หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

ภาคที่ 3
รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง

บทที่ 30   ฝันที่เป็นจริง

ตอนที่ 100

แต่งกับงาน

ตอนที่แล้ว ... ตอนที่ 99/105

 

บ้านหลังใหญ่ ของประธานนครรัฐ ดูเงียบเหงาไปมาก หลังรจนาไม่อยู่. สมลักษณ์ ทั้งโกรธและเสียหน้า ที่ลูกสาวหายไปจากบ้าน โดยไม่ทราบสาเหตุ. นอกจาก ท่านหญิงมณฑิรา เท่านั้นที่รู้. งานบริหารนครรัฐก็กำลังอยู่ในภาวะยุ่งๆ สร้างความรู้สึกลำบากใจและว้าวุ่น ให้กับท่าน และยังหาทางออกไม่ได้.

เช้าวันนี้ ประธานสมลักษณ์ ต้องออกไปทำงานตามปกติ. มณฑิรา รู้สึกเป็นห่วงสุขภาพจิตของสามี เพราะต้องเผชิญกับปัญหาทั้งสองด้าน. เธอเข้าไปช่วยสามี จัดเสื้อผ้า ผูกไท ที่หน้ากระจก และถือโอกาสพูดให้เขารู้สึกสบายใจ.

 

“คุณพี่อย่าไปโกรธลูกเลย ลูกเราก็โตแล้ว ช่วยเหลือตัวเองได้ อีกไม่กี่วัน เค้าก็กลับมาเองนั่นแหละค่ะ”

“หนีตามผู้ชายไปน่ะเหรอะ ช่างไม่มีความคิดเอาซะเลย คุณรู้ไหม๊ว่า ผมเสียหน้าขนาดไหน ผมจะไม่ยอมให้มาเหยียบบ้านนี้อีก”

“คุณพี่รู้ได้ยังไง ว่าลูกจะทำอย่างงั้น?”

“นี่คุณ ดูลูกไม่ออกรึไง ที่ไม่อยากไปปารีสน่ะ ก็เพราะหลงไอ้หนุ่มนั่น จนลูกเราเสียคนไปแล้ว คุณรู้ไว้ซะด้วย”

“คุณพี่คิดเอาเอง ลูกของเราอาจจะไปอยู่บ้านเพื่อน ที่ไหนสักแห่งก็ได้ และไม่อยากให้เรารู้ ลูกอาจจะรู้สึกอึดอัดก็ได้ ประเดี๋ยวเขาสบายใจ ก็กลับมาเองนั่นแหละน่า”

“คุณน่ะ ตามใจลูก จนเสียคน”

 

กริ๊ง! กริ๊ง! กริ๊ง!

 

เสียงโทรศัพท์ เข้ามาที่เครื่องรับของ มณฑิรา เธอปลีกตัวออกไปรับสาย.

“ท่านหญิงคะ หนูมีเรื่องสำคัญจะบอกค่ะ แต่เป็นความลับนะคะ รจนา เค้าไม่อยากให้ใครรู้ นอกจากท่านค่ะ”

 

“กลับมาคราวนี้ ผมจะส่งไปที่สนามบินด้วยตัวของผมเอง”

สมลักษณ์ ยังคงพูดเรื่องลูกไม่เสร็จ, ขณะที่ มณฑิรา พูดเสร็จ ก็รีบตัดสาย.

“เดี๋ยวฉันจะโทรกลับไป”

“ค่ำนี้ ผมมีข้อตกลงกับท่านพาหิระ อาจอยู่ค่ำสักหน่อย ไม่ต้องรอผมนะ ... เฮ้อ! เรื่องมันยุ่งจริงๆ ให้ตายซิ”

 

สมลักษณ์ ออกจากบ้านไปแล้ว. มณฑิรา รีบโทรบอก เอื้องทิพย์ ให้มาพบที่บ้าน.

 

เวลาผ่านไป 15 นาที เอื้องทิพย์ ก็มาถึง และบอกในสิ่งที่ รจนา ต้องการจะให้แม่ช่วย. ท่านหญิงมนฑิรา ตกใจ แทบประคองตัวไม่อยู่ เพราะคาดไม่ถึงว่า ลูกสาวจะกล้าทำเรื่องที่สวนทางกับพ่อ. นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเสียแล้ว, ถ้าเรื่องนี้รู้ไปถึงหูของสามี เธอก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่า เรื่องราวจะลุกลามไปมากมายแค่ไหน.

