด้วยกฎเทอร์โมไดนามิกส์ แล้วว่า มนุษย์ไม่อาจสร้างอุณหภูมิเท่ากับ -273.15 องศาเซลเซียสได้. เพราะต้องใช้เวลา และ พลังงาน ที่มีค่าเป็นอนันต์ ถือเป็นการปิดฉากข้อถกเถียง อันยาวนาน ที่ว่าเราสามารถทำให้วัตถุ เย็นถึงศูนย์องศาสัมบูรณ์ ได้หรือไม่.[26]

 


[25]
ในที่นี้หมายถึง พลังงานจลน์ (Kinetic Energy : Ek หน่วยวัดเป็น จูล ) คือพลังงานกลชนิดหนึ่ง ที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน เป็นต้น “วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ล้วนมีพลังงานจลน์ทั้งสิ้น ปริมาณพลังงานจลน์ในวัตถุจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุนั้น” ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะมีพลังงานจลน์มาก แต่ถ้าวัตถุสองชิ้นนั้น เคลื่อนด้วยความเร็วเท่ากัน วัตถุที่มีมวลมากกว่า จะมีพลังงานจลน์มากกว่า. พลังงานจลน์ เกิดขึ้นจาก “งานที่วัตถุเคลื่อนที่แปรผัน ตรงกับ กำลังสองของอัตราเร็วและมวล ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่”.


[26]
 SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 76. October 2017, หน้า 16.

 

กฎข้อที่ศูนย์ (The zeroth law of thermodynamics: 0) สภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ คุณสมบัติของการถ่ายทอด [27] กล่าวว่า

“ถ้าระบบ A และ B อยู่ในภาวะ สมดุลทางอุณหพลศาสตร์ และระบบ B และ C อยู่ในสภาวะ สมดุลทางอุณหพลศาสตร์แล้ว ระบบ A และ C จะอยู่ในภาวะ สมดุลทางอุณหพลศาสตร์ ด้วยเช่นกัน”

 


[27]
เมื่อระบบทางอุณหพลศาสตร์ สองระบบสัมผัสกัน จะมีการแลกเปลี่ยน พลังงานต่อกันและกัน ภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ (thermodynamical equilibrium) เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองระบบไม่มีการถ่ายทอดพลังงานกันอีกแล้ว. นักวิทยาศาสตร์คิดว่ากฎข้อนี้ เป็นรากฐานที่สำคัญต่อกฎข้อที่ 1 จึงต้องการให้ตัวเลขชื่อกฎ อยู่ต่ำกว่ากฎข้อที่ 1 แต่เนื่องจากกฎข้อนี้ เพิ่งจะถูกตระหนักถึงความสำคัญ เมื่อหลังจากกฎข้อที่ 1 และ ข้อที่ 2 มีชื่อเสียงมานานมากแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงตัดสินใจ ไม่เปลี่ยนลำดับตัวเลข และตั้งให้กฎข้อนี้เป็นกฎข้อที่ศูนย์.

 

จากกฎข้อที่ 0 ได้ข้อสรุปว่า วัตถุสองชิ้น ซึ่งอยู่ในภาวะ สมดุลความร้อน จะมีอุณหภูมิเท่ากัน. หลักการที่ง่ายที่สุด ในการอธิบาย กฎข้อที่ 0 คือ การทำงานของเทอร์โมมิเตอร์. สมมุติให้เทอร์โมมิเตอร์ เป็นระบบ ข และให้ สิ่งที่จะวัด เช่น บรรยากาศในห้อง เป็นระบบ ก วิธีง่ายๆ คือ ให้ ระบบ ข (เทอร์โมมิเตอร์) ไปสัมผัสกับ ระบบ ก (บรรยากาศที่จะวัด) รอจนกระทั่งเกิด สมดุลทางความร้อน กับทั้งสองระบบ จากนั้นจึงบอกได้ว่า ระบบ ก (บรรยากาศในห้อง) มีพลังงานอยู่เท่าไหร่ โดยวัดจาก การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของสาร ที่อยู่ภายในเทอร์โมมิเตอร์ เช่น ปรอท หรือ แอลกอฮอล์.

 

จากกฎข้อ 0 ถ้าเรานำเทอร์โมมิเตอร์ ไปสัมผัสกับ ระบบ ค เช่น น้ำในแก้วที่วางข้างนอกห้อง แล้วเกิด สมดุลทางความร้อน กับ ระบบ ค แล้ว ปรอท หรือ แอลกอฮอล์ เกิดการขยายตัวเท่ากัน แสดงว่า ระบบ ก (บรรยากาศในห้อง) และ ระบบ ค (น้ำในแก้ว) มีพลังงานเท่ากัน.

