igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียน นิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 

บทที่ 3
ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ - รูปทรง

 

 

TOPIC


มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง (ความเข้าใจเรื่องมิติ, ประเภทของมิติ, ทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิด มิติ กาลอวกาศ เอกภพ หลุมดำ
และวิวัฒนาการของเอกภพ, มิติ กาลอวกาศ ของจิตธาตุ, มิติของสื่อ และการสื่อสาร
)

ข้อสรุปบางประการ ข้อโต้แย้ง ข้อสนับสนุน เกี่ยวกับ มิติ กาลอวกาศ

วัฏจักร – อนันต์ (วัฏจักร – อนันต์ ของวัตถุธาตุ และกาลอวกาศ, วัฏจักร – อนันต์ ของจิตธาตุ, ค่าอนันต์ทางคณิตศาสตร์ กับ วัฏจักร-อนันต์ ของธรรมชาติ)

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับ วัฏจักร – อนันต์ และเวลา

[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]

 

 

โดยทั่วไป เราเข้าใจว่า “อวกาศ” คือพื้นที่ว่างเปล่า ไม่มีแม้กระทั่งอากาศ. ความจริง อวกาศ มีความหมายมากกว่าที่เราเข้าใจ. อวกาศ หรือ space ในทางฟิสิกส์ หมายถึง ระยะ - พื้นที่ - ทิศทาง ที่บ่งบอกคุณสมบัติของวัตถุโปร่งใส วัตถุแท่งทึบ อากาศธาตุ อวกาศ ดาราจักร และสิ่งที่มีขนาดเล็กระดับอะตอม อนุภาค. ด้วยเหตุนี้ อวกาศ จึงมีขนาด รูปทรง และมีมิติ มิใช่สถานที่ว่างเปล่า ตามที่เข้าใจกัน. อวกาศ มีความเกี่ยวพันกับ แสง และ เวลา เรียกรวมกันว่า กาลอวกาศ (spacetime).

 

ธรรมชาติอย่างหนึ่งของ วัตถุธาตุ หรือ สสาร คือ การดำรงสถานะอยู่ใน มิติ กาลอวกาศ อยู่เช่นนั้นยาวนาน ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีขอบเขต มวลและพลังงานโดยรวมจะมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง ไม่สูญหายไป ณ ที่ใด แม้จะเปลี่ยนสถานะเป็นสสารพลังงาน. เพราะเหตุที่มันไม่เคยหยุดนิ่ง จึงทำให้มันแปรเปลี่ยนสถานะ รูปทรง และคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ภายใต้กรวยของเวลา. สถานะ รูปทรง และคุณสมบัติของมัน จะแทนที่ด้วยมโนทัศน์ความว่าง ซึ่งก็คือ อวกาศของวัตถุ หรือ มิตินั่นเอง. ก่อเกิดลักษณะและคุณสมบัติร่วมกัน และแยกขาดจากกันไม่ได้ คือ มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง และวัฏจักร – อนันต์.

 

3.1
มิติ กาลอวกาศ
– รูปทรง (dimension and spacetime–form)

 

 

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ มีความเชื่อว่า เริ่มแรกของเอกภพ มีเพียงมิติเดียว คือ มิติที่ 0 ซึ่งถูกอัดแน่นด้วยสสารและพลังงาน ที่ประกอบกันเป็น คุณสมบัติของวัตถุสารอย่างยิ่งยวด (the mass). แต่หลังเกิดบิ๊กแบง แค่ เศษเสี้ยวของ หนึ่งในพันของวินาที ก็มีมิติเกิดขึ้น และวิวัฒน์เป็นมิติต่างๆ มากมาย. ก่อเกิดดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ดาราจักร และจุลชีพ จากนั้น ก็เข้าสู่วัฏจักรการพัฒนา เป็นชีวิต จิต วิญญาณ เกิดสังขารธรรม หลากหลายระดับ ในเวลาต่อมา.

 

3.1.1
ความเข้าใจเรื่องมิติ

 

(1) รูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต เส้น พื้นผิว ทรงตัน

 

รูปทรงต่างๆ ของวัตถุ และสิ่งของที่เราเห็น เกิดจากรูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต คือ จุด เส้น มุม และ พื้นผิว. เมื่อนำรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้มาผสานกัน จะเกิดการวิวัฒน์เป็นมิติต่างๆ ของรูปทรงที่หลากหลาย ได้แก่

 

(1.1) เส้น 1 มิติ เส้นที่มีความยาวปลายปิด และเส้นที่มีความยาวปลายเปิด.

(1.2) พื้นผิว 2 มิติ (plane) แผ่เป็นแผ่นที่ไม่มีความหนาออกไปโดยรอบ (กว้าง – ยาว) พื้นผิว 2 มิติ มีทั้งชนิดที่มีขอบปลายปิด และที่มีขอบปลายเปิด มีหลายรูปทรง เช่น แผ่นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปมากกว่าสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปพีรามิดกลวง รูปกรวยกลวง และรวมถึงพื้นผิวสองมิติที่มีความโค้ง เช่น อานม้า แอ่งกระทะ.

(1.3) วัตถุรูปทรงตัน 3 มิติ [01] วัตถุรูปทรงตัน สามารถวิวัฒน์ตัวเอง เป็นรูปทรงที่มีลักษณะพิเศษ ได้หลากหลาย เช่น ทรงตันกลม (sphere) ทรงตันเหลี่ยมจัตุรัส (cube) ทรงตันแท่งกระบอก (cylender) ทรงตันรูปกรวย (cone) ทรงตันรูปปิรามิด (pyramid) ทรงตันมีรู (torus) และท่อ (pipe) และรวมถึง ทรงตันแท่งเหลี่ยม ทรงตันผลึก ทรงตันผิวโค้ง-วงรี ทรงตันแท่งรูปเขาวงกต ทรงตันแท่งรูปสปริง.

 


[01]
รูปทรงตัน ภายในอาจจะทึบ หรือไม่ก็ได้ แต่พื้นผิวที่ห่อหุ้มรูปทรงตันนั้น จะต้องเป็นพื้นที่ติดต่อกัน เป็นผืนเดียวกันทั้งหมด ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งมีรู หรือช่องว่าง เช่น ลูกโป่ง กับ ลูกเปตอง จัดเป็นรูปทรงตัน.

 

นอกจากนี้ ยังมีรูปทรงตันพิเศษอื่นๆ อีก เช่น ทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่เป็นทรงนูน (convex) โดยจุดยอดจุดหนึ่งจะประกอบด้วยหน้ารูปหลายเหลี่ยมปกติ (regular polygon) ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป และเป็นชุดเดียวกันทุกจุด. รูปทรงตันพิเศษ ได้แก่ ทรงตันเพลโต 5 ชนิด คือ ทรงสี่หน้า (tetrahedron) ทรงลูกบาศก์ (hexahedron | cube) ทรงแปดหน้า (octahedron) ทรงสิบสองหน้า (dodecahedron) ทรงยี่สิบหน้า (icosahedron) ทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) ทรงตันจอห์นสัน.

 

(2) คุณสมบัติของมิติและกาลอวกาศ ที่มีอิทธิพลต่อสถานะของวัตถุในเอกภพ

 

นักวิทยาศาสตร์รู้จักวัตถุต่างๆ จากคุณสมบัติด้าน รูปร่าง (shape) สัดส่วน (proportion) พื้นผิว (texture) สีและเฉดสี (color - tone) ขนาด (size) ปริมาตร (capacity) ปริมาณ (quantity) น้ำหนัก (weight) และรูปทรงมิติ (area - dimension).

มนุษย์ สามารถมองเห็นวัตถุ ได้ในมิติที่ 1 ถึง มิติที่ 3 เท่านั้น และอาศัยสีเป็นเครื่องวัดความแตกต่างของวัตถุ. สีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสีของวัตถุ มีแม่สี 3 สี คือ แดง (red) เหลือง (yellow) และน้ำเงิน (blue) และกลุ่มสีของแสง มีแม่สี 3 สีเช่นกัน คือ ส้มแดง (red) เขียว (green) และ น้ำเงิน (blue). วัตถุมีขนาด รูปทรง และน้ำหนัก ได้จำกัด เมื่ออยู่บนผิวโลก. แต่ถ้าเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็ก ระดับอะตอม และมีขนาดใหญ่ ระดับดาวฤกษ์ สุริยะ และกาแล็กซี่ จำเป็นต้องใช้จินตนาการ ร่วมกับทฤษฎีทางด้านฟิสิกส์ ในการศึกษาวัตถุเหล่านั้น. แต่ถ้าจะศึกษาสิ่งที่อยู่ นอกขอบเขตมิติรูปทรง และขนาด มวล และพลังงาน จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีของพระเจ้า มาร่วมพิจารณาด้วย. แม้ว่า จะสร้างความ หงุดหงิดใจ ให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ก็เป็นทางออกหนึ่ง ที่จะเติมสิ่งที่ขาดหายไปในสมการ ทางคณิตศาสตร์ ที่พวกเขาคิดขึ้น.

 

แนวคิดเรื่องคู่แฝด ในคณิตศาสตร์ ถูกนำมาใช้เป็นมโนทัศน์ ในการกำหนดขนาดและปริมาณ ของวัตถุหรือสสาร ที่อยู่ในมิติของเวลา (กาลอวกาศ). มีความเป็นไปได้ว่า วงกลมวงหนึ่ง ที่อยู่ในโลก 3 มิติ จะมีรัศมีมากกว่า 0 เสมอ (รัศมีเป็นบวก) ขณะเดียวกัน ถ้าวงกลมวงนั้น ถูกสร้างขึ้นในมิติที่ 4 (มิติของเวลา) รัศมีของมัน จะมีค่าน้อยกว่า 0 (รัศมีเป็นลบ) แต่วงกลมใดๆ จะมีรัศมีเท่ากับ 0 ไม่ได้.

ดังนั้น หากรัศมีของวงกลมที่เปลี่ยนค่าไป (รัศมีคู่แฝด บวก ลบ) มีขนาดของคู่แฝดเท่ากัน เช่น -1 หน่วยระยะทาง กับ +1 หน่วยระยะทาง จะทำให้รัศมีเกิดการหักล้างกัน ( -1 รวมกับ +1 = 0 ) วงกลม นั้นจะหายไป เพราะ วงกลมจะมีรัศมีเป็น 0 ไม่ได้. วัตถุทรงกลม 3 มิติ ก็อธิบายในหลักการเดียวกันนี้ กล่าวคือ หากทรงกลมนั้น มีรัศมีเท่ากับศูนย์ ในมิติที่ 4 เราจะไม่สามารถมองเห็นมันได้เลย (แต่มันมีอยู่ในจินตภาพและเวลา) เช่น ลูกบอล ที่ถูกทำให้กลิ้งไป ในระยะ 1 เมตร, ระยะทาง 1 เมตร คูณกับปริมาตรของลูกบอล นั่นคือ ปริมาตรทั้งหมดของลูกบอล รวมกับปริมาตรในมิติที่ 4 (ซึ่งมีรัศมีเป็นลบ) ที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้.

 

ในมิติและกาลอวกาศ จะถูกปูด้วย พื้นหลังของคุณสมบัติ 4 ประการ คือ สนาม อนุภาค เหตุการณ์ และการผันแปรของ เส้นจีโอเดสิค. สนาม (field) มีลักษณะตรงข้ามกับ อนุภาค (particle) คือ อนุภาค ดำรงอยู่ ณ จุดหนึ่งในห้วงอวกาศ (อาจมีสถานะเป็น จุด 0 มิติ หรือ เส้นสตริง 1 มิติ). อนุภาคบางตัว มีอายุสั้นมากๆ เช่น 1 -n /10 n ซึ่งสามารถตรวจจับได้ (แม้จะกำหนดพิกัดไม่ได้ก็ตาม) แต่ สนาม อยู่กระจายไปทั่วเอกภพ ในห้วงของกาลเวลา (ตราบใดที่มีเวลา สนามก็มีอยู่). เหตุการณ์ (event) คือ จุดหรือบริเวณ ในกาลอวกาศ ที่ระบุโดยเวลาและตำแหน่งของมัน.

 

เส้นจีโอเดสิค (geodesic) คือ เส้นทางที่สั้นที่สุด หรือยาวที่สุด ระหว่างจุดสองจุดในอวกาศ เป็นเส้นที่สมมุติขึ้น เพื่อให้มองเห็นรูปทรง หรือพื้นผิว 2 มิติ 3 มิติ ได้ชัดเจนขึ้น. เราจะมองเห็นเส้นจีโอเดสิคได้ชัดเจน เมื่อมันอยู่บนพื้นผิวความโค้งของวัตถุ 2 มิติ เช่น บนผิวลูกบอล หรือลูกโลก. ดังนั้น ในกาลอวกาศ 3 มิติ จะมีเส้นจีโอเดสิคสองเส้นเสมอ ระหว่างจุดสองจุด (เส้นโค้ง กับ เส้นลัดตรง). คุณสมบัติพื้นหลัง 4 ประการดังกล่าว ส่งผลต่อการคำนวณสถานะที่แน่นอน ด้านอัตราความเร็วของวัตถุ ที่เคลื่อนที่ไปในอวกาศ และตำแหน่งพิกัดของมัน.

 

ถ้าอัตราความเร็วถูกต้อง ตำแหน่งพิกัดของมัน จะผิดเพี้ยน และในทางตรงกันข้าม ถ้าตำแหน่งพิกัดถูกต้อง อัตราความเร็ว ก็จะผิดเพี้ยนเช่นกัน เป็นไปตาม หลักความไม่แน่นอน ของไฮเซนต์เบิร์ก (uncertainty principle).

 

 

•  ความยาว พื้นที่ และ เวลาของแพลงก์–วิลเลอร์ [02]

(1) ความยาวของแพลงก์-วิลเลอร์ มาจากสูตร G/ h?/c3(ยกกำลัง 3) = 1.62 x 10 -33(ยกกำลัง -33) เซนติเมตร. (กำหนดให้ G = 6.670 x 10 -8(ยกกำลัง -8) dyne.cm.2(ยกกำลัง 2) /ก2(ยกกำลัง 2) คือ ค่าคงที่ของแรงโน้มถ่วงนิวตัน., h? = 1.055 x 10 -27(ยกกำลัง -27) erg - วินาที คือ ค่าคงที่กลศาสตร์ควอนตัมของแพลงก์ และ c = 2.998 x 10 10(ยกกำลัง 10) ซม./ วินาที คือ อัตราความเร็วของแสง). ความยาวของแพลงก์–วิลเลอร์ เป็นมาตราส่วนความยาว ที่สั้นที่สุด ของสิ่งใดๆ ที่วัดค่าได้. ถ้าต่ำกว่านี้ มันจะดำรงอยู่ต่อไปไม่ได้ และจะ กลายเป็น ฟองควอนตัม.

(2) เวลาของแพลงก์-วิลเลอร์ มาจากสูตร 1/c x ความยาวของแพลงก์ - วิลเลอร์ หรือ
1/c x 10 -33(ยกกำลัง -33) cm . ( c คือ อัตราความเร็วของแสง = 2.998 10 10(ยกกำลัง -27) x ซม.) มีค่าประมาณ 10 -43(ยกกำลัง -43) วินาที. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุด ที่จะสามารถมีได้ ถ้ามีเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน สั้นกว่านี้ ไม่อาจบอกได้ว่า เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นหลัง.

(3) พื้นที่ของแพลงก์ - วิลเลอร์ มาจากสูตร ความยาวของแพลงก์ - วิลเลอร์ ยกกำลังสอง คือ 2.61 x 10 -66(ยกกำลัง -66) ตารางเซนติเมตร. เป็นหน่วยพื้นที่ ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้.

(4) ตัวคงที่ของแพลงก์ (Planck's constant) คือ ตัวแปรที่ทำให้ ควอนตัม (quantum พหูพจน์ คือ quanta) ของแสง มีพลังงาน เท่ากับ 1 ควอนตัม. มาจากสูตร E = h u เมื่อ พลังงาน (E) = ตัวคงที่ของแพลงก์ (h) ความถี่ รอบ/วินาที (u) ตัวคงที่ของแพลงก์ มีค่าประมาณ 6.6 x 10 -23(ยกกำลัง -23) จูล (joule).

จูล เป็นหน่วยที่ใช้บอก ปริมาณงาน ที่ต้องใช้พลังงานออกแรง ทำให้มวล จำนวน 1 ตัน เคลื่อนที่เป็นระยะทาง 1 เมตร (นิวตัน-เมตร หรือ Nm ), หรือ ปริมาณงาน ที่ใช้เคลื่อนย้าย ประจุไฟฟ้า จำนวน 1 คูลอมบ์ (coulomb) ผ่านที่ที่มีความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้า 1 โวลต์ (volt) (คูลอมบ์-โวลท์ หรือ Cv, หรือ ปริมาณงาน ที่สร้างพลังงาน 1 วัตต์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 วินาที (วัตต์-วินาที หรือ Ws )


[02]
 ธอร์น, คิพ เอส. (รศ.ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง แปล). (2554). อ้างแล้ว. หน้า 804.

 

 

สตีเว่น ฮอว์กิ้ง กล่าวว่า เอกภพมีขนาดจำกัด แต่ไม่มีขอบเขต ในเวลาจินตภาพ (imaginary time) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขไร้ขอบเขต (no boundary condition). [03] เวลาจินตภาพ (imaginary time) คือ เวลาที่วัดโดยใช้ จำนวนจินตภาพ (imaginary number) [04] ที่สมมุติขึ้น เพื่ออธิบาย "ขนาดจำกัด ไม่มีขอบเขต". ทำให้แนวคิดนี้ ละเมิดกฎ ความยาว พื้นที่ และเวลาของ แพลงก์-วิลเลอร์. ความยาว พื้นที่ และ เวลาของแพลงก์ – วิลเลอร์ (Plank-Wheller length, area and time) เป็นกฎที่ใช้อธิบาย ขนาดและปริมาณที่เล็กมากๆ และเกี่ยวข้องกับ แรงโน้มถ่วงควอนตัม. กล่าวได้ว่า แนวคิดและทฤษฎีของ ฮอว์กิ้ง อาจข้ามเขตของกฎฟิสิกส์ และล้ำเข้าไป ในขอบเขตของกฎของพระเจ้าไปไม่น้อย. แต่เนื่องจาก เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงไม่อาจยอมรับกฎของพระเจ้าได้.

 


[03]
 สตีเฟน ฮอว์กิ้ง. (ปิยบุตร บุรีคำ, ดร. และ อรรถกฤต ฉัตรภูติ, ดร. แปล). (2544). ประวัติย่อของกาลเวลา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน., หน้า 27, 31, 197, 216-217.


[04]
 จำนวนจินตภาพ (imaginary number) เป็นจำนวนเชิงซ้อน ที่สมมุติขึ้น เพื่อทำให้สมการ z = x + iy เป็นจริง. โดยที่ z = จำนวนเชิงซ้อนใดๆ, x และ y เป็นจำนวนจริง และ i เป็นค่าคงที่ แทนจำนวนจินตภาพ. (i = -1). เช่น จงหา z = 1 + ? -4 สามารถหาค่า z (จำนวนเชิงซ้อน) ได้ว่า -4 = (4)(-1) = 4i = 2i. ดังนั้น z = 1 + 2i.

 

(3) มิติ กาลอวกาศ ในขนาดต่างๆ มีการสัมพัทธกับเวลา

 

มนุษย์มักเข้าใจมิติแบนราบได้ดี เช่น จุดที่เรียงต่อกันมากกว่า 2 จุดขึ้นไป เรียกว่า เส้น. เส้นตรง คือ ความยาวในแนวระนาบ 180 องศา ที่มีจำนวนมากกว่า 2 เท่า ของความกว้างของเส้น (จุด). หากต่อปลายทั้งสองด้านของเส้น ออกไปเรื่อยๆ จุดปลายทั้งสองด้าน จะยิ่งห่างออกจากกัน หรือ ปลายทั้งสองด้าน จะไม่มีโอกาสพบกันเลย.

 

หลักการข้อนี้ ทำให้นักปรัชญายุคต้นๆ มีความเชื่อเรื่องโลกแบน หรือ โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล. มิติในเอกภพไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม จะผูกโยงกับ ตำแหน่งพื้นที่ (space) และเวลา (time) เสมอ. ทำให้เกิด มิติที่ 4 ที่มองไม่เห็น แต่จะรับรู้ได้จาก มโนสัมผัส เช่น จากตัวอย่างเรื่องเส้นตรง ที่ขยายปลายทั้งสองด้านออกไป.

 

ถ้าให้เส้นตรง 2 เส้น ที่มีความยาวเท่ากัน ถูกวางขนานกันบนผิวโค้ง ผลคือ ปลายด้านหนึ่งจะบรรจบกัน เมื่อความโค้งเท่ากับ 90 องศา เพราะความโค้งของพื้นผิว ที่มีเส้นตรงลากไป จะสร้างมิติที่ 3 ให้แก่แนวระนาบ. เส้นตรงทั้งสองเส้นดังกล่าว ต่างก็มีเส้นตรงสมมุติอีกเส้นหนึ่ง เป็นคู่แฝด มันลากจากจุดปลายทั้งสองข้าง ของเส้นตรงบนผิวโค้งนั้น แต่จะไม่โค้งตามพื้นผิว และจะมีความยาวสั้นกว่า เราเรียกเส้นคู่แฝดนี้ว่า เส้นจีโอเดสิค. ผู้สังเกตที่ยืนอยู่บนพื้นผิวที่มีความโค้ง เขาจะมองไม่เห็นความโค้ง แต่ผู้สังเกตอีกคนหนึ่ง ที่ยืนอยู่ในระยะไกล จะมองเห็นความโค้ง. ความโค้งดังกล่าว ก็คือ มิติที่ 4 นั่นเอง.

 

หลักการของเส้นจีโอเดสิค ถูกนำมาใช้ ในการสร้างลู่วิ่งจักรยาน ในเวโลโดรม (velodrome) ซึ่งนักปั่นไม่ต้องสนใจการเลี้ยวของจักรยาน แต่ความโค้ง (โค้งเว้าเข้าข้างใน - ความโค้งเป็นลบ) จะช่วยให้ปลายลู่วิ่งของจักรยาน บรรจบกันพอดี. นักปั่นจักรยาน สามารถเร่งความเร็วรถ ได้ถึง 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง บนทางโค้งลาดชัน 42 องศา. (ที่จริง นักปั่นต้องการความลาดชันจริง 68 องศา โดยนักปั่น ต้องเอนตัวรับกับมุมของความโค้งด้วย เพื่อป้องกันการลื่นไถล).

ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบาย มิติของเวลาได้อย่างลงตัว คือ หลักสัมพัทธภาพ. หลักสัมพัทธภาพ (relativity) มาจากความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลการวัดระยะ ของผู้สังเกต ที่อยู่คนละกรอบอ้างอิง. หลักสัมพัทธภาพของ กาลิเลโอ (Galilean Relativity) กล่าวไว้ว่า อวกาศกับเวลา ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยเปรียบเทียบกับ คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือ ที่กำลังแล่น กับคนดูที่อยู่บนฝั่ง. คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือ คิดว่าตนเองยืนนิ่งอยู่กับที่ แต่คนที่สังเกตบนชายฝั่ง กลับมองเห็นว่า ชายที่อยู่บนดาดฟ้าเรือนั้น กำลังเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กับเรือ. แต่หลักสัมพัทธภาพของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Einstein's Theory of Relativity) กล่าวว่า อวกาศและเวลา เกี่ยวพันกัน. เขากล่าวว่า ผู้สังเกตทุกคน จะวัดอัตราเร็วของแสงได้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่ของพวกเขา จะเป็นอย่างไรก็ตาม.

ก่อนหน้านั้น ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ค้นพบว่า อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ มีค่าคงที่เสมอ และ กฎของฟิสิกส์ทุกกฎ จะมีรูปแบบเหมือนกัน ในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย. ทำให้หลักความจริงใหม่ ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ว่าด้วย ความสัมพัทธกับอวกาศและเวลา ความโน้มถ่วง แรงและพลังงาน ขัดแย้งกับความรู้สึกสามัญ ของคนทั่วไป และเข้าใจยาก. ดังที่กล่าวมาแล้วว่า วัตถุต่างๆ อธิบายได้ด้วย มิติที่ 1 ถึง มิติที่ 3 แต่ถ้าอธิบายด้วยมิติที่ 4 จะมีเรื่องของเวลา เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ.

สตีเฟ่น ฮอว์คิง เรียกว่า phase space คือ “ความเป็นไปได้ทุกอย่างของเหตุการณ์”.

 

3.1.2
ประเภทของมิติ

 

มิติในเอกภพ แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ มิติเรขาคณิต มิติกาลอวกาศ มิติของแสงและเอกภพ และมิติอสังขตลักษณะ.

 

(1) มิติเรขาคณิต

 

เป็นมิติของแบบจำลองทางเรขาคณิต แบบยุคลิด [05] ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้. มิติเรขาคณิต เป็นมิติคงตัว (static dimension) ไม่มีการวิวัฒน์ มองเห็นได้ภายใต้มโนทัศน์ของรูปทรงเรขาคณิต ที่มนุษย์โลกสามารถเข้าใจได้ดี . ยุคลิด ได้นิยามรูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต ไว้ในหนังสือ อิลิเมนต์.[06]



[05]
ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย
(Euclid of Alexandria: 450 - 380 B.C.) ยุคลิด เป็นศิษย์ของเพลโต เป็นนักคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย เป็นผู้วางรากฐานคณิตศาสตร์ไว้ในตำราหลายเล่ม เช่น Element เป็นตําราที่มีอิทธิพลต่อการสอนเรขาคณิต ในสถาบันการศึกษาทั่วโลก มานานกว่า 2,000 ปี. เรขาคณิตแบบยุคลิด ใช้ได้ดีในมิติขนาดโลกและเข้ากันได้กับกฎฟิสิกส์ของนิวตัน แต่จะเกิดข้อผิดพลาด เมื่อนำไปใช้ในมิติขนาดใหญ่ระดับสุริยะ ดาราจักร หรือใช้ไม่ได้กับมิติขนาดควอนตัม.


[06]
แม้ว่าบทนิยามนี้ จะถูกโต้แย้งว่า ไม่มีประโยชน์ในการอ้างอิง และนิยามบางข้อไม่ชัดเจน. แต่ผู้เขียนเห็นว่า คำนิยามเหล่านี้มีความจำเป็น เมื่อนำไปอธิบายในมิติที่ต่างขนาดกัน. เช่น จุด คือสิ่งที่ไม่มีขนาด แต่เมื่อนำไปอธิบายกับอนุภาคมูลฐาน อาจไม่เป็นจริง อนุภาค อาจมีสถานะเป็นจุดที่มีขนาด. เส้นสตริง สามารถมีพื้นที่เพิ่มขยายด้านข้างได้ (world sheet). สิ่งที่เท่ากันสนิท ย่อมเท่ากัน จะขัดแย้งกับกฎของฟิสิกส์ เพราะวัตถุเคลื่อนที่ ย่อมมีขนาดไม่เท่ากับขณะที่หยุดนิ่ง. แต่อย่างไรก็ตาม มีนักคณิตศาสตร์อีกหลายคน เช่น พาซก์, มอริทซ์ (Pasch, Moritz. : 1843 - 1930 A.D.) ฮิลแบร์ท (David Hilbert: 1862 - 1943 A.D.) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ออกมาแก้ไข บทนิยามที่บกพร่อง ของยุคลิด เกี่ยวกับ จุด เส้น อยู่บน ระหว่าง และ เท่ากันทุกประการ เพื่อให้สัจพจน์การเชื่อมโยง การจัดอันดับ การขนานกัน ความต่อเนื่อง และ ความเท่ากันทุกประการ เกี่ยวกับจุดและเส้น ให้มีความชัดเจนขึ้น.

 

ยุคลิด ได้นิยามรูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต ไว้ดังนี้.

จุด คือ สิ่งที่ไม่มีขนาด.

เส้น คือ สิ่งที่มีความยาว แต่ไม่มีความกว้าง (1 มิติ) และส่วนสุดของเส้นคือจุด.

เส้นตรง คือ เส้นที่ประกอบด้วยจุด เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน. สามารถลากเส้นตรง จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ได้เพียงเส้นเดียวเท่านั้น, และเส้นตรงนั้น สามารถต่อออกไปได้เรื่อยๆ [ทั้งสองด้าน].

พื้นผิว คือ สิ่งซึ่งมีความกว้างและความยาว (2 มิติ) ส่วนสุดของพื้นผิวคือเส้น [พื้นผิวแบบปิด].

พื้นผิวระนาบ คือ พื้นผิวที่มีเส้นตรง เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน.

มุม เกิดจากเส้นหนึ่ง ที่พบกับอีกเส้นหนึ่ง ในพื้นระนาบเดียวกัน และเส้นทั้งสองนี้ ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน เรียกมุมชนิดนี้ว่า มุมในระนาบ.

ขอบเขต คือ ส่วนสุดของรูป.

รูป คือ สิ่งที่ประกอบด้วย ขอบเขตอันหนึ่ง หรือหลายอัน.

วงกลม คือ รูปบนระนาบ ที่ประกอบด้วยเส้น ซึ่งส่วนตัดของเส้นตรงทุกเส้น ที่เชื่อมกับจุดคงที่จุดหนึ่ง ภายในรูปนี้ กับจุดบนเส้นนั้น ยาวเท่ากันทั้งหมด และเรียก จุดคงที่ภายในวงกลมนั้นว่า จุดศูนย์กลาง. เราสามารถสร้างวงกลมได้ เมื่อกําหนดจุดศูนย์กลาง และระยะทาง.

 

จากคำนิยามเหล่านี้ นำมาอธิบายลักษณะของมิติเรขาคณิต ได้ดังนี้ มิติเรขาคณิต มีมากสุดได้เพียง มิติที่ 1 มิติที่ 2 และ มิติที่ 3. (มิติที่ 0 คือ จุด)

 

มิติที่ 1 มิติของเส้น มีลักษณะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง. มิติของเส้นจะไม่แสดงพื้นที่ หรือ เป็นมิติที่ปราศจากอวกาศนั่นเอง.