 

มณฑิรา นั่งทำใจสักครู่ พร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวทั้งหมด โดยละเอียด.

 

“รจนา ลูกหนอลูก ไม่น่าทำอย่างนี้เลย” มณฑิรา ขมวดคิ้ว ส่ายหน้า รำพึงกับตัวเอง “ป้าน่ะ เพิ่งจะยืนยันกับพ่อของเค้าว่า รจนาจะไม่มีวันทำอย่างนี้เป็นอันขาด ... พ่อของเค้าคิดถูกแล้ว ที่จะส่งลูกไปปารีส แต่คนผิดมันอยู่ที่ป้าเอง แล้วนี่จะทำยังไงกันดี”

“ท่านหญิงคะ รจนา เธอตัดสินใจทำแบบนั้น ก็เพราะเธอมีเหตุผลของเธอเอง”

“เหตุผลบ้าๆ นะซิ ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนน่ะ”

 

“หนูขอออกความเห็นหน่อยได้ไหม๊คะ? ไหนๆ เรื่องก็เป็นไปแบบนี้แล้ว ... ตั้งแต่หนูทำงานร่วมกับรจนา เธอไม่เคยเป็นเด็กเกเรเลย แต่มาระยะหลัง หลังเกิดเหตุไฟไหม้ที่สันติอรุณ หนูรู้สึกว่า รจนาเปลี่ยนไป เพื่อนของหนูมีใจให้กับคนในชุมชน ผู้ชายที่พาท่านหญิงเดินดูงาน เมื่อวันนั้นแหละค่ะ มันมีเรื่องประหลาดที่เกิดกับตัวเขา อาจเพราะเหตุนี้ก็ได้ ที่ทำให้เพื่อนของหนูรักเขา”

“เขาชื่ออะไรนะ พ่อหนุ่มคนนั้นน่ะ?”

“สังขวุฒิ ค่ะ”

“แล้วหนูว่าเค้าเป็นยังไงบ้าง ในสายตาของหนูน่ะ?”

“เขาเป็นผู้ชายที่แปลกมากๆ ค่ะ หนูคิดว่า เขามีอะไรดีๆ ที่คนในวัยเดียวกันไม่มี และทำไม่ได้”

“อะไร ที่หนูว่าเขาดูแปลกๆ น่ะ?”

“หนูว่า เป็นเรื่องมหัศจรรย์มากกว่า ไม่ทราบว่า ท่านหญิงจะรับฟังได้หรือไม่?”

“เรื่องอะไรรึ?”

 

“เรื่องนี้ หนูก็ไม่ได้เห็นกับตาตัวเอง แต่ชาวชุมชนเขาพูดกัน พวกเขาคงไม่โกหกหรอกค่ะ สำหรับคนที่ถือศีลเคร่งขนาดนั้นน่ะ คือ ร่างกายเขาเปลี่ยนไป ภายในคืนเดียว ก็คืนวันเกิดเพลิงไหม้ นั่นแหละค่ะ จากคนป่าพูดไม่ได้ กลายมาเป็นคนปกติ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า เพราะอะไร”

“ป้าจะเชื่อในสิ่งที่หนูบอกนี่ดีไหม๊เนี่ยะ?”

“แต่อีกเรื่องหนึ่ง ที่หนูก็สงสัยเหมือนกัน สำหรับตัวเขา”

“อะไรอีกล่ะ?”

“คือ เขาไม่ได้เรียนหนังสือเหมือนพวกเรา แต่สิ่งที่เขาคิดเขาทำ เหมือนกับคนผ่านการศึกษามามากยิ่งกว่าพวกหนูซะอีก”

“นี่ตกลง หนูเชียร์เขา เพื่อจะให้ป้าทำในสิ่งที่เพื่อนของหนูต้องการ อย่างงั้นรึ?”

 

“ก็ยังดีกว่า ปล่อยให้เรื่องมันค้างคาอยู่อย่างนี้ คนในชุมชนเล็กๆ นั่น เขาถือสาเรื่องเหตุชู้สาวในชุมชนด้วยละค่ะ ชายหญิงถ้าจะอยู่ด้วยกัน จะต้องทำให้ถูกต้องตามประเพณี ไม่อย่างนั้น รจนา จะถูกสังคมตำหนิได้ และแต่ถ้าปล่อยนานๆ ไป ฝ่ายผู้หญิงอย่างเรา จะยิ่งเสียหายไปกันใหญ่”

 

“หนูคิดอย่างนั้นมันก็ถูก แต่ป้าจะทำยังไงกับพ่อของเค้าล่ะ”

 

...