 

2.3.2
ระบบในอุณหพลศาสตร์
(system models)

 

เนื่องจากเอกภพมีปริมาตร และขนาด ที่กว้างใหญ่ สามารถมองได้หลายมุม หลายทัศนะ. แต่เมื่อมองในมุมของอุณหพลศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งเอกภพออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ระบบ และ ส่วนที่เป็น สิ่งแวดล้อม. ระบบ (system) หมายถึง สิ่งต่างๆ ในเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์ สนใจและทำการศึกษา. อาจเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ เช่น เครื่องกล ปฏิกิริยาเคมี เซลล์ต่างๆ เชื้อโรค ดาวเคราะห์ การตอบสนอง ฯลฯ และเมื่อจะทำการศึกษา ต้องกำหนดขอบเขต (boundary) ให้แก่ระบบ. สิ่งแวดล้อม (surroundings) หมายถึง บริเวณอื่น ที่ไม่ใช่ขอบเขตของระบบ ใช้เพื่อเปรียบเทียบ และสังเกต การเปลี่ยนแปลงภายในระบบ (ถ้าไม่มีสิ่งแวดล้อม ก็จะไม่มีสิ่งเปรียบเทียบ ว่าระบบ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร).

 

การกำหนด ‘ขอบเขต' (boundary) ให้แก่ระบบ มีความจำเป็น และต้องทำ ก่อนที่จะศึกษาระบบ. แม้ว่าสิ่งที่จะศึกษา เช่น ระบบสุริยะของดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ซึ่งยังไม่ทราบขอบเขต ที่แท้จริงก็ตาม แต่จำเป็นต้องกำหนดมันขึ้นมา ในจินตภาพ (ขอบเขตจินตนาการ).

ระบบอุณหพลศาสตร์ ที่สำคัญมี 3 ประเภท คือ

 

(1) ระบบปิด (closed systems) คือ ระบบที่มีมวลคงที่ แต่อนุญาตเฉพาะพลังงาน สามารถ ถ่ายเทผ่านเข้า หรือออกระบบได้. หรือ ระบบที่ไม่สามารถเกิด การถ่ายเทมวลสาร เข้า–ออก จากระบบ ไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ (แต่อาจเกิดการถ่ายเทพลังงานได้). พลังงานที่เข้าออกจากระบบ มี 2 ประเภทคือ พลังงานความร้อน (พลังงานที่เกิดจากความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิของระบบ กับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม) และ พลังงานอื่น (เช่น พลังงานที่เกิดจาก งานทางกลศาสตร์).

 

(2) ระบบเปิด (open systems) คือ ระบบที่มีปริมาตรคงที่ (fixed volume) แต่อนุญาตให้ทั้งมวลและพลังงาน เข้าออกจากระบบได้. หรือหมายถึง ระบบที่สามารถเกิดการถ่ายเทมวลสาร เข้า-ออก จากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อมได้.

 

(3) ระบบอิสระ หรือ ระบบโดดเดี่ยว (isolated systems) คือ ระบบที่ปิดกั้นตัวเอง จากสิ่งแวดล้อม โดยสมบูรณ์ มวลหรือพลังงานภายนอก ไม่สามารถเข้ามาในระบบได้. หรืออธิบายได้ว่า ระบบ ที่ไม่สามารถเกิดการถ่ายเทมวลสารและพลังงาน เข้า-ออก จากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อมได้.

 

ภาพที่ 2.12 ระบบ ขอบเขต และสิ่งแวดล้อม ของอุณหพลศาสตร์ (ภาพจาก วิกิพีเดีย : 27 พ.ค.2561)

 

 

2.3.3
กระบวนการทางอุณหพลศาสตร์
(states and processes)

 

การศึกษาอุณหพลศาสตร์ มุ่งศึกษา การเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดกระบวนการต่างๆ เช่น การหลอมเหลวของสสาร การเกิดปฏิกิริยาเคมี และอื่นๆ. กระบวนการที่เกิดขึ้นแล้ว มีการให้พลังงานกับสิ่งแวดล้อม เราเรียกว่า กระบวนการแบบคายความร้อน (exothermic process) เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง. ถ้ากระบวนการที่เกิดขึ้นแล้ว มีการรับพลังงาน จากสิ่งแวดล้อม เราเรียกว่า กระบวนการแบบดูดความร้อน (endothermic process) เช่น การหลอมเหลว การระเหย ของสสาร เป็นต้น.