มิติที่ 2 เป็นมิติของพื้นที่ หรือ เป็นมิติที่มีอวกาศแบน. มีลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ (plane) ในระนาบ 180 องศา. ถ้ามีระนาบความโค้งเป็นบวก หรือเป็นลบ จะเกิดรูปทรงของแผ่น ได้หลายแบบ เช่น พื้นที่หลังเต่า พื้นที่แอ่งกะทะ พื้นที่รางน้ำคว่ำ พื้นที่ที่รางน้ำหงาย พื้นที่อานม้า

มิติที่ 3 มิติของแท่งก้อนทึบ (solid) มีลักษณะเป็นรูปทรงทึบ มีขนาดและมีพื้นผิว อาจทึบทรงกลม ทึบวงรี ทึบเหลี่ยม ทึบแท่ง ทึบรูปทรงอิสระ.

พื้นผิวของก้อนแท่งทึบนั้น อาจมีโทโปโลยี ที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันก็ได้. คือเป็นรูปทรงที่มีอวกาศและพื้นผิว ติดต่อเป็นแผ่นก้อนเดียวกัน ซึ่งความทึบนั้น อาจมีความหนาแน่น หรือเบาบางของเนื้อวัตถุก็ได้ เช่น ลูกตุ้มเหล็ก ฆ้อน ซาลาเปา ลูกโป่ง ฯลฯ หรือเป็นรูปทรงที่มีอวกาศและพื้นผิว ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ติดเป็นก้อนเป็นผืนเดียวกัน คือมีส่วนทะลุเป็นรู เช่น แก้วมีรูหูจับ ขนมโดนัท.

ในชีวิตประจำของมนุษย์ จะคุ้นเคยกับวัตถุรูปทรง 1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ เห็นจนเป็นปกติ.

วัตถุที่มีรูปทรง 0 มิติ จะต้องไม่มีขนาดมาเกี่ยวข้อง หรือขนาดเล็กมาก จนเหลือแค่จุด นั่นคือ 0 มิติ.

 

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มักจะมองไม่เห็นความจำเป็น และไม่ให้ความสำคัญของวัตถุ 0 มิติ. แต่ถ้าวัตถุนั้น มีขนาดเล็กมากๆ ระดับอะตอมหรืออนุภาค. ขนาด 0 มิติ กลายเป็นข้อถกเถียงกัน ในหมู่นักฟิสิกส์ ว่าแท้จริงแล้ว อนุภาคเหล่านั้น ดำรงอยู่ในภาวะเป็นจุด (มิติที่ 0) หรือเป็น เส้นสตริง (string) 1 มิติ กันแน่. ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มยอมรับ สตริง มากยิ่งขึ้น.

 

(2) มิติกาลอวกาศ (spacetime dimension)

 

เป็นมิติที่มีทั้งพื้นที่หรือ อวกาศและเวลา มาเกี่ยวข้อง. คำว่า กาลอวกาศ หรือ spacetime หมายถึง “ก้อนเนื้อ” ที่เป็นกาลอวกาศ 4 มิติ อันเป็นผลมาจาก การรวมกันของ เวลาและอวกาศ นั่นเอง. วัตถุแท่งทึบ ที่เรามองเห็น แท้จริงแล้ว มันมีมิติที่ 4 (เวลา) อยู่ในก้อนเนื้อที่เป็นแท่งทึบนั้นด้วย เช่น ลูกแก้วลูกหนึ่ง วางอยู่ที่พื้น ณ วินาทีที่ 1 มันยังมีอยู่ วินาทีที่ 2 มันถูกทุบ จนก้อนเนื้อแก้ว แตกออกจากกัน วินาทีที่ 3 เศษแก้วเกลื่อนกระจายที่พื้น, ถ้าวินาทีที่ 3 คือปัจจุบัน เรามองไม่เห็นลูกแก้วแล้ว แต่ความจริง มันมีอยู่เมื่ออดีต (วินาทีที่ 1), และถ้าวินาที่ 1 คือปัจจุบัน เรามองเห็นลูกแก้ว แต่ความจริง มันจะไม่มีตัวตน ในอนาคต (วินาทีที่ 3). ดังนั้น ไม่ว่า วินาทีที่ 1 หรือ วินาทีที่ 2 หรือ วินาทีที่ 3 ก็ตาม, ลูกแก้วก็ยังมี มิติที่ 4 อยู่นั่นเอง นั่นคือ เวลาอดีต – ปัจจุบัน – อนาคต. หรือ สมมุติให้รถยนต์คันหนึ่ง (วัตถุ 3 มิติ) จอดอยู่ ณ นาทีที่ 0 และทำให้มันวิ่งไปข้างหน้า ณ นาทีที่ 1 มันก็ยังเป็นวัตถุ 3 มิติเหมือนเดิม จากนาทีที่ 0 – นาทีที่ 1 เกิดช่องว่าง หรือ space ขึ้นในอดีต เมื่อรวมพื้นที่ ในนาทีที่ 0 - 1 ก็จะเกิดปริมาตรของ มิติที่ 4 ของรถยนต์คันนั้น และถ้ามันวิ่งต่อไป ณ นาทีที่ 2 (ในอนาคต) ปริมาตรของ มิติที่ 4 ของรถยนต์ก็จะเพิ่มขึ้น.

 

 

ภาพที่ 3.01 การเกิดขึ้นของ มิติที่ 4 ของรถยนต์คันหนึ่ง.

 

 

ในการรับรู้ของมนุษย์ อวกาศและเวลา ของวัตถุใดๆ มีขนาดและมีขอบเขต. แต่กาลอวกาศของเอกภพ สตีเว่น ฮอว์กิ้ง กล่าวว่า อาจมีขนาดหนึ่งแต่ไม่มีขอบเขต รวมทั้งไม่สามารถกำหนดพิกัดที่แน่นอนได้. เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้อวกาศและเวลา กลายเป็นมิติที่ 4 ที่มีแต่มโนทัศน์ ไม่มีตัวตน. มิติในข้อนี้ทั้งหมด คือ มิติของวัตถุที่มีเวลามาสัมพัทธด้วย. ถ้ารูปทรงมิติที่ 1 มิติที่ 2 และ มิติที่ 3 และแม้กระทั่ง มิติที่ 0 เกิดการสัมพัทธกับเวลา (วัตถุเคลื่อนไป) ทำให้ตัวมันเองเกิดการวิวัฒน์ กลายเป็นมิติอื่นๆ มากกว่า 4 มิติ ซ้อนทับอยู่ในมิติที่ 1 มิติที่ 2 และ มิติที่ 3.

 

มิติที่ 0 คือ มิติของอนุภาค ที่อยู่อย่างอิสระ ในกาลอวกาศ ซึ่งมีคุณลักษณะพื้นฐานเหมือนกันหมด คือ การหมุนรอบแกนของตัวเอง (แกนสมมุติ) ของอนุภาค (เรียกว่า spin เป็นโมเมนตัมเชิงมุม ประเภทหนึ่ง ) ทำให้อนุภาคไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ไม่เคลื่อนออกไปที่ไหน ทำให้สถานะทางมิติของมันเป็น 0. แต่ในความเป็นจริง อนุภาคมูลฐานเหล่านั้น มิได้อยู่โดดเดี่ยวในอวกาศ การสปินของมัน ทำให้ตำแหน่งของมัน ไม่ใช่จุด 0 มิติ แต่จะเปลี่ยนไปเป็นเส้น 1 มิติ ตามที่ ทฤษฎีสตริง (string theory) กล่าวไว้.

 

เส้นสตริง มีลักษณะคล้ายเส้นเชือกสั่นไปมา. เส้นเชือกของอนุภาคนี้ มี 2 แบบ คือ closed string แบบที่มีจุดปลายทั้งสองด้านเชื่อมต่อกัน เรียกว่า สตริงปลายปิด (เส้นเชือก กลายเป็นเส้นรอบวง) กับ open string แบบที่จุดปลายไม่เชื่อมติดกัน เรียกว่าสตริงปลายเปิด (เส้นเชือก ยาวตลอด). นี่คือสถานะของอนุภาคหนึ่งมิติ ที่มีอยู่จริงในกาลอวกาศ. เส้นเชือกของอนุภาคนี้ มีลักษณะบางมาก และมีปริมาณเป็นอนันต์ และมันจะครอบครองอาณาบริเวณ ในอวกาศเป็นเส้น เรียกว่า เส้นโลก หรือ เวิร์ลด์ไลน์ (world line). การแผ่ขยายของเส้นเชือกสตริงปลายเปิด ก่อให้เกิดการ วิวัฒน์ขึ้นมาอีกหนึ่งมิติ คือ มิติที่ 2. พื้นผิว 2 มิตินี้เรียกว่า พื้นที่โลก หรือ เวิร์ลด์ชีต (world sheet). เวิร์ลชีตของสตริงปลายเปิด มีลักษณะเป็นแผ่นขยายในแนวข้างซ้าย และขวาของเส้นเชือก แต่เวิร์ลด์ชีตของสตริงปลายปิด จะมีลักษณะเป็นท่อ. ท่อนี้ เกิดจากการวิวัฒน์ขึ้นมาอีกหนึ่งมิติ คือ มิติที่ 3.

รูปทรงที่มีขนาดเล็กมากๆ หากมองในระยะไกล ท่อนั้นจะเล็กมากจนกลายเป็นเส้น. เส้นเชือกของอนุภาคเหล่านี้ สามารถเชื่อมต่อกันได้ ด้วยอนุภาคแรงโน้มถ่วง. อนุภาคแรงโน้มถ่วงดังกล่าว จะมีพลังน้อยมาก หากสตริงสองเส้น อยู่ห่างกันมากๆ และในทางตรงกันข้าม มันจะมีแรงโน้มถ่วงระหว่างกัน มากมหาศาล หากสตริงสองเส้น อยู่ชิดกันมากๆ.

 

ลักษณะเส้น ของมิติที่ 1 (มิใช่สตริง) หากสัมพัทธกับเวลา จะมีการวิวัฒน์ไม่แตกต่างกัน.

 

คุณสมบัติของเส้นใดๆ ที่ถูกลากวางในอวกาศ เช่น เส้นทางโคจรของดาว เส้นทางการบินของเครื่องบิน จะมีการแผ่ขยายที่ปลายด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ออกไปตามเงื่อนไขของเวลา. การขยายที่ด้านปลาย ของเส้นทั้งสองด้าน จะเป็นเส้นตรง หรือเส้นโค้ง ขึ้นอยู่กับจุดที่มอง ของผู้สังเกต. ผู้สังเกตคนที่ 1 มองจากจุดศูนย์กลาง ของเส้นรอบวง ที่เป็นเส้นทางโคจรของดาว หรือเส้นทางการบินของเครื่องบิน เขาจะมองเห็นเส้นลาก เป็นเส้นตรงเสมอ ไม่ว่าเส้นนั้น จะลากในแนวระนาบใดก็ตาม และจะมองเห็นขนาดของเส้น มีความยาวแน่นอน ค่าหนึ่ง (เช่น เท่ากับ รัศมี x 2).

ในทำนองเดียวกัน ผู้สังเกตคนที่ 2 ที่ยืนอยู่บนดาวดวงนั้น หรือนั่งอยู่บนเครื่องบิน จะรับรู้ว่า ตนกำลังเดินทางเป็นเส้นตรง. ส่วนผู้สังเกตคนที่ 3 ที่อยู่ภายนอกจุดศูนย์กลาง และไม่ได้ยืนอยู่บนดาว ไม่ได้อยู่บนเครื่องบิน จะมองเห็นเส้นทางโคจรของดาว และเส้นทางการบินของเครื่องบิน เป็นเส้นโค้ง. ดังนั้น มิติของเส้น ที่มีความโค้ง จะเกิดการวิวัฒน์ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งมิติ คือ มิติที่ 2 (มิติที่เกิดจากมุมมองของ ผู้สังเกต.)

สมมุติต่อไปอีกว่า เส้นโค้งที่ลากต่อปลายทั้งสองด้านนั้น อาจมีโอกาสบรรจบกัน ถ้าองศาการลากต่อ ที่ปลายของเส้นในแกนแนวนอน (x) มีค่าเท่ากับ 0 องศา. แต่ถ้าการลากต่อ ที่ปลายของเส้นในแกนแนวนอน ถูกทำให้เบี่ยงเบน มีองศาเป็นบวกหรือเป็นลบ ก็จะทำให้ลักษณะของเส้นที่ลากไป คล้ายเส้นขดลวดเขาวงกต 2 มิติ. และถ้าองศาการเบี่ยงเบนนั้น ในแกนแนวตั้ง (y) ด้วย ก็จะทำให้ลักษณะของเส้น เป็นขวดลวดสปริง นั่นเท่ากับว่า เกิดการวิวัฒน ์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งมิติ คือ มิติที่ 3 (มิติที่เกิดจากความสูงของขดลวดสปริง)

 

ลักษณะพื้นผิว ของมิติที่ 2 หากสัมพัทธกับเวลา จะทำให้รูปโครงร่างของอนุภาค ที่เรียงต่อกันเป็นแผ่นนั้น เปลี่ยนไปตามกาลอวกาศ เกิดพื้นผิวโค้งในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการวิวิฒน์ของมิติที่ 2 ไปสู่มิติที่ 3

 

เช่น ผิวโค้งรูปหลังเต่า ผิวโค้งรูปแอ่งกระทะ ผิวโค้งรูปอานม้า ผิวโค้งรูปรางน้ำคว่ำ ผิวโค้งรูปรางน้ำหงาย. หากพื้นผิว 2 มิตินั้น แผ่ขยายออกไป เป็นระนาบโค้งทุกทิศทาง จนมีจุดปลายทุกด้าน เชื่อมต่อกัน ก็จะเกิดการวิวัฒน์เป็น มิติที่ 3 รูปทรง ‘ลูกบอล'. แต่ลูกบอลก็ไม่ได้อยู่นิ่งในอวกาศ มันเคลื่อนไปตามแรงหมุนของกาแลกซี่ หากเคลื่อนไปในแนวตรงระนาบ พื้นที่จากจุดเริ่มต้นเคลื่อนไปตามเวลา จะเกิดการวิวัฒน์เป็น มิติที่ 4 (ที่ไม่ปรากฎรูปร่างให้เห็น) คล้าย ‘แท่งลูกโป่ง' ที่มีจุดปลายปิดทั้งสองด้าน. และปลายปิดทั้งสองด้าน อาจเคลื่อนเป็นแนวโค้ง จนปลายทั้งสองข้าง บรรจบกันเป็นรูป ‘แท่งห่วงยางกลวง' หรือถ้าไม่บรรจบกัน ก็จะเป็นรูป ‘ขดลวดเขาวงกต' และเป็นรูป ‘ขดลวดสปริง'.

 

นอกจากนี้ พื้นผิว 2 มิติ อาจม้วนซ้อนเข้าหากัน โดยที่ปลายทั้งสองข้าง ไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้พื้นผิวของมัน คล้ายกับม้วนกระดาษ. บางกรณี พิ้นผิวแผ่นลักษณะผืนผ้า อาจมีปลายทั้งสองด้าน ที่อยู่ตรงข้ามกัน ม้วนบรรจบกันเป็นท่อ บางครั้งปลายท่ออีกด้านหนึ่งตัน (รูปทรงกรวย) และบางครั้งความยามของท่อนั้น สั้นมาก คล้ายวงแหวนแบนๆ และบางกรณี ด้านปลายข้างหนึ่งของท่อที่สั้นมากๆ บรรจบกัน อาจเกิดการบิดสลับด้าน (คล้ายเลข 8). นั่นคือการวิวัฒน์ของพื้นผิวโค้ง เป็นได้ถึง มิติที่ 5 และ มิติที่ 6 และการวิวัฒน์ของพื้นผิว จะทำให้ปริมาณพื้นผิวของ มิติที่ 2 เพิ่มขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลาที่เคลื่อนไป.

 

ลักษณะแท่งก้อนทึบของ มิติที่ 3 ไม่ว่าจะอยู่บนผิวโลก หรืออยู่ในอวกาศ เมื่อสัมพัทธกับเวลา ความเป็นแท่งก้อนทึบ ไม่ได้แช่นิ่งอยู่บนพิกัดอวกาศ มันจะเคลื่อนที่ไปตามแกนเวลาด้วย ก่อให้เกิดการวิวิฒน์เป็น มิติที่ 4 (ซึ่งมองไม่เห็น) โดยอัตโนมัติ ในรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกับการวิวัฒน์ของพื้นผิวโค้ง 2 มิติ.

 

ลักษณะแท่งก้อนทึบ ไม่ว่าจะทึบแบบใดก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป จะเกิดกรวยเวลา ที่แสดงรูปทรงของมิติซ้อนขึ้นมา เช่น แท่งตันที่มีความยาว (มิติที่ 4). แท่งตันที่มีความยาวโค้ง และโค้งจนปลายทั้งสองบรรจบกัน คล้ายขนมโดนัท (มิติที่ 5). แท่งตันโค้ง ปลายทั้งสองด้านไม่ได้บรรจบกัน แต่อยู่ซ้อนในระนาบเดียวกัน คล้ายเขาวงกตแบนราบ หรือขดยากันยุง (มิติที่ 6). แท่งตันโค้ง ปลายทั้งสองด้านซ้อนกันคล้ายขดลวดสปริง ซึ่งถ้ามองในแนวระนาบ จะมีส่วนของปลายด้านหนึ่ง อยู่สูงกว่าปลายอีกด้านหนึ่ง (มิติทรงกรวย) - มิติที่ 7).

นอกจากนี้ หากแท่งก้อนทึบ มีรูปลักษณ์เป็นก้อน หลายเหลี่ยมด้านเท่า เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส ห้าเหลี่ยม หรือมีรูปลักษณ์เป็นปิรามิด เมื่อสัมพัทธกับเวลา จะสร้างมิติของรูปทรง ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทดสอบสร้างมันขึ้นมาได้ โดยใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์ ช่วยคำนวณให้.

 

 

 

เวลามีมิติหรือไม่?

เนื่องจากเวลาไม่มีรูปร่างที่แท้จริง แต่ก็สามารถสร้างมันขึ้นได้ ในจินตนาการ. เวลา แบ่งออกเป็น 3 กาล คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ก่อให้เกิดมิติขึ้น ในความคิดของมนุษย์. ห้วงเวลาที่ถูกปักหมุดตรึงอยู่กับที่ ไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต ก็ตาม ก็คือ มิติที่ 0 ของเวลา ซึ่งไม่มีอยู่จริง. ห้วงเวลาที่ถูกปักหมุด จาก อดีตมาปัจจุบัน หรือ ปัจจุบันไปอนาคต หรือจากอดีตมาปัจจุบัน แล้วเลยไปยังอนาคต นี่คือ มิติที่ 1 ของเวลา หรือเวลา 1 มิติ.

แต่ธรรมชาติของเวลา จะแผ่ขยายออกไปทุกทิศทาง เป็นมิติที่ 2 ของเวลา ทำให้เวลา 2 มิติ และเวลา 1 มิติ ไม่เป็นจริง เพราะการแผ่ขยายของเวลา เป็นไปรอบทิศทาง 360 องศา. ดังนั้น เวลาจึงมีเพียงมิติเดียว เหมือนกันหมด คือ 3 มิติ ตลอดห้วงอวกาศ เมื่อนำมิติของเวลาไปสัมพัทธกับมิติของวัตถุ ทำให้มิติกาลอวกาศพัวพันกัน เกิดมิติซ้อนทับกัน มากมายในเอกภพ (นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า อาจมีมากกว่า 11 มิติ).

ตามกฎของเวลา การเดินทางของห้วงเวลา หรือลูกศรเวลา จะเดินไปข้างหน้าเสมอ ลูกศรเวลาไม่อาจย้อนกลับได้. แต่เวลาก็เป็นธัมมะธาตุหนึ่ง ผสมอยู่ในเอกภพ ซึ่งหากเอกภพมีความโค้ง การเดินทางของเวลาก็มีความโค้งเช่นกัน. เวลามีความโค้ง ทำให้จุดปลาย ของเวลาเริ่มต้นกับสิ้นสุด อาจพบกันได้ และเมื่อพบกันจริง สสารที่เดินทางไปพร้อมกับเวลา เมื่อสัมผัสกับคู่แฝดของมัน (ปฏิสสาร) แรงต่างๆ ที่สะสมไว้หรือที่มีอยู่ (เช่น แรงโน้มถ่วง แรงนิวเคลียร์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า) จะหักล้างกันเอง เพื่อรักษาภาวะสมดุลของพลังงาน.

 

(3) มิติของแสงและเอกภพ (light and topology universe dimension)

 

ธรรมชาติของแสง จะเดินทางเป็นเส้นตรง จากจุดกำเนิดแสง ไปรอบทิศทาง 360 องศา ด้วยอัตราความเร็วสม่ำเสมอ 299,792 กิโลเมตร ต่อวินาที. แม้ว่าจุดกำเนิดแสง จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือถอยหลังก็ตาม. การเดินทางของแสง จะแผ่ออกไปทุกทิศทาง 360 องศา เช่นเดียวกับเวลา. แสงเดินทางสัมพัทธกับเวลาเสมอ เรียกว่า ‘ปีแสง'. ระยะ 1 ปีแสง คือ ระยะทางเท่ากับ แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี. แม้ว่าเอกภพจะแผ่กว้างออกไปอย่างไร้ขอบเขต แต่แสงก็สามารถเดินทาง ทะลุทะลวงไปได้ทุกที่ นักวิทยาศาสตร์จึงใช้หน่วย ปีแสง เป็นมาตราวัดระยะห่าง ของเทหวัตถุต่างๆ ในเอกภพ. ลักษณะและพฤติการณ์ การเดินทางของแสงและเวลา เป็นแบบเดียวกัน ทำให้มิติของแสง กับมิติของเวลา กลายเป็นสิ่งสัมพัทธกัน มีเพียงมิติเดียว คือ 3 มิติ.

 

ขอบเขตที่แผ่ขยายออกไป ทุกทิศทาง 360 x 360 องศา ทำให้เอกภพ มีลักษณะคล้ายทรงกลม ที่ไม่มีขอบเขต. การเดินทางของเวลาและแสง ก็เช่นเดียวกัน, ความโค้งของทรงกลม แม้จะมีเพียงน้อยนิดในส่วนหนึ่งส่วนใดของเอกภพ แต่ก็สร้างความปั่นป่วนเป็นอย่างยิ่ง เมื่อผสมเข้ากับ อิทธิพลของคลื่นความโน้มถ่วง คลื่นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ขยาย ไปทั่วสนามของเอกภพ. แรงโน้มถ่วงควอนตัม แรงนิวเคลียร์ ที่อยู่ในหลุมดำ และในอนุภาคมูลฐานต่างๆ ส่งอิทธิพลให้เส้นทางเดินของแสงและเวลา มีความโค้งไปด้วย. คำว่า อวกาศมีความโค้ง (spacetime curvature) หมายถึง คุณสมบัติของกาลอวกาศ ที่เป็นสาเหตุให้ อนุภาคที่ตกอย่างอิสระ ซึ่งตอนเริ่มแรก จะเคลื่อนที่ขนานกันไปตามเส้นโลก (เส้นตรงสมมุติ) แต่มันจะค่อยๆ เริ่มเคลื่อนเข้าหากัน หรือแยกออกจากกัน นั่นเอง.

 

ถ้าความโค้งของเส้นเวลา มีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่า 0 แสงก็จะเดินทางช้าลงตามไปด้วย. ถ้า แสงและเวลา ตกลงไป ในรัศมีความโค้งของหลุมดำ ทุกอย่างจะเดินทางช้าลง. และเมื่อความโค้งภายใน หลุมดำ (ที่ปลายสุดของความโค้ง) มีค่าใกล้หรือเท่ากับ 90 องศา ทุกอย่างก็จะหยุดนิ่ง. ถ้า ผู้สังเกตอยู่ในบริเวณนั้น จะมองเห็นว่า ทั้งแสงและเวลาจะหยุดเดิน ณ จุดนี้นักดาราศาสตร์เรียกว่า ภาวะเอกฐาน หรือ singularity. ที่ภาวะเอกฐานของหลุมดำ จะไม่มีมิติใดๆ หลงเหลืออยู่.

 

ที่จุดเอกฐาน (มุมมองของผู้ถูกสังเกต) เมื่อมองออกไปที่ปากของหลุมดำ จะมีองศาที่แคบมาก คือน้อยกว่า 1 องศา. แต่นั่นคือ การรวมมุมมองในเอกภพทั้งหมด 360 องศา ไว้ที่มุมมองน้อยกว่า 1 องศา ซึ่งก็คือ การรวมภาพ ที่มีความกว้าง 360 องศา จากเลนส์ลูกแก้วทั้งลูก หรือเลนส์ตาปลาที่มีทางยาวโฟกัส 0 มม. มาไว้ที่จุดจุดเดียว เท่ากับว่า จะไม่มีมิติใดๆ หลงเหลืออยู่อีกเลย.

 

(4) มิติอสังขตลักษณะ (dimension of no arising – no passing – no alteration)

 

ทุกมิติในเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ เป็นมิติของวัตถุธาตุ สสาร และความว่างของอวกาศทั้งสิ้น. มิติ จึงเป็นการระบุ ความมีอยู่ของตัวตน ของวัตถุธาตุ สสารและพลังงานเหล่านั้น. หากไม่มีมิติ ตัวตนของสสารพลังงาน ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้. หลักการข้อนี้ตรงกับ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 ประการ ของตถาคต คือ

 

(1) วัตถุ ธาตุ สสารพลังงาน มี การเกิดปรากฎ. เหตุการณ์บิ๊กแบง ก็อยู่ใน กฎข้อนี้

(2) วัตถุ ธาตุ สสารพลังงาน มี ความเสื่อมปรากฎ. หลังบิ๊กแบง อุณหภูมิลดลง อนุภาคต่างๆ เกิดการวิวัฒน์ พัฒนาเป็นธาตุต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็แตกสลาย ภายใต้ภาวะกดดันของอุณหภูมิบ้าง แรงโน้มถ่วงบ้าง.

(3) ส่งผลให้ วัตถุ ธาตุ สสารพลังงาน เหล่านั้น เกิดความปั่นป่วนอยู่ตลอดเวลา เกิดการพัฒนาและการแตกสลาย รวมกันเป็นธาตุใหม ่และกลับคืนสถานะ สสารพลังงานต่อไปไม่สิ้นสุด. กล่าวได้ว่า กาลเวลา ไม่อาจต้านการเสื่อมสลายของวัตถุธาตุ สสารพลังงานได้เลย นี่คือ สังขตลักษณะของสรรพสิ่ง ที่มีการปรุงแต่งตัวตนอยู่ตลอดกาล.

 

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจให้คำตอบได้ คือ

-เกิดอะไรขึ้นก่อนหน้าบิ๊กแบง?

-สสารและพลังในเอกภพมาจากไหน?

-นอกจากสสารและพลังงาน มีสิ่งอื่นอีกหรือไม่ ที่ซุกซ่อนอยู่ในเอกภพ? จะ แทนค่าสิ่งที่เรียกว่า dark matter, dark energy ได้อย่างไร?

-อะไรคืออนุภาคคู่แฝด?

 

คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นภาระหนัก สำหรับการสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ที่จะค้นคว้าต่อไป. แต่สำหรับ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ยืนยันว่า วิมุตติ นิพพาน มีอยู่. แต่พระองค์ไม่ได้บอกว่า มีอยู่ตั้งแต่เมื่อใด อาจมีอยู่ก่อนหน้า หรือ หลังบิ๊กแบง ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น. ทั้งหมดทั้งมวล ก็คือกฎธัมมะธาตุอันหนึ่ง ซึ่งตถาคตเรียกว่า อสังขตธรรม. พระองค์ กล่าวไว้ว่า อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม คือ สิ่งสิ่งนั้นมีอยู่ แต่ไม่ปรากฎการเกิด (น อุปปาโท ปัญญายะติ) ไม่ปรากฎการเสื่อม (น วโย ปัญญายะติ) และเมื่อสิ่งนั้นมีอยู่ ก็ไม่มีสิ่งอื่น ส่งอิทธิพลต่อสิ่งนั้น เพื่อให้สิ่งนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลง (น ฐิตัสสะอัญญะถัตตัง ปัญญายะติ). เมื่อไม่ปรากฎการเกิด ความเป็นมิติของสิ่งนั้น ก็ไม่จำเป็น ดังคำกล่าวที่ว่า -

“ ... ‘สิ่ง สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฎการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่. ใน ‘สิ่ง นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน ‘สิ่ง นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้. ใน ‘สิ่ง นั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ นามรูปดับสนิท ใน ‘สิ่ง' นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ; ดังนี้”. [07]

“ ... ภิกษุทั้งหลาย! สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาตํ) มิได้เป็น (อภูตํ) มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ) มิได้ถูกอะไร ปรุง (อสงฺขตํ) นั้นมีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ การรอดออกไปได้ สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ ปรากฎ. ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฎอยู่ ...” [08]

 


[07]
กรณีตถาคต ตอบข้อซักถามของ เกวัฏฏะภิกษุ มหาภูติสี่ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ย่อมดับสนิท ณ ที่ใด ณ ที่นั้น ในที่นี้ หมายถึง นิพพาน. ดู “ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ไหน.” พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 9. [ซอฟแวร์]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 302. | บาลี - สี. ที. 9/277/343. และ สี. ที. 9/289/348.


[08]
“สิ่งนั้น มีแน่. ” พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟแวร์]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 473 - 474. | บาลี - อุ. ขุ. 25/207/160 และ อิติวุ. ขุ. 25/257/221.

 

 

เนื่องจากอสังขตธรรม มีอยู่โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งใดปรุงแต่ง จึงเป็นธัมมะธาตุเพียงสิ่งเดียว ที่ดำรงอยู่เหนือกฎฟิสิกส์. นั่นอาจเป็นคำกล่าวอ้าง ที่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ ในทางฟิสิกส์ แต่ก็เป็นคำตอบเดียว ที่เป็นทางออก สำหรับนักวิทยาศาสตร์ในขณะนี้.

 

ในเมื่อไม่มีทางออกสำหรับคำถาม นักวิทยาศาสตร์ก็จำเป็นต้องพึ่ง ‘พระเจ้า' ไปพลางก่อน. พระองค์อาจส่งตัวแทนมาปลอบใจ นักวิทยาศาสตร์ ในบางคราว และจะมีสักกี่ครั้งที่พระองค์ มาบอกด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อาจไม่เชื่อ และไม่เข้าใจ. ไม่ใช่ว่านักวิทยาศาสตร์ ไม่ศรัทธาต่อพระเจ้า เพียงแต่ว่า พระเจ้าอาจพูดภาษานามธรรม มากเกินไป. สาเหตุความไม่เข้าใจกัน ในเนื้อหาสาระ ของบรรดาคำถามเหล่านั้น เพราะพระเจ้าพูดในภาษา ของ ‘จิตวิญญาณ' นั่นเอง ยิ่งทำให้กลายเป็นสิ่งเกินจริง ดุจในเรื่องราวนิยายแฟนตาซี.