 

ในที่สุด พิธีแต่งงานเล็กๆ ลับๆ และเรียบง่าย ก็ถูกจัดขึ้น ที่ชุมชนแห่งที่สอง ในโครงการชีวิตใหม่หัวใจพอเพียง ริมบึงน้ำเจ้าพระยา. พ่อใหญ่รักพูน เป็นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว และ ท่านหญิงมณฑิรา เป็นตัวแทนของญาติ ฝ่ายเจ้าสาว.

 

แม้ว่างานนี้ ไม่ต้องการให้เอิกเกริก แต่ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาว เป็นที่รักของคนทั้งชุมชน. จึงไม่อาจห้ามพวกเขาได้ ที่จะมาแสดงความยินดี และอวยพรคู่บ่าวสาว แบบยกกันมาทั้งหมู่บ้านก็ว่าได้..

งานนี้ อนุญาตเฉพาะชาวสันติอรุณเท่านั้น ไม่มีคนนอกแม้แต่คนเดียว, ของขวัญที่คู่บ่าวสาวได้รับ เป็นผลิตผลของชาวชุมชน.

 

ที่น่าสนใจก็คือ สิงห์ดำ กับ โสนน้อย ร่วมกันสร้างกังหันลมแบบชิงช้า มอบเป็นของขวัญแต่งงาน.

กังหันลมแบบชิงช้า จะมีใบพัดที่วางแบบแนวนอน ติดกับข้อเหวี่ยงคล้ายชิงช้า แทนที่จะเป็นข้อหมุนแนวตั้ง แบบใบพัดทั่วไป ลมที่ปะทะใบพัดส่วนล่าง ก็จะเป่าให้มันหมุนขึ้นไป และเมื่อเหวี่ยงไปจนถึงจุดสูงสุด มันก็จะหมุนตกลงมาที่เดิม เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สามารถรับลมอ่อนก็ได้ ลมแรงก็ได้ ซึ่งเหมาะกับสภาพลมที่บึงน้ำเจ้าพระยา.

 

...

 

รุ่งอรุณอีกวันหนึ่ง ณ สันติอรุณ, ลำแสงแรกที่พาดผ่านเหนือดินแดนชุมชนเล็กๆ สวยงามราวกับสวรรค์บนดิน. มองไปในทิศทางใด ก็จะพบสวนธรรมชาติที่ถูกจัดแต่งไว้ ต้อนรับแขกที่มาเยือน.

 

มองเห็นลำธารน้ำเล็กๆ ทอดตัวไหลผ่านไปรอบๆ หมู่บ้าน. ถนนหลักพาดผ่านกลางชุมชน มีขนาดกว้างราว 10 เมตร ไม่ได้เป็นเส้นตรง เหมือนที่สถาปนิกออกแบบ. แต่เป็นแนวโค้ง เหมือนเจตนาให้เป็นเช่นนั้น. มันถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ซีกหนึ่ง กับทางเดินที่ปูด้วยก้อนกรวด ขนาบข้างยาวตลอดทั้งเส้น ในสัดส่วน 3 ต่อ 1.

 

ถนนจากทางเข้าด้านหน้า ไปจนจรดด้านหลังของชุมชน จะผ่านอาคารหลังคารูปโดม ที่ตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เหมือนเป็นวงเวียนขนาดใหญ่. มีถนนสายรอง พาดผ่านอาคารหลังคารูปโดมเช่นกัน ทำมุมเก้าสิบองศา เหมือนเส้นกากบาท. อาณาเขตของชุมชน ถูกขีดขั้นด้วยกลุ่มก้อนหินบ้าง ผนังปูนซีเมนต์บ้าง กอไผ่บ้างสลับกันไป.

 

แม้จะมีเนื้อที่จำกัด แต่ภายในชุมชน ได้ถูกจัดแบ่งพื้นที่ ให้มีอาคารส่วนกลางของชุมชน ในหลายๆ จุด. สามารถมองเห็นพื้นที่เพาะปลูกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตก. แสดงให้เห็นว่า คนที่นี่ ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่เป็นพื้นฐานชีวิตของพวกเขา ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน.