มีกระบวนการในธรรมชาติ หลายกระบวนการ ที่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ตามกฎข้อที่ 2 โดยที่ไม่ต้องไปกำหนดระบบอะไรเลย ในขณะที่บางกระบวนการ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง. กระบวนการที่เกิดขึ้นได้เอง เรียกว่า spontaneous change หรือ natural change เช่น การขยายตัวของแก๊ส จากปริมาตรน้อย ไปสู่ปริมาตรมากขึ้น การเย็นตัวลงของวัตถุร้อน ไปสู่อุณหภูม ิของสิ่งแวดล้อม หรือ การเกิดปฏิกิริยาบางชนิด ที่สามารถเกิดได้ ในทิศทางเดียว เป็นต้น. แต่ถ้าเราต้องการทำให้แก๊ส มีปริมาตรลดลง หรือ ทำให้ปฏิกิริยาเกิด ในทิศทางตรงข้าม เราสามารถทำได้ แต่ต้องอาศัยการทำงานเข้ามา ช่วยให้กระบวนการเหล่านั้นสำเร็จผล. กระบวนการเหล่านี้ ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นเอง โดยธรรมชาติ.

กระบวนการที่เกิดขึ้นได้เอง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้ระบบมีความไม่เป็นระเบียบมากขึ้น. ซึ่งความไม่เป็นระเบียบที่ว่านี้ ก็คือ การเกิดการกระจายตัว (dispersal) ของวัตถุ สสาร โมเลกุล อะตอม หรือแม้กระทั่ง การกระจายตัวของพลังงาน. การเปลี่ยนสถานะของสสาร (phase transition) ตามกฎข้อที่ 2 จากกระบวนการเปลี่ยนแปลง ที่ผันกลับได้ จะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิคงที่ค่าหนึ่ง และมีการเปลี่ยนแปลง เอนโทรปี ค่อนข้างมาก.

 

กระบวนการอื่นๆ ในอุณหพลศาสตร์ เช่น กระบวนการปริมาตรคงที่ (isochoric processes) เป็นกระบวนการที่ปริมาตรของระบบคงตัว คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร หมายความว่า ถ้าพลังงานความร้อน ไหลเข้าระบบ ที่มีปริมาตรคงที่ จะทำให้พลังงานภายในเพิ่มขึ้น.

กระบวนการความดันคงที่ (isobaric processes) กระบวนการความดันคงตัวเกิดขึ้น เมื่อความดันของระบบมีค่าคงตัว โดยที่ค่าของความร้อนและงาน จะไม่เป็นศูนย์. ตัวอย่างของกระบวนการนี้ ได้แก่ การกลายเป็นไอของของเหลว.

กระบวนการความร้อนคงที่ (adiabatic prodesses) จะไม่มีการส่งผ่าน พลังงานความร้อนเข้าหรือออกจากระบบ. กระบวนการขยายตัวอิสระ (free expansion) เป็นกระบวนการที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อนเข้ามาหรือออกไป และความดันภายนอกเท่ากับศูนย์.

กระบวนการแบบวัฏจักร (cyclic processes) เป็นกระบวนการที่สภาวะตั้งต้น และสภาวะสุดท้ายเป็นสภาวะเดียวกัน. กระบวนการนี้ จะไม่ได้เป็นระบบโดดเดี่ยว พลังงานภายในจะเป็นศูนย์.

กระบวนการอุณหภูมิคงที่ (isothermal processes) เป็นกระบวนการที่เกิดจาก อุณหภูมิของระบบมีค่าคงตัว คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ตลอดกระบวนการ. เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ พลังงานความร้อนทั้งหมด ที่ระบบได้รับ จะกลายไปเป็นงานที่ระบบทำ. เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ช้า จะทำให้ความร้อนเปลี่ยนแปลงไป เป็นพลังงานในรูปอื่น โดยการทำงานของระบบ.