 

มิติที่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังที่กล่าวข้างต้น, เป็นการบอกลักษณะ และสภาพแวดล้อม ของวัตถุธาตุ และจิตธาตุ ในมิติต่างๆ ว่ามีขนาด ตำแหน่ง และเคลื่อนไหวอย่างไร ภายในขอบเขตของมิติ ที่มันอาศัยอยู่. ธรรมชาติของวัตถุธาตุและจิตธาตุ แม้จะมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ แตกต่างกัน แต่ก็มี ‘ห้วงอวกาศ' (range of space) เป็นของตัวเองเสมอ. ห้วงอวกาศ เปรียบเหมือน ‘เงา' หรือคู่แฝด ที่ซ่อนอยู่และซ้อนทับอยู่กับสิ่งนั้นๆ.

 

ห้วงอวกาศ ดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้ 6 ลักษณะ คือ

(1) ลักษณะที่เป็นของแข็ง
(2) ลักษณะที่เป็นของเหล็ว
(3) ลักษณะที่เป็นก๊าซ
(4) ลักษณะที่เป็นที่ว่าง
(5) ลักษณะที่เป็นเวลา และ
(6) ลักษณะที่เป็นสุญญตา.

 

ลักษณะที่เป็นของแข็ง (solid) จะสังเกตได้ง่ายที่สุด เพราะวัตถุที่อยู่ในสถานะของแข็ง จะมีลักษณะเป็นแท่งทึบ สร้างการรับรู้ การมีอยู่ของห้วงอวกาศได้ง่ายกว่า. ห้วงอวกาศของของแข็ง ก็คือขอบเขตรูปร่างของมันนั่นเอง. ถ้านำปัจจัยเรื่องเวลา มาเกี่ยวข้องด้วย ก็จะมองเห็น ปริมาตรของห้วงอวกาศของมัน ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น. เช่น สมมุติว่า ณ เวลาวินาทีที่ 1 ขวดใบหนึ่ง วางบนพื้นโต๊ะ อยู่ที่จุด ก. วินาทีที่ 2 ขวดใบนั้น ถูกทำให้เลื่อนไป อยู่ที่จุด ข. กล่าวได้ว่า จุด ก คือ อดีตของห้วงอวกาศ ของขวดใบนั้น ซึ่งมีขนาดเท่ากันกับขวด ใบที่อยู่ที่จุด ข.

การนำปัจจัยเรื่องเวลา ไปเกี่ยวข้องกับวัตถุ ที่มีสถานะของเหลว หรือก๊าซ ก็จะได้ห้วงอวกาศของสิ่งนั้น ในลักษณะเดียวกัน. ลักษณะที่เป็นของเหลว (fluid) คือ พื้นที่ของห้วงอวกาศของสิ่งนั้น จะไหลไปตาม ภาวะการเปลี่ยนแปลง (ทั้งในด้านตำแหน่ง และรูปทรง) ของสิ่งนั้น.

 

ลักษณะที่เป็นก๊าซ (gas) จะมีพื้นที่ของห้วงอวกาศโปร่งใส (transparency) และมีอาณาเขตไม่แน่นอน.

ห้วงอวกาศทั้ง 3 ลักษณะ ยังคงสามารถอธิบายได้ด้วย หลักการทางฟิสิกส์.

ลักษณะที่เป็นที่ว่าง (space) เป็นห้วงอวกาศทางจินตภาพ (imaginary) มีลักษณะคาบเกี่ยวกับ ห้วงอวกาศของเอกภพ (universe). ในทางพุทธศาสน์ ห้วงอวกาศที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณว่า จัดเป็น กาลอวกาศจิตธาตุ (mental space) และมีเชื่อเรียกเฉพาะ ตามระดับความละเอียด ความควบแน่น และความบริสุทธิ์ของจิต เช่น รูปฌาน อรูปฌาน เป็นต้น. ห้วงอวกาศลักษณะนี้ อธิบายได้ด้วยกฎของเวลา. ความว่างที่เรียกว่า space นั้น จะมีสสาร พลังงาน อยู่ในนั้นด้วย. แต่ space ในกาลอวกาศจิตธาตุ นั้น มีพลังงานคนและแบบ.

 

ลักษณะห้วงอวกาศของเวลา จะมีความพิเศษแตกต่างจากข้ออื่นๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด. ตามกฎของเวลา, เวลา มีคุณสมบัตินิรันดร์ ไม่มีขอบเขต ไม่มีขนาด ไม่เดินทางย้อนกลับ และ ไม่มีจุดเริ่มและไม่มีจุดปลาย. ทำให้ห้วงอวกาศของเวลา มีขนาดใหญ่ที่สุด (ถ้าสมมุติให้เวลามีขนาด). ตามหลัก เงื่อนไขไร้ขอบเขตสำหรับเอกภพ. ได้ข้อสรุปว่า ‘ห้วงอวกาศของเวลา กลายเป็นเปลือกนอกสุด ของเอกภพ' เพราะเวลาเป็นนิรันดร์ และไม่มีขนาด ในขณะที่ เอกภพไม่นิรันดร์ และมีขนาด. จากเหตุผลข้อนี้ ห้วงอวกาศของเวลา เป็นจุดเริ่มของ Big Bang และเป็นจุดจบของ Big Crunch (ถ้า Big Bang และ Big Crunch เป็นจริง).

 

ลักษณะที่เป็น สุญญตา (emptiness) เป็นห้วงอวกาศ ที่ไม่อยู่ในกฎของเวลา. กล่าวคือ ณ บริเวณนี้ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัย (สาเหตุ) ของอะไร ไม่ว่าเวลาใด หรือกาลใด เพื่อให้เกิดสิ่งใดๆ ขึ้น ในห้วงสุญญตานี้. ห้วงอวกาศสุญญตา เป็นความว่างเปล่า ที่เกิดซ้อนทับกับห้วงอวกาศ ในลักษณะอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่มิติที่ 4. ห้วงอวกาศดังกล่าวนี้ ตถาคต เรียกว่า “ที่สุดโลก”. “ ... ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ, เราไม่กล่าวว่า ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้นได้ ด้วยการไป.” ถ้าเช่นนั้น คงไม่มีมนุษย์ผู้ใดไปถึง ห้วงอวกาศของสุญญตา เป็นแน่แท้.

แต่ สุญญตา เป็นห้วงอวกาศ ที่ซ้อนทับอยู่ใน ห้วงอวกาศของวัตถุธาตุ. พระองค์กล่าวว่า มนุษย์สามารถเข้าถึง สุญญตา ได้ ด้วยการปฏิบัติ ตามหลักอริยสัจสี่. “ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง ที่ยังประกอบด้วย สัญญาและใจ นี้เอง, เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทไม่เหลือของโลก และทางดำเนินให้ถึง ความดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้” (บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/60/45.)

 

3.1.3
ทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิด มิติ กาลอวกาศ เอกภพ หลุมดำ

และวิวัฒนาการของเอกภพ

 

 

 

(1) ทฤษฎีใหม่ : เอกภพถูกสร้างขึ้นจาก ปมเงื่อน

 

มนุษย์เรารับรู้โลก 3 มิติ ด้วยความกว้าง ความยาว และความสูง. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ได้เพิ่ม เวลา เป็นมิติที่ 4 ขึ้นมา. แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เอกภพอาจมีมิติมากกว่านั้น เพียงแต่หลบซ่อนอยู่. ทฤษฎีซูเปอร์สตริง (superstring theory) อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในเอกภพอันกวัางใหญ่ ประกอบมาจากหน่วยที่เล็กที่สุดของธรรมชาติ คือ เส้นสตริงขนาดเล็ก ที่กำลังสั่นอยู่. นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ร่วมกันทำนายเอาไว้ว่า มีมิติของตำแหน่งในเอกภพ จำนวนมากถึง 10 มิติ. บางคนเชื่อว่า มิติพิเศษที่เพิ่มเข้ามา มันมีขนาดใหญ่โต จนกระทั่งบรรจุเอกภพคู่ขนานเอาไว้. แต่แนวคิดนี้ ก็ถูกโต้แย้งตกไป มีทฤษฎีใหม่ที่เสนอว่า เอกภพถูกสร้างขึ้นจาก ปมเงื่อน (knot) และมิติพิเศษ ก็จัด เรียงอยู่ในโครงสร้างอันกะทัดรัดนี้. [09]

 


[09]
SCIENE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 91. January 2019, หน้า 47- 49.

 

ภาพจาก ปกหนังสือ Encyclopedia of Knot Theory. Edited By Colin Adams, Erica Flapan, Allison Henrich, Louis H. Kauffman, Lewis D. Ludwig, Sam Nelson

 

 

ทฤษฎีใหม่ ของกลุ่มนักฟิสิกส์ 5 คน จากยุโรปและสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2012 พัฒนามาจาก ทฤษฎีเงื่อน (knot theory) ผสานกับแนวคิดการเกิดขึ้นของ ภาวะซุปต้นกำเนิดของเอกภพ (primordial soup) ซึ่งก่อตัวขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ อินเฟลชั่น (inflation) ในช่วงบิ๊กแบง.

 

ทฤษฎีซูเปอร์สตริง ระบุว่า มวลสารและพลังงานในเอกภพ เมื่อครั้งบิ๊กแบง ประกอบขึ้นจาก เส้นเชือกขนาดเล็ก ที่กำลังสั่นในเอกภพ 10 มิติ. ต่อมาเอกภพก็ขยายตัวขึ้น อย่างรวดเร็ว. ช่วงนั้น เอกภพขยายตัว จากขนาดเท่าอิเล็กตรอน เป็นขนาดเท่าลูกฟุตบอล ในเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที. เมื่อภาวะอินเฟลชั่นยุติลง เอกภพก็เหลือมิติหลักเพียง 3 มิติเท่านั้น.

 

การที่เอกภพอุบัติขึ้นจาก 10 มิติก่อน แล้วลดลงมาเป็น 3 มิติ หลังภาวะอินเฟลชั่น (10 -48(ยกกำลัง -48) ถึง 10 -36(ยกกำลัง -36) วินาที) นั้น ทำให้เศษซากของสสาร ที่ระเบิดกระจายออกมา ได้แก่ ควาร์ก และปฏิควาร์ก จะทำลายล้างกันเองอย่างต่อเนื่อง. อนุภาคทั้งสองจะถูกเชื่อมกัน ด้วยพลังงาน ที่เปรียบเหมือนหนังยาง (flux tube) ก่อตัวเป็นวงปิด และเกี่ยวพันกันเป็นปมเงื่อน. เศษเสี้ยววินาทีถัดมา (10 -36(ยกกำลัง -36) ถึง 10 -32(ยกกำลัง -32) วินาที) ปมเงื่อนระเบิดออก และสร้างเอกภพ 3 มิติ.

 

ข้อสรุปจากทฤษฎีใหม่นี้ ทำให้นักฟิสิกส์เหล่านั้น เกิดคำถามต่อมาอีกว่า พลังงาน ที่ก่อให้เกิดแรงผลัก อันถูกกระตุ้น โดยเครือข่ายของเงื่อน ที่ระเบิดออก มีกลไกการทำงานที่ต้านแรงโน้มถ่วง จนทำให้เอกภพขยายตัวออก ได้อย่างไร. ในชั้นแรกนี้ พวกเขาตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า ปมเงื่อนเหล่านี้ อาจเป็นพลังงานมืด ที่พวกเขากำลังตามหาอยู่.

 

(2) จากบิ๊กแบง ถึงจุดจบของเอกภพ อยู่ภายใต้หลัก สังขตธรรม

 

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์เชื่อว่า ห้วงเวลาก่อกำเนิดบิ๊กแบง (จุดกำเนิดเอกภพ) เริ่มที่ วินาทีที่ 0 ซึ่งเป็นค่าที่สมมุติขึ้น ไปจนกระทั่ง เวลา 10 -43(ยกกำลัง -43) วินาที ซึ่งเป็นค่าที่สั้นที่สุด ที่คำนวณได้และเชื่อว่าเป็นไปได้. และถัดมา วินาที่ 10 -36(ยกกำลัง -36) วินาที และ 10 -32(ยกกำลัง -32) วินาที ภาวะซุปต้นกำเนิด และ อินเฟลชั่น ก็เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดมา. ห้วงเวลาเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ ที่นักฟิสิกส์คำนวณได้ สั้นมากๆ จนไม่อาจจะเทียบกับสิ่งใดได้. แต่ยังมีเวลาในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่นักวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ แต่ยอมรับว่ามันมีอยู่ คือ เวลาในจินตภาพ. ในห้วงเวลาทางจินตภาพ ไม่ได้เกิดจาก การคำนวณทางคณิตศาสตร์ แต่เป็นเวลาที่เกิดจากความคิด จินตนาการ. ดังนั้น การทำนายการเกิดดับของเอกภพ ในเชิงจินตภาพ จึงไม่มีข้อจำกัดเรื่อง เวลา หรือ การคำนวณทางตรรกศาสตร์ ของคณิตศาสตร์.

 

 

จินตภาพ (imaginary) เป็นการเชื่อมต่อเวลา ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เข้าด้วยกัน ให้เป็นภาพในสมอง.

เวลาจินตภาพ (imaginary time) คือจุดเชื่อม ความจริงด้านพุทธศาสน์ กับ ความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์.

ศูนย์ (0) เป็นเพียงจำนวนเดียว ที่เป็นทั้งจำนวนจริง (real number) และ จำนวนจินตภาพ (imaginary number) ,
i 2(ยกกำลัง 2) = -1 หรือ i 2(ยกกำลัง 2) + 1 = 0

 

 

 

 

หลักสังขตธรรม อธิบายการเกิดของสรรพสิ่งเอาไว้ แต่ไม่ได้ระบุห้วงเวลาการเกิดเอาไว้ ว่าใช้เวลานานเท่าใด. การอุบัติเกิดของบางสิ่ง อาจใช้เวลาสั้นแค่ 10 -43(ยกกำลัง -43) วินาที หรือน้อยกว่านี้. บางสิ่ง อาจใช้เวลานานเป็นล้านปี. ความแตกต่างของห้วงเวลาการเกิด ที่เหลื่อมกันมากมายเช่นนี้ ไม่อาจระบุระยะเวลาการเสื่อม ที่แน่นอนได้. บางสิ่ง เกิดแล้วดับไปในทันที โดยไม่มีโอกาสเสื่อม, บางสิ่ง เกิดแล้วใช้เวลาเสื่อมยาวนานมาก แต่ในที่สุดก็แต่ก็ดับสลาย.

ตามทฤษฎีบิ๊กแบง เอกภพใช้เวลาเกิดสั้นมากๆ แต่ใช้เวลาวิวัฒนาการไปสู่การเสื่อม ยาวนานมาก ชนิดเทียบสัดส่วนกันไม่ได้เลย. ตถาคต จึงระบุการสิ้นสุดของการเสื่อม ไว้ในข้อที่ 3 ของหลักสังขตธรรม คือ ในระหว่างการดำรงอยู่ (ซึ่งก็คือ ภาวะการเสื่อมนั่นเอง) ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ (ฐิตัสสะ อัญญะถัตตัง ปัญญายติ). คำว่า ‘ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ' หมายถึง ความเสื่อมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจมีค่าใกล้เคียงอนันต์ (แต่ไม่ใช่อนันต์).

 

ปัญหาการเกิดการดับสลายของเอกภพ ยังค้างคาใจนักวิทยาศาสตร์มาตลอด. เราสามารถนำหลักสังขตธรรม และเวลาจินตภาพ มาวิเคราะห์ได้ว่า

 

(1) เหตุการณ์ก่อนและหลัง บิ๊กแบง มีความเป็นไปได้ และมีได้หลายรอบ.

(2) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เหมารวมบิ๊กแบง ในภาพรวมภาพเดียว (ภาวะเอกฐาน มีเพียงหนึ่งเดียว) ทำให้เกิดคำถามมากมาย เกี่ยวกับจุดสิ้นสุดของมัน. พฤติการณ์ แบบเดียวกันนี้ เกิดขึ้นกับดาราจักร และหลุมดำ อยู่ตลอดเวลา. ทำให้เชื่อว่า ภาวะเอกฐาน มีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่า มันเกิดในเวลาที่ไม่พร้อมกัน และต่างสถานที่กัน. นักวิทยาศาสตร์จะคาดหวัง หรือบังคับ ให้เกิดพร้อมๆ กันนั้น ไม่ได้.

(3) บิ๊กแบง เป็นการอธิบาย ตามหลักเหตุผลทางฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ แต่ในด้านจินตภาพ บิ๊กแบง - บิ๊กครันช์ เป็นห้วงเวลาการเกิด การดับ เพียงเศษเสี้ยว ของรอบการวิวัฒน์ ของเอกภพเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาสั้นมากๆ เมื่อเทียบกับอายุการเสื่อมของเอกภพทั้งก้อน ซึ่งยาวนานเกือบเป็นค่าอนันต์.

เมื่อเทียบกับ อายุของเทวดาบางพวก (เช่น เทวดา ชั้นสุทธาวาส) และ สัตว์นรกบางพวก (เช่น สัตว์นรก ชั้นปทุมนรก) นั้น ยิ่งยาวนาน อาจเท่ากับหรือมากกว่า ห้วงการเกิด บิ๊กแบง - บิ๊กครันช์.

(4) ในเวลาจินตภาพ เราสามารถอนุมานได้ว่า หลุมดำ ก็คือ เอกภพอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นภพของนรกชั้นต่างๆ และหลุมดำ ก็มีคู่แฝดเป็นเอกภพอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นภพของสวรรค์ชั้นต่างๆ. ภพของนรกนั้น ยาวนานราวกับเวลาหยุดนิ่ง เช่น นรกชั้น ปทุมนรก (เวลาในนรกช้ามาก เมื่อเทียบกับ เวลาแบบ 3 มิติของโลก). ภพของสวรรค์นั้น ก็ยาวนาน เกือบมีค่าเป็นอนันต์ เช่น สวรรค์ชั้น สุทธาวาส (เวลาในสวรรค์เร็วมาก เมื่อเทียบกับเวลาแบบ 3 มิติ บนโลกมนุษย์).

 

หลุมดำ จะมีการแผ่รังสีทุกคลื่นความถี่ออกมาจากใจกลาง เรียกว่า ควอซาร์. ปรากฎการณ์การแผ่รังสีนี้ ค้นพบโดย สตีเฟน ฮอว์กิง เมื่อ ปี ค.ศ. 1974 จึงเรียกรังสีที่แผ่ออกมานั้นว่า รังสีฮอว์กิง (Hawking radiation). การแผ่รังสีออกจาก ใจกลางของหลุมดำ มีผลทำให้ มวลและพลังงานของหลุมดำ ลดลง. สาเหตุเพราะ สสารที่ใจกลางหลุมดำ จะหมุนรอบแกน ด้วยความเร็วมากกว่าแสง ทำให้มวลของสสาร เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน หลุดรอดเป็นลำแสง ออกมาจากใจกลางหลุมดำ. “ที่จริงหลุมดำ มันไม่ได้ดำนักหรอก มันไม่ใช่ที่คุมขังชั่วนิรันดร์ อย่างที่เราเคยเชื่อกันมา มวลสาร สามารถหลุดพ้นจากหลุมดำได้ โดยหลุดออกมาข้างนอก หรืออาจหายตัวไปในเอกภพอื่น ...”  เป็นข้อสรุปของ สตีเฟน ฮอว์กิง เมื่อปี ค.ศ. 2015.

 

รังสีฮอว์กิง เป็นสิ่งเดียวที่ยืนยันว่า หลุมดำ ก็มีวันเสื่อมได้เช่นเดียวกัน. หลุมดำ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่การศึกษา ของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใหญ่ที่สุด และสิ่งที่เล็กที่สุด เท่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้. มันมีแรงโน้มถ่วงอันทรงพลัง บรรจุอยู่ในอวกาศ ที่มีพื้นที่จำกัดอย่างยิ่ง (ภาวะเอกฐาน) ณ ใจกลางของหลุมดำ. ภาวะที่มีเพียงกลศาสตร์ควอนตัมเท่านั้น ที่จะอธิบายได้ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่สมบูรณ์ เพราะความโน้มถ่วงที่เกิดขึ้น มีความต่างศักดิ์กันอย่างมหาศาล.

 

3.1.4
มิติ กาลอวกาศ ของจิตธาตุ
(mental space)

 

มีข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า ในห้วงอวกาศที่ไร้ขอบเขต เต็มไปด้วยวัตถุธาตุ ที่มีความพัวพันกัน (entanglement) ของอนุภาคหนึ่งกับอีกอนุภาคหนึ่ง ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าอนุภาคทั้งสอง จะอยู่ห่างกันไกลเพียงใด. เมื่ออนุภาคหนึ่ง ถูกกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลกระทบ กับอีกอนุภาคหนึ่ง ในทางตรงกันข้าม เกือบจะหรือในทันที (พฤติการณ์ การสปินของอนุภาค เป็นการสื่อสารกัน ตามธรรมชาติ).

 

ธัมมะธาตุทุกชนิด ที่ถูกบรรจุอยู่ใน อวกาศ จะมีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน ในเรื่อง ระยะทาง – ทิศทาง พิกัดตำแหน่ง และ เวลา – ความเร็ว.

 

3 ปัจจัยนี้ จะเป็นเงื่อนไขทำให้ ธัมมะธาตุทุกชนิด เกิดการเปลี่ยนแปลง. เช่น อนุภาคของแสง สามารถเหนี่ยวนำ อนุภาคของแสงอีกอนุภาคหนึ่ง ที่อยู่ห่างเป็นระยะอนันต์ ผ่านเส้นสตริง ทำให้แสงเดินทางไปได้ทั่วจักรวาล ตลอดกาลนาน.

 

(1) ลักษณะของ กาลอวกาศจิตธาตุ

 

สสารและพลังงาน มีอยู่ในที่ใดในเอกภพ ที่นั้นย่อมมีวัตถุธาตุ เมื่อมีวัตถุธาตุ กาลอวกาศ ก็ปรากฎขึ้น. กาลอวกาศ ในความหมายของนักวิทยาศาสตร์ ถูกกำหนดขึ้นจากการมีวัตถุธาตุ สสาร พลังงาน. แต่ ในเอกภพ ไม่ได้มีเฉพาะธัมมะธาตุ ที่เป็นวัตถุธาตุเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่ได้นับส่วนที่เป็นจิตธาตุ รวมเข้าไป. ทำให้กาลอวกาศ ในความหมายของพุทธศาสน์ มีขอบเขตไกลกว่า, เพราะครอบคลุม ธัมมะธาตุทุกชนิดในเอกภพ. ตถาคต ทรงใช้ ขันธ์- 5 เป็นจุดแบ่งลักษณะและสมบัติ ของอวกาศ 4 ลักษณะ คือ. กาลอวกาศของมหาภูตรูป กาลอวกาศของรูปฌาน กาลอวกาศของอรูป และ กาลอวกาศของสุญญตา. กาลอวกาศ 3 อย่างหลัง จัดเป็น กาลอวกาศจิตธาตุ

 

กาลอวกาศของมหาภูตรูป หรือ กามรูป ดิน น้ำ ลม ไฟ (primary matter – solid, liquid, heating, air) [10] ซึ่งได้แก่ วัตถุ ธาตุ สสาร ดวงดาว สุริยะ กาแล็กซี่. เป็นกาลอวกาศ ที่มีกายภาพอยู่ภายใต้ กฎของฟิสิกส์. ลักษณะและคุณสมบัติ ของธัมมะธาตุที่ 1 – 5 ในหนังสือเล่มนี้ ก็จัดอยู่ใน กาลอวกาศของมหภูตรูป เช่นกัน.

 


[10]
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ เป็นธัมมะธาตุที่อาศัยอยู่ใน กาลอวกาศของมหาภูตรูป ส่วน อากาสธาตุ และ วิญญาณธาตุ เป็นธัมมะธาตุที่จัดอยู่ใน กาลอวกาศของรูป และ กาลอวกาศของอรูป.

 

กาลอวกาศของรูป หรือ รูปฌาน ประกอบด้วย จิตของบุคคล ที่ถูกทำให้เกิดการควบแน่น ในระดับคุณภาพที่บริสุทธิ์ แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ‘ปฐมฌาน' ‘ทุติยฌาน' ‘ตติยฌาน'  และ ‘จตุตถฌาน'.

 

กาลอวกาศของอรูป เป็นกาลอวกาศทางจิตธาตุ เช่นเดียวกับ กาลอวกาศของรูปฌาน แต่มีความละเอียด และควบแน่น มากกว่า มีคุณภาพบริสุทธิ์กว่า. กาลอวกาศ ของอรูป เริ่มจาก การควบแน่นของรูปฌาน ก่อให้เกิดการหักล้างกันเอง ระหว่างจิตฝ่ายลบ (อกุศล) และจิตฝ่ายบวก (กุศล) ทำให้คุณสมบัติ และการรับรู้ของรูปสลายไป. ในขณะเดียวกัน จิตที่บริสุทธิ์นี้ จะถูกปรุงแต่ง ให้เกิดความว่างเปล่า แบบยิ่งยวด ขึ้นมาแทนที่ จนไม่อาจบอกได้ว่า สภาวะของจิต มีอยู่หรือไม่มี (อวกาศที่เป็น “อรูป”). กาลอวกาศของอรูป มีคุณภาพที่บริสุทธิ์ แตกต่างกัน 4 ระดับเช่นกัน คือ ‘อากาสานัญจายตนะ' ‘วิญญาณัญจายตนะ' ‘อากิญจัญญายตนะ' และ ‘เนวสัญญานาสัญญายตนะ'.

 

กาลอวกาศของสุญญตา (นิพพาน) เป็นกาลอวกาศที่ไม่อยู่ในกฎของ สังขตธรรม. จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สุญญตา จัดเป็นกาลอวกาศ ทางกายภาพหรือจิตภาพ แต่มีความคาบเกี่ยวกันตรงที่ ผู้เข้าถึงนิพพานก่อนตาย (มีเพียง มนุษย์ กับ เทวดา เท่านั้น ที่สามารถเข้าถึง นิพพานได้) อาจยังต้องอาศัยกายภาพของร่างกายต่อไป จนกว่าร่างกายจริง จะหมดอายุขัย.

 

รวมกาลอวกาศของ ขันธ์-5 สังขารธรรม - มองจากด้านบน

 

รวมกาลอวกาศของ ขันธ์-5 สังขารธรรม - มองจากด้านข้าง

 

(2) เวลา ชีวิต ในมิติกาลอวกาศของจิตธาตุ

 

วิญญาณ เป็นธัมมะธาตุชนิดหนึ่ง ที่อุบัติขึ้นใน กาลอวกาศจิตธาตุ (รูป และ อรูป) โดยอาศัยปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการเกิด คือ อวิชชา และ สังขาร. ตราบใดที่เอกภพยังมี อวิชชา (คุณสมบัติการ เป็นวัตถุ ‘มันไม่รู้เรื่องอะไร' ) สังขารทั้งหลาย (การปรุงแต่ง ‘เป็นโน่น นั่น นี่' ) ก็ปรากฎ และ วิญญาณ (ผู้ชี้บอกว่า ‘คือ สิ่งนั้น สิ่งนี้' ) ก็เข้าไปตั้งอาศัย แสดงตัวตนออกมาให้เห็น. วิญญาณ จึงเป็นสิ่งสิ่งหนึ่งที่มีอิสระ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับชีวิต และมีจำนวนมากมายเป็นอนันต์ ดุจเดียวกับอนุภาคในเอกภพ . วิญญาณ มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างหนึ่ง คือ จะปรากฎตัวได้ ก็ต่อเมื่อมีธัมมะธาตุอื่น ให้มันเข้าไปตั้งอาศัย. อวิชชา สังขาร เป็นธัมมะธาตุที่มีกายภาพ ที่วิญญาณสามารถใช้เป็น สถานที่ปรากฎตัวตนได้ง่ายที่สุด.

 

ตารางเปรียบเทียบ การเกิดขึ้นของ เหตุและผล ของนักวิทยาศาตร์ และพระพุทธเจ้า

ภาษาวิทยาศาสตร์

ภาษาพุทธศาสน์

เพราะมี ภาวะเอกฐาน (singularity) เป็นเหตุ ...

เพราะมี อวิชา เป็นเหตุ.

จึงเกิด บิ๊กแบง และ แสง เวลา พลังงาน ความร้อน สสาร เป็นผล.

เพราะมี บิ๊กแบง แสง เวลา พลังงาน ความร้อน สสาร เป็นเหตุ ...

จึงมี สังขารทั้งหลาย เป็นผล
เพราะมี สังขาร เป็นเหตุ ...

จึงมี วิวัฒนาการ ชีวะ ข้อสันนิษฐาน และ ทฤษฎีต่างๆ ตามมา เป็นผล.

เพราะมี วิวัฒนาการ ชีวะ ข้อสันนิษฐาน ทฤษฎี เป็นเหตุ ...

จึงมี วิญญาณ เป็นผล.
เพราะมี วิญญาณ เป็นเหตุ ...

จึงมี การค้นพบ และ นิยาม สิ่งที่ค้นพบ เป็นผล.

จึงมี นามรูป เป็นผล. (วิวัฒนาการ ชีวะ ทฤษฎี)

 

ธัมมะธาตุที่มีกายภาพ ได้แก่ รูปขันธ์ เช่น วัตถุ สสารต่างๆ และ ธัมมะธาตุในกลุ่มจิตธาตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญาขันธ์ การจำได้ การรับรู้อดีต และ สังขารขันธ์ การคิดปรุงแต่งไปในอนาคต. วิญญาณ มีช่วงอายุที่สั้นมากๆ อาจสั้นกว่าเศษเสี้ยวของนาโนวินาที หลายล้านเท่า. (วิญญาณ อาจมีในสถานะเดียวกับ ฟองควอนตัม).

 

 

 

การเกิดขึ้น การเสื่อมสลาย การเปลี่ยนแปลงสถานะ ของธัมมะธาตุแต่ละชนิด ในกาลอวกาศทั้ง 4 ลักษณะ มีระยะเวลาแตกต่างกันมากมาย. ตถาคต ได้อธิบาย เกี่ยวกับการอุบัติขึ้นของสิ่งเหล่านี้ ไว้ในพระสูตรหลายแห่ง. เช่น อัคคัญสูตร พระองค์ได้บรรยาย วิวัฒนาการของจักรวาล ดาราจักร สุริยะ ดาวฤกษ์ โลก วัตถุ พืช สัตว์ มนุษย์ เทวดา ไว้อย่างละเอียด.