 

3 ปีผ่านไป.

 

สันติอรุณ ได้รับการพัฒนาเป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีความพร้อมและศักยภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ การค้า การสื่อสาร การศึกษา สุขภาพและสิ่งแวดล้อม, ภายใต้การบริหาร ของกรรมการชุมชน ซึ่งมี สังข์ และเพื่อนๆ ร่วมงานอยู่ด้วย.

 

ความมั่นคงของสันติอรุณ มาจากการสนับสนุน ของโครงการชีวิตใหม่หัวใจพอเพียง ที่บึงน้ำเจ้าพระยา ซึ่ง สังข์ และ รจนา รับผิดชอบโดยตรง. กลายเป็นโครงการใหญ่ ที่มีความพร้อมทั้งจำนวนสมาชิก เครื่องจักร โรงปุ๋ย โรงจัดการขยะ แปลงกสิกรรม เตาพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากกังหันลม โรงงานแปรรูปสมุนไพรเป็นยา โรงงานผลิตยนต์ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ก็กำลังก่อสร้างขึ้น.

สังข์ เดินทางไปมาระหว่าง สันติอรุณกับบึงน้ำเจ้าพระยา, เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายงาน ให้มีความต่อเนื่องตลอดเวลา. จนทำให้สันติอรุณ เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปอีกก้าว.

สิงห์ดำ เอื้อย โสนน้อย เป็นกลจักรสำคัญ ร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ช่วยกันผลักดัน ให้การก้าวกระโดดของชุมชน เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว.

 

เอื้อย ได้รับบรรจุเป็นหัวหน้าพยาบาลของชุมชน, อยู่ประจำโรงพยาบาลสันติอรุณ. สิงห์ดำ ย้ายมาประจำฝ่ายข่าวและการสื่อสาร. โรงเรียนสันติอรุณ ก็ยังคงเปิดทำการปกติ มีครูเพ็ญพร เป็นครูใหญ่, โสนน้อยได้รับบรรจุเป็นครูจริงๆ. เธอได้รับมอบหมาย สอนนักเรียนชั้นประถม 4 - 6 วิชาสังคมศึกษา ตามที่เธอถนัด.

 

เช้านี้ บรรยากาศร่มรื่นดีมาก, โสนน้อย พานักเรียน 20 คน เดินเรียงแถวกันไป ที่สนามหญ้าริมลำธาร ใต้ร่มต้นจามจุรี ไม่ห่างไกลจากระเบียงห้องพักครูใหญ่เท่าใดนัก.

นักเรียนนั่งล้อมวงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โสนน้อย นั่งลงบนแผ่นหินใหญ่ ท่ามกลางวงล้อมของกลุ่มนักเรียน.

 

“นักเรียนรู้ไหมว่า ในที่ดินที่แห้งแล้ง มีต้นอะไร ที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้”

“ต้นกระบองเพ็ชรค่ะ” เด็กหญิงวิภา ยกมือตอบ.

“ต้นตึกครับ”

เสียงตอบของ เด็กชายต้นกล้า พาเพื่อนทั้งชั้นหัวเราะ.

 

“ต้นกล้า ไปเอาคำตอบนี้มาจากไหนคะ?” โสนน้อยถาม.

“ก็มันขึ้นเต็มไปหมด ออกไปข้างนอกก็มี” ต้นกล้า ตอบแบบซื่อๆ.

“ไม่เอา เอาที่เป็นต้นพืชซีจ้ะ”

“ต้นหญ้าค่ะ” เด็กหญิงพิมพ์พิลาส ตอบ.

“น้องพิมพ์ ตอบได้ตรงใจพี่เลย ประเดี๋ยวพี่จะให้หนูช่วยอ่านบทกลอนเพราะๆ ให้เพื่อนๆ ฟังนะจ้ะ แล้วให้ช่วยกันตั้งชื่อเรื่องในบทกลอนด้วย ตกลงนะจ้ะ”

 

เสียงอ่านของ เด็กหญิงพิมพ์พิลาส.