 

2.3.4
ระบบและสภาพแวดล้อมทางอุณหพลศาสตร์ของเอกภพ ที่สามารถวัดได้

 

ธาตุ และวัตถุสาร มีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิได้ต่างกัน . อุณหภูมิเหล่านี้ ได้แก่ อุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์ หรืออุณหภูมิต่ำสุดของสสาร (absolute zero) ที่เป็นไปได้, อุณหภูมิจุดหลอมเหลว (melting point) จากของแข็งเป็นของเหลว, อุณหภูมิแข็งตัว (freezing point) จากของเหลวเป็นของแข็ง, อุณหภูมิจุดเดือด (boil) จากของเหลวเป็นไอ ( ธาตุต่างๆ มีจุดเดือดแตกต่างกัน จุดเดือดของน้ำ ณ ระดับน้ำทะเล คือ 100 องศาเซลเซียส), อุณหภูมิจุดเผาไหม้ (ignition-point), อุณหภูมิควบแน่น (condensing), อุณหภูมิจุดน้ำค้าง (dew-point), อุณหภูมิสัญญาณชีพ (vital signs). ภายในดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูง นับสิบล้านเคลวิน อะตอมไม่สามารถ ดำรงสภาพอยู่ได้.

ภายใต้ภาวะอุณหภูมิ และความดันสูงระดับนี้ ทำให้บริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ เต็มไปด้วยนิวเคลียส ของไฮโดรเจน เป็นส่วนมาก. จะเกิดการหลอมรวมกัน ของนิวเคลียสต่างธาตุกัน ให้กลาย เป็นนิวเคลียสของธาตุ ที่หนักกว่า คือ ฮีเลียม หรือ อนุภาคอัลฟา. การหลอมรวมกัน ของนิวเคลียสไฮโดรเจน กับนิวเคลียสของธาตุอื่น จะปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาล ทั้งในรูปแสง และความร้อน. นั่นคือเหตุผลว่า ทำไม ดาวฤกษ์ จึงสามารถผลิตพลังงานได้เอง ตลอดเวลา.

 

ช่วงเหตุการณ์บิ๊กแบง ซึ่งมีระยะเวลาสั้นมากๆ. อนุภาคมูลฐานต่างๆ เช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวตริโน และโฟตอน ได้ปลดปล่อยพลังงานแสง และความร้อน แพร่กระจายออกไป ทุกทิศทาง อย่างรุนแรง พร้อมกับการขยายขนาดของเอกภพ อย่างหาขอบเขตไม่ได้. หลังเหตุการณ์บิ๊กแบง เพียง 0.01 ในพันล้าน วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลง เป็นสิบล้านล้านเคลวิน. ควาร์ก รวมตัวกันเป็น โปรตอน (นิวเคลียส ของไฮโดรเจน) และ นิวตรอน. ผ่านไปอีก 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลง เป็น 100,000,000 เคลวิน ส่งผลให้โปรตรอน และ นิวตรอน รวมตัวเป็น นิวเคลียสของธาตุฮีเลียม. ในช่วงนี้ เอกภพขยายตัวรวดเร็วมาก. ผ่านไป 300,000 ปี อุณหภูมิ ของเอกภพ ลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน. นิวเคลียสของไฮโดรเจน และ นิวเคลียสของฮีเลียม จะดูดเอาอิเล็กตรอน เข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอม ของธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม ตามลำดับ. หลังจากนั้นอย่างน้อย 1,000 ล้านปี แกแล็กซีต่างๆ ก็เกิดขึ้น. ภายในกาแล็กซี ประกอบด้วย ธาตุพื้นฐาน คือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม ซึ่งต่อมา จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ เทหวัตถุต่างๆ ก็มีตามมา ระบบชีวิตก็อุบัติขึ้นหลังจากนั้น.

ที่แนวเทือกเขา รอบหุบเขา death valley ในรัฐแคลิฟอเนีย และรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา เป็นแนวป้องกันลมและฝน ส่งผลให้อากาศในหุบเขา ร้อนระอุ. อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ.1913 สูงถึง 56.7 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้. อุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์ (basal body) เท่ากับ 37 องศาเซลเซียส. ทำให้มนุษย์รับรู้อุณหภูมิอุ่น ร้อน หนาว และทนต่อความแตกต่างของอุณหภูมิ ได้จำกัดมากๆ.