 

ในเอกภพทั้งหมด มีความหลากหลาย แตกต่างกันของวัตถุธาตุ และสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นมากมาย ทำให้เกิดข้อจำกัดในการวัดค่า หรือการสร้างหน่วยวัด. เช่น ภูเขาไฟบนดาวอังคาร ปะทุพ่นลาวา นานต่อเนื่อง 2,000 ล้านปี. นักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้ว่า น้ำบนโลกจะสูญหายไปในอวกาศทั้งหมด ใช้เวลา 3,000 ล้านปี. อนุภาคฮิกซ์ (Higgs boson) ค้นพบโดย เครื่องชนอนุภาคแฮดรอน เมื่อปี ค.ศ. 2011-2013 มีมวลขนาดเล็กมาก (GeV/c2(ยกกำลัง 2)) มีอายุเฉลี่ยเพียง 1.56 x 10 -22(ยกกำลัง -22) วินาที. พืชหลายชนิดมีอายุสั้น แต่บางชนิด มีช่วงอายุยืนยาวนับพันปี เช่น ต้นไม้สน spruce ในประเทศสวีเดน มีอายุประมาณ 8,000 ถึง 9,550 ปี. สัตว์บางสายพันธุ์ (species) ก็มีอายุยืนยาว เช่น ฉลามกรีนแลนด์ เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ 400 ปี. [11]

 


[11] SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 75. September 2017, หน้า 21, 50.

 

การทำชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาวเป็นอมตะ ยังอยู่ในอุคมคติ ของนักวิทยาศาสตร์เสมอมา แต่พวกเขา ก็ยังไม่สามารถ ป้องกันการแก่ชราของมนุษย์ได้เลย. ร่างกายของมนุษย์ สามารถดำรงอยู่ในภาวะ กาลอวกาศแบบโลกมนุษย์ ได้อย่างมาก เฉลี่ยไม่เกิน 100 - 120 ปี. แต่อายุของมนุษย์ มีปรากฎในพระคัมภีร์พระไตรปิฏก จากสูงสุด 100,000 ปี หรือ 80,000 ปี แล้วเสื่อมลงมาเรื่อยๆ เป็น 40,000 ปี 20,000 ปี 10,000 ปี 5,000 ปี 2,500 - 2,000 ปี 1,000 ปี 500 ปี 200 ลงมาจนกระทั่ง 100 ปี ในปัจจุบัน และต่ำสุด 10 ปี ในอนาคต.[12] แต่ในเอกภพแบบโลก อาจมีสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่น และ อาจมีจำนวนมากมาย เกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจและรับรู้ได้ เช่น มนุษย์ 2 มิติ มนุษย์ก๊าซ หรือ มนุษย์มิติที่ 4 (เทวดา พรหม) ซึ่งอาจมีอายุยืนยาว เกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจ.

 


[12] มนุษย์มีอายุลดลง เพราะเหตุแห่งการผิดศีล. ตัวเลขอายุนี้ ตถาคตไม่ได้แยกแยะไว้ ว่าเป็นมนุษย์โลก (earth human) หรือมนุษย์เทวดา (God | Angle). ดูใน “ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก).”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 9. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.7, หน้า 101 - 103. | บาลี - ปา. ที. 11 / 70 / 39.

 

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในอัคคัญสูตร พระองค์ไม่ได้ใช้ มาตราวัดแบบฟิสิกส์ แต่ทรงใช้ วิธีอนุมานเทียบเคียง. ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ของพุทธศาสนา ตถาคต กล่าวถึงสัตว์ เทวดาและพรหม ไว้หลายแห่งในหลายพระสูตร.[13] เช่น

 


[13] คำว่า ‘สัตว์' เป็นลักษณะนามทั่วไป ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในพระคัมภีร์หมายถึง คน สัตว์ เทวดา มาร พรหม และแม้กระทั่งตถาคตเอง ก็เรียกพระองค์เองว่าสัตว์ เช่นกัน. ดู “เหตุสำเร็จความปรารถนา.”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.7, หน้า 259 - 263. | บาลี - อุปริ. ม. 14 / 217 / 318.

 

สัตว์ในอบายภูมิ เป็นสัตว์ที่อาศัยร่างกายในการดำรงอยู่ ได้แก่ สัตว์เดรัจฉาน (สัตว์ที่อาศัยร่วมกับมนุษย์โลก) สัตว์ที่ไม่ต้องอาศัยร่างในการดำรงชีวิต ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย (อาจดำรงอยู่ใน มิติกาลอวกาศแบบหนึ่ง). ตถาคต อธิบายลักษณะและคุณสมบัติ ของสัตว์อบายภูมิและเทวดา ไว้หลายแห่ง เรียกว่า “สัตตาวาส” มีร่างที่แตกต่างกัน 9 แบบ. สัตตาวาสของสัตว์อบายภูมิและเทวดา อาจตั้งอยู่ในมิติที่ลึกกว่า มิติที่ 4 ของกาลอวกาศ ก็เป็นได้.[14]


[14] "กายแบบต่างๆ.”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.7, หน้า 29. | บาลี - สตฺตก. อํ. 23/413/228.

 

 

ภาพสมมุติเทพ ตามคติความเชื่อ ของมนุษย์ชาชาติต่างๆ

 

สัตว์สวรรค์ ไม่ต้องอาศัยรูปร่าง ในการดำรงชีวิต ทำให้มีช่วงอายุ ยาวนานกว่ามนุษย์โลก ได้แก่ ครุฑ นาค ยักษ์.

 

เทวดา ก็ไม่ต้องอาศัยรูปร่างกาย ในการดำรงชีวิตเช่นกัน (และอาจดำรงอยู่ใน มิติกาลอวกาศแบบหนึ่ง) ทำให้มีช่วงอายุ ยาวนานกว่ามนุษย์โลก (เรียก อายุทิพย์). ได้แก่ เทวดาระดับชั้นต่างๆ, มาร (เทวดาเลว), พรหมระดับชั้นต่างๆ ซึ่งมีอายุยืนยาวมาก อาจเท่าอายุของ ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง หรือกาแล็กซี่หนึ่ง จนคิดว่า ชีวิตของพรหมเป็นอมตะ.[15]

 


[15] การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ส่งผลให้หลังการตาย จะไปเกิดในภพภูมิสวรรค์ ได้คุณสมบัติ 10 อย่าง คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์. ดู “สัดส่วนของทาน ศีล ภาวนา.”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.7, หน้า 267 - 271. | บาลี - สตฺตก. อํ. 23/245/126.

 

(3) การสัมพัทธของเวลา ในมิติกาลอวกาศจิตธาตุ

 

หากจะกล่าวว่า กาลอวกาศจิตธาตุ แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ สวรรค์ กับ นรก. กาลอวกาศจิตธาตุ เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างไว้ อาจสร้างความหงุดหงิดใจ ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย. เพราะทั้งสวรรค์และนรก ล้วนเป็นนามธรรม ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่ต่างอะไรกับ นิยายแนวอภินิหารแฟนตาซี. แต่คำว่าสวรรค์ และ นรก ยังคงเป็นปริศนา ในโลกของความเป็นจริง ว่ามันมีอยู่จริงหรือไม่ มีขนาด ขอบเขตเท่าใด.

 

เพื่อให้การมีอยู่ของ สวรรค์ นรก มีความสมเหตุสมผล, สองคำนี้ อาจเป็นคำเรียกแทน บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ที่ซ่อนอยู่ในเอกภพนี้ ก็อาจเป็นได้. กว่าร้อยละ 96 ของเอกภพ ยังเป็นความมืดดำ สำหรับนักวิทยาศาสตร์, เท่ากับว่า นี่คือ ช่องว่างที่ทิ้งไว้ให้แก่ฝั่งพระเจ้า เป็นผู้บอกเล่าความจริงอีกมุมหนึ่ง.

ตราบใดที่มุมบอกเล่า จากฝั่งพระเจ้า ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จากนักวิทยาศาสตร์ ตราบนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพระเจ้า ที่จะนำเสนอเรื่องของ สวรรค์ นรก.

 

กาลอวกาศจิตธาตุ มีทั้งส่วนที่อยู่ใน ขอบเขตของมิติเวลา และ ส่วนที่อยู่เหนือ อิทธิพลของเวลา. พระพุทธเจ้า ได้บอกเล่าเกี่ยวกับ สวรรค์ และ นรก ไว้มากมาย ในหลายพระสูตร. แม้พระเจ้าในศาสนาอื่น ก็กล่าวเรื่องสวรรค์นรก ไว้มากไม่แพ้กัน.

สวรรค์ เป็นที่อยู่อาศัย ของเทวดา พรหม และ สัตว์สวรรค์. นรก เป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์อบายภูมิทั้งหมด. ทั้งสวรรค์และนรก อาศัยเวลาในจินตภาพ เป็นเกณฑ์แบ่งอายุขัยของเทวดา และสัตว์อบายภูมิ.

 

คุณสมบัติ ของกาลอวกาศจิตธาตุ อย่างหนึ่ง ก็คือ ไม่สามารถ กำหนดพิกัดพื้นที่ ขอบเขต ของสวรรค์และนรกได้เลย. เวลาในสวรรค์ นรก กับเวลาบนโลกมนุษย์ ก็แตกต่างกันมาก. เวลาบนโลกมนุษย์ อ้างอิงตาม อันตกิริยาของอะตอม แต่เวลาในสวรรค์ นรก เป็นค่าทางจินตภาพ (imaginary number) ที่อาจรวม อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไว้ด้วยกัน.

ที่จริง เวลาไม่ได้เสื่อมไปตามกฎสังขตธรรม. แต่ทุกธัมมะธาตุ ย่อมอยู่ในกรอบของมิติเวลา, จึงส่งผลให้ ทั้งธัมมะธาตุและเวลา มีการเกิด มีการเสื่อม และมีความแปรปรวน พัวพันไปด้วยกัน. ดังนั้น การกำหนดขนาด และขอบเขตของ สวรรค์ นรก จึงไม่สามารถนำระยะทาง หรือมิติแบบวัตถุธาตุ มาเป็นเกณฑ์กำหนดได้เลย มีเพียงระยะเวลาเท่านั้น ที่เป็นตัวบ่งบอก การมีอยู่ของสวรรค์ และนรก ว่ามีขนาดเท่าใด.

 

แม้ว่ามิติเวลา จะกลายเป็นเส้นมาตรฐาน สำหรับกาลอวกาศ ของสรรพสิ่งในเอกภพ แต่ กาลอวกาศของสุญญตา ไม่ขึ้นต่อระบบเวลา แบบที่เราเข้าใจกัน. ทำให้ภาวะนิพพาน ไม่มีขอบเขตของอายุ (อกาลิโก).

ตถาคต ได้เปรียบเทียบ ความยาวนานของอายุนรก ไว้ดังนี้.

 


•  พุทธวจน – อายุนรก

ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออก หนึ่งเมล็ด.

ภิกษุทั้งหลาย! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารีนั้น จะพึงถึงความสิ้นไป หมดไปโดยลำดับนี้ ยังเร็วเสียกว่า ส่วน 1 อัพพุทนรก ยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย! 20 อัพพุทนรก เป็น 1 นิรัพพุทนรก 20 นิรัพพุทนรก เป็น 1 อัพพนรก 20 อัพพนรก เป็น 1 อหหนรก 20 อหหนรก เป็น 1 อฏฏนรก 20 อฏฏนรก เป็น 1 กุมุทนรก 20 กุมุทนรก เป็น 1 โสคันธิกนรก 20 โสคันธิกนรก เป็น 1 อุปลกนรก 20 อุปลกนรก เป็น 1 ปุณฑรีกนรก 20 ปุณฑรีกนรก เป็น 1 ปทุมนรก อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาต ในสารีบุตรและโมคคัลลานะ.

ที่มา : พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 1 1. หน้า 89. | บาลี - ทสก. อํ. 24/181/89.

 

หากกำหนดให้บุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ถูกสังเกต ไปยืนอยู่ ณ ตำแหน่งหนึ่ง บริเวณผิวโลก และอีกตำแหน่งหนึ่ง ในอวกาศ ณ คาบเวลาหนึ่ง จะได้ข้อเท็จจริงว่า มโนทัศน์ของระยะเวลา หนึ่งวันในอวกาศของ ผู้ถูกสังเกต จะเท่ากันเสมอ. เช่น คาบเวลาหนึ่งวัน ของมนุษย์โลก เท่ากับ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใดๆ บนโลก ก็จะรับรู้ว่า วันหนึ่ง มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน. แม้ว่าบางตำแหน่งบนโลก อาจมีกลางวันยาว กลางคืนสั้น หรือกลางคืนสั้น แต่กลางวันยาว. เมื่อรวมคาบเวลาแล้ว นับได้ 24 ชั่วโมง เป็นหนึ่งวัน และรับรู้ว่า คาบเวลาของสัปดาห์หนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง มีความยาวแตกต่างกัน.

หลักการเดียวกันนี้ สัตว์ทั้งหลาย เช่น มนุษย์สวรรค์ (เทวดา มาร พรหม) มนุษย์นรก (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย) มนุษย์ผุดเกิดในทันที (สัตว์โอปปาติกะ) มนุษย์กึ่งเทวดา (คนธรรพ์ วฬาหก) สัตว์โลก (สัตว์เดรัจฉาน) สัตว์สวรรค์ (ยักษ์ นาค ครุฑ) ก็จะมีมโนทัศน์ ของคาบเวลาหนึ่งวัน ของพวกตน แบบเดียวกัน. คือรับรู้ว่า หนึ่งวัน สั้นกว่า หนึ่งเดือน หนึ่งเดือน สั้นกว่าหนึ่งปี.

แต่ในฐานะของ ผู้สังเกต (ซึ่งไม่ได้อยู่ร่วมกับอวกาศ หรือมิติ เดียวกันกับ ผู้ถูกสังเกต) หนึ่งวันของมนุษย์ หนึ่งวันของเทวดา หนึ่งวันของพรหม หนึ่งวันของสัตว์นรก แตกต่างกันมากมาย จนไม่อาจเปรียบ เทียบกันได้เลย.

 

 

เปรียบเทียบ การรับรู้เรื่องเวลา ระหว่าง ผู้ถูกสังเกต กับ ผู้สังเ้กต - สมมุติว่า ลูกบอลสีขาว คือ ยานอวกาศ ซึ่งมีผู้ถูกสังเกต นั่งอยู่ข้างใน โดยมีชายสองคน เป็นผู้สังเกต. ผู้ถูกสังเกต ในลูกบอลสีขาว จะรับรู้ระยะเวลาหนึ่งคาบ (จากจุดเริ่มต้น ถึง จุดสิ้นสุด) เท่ากัน. ส่วนชายผู้สังเกต จะรับรู้ว่า ระยะเวลาหนึ่งคาบ ของลูกบอลแต่ละลูก ไม่เท่ากัน.

 

3.1.5
มิติของสื่อ และการสื่อสาร

 

(1) ทุกสิ่ง คือ ข้อมูล ที่รวมกัน เป็นองค์ประกอบการสื่อสาร

 

ในมิติกาลอวกาศ ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ จะมี อภิมหาข้อมูล (extreme data) บรรจุอยู่ภายใน. อภิมหาข้อมูล มีความหมาย กว้างกว่าที่นักการสื่อสารนิยามไว้. คำว่า ข้อมูล (data) ในที่นี้ มีความหมาย ครอบคลุมไปถึง วัตถุธาตุ จิตธาตุ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ สัตว์ บุคคล และระบบ.

 

บนเส้นทางการสื่อสาร ของข้อมูลของ กาลอวกาศขนาดใหญ่ ระดับเอกภพ และ กาลอวกาศขนาดเล็กจิ๋ว ระดับอนุภาค ไม่อาจแบ่งบทบาทของ ผู้ส่งสาร (sender) แหล่งสาร (source) ตัวสาร (message) สื่อ (media) ช่องทางสื่อสาร (channel) ตลอดจน ผู้รับสาร (recieve) และ ผลสะท้อนการสื่อสาร (feedback) ได้ชัดเจน. เพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวกับ ขนาด พื้นที่ ความเร็ว และ ความเสถียรของสาร ไม่อาจควบคุมได้ เหมือนการสื่อสารบนโลกมนุษย์. ทุกๆ สิ่ง ล้วนเป็นข้อมูล ที่พร้อมจะเปลี่ยนบทบาทของการสื่อสาร ได้ตลอดเวลา.

 

การส่งแรงโน้มถ่วงควอนตัมระหว่างกัน ของอนุภาค ควาร์ก ซึ่งไม่อาจระบุได้ว่า ควาร์กตัวใด เป็นผู้ส่งสาร (สาร = แรงโน้มถ่วง) หรือ ควาร์กตัวใด เป็นผู้รับสาร. ตัวอย่าง ของการสื่อสารข้อมูล ที่ไม่สามารถกำหนดสถานะของสารได้ ในเวลาที่กำหนด. เช่น ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ที่เรามองเห็น โคจรห่างจากโลก ด้วยอัตราความเร็วแสง ก่อให้เกิดการเลื่อนของรังสีของแสง ของดาวฤกษ์ดวงนั้น ไปเป็นสีแดง. ณ เวลาปัจจุบัน เรามองเห็นแสงสีแดง จากดาวฤกษ์ดวงนั้น แต่ความจริง ดาวฤกษ์ดวงนั้น อาจไม่มีตัวตนอยู่แล้วก็ได้.

ดังนั้น ปรากฎการณ์ทุกชนิดในเอกภพ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอิสระ แต่มีความสัมพันธ์กัน และ มีอิทธิพลต่อกัน ในการเคลื่อนไหว. ตามกฎของอุณหพลศาสตร์ ที่กล่าวว่า สสารในเอกภพ มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ตราบใดที่อุณหภูมิ ณ บริเวณนั้น ไม่เท่ากับ 0 เคลวิน. การเคลื่อนไหว หรือการเคลื่อนที่ ของวัตถุธาตุ จิตธาตุ ก็คือ การสื่อสารข้อมูลระหว่างกันนั่นเอง.

การสื่อสารข้อมูล จากแหล่ง ก. ไปยังแหล่ง ข. อยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ข้อ คือ (1) พิกัด ตำแหน่ง (2) อัตราความเร็วในการเคลื่อน (3) เสถียรภาพของข้อมูล ได้แก่ ความคงทนของคุณสมบัติเดิม ของข้อมูล ที่จะไม่ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนไป ในระหว่างการรับ-ส่ง หรือการเคลื่อนไป.

 

(2) มิติในประสาทสัมผัสของมนุษย์ (มิติของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ มโนสัมผัส)

 

ประสาทสัมผัส คืออะไร, นักวิทยาศาสตร์ ได้นิยาม ประสาทสัมผัสว่า เป็นกลุ่มเซลล์ ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพ ด้วยการส่งข้อมูลไปยังสมอง. ประสาทสัมผัส ที่รับรู้และมีปฏิกิริยา ต่อสิ่งเร้า (อายตนะภายนอก) จากทั้งภายนอกและภายใน (อายตนะภายใน) โดยการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น และการรับรส เป็นการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าภายนอก. ในขณะที่ความรู้สึกหิว เป็นกฏิกิริยาตอบสนอง สิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย.

มนุษย์ มีสื่อสัมผัส 6 ช่องทาง หรือ 6 คู่ช่องทาง. ตถาคต เรียกว่า สฬายตนะ หรือ อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ และ อายตนะภายนอก 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์. การรับรู้ ผ่านประสาทสัมผัสเหล่านี้ ก่อให้เกิดการสื่อสาร ด้วยภาษาภาพ ภาษาเสียง และภาษาสัญลักษณ์ท่าทาง ซึ่งพอจะจำแนกการสื่อสารเหล่านี้ ออกมาเป็นมิติภาพ มิติเสียง และมิติสัมผัสอื่นๆ ได้ดังนี้.

 

ประสาทสัมผัส คู่ที่ 1 ตากระทบรูป ก่อให้เกิดมิติภาพ 6 แบบ คือ

-ภาพทั่วไปที่อยู่ในแผ่นเรียบ 2 มิติ เช่น กระดาษ ผืนผ้า.

-ภาพ 3 มิติเทียม คือภาพแบนราบ แต่ทำให้ภาพมีความลึก มองเห็นเสมือน มีระยะใกล้-ไกล ส่วนใหญ่เป็นภาพ จากการวาด หรือภาพถ่าย.

-ภาพ 3 มิติเสมือนจริง (real dimension) เป็นภาพประดิษฐ์ ที่ฉายลงบนจอรับภาพ ทำให้ดูแล้วมีระยะใกล้-ไกล ซึ่งมักใช้อุปกรณ์ช่วยในการรับชม เช่น ภาพยนตร์ 3 มิติ หรือ ภาพจากกล้องถ่ายภาพ 3 มิติ.

-ภาพ 3 มิติแท้ ได้แก่ ภาพที่เห็นจากการมองด้วยนัยน์ตาโดยตรง. ภาพ 3 มิติแท้ เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่บางส่วน ถูกบันทึกไว้ในสมอง เป็นความทรงจำ ซึ่งไม่ถาวร นานไปอาจถูกลบลืมได้ แต่เป็นภาพที่มีอิทธิพล ต่ออารมณ์รู้สึกมากที่สุด.

-ภาพมิติที่ 4 คือ ภาพที่คนดูจินตนาการขึ้นในสมอง จากประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การเห็น การได้ยิน การรับกลิ่น การรู้รส และการสัมผัส.

-ภาพมิติที่ 5 คือ ภาพของบุคคลที่ “ถูกสะกดจิต” หรือ “การเข้าสมาธิ” และ ภาพมิติที่ 6 คือ ภาพที่เกิดจากความฝัน. ภาพมิติที่ 4 มิติที่ 5 และมิติที่ 6 จะมีห้วงเวลาจำกัด เมื่อประสาทสัมผัสทั้งห้า ถูกตัดขาดออกไป หรือเมื่อเลิกสะกดจิต หรือออกจากสมาธิ และเมื่อตื่นจากนอนหลับ.

 

ประสาทสัมผัส คู่ที่ 2 หูกระทบเสียง ก่อให้เกิดมิติของเสียงที่ได้ยิน อาจนับได้ถึง 5 หรือ 6 มิติ. ได้แก่

เสียง 1 มิติ คือ ระบบเสียงโมโน

เสียง 2 มิติ คือ ระบบเสียงสเตอริโอ.

เสียง 3 มิติ คือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (dolby 5.1 channel, 7.1 channel, 11 channel หรือมากกว่า).

เสียงมิติที่ 4 เกิดจาก เสียงที่ถูกจินตนาการขึ้นในสมอง เช่นเดียวกับ ภาพที่มาจากประสาทสัมผัสทั้งห้า.

เสียงมิติที่ 5 จากการเข้าสมาธิ หรือการสะกดจิต และ

เสียงมิติที่ 6 มาจากความฝัน.

 

ประสาทสัมผัส คู่ที่ 3 จมูกกระทบกลิ่น คู่ที่ 4 ลิ้นกระทบรส คู่ที่ 5 ผิวกายกระทบวัตถุ.

ปัจจุบัน เริ่มมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือ การรับ-ส่งสัมผัสด้วยกลิ่นและรสกันบ้างแล้ว. คนพิการทางตาและหู สามารถ สร้างมิติของภาพและเสียงได้ จากประสาทสัมผัส ที่แต่ละคนมีอยู่ โดยเฉพาะการสัมผัสด้วยมือ.

 

 

ภาพที่ 3.02 การสร้างเทคโนโลยี กระตุ้นระบบประสาทสัมผัส การรับรู้รสจำลอง
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED – October No. 76/2017)


ประสาทสัมผัส คู่ที่ 6 ใจกระทบอารมณ์ คนทั่วไปเรียกว่า การสัมผัสที่ 6 (sixth sense) หรือ มโนสัมผัส เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือ มนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ที่ไม่ต้องผ่านระบบการตีความ จากสื่อกลาง.

นักวิทยาศาสตร์ พิสูจน์การมีอยู่ของสัมผัสที่ 6 ได้มากที่สุดในขณะนี้คือ การสื่อสารผ่านกระแสไฟฟ้าของสมอง. ปัจจุบัน เริ่มมีการทดลอง เชื่อมต่อสมองของมนุษย์ เข้ากับคอมพิวเตอร์กันแล้ว ด้วยหวังว่า มนุษย์จะสามารถ ใช้การสัมผัสที่ 6 เข้าถึงข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ จากการคิด แทนการสัมผัสด้วยมือ.

ความเข้าใจความหมายจากการสัมผัสที่ 6 เป็นการสื่อสารระหว่าง บุคคล ไม่ใช่เป็นการสาธารณะ ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ อันเนื่องมาจาก ภาวะด้านจิตใจที่ผิดปกติ. อย่างไรก็ตาม เมื่อนำการสัมผัสที่ 6 ของมนุษย์ ไปใช้ร่วมกับภาษาดิจิตัล ซึ่งเป็นสื่อกลางพื้นฐานที่สุด ของเอกภพ อาจนำไปสู่ การสร้างภาษาของจักรวาล เพื่อใช้ในการสื่อสารพูดคุย กับมนุษย์ต่างดาว.

 

จะเห็นว่า การรับรู้ของมนุษย์ ด้วยประสาทสัมผัสคู่ที่ 1 – 5 ทำได้ง่ายกว่าการรับรู้ด้วยประสาท สัมผัสคู่ที่ 6 ซึ่งถือว่าเป็นมิติการรับรู้ ที่ลึกกว่า มีความซับซ้อนมากกว่า. การทำงานของระบบประสาทสัมผัสเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ ในรูปแบบไฟฟ้าในสมองเท่านั้น.

 

เหตุที่มนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆ ได้นั้น เพราะมีวิญญาณ คอยทำหน้าที่ชี้ “เบาะแส” ว่าสิ่งที่มันยึดเกาะอาศัยอยู่นั้น คืออะไร แล้วมันก็ดับสลายตัวเองไปในทันที แล้วทิ้ง “ธาตุรู้” ไว้เป็นเหตุการณ์เบื้องหลัง. สิ่งที่วิญญาณ เข้าไปยึดเกาะ ก็คือธัมมะธาตุหนึ่ง ที่มีอยู่ในธรรมชาติ นั่นเอง.

 

ธัมมะธาตุ ที่วิญญาณจะเข้าไปยึดเกาะได้ มีเพียง 4 ชนิดเท่านั้น.[16] คือ

(1) สสาร-พลังงาน (รูปขันธ์) ที่อยู่ในสถานะมิติที่ 1 – มิติที่ 4

(2) ความรู้สึก (sense) (เวทนาขันธ์) ที่อยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่ง สุข ทุกข์ เฉยๆ

(3) ความจำได้ (สัญญาขันธ์) คือการจดจำอดีต สามารถบันทึกเหตุการณ์ในอดีตไว้ได้

(4) ความคิดปรุงแต่ง (สังขารขันธ์) คือ ความสามารถคิดปรุงแต่งเรื่องราว ทั้งในอดีตปัจจุบันอนาคต.

การเข้าไปยึดเกาะธัมมะธาตุทั้ง 4 ในห้วงชีวิตหนึ่งของวิญญาณ จะทำได้คราวละ 1 ธัมมะธาตุเท่านั้น (แล้วดับสลายไป).

 


[16]
 ความรู้สึก (เวทนาขันธ์) ความจำได้ (สัญญาขันธ์) และ ความคิดปรุงแต่ง (สังขารขันธ์) ตัวมันเอง เป็นธัมมะธาตุ ที่มีสถานะ 3 มิติ เพียงสถานะเดียว (3 มิติ ที่ไม่มีขอบเขต) คล้ายกับมิติของเวลา และมิติของแสง แต่ดำรงอยู่ในมิติที่ 4 ที่มองไม่เห็น.

 

สารสื่อประสาท มีความสัมพันธ์กับสมองมนุษย์ เช่น สมองส่วน อะมิกดาลา (amygdala) (กลีบขมับส่วนกลาง) เป็นตัวกำกับพฤติกรรมทางเพศ ความก้าวร้าวรุนแรง และอารมณ์พื้นฐาน. สมองกลีบหน้า (frontal lobe) กำกับดูแลความสามารถขั้นสูง เช่น วิจารณญาณ การควบคุมตัวเอง และการแก้ปัญหา และเป็นส่วนที่คอยประเมิน ความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หากเป็นเรื่องไม่ พึงปรารถนา ก็จะข่มไว้. สมองส่วนท้ายทอย ชื่อ แองกูลาร์ ไจรัส (angular gyrus) และ โพสทีเรียร์ ซิงกูเลต (posterior cingulate cortex) รวมทั้งสมองกลีบหน้าส่วนกลาง จะทำงาน เมื่อบุคคลผู้นั้น ต้องตัดสินใจ ในเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม หรือประเมินผลว่า จะทำตามความต้องการของตนเองหรือไม่ ถ้าเรื่องนั้นขัดกับศีลธรรม.

อนึ่ง การสื่อสารภายใน ของแต่ละบุคคล นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบความเกี่ยวข้อง ในระบบประสาทและยีน ที่ทำให้มนุษย์ แสดงพฤติกรรมรุนแรง ออกมา. ยีนโมโนเอมีน ออกซิเดส เอ หรือ MAOA (Monoamine Oxidase A) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ยีนนักรบ มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ สาร สื่อประสาท (neurotransmitter) 3 ชนิด ในสมอง คือ เซโรโทนิน (serotonin) โดปามีน (dopamine) และ อะดรีนาลิน (adrenaline) ที่คอยกำกับเส้นทาง ของสัญญาณประสาท และส่งอิทธิพล ต่อการกระทำของคนเรา. ยีน MAOA นั้น มีความบกพร่องได้ อันเนื่องมาจาก การกลายพันธุ์แต่กำเนิด. ความบกพร่องของยีน MAOA ทำให้สารสื่อประสาททั้งสาม เพิ่มปริมาณมากขึ้น ก่อให้บุคคลผู้นั้น เกิดพฤติกรรมรุนแรง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสารสื่อประสาทดังกล่าว ลดลงผิดปกติ จะทำให้บุคคลผู้นั้น เกิดอาการซึมเศร้า วิตกกังวลและใจเร็ว.