 

“แม้เป็นเพียง ดอกหญ้า ด้อยค่านัก
ไม่สูงศักดิ์ เทียมเท่า เหล่าพฤกษา
ยอมให้คน เหยียบย่ำ หนำอุรา
ด้อยราคา น้อยคุณค่า น่าช้ำใจ

 

ถึงเป็นแค่ กอหญ้า ก็อารีย์
มวลชีวี ล้วนมีค่า ได้อาศัย
ปกป้องแดด แผดเผา ราวเปลวไฟ
แผ่นดินให้ ชุ่มชื่น ผืนพนา

 

อย่าดูหมิ่น คนสิ้นทรัพย์ ไม่นับญาติ
ด่วนตัดขาด มิอาจ ปรารถนา
เป็นคนจน แต่ใจ สูงเสียดฟ้า
เป็นดอกหญ้า ฟ้าสิซึ้ง ตรึงหทัย

 

ก็ขอเป็น ต้นหญ้า รู้ค่าตน
แม้นได้เกิด เป็นคน พ้นเหลวไหล
คือไม่พัก ไม่เพียร ไม่อาลัย
ทำดีไป ให้โลกรู้ อยู่พอเพียง
”

 

ครูเพ็ญพร เดินออกมาที่ระเบียง ได้ยินเสียงอ่านบทร้อยกรอง ของเด็กหญิงพิมพ์ ชัดเจน. เธอยิ้มและชื่นชมความสามารถ ของคุณครูคนใหม่ ที่มีแนวคิดดีๆ หาบทร้อยกรอง มาให้นักเรียนอ่านกัน.

 

เมื่อสิ้นเสียงคำอ่าน,

“ขอบใจมากนะจ้ะ พิมพ์ ... พวกเรา มาช่วยกันตั้งชื่อบทกลอนบทนี้กันเลยค่ะ ใครจะพูดก่อน ยกมือ แล้วพูดได้เลยนะคะ”

“ดอกหญ้าครับ” ด.ช.สมนัย,

“ต้นหญ้าผู้กล้าหาญ” ด.ช.แดนพุทธ,

“ดอกหญ้าผู้อดทนค่ะ” ด.ญ.ทิพย์,

“ดอกหญ้าที่พอเพียงค่ะ” เด็กหญิงพิศพิไล,

 

“เดี๋ยวก่อน”

โสนน้อย สดุดที่ชื่อสุดท้าย.

“พี่ชอบชื่อนี้นะ ของน้องพิศ ความหมายดีด้วย เอาเป็นว่าพี่เพิ่มคำให้ดูดีขึ้นอีกหน่อยนะว่า ดอกหญ้าแห่งความพอเพียง ดีไหนนักเรียน?”

 

“ดีค่ะ – ดีครับ”

นักเรียนตอบรับกันทั้งชั้น โสนน้อย สรุปความหมาย ของบทร้อยกรองอีกครั้ง.

 

“ดินที่แห้งๆ ไม่มีความชุ่มชื้น ไม่มีพืชชนิดไหนหรอก ที่อยากจะชูต้นขึ้นมา แต่ต้นหญ้า กลับมีชีวิตอยู่รอดได้ ก็แสดงว่า มันต้องอดทน ใช่ไหม๊จ้ะ และที่สำคัญ แม้มันจะดูต่ำต้อย แต่มันก็มีคุณค่าสำหรับพื้นดิน เพราะช่วยบังแดดให้ดิน ต้นหญ้า รู้จักประมาณตน ไม่เย่อหยิ่ง ขยันสร้าง ขยันทำ ไม่รอ ไม่หวัง และไม่เรียกร้อง ว่าจะมีใครมาคอยรดน้ำให้ นักเรียนเห็นไหม ตรงไหนมีต้นหญ้า ตรงนั้น ดินจะมีความชุ่มชื้น ... ฉะนั้น พวกเราอย่าดูถูกต้นหญ้าเป็นอันขาดนะ ความดีของมัน เราต้องเอามาเป็นแบบอย่าง นะคะ”

 

นักเรียนนั่งฟังกันเงียบกริบ ครูโสนน้อย ทำลายความเงียบ ด้วยการพานักเรียนทำกิจกรรม.

“ใครรู้จักกอไผ่บ้าง?”

นักเรียนยกมือพรึบ! กันทั้งห้อง.

 

“นักเรียนทราบไหม๊ว่า ไผ่ก็คือพืชที่อยู่ในตระกูลหญ้า, ใครเคยกินหน่อไม้บ้าง?”

นักเรียนยกมือครึ่งห้อง.