 

แต่ในเอกภพ มีระดับอุณหภูมิ ที่แตกต่างกันมาก จนไม่สามารถสร้าง เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ไปวัดได้โดยตรง. นักวิทยาศาสตร์ ต้องพึ่งพาการสังเกต และวัดค่าการเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติของธาตุอื่น ที่เกี่ยวข้อง กับเปลี่ยนแปลง ไปตามระดับอุณหภูมิ เช่น สังเกตจากสีของแสง. ร้อยละ 99.86 ของระบบสุริยะทั้งหมด คือ มวลของดวงอาทิตย์. ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,400,000 กิโลเมตร และมีอายุขัยราว 4,600 ล้านปี. แม้ว่า ร้อยละ 34 ของมวลดวงอาทิตย์ จะอยู่ ในชั้นแกนกลาง ซึ่งมีสัดสวนต่อปริมาตรของแกนกลาง เพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้น แต่ก็ทำให้ดวงอาทิตย์ มีขุมพลัง ขับอุณหภูมิออกมาได้ อย่างมหาศาล. ในชั้นแกนกลางของดวงอาทิตย์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 350,000 กิโลเมตร จะมีอุณหภูมิสูงถึง 15,000,000 องศาเซลเซียส ชั้นแผ่รังสี (หนาราว 300,000 กิโลเมตร) มีอุณหภูมิ 2,000,000 – 7,000,000 องศาเซลเซียส และ ชั้นพาความร้อน ซึ่งอยู่นอกสุด (มีความหนา 200,000 กิโลเมตร) 5,500 – 2,000,000 องศาเซลเซียส. ชั้นของพลาสมา ที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ เรียกว่า ชั้นโคโรนา จะมีอุณหภูมิสูงถึง 1,000,000 องศาเซลเซียส มองเห็นได้จากโลก. เมื่อเกิดสุริยุปราคา ความร้อนชั้นโคโรนา สูงกว่าพื้นผิวถึง 181 เท่า โดยที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิเพียง 5,500 องศาเซลเซียส. เมื่อดวงอาทิตย์หมดอายุขัย มันจะระเบิด อันเนื่องมาจาก ความไม่สมดุล ระหว่างแรงโน้มถ่วง กับแรงต้านแรงโน้มถ่วง ของตัวมันเอง หรือยุบตัวเป็นหลุมดำ หรือไม่ก็กลายเป็นดาวแคระขาว ซึ่งเป็นพฤติการณ์ ที่เป็นจุดจบของ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่.

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ ในวัตถุธาตุและจิตธาตุ

 

(1) ความร้อน และ พลังงาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ กลไกชีวะ–ฟิสิกส์ เพราะเป็นคุณสมบัติ ที่กำหนดสถานะของสสาร และจำเป็นสำหรับ กลไกชีวะ–ชีวิต เพราะเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการดำรงชีวิต ของกลไกชีวะ ทั้งสองประเภท. อนึ่ง ความร้อนและพลังงาน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ต่อการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม และอาหารในการดำรงชีพ. พลังงาน คงอยู่ได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเคลื่อนที่ แสง และ ความร้อน. เราสามารถแปลงมันไป – มา ระหว่างกันได้ เช่น พลังงานจลน์ แปลงเป็น พลังงานความร้อน. การเคลื่อนที่ของอะตอม ในพลังงานความร้อนนั้น มีความยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ มากที่สุด (เกิด entropy) จึงทำให้เราไม่สามารถแปลง พลังงานความร้อน ย้อนกลับได้ทั้งหมด.

 

(2) ความดัน ปริมาตร อุณหภูมิ พลังงานภายใน เอนโทรปี เอนธาลปี และ พลังงานเสรี ในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวแปรสำคัญ ในอุณหพลศาสตร์ ที่ทำให้ ระบบ และ กระบวนการ ทุกชนิดในเอกภพ ดำเนินต่อไปในวัฏจักรและเวลา ภายใต้กฎของสังขตธรรม.

 

(3) ไม่สามารถหาข้อสรุป ที่แน่ชัดได้ว่า ความร้อน เป็นคุณสมบัติหนึ่ง ของนามธาตุทุกชนิด แต่อาจอนุมานได้ว่า มี พลังงาน และความดัน อีกรูปแบบหนึ่ง อยู่ในนามธาตุ แต่ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยเครื่องมือทางฟิสิกส์ เช่น พลังงานของ วิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ และพลังงานของ ฌานในระดับต่างๆ. ถ้าเช่นนั้น พลังงานของนามธาตุเหล่านี้ อาจเป็นพลังงานมีค่าลบ ดำรงอยู่ในมิติอีกมิติหนึ่งในเอกภพ เช่นเดียวกับพลังงานมืด และสารประหลาด (exotic matter). การกระเพื่อมในที่ว่าง ของอนุภาคเสมือน (virtual particles) ก่อให้เกิดพลังงานเป็นลบได้ ชั่วคราว เพื่อดึงพลังงาน จากอนุภาคข้างเคียง มาใช้ เสร็จแล้วก็กลับคืนภาวะปกติ เพื่อรักษากฎของฟิสิกส์ ในข้อที่ว่า พลังงานโดยรวมในเอกภพ จะไม่สูญหาย. ข้อสันนิษฐานนี้ นำไปอธิบาย การเกิด-ดับของวิญญาณได้ว่า วิญญาณ เป็นธัมมะธาตุที่มีอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ การที่วิญญาณดวงหนึ่งดับไป อีกดวงหนึ่งเกิดขึ้น ก็มีพฤติการณ์ไม่แตกต่างจาก การกระเพื่มในที่ว่าง ของอนุภาคเสมือน.