 

จะเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ ไว้แค่ระดับการสื่อสารของระบบประสาทและยีน แต่พฤติกรรมเบี่ยงเบนของมนุษย์ มีปัจจัยอิทธิพล ลึกกว่านั้นมาก. ตถาคต เรียกปัจจัยอิทธิพลเหล่านั้นว่า กิเลส บ้าง อวิชชา บ้าง ซึ่งเป็นส่วนของจิตธาตุทั้งสิ้น. การสื่อสาร การแลกเปลี่ยน ความรู้ข่าวสารระหว่างมนุษย์ จะกระทำผ่านสื่อกลาง ซึ่งเป็นวัตถุสารชนิดหนึ่ง . แต่สื่อกลางเหล่านั้น เป็นวัตถุสาร ที่มีความแตกต่าง จากวัตถุสารชนิดอื่น. เพราะ ตัวมันจะบรรจุสาระ ข่าวสาร ความรู้ ที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และ วิดีโอ. คุณค่าของสื่อกลางเหล่านั้น มิใช่ คุณสมบัติ หรือ มูลค่า ของธาตุ สสาร ที่ประกอบกันเป็นสื่อกลาง เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นโลหะ จอภาพ แต่คุณค่าที่แท้จริงคือ สาระของข่าวสาร ความรู้ ที่ถูกบรรจุอยู่ภายในสื่อกลาง.

 

(3) การออกแบบสื่อและสาระ เพื่อตอบสนองการรับรู้ ในการสัมผัสมิติระดับต่างๆ

 

การออกแบบเนื้อหาสาระ (message) ที่จะบรรจุลงไปในสื่อกลาง (media) ต้องให้เหมาะสม กับประสาทรับสัมผัสของมนุษย์ เพื่อให้ผู้รับสาร สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระได้มากที่สุด. สิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระ เช่น ข้อความ ภาพ เสียง มักถูกสร้างให้อยู่ในสื่อรูปแบบ มิติที่ 1 และมิติที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์. เทคโนโลยีด้านภาพ สามารถสร้างภาพอิเล็กทรอนิกส์ แบบ 2 มิติ ให้เป็นภาพ 3 มิติ ได้ไม่ยาก.

 

แท้จริงแล้ว สื่อกลางที่เป็นช่องทาง การสื่อสารระหว่างมนุษย์ ได้ซ่อนความหมายลึกซึ้ง อยู่ภายใน. โดยเฉพาะ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อต้นแบบ (model) หรือเป็นสื่อตัวอย่าง (เช่น สิ่งมีชีวิตอื่น ประดิษฐ์กรรมต่างๆ) รวมถึงสื่อวัตถุ สื่อบุคคล สื่อสถานที่ และสื่อกิจกรรม (place - person - media - event). การเข้าถึงและรับรู้ข้อมูล จากสื่อกลางทุกชนิด มนุษย์สามารถรับรู้ ได้มากกว่า มิติที่ 3 ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้.

 

การสัมผัสที่ 6 (sixth sense) หรือ มโนสัมผัส สามารถเข้าไปรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ในมิติที่ 4 ได้ดี และมีประสิทธิภาพกว่าประสาทสัมผัส คู่ที่ 1 - 5. มโนสัมผัส เป็นธัมมะธาตุที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถท่องเที่ยวไปได้ทั่วกาลอวกาศ หรือทั่วเอกภพ. เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกาลอวกาศมิติที่ 4 จะเต็มไปด้วยข้อมูลที่เป็นธาตุรู้ ที่วิญญาณได้ปล่อยทิ้งไว้ ก่อนดับสลายตัวเองไป. สิ่งมีชีวิตในทุกรูปแบบ เช่น พืช สัตว์ มนุษย์โลก มนุษย์ต่างดาว มนุษย์ 2 มิติ มนุษย์ก๊าซ สามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวธาตุรู้เหล่านั้น เกิดระบบการสื่อสารในมิติที่ 4 ขึ้น โดยฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร ที่มีรูปแบบชีวิตแตกต่างกัน หรือเหมือนกัน สามารถสื่อสารกันได้.

การสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถทำได้หากใช้การสัมผัสที่ 6 เป็นช่องทาง แต่ก็ไม่ควรละทิ้งมิติสัมผัสอื่นๆ ด้วย เพราะสติปัญญา ของสิ่งมีชีวิตอื่น กับมนุษย์ มักแตกต่างกัน. แม้มนุษย์โลกกับมนุษย์โลกด้วยกันเอง ก็ยังสื่อสารกันได้ไม่เข้าใจครบถ้วน จึงจำเป็นต้องสื่อสาร ผ่านช่องทางของการสัมผัสทุกๆ ด้าน จึงจะได้ข้อมูลครบถ้วน.

 

การสื่อสารในมิติที่ 4 ถูกนำมาเขียน ในนวนิยายแนวแฟนตาซี อิทธิปาฏิหาริย์ หลายเรื่อง เช่น การพูดคุยกัน ของคนต่างมิติต่างภาษากัน ในเมือง มรกตนคร จากนวนิยายเรื่อง เพชรพระอุมา เขียนโดย พนมเทียน. การผจญภัยของเด็กๆ ในหมู่บ้านดูดเวลา จากนวนิยายเรื่อง ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์ (Hopeful with Hearted) เขียนโดย ดิน หิน ฟ้า. ภารกิจการทำลายแหวนแห่งอำนาจ ของมนุษย์กลุ่มพันธมิตร เพื่อมิให้ตกอยู่การครอบครอง ของเหล่าอสูร ในนวนิยายเรื่อง มหันตภัยแห่งแหวน (เขียนโดย เจ อาร์ อาร์ โทลคีน) หรือ ในชื่อภาพยนตร์เรื่อง อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings).

เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ในมิติของการสัมผัสที่ 6 ส่วนใหญ่ เป็นข้อมูลด้านนามธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์เข้าใจยาก. ผู้เล่าจะต้องสรรสร้าง (creating design) สาระข้อมูลเหล่านั้น ให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะ สิ่งที่ใช้เป็นสัญญะสื่อ (message) เช่น ข้อความ รูปภาพ แผนผัง รูปจำลอง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุ 2 มิติ 3 มิติ. หากต้องการสื่อสารด้วยสัญญะสื่อ ในมิติที่สูงกว่านี้ ไม่สามารถทำได้ โดยเครื่องมือที่เป็นรูปวัตถุ หรือทำได้ ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เพราะบางเรื่องบางเหตุการณ์ ภาษามนุษย์ไม่สามารถสื่อสารได้. อาจต้องใช้การสื่อสาร ด้วยการสัมผัสที่ 6 ร่วมด้วย จึงจะได้ผลดี เช่น การเข้าสมาธิ การสะกดจิต เป็นต้น.

 

(4) การสื่อสารความจริงของตถาคต ที่ไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลา

 

“ความจริง” (truth) เป็นธัมมะธาตุหนึ่ง ที่ดำรงอยู่ในเหตุการณ์ ของกาลอวกาศมิติที่ 4. ความจริง มี 2 ระบบ คือ ความจริงในระบบสังขตธรรม เป็นความจริงสมมุติ ที่ถูกปรุงแต่งโดยธรรมชาติ (สมมุติสัจจะ) และ ความจริง ในระบบอสังขตธรรม เป็นความจริงแท้ ที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยสิ่งใดๆ ปรมัตถสัจจะ).

ความจริงทั้ง 2 ระบบ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่มนุษย์มักมองไม่เห็น หรือเข้าไม่ถึง. การเข้าถึงความจริง ไม่ว่าในระบบใด ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ. พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายศากยวงศ์ ยังต้องฝึกฝนเรียนรู้อยู่หลายปี จนกระทั่งได้บรรลุธัมมะขั้นสูงสุดเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ซึ่งเป็นมนุษย์เพียงผู้เดียวในช่วงเวลานั้น ที่สามารถสร้างคุณวิเศษ หรือญาณทัศนะ “หยั่งรู้” (รู้แจ้งเห็นจริง) ให้แก่ตนเองได้.

 

การมีญาณทัศนะแบบพิเศษ เหนือกว่ามนุษย์ทั้งปวง ทำให้การเปิดเผยความจริงขั้นสูงสุด (ปรมัตถสัจจะ) เป็นไปได้โดยไม่ยาก. แต่ยากมากสำหรับมนุษย์ ยุคปัจจุบัน ที่มีสิ่งกีดขวางเป็นอุปสรรคปิดกั้น มิให้ความจริงแท้ที่ซุกซ่อนอยู่ ได้รับการเปิดเผย. อุปสรรคเหล่านี้ เช่น กิเลส ตัณหา อวิชชา เป็นกำแพงกั้น ไม่ให้ความจริง ปรากฎในห้วงเวลา ที่สมควรปรากฎ หรือไม่ให้ความจริง ปรากฎในพื้นที่ที่สมควรปรากฎ.

 

แต่ด้วยความสามารถพิเศษของตถาคต ทำให้พระองค์ สั่งสอนและเปิดเผยสัจธรรม ได้ตลอด เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่ 45 ปี โดยพระองค์ ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรเลย เพียงแต่ใช้คำพูดที่เป็น ‘ระเบียบวิธีแห่งถ้อยคำ ของศาสดา'  หรือ ‘พุทธวจน' ซึ่งถูกจัดระเบียบแห่งถ้อยคำ มาเป็นอย่างดี เป็นสื่อเผยแพร่.

ระเบียบวิธีแห่งถ้อยคำของศาสดา มีลักษณะพิเศษ คือ ถูก ตรง จริง ไม่ว่ากาลเวลาใดๆ. ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนา จึงเผยแพร่ไปได้ดี ได้กว้างไกล ในสมัยที่พระองค์มีชีวิตอยู่ แต่หลังจากนั้นผ่านไป เนื้อแท้ของสัจธรรมทั้งหมด ก็แผ่วเบาและเจือจางลงเรื่อยๆ อันเนื่องจาก การเผยแพร่สัจธรรม ของสาวกรุ่นหลัง ไม่ได้ใช้ระเบียบวิธีแห่งถ้อยคำของศาสดา แต่กลับใช้ความเห็น (ทิฏฐิ) ของสาวกเอง เป็นทั้งเนื้อหาสาระ (message) และเป็นช่องทาง (channel) ในการเผยแพร่.

พระสาวกบางรูป วางสถานะ (positioning) ตนเองผิดไป. กล่าวคือ ‘สาวก' คือ ผู้ปฏิบัติตามและเผยแพร่คำสอนของ ‘ศาสดา' แต่กลับแก้ไข ตัดต่อ แต่งเติม คำสอนของศาสดา ทำให้คำสอนของพระองค์ ผิดเพี้ยนไป. พฤติกรรมเช่นนี้ ถูกกระทำติดต่อกันมานับพันปี ในที่สุด สัจธรรมที่เป็นของแท้ ก็ถูกปิดบัง และทำให้บิดเบือน.[17]

 


[17]
 ตถาคตได้ทำนายไว้ว่า ในกาลข้างหน้า เนื้อแท้ของพระธรรมวินัย จะถูกทำให้บิดเบือน จะเหลือแค่ชื่อเรียก เหมือนกับ กษัตริย์พวก ทสาระหะ กระทำกับกลองศึกชื่อ อานกะ. เมื่อกาลนานไป ก็จะนำเนื้อไม้อื่นมาตอกแซมแทรกเข้าไป จนกระทั่ง เนื้อไม้เดิมไม่เหลืออยู่เลย แต่กลองนั้นก็ยังได้ชื่อว่า อานกะ. ดู “เหตุผลที่ต้องรับฟังเฉพาะคำตรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.” พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 9. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 243. | บาลี - ทุก. อํ. 20/92/292., นิทาน. สํ. 16/311/672., มู. ม. 12/460/430., อิติวุ. ขุ. 25/321/293.

 

ด้วยเหตุนี้ พระองค์ จึงกำหนดข้อห้ามไว้เป็นคำสำคัญว่า

“ ... สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ ; เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน . ”

“ ... สุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา , เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ ; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ... ”

 

ข้อสรุปบางประการ ข้อโต้แย้ง ข้อสนับสนุน เกี่ยวกับ มิติ กาลอวกาศ

 

(1) ความหมายหลายนัยของ มิติที่ 4

 

– การสั่นของเส้น 1 มิติ ทำให้เกิดรูปทรงมิติที่ 2 และ รูปทรงมิติที่ 3 ที่มีส่วนของมิติที่ 4 ซ่อนอยู่ (ส่วนที่สั่นในแนวระนาบ 2 มิติ และ 3 มิติ จะมองไม่เห็นในปัจจุบัน แต่มีอยู่ในเวลาอดีต หรือในเวลาอนาคต).

– วัตถุที่มีรูปทรง 2 มิติ 3 มิติ สามารถทำให้เกิด มิติที่ 4 ได้ โดยทำให้มันเคลื่อนที่ หรือเคลื่อนไหว. ร่องรอยของการเคลื่อนที่ หรือเคลื่อนไหวในอดีต เมื่อรวมกับตัวมันเองในปัจจุบัน และรวมกับร่องรอยการเคลื่อนที่ หรือการเคลื่อนไหว ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อเกิดปริมาตร และรูปทรงของ มิติที่ 4 ขึ้นมา.

 

ตัวอย่าง ของการมีอยู่ของ มิติที่ 4 เช่น อะตอม ที่มีเมฆของอิเล็กตรอน หมุนวนรอบนิวเคลียสที่เป็นแกนกลาง. ถ้าจับอิเล็กตรอน แยกออกจากนิวเคลียส และทำให้มันอยู่นิ่งๆ ก็จะมองไม่เห็นมิติที่ 4 ของอะตอม. ถ้าจับอิเล็กตรอน แยกออกจากนิวเคลียส แล้วเอามากองรวมกัน ก็จะเหลือตัวตนของอะตอมเพียงนิดเดียว. เพราะอะตอมประกอบด้วยอิเล็กตรอน นิวเคลียส รวมทั้งช่องว่าง ทำให้ภาพรวมของอะตอม มีขนาดใหญ่กว่า การรวมกัน ของอิเล็กตรอนและนิวเคลียส เมื่ออยู่นิ่งๆ.

ล้อรถที่กำลังหมุน ช่องว่างระหว่างซี่ลวดหรือกงล้อ ถูกแทนที่ด้วยซี่ลวดหรือกงล้อ ที่มันเคยมีอยู่ในเวลาที่เป็นอดีต. ในช่วงวันหนึ่งของ นาย ก. เขาเดินไปเดินมา ภายในห้องทำงาน กล่าวได้ว่า ภายในห้องทำงานนั้น และในช่วงของวันนั้น รวมกันก็คือ มิติที่ 4 ของ นาย ก.

– มวล แสง อนุภาค พลังงาน เป็นธัมมะธาตุที่มีขนาด วัดค่าได้ในเชิงปริมาณ. วัตถุธาตุใดๆ ที่มีรูปทรง 3 มิติ ย่อมมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ ไปตามแกนระยะทางไปพร้อมๆ กับแกนเวลา ย่อมก่อให้เกิดกรวยเวลา ซึ่งเป็นมิติที่ 4 สำหรับวัตถุนั้นๆ (ดูภาพที่ 3.03 ประกอบ). แสง เคลื่อนที่ตามแกน ระยะทาง จึงสามารถวัดระยะทางได้. ขณะที่ จิตธาตุ (อวิชชา สังขาร วิญญาณ) เป็นธัมมะธาตุที่ไม่มีรูปทรง ไม่มีขนาด และไม่มีขอบเขต. จิตธาตุ เคลื่อนที่ไปได้ตามแกนเวลา 2 มิติ เท่านั้น ไม่สามารถเคลื่อนที่ ไปตามแกนระยะทางได้.

 

 

ภาพที่ 3.03 กาลอวกาศวัตถุธาตุ มี 4 มิติ แต่กาลอวกาศของจิตธาตุ มีได้อย่างมาก 2 มิติ

 

 

มิติที่ 4 ของจิตธาตุ จะมีได้ก็แต่เพียงเวลาเท่านั้น. ดังนั้น รูปทรงมิติที่ 4 ของจิตธาตุ เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ซึ่งก็คือ “เนื้อ” ของเวลาที่พอกออกไปรอบๆ ในแนวของ มิติที่ 2.

 

 

– แสงที่แผ่ออกจากเหตุการณ์หนึ่งๆ จะปรากฎเป็นรูปทรงกรวยของเวลาและอวกาศ คือ อวกาศ 3 มิติ (กว้าง-ยาว-ลึก ในทิศทาง 360 องศา โดยรอบ) รวมกับ เวลาอีก 1 มิติ เป็น 4 มิติกาลอวกาศ. ในเมื่อกาลอวกาศ ผูกติดกับแสง ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษกล่าวไว้ จึงได้กลาย เป็นมาตรฐาน ในการกำหนดและวัดค่า ระยะ พิกัด ขนาด ให้แก่วัตถุต่างๆ ในเอกภพ.

– ความปั่นป่วนของอวกาศ อันเนื่องมาจาก แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์ คลื่นความโน้มถ่วง แรงโน้มถ่วงควอนตัม และรังสีต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ทำให้มิติที่ 4 ปั่นป่วนโกลาหล เกิดมิติอื่นๆ เพิ่มขึ้นมากกว่า 11 มิติ. แต่ความปั่นป่วนเหล่านี้ อยู่กันคนละส่วน กับมิติจิตธาตุ.

 

(2) เวลา คือสาเหตุหลัก ที่ก่อให้เกิดมิติและอวกาศ ถ้าไม่มีเวลา มิติก็ไม่ปรากฎ อวกาศก็ดำรงอยู่ไม่ได้

 

ส่วนประกอบของมิติ เริ่มที่จุด. จุด เป็นสิ่งสิ่งเดียวที่มีลักษณะพิเศษ คือ ‘จุด ไม่มีขนาด แต่มีขอบเขต.'  วัตถุใดๆ ประกอบด้วยจุดหลายๆ จุด ก่อรูปทรงขึ้นมา จากทิศทางต่างๆ รวมกันเป็นร่างที่มีขอบเขต (body) และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเนื้อวัตถุ. ถ้าวัตถุชิ้นนั้น ประกอบด้วยจุดเพียงจุดเดียว ขนาดของวัตถุก็คือ ขอบเขตของจุดนั่นเอง. ในทางกายภาพ จุด จึงเป็นต้นกำเนิดของ มิติรูปทรงของวัตถุธาตุทุกชนิด แต่ในทางจิตธาตุ จุด เป็นเพียงจินตภาพ (image) ที่ใช้แทนนามธาตุ หรือสิ่งที่กำลังอธิบาย จากนามธรรมสัมผัส เป็นรูปธรรมสัมผัส.

 

มิติรูปทรงวัตถุ เป็นมิติด้านฟิสิกส์. วัตถุสามารถดำรงสถานะได้ ทั้งใน มิติที่ 1 หรือ มิติที่ 2 หรือ มิติที่ 3 โดยมี เวลา เป็นตัวควบคุมการวิวัฒน์ ของมิติที่ 1 – 3 (เกิด เสื่อม ดับสลาย). จุด ใดๆ เช่น อนุภาค จะไม่หยุดนิ่ง แต่จะมีการวิวัฒน์ (เคลื่อน) ไปตามแกนเวลา ในลักษณะเส้น string (จะไม่มีสิ่งใดๆ หยุดนิ่งในอวกาศ). นี่คือ มิติที่ 1 ที่วิวัฒน์ตามเวลา (ซึ่งก็คือ มิติที่ 4 ของ จุด นั่นเอง). จุดที่เชื่อมต่อกัน ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยปลายทั้งสองด้าน ต่อขยายออกไปเรื่อยๆ เป็นจำนวน อนันต์จุด จะทำให้เกิด มิติที่ 1 ที่วิวัฒน์โดยตัวของมันเอง เรียกว่า เส้น. ต่อจากนั้น เส้น ก็จะเคลื่อนไปตามแกนเวลา สามารถขยายพื้นที่สมมุติด้านข้างออกไปทั้งสองทิศ เป็น มิติที่ 2 ที่วิวัฒน์ตามเวลา (เกิดพื้นที่แบนราบสมมุติขึ้น ซึ่งก็คือ มิติที่ 4 ของเส้น). การขยายพื้นที่สมมุติของเส้น โดยนำเส้น เชื่อมต่อกันด้านข้างออกไปทางด้านซ้าย หรือขวา หรือทั้งซ้ายและขวา ก็จะเกิดพื้นที่แบนราบจริง (plane) เป็น มิติที่ 2 ที่วิวัฒน์โดยตัวของมันเอง. จากหลักการเดียวกันนี้ หากแผ่นแบนราบ ที่เกิดจากมิติที่ 2 เคลื่อนขยับไปในแนวตั้งฉาก (หรือ 1 – 179 องศา) ตามแกนเวลา สามารถขยายพื้นที่แบนราบสมมุตินั้น ออกไปเป็น มิติที่ 3 ที่วิวัฒน์ตามเวลา (เกิด รูปทรงแท่งก้อนสมมุติขึ้น ซึ่งก็คือ มิติที่ 4 ของแผ่นแบนราบ ). แต่ถ้าแผ่นแบนราบ 2 มิตินั้น เชื่อมต่อกันจริง ก็จะเกิดปริมาตรที่เป็นลักษณะแท่งก้อน (form) ที่มีขอบเขต. นั่นคือ การก่อรูป มิติที่ 3 ที่วิวัฒน์โดยตัวของมันเอง. แท่งก้อนที่มีขอบเขตดังกล่าว เป็นไปได้ทั้งทึบและโปร่งใส ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัตถุ ที่ประกอบกันเป็นแผ่น เช่น อากาศ (ก้อนมวลอากาศ) แผ่นโลหะ (แท่งก้อนโลหะ).

 

 


กาลอวกาศ
เกิดขึ้นได้

เพราะมี จุด + เวลา จึงมี เส้น 1 มิติ
เพราะมี เส้น + เวลา จึงมีรูป 2 มิติ
เพราะมี รูป 2 มิติ + เวลา จึงมีปริมาตร 3 มิติ
เพราะมี รูป 3 มิติ + เวลา จึงมี อวกาศ เป็นมิติที่ 4.

 

 

มิตินามธาตุ เป็นมิติด้านจิตธาตุ หรือจิตวิญญาณ. มิตินามธาตุ มีรูปแบบแตกต่างจาก มิติรูปทรงวัตถุ อย่างสิ้นเชิง. มิติรูปทรงวัตถุ มีวิวัฒนาการตามหลักเรขาคณิต ทำให้เกิดการแตกย่อยของรูปทรง ออกไปมากมายถึง 11 มิติ หรือมากกว่านั้น. แต่มิตินามธาตุ เป็นการวิวัฒน์ของ วิญญาณ ในรูปแบบต่างๆ (เช่น มโน จิต วิญญาณ ขันธุ์ สังขาร อวิชชา สังโยชน์ ฌาน วิมุตติ). เราจึงไม่สามารถค้นหาหรือกำหนด คุณสมบัติแบบฟิสิกส์ให้แก่ วิญญาณ ได้ว่า เป็นจุดหรือไม่ หรือ เป็นอนุภาคหรือ ไม่เป็นอนุภาค หรือ มีมวลหรือไม่มีมวล. แต่กล่าวได้ว่า วิญญาณคล้ายแสง. หลักการที่ว่า จุด ไม่มีขนาด แต่มีขอบเขต สามารถนำมาอธิบาย สถานะภาพของวิญญาณได้เพียงส่วนเดียว จึงต้องให้คำนิยามใหม่ว่า ‘ วิญญาณ (โดยรวม) ไม่มีขนาด ไม่มีพิกัดตำแหน่ง และไม่มีขอบเขต'. ข้อนี้ มีส่วนสอดคล้องกับ การให้คำนิยามเกี่ยวกับเอกภพ ของ สตีเฟน ฮอว์กิง ว่า เอกภพ มีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง แต่ไม่มีขอบเขต. สิ่งที่เหมือนกัน คือ ทั้งวิญญาณ และ เอกภพ ต่างก็หาขอบเขตไม่ได้. ที่เป็นเช่นนี้ เพราะวิญญาณ ปรากฎอยู่ทั่วไปในเอกภพที่ไม่มีขอบเขต และที่กล่าวว่า วิญญาณ ไม่มีขนาด เพราะวิญญาณ เป็นนามธาตุที่หาพิกัดตำแหน่งไม่ได้ นั่นเอง.

 

จากข้อวิพากษ์เรื่อง วิญญาณ มีสถานะเป็นจุดหรือไม่ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เราจะวิเคราะห์ต่อไปว่า มิติที่ 1 - 2 - 3 ของวิญญาณ มีอยู่หรือไม่ ถ้ามีจะมีสถานภาพเช่นไร. จากข้อสรุปข้างต้นว่า วิญญาณ ไม่มีพิกัดตำแหน่ง และไม่มีขอบเขต ทำให้เราไม่สามารถกำหนดรูปแบบ หรือรูปทรง 2 มิติ 3 มิติ ได้เลย คงมีได้เฉพาะ มิติที่ 4 เท่านั้น ที่เป็นไปได้. มิติที่ 4 เป็นมิติของเวลา เป็นจุดเชื่อมต่อการพัวกันระหว่าง รูปทรง กับ จินตภาพ. วิญญาณ ไม่มีสถานะรูปทรง แต่มีสถานะจินตภาพ เหตุผลข้อนี้ เกิดความสมมูลกันกับ สภาวะของสวรรค์ – นรก. ทำให้ไม่สามารถนิยามรูปทรง มิติที่ 3 ของ สวรรค์ หรือ นรก ได้เลย.

 

การพัวพันกับเวลา ของกาลอวกาศ 4 มิติ ทำให้การอธิบาย สถานะของวิญญาณ และภพของวิญญาณ (สวรรค์ นรก) ได้ง่ายขึ้น เพราะ วิญญาณ สวรรค์ นรก เป็นจิตธาตุ ที่จำเป็นต้องอาศัยกรอบอ้างอิงของเวลา เป็นคำอธิบาย. กฎของเวลา กล่าวไว้ว่า ‘เวลาดำรงอยู่ เพราะมีการรับรู้' ‘เวลาไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีจุดปลาย' ‘เวลามีคุณสมบัติ นิรันดร์ ไร้ขอบเขต และ ไม่มีขนาด.' (ดูข้อ 6.2 กฎของเวลา ในบทที่ 6). ดังนั้น มีเพียงกฎของเวลาเท่านั้น ที่จะใช้เป็นกรอบอ้างอิงสถานะของ วิญญาณ สวรรค์ นรก ได้อย่างสมเหตุสมผลที่สุด.

สังขารทั้งหลาย (วัตถุธาตุ จิตธาตุ) เปลี่ยนแปลงไป ตามวัฏจักรของเวลา. จึงกล่าวว่า สังขาร ทั้งหลาย ไม่เที่ยงแท้ (อนิจจตา) ย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม (ทุกขตา) ทั้งในด้านรูปทรงอันเดิม ปริมาตรเท่าเดิม และตำแหน่งพิกัดเดิม. ความจริงข้อนี้ สอดคล้องกับ หลักแห่งความไม่แน่นอน ของไฮเซนต์เบิร์ก (uncertainty principle) ที่ว่า เราไม่สามารถจะรู้ค่า ตำแหน่ง และความเร็ว ที่แท้จริงของอนุภาค 2 ตัว ได้พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน. ถ้ารู้ค่าหนึ่ง (เช่น ตำแหน่ง) ได้แม่นยำเท่าไร อีกค่าหนึ่ง (เช่น ความเร็ว) ก็จะผิดพลาดมากขึ้นเท่านั้น.

 

(3) วิญญาณ เป็นอยู่อย่างไร ในมิติที่ 4 ?

 

ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ธัมมะธาตุที่เกิดมา พร้อมกับเอกภพ คือ อวิชชา สังขาร และ วิญญาณ. อวิชชา มี 2 สถานะที่ซ้อนทับกันอยู่ คือ สถานะเป็นวัตถุธาตุ. คุณสมบัติของวัตถุธาตุ คือ “มันไม่รู้เรื่องอะไร” เป็นเหตุให้ อวิชชา มีสถานะเป็นจิตธาตุ คือ ความไม่รู้ ในเวลาเดียวกัน. คุณสมบัติการ เป็นวัตถุธาตุ จึงผันแปรไปตามกฎฟิสิกส์ โดยที่ตัวตนของอวิชชา ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ที่ตัวมันเองเปลี่ยน แปลง (เกิด เสื่อม แปรปรวน) ไปตามกฎฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์.

การเปลี่ยนแปลงไปตามกฎฟิสิกส์ จากอนุภาค อะตอม ธาตุต่างๆ ก่อตัวเป็น โมเลกุล เซลล์ เป็นวัตถุ เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ซับซ้อน เรียกว่า สังขารทั้งหลาย (ขันธ์-5). ขั้นตอนนี้จะเกิดการพัวพัน นัวเนียกัน แยกแยะสังขารทั้งหลายไม่ออกว่า อะไรเป็นอะไร จนกระทั่ง วิญญาณ (ซึ่งรออยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว) ปรากฎตัว เข้าไปยึดเกาะ สังขารทั้งหลาย และแจ้งเบาะแสว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้น คือสิ่งนั้นสิ่งนี้ (นามรูป). จากนั้น ก็เข้าสู่ กระบวนการ ที่เรียกว่า อิทัปปัจยตา – ปฏิจจสมุปบาท (ดูรายละเอียด บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิต), ก่อเกิด สรรพวัตถุ ขึ้นมาเต็มเอกภพ โดยมีอวิชชา และสังขาร เป็นวัตถุดิบ และก่อเกิดสิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย โดยมีอวิชชา และสังขาร เป็นวัตถุดิบประกอบเป็นร่างกาย และมี วิญญาณ เป็นจักรกล ผลิตสิ่งที่เป็นจิตใจ (เช่น กิเลส ตัณหา อุเบกขา สมาธิ ฌาน วิมุตติ) ประกอบลงไปในร่าง. เมื่อรวม อวิชชา สังขาร วิญญาณ เข้าด้วยกัน ก็คือ ขันธ์-5 นั่นเอง.

 

ขันธ์-5 จึงเป็นธัมมะธาตุ ที่มีองค์ประกอบที่ซับซ้อนที่สุด ในเอกภพ และดำรงอยู่ ในทุกมิติเท่าที่มนุษย์รู้จัก. โดยเฉพาะมิติของเวลา วิญญาณ สามารถทะลุทะลวงไปได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เช่นเดียวกับ การแลกเปลี่ยนข้อมูล (สปิน) ข้ามเวลาของอิเล็กตรอน 2 ตัว ผ่าน โฟตอน (แสง) ด้วย วิธีพัวพันกัน (entangled) การพัวกันกันนี้ เกิดขึ้นในอดีต แต่มารู้ข้อมูลในปัจจุบัน [18].