 

“เอ่อ! ถ้ามีคนมาพูดกะเราว่า พวกกินฟางกินหญ้า เดินมาโน่นแล้ว เราก็ไม่ควรจะไปโกรธเขา เราก็จะบอกเขาว่า พวกเรากินหน่อไม้ พืชตระกูลหญ้าเหมือนกับคนอื่นๆ นั่นแหละ แต่เราไม่ได้กินฟางนะ ฟางเอาไว้เลี้ยงวัวควาย แต่ถ้าพูดว่า กินผักกินหญ้า เรายอมรับได้”

 

โสนน้อย หยิบกระบอกไม้ไผ่มาหนึ่งกระบอก แล้วเอ่ยกับนักเรียนว่า,

“กระบอกไม้ไผ่นี่ จะเอาไปทำอะไรได้บ้าง?”

 

นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ หลากหลาย แล้วแต่จินตนาการของพวกเขา แต่โสนน้อย โยงเข้าเรื่องนี้.

 

“บ้านใครยังไม่มีกะปุกออมสินบ้าง หรือคนที่มีแล้วก็ไม่เป็นไร เราจะมาช่วยกันทำกะปุกออมสิน ด้วยกระบอกไม้ไผ่กัน และไม่ใช่ให้เป็นแค่กระบอกไม้ไผ่ออมสินเท่านั้นนะคะ นักเรียนจะต้องวาดรูป ลงไปที่ผิวกระบอกไม้ด้วย เล่าเรื่องราวอะไรก็ได้ คนละหนึ่งเรื่อง ... ถ้าเข้าใจแล้ว ไปที่โรงฝึกงานกันเลย”

 

อ่านต่อ ... ตอนที่ 101/105

 

สารบัญ / ตอนที่

ปฐมบท -

แสงแรกของเรื่องราว


ภาคที่ 1: ตามหารัก อุปสรรคไม่ท้อ


บทที่ 1   ต้นเหตุของเรื่องราว

(1) ละครชีวิตแห่งนครวิชัยยศ (ตอนที่ 1/105)
(2) รัก ริษยา อาฆาต อำนาจมัวเมา (ตอนที่ 2/105)
(3) อำลาที่ขมขื่น (ตอนที่ 3/105)

บทที่ 2   สังข์ เอื้อย โสนน้อย

(1) อดีตที่เติบโต (ตอนที่ 4/105)
(2) เพื่อนใหม่ผู้น่าสงสาร (ตอนที่ 5/105)
(3) จินตนาการ นิทาน ความฝัน (ตอนที่ 6/105)

บทที่ 3   วันสังหาร

(1) ชีวิตที่โหยหา (ตอนที่ 7/105)
(2) พินัยกรรมริษยา (ตอนที่ 8/105)
(3) คำสั่งลับ (ตอนที่ 9/105)

บทที่ 4   ชีวิตใหม่กลางภูผา

(1) ภาระใหม่ของนาเคนทร์ (ตอนที่ 10/105)
(2) ความลี้ลับของป่า (ตอนที่ 11/105)
(3) บทเรียนชีวิต (ตอนที่ 12/105)
(4) เวทกล มนตร์สู้ปีศาจ (ตอนที่ 13/105)
(5) ส่งเด็กกลับบ้าน (ตอนที่ 14/105)

บทที่ 5   ภูติร้ายในป่ามรณะ

(1) ประตูมายาแห่งป่า (ตอนที่ 15/105)
(2) ภาพลวงตา (ตอนที่ 16/105)
(3) กลลวงปีศาจ (ตอนที่ 17/105)
(4) หุบผาหมอก (ตอนที่ 18/105)

บทที่ 6   ประตูเวลาที่เรือนปีศาจ

(1) การมาเยือน ของมนุษย์นอกจักรวาล (ตอนที่ 19/105)
(2) ประตูเวลา ของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 20/105)

บทที่ 7   หนอนทะเลทราย

(1) สู่ทะเลทราย (ตอนที่ 21/105)
(2) หนอนยักษ์ มฤตยูใต้ดิน (ตอนที่ 22/105)

บทที่ 8   หลุมดำดูดเวลา และการตามล่าของมนุษย์นอกจักรวาล

(1) หมู่บ้านไร้เวลา (ตอนที่ 23/105)
(2) จุดจบของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 24/105)