 

(4) เอนโทรปี ของสมาธิจิต อาจย้อนลูกศรเวลาได้ เช่น การพาจิตเข้า ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 ฌานที่ 4 ตามลำดับ และสามารถ พาจิตออกจาก ฌานที่ 4 กลับไปฌานที่ 3 - 2 - 1 ได้ ตามลำดับ. อาจเทียบได้กับ ภาวะเอนโทรปีของจิตกลับทิศ เพราะก่อน ฌานที่ 1 ภาวะจิตอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงที่สุด และความไร้ระเบียบของจิต จะค่อยๆ ถูกทำให้เป็นระเบียบมากขึ้น ในฌานระดับที่สูงขึ้น. หากเทียบสภาวะของจิต ฌานที่ 8 (เนวสัญญานาสัญญายตนะ) เท่ากับ ภาวะศูนย์องศาสัมบูรณ์ ตามกฎข้อที่ 3 มีผล ทำให้ค่าเอนโทรปีของจิต มีค่าต่ำสุด.

 

(5) ณ องศาศูนย์สัมบูรณ์ เป็นค่าที่นักวิทยาศาสตร์สมมุติขึ้น และสร้างกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ ว่า หากสสารถูกลดอุณหภูมิ แบบเย็นสุดขั้ว เท่ากับศูนย์องศาสัมบูรณ์แล้ว อนุภาคในสสารนั้น จะหยุดนิ่งโดยสมบูรณ์. เท่ากับว่า สสารจะไม่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงใดๆ ณ ศูนย์องศาสัมบูรณ์. ถ้าเช่นนั้น อวิชชา ในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ก็ย่อมเป็นอมตะ ไม่มีการเสื่อม ไม่มีการตาย, เมื่อส่วนที่เป็นวัตถุธาตุของอวิชชา กลายเป็นก้อนแข็ง ก็จะทำให้ส่วนที่เป็นจิตธาตุของอวิชชา กลายเป็นก้อนแข็งไปด้วยอย่างนั้นหรือ?

 

ความเย็นระดับนี้ ตถาคตก็ไม่ได้กล่าวไว้, พระองค์กล่าวไว้ว่า “ ... อวิชชา แต่ก่อนมิได้มี อวิชชามามีในภายหลัง”  ซึ่งสอดคล้องกับกฎของฟิสิกส์ ที่ยอมรับว่า สสารและพลังงานเปลี่ยนรูปได้. อวิชชาในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ มิได้มี แต่มามี เมื่อพลังงานเปลี่ยนรูป มาเป็นสสาร, อวิชชาในส่วนที่เป็นจิตธาตุ มิได้มี แต่มามีในภายหลัง อวิชชาก็เจริญงอกงามได้ เพราะมีอาหารเป็นปัจจัย, แล้วอวิชชา ก็กลายเป็นต้นเหตุการเกิด การเสื่อม การดับสลายของธาตุต่างๆ ตามมามากมาย. ดังนั้น องศาศูนย์สัมบูรณ์ จึงเป็นเพียงค่าสมมุติตลอดไป หรืออาจจะเป็นจริงได้ ก็เพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ไม่เป็นการตลอดไปได้นาน. เพราะมิฉะนั้น จะไปขัดแย้งกับหลักสังขตธรรม ซึ่งกล่าวว่า ทุกสรรพสิ่งมีการเกิดปรากฎ การเสื่อมปรากฎ และเสื่อมต่อเนื่อง จนกระทั่งดับสลายไป (แล้วไปเกิดในรอบใหม่).

 

 

[อ่านต่อ] บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน 

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ

บทความ (สรุปจากหนังสือทั้งเล่ม)

 

 

 

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net