 


[18]
 จากการทดลองหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปใหม่คือ การพิสูจน์ว่า อนุภาค 2 ตัว สื่อสารกันด้วยวิธีการพัวพัน. สภาวะการพัวพันกัน (การรับส่งข้อมูลกัน) ของอนุภาค แม้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใดก็ตาม เกิดขึ้นในอดีต แต่มารู้ข้อมูลในปัจจุบัน เท่ากับว่า อนุภาคเดินทางข้ามเวลาได้. เป็นการลบล้างความทฤษฎีเดิม ที่เชื่อว่า การพัวพันกัน เกิดขึ้นด้วยอัตราความเร็ว กว่าความเร็วแสง. ดู SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 93. March 2019, หน้า 45.

 

ตถาคต เปรียบวิญญาณเหมือนแสง. แสง มีคุณสมบัติอย่างไร ก็พอจะเทียบเคียง คุณสมบัติของวิญญาณ ได้บ้างบางส่วน. แสง เป็นอนุภาคชนิดหนึ่ง มีสถานะเป็นคลื่น ท่อนสั้นๆ จำนวนมากมายเป็นอนันต์ แล้วเคลื่อนที่ไปได้ทั่วเอกภพ. ถ้าวิญญาณมีส่วนที่คล้ายกับแสง ก็อนุมานเป็นข้อสรุปได้ว่า วิญญาณ มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว เป็นจำนวนอนันต์. วิญญาณแต่ละดวง มีช่วงการเกิดที่สั้นมากๆ หลังจากที่วิญญาณเข้าไปเกาะ (ตั้งอาศัยอยู่) ในสังขารทั้งหลาย เพื่อชี้เบาะแส นามรูป ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ว จะดับสลายไปในทันที และทิ้งข้อมูลเล็กๆ (ธาตุรู้) ไว้ในเหตุการณ์ของเวลา เพื่อให้สัตว์ทั้งหลาย นำข้อมูลเหล่านั้น ไปใช้ต่อไป.

 

(4) กาลอวกาศ 4 มิติ จะยึดโยงกับเวลาและแสงเสมอ

 

กาลอวกาศ 3 มิติ อธิบายสิ่งที่เป็นรูปธรรม ได้ทุกชนิด คือ ความกว้าง x ความยาว x ความลึก เท่ากับ ปริมาตรของวัตถุนั้น. แต่ กาลอวกาศ 4 มิติ เป็นการรวมเอาเวลา (อดีต ปัจจุบัน อนาคต) ที่วัตถุนั้นเกิด การเปลี่ยนแปลง ไปรวมกับปริมาตรที่แท้จริง ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงไป. การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ ของวัตถุนั้น อาจเป็นการเปลี่ยนขนาด (ใหญ่-เล็ก) ปริมาตร (ความจุ) ตำแหน่งพิกัด หรือรูปทรง (เช่น กลม เหลี่ยม กระบอก กรวย ท่อ โดนัท) ได้ในทุกกรณี. กาลอวกาศ 4 มิติ เมื่อนำไปอธิบายวัตถุขนาดใหญ่มากๆ เกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ เช่น ดาวฤกษ์ ดาราจักร จะต้อง ยึดโยงกับแสงเสมอ.

 

(5) เวลาสามารถยืดหดได้จริงหรือ?

 

เวลา เป็นธัมมะธาตุ ที่มีความพิเศษเช่นเดียวกับ แสง และ วิญญาณ. เวลาไม่มีเกิด ไม่มีตาย และไร้ขอบเขต. เวลาเป็นพื้นที่สำหรับ สังขตาธาตุ ปรุงแต่งตัวเอง ไปตามเส้นเวลา (timeline) ภายใต้กฎอิทัปปัจยตา ‘เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.' ตถาคต ก็ไม่ได้บัญญัติไว้แต่อย่างใดว่า เวลาสามารถยืดหดได้ เป็นเพียงการอธิบาย ในกรอบอ้างอิงสัมพัทธ ของนักวิทยาศาสตร์ เท่านั้น ซึ่งอ้างอิงความโค้งของกาลอวกาศ และการเดินของแสง ผ่านความโค้งของอวกาศ ตามที่กล่าว ไปแล้ว. ตาม กฎของเวลา ‘เวลาดำรงอยู่ เพราะมีการรับรู้' มีความเป็นไปได้ว่า การรับรู้ของสัตว์ มนุษย์ เทวดา ในภพของตน ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว จะมีขนาดไม่เท่ากัน ไม่ใช่การยืดหดของเวลา.

ถ้าเราไปยืนอยู่ใกล้ แรงโน้มถ่วงอย่างยิ่งยวด เช่นใจกลางของหลุมดำ [19] เราในฐานะผู้ถูกสังเกต จะเห็นเวลาของวัตถุนั้น เคลื่อนที่ช้าลง ยิ่งใกล้เท่าใด ก็ยิ่งช้ามากเท่านั้น. จากการคำนวณของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ถ้าหลุมดำนั้น หนักสิบเท่าของดวงอาทิตย์ เวลาจะเคลื่อนที่ช้าลง 6 ล้านเท่า ที่ระยะความสูง 1 เซนติเมตร เหนือเส้นขอบฟ้าของหลุมดำนั้น, และที่เส้นขอบฟ้า เวลาจะหยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์ แต่การรับรู้เวลา ณ ที่ตรงนั้น ผู้ถูกสังเกต จะไม่รู้สึกเลยว่า เวลาได้ยืดออกไป. ดังนั้น การยืดหดของเวลา จึงเป็นมุมมองของผู้สังเกต ที่อยู่นอกรัศมี ของแรงโน้มถ่วงอย่างยิ่งยวดนั้น.

 


[19]
 จากการศึกษาการยุบตัวของดาวฤกษ์ เป็นหลุมดำ (หลุมดำจะเกิดขึ้นได้จาก ดาวฤกษ์ ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า) ของ ออปเปนไฮเมอร์ (Robert Oppenheimer: 1904 – 1967 A.C.) ค้นพบว่า การไหลของเวลา ณ จุดยุบตัวของดาวฤกษ์ จะแตกต่างกัน เมื่อวัดในกรอบอ้างอิงที่แตกต่างกัน ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยเส้นทางต่างกัน ในเอกภพ. ดาวฤกษ์จะจบตัวเองด้วยความหนาแน่นอนันต์ และมีปริมาตรเป็นศูนย์ ณ จุดนั้นคือ ภาวะเอกฐาน. ปรากฎการณ์นี้ สนับสนุนข้อสรุปว่า สรรพสิ่งในเอกภพ จะสัมพัทธกับเวลาเสมอ. ดู  ธอร์น, คิพ เอส. (รศ.ดนัย วิโรจน์อุไรเรือง แปล).  (2554).  อ้างแล้ว.  หน้า. 238 – 240.

 

อีกกรณีหนึ่ง, สมมุติให้ฝาแฝดคู่หนึ่ง คนแรกไปใช้ชีวิตอยู่บนยอดเขา คนที่สองไปใช้ชีวิตอยู่ที่ระดับน้ำทะเล ผลที่เกิดขึ้นคือ แฝดคนแรกจะแก่ตัว เร็วกว่าแฝดคนที่สอง เหตุเพราะว่า เวลา จะปรากฎเหมือนเดินช้าลง เมื่ออยู่ใกล้วัตถุมวลมาก เช่น โลก. ข้อนี้ นักวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า วัตถุมวลมาก ย่อมมีความโน้มถ่วงสูง. มันจะส่งอิทธิพล ให้พลังงานของแสง ที่เดินทางผ่าน ลดลง และมีผลให้ เวลาเดินทางช้าลงตามไปด้วย. ถ้าเช่นนั้น สิ่งที่อยู่บนสวรรค์ ไม่มีมวล ความโน้มถ่วง อาจมีค่าเท่ากับ หรือใกล้ศูนย์ ทำให้เวลาบนสวรรค์ เคลื่อนไปเร็วกว่าบนโลกมนุษย์ เช่น หนึ่งวันบนสวรรค์ เท่ากับ หนึ่งร้อยปีบนโลกมนุษย์. เหตุการณ์เช่นนี้ ก็ยังจัดว่า เป็นมุมมองแบบสัมพัทธภาพอยู่นั่นเอง (เวลาดำรงอยู่ เพราะมีการรับรู้.)

 

(6) การรับรู้ ในเวลาที่ต่างกัน หรือพร้อมกัน หรือในสถานที่ต่างกัน เกิดขึ้นทันที และไม่ใช่การรับส่งข้อมูลระหว่างกัน.

 

การรับรู้ (มุมมองและความรู้สึก) เกี่ยวกับอนาคต และอดีต ไม่สามารถวัดระยะทาง หรือความเร็วได้. หมายความว่า การรับรู้ ไม่มีระยะทาง ระหว่างอดีต อนาคต ปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัย หนึ่งได้ว่า การรับรู้ ไม่มีเขตแดน.

 

สมมุติว่า นาย ก ยิงนาย ข ตาย (นาย ก กับ นาย ข เป็นผู้ถูกสังเกต) ผู้สังเกตทุกคน ไม่ว่าจะเคลื่อนที่อย่างไร หรืออยู่ ณ จุดใด ย่อมรับรู้ลำดับเหตุการณ์นี้ เหมือนกันหมด. ถ้ากระสุนเดินทาง ด้วยความเร็วเท่าแสง ผู้สังเกตแต่ละคน อาจเห็นระยะเวลาและระยะทาง ระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองแตกต่างกัน โดยที่ -

ผู้สังเกตคนหนึ่ง เห็นนาย ก กับนาย ข ยืนห่างกันในระยะ 1 ปีแสง, นาย ข จะตายเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี. ไม่ว่าผู้สังเกตคนใด จะมองเห็นนาย ก กับนาย ข ยืนห่างไกลกันเท่าใดก็ตาม พวกเขาจะรับรู้ ลำดับเหตุการณ์แบบเดียวกัน คือ นาย ก ยิงปืน แล้วนาย ข ตาย ในเวลาต่อมา.

 

สรุปได้ว่า การยิงปืนของนาย ก เป็น ‘อดีตสัมบูรณ์' ของนาย ข ที่ถูกยิง และ การตายของนาย ข เป็น ‘อนาคตสัมบูรณ์' ของ การยิงปืนของนาย ก. และสมมุติต่อไปอีกว่า ในระยะ 1 ปีแสง หากมีนาย ค นาย ง อยู่ที่นั่น และเขาสองคนตายไป อาจมีความเป็นไปได้ ที่นาย ก เป็นผู้ยิงนาย ค และ นาย ง ตาย หรืออาจไม่ใช่ก็ได้. แต่ถ้าไกลกว่านั้น เช่น ห่างออกไป 2 ปีแสง มีนาย จ ยืนอยู่ และนาย จ ตาย. การตายของ นาย จ ต้องตายด้วยสาเหตุอื่น ไม่ใช่สาเหตุจากการยิงของนาย ก แน่นอน. ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ผู้สังเกตแต่ละคน จะเห็นลำดับสองเหตุการณ์ในระยะ 1 ปีแสง กับ 2 ปีแสง เกิดก่อนหรือหลังกัน. เรียกสองเหตุการณ์นี้ว่า ปัจจุบันสัมพัทธ์ (relative present) .

 

แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูล ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ จะมีปัจจัยเรื่อง ระยะทาง และ ความเร็ว เข้ามาเกี่ยวข้องทันที เช่น การส่งข้อมูลระหว่างอนุภาคสองตัว ที่อยู่ห่างไกลกัน. สมมุติว่า รองเท้าข้างซ้าย เป็นอนุภาค ก รองเท้าข้างขวา เป็นอนุภาค ข, ฝ่ายผู้ส่ง เอารองเท้าคู่นั้น แยกเป็นสองข้าง แล้วสุ่มหยิบ ข้างหนึ่งใส่กล่องใบที่ 1 และหยิบอีกข้าง ใส่กล่องใบที่ 2 จะทำให้ ของที่อยู่ในกล่อง มีความสัมพันธ์กัน แบบพัวพันกัน (entangled) คือ ถ้าแยกรองเท้า ออกมาเป็นข้าง จะได้ ขวา-ซ้าย หรือ ซ้าย-ขวา เท่านั้น ไม่มีทางได้ ซ้าย-ซ้าย หรือ ขวา-ขวา).

 

ทีนี้กล่องใบหนึ่ง ถูกส่งไปขั้วโลกเหนือ กล่องอีกใบหนึ่งถูกส่งไปที่ขั้วโลกใต้. ฝ่ายผู้รับกล่องทั้งสองใบ ไม่มีโอกาสรู้เลยว่า ข้างในกล่อง ใบไหนใส่รองเท้าข้างใด (แต่ทุกคนรู้ว่า มันมาจากรองเท้าคู่เดียวกัน). เมื่อผู้รับกล่องทั้งสองคน เปิดกล่อง (อาจจะพร้อมๆ กัน หรือต่างเวลากัน) ปรากฎว่า กล่องที่ขั้วโลกเหนือ เป็นรองเท้าข้างซ้าย ทำให้ผู้รับกล่องที่ขั้วโลกเหนือ รู้ทันดีว่า ในกล่องที่ขั้วโลกใต้ เป็นรองเท้าข้างขวา โดยไม่ต้องใช้เวลา ในการสอบถามกันเลย. และในทางกลับกัน ผู้รับกล่องที่ขั้วโลกใต้ ก็รับรู้ข้อมูล แบบเดียวกันกับผู้รับกล่อง ที่ขั้วโลกเหนือ.

การรับส่งข้อมูลแบบพัวกันนี้ เดิมทีนักฟิสิกส์ (นิลส์ บอห์ร) เชื่อว่า การรับรู้ข้อมูล มีความเร็วกว่าความเร็วของแสง แน่นอน. แต่กลศาสตร์ควอนตัมใหม่ (อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) บอกว่า การรับส่งข้อมูลแบบพัวกัน เกิดขึ้นแล้วในอดีต (การรับรู้เดินทางย้อนเวลาได้).

การรับรู้แบบย้อนเวลาจะเกิดขึ้นไมได้เลย ถ้าการส่งข้อมูลนั้น ไม่ใช่แบบพัวพันกัน.

เช่น ของที่บรรจุลงในกล่อง ไม่มีความสัมพันธ์กัน เช่น ใส่หมวกที่เหมือนกัน 2 ใบลงไปในกล่อง กล่องหนึ่งสีแดง อีกกล่องสีเขียว หรือ กล่องหนึ่งใส่หินก้อนเล็ก อีกกล่องหนึ่งใส่หินก้อนใหญ่. คนรับทั้งสองฝั่งจะไม่รู้ได้เลยว่า หมวกแตกต่างกันอย่างไร หรือขนาดก้อนหินของอีกฝ่าย มีขนาดใหญ่หรือเล็ก.

 

(7) เอกภพมีขนาด แต่ไม่มีขอบเขต เป็นอย่างไร?

 

สรรพสิ่ง ย่อมมีรูปทรง ทั้งที่วัดค่าได้ และวัดค่าไม่ได้ รูปทรงที่วัดค่าไม่ได้ มักเป็นรูปทรงในจินตภาพ อยู่ในมิติที่ 4. เราไม่รู้แน่นอนว่า เอกภพ เป็นอยู่อย่างไร แต่เราสามาถรับรู้ การมีอยู่ของเอกภพได้ ในจินตภาพ โดยวัดขนาดได้ด้วย จำนวนจินตภาพ (imaginary number - จำนวนจริงเชิงซ้อน ที่มีค่าเท่ากับ ศูนย์). แม้ว่า เอกภพ จะขยายตัวออกไปทุกทิศทาง ไม่สิ้นสุด แต่ในการรับรู้ เรารู้ว่า มันมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่งแน่ๆ ซึ่งถ้าจะวัดขนาด ก็สามารถวัดได้ด้วย หน่วยจินตภาพ ดังที่กล่าวไปแล้ว. และที่กล่าวว่า เอกภพไม่มีขอบเขต เพราะความเป็นรูปทรงกลม ไม่สามารถหาขอบเขตสิ้นสุดได้ เหมือนการเดินของพวกมด บนผิวลูกบอล ซึ่งพวกมันไม่มีทางจะหาเขตสิ้นสุด ของผิวลูกบอลได้เลย.

 

สรรพสิ่ง ย่อมดำรงสภาวะ มิติ กาลอวกาศเสมอ ไม่ว่าจะมีสถานะ เปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม เพราะเหตุที่ (1) สรรพสิ่ง ไม่มีวันหยุดนิ่ง คือ ถ้าไม่เปลี่ยนตำแหน่งพิกัด ก็เปลี่ยนขนาด หรือ ถ้าไม่อยู่ในสถานะสสาร ก็ต้องอยู่ในสถานะพลังงาน และ (2) สรรพสิ่ง คือ สังขตะลักษณะ ถ้าไม่ใช่วัตถุธาตุ ก็เป็นจิตธาตุ. ทั้งวัตถุธาตุและจิตธาตุ รวมกันเป็นเอกภพ จึงส่งผลให้ เอกภพไม่มีขอบเขตไปด้วย เพราะเหตุที่ จิตธาตุ เป็นนามธรรม ที่ไม่สามารถหาขอบเขตได้.

 

(8) เราสามารถสร้างวงกลม และรูปทรงกลม โดยไม่มีจุดศูนย์กลางและรัศมี ได้หรือไม่?

 

วงกลม คือ รูปบนระนาบที่ประกอบด้วยเส้น ซึ่งส่วนตัดของเส้นตรงทุกเส้น ที่เชื่อมกับจุดคงที่จุดหนึ่งภายในรูปนี้ กับจุดบนเส้นนั้น ยาวเท่ากันทั้งหมด และเรียก จุดคงที่ภายในวงกลมนั้นว่า จุดศูนย์กลาง. เราสามารถสร้างวงกลมได้ เมื่อกําหนดจุดศูนย์กลาง และระยะทาง ตามหลักเรขาคณิตแบบยุคลิด.

 

ถ้าเราใช้มโนทัศน์ภายใต้ กรอบอ้างอิงแบบโลก (GMS) เราจะไม่สามารถสร้างวงกลมใดๆ ได้เลย ถ้าไม่กำหนดจุดศูนย์กลาง และไม่มีระยะรัศมี. นั่นเป็นเพราะ เราวางตัวเป็น ‘ผู้สังเกต' แต่การสร้างวงกลมด้วยวิธีอื่น ก็มีทางเป็นไปได้ ถ้าเราเปลี่ยนมโนทัศน์ ไปอยู่ภายใต้ กรอบอ้างอิง สัมพัทธภาพ – ความโน้มถ่วง (RGS) ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพา หลักเรขาคณิตแบบยุคลิด. นั่นหมายความว่า เราจะต้องวางตัวเป็น ‘ผู้ถูกสังเกต' และ เป็นผู้สร้างวงกลมขึ้นในกาลอวกาศ.

 

ทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 การลากเส้น รอบจุดสมมุติจุดหนึ่ง (จุดศูนย์กลาง) โดยให้จุดสมมุตินั้น อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของเส้นที่ลาก จนปลายของเส้นต่อกัน ซึ่งก็คือเส้นรอบวงสมมุติ. วิธีนี้ จะได้วงกลมที่มีเส้นรอบวงบิดเบี้ยว ไม่สม่ำเสมอ หรืออย่างดี ก็ได้เส้นรอบวงเป็นวงรี. แต่ถ้าผู้ลากเส้น กำหนดระยะห่าง จากจุดสมมุติ เป็นระยะทางเท่ากันตลอด ที่ลากเส้นไป ระยะห่างที่เท่ากันนี้ ก็คือเส้นสมมุติรัศมีนั่นเอง.

วิธีที่ 2 ลากเส้นที่สั้นที่สุด (ซึ่งก็คือ จุด) ในแนวระนาบ ขึ้นมาหนึ่งเส้น แล้วต่อด้วยเส้นที่สั้นที่สุด ในแนวระนาบ อีกเส้นหนึ่ง (ซึ่งก็คือ จุด) โดยที่ การลากเส้นที่สั้นที่สุดนี้แต่ละครั้ง ให้เปลี่ยนทิศทางการลากไปซ้าย (หรือขวา) ทุกระยะองศา เช่น 0.1 องศา หรือ -1 องศา (แต่ต้องไม่เท่ากับ 0 องศา). เส้นที่สั้นที่สุดนั้นจะถูกลากต่อๆ กันไปในแนวระนาบ. ทุกๆ ครั้งที่ลากเส้นไป องศาการลาก จะเบนไป 0.1 องศา หรือ จะย้อนกลับไป -1 องศา. จะนำพาให้ปลายของเส้นบรรจบกัน กลายเป็นเส้นรอบวง (ขนาดของวงกลม ขึ้นอยู่กับ การกำหนดค่าองศาการเบี่ยงเบน ไปในแนวระนาบ).

วิธีนี้คล้ายการเส้นทางเดินของ ‘เต่า' ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับเด็ก ชื่อ MicroWorlds ซึ่งควบคุมการเดินของเต่า ด้วยโปรแกรมคำสั่ง ภาษาโลโก (Logo programming language). การสร้างวงกลมด้วยวิธีนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่องานสำรวจด้านอวกาศ. เส้นวงกลมสมมุติในห้วงอวกาศ เช่น เส้นทางโคจรของยานอวกาศ ที่ไปเยือนดาวอังคาร หรือดาวเสาร์ จะถูกสมมุติให้เป็นเส้นโคจรในจินตภาพ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ สร้างเส้นจำลอง ไปควบคุมกลไกของจรวด นำพายานอีกทีหนึ่ง.

 

 

การลากเส้นรอบวง ตามวิธีที่ 2 สามารถวิวัฒน์เส้นรอบวงแต่ละเส้น ให้กลายเป็นทรงกลม 3 มิติได้ โดยให้จุดเริ่มต้น ของการลากเส้นรอบวงแต่ละเส้น มีองศาเบี่ยงเบนไปจากแนวระนาบ เช่น >180 องศา หรือ <180 องศา. เส้นรอบวงที่เกิดจาก การเบี่ยงเบนในแนวระนาบ อาจซ้อนทับกัน ในที่สุดทรงกลมนั้นจะมีขอบเขต รอบทิศทาง 360 องศา คล้ายลูกบอลบรรจุลม หรือลูกฟุตบอล.

เกี่ยวกับ จุด เส้น วงกลม เราสามารถให้คำนิยามใหม่ ภายใต้กรอบอ้างอิงสัมพัทธภาพ ได้ว่า จุด คือ เส้นที่สั้นที่สุด. หรือกล่าวในทางกลับกัน เส้น คือ จุดที่ต่อกันมากกว่า 2 จุด. เส้นรอบวง คือ ส่วนต่อของเส้นโค้งในแนวระนาบถาวร. ใน กรอบอ้างอิงสัมพัทธภาพ - ความโน้มถ่วง (RGL) ไม่มีเส้นตรงที่แท้จริง. เส้นตรงที่ลากไป ในแนวระนาบของผิวโลก ในที่สุดปลายทั้งสองข้าง จะบรรจบกันหรือตัดกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตามความโค้งของผิวโลก. เส้นที่สมมุติว่าตรงในกาลอวกาศนั้น (ในมุมมองของผู้ถูกสังเกต) กลับจะมีความโค้ง เมื่อมันสัมพัทธกับแสง (ในมุมมองของผู้สังเกต).

 

ดังนั้น เส้นตรงสมมุติ ที่สัมพัทธกับแสงและเวลา ในที่สุด ก็ไม่มีเส้นตรงอยู่จริง อันเนื่องมาจาก กาลอวกาศมีความโค้ง นั่นเอง. และหากนำเส้นตรง หรือเส้นใดๆ ไปวางบนอะตอมหรืออนุภาค ตามมาตรวัดในกรอบอ้างอิงควันตัม (QMS) ก็ยิ่งมองไม่เห็นความเป็นเส้นตรงได้เลย. ทำให้มโนทัศน์เรื่อง จุดศูนย์กลาง ระยะรัศมี และ เส้นในแนวระนาบ 180 องศา ตามทัศนะของเรขาคณิตแบบยุคลิด ใช้ได้เฉพาะ กรอบอ้างอิงแบบโลกเท่านั้น.

 

วงกลม อาจมีรัศมีเท่ากับศูนย์ และมีค่าติดลบได้ เช่น เส้นรอบวงของ เส้นขอบฟ้าของหลุมดำ ณ ภาวะเอกฐาน (singularity) รวมทั้ง ปริมาตรทรงตัน จะต้องมีค่ามากกว่า 0 หน่วยลูกบาศก์เสมอ แต่ในกรอบอ้างอิงสัมพัทธภาพ-ความโน้มถ่วง หรือกรอบอ้างอิงควอนตัม ปริมาตรทรงตัน อาจมีค่าเท่ากับ หรือน้อยกว่า 0 หน่วยลูกบาศก์. เป็นไปได้ว่า ในกรอบอ้างอิงจินตภาพ (การสัมผัสที่ 4) อาจมีวัตถุที่มีปริมาตรทรงตัน ที่มีปริมาตรน้อยกว่า 0 หน่วยลูกบาศก์ และไม่มีมวล เช่น ร่างของมนุษย์สวรรค์ (เทวดา) สัตว์ในโลกสวรรค์ สัตว์ในโลกอบาย รวมทั้ง โอปปะปาติกะสัตว์.

 

(9) มนุษย์ต่างดาว ที่มีร่าง 2 มิติ จะเป็นไปได้หรือไม่?

 

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิต 3 มิติ และเราก็อาศัยอยู่ในอวกาศ 3 มิติ ที่มีความโค้ง แต่ในมิติที่ 4 ของกาลอวกาศ ที่อวกาศมีความโค้งมากๆ จะทำให้รูปทรง 3 มิติ แบนราบกลายเป็น 2 มิติ (3 มิติแบน) และเรียกอวกาศที่หายไปนี้ว่า ไฮเปอร์สเปซ (hyperspace) ดังนั้น หากมีสิ่งมีชีวิตใดๆ ตกเข้าไปอยู่ใน ไฮเปอร์สเปซ พวกเขาจะกลายเป็น สัตว์ 2 มิติทันที เมื่อมองจากภายนอก (ผู้สังเกต).

เรื่องของไฮเปอร์สเปซ ในทางพุทธศาสน์ มิได้กล่าวไว้ แต่ตถาคตได้พูดถึง แดนอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ สัตว์ และเทวดา ซึ่งเรียกว่า ภพภูมิ. ภพภูมิ มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่มาก เช่นเดียวกับอวกาศในเอกภพ. สิ่งที่เข้าไปอาศัยอยู่ในภพภูมิ จะมีสถานะและรูปร่าง ที่แตกต่างหลากหลายแบบสุดขั้ว (ทั้งมิติวัตถุธาตุ และมิติจิตธาตุ).

 

คำว่า “มนุษย์ต่างดาว” (exoplanet) มีความหมาย 2 นัย คือ (1) มนุษย์ในแบบของนักวิทยาศาสตร์ ที่อาศัยอยู่ในไอเปอร์สเปซ รวมทั้งมนุษย์โลก ซึ่งมีรูปร่างเป็นได้ ทั้งแท่งทึบแบบมนุษย์โลก และอาจมีรูปร่างเป็นก๊าซโปร่งใส. (2) มนุษย์ในแบบของพุทธศาสน์ ที่อาศัยอยู่ในภพภูมิต่างๆ เช่น ภพภูมิมนุษย์ (มนุษย์โลก เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์) ภพภูมิอบาย (สัตว์นรก เปรตวิสัย) ภพภูมิเทวดา (เทวดา พรหม มาร).

 

(10) สสาร – ปฏิสสาร คู่แฝดผู้ทำลายล้างกันเอง ในมิติของเวลา

 

ปฏิสสาร มีคุณสมบัติเหมือนสสาร ทุกประการ แต่จะมีปะจุไฟฟ้า (charge) ต่างกัน และมี สปิน (spin) กลับข้างกัน. อิเล็กตรอน มีประจุเป็นบวก โพสิตรอน ซึ่งเป็นคู่ของมัน มีประจุเป็นลบ ปฏิสสารของอนุภาคตัวอื่นๆ ก็มี เช่น โปรตรอน – แอนตี้โปรตรอน นิวตรอน-แอนตี้นิวตรอน นิวตริโน่-แอนตี้นิวตริโน่. ธรรมชาติอย่างหนึ่งของสสารคู่แฝด คือ เมื่อสสารและปฏิสสาร เกิดการประลัย (annihilating) ซึ่งกันและกัน พวกมันจะทำปฏิกิริยาหักล้างกันเอง แล้วสลายตัวเป็นพลังงาน.

 

การสลายตัวของสสาร เมื่อทำปฏิกิริยากับคู่แฝด จะมีพฤติการณ์ เช่นเดียวกับ สมการคณิตศาสตร์ -

+1 รวมกับ -1 = 0
+2 รวมกับ -2 = 0
+3 รวมกับ -3 = 0
+n รวมกับ -n = 0n

แต่โอกาสที่ สสารจะเกิดประลัย (annihilating) ซึ่งกันและกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ที่สสารและปฏิสสาร จะมีโอกาสพบกัน ซึ่งไม่มีความแน่นอน.

 

 

การประลัยอิเล็กตรอน-โพซิตรอน (ภาพจาก วิกิพีเดีย)

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

3.2
วัฏจักร
– อนันต์ (cycle–infinity)

 

สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ วัฏจักร-อนันต์

- วัฏจักร – อนันต์ ของวัตถุธาตุ กาลอวกาศ และ จิตธาตุ เป็นอย่างไร

- มโนทัศน์ของ ผู้สังเกต และ ผู้ถูกสังเกต ที่มีต่อ เวลาและระยะทาง

- ปฏิจจสมุปบาท : สายพานของวัฏจักร การเกิด - ดับ ของสังขตาธาตุ

- ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับ วัฏจักร–อนันต์ และเวลา

 

 

วัฏจักร – อนันต์ เป็นลักษณะ – สมบัติ 1 ใน 6 ข้อ ของธัมมะธาตุฝ่ายวัตถุธาตุ คือ มวล – อนุภาค , แรง – คลื่น, อุณหภูมิ – พลังงาน, มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง, วัฏจักร – อนันต์ และ นามรูป – วิญญาณ – สังขาร. วัฏจักร – อนันต์ มีความพิเศษตรงที่ มีกฎของเวลา และ กฎสังขตธรรม มาเป็นคุณสมบัติร่วม สร้างความปั่นป่วน ให้แก่วัตถุธาตุทุกชนิด และรวมทั้งจิตธาตุ ที่เป็นสังขตาธาตุทั้งหมด [20] ให้กลายเป็นวงจรเกิด เสื่อม และแปรเปลี่ยนสถานะระหว่าง สสารกับพลังงาน และระหว่าง นามกับรูป สลับต่อเนื่องวนเวียน เป็นวัฏจักรไปชั่วนิรันดร์.