บทที่ 9   พบเพื่อนใหม่

(1) สองพี่น้องชาวเล (ตอนที่ 25/105)
(2) ปริศนาเฒ่าทะเล (ตอนที่ 26/105)
(3) ความลับ (ตอนที่ 27/105)
(4) แผนเดินทาง (ตอนที่ 28/105)
(5) บทเรียนบนเรือรบ (ตอนที่ 29/105)

บทที่ 10    ผจญภัยกลางมหาสมุทร

(1) เขตย้อนเวลา (ตอนที่ 30/105)
(2) บนเรือโจรสลัด (ตอนที่ 31/105)
(3) ผีเสื้อสมุทร และหมึกยักษ์ (ตอนที่ 32/105)
(4) เกาะร้าง (ตอนที่ 33/105)
(5) นิมิตแห่งตำนานสายฟ้าอสูร (ตอนที่ 34/105)

บทที่ 11   ปาฏิหาริย์ของเทพแห่งลิง

(1) อาวุธมีเจ้าของ (ตอนที่ 35/105)
(2) ปาฏิหาริย์ลิงเผือก (ตอนที่ 36/105)
(3) ปริศนาคำทำนาย (ตอนที่ 37/105)
(4) อากาศยานช่วยชีพ (ตอนที่ 38/105)
(5) อวสานเกาะร้าง (ตอนที่ 39/105)

 

ภาคที่ 2: ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ


บทที่ 12   นครพันธุรัฐ เมืองคนทาส

(1) เชลย (ตอนที่ 40/105)
(2) ทาสใหม่ (ตอนที่ 41/105)
(3) นายหญิง เจ้าแห่งนครพันธุรัฐ (ตอนที่ 42/105)
(4) สถานภาพใหม่ของสังข์ (ตอนที่ 43/105)
(5) ความลับของนาเคนทร์ (ตอนที่ 44/105)

บทที่ 13   เทคโนโลยีล่องหน

(1) ห้องลับของนายหญิง (ตอนที่ 45/105)
(2) นวัตกรรมการอำพราง (ตอนที่ 46/105)
(3) เสน่ห์แห่งอำนาจ (ตอนที่ 47/105)
(4) ความลับที่ต่อรองกันได้ (ตอนที่ 48/105)

บทที่ 14   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 1)

(1) แผนหลบหนี (ตอนที่ 49/105)
(2) ประตูแห่งอิสรภาพ (ตอนที่ 50/105)
(3) หนี (ตอนที่ 51/105)

บทที่ 15   เส้นทางที่พลัดพราก

(1) หมู่บ้านมนุษย์กินคน (ตอนที่ 52/105)
(2) พลายงาม เพื่อนร่วมทางคนใหม่ (ตอนที่ 53/105)
(3) นางพิม (ตอนที่ 54/105)
(4) เปลี่ยนร่างอำพรางหนี (ตอนที่ 55/105)

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

(1) วัดส้ม เมืองกาญจนา (ตอนที่ 56/105)
(2) ธัมมะกับชีวิต (ตอนที่ 57/105)
(3) ไปพบย่าทอง (ตอนที่ 58/105)

บทที่ 17   บ้านของย่าทอง

(1) สายสัมพันธ์ย่าหลาน (ตอนที่ 59/105)
(2) ความสุขในเรือนทอง (ตอนที่ 60/105)
(3) ความสุข ความพอเพียง (ตอนที่ 61/105)

บทที่ 18   วัยรุ่น วัยรัก วัยเรียน

(1) วัยรัก วัยเรียน (ตอนที่ 62/105)
(2) ความรักที่ก่อตัว (ตอนที่ 63/105)
(3) แสงสีแห่งชนบทยามค่ำคืน (ตอนที่ 64/105)
(4) เรื่องวุ่นวาย ของวัยรุ่น (ตอนที่ 65/105)

บทที่ 19   ความรัก ความหวัง ยังไม่สิ้น

(1) เส้นทางรัก โสนน้อย สร้อยมณี (ตอนที่ 66/105)
(2) บวชพลายงาม (ตอนที่ 67/105)
(3) ลางบอกเหตุ (ตอนที่ 68/105)
(4) ทางรัก ทางธรรม (ตอนที่ 69/105)

บทที่ 20   ตามหาเพื่อน

(1) ก้าวใหม่ของ นครพันธุรัฐ (ตอนที่ 70/105)
(2) รหัสสื่อสาร 213 ที่ยังจำกันได้ (ตอนที่ 71/105)
(3) นักบินฝึกหัด (ตอนที่ 72/105)