 


[20]
 สังขตาธาตุ คือ ธัมมะธาตุ ที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ในสายการเกิดของ ปฏิจจสมุปบาท ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ที่อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น เช่น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ... ดู ข้อ 6.1 ความจริงสัมบูรณ์ 3 ประการ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ข้อ 6.2 กฎของเวลา และ ข้อ 6.3 กฎแห่งนิรันดร์ ร่วมด้วย ในบทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ.

 

คาบเวลาของวัฏจักร ของธัมมะธาตุแต่ละชนิด ก็แตกต่างกันสุดขั้ว. ธัมมะธาตุบางชนิดมีอายุสั้น บางชนิดมีอายุยาวนาน การเกิด – ดับของธัมมะธาตุ ที่มีช่วงอายุแตกต่างกันมากมาย ส่งผลให้จักรวาลเกิดความปั่นป่วนไปทั่ว. ปรากฎการณ์เช่นนี้ ตถาคตเรียกว่า สังสารวัฏ และ เรียกอาการอุบัติเกิด และการดับสลายนี้ว่า “การท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ”.

 

เรื่องการคิดค้นทฤษฎีย่อยๆ นักวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ทำกันมามากแล้ว จนเกิดทฤษฎีต่างๆ มากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า ก่อนเอกภพเกิด (ก่อนบิ๊กแบง) มีอะไรอยู่ที่นั่น และหลังเหตุการณ์บิ๊กแบง เมื่อ 13,800 ล้านปีที่แล้ว เอกภพก็ปั่นป่วนด้วยแรงพื้นฐานทั้งสี่ จนต้องขยายตัวเองไปทุกทิศทาง แม้ปัจจุบัน เอกภพก็ยังขยายตัวอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเร็ว 73.5 กิโลเมตร ต่อ วินาที ต่อ 1 เมกะพาร์เซ็ก (1 เมกะพาร์เซก เท่ากับระยะทาง 3.262 ล้านปีแสง) โดยการวัดของ กล้องโทรทรรศน์อวกาศไกอา (Gaia) เมื่อปี ค.ศ. 2009.

ถ้าเช่นนั้น เอกภพจะมีจุดจบอย่างไร. พวกเขาเชื่อว่า หากสามารถรวมแรงพื้นฐานทั้งสี่ ไว้ในทฤษฎีเดียวได้ ก็จะได้คำอธิบายเกี่ยวกับเอกภพ ได้ชัดเจนกว่านี้.

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ยอมรับว่า หลักของความไม่แน่นอน ยังคงเป็นสมบัติพื้นฐานของเอกภพ อยู่ตลอดไป . พวกเขาเชื่อว่า การรวมแรง หรือรวมเอกภพให้เป็นหนึ่ง (ทฤษฎีเอกภาพ) จะต้องรวมเอาหลักการข้อนี้เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง. เพราะสังขตลักษณะ จะยังคงมีอยู่ และเป็นสมบัติติดมากับเอกภพ ไม่สามารถละเว้นไปได้เลย. แต่คำถามที่ยังค้างคาใจ ก็ยังมีอีกหลายข้อ เช่น สื่อของแรงโน้มถ่วง ชื่อ กราวิตอน นั้นคืออะไร? มีความพยายามหาข้อสนับสนุนว่า singurality คือ แดนต่อเนื่องระหว่าง จุดจบ (Big Crunch) และจุดกำเนิด (Big Bang) ของเอกภพ ใช่หรือไม่?

 

ปัญหาเกี่ยวกับเอกภพ ตถาคต ผู้บัญญัติพุทธศาสนา กล่าวไว้หลายแห่ง ด้วยภาษาที่เป็นนามธรรมอย่างยิ่ง. แต่ก็เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ ไม่น่าจะตัดทิ้งไป. เพราะมีหลายเรื่อง ที่คำอธิบายของพระองค์ สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รองรับได้. เช่น พระองค์บอกว่า จะมีวาระคราวหนึ่ง ที่โลกจะต้องเผชิญกับ การแผดเผาของดวงอาทิตย์ พร้อมๆ กัน ถึง 7 ดวง. (บาลี สตฺตก. อํ. 23/102/63.) จากการสำรวจห้วงอวกาศ กาแล็กซี่ทางช้างเผือก ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศไกอา ระหว่างปี ค.ศ. 2014-2016 ได้ค้นพบดาวแคระขาว ชื่อ ไกอา J1738-0826 เป็นดาวฤกษ์ ประเภทเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา แต่อายุมากแล้ว. นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบว่า ดาวฤกษ์ดวงนี้ มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ เพราะมันได้กลืนกินดาวเคราะห์ของตัวเอง จนหมดสิ้น. จากการสังเกตแผนที่ทางช้างเผือก พบดาวฤกษ์กลีเซอ 710 (Gliese 710) กำลังเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ของเรา ในอีก 1,300 ล้านปีข้างหน้า. [21] ปรากฎการณ์ การกลืนกินกันเองของดาราจักร การกลืนกินดาวเคราะห์ของดาวแม่ สามารถรองรับ คำทำนายของตถาคตได้.

 


[21]
 SCIENE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 94. April 2019, หน้า 54–59.

 

 

3.2.1
วัฏจักร
– อนันต์ ของวัตถุธาตุ และกาลอวกาศ

 

(1) เวลาและระยะทาง คือเครื่องจักรกล ที่จะพาสรรพสิ่งท่องเที่ยวไป

 

ในอวกาศที่ “ว่างเปล่า” เต็มไปด้วยอนุภาคมูลฐาน (สสาร) และคู่ของมัน (ปฏิสสาร). คู่อนุภาคเสมือนเหล่านี้ มีพลังงานเป็น ‘อนันต์' หมายความว่า พวกมันก็มีโอกาส จะมีมวลเป็นอนันต์ได้ด้วย. แรงดึงดูดระหว่างอนุภาค เนื่องจากความโน้มถ่วงของพวกมัน จะดึงให้เอกภพหดตัวลง จนมีขนาดเล็กจิ๋ว. นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ พยายามหาวิธีกำจัด “ค่าอนันต์” เหล่านั้น ว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร. ในค่าอนันต์ อาจมีธัมมะธาตุ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จัก อยู่ภายในนั้นก็ได้.

 

หลักอิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่ง (อวิชชา สังขาร วิญญาณ) ที่อุบัติเกิด ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่อาศัยกันและกันเกิด. และในทางตรงกันข้าม การดับสลายของสรรพสิ่ง ก็ต้องดับสลาย ปัจจัยที่ทำให้มันเกิดขึ้น ไปพร้อมๆ กันด้วย (ดูรายละเอียดใน บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิต). ตัวตนของสรรพสิ่ง ตถาคตเรียกว่า ขันธ์-5. พระองค์กล่าวว่า ขันธ์-5 นี่แหละ เป็นผู้ ‘ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ' (สังสารวัฏ = โลกธาตุ จักรวาล เอกภพ). คำว่าท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ก็คือ สิ่งที่ตถาคตเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง ซึ่งเปรียบเสมือเครื่องจักรกล ที่จะพาทุกๆ ธัมมะธาตุ ท่องเที่ยวไป.

 

ตารางที่ 3.01 วัฏจักรการเกิดขึ้น การเสื่อมสลาย ของสังขารธรรม 6

ธัมมะธาตุ | สังขารธรรม

การกระทำ | ตัวขับเคลื่อน

ผล เกิดปรากฎ

วัตถุ สสาร พืช [ก]

แรงพื้นฐานทั้ง 4 และปฏิกิริยาเคมี กระบวนการทางชีวเคมี

อนุภาค สสาร อะตอม โมเลกุล เซล วัตถุ พืช

สัตว์ [ข]

เงื่อนไข และ ความต้องการ
การเอาตัวรอด การดำรงชีพ และการสืบต่อเผ่าพันธุ์

(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)

สัญชาติญาณ การเอาตัวรอด การดำรงชีพ และการสืบเผ่าพันธุ์

(นรก เดรัจฉาน)

มนุษย์โลก [ค]

ผัสสะ

กรรม ภพ ชาติ ชรา มรณะ

 

ตัณหา อุปาทาน

(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

นรก, เดรัจฉาน, เปรตวิสัย, มนุษย์โลก, เทวโลก (สวรรค์)

 

เจตนา
(เจตนา เป็น กรรม)

วิบาก 3 กาล
(ทันที, ถัดมา, ภายหลัง)

 

ความดับไปไม่เหลือแห่งกรรม
(กัมมนิโรธ)

ความดับแห่งผัสสะ

 

ข้อปฏิบัติ เพื่อความดับไปไม่เหลือแห่งกรรม
(กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา)

อริยมรรค มีองค์แปด ; สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

หมายเหตุ

[ก] วัตถุ สสาร พืช

(1) ลักษณะ – สมบัติของ สัตตะธัมมะธาตุ ที่ 1 – 5 (มวล – อนุภาค, แรง – พลังงาน – คลื่น, มติ – กาลอวกาศ – รูปทรง, อุณหภูมิ – พลังงาน, วัฏจักร – อนันต์)

(2) สังขารธรรม ระดับที่ 1 วัตถุ สสาร พลังงาน และ ระดับที่ 2 พืช ไวรัส จุลินทรีย์

(3) จัดอยู่ในประเภท รูปขันธ์ของ กลไกชีวิตจักรวาล – ควันตัม และ กลไกชีวิตจักรกล

[ข] สัตว์

(1) ลักษณะ – สมบัติของ สัตตะธัมมะธาตุ ที่ 1 – 5
(2) สังขารธรรม ระดับที่ 3 สัตว์ และ
(3) จัดอยู่ในประเภท รูปขันธ์ของ ชีวิตระบบขันธ์- 5

[ค] มนุษย์โลก

(1) ลักษณะ – สมบัติของ สัตตะธัมมะธาตุ ที่ 6 – 7 (รูปนาม – วิญญาณ – สังขาร, วิมุตติ – นิพพาน)

(2) สังขารธรรม ระดับที่ 4 มนุษย์ ปุถุชน-อริยชน, ระดับที่ 5 เทวดา, ระดับที่ 6 มนุษย์ ธรรม – อรหัตตชน

(3) จัดอยู่ใน ชีวิตระบบขันธ์- 5 (กลไกชีวะ-ฟิสิกส์ และ กลไกชีวะ-ชีวิต)

 

 

ภาพ - สิ่งเหล่านี้ อยู่ภายใต้หลักการ วัฏจักร-อนันต์.

 

 

ที่จริง วัฏจักร เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ในทางฟิสิกส์ เช่น ธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม รวมกับ ธาตุออกซิเจน 1 อะตอม จะเกิดธาตุใหม่คือ น้ำ (H2(subscript2)O). CERN ได้พิสูจน์การมีอยู่ของ อนุภาคฮิกส์ (Higgs Boson) เมื่อปี ค.ศ. 2014 ได้เป็นผลสำเร็จ ฮิกส์มีมวลประมาณ 126 GeV. มีช่วงอายุการเกิดดับ ที่สั้นมากๆ ประมาณ 1.56 x 10 -22(ยกกำลัง -22) นาที [22] หมายความว่า สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จับได้ เป็น เพียงรอบวัฏจักรหนึ่ง ของอนุภาคฮิกส์เท่านั้น.

 


[22]  รายงานโดย CERN Accelerating sciene Topic : The Higgs boson https://home.cern/topics/higgs-boson และข้อมูลจาก wikipedia.org/wiki/Higgs_boson

 

 

อนุภาคฮิกส์ : ภาพจากปกหนังสือ อนุภาคสุดขอบจักรวาล : เมื่อการตามล่าฮิกส์โบซอนนำเราไปพบประตูสู่โลกใหม่ / ฌอน แคร์โรลล์
เขียน ; เธียรสิน เลี่ยมสุวรรณ แปล, กรุงเทพฯ : มติชน, 2558.

 

 

หอสังเกตการณ์ลิโก (LIGO) ทั้งสองแห่งในสหรัฐอเมริกา และ หอสังเกตการณ์เวอร์โก (VIRGO) ที่อิตาลี ตรวจพบ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational waves) ที่แผ่กระจาย มาจากการชนกัน ของหลุมดำสองหลุม ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 1,800 ล้านปีแสง เมื่อปี ค.ศ. 2015 เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า หลุมดำนั้น มีอยู่จริง ซึ่งเป็นสิ่งพิสูจน์ว่า หลุมดำมีห้วงอายุการเกิดดับ ที่ยาวนานมากๆ.

 

หอสังเกตการณ์ลิโก (LIGO)

 

ภาพ หอสังเกตการณ์ลิโก ค้นพบ คลื่นความโน้มถ่วง ที่เกิดจาก การชนกัน ของหลุมดำสองหลุม

 

(2) การสัมพัทธของเวลา – ระยะทาง ภายใต้มโนทัศน์ของ ผู้สังเกต และ ผู้ถูกสังเกต

 

ความเข้าใจเรื่องเวลาสัมพัทธ กับระยะทาง เช่น การวัดความเร็วของดวงจันทร์ ในการโคจรรอบโลก. กำหนดให้ เครื่องวัดความเร็ว 3 เครื่อง, เครื่องที่ 1 ไปอยู่ ณ บริเวณ ใกล้กับจุดศูนย์กลางโลก เครื่องที่ 2 ไปอยู่ที่พื้นผิวโลก เครื่องที่ 3 ไปอยู่ที่ ดวงจันทร์ แล้วทำการเปรียบเทียบความเร็ว ในการเคลื่อนที่ ณ จุดที่เครื่องวัดทั้งสามเครื่อง ตั้งอยู่.

 

ค่าที่วัดได้คือ เครื่องที่ 3 (ที่ดวงจันทร์) จะวัดได้ว่า ความเร็วรอบ ในการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ จะเร็วกว่า เครื่องที่ 2 (ผิวโลก), และ เครื่องที่ 2 จะวัดความเร็วของดวงจันทร์ ได้เร็วกว่า เครื่องที่ 1 (ที่ศูนย์กลางโลก). ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ เครื่องที่ 3 รับรู้ระยะทาง หรือ space ในการวนหนึ่งรอบของดวงจันทร์ มากกว่า เครื่องที่ 2, และ ที่ตำแหน่ง การวางของเครื่องวัด เครื่องที่ 1 (ใกล้ศูนย์กลางโลก) จะวัดความเร็วของดวงจันทร์ ได้ช้าที่สุด แม้ว่าที่ตำแหน่งเครื่องที่ 1 กับเครื่องที่ 2 จะรับรู้ว่า ดวงจันทร์วนหนึ่งรอบเหมือนกัน แต่มีระยะทาง หรือ space ต่างกันมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการวัดต่างกัน. และถ้านำเครื่องวัด เครื่องที่ 1 ไปวาง ณ จุดศูนย์กลางโลกพอดี ก็จะทำให้เครื่องที่ 1 ไม่สามารถ วัดความเร็วของดวงจันทร์ได้เลย คือ มันจะมองเห็นดวงจันทร์อยู่นิ่งๆ.

 

แต่ในทางกลับกัน ถ้าเรากำหนดให้ ผู้สังเกต ข ยืนอยู่ที่พื้นผิวโลก (ที่เดียวกับ เครื่องวัดที่ 2) และให้ ผู้สังเกต ค ยืนอยู่ที่ผิวของดวงจันทร์ (ที่เดียวกับ เครื่องวัดที่ 3), ผู้สังเกต ข จะมองเห็น หรือรู้สึกว่า ดวงจันทร์ มีการเคลื่อนที่ ขณะที่ผู้สังเกต ค รู้สึกว่าตนเองยืนอยู่นิ่งๆ, และถ้าสมมุติให้ ผู้สังเกต ก ไปยืนอยู่ใกล้ศูนย์กลางโลก เขาก็จะมองเห็นดวงจันทร์ โคจรเร็วกว่า ที่ผู้สังเกต ข มองเห็น. เหมือนกับเรามองดูเครื่องบิน ที่บินอยู่บนท้องฟ้า รู้สึกว่ามันบินได้ไม่เร็วไปกว่านก ทั้งๆ ที่เครื่องบินลำนั้น อาจบินด้วยความ 800 – 1,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่ผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องบิน จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องบินกำลังวิ่งอยู่. ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ผู้สังเกตแต่ละคน มีมโนทัศน์ เรื่องความยาวนานของเวลา ที่แตกต่างกัน.

 

อุปมาเหมือนมนุษย์บนโลก เทวดาบนสวรรค์ และสัตว์ในนรก (ในความรู้สึกของ ผู้ถูกสังเกต) จะรับรู้ระยะเวลาหนึ่งวันเท่ากัน แต่มีความยาวนาน (space) ต่างกันมากมาย (ในความเป็นจริง ที่ผู้สังเกต มองเห็น. ถ้าเปรียบเทียบปรากฎการณ์ ภายในอะตอม, ความเร็วของอิเล็กตรอน (ดวงจันทร์) ที่วนรอบนิวเคลียส (โลก) สามารถใช้หลักสัมพัทธภาพของเวลา มาอธิบายได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถวัดค่าความเร็วได้จริง เนื่องจาก อะตอมมีขนาดเล็กมากนั่นเอง.

 

สำหรับวัตถุที่มีขนาดใหญ่ระดับสุริยะ ดาราจักร เช่น หลุมดำ จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องนำ หลัก สัมพัทธภาพของเวลา ไปอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ภายในหลุมดำ. หากมีวัตถุใดๆ (วัตถุที่ถูกสังเกต) โคจรเข้าใกล้เส้นขอบฟ้าเหตุการณ์แล้ว จะถูกแรงไทดัล ซึ่งเป็นแรงโน้มถ่วงอันยิ่งยวด ดึงดูดให้วัตถุนั้น พุ่งเข้าสู่ภาวะเอกฐาน ซึ่งเป็น จุดศูนย์กลางของหลุมดำ.

ถ้าวัตถุนั้นเข้าใกล้ ภาวะเอกฐานมากเท่าใด เวลาก็จะถูกยืดออกไปนานเท่านั้น จนมีค่าเป็นอนันต์ คือ เวลาหยุดอยู่กับที่. ทำให้เรขาคณิตของอวกาศ ภายในและใกล้หลุมดำ ผิดเพี้ยนไป เกิดความโค้งของอวกาศอย่างรุนแรง แรงไทดัลอันยิ่งยวด จะดึงดูดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่ ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วของแสง ในขณะที่มีพื้นที่อวกาศจำกัดมาก.

เมื่อสัดส่วนของเวลา กับพื้นที่อวกาศที่ผิดเพี้ยน สัมพัทธกัน ทำให้เวลาต้องยืดออกไป เพื่อให้มีสัดส่วนเท่ากับ พื้นที่อวกาศ ที่เหลืออยู่นั่นเอง. จนกระทั่งแรงไทดัล มีพลังเป็นอนันต์ จะฉีกวัตถุทุกชนิด รวมทั้งพื้นที่อวกาศ ให้สลายตัวไปในที่สุด คงเหลือแต่เวลาเท่านั้นที่ยังอยู่. แต่สำหรับผู้สังเกต ที่อยู่ภายนอกหลุมดำ จะเห็นวัตถุที่สังเกต ถูกดึงดูดหายเข้าไป ในใจกลางของหลุมดำ และไม่มีโอกาสหลุดรอดออกมาได้เลย ตลอดกาล. ช่วงอายุของหลุมดำหลุม ก่อนที่มันจะสลายไป จะกินเวลายาวนานมาก จนไม่อาจนับจำนวนที่แน่นอนได้.

จะเห็นว่า เวลาไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่จะสัมพันธ์กับอวกาศเสมอ. ทำให้เวลา กลายเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญ ในการวัดปรากฎการณ์ต่างๆ ที่อุบัติเกิดในเอกภพ.

 

ถ้าสถานที่ใดๆ ในเอกภพ ไม่มีสิ่งใดอุบัติเกิดเลย คือ มีแค่ความว่างเปล่า ไม่มีสนาม (field) ไม่มีเหตุการณ์ (event) ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ (ภาวะศูนย์องศาสัมบูรณ์) เวลาก็ไม่สามารถวัดสิ่งใดๆ ได้เลย.

 

แต่ในความเป็นจริง สสารและพลังงานในเอกภพ ตกอยู่ภายในการปรุงแต่ง ตามกฎสงขตธรรม ในรูปแบบต่างๆ ที่มีความยุ่งเหยิงและความไร้ระเบียบตลอดเวลา โดยอาศัยลูกศรเวลาเป็นตัวชี้. มโนทัศน์ข้อนี้ ถูกนำไปใช้ในกฎอุณหพลศาสตร์ ในปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงของ กระบวนการทางกายภาพ ที่เกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ หรือ เอนโทรปี ได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน (ดูกฎข้อที่ 2 ของ อุณหพลศาสตร์ หัวข้อ 2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน ). แต่ในเอกภพ ก็ยังมีระบบการเกิดของอสังขตธรรม ร่วมอยู่ด้วย. ดังนั้น เวลา จะไม่ส่งผลอิทธิพล ต่อผู้ได้คุณสมบัติ อสังขตาธาตุ แต่จะส่งผล กับสิ่งที่อยู่ภายใต้กฎการปรุงแต่ง หรือ สังขตาธาตุ.

 

(3) สังขตาธาตุ ย่อมอาศัย ศรแห่งเวลา ในการดำรงอยู่

 

เวลา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เวลาจริง กับ เวลาเชิงจินตภาพ. คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เวลาจริง คือ เวลาสัมบูรณ์. เราจะรับรู้เวลาได้ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น. ความยาวนานของเหตุการณ์ใดๆ สามารถกำหนดได้ด้วย เวลาจริง ซึ่งกำหนดได้ด้วยจำนวนตัวเลขเวลา (จำนวนนาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี). ลำดับการเกิดขึ้น ของเหตุการณ์ใดๆ จะมีทิศทางเดียวกันทั้งหมด คือ จากอดีต ปัจจุบัน อนาคต และเรียกพฤติการณ์เช่นนี้ว่า ศรของเวลา (arrow of time).

ตัวอย่าง ศรของเวลา เช่น เหตุการณ์ ก มีแก้วใบหนึ่งวางบนโต๊ะ เหตุการณ์ ข แก้วใบนั้น กำลังหล่นจากโต๊ะ เหตุการณ์ ค มีเศษแก้วแตกกระจายบนพื้น. ลำดับเหตุการณ์ ก ข ค เรียกว่า ศรของเวลา จะบอกจุดเริ่มต้นก่อน และจุดสิ้นสุดภายหลัง. ดังนั้น ศรของเวลา จะไม่มีการย้อนกลับ (เหตุการณ์ ค เกิดก่อน เหตุการณ์ ก ไม่ได้) สิ่งที่ย้อนกลับไปได้นั้น มีอยู่ แต่ไม่ใช่ ศรของเวลา. สิ่งนั้นอยู่ใน หรือคือ เวลาเชิงจินตภาพ.

 

 

A Brief History of Time :
ศจ.สตีเฟน ฮอว์กิง กล่าวไว้ว่า การเพิ่มขึ้นของความไร้ระเบียบ (เอนโทรปี) เกิดขึ้นพร้อมกับ เวลา เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของสิ่งที่เรียกว่า ศรของเวลา (arrow of time), ศรของเวลา จะแยกความแตกต่าง จากอดีตและอนาคต นั่นคือ การบอกทิศทางของเวลา (อดีต ปัจจุบัน อนาคต).

 

 

เปลวเทียน ละลายแท่ง หรือ น้ำไหล จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เป็นปรากฏการณ์ ตามศรของเวลา (entropy time arrow)

 

 

เวลาเชิงจินตภาพ ไม่มีทิศทางที่แน่นอน หรือกล่าวว่า ไม่มีศรของเวลา ในเวลาเชิงจินตภาพ. เพราะเวลาเชิงจินตภาพ ได้รวมเอา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไว้เป็นก้อนเดียวกัน ทำให้มันสามารถย้อนกลับ อนาคตมาปัจจุบันได้ หรือ อดีตข้ามไปอนาคตได้. ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไปผูกติดกับเวลาเชิงจินตภาพไว้ มันก็จะพาสิ่งนั้นติดตามไปด้วย. ถ้าเราเดินทางไปข้างหน้า ในเวลาเชิงจินตภาพ เราก็สามารถเดินทางย้อนกลับได้ ในทิศทางตรงกันข้าม หมายความว่า จะไม่มีความแตกต่างระหว่าง ทิศทางไปข้างหน้าและทิศทางย้อนกลับ.

 

จากตัวอย่าง แก้วหล่นแตก ลำดับเหตุการณ์ ก ข ค ในเวลาเชิงจินตภาพ สามารถย้อนเวลาจาก เหตุการณ์ ค ข ก ได้ในความคิด (หากต้องการให้เป็นเช่นนั้น). อีกตัวอย่างหนึ่งของการย้อนเวลา คือ การย้อนภาพ (reverse) ในภาพยนตร์ . แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตาม เวลาจริง มันแตกต่างกันมาก, นี่คือเหตุผลว่า เพราะเหตุใด คนเราจึงจำอดีตได้ แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับอนาคต เพราะ ปัจจุบันก็คือ อดีตของอนาคตนั่นเอง.

 

เราไม่มีทางวิ่งไล่ตามทันอนาคตแน่นอน. ปัจจุบัน เราอยู่ใน เหตุการณ์ ก (แก้ววางอยู่บนโต๊ะ) จะไม่มีทางเห็น เหตุการณ์ ข (แก้วกำลังหล่นจากโต๊ะ) ได้เลย เพราะ ‘อนาคต ยังมาไม่ถึง'. ถ้า ณ ปัจจุบัน เราอยู่ใน เหตุการณ์ ข เรากลับรู้อดีตได้ดี เพราะเพิ่งผ่านเราไป แต่จะยังไม่เห็น เหตุการณ์ ค (ถ้าเราย้อนกลับไปที่ เหตุการณ์ ก ก็จะมองเหตุการณ์ ข เป็นอนาคต และถ้าเราไปยืนอยู่ใน เหตุการณ์ ค ก็จะมองเหตุการณ์ ก และ ข เป็นอดีตไปแล้ว).

 

สตีเวน ฮอว์กิ้ง แบ่งศรของเวลา ออกเป็น 3 แบบ [23] คือ

(1) ลูกศรเวลาเชิงเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamic arrow of time) ยิ่งเวลาผ่านไป ความไร้ระเบียบ (entropy) ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น.

(2) ลูกศรเวลาเชิงจิตวิทยา (psychological arrow of time) เป็นทิศทางของเวลา ที่เรา ‘รู้สึก' ได้ว่ามันผ่านไป คล้ายเหตุการณ์แก้วหล่นแตก ผลคือ เราจะรู้เรื่องในอดีต แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับอนาคต. และ

(3) ลูกศรเวลาเชิงเอกภพวิทยา (cosmological arrow of time) ทิศทางของเวลา จะเป็นทิศเดียวกับการขยายตัวของเอกภพ.

 


[23]
 สตีเฟน ฮอว์กิ้ง. (2554). อ้างแล้ว. หน้า 218.

 

จะเห็นว่า ศรของเวลาทั้ง 3 แบบ สอดคล้องกับ สังขตลักษณะของสังขตธรรม ที่ธัมมะธาตุถูกปรุงแต่งขึ้นมาได้ ในศรของเวลา. กล่าวคือ, สิ่งที่มี ลักษณะ –สมบัติเป็นวัตถุธาตุ เช่น ธาตุต่างๆ วัตถุ พืช และสิ่งที่มี ลักษณะ–สมบัติร่วม เป็นวัตถุธาตุด้วย จิตธาตุด้วย เช่น สัตว์ต่างๆ เปรตวิสัย มนุษย์ทั้งหลาย จะถูกปรุงแต่งขึ้น ด้วยอวิชชา สังขาร วิญญาณ ... ภพ ชาติ ตามศรของเวลาจริง หรือ ลูกศรเวลาเชิงเทอร์โมไดนามิกส์ และศรของเวลาเชิงจิตวิทยา.

สิ่งที่มี ลักษณะ–สมบัติเป็นจิตธาตุอย่างเดียว เช่น เทวดา และสัตว์นรก จะถูกปรุงแต่งขึ้น ด้วยวิญญาณ สังขาร ตามศรของเวลาเชิงเอกภพวิทยา และศรเวลาเชิงจินตภาพ (ศรเวลาที่ไม่มีทิศทาง), ทำให้พวกเทวดา สามารถเคลื่อนย้ายไป (เหาะ) ในเวลาใดๆ หรือ สถานที่ใดๆ ก็ได้ทั่วเอกภพ.

 

กฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ กล่าวว่า สถานะไร้ระเบียบ ย่อมมีมากกว่าสถานะที่เป็นระเบียบ.

 

กฎข้อนี้ สอดคล้องกับ หลักปฏิจจสมุปบาท เพระเหตุว่า ตามลูกศรเวลาแบบที่ 1 อธิบายได้ว่า อวิชชา สังขาร วิญญาณ คือต้นเหตุของความไร้ระเบียบทั้งมวล “เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย”  ถ้าเอกภพนี้ ไม่มีอวิชชา สิ่งต่างๆ ก็คงไม่ปรากฎขึ้น. การเกิดปรากฎ การเสื่อม ก็คือ ความไร้ระเบียบ นั่นเอง. เพราะไม่ปรากฎการเกิด ไม่ปรากฎการเสื่อม ความเป็นระเบียบจึงปรากฎ.

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบสัดส่วนของความไร้ระเบียบ กับความเป็นระเบียบ แทบจะเทียบกันไม่ได้เลย เพราะความเป็นระเบียบ มักเป็นอดีตไปแล้ว เกิดขึ้นได้ยาก ดุจเดียวกับ จำนวนของสัตว์ มนุษย์ เทวดา รวมกัน ย่อมมีมากกว่า จำนวนพระอรหันต์รวมกัน แบบเทียบกันไม่ได้เลย.

 

 

3.2.2
วัฏจักร
– อนันต์ ของจิตธาตุ

 

(1) ลักษณะสังสารวัฏของจิตธาตุ

 

สิ่งที่ตถาคตหยั่งรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่ง ครอบคลุมทั้งวัตถุธาตุและจิตธาตุ. พระองค์ จึงบัญญัติกฎควบคุมการเกิด การเสื่อม ของสรรพสิ่งขึ้นมา คือ อิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท – อริยสัจสี่  และ สังขตลักษณะ – ธรรมนิยามสาม. (ดูรายละเอียดใน หัวข้อ 6.1 ความจริงสัมบูรณ์ 3 ประการ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ) กฎที่ควบคุมการเกิด การเสื่อม ของสรรพสิ่งของตถาคต เป็นกฎพื้นฐานซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่ตถาคต นำมายืนยันอีกครั้งว่า อิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท – อริยสัจสี่ และ สังขตลักษณะ – ธรรมนิยามสาม ที่พระองค์บัญญัตินั้น มีความเป็นเหตุเป็นผล ที่สามารถพิสูจน์ได้ ยืนยันได้ ปฏิบัติได้จริง.

ข้อธรรมดังกล่าว ยกขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า สังสารวัฏนั้น มีอยู่จริง และสัตว์ทุกผู้ ต้อง เกิด แก่ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และตายในที่สุด แล้วไปเกิดในรอบใหม่วนเวียนเช่นนี้ ตลอดนิรันดร์ โดยที่สัตว์เหล่านั้น ไม่มีโอกาสรู้เลยว่า แต่ละชาติการเกิดของตนนั้น ต้องประสบกับอะไรบ้าง.

วัฏจักร เกิด แก่ ตาย ของสัตว์ทุกผู้ ไม่อาจทำลายลงได้ ถ้าไม่มีตถาคต อุบัติเกิดขึ้นมา. พระองค์ เพียงผู้เดียว ที่หยั่งรู้ และสามารถบอกวิธีทำลายวงจรของ วัฏจักร เกิด แก่ ตาย. และมีเพียงมนุษย์อริยชน และเทวดาอริยชน เท่านั้น ที่สามารถทำลายวัฏจักร เกิด แก่ ตาย ของตนได้. นั่นคือ การตัดรอบสายการเกิดของ ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง. (ดูรายละเอียดใน บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ) ในปฏิจจสมุปบาท จะมีวัฏจักร เกิด แก่ ตาย ของธัมมะธาตุ ที่เป็นทั้งวัตถุธาตุและจิตธาตุ. ผู้ที่สามารถทำลายวัฏจักรการเกิด ในปฏิจจสมุปบาท ได้แล้ว จะเป็นผู้บรรลุธรรม สามารถแยกส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ออกจากจิตธาตุ แล้วเลือกทำลาย เฉพาะวัฏจักรการเกิด ในส่วนที่เป็นจิตธาตุ ผลคือ ผู้นั้นจะจิตใหม่ เป็นอสังขตาธาตุ (นิพพาน).

 

 

ภาพที่ 3.04 ปฏิจจสมุปบาท วัฏจักร เกิด แก่ ตาย ของจิตธาตุ

 

 

ตถาคต แยกสรรพสิ่งออกเป็น รูปกับนาม รวมกันเรียกว่า ขันธ์-5. ความเป็น ‘รูป' ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (ภูตรูป) ซึ่งก็คือ วัตถุธาตุต่างๆ นั่นเอง, ความเป็น ‘นาม' คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ซึ่งก็คือ จิตธาตุ ที่มีการเกิด การวิวัฒน์ จาก มโน วิญญาณ แล้ววิวัฒน์เป็นจิตในรูปแบบต่างๆ เช่น เวทนา ตัณหา ราคะ นันทิ อุปาทาน สังโยชน์ อุเบกขา ฌาน วิมุตติ เป็นต้น จากนั้นก็จะเกิดวัฏจักรของชีวิต จาก ภพ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป.

 

(2) เวลาในจินตภาพ อาจไม่ต้องพึ่งพาตัวเลข เช่นเดียวกับ เวลาของอสังขตลักษณะ

 

เราทราบแล้วว่า ขอบเขตและอายุของเอกภพนั้น มีค่าเป็นอนันต์ ซึ่งสอดคล้องกับ ความยาว นานของสังสารวัฏ หรือ อายุของกัป ที่ตถาคตบัญญัติขึ้น ให้สาวกใช้เป็นข้อมูล ในการจินตนาการให้เห็นภาพ และการรับรู้สังสารวัฏ ที่มนุษย์ สัตว์ และ เทวดา ต้องถูกดึงดูดเข้าไปในวัฏจักรเหล่านั้น. ซึ่งไม่ต่างจากการถูกแรงไทดัล ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลางของหลุมดำ. นักวิทยาศาสตร์ พยายามคำนวณความยาวนานของเวลา ที่ใจกลางของหลุมดำ ซึ่งก็พอจะอนุโลมนำมาเทียบเคียงกับ สังสารวัฏ หรือ อายุของกัปได้.

เวลา พื้นที่ ปริมาตร ของสังสารวัฏ ที่สัตว์ทั้งหลาย ต้องเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความกว้างยาวไกลของจักรวาล ความยาวนานของกัป อายุของเทวดา อายุของนรก โอกาสที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ โอกาสการเกิดในภพนรก จำนวนรอบการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน จำนวนรอบการตายด้วยการถูกฆ่า ปริมาตรของน้ำตาที่เกิดจากความเศร้าโศกเสียใจ ฯลฯ. สังสารวัฏ ก็คือ ค่าอนันต์ของเวลา พื้นที่ และปริมาตร ของมิติกาลอวกาศ ที่ครอบงำและคุมขังของ มนุษย์ สัตว์ และ เทวดา ไว้นั่นเอง.

 

เมื่อไม่สามารถใช้เลขคณิตศาสตร์ มาคำนวณเกี่ยวกับเวลา พื้นที่ ปริมาตร ของสังสารวัฏได้ ตถาคต จึงใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้เห็นจำนวนจินตภาพ ของสิ่งที่พระองค์ยกขึ้นมากล่าวอ้าง เช่น

 

“ ... เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้ว ปัดภูเขานั้น 100 ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป.” [24]

“ ... เปรียบเหมือน เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารี เมื่อล่วงไปทุก แสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออกหนึ่งเมล็ด. ... เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารีนั้น จะพึงถึงความสิ้นไป หมดไปโดยลำดับนี้ ยังเร็วเสียกว่า ส่วน 1 อัพพุทนรก ยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย. ...” [25]

“ ... สมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ. ... จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ? ...”

 

(พระสูตรนี้ ตถาคต ทรงอุปมาให้เห็น ความยาก 3 ประการ – ความยาก ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ความยาก ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะบังเกิดขึ้นในโลก และ ความยากของธรรมวินัย อันตถาคตประกาศแล้ว จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก). [26]

 


[24] “ความนานแห่งกัป นัยที่ 1 นัยที่ 2.”  พุทธวจน – หมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟต์แวร์ ]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 396-399. | บาลี - นิทาน. สํ. 16/215/429., 16/216/431.


[25]  “อายุนรก” พุทธวจน – หมวดธรรม เล่มที่ 11. [ซอฟต์แวร์].  E-Tipitaka v.3.0.7, หน้า 91. | บาลี - ทสก.อํ. 24/181/89.


[26] “โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก.”  พุทธวจน – หมวดธรรม เล่มที่ 9. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.7, หน้า 4. | บาลี มหาวาร. สํ. 19/568/1744.

 

 

ภาพที่ 3.05 วัฏจักรของการเกิด ระบบกลไก ชีวะ-ฟิสิกส์ ตามแบบจำลองของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

 

 

ภาพที่ 3.06 วัฏจักรของการเกิด ระบบกลไก ชีวะ-ชีวิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

 

 

(3) ปฏิจจสมุปบาท : สายพานของวัฏจักร การเกิด - ดับ ของระบบกลไกชีวะ

 

ไม่มีกฎธรรมชาติใด ที่สามารถอธิบาย การอุบัติเกิดของธัมมะธาตุทุกชนิด ได้ชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้อง เท่ากับกฎอิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท – อริยสัจสี่. โดยเฉพาะ ปฏิจจสมุปบาท ได้วางกฎเกณฑ์ การอุบัติเกิด การตาย การปรุงแต่ง สัตว์ทุกผู้ ได้อย่างสมเหตุสมผล ดุจสายพานของระบบกลไกชีวะ ที่กำลังนำส่งชิ้นส่วนไปประกอบเป็นรูปร่าง ชีวิตสัตว์ เป็นเปรต เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา.

 

ระบบการปรุงแต่ง ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใดเลย. เพราะธัมมะธาตุที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเป็นโน่น นั่น นี่, มีสมบัติทางกายภาพ (วัตถุธาตุ สสาร พลังงาน) และมีสมบัติทางจิตภาพ (มโน วิญญาณ จิต) ทั้งสองส่วนร่วมกัน เป็นกลไกชีวะ–ชีวิต ก็มี, มีสมบัติทางกายภาพ เป็นกลไกชีวะ–ฟิสิกส์ เพียงส่วนเดียว ก็มี, มีสมบัติทางจิตภาพเพียงส่วนเดียว ก็มี.

 

ที่กล่าวว่า อวิชชา สังขาร วิญญาณ ไม่ขัดกับหลักฟิสิกส์ ก็เพราะว่า อวิชชา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น วัตถุธาตุ สสาร พลังงาน และส่วนที่เป็น จิตธาตุ. อวิชชา ส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ถูกปรุงแต่งขึ้น (ตถาคต ใช้คำว่า “สังขาร” แทนกิริยาการปรุงแต่ง) จากอะตอม เป็นธาตุต่างๆ รวมกันเป็นโมเลกุล เป็นเซลล์ ขึ้นมา แล้วส่วนของอวิชชาที่เป็นจิตธาตุ ก็เข้ามาร่วมผสมโรง พัฒนาเป็นพืช เป็นสัตว์ (เรียกว่า “สังขารทั้งหลาย”). จากนั้น วิญญาณ ก็เข้ามาทำหน้าที่ ชี้ว่าสังขารทั้งหลายที่ถูก ปรุงแต่งขึ้นนั้น เป็นโน่น เป็นนั่น เป็นนี่ (เพราะวิญญาณ คือ ธาตุรู้). มนุษย์เรารู้จักสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เพราะมีวิญญาณเป็นผู้บอก. ดังนั้น กระบวนการของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก็คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ได้ละเมิดกฎของฟิสิกส์แต่อย่างใด.

การปรุงแต่งทางกายภาพ ได้แก่ สิ่งที่ใช้วัตถุธาตุ สสาร พลังงาน เป็นองค์ประกอบในการเกิด การดำรงอยู่ เช่น พืชต่างๆ แร่ธาตุต่างๆ ที่ใช้ผลิตสิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เทคโนโลยี. การปรุงแต่งชีวิต ที่มีสมบัติทั้งทางกายภาพ และทางจิตภาพร่วมกัน ได้แก่ สัตว์ต่างๆ และมนุษย์ โดยส่วนของร่างกาย ประกอบขึ้นจากธาตุ สสาร พลังงาน (ดิน น้ำ ไฟ ลม) และส่วนของจิตใจ ประกอบขึ้นจาก อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก่อเกิด ภพ ชาติ พาชีวิตดำเนินไป ตามวัฏจักร การเกิดของปฏิจจสมุปบาท. การปรุงแต่งชีวิต ที่มีสมบัติทางจิตภาพส่วนเดียว ไม่มีส่วนที่เป็นวัตถุธาตุเลย ได้แก่ การอุบัติเกิดของพวกเทวดา เปรตวิสัย และสัตว์นรก. การปรุงแต่งชีวิตแบบนี้ จะไม่เป็นที่ยอมรับ จากฝั่งของนักวิทยาศาสตร์ แต่จะเป็นที่ยอมรับ จากฝั่งของพระเจ้า.

 

ปฏิจจสมุปบาท แบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายเกิด และสายดับ. สายเกิด เริ่มที่ อวิชชา ไปจบที่ ชรา มรณะ หลังมรณะ ก็จะวนกลับไปที่อวิชชา ในรอบถัดไป. สายดับ เริ่มที่ดับ อวิชชา หรือ ดับสังขาร หรือ ดับวิญญาณ หรือดับธัมมะธาตุ ลำดับถัดไปก็ได้ แล้วไปสิ้นสุดที่ ชรา มรณะ จะไม่วนกลับไปที่อวิชชาอีก เพราะไม่มีธัมมะธาตุใด เหลือเป็นเหตุปัจจัย ให้ต่อสายพานได้อีก เท่ากับ สิ้นสุดวัฏฏะจักรของการเกิด.

 

ภาพที่ 3.07 วัฏจักรการเกิด-ดับ ของปฏิจจสมุปบาท

 

 

3.2.3
ค่าอนันต์ทางคณิตศาสตร์ กับ วัฏจักร-อนันต์ ของธรรมชาติ

 

เราสามารถพบเห็น ค่าอนันต์ทางคณิตศาสตร์ (?) ได้ในชีวิตประจำวัน. ค่าอนันต์ที่เป็นจำนวน ตรรกยะ เช่น เลขจำนวนเต็ม (จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนเต็มลบ) สามารถบวกหรือคูณกับเลข จำนวนเต็มได้ไม่มีจำกัด. ค่าอนันต์ที่เป็นจำนวนอตรรกยะ เช่น 1/3 (เศษหนึ่งส่วนสาม) = 0.333333 ... หรือ 2 = 1.414213562373095 ... หรือ (พาย) = 3.141592653589793 ... ( ... แทนจำนวนที่เป็นอนันต์) + = และ x =

ค่าอนันต์ในรูปแบบอื่น เช่น จุดที่ต่อกันเป็นเส้นออกไปทั้งสองด้าน จะต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่จำกัด. มดตัวหนึ่ง กำลังเดินบนลูกบอลกลม จะไม่มีโอกาสพบจุดสิ้นสุด ของพื้นผิวของลูกบอล.

 

นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า ค่าอนันต์บางค่า ไม่มีจริงในธรรมชาติ. เช่น หากเราต้องการวัดความยาวของ ชายฝั่งอ่าวไทย เราจะไม่สามารถวัดค่าที่แน่นอนได้ เพราะการวัดแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับว่า เราใช้มาตราส่วนของแผ่นที่ ที่ละเอียดสูงมากเท่าใด. ถ้าใช้มาตราส่วนที่ยิ่งละเอียดเท่าใด ความยาวของชายฝั่งก็จะยาวออกไปเรื่อยๆ เรียกวิธีการวัดค่าแบบนี้ว่า แฟร็กทัล (fractal) ซึ่งมาจากแนวคิดของ เฮลเก ฟอน คอค นัก คณิตศาสตร์ชาวสวีเดน เมื่อปี ค.ศ.1904.

 

ภาพที่ 3.08 รูปทรงเรขาคณิต แฟร็กทัล สร้างจำนวนอนันต์ให้แก่รูปทรง
(ภาพจาก : SCIENCE ILLUSTRATED – March No. 93/2019)

 

 

แนวคิด แฟร็กทัล ทำให้เกิดข้อสรุปว่า เล็กอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่มีจริงในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติในทางฟิสิกส์ มีข้อจำกัดเสมอ. เช่น ไม่มีอนุภาคใด ที่มีขนาดเล็กเกินกว่า ควาร์ก หรือ รายละเอียดที่เล็กที่สุดของธรรมชาติ ที่เป็นความยาว พื้นที่ และเวลา ไม่สามารถสั้นเกินกว่า ค่าของแพลงก์ – วีเลอร์. แต่แพลงก์ กับ วีเลอร์ ยังบอกต่อไปว่า ถ้าสิ่งใดมีขนาดเล็กกว่านี้ สิ่งนั้น ก็คือ ฟองควอนตัม. นั่นเท่ากับ นักวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับว่า สิ่งที่เล็กสุดขั้วนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่กล้ายืนยัน ถ้ายังจับตัวตนของมันไม่พบ.

 

ข้อนี้ อาจเป็นไปได้ว่า สิ่งที่เล็กสุดขั้วเหล่านั้น อยู่ในโลกของจิตวิญญาณ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ คงไม่กล้าเข้าไปแตะต้องแน่นอน. แต่แนวคิดเรื่องบิ๊กแบง และการขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ของเอกภพ จนหาขอบสุดของจักรวาลไม่พบ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ใหญ่อย่างไร้ขอบเขตนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง.

 

ความเป็นอนันต์ ได้สร้างปฏิทัศน์ (paradox) หรือ ความย้อนแย้ง ที่เรามักพบเห็นในชีวิต ประจำวัน หลายเรื่อง เช่น ปัญหาคำทายที่ว่า ‘ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อน' ซึ่งไม่สามารถหาคำตอบที่ยุติได้. เกมต่อคำพื้นบ้านของไทยโบราณ ‘ฝนเอย ทำไมจึงตก ฝนตก เพราะกบมันร้อง ... กบร้อง เพราะท้องมันปวด, กบปวดท้อง เพราะกินข้าวดิบ. ข้าวดิบ เพราะไฟดับ, ไฟดับ เพราะฟืนเปียก, ฟืนเปียก เพราะฝนตก, ฝนเอย ทำไมจึงตก ...' ซึ่งไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้.

ธัมมะธาตุต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วไป ในจักรวาล ก็เพราะวัฏจักร สายเกิด ของปฏิจจสมุปบาท ได้ทำหน้าที่เป็นโรงงาน ผลิตสิ่งที่เรียกว่า สังขตาธาตุ ขึ้นมาเต็มเอกภพ โดยใช้ อวิชชา สังขาร วิญญาณ เป็นวัตถุดิบ. อวิชชา สังขาร วิญญาณ มีอยู่เท่าใด สังขตาธาตุ ก็มีอยู่เท่านั้น'). ดังนั้น สังขตาธาตุ ก็คือความเป็นอนันต์อย่างหนึ่ง ในธรรมชาตินั่นเอง. มีเพียงพระตถาคตเท่านั้น ที่ค้นพบว่า มนุษย์สามารถ ‘กำจัด' ความเป็นอนันต์ของ สายเกิดของปฏิจจสมุปบาทได้.

 

เมื่อความเป็นอนันต์ของ สายเกิดของปฏิจจสมุปบาท ถูกกำจัดออกไป ก็เท่ากับว่า โรงงานผลิตสังขตาธาตุ ได้ถูกทำลายลง ความเป็นอนันต์อีกรูปแบบหนึ่งก็ ‘อุบัติ' ขึ้นมาแทนที่ทันที. ความเป็นอนันต์ ที่อุบัติขึ้นมาแทนที่นี้ จะมีสิ่งสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นมาพร้อมกัน เพื่อไปแทนที่ว่างของ สังขตาธาตุ ที่เพิ่งถูกทำลายลงไป เรียกสิ่งนั้นว่า อสังขตาธาตุ หรือ นิพพานธาตุ. สังขตาธาตุ ถูกทำลายลงไปเท่าใด อสังขตาธาตุ ก็อุบัติเกิดขึ้นมาเท่านั้น') ดุจเดียวกับที่กฎอุณหพลศาสตร์ ข้อที่ 1 กล่าวไว้ว่า กระบวนการใดๆ (ในเอกภพ) พลังงาน อาจเปลี่ยนรูปได้ แต่จะไม่สูญหายไป หรือเพิ่มขึ้นมาเอง (กฎอนุรักษ์พลังงาน) พลังงาน เปลี่ยนรูปเป็นสสาร สสารเปลี่ยนรูปเป็นพลังงาน (E = m c2(ยกกำลัง 2)).

 

ค่าอนันต์ทางคณิตศาสตร์ ไม่สามารถหาที่จบได้ ดุจคำบัญชาของพระเจ้า ที่สร้างความอึดอัดขัดเคือง ให้แก่นักวิทยาศาสตร์. พวกเขาจำเป็นต้องยอมจำนน เพราะค่าอนันต์ มีอยู่จริงในธรรมชาติ “ไม่มีจำนวนใด มีค่ามากกว่าค่าอนันต์.” เป็นเรื่องปกติของนักวิทยาศาสตร์ ที่ไม่ยอมรับค่าอนันต์ ตราบใดที่พวกเขา ยังไม่ก้าวข้าม มโนทัศน์ด้านวัตถุนิยม.

หากจะกล่าวว่า ค่าอนันต์ คือคำบัญชาของพระเจ้า ก็คงไม่ผิด. ในธรรมชาติอันซับซ้อน ของเอกภพ ประกอบด้วย สังขตาธาตุ และ อสังขตาธาตุ. แต่มโนทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ ยังติดอยู่ในกรอบของวัตถุธาตุ ซึ่งเป็นสังขตาธาตุ ส่งผลให้พวกเขา เข้าถึงธรรมชาติอันซับซ้อน ได้อย่างจำกัด. แม้ว่า ค่าอนันต์ จะมีพื้นฐาน มาจากคณิตศาสตร์ แต่นั่นก็เป็นความจริงในธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่ไม่อาจค้านแย้งได้ เช่นเดียวกับ ธรรมชาติของจิต ซึ่งมีอวิชชา สังขาร วิญญาณ เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน และเป็นวัฏจักร ที่วนรอบซ้ำไม่รู้จบ (สังขตธรรม).

 

แต่ในความเป็นอนันต์ ไม่ใช่มีเฉพาะในโลกของสังขตธรรมเท่านั้น, พระตถาคต ทรงค้นพบความจริงอันประเสริฐว่า ความเป็นอนันต์ ก็มีได้ในโลกอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งพระองค์เรียกว่า ที่สุดของโลกบ้าง ที่สุดของทุกข์บ้าง นิพพานบ้าง.

 

มโนทัศน์สัมพัทธภาพ จะเป็นทางออกให้แก่ปัญหาที่ว่า จะจัดการอย่างไรกับค่าอนันต์ และวัฏจักร–อนันต์ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ. มโนทัศน์สัมพัทธภาพ เป็นมุมมองที่จำกัดอยู่ในกรอบอ้างอิงใด กรอบอ้างอิงหนึ่ง ไม่ว่าปรากฎการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่เกิดขึ้น จะมีปรากฎการณ์ อีกอันหนึ่งซ่อนอยู่ (ดุจคู่แฝด) แต่เรามองไม่เห็น. เช่น แก้วที่วางอยู่บนโต๊ะ กับ เศษแก้วที่แตกละเอียดบนพื้น เรามักมองด้วยมโนทัศน์เชิงเดี่ยว ว่าแก้วที่วางอยู่บนโต๊ะ คือเป็นสิ่งของที่ยังใช้การได้ ส่วนแก้วที่แตกบนพื้น เป็นของเสียแล้ว. ความจริง มีปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับแก้วทั้งสองใบ พร้อมกันในมิติของเวลา. กล่าวคือ แก้วที่อยู่บนโต๊ะ ณ ปัจจุบัน ความจริงก็คือ เศษแก้วในอนาคต ที่อยู่บนพื้น. ในทำนองเดียวกัน เศษแก้วบนพื้น ณ ปัจจุบัน ก็คือ แก้วดีที่อยู่ในสภาพดีบนโต๊ะในอดีต นั่นเอง.

เมื่อเรานำมโนทัศน์สัมพัทธภาพ มาใช้กับปรากฎการณ์ความเป็นอนันต์ หรือแม้กระทั่ง ค่าอนันต์ทางคณิตศาสตร์ จะพบว่า ค่าอนันต์จะมีจริงหรือไม่มีจริงในธรรมชาติก็ตาม มนุษย์สามารถหาประโยชน์ จากความเป็นอนันต์ได้ ดังที่พระพุทธเจ้า ได้ทำมาแล้ว คือ เมื่อตัดวัฏจักรสายเกิด ของปฏิจจสมุปบาท ได้เมื่อใด ก็จะพบความเป็นอนันต์ของ นิพพาน ได้ทันที.

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

ข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับ วัฏจักร – อนันต์ และเวลา

 

(1) อนันต์ เป็นความยั่งยืนและแผ่ไพศาล ตลอดกาล

 

ตถาคต กล่าวว่า สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่ง ไม่เที่ยง (อนิจฺจา) ไม่ยั่งยืน (อธุว) เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก) (บาลี สตฺตก. อํ. 23/102/63 ). และสังขารทั้งหลาย เกิดปรากฎ เสื่อมปรากฎ อยู่ตลอดเวลา. กล่าวได้ว่า สังขารทั้งหลาย มี ลักษณะ–สมบัติ เป็นสังสารวัฏ และมีความเป็นอนันต์ เช่นเดียวกับ เอกภพ และสรรพสิ่งในเอกภพ. แต่ตถาคต ใช้คำว่า โลกธาตุ แทนสรรพสิ่งและเอกภพ. ทั้ง ‘สรรพสิ่ง' ‘เอกภพ' ‘โลกธาตุ' ต่างก็มีลักษณะที่เป็นอนันต์ร่วมกัน 2 ประการ คือ ไม่สามารถกำหนดระยะทาง และ ระยะเวลา อันเป็นขอบเขตได้.

แม้ว่าโลกธาตุ ไม่สามารถแบ่งขอบเขตด้วย ระยะทาง แต่ตถาคต กล่าวว่า จะไม่มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ในโลกธาตุเดียวกัน. นั่นเท่ากับว่า พระองค์ ทรงใช้ระยะเวลา (ช่วงเวลาที่มีพระพุทธเจ้ามาเกิด) เป็นเส้นแบ่ง โลกธาตุ. หากเป็นเช่นนั้น การแบ่งหรือการกำหนดขอบเขตของ โลกธาตุ หรือ เอกภพ ตามแนวคิดของ สตีเฟ่น ฮอว์กิง ซึ่งกล่าวไว้ว่า เอกภพมีขนาด แต่ไม่มีขอบเขต. ก็สอดคล้องกับสิ่งที่ตถาคตตรัสไว้ ในข้อที่ว่า ระยะเวลาก็ไม่มีขอบเขตเช่นกัน.

 

(2) มนุษย์ผู้ประพฤติธรรม “อยู่ในวิถี” ของตถาคตได้แล้ว สามารถปลดแอกให้แก่ตนเอง โดยการตัดสายพาน การเกิดปฏิจจสมุปบาทได้แล้ว ไม่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของเวลา.

 

เราไม่อาจหยุดยั้งกาลเวลาได้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ. เวลาเป็นธัมมะธาตุเพียงสิ่งเดียว ที่ทะลุทะลวงไปได้ทุกมิติ ทุกพื้นที่ทั่วเอกภพ. แต่ถ้ามนุษย์ผู้ใด สามารถปฏิบัติ สัมมาอริยมรรค มีองค์ 8 ประการ ตามวิถีที่ตถาคตบัญญัติได้ จนกระทั่งจิตหลุดพ้น เขาผู้นั้นก็จะเป็น อมตชน อยู่เหนือกาลเวลา. พระองค์กล่าวว่า “ ... ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา , สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) : เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้ . ... ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ;” [27] ปุพพันตานุทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นที่ว่า รูปร่างขันธ์-5 ที่เกิด มี ในอดีต. อปรันตานุทิฏฐิ หมายถึง รูปร่างขันธ์-5 ที่เกิด มี ในอนาคต.

 


[27] “ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์.”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 1. [ซอฟต์แวร์]. E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 45. | บาลี - ขนฺธ. สํ. 17/57/93.

 

 

ชีวิตหลุดพ้น หมายความว่า ร่างกายที่มนุษย์ผู้นั้นครอบครองอยู่ ก็จะเป็นวาระรอบสุดท้าย, เมื่อตายไป เขาย่อมหลุดพ้นจากวงจร การเกิดในรอบใหม่, เมื่อไม่มีเกิด ก็ไม่มีแก่ ไม่มีตาย (อมตะ). เขาย่อมหลุดพ้นจาก วัฏจักร ในการเป็น สังขตาธาตุ. ขณะที่เวลายังดำเนินไป แต่เขาไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขใดๆ ของเวลาอีกต่อไป.

 

(3) ปรากฎการณ์ แก้วหล่นแตก จะมีทางป้องกันได้หรือไม่?

 

แก้วใบหนึ่ง วางอยู่บนโต๊ะใกล้หน้าต่าง และมีลมพัดกรรโชก ทำให้แก้วหล่นลงมาแตกที่พื้น. แก้วแตกเพราะอะไร ถ้าตอบตามกฎฟิสิกส์ บอกได้ว่า นั่นเป็นปรากฎการณ์ entropy ที่เกิดขึ้นตามลูกศรเวลา. แก้วแตก เพราะแรงลม ผลักให้แก้วเคลื่อนไปจนพ้นขอบโต๊ะ และแรงโน้มถ่วงของโลก ดึงดูดแก้วให้ตกลงที่พื้น โมเลกุลของแก้วแยกออกจากกัน แก้วจึงแตก . แต่ถ้าตอบตามกฎอิทัปปัจจยตา แก้วแตก เพราะ “มีแก้ว” (‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี' – ถ้าไม่มีแก้ว ก็ไม่มีแก้วแตก). วิธีแก้ปัญหาแก้วแตก แบบวิทยาศาสตร์ คือ อย่าวางแก้วใกล้หน้าต่าง หรือปิดบานหน้าต่าง หลังวางแก้ว. ปรากฎการแก้วหล่นแตก ยังคงมีอยู่ต่อไป ตราบใดที่ยังมี ‘แก้ว' และมี ‘แรงโน้มถ่วงของโลก' ปัญหานี้ น่าจะมีทางออกที่นุ่มนวลกว่านี้ คือ อย่าใช้แก้วเป็นภาชนะ (ให้ใช้อย่างอื่นแทน).

 

เวลา ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีอุบัติ. เวลา มีอยู่ตั้งอยู่แล้วเช่นนั้นเป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตา) เป็นกฎตายตัวของธรรมชาติ (ธัมมะนิยามตา). เวลา ก็เป็นเช่นนั้นของมันเอง (ตถตา) ไม่ผิดไปจากที่มันเป็น (อวิตถตา) ไม่แปรปรวนไปเป็นอย่างอื่น (อนัญญะถตา). เวลา เป็นเสมือนบริเวณที่ไร้ขอบเขต เพื่อให้สังขารทั้งหลาย และปรากฎการณ์ต่างๆ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น และดำเนินไป
(อิทัปปัจจยตา) ตามกรวยเวลา (time cone | timeline)
ที่สมมุติขึ้น.

 

 

[อ่านต่อ] บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน 

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ

บทความ (สรุปจากหนังสือทั้งเล่ม)

 

 

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net