บทที่ 21   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 2)

(1) เปิดฉากหนี (ตอนที่ 73/105)
(2) ปิดฉากทาสนรก (ตอนที่ 74/105)

 

ภาคที่ 3:   รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง


บทที่ 22   เดินทางไกล ไปตามฝัน

(1) สิงห์ดำ (ตอนที่ 75/105)
(2) เมืองแห่งความฝัน (ตอนที่ 76/105)

บทที่ 23   นครรัฐเทพนารา

(1) นรกบนเมืองสวรรค์ (ตอนที่ 77/105)
(2) สวรรค์ในเมืองนรก (ตอนที่ 78/105)
(3) บทเรียนของแพรวา (ตอนที่ 79/105)
(4) งานเลี้ยงที่มีวันเลิกลา (ตอนที่ 80/105)

บทที่ 24   ชีวิตใหม่ ใจกลางมหานคร

(1) แดนคนเถื่อน (ตอนที่ 81/105)
(2) เพื่อนรัก (ตอนที่ 82/105)
(3) แดนคนดี (ตอนที่ 83/105)

บทที่ 25   ชีวิตจัดสรร ณ สันติอรุณ

(1) สวรรค์ลิขิต (ตอนที่ 84/105)
(2) ชีวิตจัดสรร (ตอนที่ 85/105)
(3) วิถีชีวิต วิถีชุมชน (ตอนที่ 86/105)
(4) คุณครูมือใหม่ (ตอนที่ 87/105)

บทที่ 26   สัมผัสแรก สัมผัสรัก

(1) เบื้องหลังของหญิงสาว (ตอนที่ 88/105)
(2) ประสบการณ์ที่มีค่า ของรจนารินี (ตอนที่ 89/105)
(3) ของสำคัญ ที่ต้องหาให้เจอ (ตอนที่ 90/105)

บทที่ 27   สังข์ทอง รจนา

(1) คืนร่างเดิม (ตอนที่ 91/105)
(2) ชีวิตใหม่ (ตอนที่ 92/105)
(3) ความหลัง ความรัก (ตอนที่ 93/105)

บทที่ 28   วิกฤตของนครรัฐ

(1) ปัญหาที่ยังตีบตัน (ตอนที่ 94/105)
(2) ตามหาคำตอบ (ตอนที่ 95/105)
(3) นักเล่านิทาน (ตอนที่ 96/105)

บทที่ 29   กู้วิกฤต

(1) สันติอรุณโมเดล (ตอนที่ 97/105)
(2) แผนกู้วิกฤต (ตอนที่ 98/105)
(3) วิกฤตรัก (ตอนที่ 99/105)

บทที่ 30   ฝันที่เป็นจริง

(1) แต่งกับงาน (ตอนที่ 100/105)
(2) การสังหารท่านผู้นำ (ตอนที่ 101/105)
(3) อำนาจใหม่ (ตอนที่ 102/105)
(4) พ่อแม่บุญธรรม (ตอนที่ 103/105)
(5) ฝันเป็นจริง (ตอนที่ 104/105)

 

ปัจฉิมบท -
งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกลา (ตอนที่ 105/105 ปัจฉิมบท)

 

เพลง ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
เฝ้าใฝ่ฝัน ขอให้เป็นจริง
ความรัก ความกตัญญู เหนือกว่าทุกสิ่ง
แนบอกแม่อิง อุ่น ไอ รัก

ฝ่าอันตราย สิ่งเลวร้ายนานา
สู้อาสา แม้ยากยิ่งนัก
ความโหดร้าย ริษยา อ่อนล้าเหนื่อยหนัก
ต้องกล้าหาญหัก อุปสรรค สู้ทน

ภูติป่า อสูรร้าย เหตุการณ์ท้าทายให้สู้
ต้องยืนหยัดอยู่ กอบกู้ หมู่ประชาชน
เพื่อแม่ เพื่อรัก เพื่อความภักดี ต้องทน
ข้าขอผจญ มารร้าย พ่ายแพ้ไป

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
คืนฝันวันหวัง ยังอยู่ในใจ
ความรัก ความหวัง คือพลังยิ่งใหญ่
โอ้แม่จ๋า แม่อยู่ไหน ลูกเหนื่อยเหลือเกิน.


 

focused thinking

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 


igood media copyright
 SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net